“ชีวิตและความตาย ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว สิ่งที่น่ากลัวคือ การปล่อยให้ความฝันตายไปจากชีวิต” ข้อความแรกที่ปรากฏขึ้นหน้ามิวสิกวิดีโอเพลง “จุดเดิม” ผลงานแรกจากวงอินดี้ร็อกที่มีอายุรวมกันกว่า 438 ปี
“BENNETTY (เบนเน็ตตี้)” เกิดจากการรวมตัวของนักดนตรีรุ่นพ่อทั้ง 6 คน ที่พกเอาประสบการณ์และความสามารถทางดนตรีที่มีเต็มเปี่ยมมารังสรรค์ขึ้นเป็นวงดนตรีวัยเก๋า ภายใต้การดูแลของ Choojai Record ซึ่งการรวมตัวเฉพาะกิจครั้งนี้ไม่ใช่เพียงเพื่อบอกว่า พวกเขาอายุเท่าไหร่ หรือทำอะไรได้บ้าง แต่สิ่งนี้ทำขึ้นก็เพื่อให้เหล่าคุณลุงเป็นตัวแทนของคนสูงวัยประกาศให้โลกได้เห็นว่า “ความฝันไม่มีวันหมดอายุ”
ใครๆ ต่างก็กล่าวขานกันว่าวงนี้ทั้งเก๋า ทั้งเจ๋ง ซึ่งพวกเขาทั้ง 6 คนเป็นใครกันบ้าง วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับวง “BENNETTY” วงที่จะพิสูจน์ให้คุณได้เห็นว่า “อายุเป็นเพียงแค่ตัวเลข”

• จุดกำเนิด BENNETTY วงดนตรีวัยเก๋า
กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร (โปรดิวเซอร์) : โปรเจกต์นี้เริ่มมาจากบริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร จำกัด เป็นครีเอทีฟที่เป็นต้นเรื่องร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งทาง สสส. เขาทำเรื่องเกี่ยวกับผู้สูงวัยอยู่แล้ว เขาก็เลยมีเป้าหมายว่าอยากให้ผลิตชิ้นงานที่มีส่วนช่วยพัฒนาสุขภาวะประชากรผู้สูงอายุ ซึ่งเราก็เลยตีโจทย์ออกมาโดยการเลือกใช้ดนตรีมาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารครับ
ปัจจุบันสังคมเราเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว และผมรู้สึกว่าปัจจุบันโลกของผู้สูงวัยกับโลกของคนรุ่นใหม่มักโดนแยกออกจากกัน ซึ่งสิ่งที่ภาครัฐเข้ามาดูแลส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการให้เงิน การดูแลสุขภาพ แต่จริงๆ แล้วผมมีความเชื่อว่าชีวิตหลังเกษียณของผู้สูงวัย เขาก็เหมือนกับวัยรุ่นนั่นแหละครับ ตอนเราเด็กๆ ผู้ใหญ่จะบอกว่าต้องให้พื้นที่ในการแสดงออกต่อวัยรุ่นนะ ผู้สูงวัยก็เหมือนกัน พอหลังเกษียณไม่มีใครมาบอก ไม่มีพื้นที่ ไม่มีจุดยืนให้เขา หน้าที่ของเขาก็เลยจบหลังจากเกษียณไปแล้ว ซึ่งเราก็ไม่อยากให้คำว่าเกษียณมันกลายเป็นคำว่าหมดหน้าที่ ดังนั้นมันต้องหาต่อว่าอะไรคือหน้าที่หลังเกษียณ เพราะฉะนั้นเราก็เลยทำโปรเจกต์นี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างในการร่วมมือกันระหว่างคนรุ่นใหม่กับผู้สูงวัยเพื่อให้เกิดการยอมรับจากสังคมจริงๆ แต่สิ่งที่ทำขึ้นมาไม่ได้ทำเพื่อความสงสารใดๆ ทั้งสิ้นนะครับ หมายความว่าสังคมจะรู้สึกได้รับผลประโยชน์ ได้รับแรงบันดาลใจมากขึ้นจากโปรเจกต์นี้ ซึ่งผมตั้งใจว่าผู้สูงวัยต้องเดินเข้ามาหาคนรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่ก็ต้องเดินเข้าไปหาผู้สูงวัย ทำงานร่วมกันและพิสูจน์ออกมาให้สังคมเห็นว่ามันเวิร์ก
พอเกิดขึ้นมาเป็นโปรเจกต์แล้วทางทีม Song Sound Production ก็จะเป็นผู้ออดิชันหาผู้สูงอายุที่มีใจรักและมีพื้นฐานการเล่นดนตรีมารวมตัวกันเป็นวงดนตรีผู้สูงวัย ที่เล่นแนวเพลงคนรุ่นใหม่ภายใต้การดูแลของ Choojai Record ครับ และนอกเหนือจากหน้าที่นี้เขาก็จะเก็บภาพทั้งหมดไว้แล้วทำออกมาเป็นสารคดีเรื่องราวชีวิตของลุงทั้ง 6 ท่าน โดยผ่านฝีมือการกำกับของพี่คงเดช จาตุรันต์รัศมี (ผู้กำกับภาพยนตร์ จากภาพยนตร์เรื่อง Snap, ตั้งวง, แต่เพียงผู้เดียว)
ในส่วนของเพลงเราก็ได้พี่ดุ่ย-วิษณุ ลิขิตสถาพร จาก Youth Brush มาร่วมแต่งเนื้อร้องจากโจทย์ “เพลงรักในมุมมองของคนรุ่นลุง” และทางพี่เจ-เจตมนต์ มละโยธา หรือ Penguin Villa มาโปรดิวซ์ให้ด้วย
ส่วนมิวสิกวิดีโอจะผลิตโดยทีม Huaglom Production (หัวกลม โปรดัคชั่น) จากฝีมือพี่ต้น หัวกลม (ยศศิริ ใบศรี) ที่ถ่ายทอดแนวคิดที่ว่า ชีวิตและความตายไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ทว่าสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือการปล่อยให้ความฝันตายไปจากชีวิตครับ ทั้งหมดทั้งมวลจึงได้เปิดตัวออกมาในเพลงที่มีชื่อว่า “จุดเดิม” ครับ

• เปิดตัวซิงเกิลแรกด้วยเพลง “จุดเดิม” แนวเพลงอินดี้ร็อก
กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร (โปรดิวเซอร์) : ผมมองว่าเราอาจจะได้เห็นผู้สูงวัยออกมาร้องเพลงเพื่อชีวิต ร้องเพลงลูกทุ่ง ร้องเพลงอะไรที่รู้สึกว่ามันไม่ได้หลุดจากขนบของผู้สูงวัยมากนัก ผมเลยคิดว่าเราอยากได้เพลงแนวอัลเทอร์เนทีฟ แนวอินดี้เลย แต่ต้องเป็นอินดี้ที่ทุกคนฟังได้ เพราะเพลงนี้ แนวนี้มันอาจจะเป็นพื้นที่ เป็นอาณาเขตที่คนยุคท่านไม่เคยก้าวเข้ามา และก็ไม่เคยมีวัยรุ่นกลุ่มไหนอ้าแขนต้อนรับ ซึ่งการก้าวครั้งนี้จะเป็นการก้าวออกมาจากสังคมของเขาและเป็นการก้าวที่ใหญ่ๆ ด้วย
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ตอนที่ได้โจทย์ผมรู้สึกหนักใจมากเลยนะ เพราะธรรมดาผมก็ร้องเพลงเก่าอยู่ แต่ว่าจะเป็นเพลงสากลมากกว่า เพลงไทยก็ร้องแต่ไม่ใช่แนวนี้ พอทราบว่าเราจะต้องร้องเพลงนี้ แรกๆ ก็ไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่ ซึ่งเขาก็ให้เราฟังเดโม่ก่อน และเอากลับบ้านไปซ้อมที่บ้านด้วย หลังๆ ก็ค่อยชินหน่อย ยากดี ท้าทายดี แต่ชอบครับ
ตุ้ม - ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (กีตาร์) ส่วนตัวผมว่าก็แปลกดีนะครับโดยเฉพาะท่อนขึ้น ท่อนอินโทรกีตาร์ คล้ายๆ มีเพลงพื้นบ้านเข้ามาผสมด้วย ก็รู้สึกว่ามันแปลกใหม่ดีสำหรับตัวผมครับ

เทพ - เทพ เก็งวินิจ (คีย์บอร์ด) : ผมมองว่าเป็นเพลงแนวใหม่ ตอนแรกก็ไม่คิดเหมือนกันว่าเราจะเล่นได้ เพราะยุคเราส่วนใหญ่จะเคยชินกับแนวเพลง 60-70 อีก อย่างท่อนโซโลผมต้องเล่นมือเดียว มืออีกข้างต้องใช้เคาะจังหวะ (หัวเราะ) ก็ต้องใช้เวลาซ้อมพอสมควรเหมือนกันครับ ถึงจะเข้ากันได้
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : แรกๆ ผมก็กังวลเหมือนกันนะครับ อย่างตอนบันทึกเสียง เราจะไม่ชินกับการเข้าห้องอัดบันทึกเสียงเท่าไหร่ แต่เราจะชินกับการเล่นไลฟ์สด การเล่นทั่วไปมากกว่า ซึ่งบางทีตัวโน้ตอาจจะสั้นไปหรือยาวไป เราก็จะอาศัยเหลื่อมๆ กันไปทั้งวง มันก็เลยกลมกลืนกันไปได้ แต่การบันทึกเสียงจะละเอียดมาก และการเล่นแต่ละทีน้ำหนักมันไม่ตรง มันขาดบ้างอะไรบ้าง เราเลยต้องทำตรงนี้ให้ได้ พอหลายๆ รอบเข้า เราก็ค่อยๆ ปรับจูนน้ำหนัก ซึ่งโปรดิวเซอร์เขาจะแนะนำด้วยเลยผ่านไปได้ด้วยดีครับ

• ย้อนถามถึงตอนที่มาสมัครหน่อยค่ะ ทำไมถึงอยากมาสมัครโครงการนี้คะ
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมมาสมัครเพราะลูกสาวเขาโทร.มาบอกครับ เขาคงจะไปเห็นทางอินเทอร์เน็ตมา พอลูกมาบอก ก็รู้สึกว่าน่าสนใจดีเพราะเกี่ยวกับอายุด้วย เราก็อายุขนาดนี้แล้ว ถ้าเขาให้โอกาส ก็อยากจะมาแสดงออกเพราะปกติแล้วผมก็ร้องเพลงเป็นประจำอยู่แล้วด้วย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นจิตอาสาสมัครเล่น จะร้องตามโรงพยาบาลที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้เป็นนักร้องอาชีพอะไร
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : ส่วนผมเป็นพ่อบ้าน อยู่บ้าน เลี้ยงลูกดูหลานครับ แล้วทีนี้เราก็ได้ข่าวมาจากเพื่อนสนิท เขาโทรมาบอกว่าจะมีการออดิชันเกี่ยวกับวงดนตรีผู้สูงวัย ซึ่งเราก็เข้าข่ายนะ (หัวเราะ) เราก็ว่างๆ อยู่ด้วย ก็เลยไปลองดู
ส่วนตัวผมสมัยวัยรุ่นจะชอบเล่นดนตรีอยู่แล้วครับเล่นตามแคมป์ตามอะไร ตอนนั้นจะเล่นเป็นแนวดิสโก้ แนวเพลงป็อปทั่วไปอะไรทำนองนั้นครับ คือจะบอกว่าตอนนั้นเล่นดนตรีได้นิดหน่อย ก็เป็นนักดนตรีได้ เพราะเขาต้องการนักดนตรีเยอะ พูดง่ายๆ ว่า เป็นนักดนตรีก่อนที่จะเล่นเป็นซะอีก อย่างรู้สามสี่คอร์ดก็เล่นเพลงได้แล้ว แล้วสมัยก่อนดนตรีมันไม่ได้ซับซ้อนเหมือนเดี๋ยวนี้นะ พวกเราก็จะพอเล่นได้ จากแค่เล่นเป็น ก็เป็นไปเลย (หัวเราะ) คล้ายๆ ครูพักลักจำ

เทพ - เทพ เก็งวินิจ (คีย์บอร์ด) : ผมเป็นวิศวกร แล้วก็มีโอกาสได้เล่นดนตรีเป็นงานอดิเรกอยู่บ้างครับ
ผมมาสมัครเพราะผมไปเล่นเครื่องเปียโนไฟฟ้าที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งอยู่บ่อยๆ ทีนี้ก็มีทีมงานเขาผ่านมาเห็น ก็ได้ทาบทามให้ผมไปแคสติ้ง ตอนแรกผมก็ไม่ค่อยมั่นใจเพราะผมเล่นเปียโนล้วนๆ และเล่นแต่เพลงเก่ายุค 60 ด้วย ซึ่งพอต้องไปเล่นเพลงสมัยใหม่เราก็ไม่ค่อยมั่นใจ ตอนแรกเขาก็มาทดสอบ ทีนี้ทางทีมงานก็แจ้งมาว่าโอเค ยินดีให้ผมมาลองเล่นดู
บุญเสริม - บุญเสริม ชูช่วย (เมาท์ออร์แกน) : ผมมาสมัครเพราะหลานผมเขาทราบข่าว แล้วเห็นว่าตาชอบร้องเพลง ชอบเล่นไวโอลินและเมาท์ออร์แกน ดนตรีอย่างอื่นก็พอจับๆ ได้บ้าง เขาก็เลยพามาสมัคร ก็สนุกสนาน มีความสุขดีครับ
ตุ้ม - ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (กีตาร์) : ผมมาเพราะเพื่อนเขาแนะนำครับ เขามาหาที่บ้านแล้วก็ชวนไป ตอนแรกผมไม่ทราบว่าจะพาเราไปไหน เขาก็บอกแค่ว่าให้ไปสมัคร ผมต้องยกความดีความชอบให้เพื่อนคนนี้เลยครับ (หัวเราะ)
ตอนแรกที่สมัครคิดว่าจะสมัครเฉยๆ ทีนี้ต้องไปออดิชันอะไรด้วยคือไม่ได้เตรียมตัวเลย แต่ผมเลือกเล่นกีตาร์ ส่วนเพื่อนที่มาด้วยเขาตีกลอง ไปถึงเขาก็จะมีกีตาร์ไฟฟ้ากับกีตาร์โปร่ง เราก็เลยถามเขาว่าจะให้ดีดกีตาร์อะไร จะให้เล่นอะไร เขาก็บอกว่ากีตาร์โปร่ง ผมก็ดีดไป ร้องเพลงไป ร้องไปเรื่อยๆ แล้วสักพักเขาก็เอากีตาร์ไฟฟ้ามาให้เล่นด้วยครับ
กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร (โปรดิวเซอร์) : ส่วนอีกท่านหนึ่งคือคุณอาชาติ ธนกร เจียสิริ เป็นมือกลองครับ ท่านติดธุระเลยไม่ได้มาวันนี้ ซึ่งคุณอาชาติ คุณอาสิริ คุณอาตุ้มจะรุ่นๆ เดียวกัน เล่นดนตรีมาในยุคเดียวกัน อาชาติเขาก็จะอยู่บ้านทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องดนตรี ปล่อยเช่าเครื่องดนตรี เขาก็จะคลุกคลีกับดนตรีอยู่นิดหนึ่งเหมือนกันครับ

• เห็นว่าพอเปิดตัวเพลงนี้ออกมา ผลตอบรับค่อนข้างดีมากเลย ตรงนี้รู้สึกอย่างไรกันบ้าง คาดหวังไว้ไหมว่าคนในสังคมจะมองผู้สูงอายุเปลี่ยนไป
กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร (โปรดิวเซอร์) : ตอนที่ปล่อยไปวันแรก น้องๆ ในทีมเขาบอกว่า เห้ย! พี่ยอดมันวิ่งมากเลย เรามาดู ก็ตกใจ หลังจากวันนั้นก็มาเรื่อยๆ คือเราอยู่กับมันมาปีครึ่งแล้ว โปรเจกต์เราหลายๆ งานมันก็เป็นแบบนี้ เราเลยรู้สึกว่าโอเค
พอหลังจากที่ได้รับกระแสมา เราก็ไม่มีโอกาสได้พบทั้ง 6 ท่านเลย จนเมื่อสักสัปดาห์ที่แล้วผมได้เจอทั้ง 6 ท่าน แล้วมีความรู้สึกว่าแววตาแต่ละท่านเปลี่ยนไปจากวันแรกที่ได้ทำโปรเจกต์ด้วยกัน แววตาแต่ละท่านกระชุ่มกระชวย มีพลัง รู้สึกว่ามันมีอะไรเข้ามาในชีวิต เราก็รู้สึกดีที่ทำให้เขามีพลังมากขึ้น แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นผมเข้าไปอ่านคอมเมนต์ทุกอันเลย รู้สึกว่า เอ้ย สิ่งที่เราทำเป็นประโยชน์นะ มีหลายคอมเมนต์ที่เขาอยากจะหยิบกีตาร์ อยากจะทำอะไรที่เขาชอบ ซึ่งมันไม่มีคำว่าช่วงอายุอีกต่อไปแล้ว
เทพ - เทพ เก็งวินิจ (คีย์บอร์ด) : ผมว่าส่วนใหญ่คนรุ่นผมเขาก็จะมีศักยภาพนะครับ แต่พอเกษียณอายุจากอาชีพที่เขาทำมา เขาก็ไม่รู้จะไปทำอะไร เพราะบางทีเขาอาจจะไม่มีโอกาสได้แสดงออกมากกว่า ซึ่งจริงๆ แล้วผมมองว่าผู้สูงอายุก็ควรจะได้กลับมาทำประโยชน์ให้กับสังคมเหมือนกันนะครับ
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมว่าตรงนี้ก็ช่วยไปกระตุ้นให้ตื่นตัวได้เหมือนกันนะ อย่างแต่ก่อนที่ยังไม่มีกระแส ยังไม่มีอะไร คนสูงอายุก็จะต่างคนต่างอยู่ ก็เป็นธรรมชาติของเขาแหละ แต่พอมีกระแสเกี่ยวกับเรื่องผู้สูงอายุขึ้นมาบ้าง ผมคิดว่ามันคงจะมีกระแสตอบรับไปในทางที่ดีขึ้น อย่างน้อยผู้สูงอายุก็จะได้คิดแล้วว่าเขามีความสำคัญ เพราะว่าสังคมมองเห็น ให้ความสำคัญกับเขานะ

• แบบนี้คิดว่าฝีมือการเล่นดนตรีของคุณลุงเทียบเท่ากับเด็กวัยรุ่นได้ไหมคะ
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมว่าเราชนะนะ ชนะเพราะอะไรรู้ไหม ชนะเพราะอายุเรายังไงครับ (หัวเราะ) ก็ดีใจนะที่คนเข้ามาชื่นชมเราว่าเพราะจัง อายุตั้ง 70 - 80 ปีแล้ว ยังเล่นดนตรีได้อย่างนี้ แต่ถ้าสมมติว่าเราอายุเท่ากับวัยรุ่น ร้องเพลงได้ขนาดนี้ ผมคิดว่าน่าจะสู้เขาได้แหละครับ (ยิ้ม)
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : ยอมรับว่าบางทีเราก็อายลูกเหมือนกันนะครับ ว่าอายุป่านนี้แล้ว ลูกเขาจะคิดยังไงหรือเปล่า แต่เท่าที่สังเกตดู ลูกชอบครับ และเพื่อนๆ ของลูกเขาก็ชอบ เขาก็มากดไลค์ มาชื่นชม เราก็เลยภูมิใจหน่อย
ผมมองว่าอายุเป็นเพียงตัวเลขครับ ถึงแม้ว่าตอนนี้ทุกคนในวงจะอายุรวมกัน 438 ปีแล้วก็ตาม (หัวเราะ)

• แล้วการทำงานล่ะคะ เพราะแน่นอนว่าต่างคนต่างที่มาและต่างความคิด มีปัญหาบ้างไหม เช่น ด้านการสื่อสาร หรือการทำงานระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : มันก็มีบ้างครับ ที่ต่างความคิด ไม่ค่อยตรงกัน เมื่อไม่ตรงกัน ก่อนอื่นเราต้องดูตัวเราเองก่อนล่ะว่าเราไม่ตรงอะไรกับใคร เมื่อเราคิดได้ว่าเขาเป็นอย่างนี้ เราก็ต้องพยายามปรับจูนตัวเองก่อนเพื่อให้อยู่ร่วมกับเพื่อนๆ ที่ร่วมงานได้ หลังจากนั้นพอเรามารวมกันแล้ว เรามีโปรเจกต์แล้ว แล้วก็มีโปรดิวเซอร์ มีทีมงานแล้ว เขาก็จะมาบอกว่าเป้าหมายจะเป็นยังไง คิดว่าทุกๆ คนก็จะเข้าใจได้เมื่อเรามีเป้าหมายอันเดียวกัน
กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร (โปรดิวเซอร์) : จริงๆ ต้องขอบคุณทีมงาน ซึ่งคนเตรียมการทั้งหมดก็เป็นทีมพี่คงเดช เพราะเขาต้องดูแลตั้งแต่วันแรกจนถึงวันที่ถ่ายมิวสิกวิดีโอ จนถึงวันที่ปล่อยเพลงออกมา อย่างสารคดีที่ทำตอนจบต้องบอกว่าเวอร์ชั่นเดิมไม่ได้มีการจบแบบนั้นนะครับ เพราะเราไม่รู้ว่าเพลงจะประสบความสำเร็จไหม ตอนแรกเราจบว่าชีวิตลุงตุ้มก็ดูแลลูกต่อไป ลุงหริก็ดูแลหลาน ลุงบุญเสริมก็ไปเล่นดนตรีในคาเฟ่ปกติ จบแค่นั้นดูเรียบๆ หน่อย แล้วพอเห็นผลการตอบรับ เห็นออกข่าว เห็นเพลงขึ้นชาร์ต เห็นยอดคนไลค์ในมิวสิกวิดีโอ ผมบอกพี่คงเดชเลยว่าเปลี่ยนท้ายเถอะ ให้มันรู้สึกว่าตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ เราได้ผลตอบรับยังไงบ้าง เราอยากจะอัปเดตเพื่อจะได้แสดงศักยภาพว่าพอเราลุกขึ้นมาทำอะไรแบบนี้ แล้วนี่คือผลที่มันเกิดขึ้นจริงๆ กับเรานะ

จริงๆ แล้วมิวสิกวิดีโอตอนแรกต้องบอกว่ามันจะไม่ได้หวือหวาขนาดนี้ แล้วเราก็มาคิดว่า ปัจจุบันเราต้องสู้กับคอนเทนต์มากมาย คือผมเป็นครีเอทีฟอยู่แล้ว ก็เลยกำกับมิวสิกนี้ด้วย เราก็เลยมีความคิดว่าเราอยากจะพูดบางสิ่งบางอย่างที่คนไม่ค่อยกล้าพูดกับคนวัยนี้เท่าไหร่ นั่นก็คือ เรื่องอายุขัยกับความตาย เพราะว่าเราเป็นเมืองพุทธ เรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องต้องห้ามนิดหนึ่ง มันเป็นเรื่องแช่ง เป็นสิ่งที่ไม่เป็นสิริมงคล ซึ่งพอเราคิดมาอย่างนี้ เราก็ต้องบอกคุณลุงแต่ละท่านว่าผมจะถ่ายอย่างนี้นะ เราจะนำเอาสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอายุขัยและช่วงวัยของมนุษย์มานำเสนอนะ เช่น ลูกอมที่อยู่ในฟันปลอม เต่าที่อยู่บนสเกตบอร์ด หรือรอยสักคำว่า “OldBoy” บนร่างของคุณลุงตุ้ม ซึ่งเราก็กลัวลูกหลานของแต่ละท่านมาว่าเหมือนกัน ดังนั้นเราก็ต้องอธิบาย ผมก็โทร.บอกวาดภาพให้ท่านดูว่าจะมีช็อตนี้นะ
หรือเรื่องการแต่งกายก็เหมือนกัน ต้องบอกว่าตอนแรกจะไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะเราจินตนาการว่า เราจะทำแบบมิวสิกวิดีโอให้ผู้สูงวัยออกมาดูเป็นรุ่นใหม่ เราต้องทำยังไง เราก็เลยคิดว่าต้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกายท่าน ให้รู้สึกว่าเป็นวัยรุ่น แต่ผมมานั่งคิดอีกทีก็รู้สึกว่าสิ่งนี้มันจะทำให้คุณลุงตลกมากเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมกลัวที่สุดในโปรเจกต์นี้ เพราะผมตั้งใจว่าผมจะไม่ทำโปรเจกต์นี้ออกมาให้ผู้สูงวัยดูเป็นที่ขบขัน เป็นตัวโจ๊กของสังคม แต่ต้องรู้สึกว่า ลุงเขาเท่จังเลย ฉะนั้นเราเลยต้องการให้เป็นธรรมดาที่สุด ทำให้เขาดูเป็นคุณลุง คุณตาที่พบเห็นได้ทั่วไปมากที่สุด แต่พอเล่นดนตรีขึ้นมาเท่านั้นแหละ จะดูเท่มากอะไรทำนองนี้ สังเกตอย่างชุดคุณลุงหรินี่เกี่ยงกันใส่เลยนะครับเพราะทุกคนก็ไม่อยากแก่ เราก็ต้องอธิบายให้ท่านเข้าใจ ก็ออกมาด้วยดีครับ

• จะว่าไปแล้วดนตรีทำให้ชีวิตผู้สูงวัยอย่างคุณลุงเปลี่ยนไปบ้างไหม หรือคุณลุงได้อะไรจากดนตรีบ้างคะ
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : แน่นอนครับ เพราะก่อนที่เราจะมาออดิชันโครงการนี้ เราก็เลิกเล่นดนตรีไปประมาณหลายปีแล้ว พอเราวัยมากขึ้น มีงานให้ไปเล่น ญาติที่สนิทเขาก็บอกว่าอย่าไปเลยเพราะบางทีผมจะชอบขับมอเตอร์ไซค์ไป แล้วมันอันตราย เขาก็ห่วง ก็เลยไม่ได้ไปอีก พอดีจังหวะมาเป็นพ่อบ้าน เลี้ยงลูก เลี้ยงหลาน ก็เลยไม่ได้ไปข้างนอก จนมาเจอโครงการนี้นี่แหละที่ทำให้ผมได้กลับมาเล่นดนตรีอีกครั้ง
บุญเสริม - บุญเสริม ชูช่วย (เมาท์ออร์แกน) : มีความสุขครับ มีความสุขมากเลย ดนตรีให้ความสนุกสนาน ทำให้เราทุกคนได้มารู้จักกัน
ตุ้ม - ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (กีตาร์) : ดนตรีเป็นสื่อกลางที่สามารถทำให้ผมได้พบเจอคนที่มีความสามารถเหมือนกัน มีความชอบเดียวกัน ได้มาพบปะ มารู้ใจกันได้

วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมว่าดนตรีช่วยหลายอย่างเลยนะครับ ช่วยทั้งสุขภาพ ผมถนัดร้องเพลง ตรงนี้ก็ช่วยขยายปอด ช่วยความจำ เพราะต้องจำเนื้อเพลงให้ได้ด้วย อีกอย่างดนตรีทำให้สุขภาพจิตดีด้วย ทำให้จิตใจเราเบิกบานสบาย ไม่เศร้า ไม่ขุ่นหมอง
เทพ - เทพ เก็งวินิจ (คีย์บอร์ด) : ดนตรีช่วยเรื่องสมาธิ ทำให้เราเพลิดเพลิน ใจเย็น แถมเรายังได้ไปเล่นเพลงที่ฟังได้ทุกระดับอายุด้วย มันทำให้เราพอใจในตัวเอง และทำให้คนรอบข้างพอใจเราด้วย

• สมัยนี้จะมีคำฮิตแบบเหยียดวัยที่ว่า “มนุษย์ลุง” “มนุษย์ป้า” เคยได้ยินคำนี้กันไหมคะ ถามตามตรงพอได้ยินคำนี้รู้สึกอย่างไรบ้าง
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมรู้สึกเฉยๆ นะ ไม่รู้สึกอะไรนะครับ เพราะว่าผมโดนเรียกอย่างนั้นบ่อย ไม่ได้เรียกว่ามนุษย์ลุงนะครับ แต่จะพูดคล้ายๆ ว่า แก่แล้วไม่เจียมตัว เพราะผมแต่งตัวแบบนี้ด้วย แล้วนิสัยก็ยังเป็นวัยรุ่นอยู่ (หัวเราะ)
ตุ้ม - ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (กีตาร์) : คนเราพอถึงเวลามันก็แก่ทุกคนแหละครับ แต่ขึ้นอยู่ว่าจะแก่ไปแบบไหนมากกว่า จะแก่แบบไม่มีศักยภาพ หรือจะแก่ไปแบบยังมีความฝัน มีความหวังที่จะทำประโยชน์อะไรให้กับตัวเองหรือสังคมอยู่
จริงๆ ทุกคนก็ไม่ได้แก่ได้ทุกคนนะครับ (หัวเราะ) คนแก่มากๆ ผมว่าเขาได้กำไรชีวิตแล้วนะ ผมยังอยากแก่มากๆ อย่างเขาเลย ผมจะได้มีเวลาเหลือพอที่จะทำประโยชน์ให้กับตัวเองและสังคมอีก เพราะยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่เรายังไม่ได้ทำ อีกอย่างอายุไม่เป็นอุปสรรคกับการที่เราฝันที่จะทำอะไรหรอกครับ

• แต่ก็ยังมีผู้สูงอายุหลายคนเหมือนกันที่น้อยเนื้อต่ำใจ ประมาณว่าพออายุมากขึ้นก็คิดว่าทำอะไรได้ไม่เท่าวัยอื่นๆ ตรงนี้อยากจะบอกหรือฝากอะไรถึงผู้สูงวัยเหล่านั้นบ้างคะ
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : ก่อนอื่นเรื่องสำคัญที่อยากจะฝากเลยก็คือ สุขภาพร่างกาย เพราะว่าผู้สูงอายุอุปสรรคคือโรคประจำตัว ร่างกายที่ไม่แข็งแรง ตรงนี้มันทำให้เขาหมดกำลังใจได้ ดังนั้นคนวัยเราการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การดูแลอาหารสำคัญมาก เพราะถ้าสุขภาพร่างกายดี สุขภาพจิตใจก็จะดีตามด้วยครับ

• แล้วแบบนี้คุณลุงแต่ละท่านดูแลสุขภาพกันอย่างไรให้เป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพคะ
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : เราต้องเริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เราต้องยอมรับ ต้องทำตามที่เขาวิจัย ต้องพยายามเชื่อเขา เขาบอกอันนี้ไม่ดีนะ ก็อย่าไปกิน
ส่วนตัวผมจะดูแลเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ เนื้อสัตว์อย่าไปทานมาก เพราะว่าเรามีอายุแล้ว ระบบย่อยไม่เหมือนกัน ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ งดน้ำหวาน น้ำอัดลม ซึ่งมันอันตรายต่อคนมีอายุครับ แล้วผมก็จะหมั่นออกกำลังกาย วิ่งไม่ได้ เราก็เดิน อย่าอยู่เฉยๆ
นอกจากนี้แล้วผู้สูงอายุทุกคนจะมีโรคประจำตัว ไม่มีใครไม่มี เราต้องดูแล หมอนัดเราต้องไป อย่าไปดื้อ ให้ทำตามคำแนะนำของแพทย์จะดีที่สุดครับ
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมว่ายน้ำทุกวัน ว่ายมานานแล้ว ตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากว่ายน้ำก็จะชอบปั่นจักรยานด้วยครับซึ่งมันช่วยบริหารปอดได้ดีด้วย
เทพ - เทพ เก็งวินิจ (คีย์บอร์ด) : ผมจะชอบเดิน ปั่นจักรยาน และก็เล่นดนตรีครับ เพราะจะช่วยให้สุขภาพกายและจิตดี
ส่วนเรื่องอาหารก็ต้องเลือกทานด้วย เค็มก็ไม่ควรทาน เพราะการทานเค็มจะมีผลต่อไต ให้เน้นทานผลไม้เยอะหน่อย พวกโปรตีนก็ทานน้อยหน่อย

• ท้ายนี้วง Bennetty จะเป็นอย่างไรต่อไป หรือคุณลุงแต่ละท่านมีความฝันเกี่ยวกับงานดนตรีต่อไปอย่างไรบ้างคะ
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมก็คงจะร้องเพลงเป็นประจำเหมือนที่เคยทำอยู่แล้ว ทุกวันนี้ก็ไม่ได้มีอะไรมาก แต่ยังไงก็จะไม่เลิกร้องเพลงง่ายๆ หรอกครับ จะร้องไปจนกระทั่งนาทีสุดท้ายนั่นแหละ (หัวเราะ)
เทพ - เทพ เก็งวินิจ (คีร์บอร์ด) : ส่วนผมถ้ามีการทำเพลงต่อ ผมก็จะทำในส่วนของผมให้ดีที่สุดครับ
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : ผมก็จะไปเป็นจิตอาสาต่อไป หมายความว่าถ้ามีงานการกุศล มีอะไรที่เราสามารถช่วยเหลือได้ในด้านดนตรี เราก็ช่วยเหลือและให้คำแนะนำครับ
บุญเสริม - บุญเสริม ชูช่วย (เมาท์ออร์แกน) : ส่วนผมก็คงเล่นไปเรื่อยๆ ที่ไหนเรียกเราก็ไปไปหมด สนุกสนานดี มีความสุขดีครับ
ตุ้ม - ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (กีตาร์) : ถ้าเป็นไปได้ผมอยากมีโอกาสทำเพลงแบบนี้ต่อไป อยากให้ทางสมาคมเขาคิดที่จะทำต่อไปอีกเรื่อยๆ อยากให้มีเพลงออกมาอีกครับ
กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร (โปรดิวเซอร์) : ถ้าในส่วนของวง Bennetty ก็คิดว่าจะมีเพลงต่อไปออกมาแน่นอนครับ ส่วนโครงการนี้คิดว่าจะต้องทำต่อไป เพราะเราอยากจะให้เป็นประโยชน์กับผู้สูงวัยท่านอื่นๆ ด้วย ตอนนี้ก็คุยกับทาง สสส. อยู่ว่าโปรเจกต์ต่อไปจะเป็นในรูปแบบไหนดี ซึ่งเราก็อยากจะทำให้มันยั่งยืนขึ้น

[ BENNETTY Members ]
Guitar : ตุ้ม - ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (64 ปี)
Mouth Organ : บุญเสริม - บุญเสริม ชูช่วย (86 ปี)
Keyboard : เทพ - เทพ เก็งวินิจ (74 ปี)
Drum : ชาติ - ธนกร เจียสิริ (65 ปี)
Vocal : วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (80 ปี)
Bass : หริ - ศิริ ดีลัน (69 ปี)
เรื่อง : วรัญญา งามขำ, พุทธิตา ลามคำ
ภาพ : วชิร สายจำปา
“BENNETTY (เบนเน็ตตี้)” เกิดจากการรวมตัวของนักดนตรีรุ่นพ่อทั้ง 6 คน ที่พกเอาประสบการณ์และความสามารถทางดนตรีที่มีเต็มเปี่ยมมารังสรรค์ขึ้นเป็นวงดนตรีวัยเก๋า ภายใต้การดูแลของ Choojai Record ซึ่งการรวมตัวเฉพาะกิจครั้งนี้ไม่ใช่เพียงเพื่อบอกว่า พวกเขาอายุเท่าไหร่ หรือทำอะไรได้บ้าง แต่สิ่งนี้ทำขึ้นก็เพื่อให้เหล่าคุณลุงเป็นตัวแทนของคนสูงวัยประกาศให้โลกได้เห็นว่า “ความฝันไม่มีวันหมดอายุ”
ใครๆ ต่างก็กล่าวขานกันว่าวงนี้ทั้งเก๋า ทั้งเจ๋ง ซึ่งพวกเขาทั้ง 6 คนเป็นใครกันบ้าง วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับวง “BENNETTY” วงที่จะพิสูจน์ให้คุณได้เห็นว่า “อายุเป็นเพียงแค่ตัวเลข”
• จุดกำเนิด BENNETTY วงดนตรีวัยเก๋า
กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร (โปรดิวเซอร์) : โปรเจกต์นี้เริ่มมาจากบริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร จำกัด เป็นครีเอทีฟที่เป็นต้นเรื่องร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งทาง สสส. เขาทำเรื่องเกี่ยวกับผู้สูงวัยอยู่แล้ว เขาก็เลยมีเป้าหมายว่าอยากให้ผลิตชิ้นงานที่มีส่วนช่วยพัฒนาสุขภาวะประชากรผู้สูงอายุ ซึ่งเราก็เลยตีโจทย์ออกมาโดยการเลือกใช้ดนตรีมาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารครับ
ปัจจุบันสังคมเราเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว และผมรู้สึกว่าปัจจุบันโลกของผู้สูงวัยกับโลกของคนรุ่นใหม่มักโดนแยกออกจากกัน ซึ่งสิ่งที่ภาครัฐเข้ามาดูแลส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการให้เงิน การดูแลสุขภาพ แต่จริงๆ แล้วผมมีความเชื่อว่าชีวิตหลังเกษียณของผู้สูงวัย เขาก็เหมือนกับวัยรุ่นนั่นแหละครับ ตอนเราเด็กๆ ผู้ใหญ่จะบอกว่าต้องให้พื้นที่ในการแสดงออกต่อวัยรุ่นนะ ผู้สูงวัยก็เหมือนกัน พอหลังเกษียณไม่มีใครมาบอก ไม่มีพื้นที่ ไม่มีจุดยืนให้เขา หน้าที่ของเขาก็เลยจบหลังจากเกษียณไปแล้ว ซึ่งเราก็ไม่อยากให้คำว่าเกษียณมันกลายเป็นคำว่าหมดหน้าที่ ดังนั้นมันต้องหาต่อว่าอะไรคือหน้าที่หลังเกษียณ เพราะฉะนั้นเราก็เลยทำโปรเจกต์นี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างในการร่วมมือกันระหว่างคนรุ่นใหม่กับผู้สูงวัยเพื่อให้เกิดการยอมรับจากสังคมจริงๆ แต่สิ่งที่ทำขึ้นมาไม่ได้ทำเพื่อความสงสารใดๆ ทั้งสิ้นนะครับ หมายความว่าสังคมจะรู้สึกได้รับผลประโยชน์ ได้รับแรงบันดาลใจมากขึ้นจากโปรเจกต์นี้ ซึ่งผมตั้งใจว่าผู้สูงวัยต้องเดินเข้ามาหาคนรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่ก็ต้องเดินเข้าไปหาผู้สูงวัย ทำงานร่วมกันและพิสูจน์ออกมาให้สังคมเห็นว่ามันเวิร์ก
พอเกิดขึ้นมาเป็นโปรเจกต์แล้วทางทีม Song Sound Production ก็จะเป็นผู้ออดิชันหาผู้สูงอายุที่มีใจรักและมีพื้นฐานการเล่นดนตรีมารวมตัวกันเป็นวงดนตรีผู้สูงวัย ที่เล่นแนวเพลงคนรุ่นใหม่ภายใต้การดูแลของ Choojai Record ครับ และนอกเหนือจากหน้าที่นี้เขาก็จะเก็บภาพทั้งหมดไว้แล้วทำออกมาเป็นสารคดีเรื่องราวชีวิตของลุงทั้ง 6 ท่าน โดยผ่านฝีมือการกำกับของพี่คงเดช จาตุรันต์รัศมี (ผู้กำกับภาพยนตร์ จากภาพยนตร์เรื่อง Snap, ตั้งวง, แต่เพียงผู้เดียว)
ในส่วนของเพลงเราก็ได้พี่ดุ่ย-วิษณุ ลิขิตสถาพร จาก Youth Brush มาร่วมแต่งเนื้อร้องจากโจทย์ “เพลงรักในมุมมองของคนรุ่นลุง” และทางพี่เจ-เจตมนต์ มละโยธา หรือ Penguin Villa มาโปรดิวซ์ให้ด้วย
ส่วนมิวสิกวิดีโอจะผลิตโดยทีม Huaglom Production (หัวกลม โปรดัคชั่น) จากฝีมือพี่ต้น หัวกลม (ยศศิริ ใบศรี) ที่ถ่ายทอดแนวคิดที่ว่า ชีวิตและความตายไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ทว่าสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือการปล่อยให้ความฝันตายไปจากชีวิตครับ ทั้งหมดทั้งมวลจึงได้เปิดตัวออกมาในเพลงที่มีชื่อว่า “จุดเดิม” ครับ
• เปิดตัวซิงเกิลแรกด้วยเพลง “จุดเดิม” แนวเพลงอินดี้ร็อก
กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร (โปรดิวเซอร์) : ผมมองว่าเราอาจจะได้เห็นผู้สูงวัยออกมาร้องเพลงเพื่อชีวิต ร้องเพลงลูกทุ่ง ร้องเพลงอะไรที่รู้สึกว่ามันไม่ได้หลุดจากขนบของผู้สูงวัยมากนัก ผมเลยคิดว่าเราอยากได้เพลงแนวอัลเทอร์เนทีฟ แนวอินดี้เลย แต่ต้องเป็นอินดี้ที่ทุกคนฟังได้ เพราะเพลงนี้ แนวนี้มันอาจจะเป็นพื้นที่ เป็นอาณาเขตที่คนยุคท่านไม่เคยก้าวเข้ามา และก็ไม่เคยมีวัยรุ่นกลุ่มไหนอ้าแขนต้อนรับ ซึ่งการก้าวครั้งนี้จะเป็นการก้าวออกมาจากสังคมของเขาและเป็นการก้าวที่ใหญ่ๆ ด้วย
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ตอนที่ได้โจทย์ผมรู้สึกหนักใจมากเลยนะ เพราะธรรมดาผมก็ร้องเพลงเก่าอยู่ แต่ว่าจะเป็นเพลงสากลมากกว่า เพลงไทยก็ร้องแต่ไม่ใช่แนวนี้ พอทราบว่าเราจะต้องร้องเพลงนี้ แรกๆ ก็ไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่ ซึ่งเขาก็ให้เราฟังเดโม่ก่อน และเอากลับบ้านไปซ้อมที่บ้านด้วย หลังๆ ก็ค่อยชินหน่อย ยากดี ท้าทายดี แต่ชอบครับ
ตุ้ม - ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (กีตาร์) ส่วนตัวผมว่าก็แปลกดีนะครับโดยเฉพาะท่อนขึ้น ท่อนอินโทรกีตาร์ คล้ายๆ มีเพลงพื้นบ้านเข้ามาผสมด้วย ก็รู้สึกว่ามันแปลกใหม่ดีสำหรับตัวผมครับ
เทพ - เทพ เก็งวินิจ (คีย์บอร์ด) : ผมมองว่าเป็นเพลงแนวใหม่ ตอนแรกก็ไม่คิดเหมือนกันว่าเราจะเล่นได้ เพราะยุคเราส่วนใหญ่จะเคยชินกับแนวเพลง 60-70 อีก อย่างท่อนโซโลผมต้องเล่นมือเดียว มืออีกข้างต้องใช้เคาะจังหวะ (หัวเราะ) ก็ต้องใช้เวลาซ้อมพอสมควรเหมือนกันครับ ถึงจะเข้ากันได้
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : แรกๆ ผมก็กังวลเหมือนกันนะครับ อย่างตอนบันทึกเสียง เราจะไม่ชินกับการเข้าห้องอัดบันทึกเสียงเท่าไหร่ แต่เราจะชินกับการเล่นไลฟ์สด การเล่นทั่วไปมากกว่า ซึ่งบางทีตัวโน้ตอาจจะสั้นไปหรือยาวไป เราก็จะอาศัยเหลื่อมๆ กันไปทั้งวง มันก็เลยกลมกลืนกันไปได้ แต่การบันทึกเสียงจะละเอียดมาก และการเล่นแต่ละทีน้ำหนักมันไม่ตรง มันขาดบ้างอะไรบ้าง เราเลยต้องทำตรงนี้ให้ได้ พอหลายๆ รอบเข้า เราก็ค่อยๆ ปรับจูนน้ำหนัก ซึ่งโปรดิวเซอร์เขาจะแนะนำด้วยเลยผ่านไปได้ด้วยดีครับ
• ย้อนถามถึงตอนที่มาสมัครหน่อยค่ะ ทำไมถึงอยากมาสมัครโครงการนี้คะ
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมมาสมัครเพราะลูกสาวเขาโทร.มาบอกครับ เขาคงจะไปเห็นทางอินเทอร์เน็ตมา พอลูกมาบอก ก็รู้สึกว่าน่าสนใจดีเพราะเกี่ยวกับอายุด้วย เราก็อายุขนาดนี้แล้ว ถ้าเขาให้โอกาส ก็อยากจะมาแสดงออกเพราะปกติแล้วผมก็ร้องเพลงเป็นประจำอยู่แล้วด้วย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นจิตอาสาสมัครเล่น จะร้องตามโรงพยาบาลที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้เป็นนักร้องอาชีพอะไร
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : ส่วนผมเป็นพ่อบ้าน อยู่บ้าน เลี้ยงลูกดูหลานครับ แล้วทีนี้เราก็ได้ข่าวมาจากเพื่อนสนิท เขาโทรมาบอกว่าจะมีการออดิชันเกี่ยวกับวงดนตรีผู้สูงวัย ซึ่งเราก็เข้าข่ายนะ (หัวเราะ) เราก็ว่างๆ อยู่ด้วย ก็เลยไปลองดู
ส่วนตัวผมสมัยวัยรุ่นจะชอบเล่นดนตรีอยู่แล้วครับเล่นตามแคมป์ตามอะไร ตอนนั้นจะเล่นเป็นแนวดิสโก้ แนวเพลงป็อปทั่วไปอะไรทำนองนั้นครับ คือจะบอกว่าตอนนั้นเล่นดนตรีได้นิดหน่อย ก็เป็นนักดนตรีได้ เพราะเขาต้องการนักดนตรีเยอะ พูดง่ายๆ ว่า เป็นนักดนตรีก่อนที่จะเล่นเป็นซะอีก อย่างรู้สามสี่คอร์ดก็เล่นเพลงได้แล้ว แล้วสมัยก่อนดนตรีมันไม่ได้ซับซ้อนเหมือนเดี๋ยวนี้นะ พวกเราก็จะพอเล่นได้ จากแค่เล่นเป็น ก็เป็นไปเลย (หัวเราะ) คล้ายๆ ครูพักลักจำ
เทพ - เทพ เก็งวินิจ (คีย์บอร์ด) : ผมเป็นวิศวกร แล้วก็มีโอกาสได้เล่นดนตรีเป็นงานอดิเรกอยู่บ้างครับ
ผมมาสมัครเพราะผมไปเล่นเครื่องเปียโนไฟฟ้าที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งอยู่บ่อยๆ ทีนี้ก็มีทีมงานเขาผ่านมาเห็น ก็ได้ทาบทามให้ผมไปแคสติ้ง ตอนแรกผมก็ไม่ค่อยมั่นใจเพราะผมเล่นเปียโนล้วนๆ และเล่นแต่เพลงเก่ายุค 60 ด้วย ซึ่งพอต้องไปเล่นเพลงสมัยใหม่เราก็ไม่ค่อยมั่นใจ ตอนแรกเขาก็มาทดสอบ ทีนี้ทางทีมงานก็แจ้งมาว่าโอเค ยินดีให้ผมมาลองเล่นดู
บุญเสริม - บุญเสริม ชูช่วย (เมาท์ออร์แกน) : ผมมาสมัครเพราะหลานผมเขาทราบข่าว แล้วเห็นว่าตาชอบร้องเพลง ชอบเล่นไวโอลินและเมาท์ออร์แกน ดนตรีอย่างอื่นก็พอจับๆ ได้บ้าง เขาก็เลยพามาสมัคร ก็สนุกสนาน มีความสุขดีครับ
ตุ้ม - ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (กีตาร์) : ผมมาเพราะเพื่อนเขาแนะนำครับ เขามาหาที่บ้านแล้วก็ชวนไป ตอนแรกผมไม่ทราบว่าจะพาเราไปไหน เขาก็บอกแค่ว่าให้ไปสมัคร ผมต้องยกความดีความชอบให้เพื่อนคนนี้เลยครับ (หัวเราะ)
ตอนแรกที่สมัครคิดว่าจะสมัครเฉยๆ ทีนี้ต้องไปออดิชันอะไรด้วยคือไม่ได้เตรียมตัวเลย แต่ผมเลือกเล่นกีตาร์ ส่วนเพื่อนที่มาด้วยเขาตีกลอง ไปถึงเขาก็จะมีกีตาร์ไฟฟ้ากับกีตาร์โปร่ง เราก็เลยถามเขาว่าจะให้ดีดกีตาร์อะไร จะให้เล่นอะไร เขาก็บอกว่ากีตาร์โปร่ง ผมก็ดีดไป ร้องเพลงไป ร้องไปเรื่อยๆ แล้วสักพักเขาก็เอากีตาร์ไฟฟ้ามาให้เล่นด้วยครับ
กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร (โปรดิวเซอร์) : ส่วนอีกท่านหนึ่งคือคุณอาชาติ ธนกร เจียสิริ เป็นมือกลองครับ ท่านติดธุระเลยไม่ได้มาวันนี้ ซึ่งคุณอาชาติ คุณอาสิริ คุณอาตุ้มจะรุ่นๆ เดียวกัน เล่นดนตรีมาในยุคเดียวกัน อาชาติเขาก็จะอยู่บ้านทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องดนตรี ปล่อยเช่าเครื่องดนตรี เขาก็จะคลุกคลีกับดนตรีอยู่นิดหนึ่งเหมือนกันครับ
• เห็นว่าพอเปิดตัวเพลงนี้ออกมา ผลตอบรับค่อนข้างดีมากเลย ตรงนี้รู้สึกอย่างไรกันบ้าง คาดหวังไว้ไหมว่าคนในสังคมจะมองผู้สูงอายุเปลี่ยนไป
กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร (โปรดิวเซอร์) : ตอนที่ปล่อยไปวันแรก น้องๆ ในทีมเขาบอกว่า เห้ย! พี่ยอดมันวิ่งมากเลย เรามาดู ก็ตกใจ หลังจากวันนั้นก็มาเรื่อยๆ คือเราอยู่กับมันมาปีครึ่งแล้ว โปรเจกต์เราหลายๆ งานมันก็เป็นแบบนี้ เราเลยรู้สึกว่าโอเค
พอหลังจากที่ได้รับกระแสมา เราก็ไม่มีโอกาสได้พบทั้ง 6 ท่านเลย จนเมื่อสักสัปดาห์ที่แล้วผมได้เจอทั้ง 6 ท่าน แล้วมีความรู้สึกว่าแววตาแต่ละท่านเปลี่ยนไปจากวันแรกที่ได้ทำโปรเจกต์ด้วยกัน แววตาแต่ละท่านกระชุ่มกระชวย มีพลัง รู้สึกว่ามันมีอะไรเข้ามาในชีวิต เราก็รู้สึกดีที่ทำให้เขามีพลังมากขึ้น แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นผมเข้าไปอ่านคอมเมนต์ทุกอันเลย รู้สึกว่า เอ้ย สิ่งที่เราทำเป็นประโยชน์นะ มีหลายคอมเมนต์ที่เขาอยากจะหยิบกีตาร์ อยากจะทำอะไรที่เขาชอบ ซึ่งมันไม่มีคำว่าช่วงอายุอีกต่อไปแล้ว
เทพ - เทพ เก็งวินิจ (คีย์บอร์ด) : ผมว่าส่วนใหญ่คนรุ่นผมเขาก็จะมีศักยภาพนะครับ แต่พอเกษียณอายุจากอาชีพที่เขาทำมา เขาก็ไม่รู้จะไปทำอะไร เพราะบางทีเขาอาจจะไม่มีโอกาสได้แสดงออกมากกว่า ซึ่งจริงๆ แล้วผมมองว่าผู้สูงอายุก็ควรจะได้กลับมาทำประโยชน์ให้กับสังคมเหมือนกันนะครับ
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมว่าตรงนี้ก็ช่วยไปกระตุ้นให้ตื่นตัวได้เหมือนกันนะ อย่างแต่ก่อนที่ยังไม่มีกระแส ยังไม่มีอะไร คนสูงอายุก็จะต่างคนต่างอยู่ ก็เป็นธรรมชาติของเขาแหละ แต่พอมีกระแสเกี่ยวกับเรื่องผู้สูงอายุขึ้นมาบ้าง ผมคิดว่ามันคงจะมีกระแสตอบรับไปในทางที่ดีขึ้น อย่างน้อยผู้สูงอายุก็จะได้คิดแล้วว่าเขามีความสำคัญ เพราะว่าสังคมมองเห็น ให้ความสำคัญกับเขานะ
• แบบนี้คิดว่าฝีมือการเล่นดนตรีของคุณลุงเทียบเท่ากับเด็กวัยรุ่นได้ไหมคะ
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมว่าเราชนะนะ ชนะเพราะอะไรรู้ไหม ชนะเพราะอายุเรายังไงครับ (หัวเราะ) ก็ดีใจนะที่คนเข้ามาชื่นชมเราว่าเพราะจัง อายุตั้ง 70 - 80 ปีแล้ว ยังเล่นดนตรีได้อย่างนี้ แต่ถ้าสมมติว่าเราอายุเท่ากับวัยรุ่น ร้องเพลงได้ขนาดนี้ ผมคิดว่าน่าจะสู้เขาได้แหละครับ (ยิ้ม)
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : ยอมรับว่าบางทีเราก็อายลูกเหมือนกันนะครับ ว่าอายุป่านนี้แล้ว ลูกเขาจะคิดยังไงหรือเปล่า แต่เท่าที่สังเกตดู ลูกชอบครับ และเพื่อนๆ ของลูกเขาก็ชอบ เขาก็มากดไลค์ มาชื่นชม เราก็เลยภูมิใจหน่อย
ผมมองว่าอายุเป็นเพียงตัวเลขครับ ถึงแม้ว่าตอนนี้ทุกคนในวงจะอายุรวมกัน 438 ปีแล้วก็ตาม (หัวเราะ)
• แล้วการทำงานล่ะคะ เพราะแน่นอนว่าต่างคนต่างที่มาและต่างความคิด มีปัญหาบ้างไหม เช่น ด้านการสื่อสาร หรือการทำงานระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : มันก็มีบ้างครับ ที่ต่างความคิด ไม่ค่อยตรงกัน เมื่อไม่ตรงกัน ก่อนอื่นเราต้องดูตัวเราเองก่อนล่ะว่าเราไม่ตรงอะไรกับใคร เมื่อเราคิดได้ว่าเขาเป็นอย่างนี้ เราก็ต้องพยายามปรับจูนตัวเองก่อนเพื่อให้อยู่ร่วมกับเพื่อนๆ ที่ร่วมงานได้ หลังจากนั้นพอเรามารวมกันแล้ว เรามีโปรเจกต์แล้ว แล้วก็มีโปรดิวเซอร์ มีทีมงานแล้ว เขาก็จะมาบอกว่าเป้าหมายจะเป็นยังไง คิดว่าทุกๆ คนก็จะเข้าใจได้เมื่อเรามีเป้าหมายอันเดียวกัน
กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร (โปรดิวเซอร์) : จริงๆ ต้องขอบคุณทีมงาน ซึ่งคนเตรียมการทั้งหมดก็เป็นทีมพี่คงเดช เพราะเขาต้องดูแลตั้งแต่วันแรกจนถึงวันที่ถ่ายมิวสิกวิดีโอ จนถึงวันที่ปล่อยเพลงออกมา อย่างสารคดีที่ทำตอนจบต้องบอกว่าเวอร์ชั่นเดิมไม่ได้มีการจบแบบนั้นนะครับ เพราะเราไม่รู้ว่าเพลงจะประสบความสำเร็จไหม ตอนแรกเราจบว่าชีวิตลุงตุ้มก็ดูแลลูกต่อไป ลุงหริก็ดูแลหลาน ลุงบุญเสริมก็ไปเล่นดนตรีในคาเฟ่ปกติ จบแค่นั้นดูเรียบๆ หน่อย แล้วพอเห็นผลการตอบรับ เห็นออกข่าว เห็นเพลงขึ้นชาร์ต เห็นยอดคนไลค์ในมิวสิกวิดีโอ ผมบอกพี่คงเดชเลยว่าเปลี่ยนท้ายเถอะ ให้มันรู้สึกว่าตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ เราได้ผลตอบรับยังไงบ้าง เราอยากจะอัปเดตเพื่อจะได้แสดงศักยภาพว่าพอเราลุกขึ้นมาทำอะไรแบบนี้ แล้วนี่คือผลที่มันเกิดขึ้นจริงๆ กับเรานะ
จริงๆ แล้วมิวสิกวิดีโอตอนแรกต้องบอกว่ามันจะไม่ได้หวือหวาขนาดนี้ แล้วเราก็มาคิดว่า ปัจจุบันเราต้องสู้กับคอนเทนต์มากมาย คือผมเป็นครีเอทีฟอยู่แล้ว ก็เลยกำกับมิวสิกนี้ด้วย เราก็เลยมีความคิดว่าเราอยากจะพูดบางสิ่งบางอย่างที่คนไม่ค่อยกล้าพูดกับคนวัยนี้เท่าไหร่ นั่นก็คือ เรื่องอายุขัยกับความตาย เพราะว่าเราเป็นเมืองพุทธ เรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องต้องห้ามนิดหนึ่ง มันเป็นเรื่องแช่ง เป็นสิ่งที่ไม่เป็นสิริมงคล ซึ่งพอเราคิดมาอย่างนี้ เราก็ต้องบอกคุณลุงแต่ละท่านว่าผมจะถ่ายอย่างนี้นะ เราจะนำเอาสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอายุขัยและช่วงวัยของมนุษย์มานำเสนอนะ เช่น ลูกอมที่อยู่ในฟันปลอม เต่าที่อยู่บนสเกตบอร์ด หรือรอยสักคำว่า “OldBoy” บนร่างของคุณลุงตุ้ม ซึ่งเราก็กลัวลูกหลานของแต่ละท่านมาว่าเหมือนกัน ดังนั้นเราก็ต้องอธิบาย ผมก็โทร.บอกวาดภาพให้ท่านดูว่าจะมีช็อตนี้นะ
หรือเรื่องการแต่งกายก็เหมือนกัน ต้องบอกว่าตอนแรกจะไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะเราจินตนาการว่า เราจะทำแบบมิวสิกวิดีโอให้ผู้สูงวัยออกมาดูเป็นรุ่นใหม่ เราต้องทำยังไง เราก็เลยคิดว่าต้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกายท่าน ให้รู้สึกว่าเป็นวัยรุ่น แต่ผมมานั่งคิดอีกทีก็รู้สึกว่าสิ่งนี้มันจะทำให้คุณลุงตลกมากเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมกลัวที่สุดในโปรเจกต์นี้ เพราะผมตั้งใจว่าผมจะไม่ทำโปรเจกต์นี้ออกมาให้ผู้สูงวัยดูเป็นที่ขบขัน เป็นตัวโจ๊กของสังคม แต่ต้องรู้สึกว่า ลุงเขาเท่จังเลย ฉะนั้นเราเลยต้องการให้เป็นธรรมดาที่สุด ทำให้เขาดูเป็นคุณลุง คุณตาที่พบเห็นได้ทั่วไปมากที่สุด แต่พอเล่นดนตรีขึ้นมาเท่านั้นแหละ จะดูเท่มากอะไรทำนองนี้ สังเกตอย่างชุดคุณลุงหรินี่เกี่ยงกันใส่เลยนะครับเพราะทุกคนก็ไม่อยากแก่ เราก็ต้องอธิบายให้ท่านเข้าใจ ก็ออกมาด้วยดีครับ
• จะว่าไปแล้วดนตรีทำให้ชีวิตผู้สูงวัยอย่างคุณลุงเปลี่ยนไปบ้างไหม หรือคุณลุงได้อะไรจากดนตรีบ้างคะ
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : แน่นอนครับ เพราะก่อนที่เราจะมาออดิชันโครงการนี้ เราก็เลิกเล่นดนตรีไปประมาณหลายปีแล้ว พอเราวัยมากขึ้น มีงานให้ไปเล่น ญาติที่สนิทเขาก็บอกว่าอย่าไปเลยเพราะบางทีผมจะชอบขับมอเตอร์ไซค์ไป แล้วมันอันตราย เขาก็ห่วง ก็เลยไม่ได้ไปอีก พอดีจังหวะมาเป็นพ่อบ้าน เลี้ยงลูก เลี้ยงหลาน ก็เลยไม่ได้ไปข้างนอก จนมาเจอโครงการนี้นี่แหละที่ทำให้ผมได้กลับมาเล่นดนตรีอีกครั้ง
บุญเสริม - บุญเสริม ชูช่วย (เมาท์ออร์แกน) : มีความสุขครับ มีความสุขมากเลย ดนตรีให้ความสนุกสนาน ทำให้เราทุกคนได้มารู้จักกัน
ตุ้ม - ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (กีตาร์) : ดนตรีเป็นสื่อกลางที่สามารถทำให้ผมได้พบเจอคนที่มีความสามารถเหมือนกัน มีความชอบเดียวกัน ได้มาพบปะ มารู้ใจกันได้
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมว่าดนตรีช่วยหลายอย่างเลยนะครับ ช่วยทั้งสุขภาพ ผมถนัดร้องเพลง ตรงนี้ก็ช่วยขยายปอด ช่วยความจำ เพราะต้องจำเนื้อเพลงให้ได้ด้วย อีกอย่างดนตรีทำให้สุขภาพจิตดีด้วย ทำให้จิตใจเราเบิกบานสบาย ไม่เศร้า ไม่ขุ่นหมอง
เทพ - เทพ เก็งวินิจ (คีย์บอร์ด) : ดนตรีช่วยเรื่องสมาธิ ทำให้เราเพลิดเพลิน ใจเย็น แถมเรายังได้ไปเล่นเพลงที่ฟังได้ทุกระดับอายุด้วย มันทำให้เราพอใจในตัวเอง และทำให้คนรอบข้างพอใจเราด้วย
• สมัยนี้จะมีคำฮิตแบบเหยียดวัยที่ว่า “มนุษย์ลุง” “มนุษย์ป้า” เคยได้ยินคำนี้กันไหมคะ ถามตามตรงพอได้ยินคำนี้รู้สึกอย่างไรบ้าง
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมรู้สึกเฉยๆ นะ ไม่รู้สึกอะไรนะครับ เพราะว่าผมโดนเรียกอย่างนั้นบ่อย ไม่ได้เรียกว่ามนุษย์ลุงนะครับ แต่จะพูดคล้ายๆ ว่า แก่แล้วไม่เจียมตัว เพราะผมแต่งตัวแบบนี้ด้วย แล้วนิสัยก็ยังเป็นวัยรุ่นอยู่ (หัวเราะ)
ตุ้ม - ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (กีตาร์) : คนเราพอถึงเวลามันก็แก่ทุกคนแหละครับ แต่ขึ้นอยู่ว่าจะแก่ไปแบบไหนมากกว่า จะแก่แบบไม่มีศักยภาพ หรือจะแก่ไปแบบยังมีความฝัน มีความหวังที่จะทำประโยชน์อะไรให้กับตัวเองหรือสังคมอยู่
จริงๆ ทุกคนก็ไม่ได้แก่ได้ทุกคนนะครับ (หัวเราะ) คนแก่มากๆ ผมว่าเขาได้กำไรชีวิตแล้วนะ ผมยังอยากแก่มากๆ อย่างเขาเลย ผมจะได้มีเวลาเหลือพอที่จะทำประโยชน์ให้กับตัวเองและสังคมอีก เพราะยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่เรายังไม่ได้ทำ อีกอย่างอายุไม่เป็นอุปสรรคกับการที่เราฝันที่จะทำอะไรหรอกครับ
• แต่ก็ยังมีผู้สูงอายุหลายคนเหมือนกันที่น้อยเนื้อต่ำใจ ประมาณว่าพออายุมากขึ้นก็คิดว่าทำอะไรได้ไม่เท่าวัยอื่นๆ ตรงนี้อยากจะบอกหรือฝากอะไรถึงผู้สูงวัยเหล่านั้นบ้างคะ
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : ก่อนอื่นเรื่องสำคัญที่อยากจะฝากเลยก็คือ สุขภาพร่างกาย เพราะว่าผู้สูงอายุอุปสรรคคือโรคประจำตัว ร่างกายที่ไม่แข็งแรง ตรงนี้มันทำให้เขาหมดกำลังใจได้ ดังนั้นคนวัยเราการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การดูแลอาหารสำคัญมาก เพราะถ้าสุขภาพร่างกายดี สุขภาพจิตใจก็จะดีตามด้วยครับ
• แล้วแบบนี้คุณลุงแต่ละท่านดูแลสุขภาพกันอย่างไรให้เป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพคะ
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : เราต้องเริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เราต้องยอมรับ ต้องทำตามที่เขาวิจัย ต้องพยายามเชื่อเขา เขาบอกอันนี้ไม่ดีนะ ก็อย่าไปกิน
ส่วนตัวผมจะดูแลเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ เนื้อสัตว์อย่าไปทานมาก เพราะว่าเรามีอายุแล้ว ระบบย่อยไม่เหมือนกัน ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ งดน้ำหวาน น้ำอัดลม ซึ่งมันอันตรายต่อคนมีอายุครับ แล้วผมก็จะหมั่นออกกำลังกาย วิ่งไม่ได้ เราก็เดิน อย่าอยู่เฉยๆ
นอกจากนี้แล้วผู้สูงอายุทุกคนจะมีโรคประจำตัว ไม่มีใครไม่มี เราต้องดูแล หมอนัดเราต้องไป อย่าไปดื้อ ให้ทำตามคำแนะนำของแพทย์จะดีที่สุดครับ
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมว่ายน้ำทุกวัน ว่ายมานานแล้ว ตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากว่ายน้ำก็จะชอบปั่นจักรยานด้วยครับซึ่งมันช่วยบริหารปอดได้ดีด้วย
เทพ - เทพ เก็งวินิจ (คีย์บอร์ด) : ผมจะชอบเดิน ปั่นจักรยาน และก็เล่นดนตรีครับ เพราะจะช่วยให้สุขภาพกายและจิตดี
ส่วนเรื่องอาหารก็ต้องเลือกทานด้วย เค็มก็ไม่ควรทาน เพราะการทานเค็มจะมีผลต่อไต ให้เน้นทานผลไม้เยอะหน่อย พวกโปรตีนก็ทานน้อยหน่อย
• ท้ายนี้วง Bennetty จะเป็นอย่างไรต่อไป หรือคุณลุงแต่ละท่านมีความฝันเกี่ยวกับงานดนตรีต่อไปอย่างไรบ้างคะ
วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (ร้องนำ) : ผมก็คงจะร้องเพลงเป็นประจำเหมือนที่เคยทำอยู่แล้ว ทุกวันนี้ก็ไม่ได้มีอะไรมาก แต่ยังไงก็จะไม่เลิกร้องเพลงง่ายๆ หรอกครับ จะร้องไปจนกระทั่งนาทีสุดท้ายนั่นแหละ (หัวเราะ)
เทพ - เทพ เก็งวินิจ (คีร์บอร์ด) : ส่วนผมถ้ามีการทำเพลงต่อ ผมก็จะทำในส่วนของผมให้ดีที่สุดครับ
หริ - ศิริ ดีลัน (เบส) : ผมก็จะไปเป็นจิตอาสาต่อไป หมายความว่าถ้ามีงานการกุศล มีอะไรที่เราสามารถช่วยเหลือได้ในด้านดนตรี เราก็ช่วยเหลือและให้คำแนะนำครับ
บุญเสริม - บุญเสริม ชูช่วย (เมาท์ออร์แกน) : ส่วนผมก็คงเล่นไปเรื่อยๆ ที่ไหนเรียกเราก็ไปไปหมด สนุกสนานดี มีความสุขดีครับ
ตุ้ม - ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (กีตาร์) : ถ้าเป็นไปได้ผมอยากมีโอกาสทำเพลงแบบนี้ต่อไป อยากให้ทางสมาคมเขาคิดที่จะทำต่อไปอีกเรื่อยๆ อยากให้มีเพลงออกมาอีกครับ
กิ๊บ-คมสัน วัฒนวาณิชกร (โปรดิวเซอร์) : ถ้าในส่วนของวง Bennetty ก็คิดว่าจะมีเพลงต่อไปออกมาแน่นอนครับ ส่วนโครงการนี้คิดว่าจะต้องทำต่อไป เพราะเราอยากจะให้เป็นประโยชน์กับผู้สูงวัยท่านอื่นๆ ด้วย ตอนนี้ก็คุยกับทาง สสส. อยู่ว่าโปรเจกต์ต่อไปจะเป็นในรูปแบบไหนดี ซึ่งเราก็อยากจะทำให้มันยั่งยืนขึ้น
[ BENNETTY Members ]
Guitar : ตุ้ม - ฐิติชัย สวัสดิ์เวช (64 ปี)
Mouth Organ : บุญเสริม - บุญเสริม ชูช่วย (86 ปี)
Keyboard : เทพ - เทพ เก็งวินิจ (74 ปี)
Drum : ชาติ - ธนกร เจียสิริ (65 ปี)
Vocal : วัชระ - วัชระ ณ ระนอง (80 ปี)
Bass : หริ - ศิริ ดีลัน (69 ปี)
เรื่อง : วรัญญา งามขำ, พุทธิตา ลามคำ
ภาพ : วชิร สายจำปา