ถ้ามีเงิน 1,000 ล้านบาทจะทำอย่างไร
บ้าน รถ เสื้อผ้า ปัจจัย 4 ต่างๆ คงครอบคลุมถึงทั่ว หากแต่ ความสุขทาง “ใจ” จำนวนเม็ดมูลค่าเท่าไหร่ก็คงตอบโจทย์ไม่เต็มนักในเรื่องวิถีทางที่ต้องค้นและหาผ่านเวลาการบ่มเพาะ และที่สำคัญยังผ่องถ่ายเผยแพร่ให้คนอื่น
“สมโภชน์ ทับเจริญ” คือใครคนนั้นที่เรากล่าวถึง ชายชราวัย 59 ปี ที่เลือกปฏิเสธเงินก้อนโต 9 หลัก มาประกอบอาชีพเกษตรกรรมท่ามกลางความเจริญของเมืองหลวง ย่านเขตบึงกุ่ม-นวลจันทร์ แหล่งพื้นที่การพัฒนาป้ายต่อไป ภายใต้ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ครบวงจร
เหตุใดเขาจึงเลือกเดินทางสายนี้ท่ามกลางความเจริญของโลกยุค 4.0
ผืนนากับผืนคอนกรีต ราดร่วมกันได้อย่างไร
อดีตกับปัจจุบันส่งต่อถึงอนาคตด้วยรูปแบบไหน
อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย พร้อมชี้แจงแถลงไขทีละผืนความคิด ให้เราได้เห็นท้องทุ่งกว้างแห่งชีวิต...
ปฐทบทคนบ้าแห่งคลองบางขวด
กลิ่นดินขี้ควายไร้ค่าวันวาน วันนี้มีราคาหอมรัญจวน
“61 ปีมาแล้ว พื้นที่ตรงนี้ส่วนใหญ่เขาเรียกว่าทุ่งบางขวด เป็นทุ่งนาแบบโล่งๆ ไม่มีอะไรบดบัง ผู้คนก็จะอาศัยคลองบางขวด เป็นสายน้ำสายชีวิต จะกินอยู่กันตรงนี้ การเดินทางก็ใช้เรือพายแจว ต่อมาเป็นเรือหางยาวบ้าง ใช้การค้าขายทำธุรกิจขายข้าวผลผลิตต่างๆ โรงสีก็จะเอาเรือลากจูงเข้ามารับข้าวชาวบ้านกันถึงท่า”
ชายเบื้องหน้าผู้เป็นอดีตอาจารย์ประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวเล่าย้อนถึงพื้นที่เลขที่ 3 ซอยนวลจันทร์ 56 ถนนนวลจันทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม ซึ่งจัดเป็นทำเลทองชั้นดีอีกแห่งหนึ่งของพื้นที่เมืองหลวง ที่มีการพัฒนา เกิดชุมชนหมู่บ้านจัดสรร เส้นทางคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว ตัดผ่านเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ เพียงระยะเวลาไม่กี่นาที ทว่าในอดีต พื้นที่บ้านบางขวดแห่งนี้คือแหล่งผลิตอู่ข้าวอู่น้ำอันดับต้นๆ ของบางกอก
“จริงๆ ก็ตั้งแต่ทุ่งลาดพร้าวมา เป็นนาหมดเลย เวลาที่จะไปบ้านคุณแม่ ถ้าเดินก็ต้องเดินตามคันนาไปเป็นวัน กว่าจะถึง (ยิ้ม) ทีนี้ทุกบ้านก็จะมีวัวมีควาย แต่วัวมีค่อนข้างน้อย จะเน้นใช้ควายกันเป็นหลักใหญ่ เพราะวัวจะไถนาที่นี้ไม่ได้ เนื่องจากว่าเป็นหล่มลึกมาก แรงวัวมีไม่ถึงเท่าแรงของควาย สมัยเด็กเราก็มีหน้าที่เป็นเด็กเลี้ยงควาย ช่วยพ่อช่วยแม่ทำเรือกสวนไร่นา เล่นกับเพื่อนๆ ก็พื้นนา พื้นน้ำคลองบางขวด ในตอนเช้า พระก็ต้องพายเรือมาบิณฑบาต เป็นเรือลำเล็กสำหรับพายคนเดียว ชื่อเรือบด และเรือหงส์ ชีวิตเป็นอย่างนี้กันทั้งหมด
“กระทั่งปี พ.ศ. 2520-2530 ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไวมาก ตามยุคสมัยที่พัฒนา ตัวเราพอจบ ม.6 ก็ยังเดินทางไปเรียนอาชีวะปริญญาตรีที่เจ้าคุณทหารลาดกระบังจากนั้นก็ต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เรื่องของพื้นที่ตรงนี้เองมันก็เปลี่ยนแปลงไปไวมาก สภาพโล่งของพื้นที่ต่างๆ ถูกเบียดบังไปด้วยหมู่บ้านที่ขึ้นกันอย่างหนาตาขึ้นทุกวัน คลองบางขวดที่เคยทำนาทำไร่ก็ถูกแบ่งที่ทางต่างๆ ให้ลูกเต้า พอลูกได้รับก็ทำการขายไป เนื่องจากเมืองกำลังขยายตัว นายทุนเข้ามากว้านซื้อที่เพื่อรองรับความเจริญ มันก็เลยทำให้กลายเป็นเมืองไปอย่างรวดเร็ว”
คลองบางขวดที่เคยเป็นสายน้ำสายชีวิต ก็ถูกปิดตายลง เพราะน้ำเน่าเสียจากหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ เอย บ้านเรือนชาวบ้านเอย ไหลลงคลองโดยที่ไม่ผ่านการบำบัดใดๆ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในห้วงเวลาขนาดนั้นถึงขนาดต้องมีการรงค์ผ่านสื่อทีวีของประเทศ เพื่อแก้ปัญหา และแม้แต่ในวันนี้เองปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่หมดสิ้นไปจากคูคลองต่างๆ
“ทุกอย่างไม่มีหวนคืนกลับมาอีกเลย หลังจากคลองบางขวดตายลง (ยิ้ม) พอเมืองมันเจริญทุกบ้านก็เลิกทำนากันไปหมด แต่ทีนี้ ครอบครัวเราก็ยังทำนาไปเท่าที่แรงพ่อแรงแม่จะมี หนักๆ ตอนหลังพ่อแม่อายุมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็มองว่าไม่ไหวแล้ว ยังไงมันก็ต้องผันเปลี่ยนไปตามความเจริญของบ้านเมือง จะมารั้งในสภาพของเดิมก็เป็นไปไม่ได้ แต่ในระหว่างที่คิดอย่างนั้น เราก็มองถึงเหตุการณ์อย่างอื่นร่วมด้วย คือเราเรียนเราทำงานด้านการเกษตร ทำงานเป็นข้าราชการหน้าที่คือวิจัยและฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ของตัวเองให้กับเกษตรกร
“จริงอยู่ที่ว่ามูลค่าที่มันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากอดีตในตอนปี พ.ศ. 2520 ราคาไร่ละ 100,000 บาท ตอนนี้ปี 2561 ราคาไร่ละ 20 ล้านบาท เรามีที่ทั้งหมดราว 50 ไร่ ก็ตก 1,000 ล้านบาท แต่ขายแล้วจะเอาเงินไปทำอะไร ตรงกันข้าม ถ้าเกิดเรามีโอกาสได้กลับมาเรามีความสุขกับสิ่งที่เราเป็นเกษตรกรตั้งแต่เด็กๆ ความฝังใจตั้งแต่เด็ก ต่อมาพอเรามีความรู้ด้านนี้ เราก็คิดว่าอย่างน้อยที่สุด เมื่อเรากลับเข้ามา จะทำให้พื้นที่ตรงนี้เป็นแหล่งที่ทุกคนอยากจะได้เรียนรู้กับมัน ไปพร้อมๆ กับคุณจะรักษาพื้นแผ่นดินบรรพบุรุษเอาไว้ มันอยู่ร่วมกันได้ คนกับธรรมชาติ มันมีประโยชน์กว่าปล่อยไว้เฉยๆ ทำอย่างไร เราถึงจะใช้พื้นที่ดินอย่างนี้ให้เกิดประโยชน์ตามเจตนารมณ์ปู่ย่าตายายที่ให้เรามา เขาไม่รู้หรอกว่าพื้นที่ที่เขาให้มา มันจะเปลี่ยนแปลงแค่ไหน เราจะใช้พื้นที่ตรงนี้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้
“ก็เลยเปลี่ยนแปลงที่ดินทั้งหมดใหม่ทางเหนือถนนขึ้นฝั่งขวามือ จัดแจงขุดประมาณ 8 ไร่ จากที่เคยเป็นผืนนาทั้งหมดของฝั่งนี้ 16 ไร่ เป็นบ่อน้ำ ร้านอาหาร เพื่อที่จะใช้ตัวบ่อน้ำเป็นแก้มลิงแทนอดีตคลองบางขวด ใช้ทำการเกษตรในฤดูแล้ง เก็บน้ำในฤดูฝน จากนั้นปลูกต้นไม้รอบพื้นที่ ฝั่งด้านซ้ายก็มาเริ่มทำเกษตรตามที่มีความรู้ตามแนวที่เราคิดว่าเราจะทำอย่างไรก็ตาม แต่ทำให้คนมาสัมผัสกับมัน เพราะคนกรุงเทพฯ อยากไปบ้านนอก แต่คนบ้านนอกอยากได้แสงสีในกรุงเทพฯ ความกลับกันมันเป็นจุดเด่นจุดหนึ่งที่เราจะมีโอกาสดึงจุดนั้นมาเพื่อที่จะทำให้คนเข้ามาหาเรา เข้ามาหาความสุขที่นี่ มากินอาหาร ในบรรยากาศแบบนี้ เดินมาดูผักผลไม้ที่เราปลูก ดูเสร็จคุณก็ได้กินมันทันที เราเอาของที่ไร่เราปลูกมาประกบอาหารเพื่อจะนำมาจำหน่ายคนที่มาเยือนเรา
“ความจำเป็นในหน้าที่การงานก็ดี อะไรก็ดี ตรงนี้ก็จะตอบโจทย์ชีวิตที่เป็นการเรียนรู้ของเราได้ด้วย มันคือความสุขจริงแท้ที่แท้จริง”
บางขวด วิถีบางทุ่งร่วมกรุง
เราอยู่กันได้...
“บางขวด” เป็นชื่อคลอง ซึ่งเป็นลำน้ำที่ทอดยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ เป็นจุดเชื่อมต่อจากคลองตาเข่งทางด้านเหนือกับคลองลำเจียกทางด้านใต้ น้ำที่ไหลร่วมระหว่างทางมาจากคลองชวดด้วน จากคลองลำเจียกก็ไปต่อกับคลองบางเตย จุดสุดท้ายของลำน้ำสายนี้จะร่วมกันไหลลงคลองแสนแสบซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า “คลองใหญ่”
บางขวด ถูกสร้างถือกำเนิดในช่วงราวปี 2557 โดยพื้นที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 แปลง เพราะมีถนนสาธารณะตัดผ่าน แปลงบนทางทิศตะวันออกพื้นที่ประมาณ 12 ไร่เศษ ปลูกไม้ยืนต้นที่ให้ร่มเงา ไม้ดอก แพกลางน้ำและสระน้ำ เป็นแหล่งของธุรกิจค้าขาย ปัจจุบันสร้างเป็นอาคารสีเขียวด้านหน้าเป็นป่าไม้ ส่วนพื้นที่ด้านเขตตะวันตกพื้นที่กว่า 37 ไร่ ทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน ฟาร์มสเตย์ ศูนย์การเรียนรู้เกษตร พิพิธภัณฑ์เกษตรที่มีชีวิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
• ทำเกษตรอย่างไรในกรุงเทพฯ ให้อยู่รอดได้
หนึ่ง คุณต้องมีทุน คนที่คิดว่าทำงานออฟฟิศอยู่ เรียนจบมาแล้วทำงาน พอเริ่มทำอึดอัดใจกับเพื่อร่วมงาน เจ้านายต่างๆ แม้จะเปลี่ยนงานแล้วเปลี่ยนงานอีกก็ไม่ทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นเลย ก็พอเห็นคนอื่นทำสำเร็จเราก็มีความหวังเลย เปิดดูเยอะแยะมากมายในการทำเกษตรอินทรีย์ทั้งหลาย ทุกคนประสบความสำเร็จเหลือเกิน อยากออกมาทำเกษตร ใฝ่ฝันว่าที่บ้านนอกของเราหรือจะซื้อ เขาทำกันได้ไร่ละ 1 แสนบาท หนึ่งไร่ 5 แสนบาท ปีๆ หนึ่งคงไม่ต้องทำอะไรแล้ว ออกไปทำของเราเลย คุณทำได้ ถ้าคุณให้ใจมันเต็มร้อย แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าคุณให้ใจมันร้อยเต็มคุณต้องมีความรู้ คุณมีความรู้มากเพียงพอหรือยัง จริงที่ว่าไม่เป็นไรความรู้สามารถศึกษาต่อกันได้
ที่สำคัญ คุณหาแนวทางของตัวเองได้หรือยัง ถ้าเราดู เราลอกเขามา คุณก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะนั่นคือคนอื่น ไม่ใช่คุณ ด้วยพื้นที่ที่แตกต่าง ทุน ความรู้ การตลาด คอนเน็กชั่น คุณมองไปเห็นเขาจุดเดียว แต่คุณมองไม่เห็นทุกจุดที่เขามี ตัดสินใจก่อนว่าวันนี้เองคุณพร้อม คำว่าพร้อมกี่เปอร์เซ็นต์ ทุนทรัพย์ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณจะทำอะไร ก่อนที่จะทำอะไรคุณต้องคิดว่าคุณต้องทำไปขายใคร แล้วงานที่ทำทำเล่นๆ หรือทำเป็นงานอดิเรก หรือทำแบบเอาจริงจังๆ ทำเล่นๆ ก็ได้เล่นๆ อดิเรก 90 เปอร์เซ็นต์คือต้องเสียเงิน เพราะมันคืองานอดิเรก แต่ถ้าคุณทำเป็นอาชีพ 99 เปอร์เซ็นต์ที่คุณเฟล มีเพียงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ที่คุณจะสำเร็จ มี 100 บาท จะมีแค่ 1 บาทที่จะเป็นตัวต่อทุนให้คุณสำเร็จ อีก 99 บาทต้องลงทุนแล้วเฟลกับมันไป วันนี้คุณเตรียมตัวหรือยังที่จะเฟลกับมันไป เตรียมเงินเท่าไหร่ ใจเท่าไหร่ ถึงจะพร้อม
ไม่มีอะไรที่จะสำเร็จง่ายเลย แม้จะไปลอก ก็เพราะเป็นของคนอื่น ไม่ใช่คุณ ตลาดเปิดตรงนี้ไม่ใช่จุดง่ายๆ มันประกอบกันหลายอย่างมากมาย และกาลเวลาที่ผ่านมาผ่านไปมากมาย มันจะเป็นตัวบอกและตัวซื้อคุณว่างานที่คุณทำมาคุณจะต้องแก้ไขอะไรมัน ถึงจุดๆ หนึ่งยังไม่สำเร็จอยู่ดี เพราะต้องมีเงินก้อนหนึ่งไปแก้ไขสิ่งต่างๆ ที่มาของจุดเริ่มต้นของคุณที่คุณจะเริ่มรับได้ ไม่ใช่การทำร้านโชว์ห่วยที่ซื้อมาแล้วขายไป
อย่าไปดูคนอื่นว่าเขาประสบความสำเร็จแบบไหน ให้ดูว่าเขาทำอย่างไรแล้วกลับมาคิดเอง ทำเอง อันนี้คือเรื่องใหญ่ที่สุด หลายคนดูความสำเร็จคนมากมาย เขาเอาความสำเร็จมาลงให้ดู เขาไมได้เอาความเฟลหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นมาไม่รู้เท่าไหร่ให้ดู เราก็เหมือนกันเยอะแยะมากมาย ยกตัวอย่าง เริ่มทำนา ทำมาจั้งแต่เด็กๆ แม้จะมีความรู้เรียนมาอีกด้วย เริ่มมาทำนา เริ่มต้นจากการคัดข้าวไปเอาข้าวปลูกมาก่อนก็รู้อีกว่าข้าวปลูกมาจากไหน แต่ทำไปทำมามันมีข้าวปน ทำไปได้สองปีเสร็จข้าวที่จะเก็บเอาไว้ทำต่อไม่ได้แล้ว ก็ต้องมาเริ่มต้นใหม่เพราะมีการปนปลอมของข้าวพวกนี้จากการกลายของสายพันธุ์ต่างๆ เข้ามา
เรื่องพื้นที่ก็รู้ แต่ก่อนดินแข็งมากเพราะแต่พ่อแม่ใช่ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก สภาพของดินเป็นกรด ดินแข็งเป็นกระดานกระด่าง ซื้อรถไถ่มานั่งขับเลย ปีแรกยังรายได้ดี ต่อมาดินไม่ดีเราเอาขี้หมูไปใส่แก้การใช้ปุ๋ยเคมีในอดีตดินมันก็โหลบลง เหลวและลงลึก 3-4 ปี ต่อมาไม่สามารถใช้รถไถ่ลงไปทำอะไรได้อีกแล้วเพราะมันจมหมด ก็ต้องมาคิดใหม่ จะทำนาแปลงนี้จะเอาเครื่องมือเครื่องจักรอะไรลงไปทำ ก็มาดีไซน์รถลงไม่ได้ เรือลงได้ไหม (หัวเราะ) เอาเรือทุบนา ก็เอารถลงไปอยู่ในเรือ เฉพาะแค่นี้เองก็หมดเป็นแสนบาทแล้วค่าดีไซน์ เพราะทำไปเรื้อไปๆ จนกระทั้งมันออกมา ตรงนี้ถ้าคนอื่นมาเห็นลงทุนค่าเครื่องเรือไถ่หมื่นกว่าบาทเอง แต่ถ้าคุณทำไปแล้วเจอเหตุการณ์ที่คาดการณ์ไม่ได้ในอนาคตอย่างนี้ไม่เตรียมตัวเป็นเรื่องอันตรายมา
• วันนี้คุณเตรียมตัวพร้อมแล้วหรือยัง
วันนี้คุณเตรียมตัวพร้อมแล้วหรือยัง ยกตัวอย่างเพิ่มทำนา มีนก ก็ต้องมีมุ้ง มุ้งหลังหนึ่ง 3-4 หมื่นบาท ถ้ามี 3 แปลง ค่ามุ้งเป็นแสน คือหลายคนมีสตางค์มาก มีที่ต่างจังหวัด แต่ตัวเองกับครอบครัว ติดความสบาย แสงสี ก็จ้างคนงานเข้าไปทำ อาทิตย์หนึ่งหรือเดือนหนึ่งก็ไปดู ไปสั่งงาน ครอบครัวนี้ไปปลูกต้นไม้ ครอบครัวนี้ไปทำนา รอดยาก เกษตรกรถ้าไม่มีชีวิตอยู่กับพื้นที่ของตัวเอง ไม่ได้เห็นพื้นที่หรือผลผลิตของตัวเองทั้งเช้ากลางวันเย็นหรือกลางคืน ตายกับตาย
• จะทำเกษตรทั้งที คนเขาก็หาว่าบ้า ก็ส่วนหนึ่งมาจากตรงนี้
มันก็มี แต่เราอย่าไปสนใจอะไรเลย ถ้าเราสนใจคนอื่น แม้กระทั่งตัวเอง ยังต้องทะเลาะกันเอง เพราะมันไม่มีใครที่บอกว่าคนอื่นว่าดี ตัวเราต้องดีกว่าคนอื่นเสมอ การที่เราทำหนึ่งไม่ได้ทำให้ตัวเองเดือดร้อน สองคนอื่นไม่เดือดร้อน สามทำเพื่อให้คนอื่นมีความสุข ทำไปเถอะ วันหนึ่งเขาก็ต้องเข้าใจ แต่ในเรื่องเกษตรกรรม เราก็อยากจะแนะนำด้วยประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาคุณต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างเป็นอุทาหรณ์เพื่อที่จะแก้ไขรับมือทำจนสำเร็จ
• เพื่อชีวิต ไม่ใช่เพื่อความตาย อย่างวิถีเกษตรของที่เราชูสโลแกนแนวทางการทำ
จะตีความอย่างนั้นก็ได้ แต่นัยยะความจริงที่ว่านั้นคือเพื่อความปลอดภัย คุณกินเข้าไปแล้วมีแประโยชน์ของร่างกาย มะเขือเทศ มะละกอ ก็เพื่อชีวิต เพื่อบำรุงร่างกาย ไม่ใช่ของที่เขาใส่ยาฆ่าแมลงต่างๆ ที่ก้นหลุม อุดมไปด้วยยาฆ่าแมลงแล้วซื้อมากิน อันนั้นเกษตรเพื่อความตาย มีแต่สะสมในตับไตทุกวันๆ คือมีสารพิษปะปนหรือเจือปนในอาหารที่คุณกินทุกวัน แต่ของเราไม่มียาฆ่าแมลง เกษตรมันควรจะเป็นอย่างนี้ ทุกคนใฝ่ฝันตรงนี้ แต่มันทำไม่ได้ในพื้นที่ใหญ่ๆ หรืออุตสาหกรรม นี้คือจุดแตกต่างที่ทำให้เกิดและอยู่ได้ในตรงนี้ ขั้นที่สองต่อจากเริ่มต้นอย่างที่บอก ไม่ใช่ทำในสิ่งที่คนอื่นชอบ อยากรู้ว่าตัวเองชอบจริงหรือไม่อยากทำมาทดลองกับตัวเอง 5-10 วัน ไปอาศัยอยู่กับชาวบ้านไปทำงานทุกอย่างที่เขาทำ สู้ไหวไหม กลับมาระหว่างทางตัดสินใจว่ายังรักมันไหม ถ้ายังรักก็ไปต่อทำอย่างนี้ซ้ำๆ ยังรักก็คือตัวตนที่แท้จริง
• เลิกเฟลแล้วทำไงต่อ หลังจากเริ่มยืนได้
ก็มีเรื่องเฟลต่อ มันไม่มีจบสิ้น เกษตรหรือธุรกิจอะไรอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ถ้าคุณคิดตอนนี้ได้เท่านี้ อนาคตมันอาจจะไม่ได้เท่านี้เสมอไป ตรงนี้ก็ต้องใช้ใจที่รัก ถ้ารักจริงตรงนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ถึงได้ต้องมีอันนี้อันดับแรก เราจะเรียนรู้วิธีผิดพลาดเพิ่มขึ้นที่นำไปสู่ความสำเร็จ ทุกอย่างต้องเรียนรู้กันต่อไม่มีจบสิ้น
ที่สำคัญลงมือทำทันทีที่คิดแก้ไขทันทีที่ทำได้ ไม่ต้อรอเวลาวันนี้หรือพรุ่งนี้ เดี๋ยวนี้ทำเลยเมื่อลงมือทำปัญหาต่างๆ จะเข้ามามากมาย แล้วพยายามแก่ไขไปทีละปัญหา ทำในสิ่งที่เราทำได้ ที่เหมาะกับเรา อย่างทุเรียนแพง ทุ่งบางขวดทำไม่ได้ แต่ราคามันดี ก็ไม่ต้องทำ ทำที่ทำได้แม้ราคาน้อยกว่า คือธรรมชาติมันจะคล้องจองกับชีวิตเรา ศูนย์การเรียนรู้ หนึ่งในสิ่งที่เราทำขึ้นมาก็เพื่อการนี้ เราทำให้คนอื่นมาดู แล้วก็บอกว่ามันเจ๊งยังไง เพื่อที่เขาจะค้นพบว่าทำอย่างไรไม่ให้ฉิบหาย อย่างผักน้ำ วิตามินซีเยอะกว่ามะนาว 300 เท่า กิโลกรัมละ 3,000 บาท ปลูกได้จริง แต่ต้องสร้างจำลองสภาพอากาศที่ลงทุนเยอะมาก ไม่คุ้ม
• ความเหมาะกับวิถีแวดล้อมเป็นสิ่งที่ต้องค้นหาให้พบกับตัวบุคคล
ทุกวันนี้ที่มีเกษตร มีคนประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่ดี คุณดูแล้วเกิดแรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่ดี แต่ที่สำคัญต้องดูสิ่งที่เหมาะกับตัวเรา แมตช์กับเรา แล้วเราพอแค่ไหน ถ้าคุณไม่รู้จักพอทำเท่าไหร่ก็หวนกลับไปเกษตรอุตสาหกรรม ใส่ปุ๋ยใส่เคมี ต้องรู้จักพอต้องมีตรงนี้ท้ายสุดของแนวคิดและการเริ่มทั้งหมด
การศึกษาทุกวัน อะไรที่ยังไม่รู้ คุณจะต้องหามันให้เจอว่ามันคืออะไร มันเป็นอย่างไร แก้ไขอย่างไร สานต่อความคิดของเราได้หรือไม่ ทุกวันต้องศึกษา ถ้าไม่มีการศึกษาเพิ่มเติม ไม่มีแนวคิดใหม่ขึ้นมา มันก็จะอยู่ที่เดิม และถ้ามุ่งหวังกำไรเป็นไปไม่ได้ 5 ปี เกษตรไม่เหมือนอย่างอื่นต้นลงทุนน้อยๆ และค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น เกษตรเริ่มต้นลงทุนเยอะ แค่ค่าเครื่องมือ เครื่องจักร ระบบน้ำอย่างไร ใช้ตลอดทั้งปี ต้องมีเงินสำรอง วาดสิ่งต่างๆ ใส่ราคาก็ไม่รู้กี่อย่าง แล้วมันค่อยๆ ท้อแท้ขึ้นไปๆ การลงทุนจึงต่ำลง
มือแผ้วถาง ใจผ่อง ท่องให้สำเร็จ
บทส่งท้ายวิถีเกษตรแห่งชีวิต
“ผลประกอบการเสมอตัว ค่าคนงาน น้ำไฟ แรงยังไม่ได้คิดเลย แต่สิ่งที่ได้มาคือได้ใจตัวเอง คือทุกอย่างมันกำลังจะก้าวไปได้ในอนาคตอีก 5-10 ปี วันนี้ทำแค่คุ้มกับสิ่งที่ได้ลงทุนไป มันก็ดีแล้วในสภาวะเศรษฐกิจ แต่วันหนึ่งที่มันครบลูปที่เราต้องการ หนึ่ง ท่องเที่ยว ที่พัก ฟาร์มสเตย์ มีกิจกรรม มีร้านค้ารอรับ ขายผลผลิตของตัวเอง ให้เช่า กินนอนเที่ยวเรียนรู้ พื้นฐานของมนุษย์
“มันคุ้มกับสภาพจิตใจ คือสิ่งสำคัญที่สุด วันหนึ่งคุณมาคุณได้คิดกับมัน ได้ทำในสิ่งที่ชอบกับมัน เหนื่อยในเวลากลางวันแดดร้อนๆ กลางคืนกินข้าวหลับอย่างสบาย แต่ถ้าไปอีกรูปแบบหนึ่งมีที่เงินเยอะแยะ หากเราขาย เสร็จนำเงินนั้นไปท่องเที่ยวกลับมาตีสีตีห้าหรือเช้าหลังจากเที่ยว สิ่งที่มันได้คือได้ทำให้ตัวเองมีความสุขภาพใต้สุขภาพที่คุณทำให้ตัวเองเสียลง วันหนึ่งมันก็รับกันไม่ได้ แต่นั้นเป็นเรื่องของความสุข สุขของใครของเรา เราเลือกเองได้ ตรงนี้เรามีความสุขตรงนี้
“และที่สุขไปกว่านั้นได้ให้อะไรกับคนอื่น สุขเรื่องจากคนอื่นที่เขามาเที่ยวเขาก็มีความสุขกับสิ่งที่เราทำเอาไว้ ทุกสิ่งอย่างตั้งแต่ทั้งหมดพูดง่ายๆ ก็คือการค้นหาตัวตนของตัวเอง ลงมือทำ หาแนวทางอยู่ร่วมกับสิ่งที่เราเป็น ธรรมชาติมันอยู่กับเราเสมอมา งานอะไรก็อยู่กับเราเสมอ เราจะอยู่กับมันหรือเปล่าแค่นั้นเอง
“เราจะอยู่จุดนั้นให้มันมีความสุขกับตัวเองได้อย่างไร เกษตรก็ยาก มนุษย์ออฟฟิศก็ยาก แต่ไม่มีอะไรยากเกิน หากเรารักมันและทำมันอย่างจริงจัง”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช
บ้าน รถ เสื้อผ้า ปัจจัย 4 ต่างๆ คงครอบคลุมถึงทั่ว หากแต่ ความสุขทาง “ใจ” จำนวนเม็ดมูลค่าเท่าไหร่ก็คงตอบโจทย์ไม่เต็มนักในเรื่องวิถีทางที่ต้องค้นและหาผ่านเวลาการบ่มเพาะ และที่สำคัญยังผ่องถ่ายเผยแพร่ให้คนอื่น
“สมโภชน์ ทับเจริญ” คือใครคนนั้นที่เรากล่าวถึง ชายชราวัย 59 ปี ที่เลือกปฏิเสธเงินก้อนโต 9 หลัก มาประกอบอาชีพเกษตรกรรมท่ามกลางความเจริญของเมืองหลวง ย่านเขตบึงกุ่ม-นวลจันทร์ แหล่งพื้นที่การพัฒนาป้ายต่อไป ภายใต้ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ครบวงจร
เหตุใดเขาจึงเลือกเดินทางสายนี้ท่ามกลางความเจริญของโลกยุค 4.0
ผืนนากับผืนคอนกรีต ราดร่วมกันได้อย่างไร
อดีตกับปัจจุบันส่งต่อถึงอนาคตด้วยรูปแบบไหน
อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย พร้อมชี้แจงแถลงไขทีละผืนความคิด ให้เราได้เห็นท้องทุ่งกว้างแห่งชีวิต...
ปฐทบทคนบ้าแห่งคลองบางขวด
กลิ่นดินขี้ควายไร้ค่าวันวาน วันนี้มีราคาหอมรัญจวน
“61 ปีมาแล้ว พื้นที่ตรงนี้ส่วนใหญ่เขาเรียกว่าทุ่งบางขวด เป็นทุ่งนาแบบโล่งๆ ไม่มีอะไรบดบัง ผู้คนก็จะอาศัยคลองบางขวด เป็นสายน้ำสายชีวิต จะกินอยู่กันตรงนี้ การเดินทางก็ใช้เรือพายแจว ต่อมาเป็นเรือหางยาวบ้าง ใช้การค้าขายทำธุรกิจขายข้าวผลผลิตต่างๆ โรงสีก็จะเอาเรือลากจูงเข้ามารับข้าวชาวบ้านกันถึงท่า”
ชายเบื้องหน้าผู้เป็นอดีตอาจารย์ประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวเล่าย้อนถึงพื้นที่เลขที่ 3 ซอยนวลจันทร์ 56 ถนนนวลจันทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม ซึ่งจัดเป็นทำเลทองชั้นดีอีกแห่งหนึ่งของพื้นที่เมืองหลวง ที่มีการพัฒนา เกิดชุมชนหมู่บ้านจัดสรร เส้นทางคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว ตัดผ่านเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ เพียงระยะเวลาไม่กี่นาที ทว่าในอดีต พื้นที่บ้านบางขวดแห่งนี้คือแหล่งผลิตอู่ข้าวอู่น้ำอันดับต้นๆ ของบางกอก
“จริงๆ ก็ตั้งแต่ทุ่งลาดพร้าวมา เป็นนาหมดเลย เวลาที่จะไปบ้านคุณแม่ ถ้าเดินก็ต้องเดินตามคันนาไปเป็นวัน กว่าจะถึง (ยิ้ม) ทีนี้ทุกบ้านก็จะมีวัวมีควาย แต่วัวมีค่อนข้างน้อย จะเน้นใช้ควายกันเป็นหลักใหญ่ เพราะวัวจะไถนาที่นี้ไม่ได้ เนื่องจากว่าเป็นหล่มลึกมาก แรงวัวมีไม่ถึงเท่าแรงของควาย สมัยเด็กเราก็มีหน้าที่เป็นเด็กเลี้ยงควาย ช่วยพ่อช่วยแม่ทำเรือกสวนไร่นา เล่นกับเพื่อนๆ ก็พื้นนา พื้นน้ำคลองบางขวด ในตอนเช้า พระก็ต้องพายเรือมาบิณฑบาต เป็นเรือลำเล็กสำหรับพายคนเดียว ชื่อเรือบด และเรือหงส์ ชีวิตเป็นอย่างนี้กันทั้งหมด
“กระทั่งปี พ.ศ. 2520-2530 ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไวมาก ตามยุคสมัยที่พัฒนา ตัวเราพอจบ ม.6 ก็ยังเดินทางไปเรียนอาชีวะปริญญาตรีที่เจ้าคุณทหารลาดกระบังจากนั้นก็ต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เรื่องของพื้นที่ตรงนี้เองมันก็เปลี่ยนแปลงไปไวมาก สภาพโล่งของพื้นที่ต่างๆ ถูกเบียดบังไปด้วยหมู่บ้านที่ขึ้นกันอย่างหนาตาขึ้นทุกวัน คลองบางขวดที่เคยทำนาทำไร่ก็ถูกแบ่งที่ทางต่างๆ ให้ลูกเต้า พอลูกได้รับก็ทำการขายไป เนื่องจากเมืองกำลังขยายตัว นายทุนเข้ามากว้านซื้อที่เพื่อรองรับความเจริญ มันก็เลยทำให้กลายเป็นเมืองไปอย่างรวดเร็ว”
คลองบางขวดที่เคยเป็นสายน้ำสายชีวิต ก็ถูกปิดตายลง เพราะน้ำเน่าเสียจากหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ เอย บ้านเรือนชาวบ้านเอย ไหลลงคลองโดยที่ไม่ผ่านการบำบัดใดๆ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในห้วงเวลาขนาดนั้นถึงขนาดต้องมีการรงค์ผ่านสื่อทีวีของประเทศ เพื่อแก้ปัญหา และแม้แต่ในวันนี้เองปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่หมดสิ้นไปจากคูคลองต่างๆ
“ทุกอย่างไม่มีหวนคืนกลับมาอีกเลย หลังจากคลองบางขวดตายลง (ยิ้ม) พอเมืองมันเจริญทุกบ้านก็เลิกทำนากันไปหมด แต่ทีนี้ ครอบครัวเราก็ยังทำนาไปเท่าที่แรงพ่อแรงแม่จะมี หนักๆ ตอนหลังพ่อแม่อายุมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็มองว่าไม่ไหวแล้ว ยังไงมันก็ต้องผันเปลี่ยนไปตามความเจริญของบ้านเมือง จะมารั้งในสภาพของเดิมก็เป็นไปไม่ได้ แต่ในระหว่างที่คิดอย่างนั้น เราก็มองถึงเหตุการณ์อย่างอื่นร่วมด้วย คือเราเรียนเราทำงานด้านการเกษตร ทำงานเป็นข้าราชการหน้าที่คือวิจัยและฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ของตัวเองให้กับเกษตรกร
“จริงอยู่ที่ว่ามูลค่าที่มันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากอดีตในตอนปี พ.ศ. 2520 ราคาไร่ละ 100,000 บาท ตอนนี้ปี 2561 ราคาไร่ละ 20 ล้านบาท เรามีที่ทั้งหมดราว 50 ไร่ ก็ตก 1,000 ล้านบาท แต่ขายแล้วจะเอาเงินไปทำอะไร ตรงกันข้าม ถ้าเกิดเรามีโอกาสได้กลับมาเรามีความสุขกับสิ่งที่เราเป็นเกษตรกรตั้งแต่เด็กๆ ความฝังใจตั้งแต่เด็ก ต่อมาพอเรามีความรู้ด้านนี้ เราก็คิดว่าอย่างน้อยที่สุด เมื่อเรากลับเข้ามา จะทำให้พื้นที่ตรงนี้เป็นแหล่งที่ทุกคนอยากจะได้เรียนรู้กับมัน ไปพร้อมๆ กับคุณจะรักษาพื้นแผ่นดินบรรพบุรุษเอาไว้ มันอยู่ร่วมกันได้ คนกับธรรมชาติ มันมีประโยชน์กว่าปล่อยไว้เฉยๆ ทำอย่างไร เราถึงจะใช้พื้นที่ดินอย่างนี้ให้เกิดประโยชน์ตามเจตนารมณ์ปู่ย่าตายายที่ให้เรามา เขาไม่รู้หรอกว่าพื้นที่ที่เขาให้มา มันจะเปลี่ยนแปลงแค่ไหน เราจะใช้พื้นที่ตรงนี้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้
“ก็เลยเปลี่ยนแปลงที่ดินทั้งหมดใหม่ทางเหนือถนนขึ้นฝั่งขวามือ จัดแจงขุดประมาณ 8 ไร่ จากที่เคยเป็นผืนนาทั้งหมดของฝั่งนี้ 16 ไร่ เป็นบ่อน้ำ ร้านอาหาร เพื่อที่จะใช้ตัวบ่อน้ำเป็นแก้มลิงแทนอดีตคลองบางขวด ใช้ทำการเกษตรในฤดูแล้ง เก็บน้ำในฤดูฝน จากนั้นปลูกต้นไม้รอบพื้นที่ ฝั่งด้านซ้ายก็มาเริ่มทำเกษตรตามที่มีความรู้ตามแนวที่เราคิดว่าเราจะทำอย่างไรก็ตาม แต่ทำให้คนมาสัมผัสกับมัน เพราะคนกรุงเทพฯ อยากไปบ้านนอก แต่คนบ้านนอกอยากได้แสงสีในกรุงเทพฯ ความกลับกันมันเป็นจุดเด่นจุดหนึ่งที่เราจะมีโอกาสดึงจุดนั้นมาเพื่อที่จะทำให้คนเข้ามาหาเรา เข้ามาหาความสุขที่นี่ มากินอาหาร ในบรรยากาศแบบนี้ เดินมาดูผักผลไม้ที่เราปลูก ดูเสร็จคุณก็ได้กินมันทันที เราเอาของที่ไร่เราปลูกมาประกบอาหารเพื่อจะนำมาจำหน่ายคนที่มาเยือนเรา
“ความจำเป็นในหน้าที่การงานก็ดี อะไรก็ดี ตรงนี้ก็จะตอบโจทย์ชีวิตที่เป็นการเรียนรู้ของเราได้ด้วย มันคือความสุขจริงแท้ที่แท้จริง”
บางขวด วิถีบางทุ่งร่วมกรุง
เราอยู่กันได้...
“บางขวด” เป็นชื่อคลอง ซึ่งเป็นลำน้ำที่ทอดยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ เป็นจุดเชื่อมต่อจากคลองตาเข่งทางด้านเหนือกับคลองลำเจียกทางด้านใต้ น้ำที่ไหลร่วมระหว่างทางมาจากคลองชวดด้วน จากคลองลำเจียกก็ไปต่อกับคลองบางเตย จุดสุดท้ายของลำน้ำสายนี้จะร่วมกันไหลลงคลองแสนแสบซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า “คลองใหญ่”
บางขวด ถูกสร้างถือกำเนิดในช่วงราวปี 2557 โดยพื้นที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 แปลง เพราะมีถนนสาธารณะตัดผ่าน แปลงบนทางทิศตะวันออกพื้นที่ประมาณ 12 ไร่เศษ ปลูกไม้ยืนต้นที่ให้ร่มเงา ไม้ดอก แพกลางน้ำและสระน้ำ เป็นแหล่งของธุรกิจค้าขาย ปัจจุบันสร้างเป็นอาคารสีเขียวด้านหน้าเป็นป่าไม้ ส่วนพื้นที่ด้านเขตตะวันตกพื้นที่กว่า 37 ไร่ ทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน ฟาร์มสเตย์ ศูนย์การเรียนรู้เกษตร พิพิธภัณฑ์เกษตรที่มีชีวิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
• ทำเกษตรอย่างไรในกรุงเทพฯ ให้อยู่รอดได้
หนึ่ง คุณต้องมีทุน คนที่คิดว่าทำงานออฟฟิศอยู่ เรียนจบมาแล้วทำงาน พอเริ่มทำอึดอัดใจกับเพื่อร่วมงาน เจ้านายต่างๆ แม้จะเปลี่ยนงานแล้วเปลี่ยนงานอีกก็ไม่ทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นเลย ก็พอเห็นคนอื่นทำสำเร็จเราก็มีความหวังเลย เปิดดูเยอะแยะมากมายในการทำเกษตรอินทรีย์ทั้งหลาย ทุกคนประสบความสำเร็จเหลือเกิน อยากออกมาทำเกษตร ใฝ่ฝันว่าที่บ้านนอกของเราหรือจะซื้อ เขาทำกันได้ไร่ละ 1 แสนบาท หนึ่งไร่ 5 แสนบาท ปีๆ หนึ่งคงไม่ต้องทำอะไรแล้ว ออกไปทำของเราเลย คุณทำได้ ถ้าคุณให้ใจมันเต็มร้อย แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าคุณให้ใจมันร้อยเต็มคุณต้องมีความรู้ คุณมีความรู้มากเพียงพอหรือยัง จริงที่ว่าไม่เป็นไรความรู้สามารถศึกษาต่อกันได้
ที่สำคัญ คุณหาแนวทางของตัวเองได้หรือยัง ถ้าเราดู เราลอกเขามา คุณก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะนั่นคือคนอื่น ไม่ใช่คุณ ด้วยพื้นที่ที่แตกต่าง ทุน ความรู้ การตลาด คอนเน็กชั่น คุณมองไปเห็นเขาจุดเดียว แต่คุณมองไม่เห็นทุกจุดที่เขามี ตัดสินใจก่อนว่าวันนี้เองคุณพร้อม คำว่าพร้อมกี่เปอร์เซ็นต์ ทุนทรัพย์ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณจะทำอะไร ก่อนที่จะทำอะไรคุณต้องคิดว่าคุณต้องทำไปขายใคร แล้วงานที่ทำทำเล่นๆ หรือทำเป็นงานอดิเรก หรือทำแบบเอาจริงจังๆ ทำเล่นๆ ก็ได้เล่นๆ อดิเรก 90 เปอร์เซ็นต์คือต้องเสียเงิน เพราะมันคืองานอดิเรก แต่ถ้าคุณทำเป็นอาชีพ 99 เปอร์เซ็นต์ที่คุณเฟล มีเพียงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ที่คุณจะสำเร็จ มี 100 บาท จะมีแค่ 1 บาทที่จะเป็นตัวต่อทุนให้คุณสำเร็จ อีก 99 บาทต้องลงทุนแล้วเฟลกับมันไป วันนี้คุณเตรียมตัวหรือยังที่จะเฟลกับมันไป เตรียมเงินเท่าไหร่ ใจเท่าไหร่ ถึงจะพร้อม
ไม่มีอะไรที่จะสำเร็จง่ายเลย แม้จะไปลอก ก็เพราะเป็นของคนอื่น ไม่ใช่คุณ ตลาดเปิดตรงนี้ไม่ใช่จุดง่ายๆ มันประกอบกันหลายอย่างมากมาย และกาลเวลาที่ผ่านมาผ่านไปมากมาย มันจะเป็นตัวบอกและตัวซื้อคุณว่างานที่คุณทำมาคุณจะต้องแก้ไขอะไรมัน ถึงจุดๆ หนึ่งยังไม่สำเร็จอยู่ดี เพราะต้องมีเงินก้อนหนึ่งไปแก้ไขสิ่งต่างๆ ที่มาของจุดเริ่มต้นของคุณที่คุณจะเริ่มรับได้ ไม่ใช่การทำร้านโชว์ห่วยที่ซื้อมาแล้วขายไป
อย่าไปดูคนอื่นว่าเขาประสบความสำเร็จแบบไหน ให้ดูว่าเขาทำอย่างไรแล้วกลับมาคิดเอง ทำเอง อันนี้คือเรื่องใหญ่ที่สุด หลายคนดูความสำเร็จคนมากมาย เขาเอาความสำเร็จมาลงให้ดู เขาไมได้เอาความเฟลหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นมาไม่รู้เท่าไหร่ให้ดู เราก็เหมือนกันเยอะแยะมากมาย ยกตัวอย่าง เริ่มทำนา ทำมาจั้งแต่เด็กๆ แม้จะมีความรู้เรียนมาอีกด้วย เริ่มมาทำนา เริ่มต้นจากการคัดข้าวไปเอาข้าวปลูกมาก่อนก็รู้อีกว่าข้าวปลูกมาจากไหน แต่ทำไปทำมามันมีข้าวปน ทำไปได้สองปีเสร็จข้าวที่จะเก็บเอาไว้ทำต่อไม่ได้แล้ว ก็ต้องมาเริ่มต้นใหม่เพราะมีการปนปลอมของข้าวพวกนี้จากการกลายของสายพันธุ์ต่างๆ เข้ามา
เรื่องพื้นที่ก็รู้ แต่ก่อนดินแข็งมากเพราะแต่พ่อแม่ใช่ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก สภาพของดินเป็นกรด ดินแข็งเป็นกระดานกระด่าง ซื้อรถไถ่มานั่งขับเลย ปีแรกยังรายได้ดี ต่อมาดินไม่ดีเราเอาขี้หมูไปใส่แก้การใช้ปุ๋ยเคมีในอดีตดินมันก็โหลบลง เหลวและลงลึก 3-4 ปี ต่อมาไม่สามารถใช้รถไถ่ลงไปทำอะไรได้อีกแล้วเพราะมันจมหมด ก็ต้องมาคิดใหม่ จะทำนาแปลงนี้จะเอาเครื่องมือเครื่องจักรอะไรลงไปทำ ก็มาดีไซน์รถลงไม่ได้ เรือลงได้ไหม (หัวเราะ) เอาเรือทุบนา ก็เอารถลงไปอยู่ในเรือ เฉพาะแค่นี้เองก็หมดเป็นแสนบาทแล้วค่าดีไซน์ เพราะทำไปเรื้อไปๆ จนกระทั้งมันออกมา ตรงนี้ถ้าคนอื่นมาเห็นลงทุนค่าเครื่องเรือไถ่หมื่นกว่าบาทเอง แต่ถ้าคุณทำไปแล้วเจอเหตุการณ์ที่คาดการณ์ไม่ได้ในอนาคตอย่างนี้ไม่เตรียมตัวเป็นเรื่องอันตรายมา
• วันนี้คุณเตรียมตัวพร้อมแล้วหรือยัง
วันนี้คุณเตรียมตัวพร้อมแล้วหรือยัง ยกตัวอย่างเพิ่มทำนา มีนก ก็ต้องมีมุ้ง มุ้งหลังหนึ่ง 3-4 หมื่นบาท ถ้ามี 3 แปลง ค่ามุ้งเป็นแสน คือหลายคนมีสตางค์มาก มีที่ต่างจังหวัด แต่ตัวเองกับครอบครัว ติดความสบาย แสงสี ก็จ้างคนงานเข้าไปทำ อาทิตย์หนึ่งหรือเดือนหนึ่งก็ไปดู ไปสั่งงาน ครอบครัวนี้ไปปลูกต้นไม้ ครอบครัวนี้ไปทำนา รอดยาก เกษตรกรถ้าไม่มีชีวิตอยู่กับพื้นที่ของตัวเอง ไม่ได้เห็นพื้นที่หรือผลผลิตของตัวเองทั้งเช้ากลางวันเย็นหรือกลางคืน ตายกับตาย
• จะทำเกษตรทั้งที คนเขาก็หาว่าบ้า ก็ส่วนหนึ่งมาจากตรงนี้
มันก็มี แต่เราอย่าไปสนใจอะไรเลย ถ้าเราสนใจคนอื่น แม้กระทั่งตัวเอง ยังต้องทะเลาะกันเอง เพราะมันไม่มีใครที่บอกว่าคนอื่นว่าดี ตัวเราต้องดีกว่าคนอื่นเสมอ การที่เราทำหนึ่งไม่ได้ทำให้ตัวเองเดือดร้อน สองคนอื่นไม่เดือดร้อน สามทำเพื่อให้คนอื่นมีความสุข ทำไปเถอะ วันหนึ่งเขาก็ต้องเข้าใจ แต่ในเรื่องเกษตรกรรม เราก็อยากจะแนะนำด้วยประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาคุณต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างเป็นอุทาหรณ์เพื่อที่จะแก้ไขรับมือทำจนสำเร็จ
• เพื่อชีวิต ไม่ใช่เพื่อความตาย อย่างวิถีเกษตรของที่เราชูสโลแกนแนวทางการทำ
จะตีความอย่างนั้นก็ได้ แต่นัยยะความจริงที่ว่านั้นคือเพื่อความปลอดภัย คุณกินเข้าไปแล้วมีแประโยชน์ของร่างกาย มะเขือเทศ มะละกอ ก็เพื่อชีวิต เพื่อบำรุงร่างกาย ไม่ใช่ของที่เขาใส่ยาฆ่าแมลงต่างๆ ที่ก้นหลุม อุดมไปด้วยยาฆ่าแมลงแล้วซื้อมากิน อันนั้นเกษตรเพื่อความตาย มีแต่สะสมในตับไตทุกวันๆ คือมีสารพิษปะปนหรือเจือปนในอาหารที่คุณกินทุกวัน แต่ของเราไม่มียาฆ่าแมลง เกษตรมันควรจะเป็นอย่างนี้ ทุกคนใฝ่ฝันตรงนี้ แต่มันทำไม่ได้ในพื้นที่ใหญ่ๆ หรืออุตสาหกรรม นี้คือจุดแตกต่างที่ทำให้เกิดและอยู่ได้ในตรงนี้ ขั้นที่สองต่อจากเริ่มต้นอย่างที่บอก ไม่ใช่ทำในสิ่งที่คนอื่นชอบ อยากรู้ว่าตัวเองชอบจริงหรือไม่อยากทำมาทดลองกับตัวเอง 5-10 วัน ไปอาศัยอยู่กับชาวบ้านไปทำงานทุกอย่างที่เขาทำ สู้ไหวไหม กลับมาระหว่างทางตัดสินใจว่ายังรักมันไหม ถ้ายังรักก็ไปต่อทำอย่างนี้ซ้ำๆ ยังรักก็คือตัวตนที่แท้จริง
• เลิกเฟลแล้วทำไงต่อ หลังจากเริ่มยืนได้
ก็มีเรื่องเฟลต่อ มันไม่มีจบสิ้น เกษตรหรือธุรกิจอะไรอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ถ้าคุณคิดตอนนี้ได้เท่านี้ อนาคตมันอาจจะไม่ได้เท่านี้เสมอไป ตรงนี้ก็ต้องใช้ใจที่รัก ถ้ารักจริงตรงนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ถึงได้ต้องมีอันนี้อันดับแรก เราจะเรียนรู้วิธีผิดพลาดเพิ่มขึ้นที่นำไปสู่ความสำเร็จ ทุกอย่างต้องเรียนรู้กันต่อไม่มีจบสิ้น
ที่สำคัญลงมือทำทันทีที่คิดแก้ไขทันทีที่ทำได้ ไม่ต้อรอเวลาวันนี้หรือพรุ่งนี้ เดี๋ยวนี้ทำเลยเมื่อลงมือทำปัญหาต่างๆ จะเข้ามามากมาย แล้วพยายามแก่ไขไปทีละปัญหา ทำในสิ่งที่เราทำได้ ที่เหมาะกับเรา อย่างทุเรียนแพง ทุ่งบางขวดทำไม่ได้ แต่ราคามันดี ก็ไม่ต้องทำ ทำที่ทำได้แม้ราคาน้อยกว่า คือธรรมชาติมันจะคล้องจองกับชีวิตเรา ศูนย์การเรียนรู้ หนึ่งในสิ่งที่เราทำขึ้นมาก็เพื่อการนี้ เราทำให้คนอื่นมาดู แล้วก็บอกว่ามันเจ๊งยังไง เพื่อที่เขาจะค้นพบว่าทำอย่างไรไม่ให้ฉิบหาย อย่างผักน้ำ วิตามินซีเยอะกว่ามะนาว 300 เท่า กิโลกรัมละ 3,000 บาท ปลูกได้จริง แต่ต้องสร้างจำลองสภาพอากาศที่ลงทุนเยอะมาก ไม่คุ้ม
• ความเหมาะกับวิถีแวดล้อมเป็นสิ่งที่ต้องค้นหาให้พบกับตัวบุคคล
ทุกวันนี้ที่มีเกษตร มีคนประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่ดี คุณดูแล้วเกิดแรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่ดี แต่ที่สำคัญต้องดูสิ่งที่เหมาะกับตัวเรา แมตช์กับเรา แล้วเราพอแค่ไหน ถ้าคุณไม่รู้จักพอทำเท่าไหร่ก็หวนกลับไปเกษตรอุตสาหกรรม ใส่ปุ๋ยใส่เคมี ต้องรู้จักพอต้องมีตรงนี้ท้ายสุดของแนวคิดและการเริ่มทั้งหมด
การศึกษาทุกวัน อะไรที่ยังไม่รู้ คุณจะต้องหามันให้เจอว่ามันคืออะไร มันเป็นอย่างไร แก้ไขอย่างไร สานต่อความคิดของเราได้หรือไม่ ทุกวันต้องศึกษา ถ้าไม่มีการศึกษาเพิ่มเติม ไม่มีแนวคิดใหม่ขึ้นมา มันก็จะอยู่ที่เดิม และถ้ามุ่งหวังกำไรเป็นไปไม่ได้ 5 ปี เกษตรไม่เหมือนอย่างอื่นต้นลงทุนน้อยๆ และค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น เกษตรเริ่มต้นลงทุนเยอะ แค่ค่าเครื่องมือ เครื่องจักร ระบบน้ำอย่างไร ใช้ตลอดทั้งปี ต้องมีเงินสำรอง วาดสิ่งต่างๆ ใส่ราคาก็ไม่รู้กี่อย่าง แล้วมันค่อยๆ ท้อแท้ขึ้นไปๆ การลงทุนจึงต่ำลง
มือแผ้วถาง ใจผ่อง ท่องให้สำเร็จ
บทส่งท้ายวิถีเกษตรแห่งชีวิต
“ผลประกอบการเสมอตัว ค่าคนงาน น้ำไฟ แรงยังไม่ได้คิดเลย แต่สิ่งที่ได้มาคือได้ใจตัวเอง คือทุกอย่างมันกำลังจะก้าวไปได้ในอนาคตอีก 5-10 ปี วันนี้ทำแค่คุ้มกับสิ่งที่ได้ลงทุนไป มันก็ดีแล้วในสภาวะเศรษฐกิจ แต่วันหนึ่งที่มันครบลูปที่เราต้องการ หนึ่ง ท่องเที่ยว ที่พัก ฟาร์มสเตย์ มีกิจกรรม มีร้านค้ารอรับ ขายผลผลิตของตัวเอง ให้เช่า กินนอนเที่ยวเรียนรู้ พื้นฐานของมนุษย์
“มันคุ้มกับสภาพจิตใจ คือสิ่งสำคัญที่สุด วันหนึ่งคุณมาคุณได้คิดกับมัน ได้ทำในสิ่งที่ชอบกับมัน เหนื่อยในเวลากลางวันแดดร้อนๆ กลางคืนกินข้าวหลับอย่างสบาย แต่ถ้าไปอีกรูปแบบหนึ่งมีที่เงินเยอะแยะ หากเราขาย เสร็จนำเงินนั้นไปท่องเที่ยวกลับมาตีสีตีห้าหรือเช้าหลังจากเที่ยว สิ่งที่มันได้คือได้ทำให้ตัวเองมีความสุขภาพใต้สุขภาพที่คุณทำให้ตัวเองเสียลง วันหนึ่งมันก็รับกันไม่ได้ แต่นั้นเป็นเรื่องของความสุข สุขของใครของเรา เราเลือกเองได้ ตรงนี้เรามีความสุขตรงนี้
“และที่สุขไปกว่านั้นได้ให้อะไรกับคนอื่น สุขเรื่องจากคนอื่นที่เขามาเที่ยวเขาก็มีความสุขกับสิ่งที่เราทำเอาไว้ ทุกสิ่งอย่างตั้งแต่ทั้งหมดพูดง่ายๆ ก็คือการค้นหาตัวตนของตัวเอง ลงมือทำ หาแนวทางอยู่ร่วมกับสิ่งที่เราเป็น ธรรมชาติมันอยู่กับเราเสมอมา งานอะไรก็อยู่กับเราเสมอ เราจะอยู่กับมันหรือเปล่าแค่นั้นเอง
“เราจะอยู่จุดนั้นให้มันมีความสุขกับตัวเองได้อย่างไร เกษตรก็ยาก มนุษย์ออฟฟิศก็ยาก แต่ไม่มีอะไรยากเกิน หากเรารักมันและทำมันอย่างจริงจัง”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช