xs
xsm
sm
md
lg

"บึึงบางซื่อ" โมเดลพัฒนา ขับเคลื่อนพลังประชารัฐ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เมื่อวันที่ 9 เมษายน ที่ผ่านมา ทางเอสซีจี ร่วมกับ หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และทางชุมชน ได้เริ่มโครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ ณ พื้นที่บึงบางซื่อ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยเป็นต้นแบบของโครงการดังกล่าว เพื่อช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนที่พักอาศัยในบริเวณโดยรอบ ให้มีความยกรัดบของขุมขนให้ดีขึ้น

ทั้งนี้ นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ก็ได้กล่าวว่า โครงการดังกล่าวนี้ จะมีการพัฒนาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชน กับ การพัฒนาบึงน้ำสาธารณะโดยการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชน ซึ่งจะมีการก่อสร้างต่างๆ ในพื้นที่แห่งนี้ และพัฒนาบึงน้ำสาธารณะเพื่อการใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2563

“โครงการสารประชารัฐการพัฒนาบึงบางซื่อ เกิดขึ้นด้วยความมุ่งมั่น ที่จะพลิกฟื้นที่แห่งนี้ จากพื้นที่ชุมชนแออัด สู่ต้นแบบยกระดับชุมชน 4 ด้าน คือ หนึ่ง ต้นแบบของโครงการสานพลังประชารัฐ ต้นแบบที่อยู่อาศัยชุมชนเมือง ต้นแบบผู้มีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัย และต้นแบบบึงน้ำสวนสาธารณะ พื้นที่บึงบางซื่อ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 61 ไร่ ในอดีตเมื่อ 100 ปีก่อน เป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานปูนซีเมนต์ ณ บางซื่อ ซึ่งสมัยนั้น นับว่าอยู่ห่างไกลจากใจกลางเมืองอย่างมาก ทาง SCG จึงได้จัดสร้างบ้านพักให้กับคนงานและครอบครัวได้อยู่อาศัย จนเมื่อหยุดการใช้งานในปี พ.ศ. 2511 สภาพพื้นที่จึงเป็นบึงน้ำเกือบทั้งหมด และมีพื้นดินเป็นขอบโดยรอบ ครอบครัวคนงานยังคงพักอาศัยสืบทอด จากรุ่นสู่รุ่น และมีคนต่างถิ่นเข้ามา มาสร้างที่พักเพิ่ม จนกลายเป็นชุมชนแออัด ไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน อาทิเช่น ประปา ไฟฟ้า การจัดการขยะ ถนนเข้าออก จนก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ

“เมื่อปี พ.ศ. 2556 คณะกรรมการของ SCG เห็นว่า บึงบางซื่อซึ่งเป็นที่ใจกลางเมือง และมีบึงน้ำขนาดใหญ่ จึงมีความประสงค์ที่จะมอบที่ดินผืนนี้ ให้เป้นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม แต่ในช่วงแรกไม่สามารถพัฒนาให้เป็นโครงการโดยสมบูรณ์แบบได้ ต่อมา SCG ได้รับคำแนะนำ จาก พล.อ. อภิรัช คงสมพงษ์ ประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ให้ทำแนวทางสานพลังประชารัฐ มาใช้ในการพัฒนา และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนประสานพลังประชารัฐการพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ ซึ่งได้เริ่มโครงการตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2559 จะก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั้งสิ้น 197 ยูนิต เป็นทาวน์เฮาส์ 60 ยูนิต อาคารชุด 4 ชั้น 3 อาคาร รวม 133 ยูนิต และบ้านกลางสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแลและไม่มีรายได้ อีก 4 ยูนิต ทั้งหมดจะให้เสร็จภายในปี พ.ศ. 2563

“ผมเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นต้นแบบใน 4 ด้าน ที่ว่าคือ ข้อหนึ่งที่จะช่วยเรื่องความเหลื่อมล้ำและพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน ซึ่งขับเคลื่อนพลังประชารัฐ ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนอย่างแท้จริง โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง จากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานเขตจตุจักร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรุงเทพมหานคร กรมธนารักษ์ สอง ต้นแบบที่อยู่อาศัยชุมชนเมือง ที่ออกแบบให้สอดรับเข้ากับวิถีชีวิตให้กับคนในชุมชน มีพื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน มีข้อตกลงในการใช้พื้นที่ร่วมกัน ลดโอกาสในความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และมีการจัดบ้านกลางให้กับผู้สูงวัยที่อยู่เพียงลำพัง มีปัญหาสุขภาพ และไม่สามารถขอสินเชื่อได้
 
"สาม ต้นแบบผู้มีส่วนร่วมกับผู้อยู่อาศัย เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบที่อยู่ ให้เหมาะกับจำนวนสมาชิกชุมชน วางผังบ้าน ให้ได้รับความเป็นธรรมในการจัดทำเล การประกอบอาชีพ และข้อจำกัดของส่วนบุคคล จึงทำให้มีที่อยู่อาศัยทั้งในอาคารชุดและพื้นราบ การจัดระบบเรื่องการตกแต่งบ้าน ที่รักษาความผูกพันธ์ของชุมชนเอาไว้ รวมไปถึงการจัดการที่อยู่อาศัยในอนาคต และ สี่ ต้นแบบของบึงน้ำ สวนสาธารณะ พื้นที่ที่เป็นบึงน้ำ จะพัฒนาแก้มลิงช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมให้คนกรุงเทพฯ และเป็นบึงน้ำสวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย พร้อมทั้งปลูกฝังจิตสำนึก อนุรักษ์น้ำ และเป็นแหล่งสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนบึงบางซื่ออีกด้วย ผมขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่มาร่วมพลังสร้างมิติใหม่ เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน อยู่ร่วมกัน

ทางด้าน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานของงาน ก็ได้กล่าวเสริมเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว และกล่าวสรุปถึงความสำเร็จของโครงการนี้ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ สำหรับโจทย์และรูปแบบที่ใกล้เคียงในการจัดการต่อไปที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

“สิ่งที่ผมมาในวันนี้ ก็คือ อยากจะมาเห็นถึงผลงานความก้าวหน้าของโครงการนี้ จากการร่วมมือกันระหว่าง ภาครัฐ และภาคเอกชน แล้วก็อื่นๆ อีกมากมาย อันนี้คือการนำพาประเทศของเราไปข้างหน้า คือรัฐบาลเองก็ไม่สามารถทำเองได้ทั้งหมดหรอก เราต้องฝากประชาชนด้วยนะครับ โดยเฉพาะภาคประชาชนของเรา ต้องเข้าใจว่า ที่เราอยู่กันมานี้ มันอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะว่ามันจะทำให้คุณภาพชีวิตมันแย่ลง พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย อาจจะอยู่ได้ แต่ลูกหลานอาจจะอยู่ไม่ได้แล้ว เราต้องพัฒนาให้คุณภาพชีวิตเราดีขึ้น เพราะลูกหลานของเราจะต้องมีครอบครัว แล้วจะทำยังไงกันต่อไป ต้องคิดแบบนี้ รัฐบาลทุกชุดก็ต้องคิดแบบนี้ ว่าทำยังไงให้คุณภาพชีวิตของประชาชนอยู่ดีทั้งในเรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องสาธารณสุข เรื่องสังคมพื้นฐาน การแก้ไขปัญหาขยะ น้ำเสีย เป็นสิ่งที่รัฐบาลทุกชุดต้องคิดแบบนี้ แล้วคิดว่าทำได้มั้ย มันก็ไม่ได้ทั้งหมด เราก็ต้องมาดูด้วยว่า จะมีความร่วมมือกันอย่างไร เพราะฉะนั้นวันนี้ก็ถือว่าเป็นโครงการนำร่อง อะไรก็ตามแต่ เพราะว่าเราก็มีหลายโครงการที่เกิดขึ้น

“แล้วโครงการที่จะทำได้จริงมั้ยในโอกาสต่อไป ที่นี่สำเร็จ แต่ที่อื่นละครับ อีก 2000 กว่าชุมชนในกรุงเทพฯ อย่าลืมว่าเราอยู่ด้วยความไม่มีระเบียบ แต่ว่าเราจะทำยังไงกับการแก้ปัญหาที่มีอยู่แล้ว จะทำยังไงที่ไม่ให้มีการบุกรุกเพิ่มขึ้น เพราะว่ารัฐก็ต้องรักษาระเบียบและกฎหมาย เพื่อความเท่าเทียมของโอกาสของทุกคน ว่าจะสามารถเข้ากับกฎหมายที่เป็นอยู่ ทีนี้ในข้อที่สอง คือ คนที่มีรายได้น้อย มันต้องหาวิธีการให้เหมาะสม ต้องไปดูที่อื่นด้วยว่าจะทำกันอย่างไร มันเป็นที่ของเอกชน เขายกให้ แล้วก็มีการสร้างมาช่วย ซึ่งก็พอทำได้ แต่ที่อื่นล่ะ จะทำอย่างไร เช่น คลองเปรมประชากร คลองลาดพร้าว และคลองอื่น ๆ กว่า 600 กว่าคลอง แล้วเป็นดินฝาดทั้งสิ้น ทำยังไงให้ระบบน้ำไม่เสียหาย แล้วแก้มลิงก็เสียหาย ผมเห็นใจจริง ๆ เป็นคนจน แล้วด้วยความที่เราไม่ได้ดูแลเขามาตั้งแต่ต้น แล้วมาดูแลเขาทีหลัง ก็เกิดปัญหาอีก แล้วรัฐบาลนี้ก็ไม่อยากให้ใครเดือดร้อนเนอะ ขออย่างเดียวว่า เราค่อยๆ ดูและทำไปให้ได้ก็แล้วกัน หลายพื้นที่ หลายข้อมูล เราก็ไปสำรวจอะไรให้ ก็มีการขยับขยายออกไปก่อน แล้วพอทำพื้นที่แล้ว เราก็ทำที่อยู่อาศัยให้ คือจะให้เหมือนเดิมทั้งหมดก็ไม่ได้ไง อันนี้ผมหมายถึงที่จุดอื่นนะ ตรงนี้ก็เป็นโครงการนำร่องไง แล้วก็ให้คนอื่นเห็นด้วยว่า ถ้าเราไม่ร่วมมือกัน มันก็ไปไม่ได้ทั้งหมด

“รัฐบาลมีหน้าที่อย่างเดียวคือ รื้อขึ้นทั้งหมด มันต้องทำอย่างงั้น แล้วเราก็ไม่อยากให้มันเดือดร้อน เพราะที่นี่ก็อยู่กันมายาวนานแล้ว แล้วเราจะทำกฎหมายให้ไม่เสียหาย ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลนี้คำนึงอยู่เสมอ แล้วที่ก็ไม่ต้องเสีย มีงบต่าง ๆ มาช่วย นี่แหละคือการมีส่วนร่วม ที่อื่นก็ไปหารูปแบบใหม่ ซึ่งที่อื่น ๆ ก็ไปไม่ได้ เพราะประชาชนอยู่เต็มไปหมด นั่นคือเราต้องมีการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งที่ตรงนี้เราโอเค เพราะได้เห็นภาพตามที่คาดหวังอยู่แล้ว ถ้าบ้านเมืองของเราสะอาดเรียบร้อยแล้วก็มีรายได้อาชีพที่เพียงพอ นั่นคือสิ่งที่ทั้งรัฐบาลนี้และทุกรัฐบาลคาดหวังไปด้วย ในขณะเดียวกัน เราก็คำนึงถึงบ้านของเรา หลายคนอาจจะมีที่อยู่ที่อาศัย แต่ไม่ได้อยู่ เพราะมาอยู่ที่นี่ไง แล้วจะทำยังไง ซึ่งถ้าไม่มีก็แล้วไป แต่ถ้ามีจะทำยังไง
 
"เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้ มันคือการสร้างความสมดุลให้ได้ ถ้าวันหน้ารัฐบาลอยากจะขยายเมืองออกไปข้างนอก เป็นการจัดระเบียบเมืองใหม่ในภายนอก ซึ่งมันก็ติดปัญหาของผังเมืองอีก มันต้องทำความเข้าใจ ความยินยอม และกฎหมายทุก 5 ปี ต้องคิดใหม่ทั้งหมดแล้ว ว่าเราจะให้กรุงเทพเป็นยังไงในอนาคต ทำยังไงให้พี่น้องทุกภาคที่อยู่ในพื้นที่ทำการเกษตร อยู่กันยังไงต่อไป ซึ่งถ้าเดินไปในพื้นที่ต่างๆ ก็เจอคนเฒ่า คนแก่ในพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ อันนี้คือปัญหาที่เราเจอในทุกวันนี้นะ ซึ่งเราจะดูแลต่อไปยังไง ถ้าเขาไม่เข้มแข็งเพียงพอ แล้วเขาจะทำงานยังไงต่อไป แล้ววันหน้าคนออกนอกบ้านหมด ใครจะปลูกข้าวให้เรากิน นั่นคือสิ่งที่ผมเป็นกังวลนะ

“เพราะฉะนั้น เราต้องทำทุกอย่าง ให้มันสมดุลกันให้ได้ ทั้งในเรื่องการเกษตร ในเรื่องการค้า พื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่ธุรกิจ จะทำยังไงให้จัดสรรปันส่วนตรงนี้ได้ ปัญหาอยู่ที่อุปสรรคของผังเมืองที่ทุกคนเป็นเจ้าของ ไม่ใช่พื้นที่ของรัฐอย่างเดียว บางพื้นที่ก็เป็นพื้นที่ของเอกชน มีโฉนดเรียบร้อย แต่ก็ไม่ได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งที่อยากจะให้คิดลงไปอีกทีนะครับว่า ถ้าที่ตรงอื่น ที่ไม่ใช่แบบนี้ เราจะทำยังไง โดยที่ให้กฎหมายไม่เสียหายไปด้วย ซึ่งเรื่องนี้มีการขยับขยายต่อไปในอนาคต คือถ้ามีพื้นที่ที่เต็มไปหมด เราจะทำกันยังไงต่อไป มันต้องมีการวางแผนว่าจะยังไงต่อ จะทำชุมชนชนบทให้เข้ากับชุมชนเมืองได้ยังไง
 
"บางพื้นที่ถ้าไปดูตามต่างจังหวัดนะ บางคนยังไม่เคยเข้าอำเภอเลย ก้มหน้าก้มตาทำงานเกษตรของตัวเองไป ข่าวสารต่างๆ ก็ไม่ได้ดู ราชการเขามีอะไรออกมาก็ไม่รู้เรื่อง นั่นจึงเป็นสิ่งที่ขาดการเชื่อมกันหมด แล้วรัฐบาลทำอะไรออกไปก้ไม่รู้ อย่างนี้มันจึงเป็นบ่อเกิดของการทุจริต เพราะทุกคนไม่รักษาสิทธิ์ตัวเองเพราะไม่รู้ ข้าราชการต้องชี้แจงให้มากขึ้น ซึ่งโครงการนี้ต้องขอบคุณ เอสซีจี ด้วย ซึ่งนอกจากโครงการนี้ ก็ต้องนึกถึงโครงการอื่นด้วย ประเทศไทยมีคนเกือบ 70 ล้าน มีคนรวยแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ชนชั้นกลาง 30 คนจนก็ 60 ซึ่งเราจะทำยังไงกับคนเหล่านี้ ซึ่งรายได้ต่อปีของพวกเขาก็ไม่เท่ากันอีก แถมก็มีอาชีพต่าง ๆ อีก ซึ่งกฎหมายนี่แหละจะเกิดความเท่าเทียม และนี่คือสิ่งเดียวที่ทุกคนจะอยู่ภายใต้กฎหมายทั้งหมด นั่นคือความเท่าเทียม ซึ่งถามว่ามันจะเป็นไปได้มั้ย ในเมื่อพื้นฐานแต่ละคนไม่เท่ากัน 

“แล้วสิ่งที่ผมคาดหวังตรงนี้ คือให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีขึ้น มีชีวิตที่ดีขึ้น แล้วกลับไปพัฒนาบ้านเมืองของแต่ละคน เราแน่นกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว เราต้องจัดระเบียบให้ได้ สามารถจะพัฒนาภูมิปัญญาของตัวเองและบ้านเกิดได้ยังไง ซึ่งมันต่อไปที่เรื่องการศึกษา เรื่องอาชีพ ในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ต่างจังหวัด 77 จังหวัด 6 ภาค ซึ่งมันจะสร้างรายได้ได้ยังไง คนจนเราต้องดูแลเขา ส่วนคนรวยต้องให้เขาลงทุนมากขึ้น เพื่อที่จะให้ภาษีเขากลับมาดูแลเรา ภาษีทั้งหมดเพื่อมาดูแลประเทศ จะใช้อย่างเดียวก็ไม่ถูกต้อง ในแง่ความเท่าเทียมทั้งหมด ถ้าใช้ก็ต้องเกิดประโยชน์ให้สูงสุด เข้าใจนะจ๊ะ เพราะฉะนั้นโครงการนี้ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม วันนี้โจทย์คือว่า ทุกเรื่องจะแก้ปัญหายังไง ซึ่งวันหน้ารัฐบาลใดเข้ามา จะต้องพูดกับเขาให้รู้เรื่องว่าแก้ไขยังไง แบบไหน แล้วแก้ได้หรือเปล่า ขอบคุณทุกหน่วยงาน สวัสดีครับ
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช



กำลังโหลดความคิดเห็น