“3 วันดี 4 วันเศร้า” เธอคือตัวละครหลักและเป็นผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ นักแสดงมากความสามารถที่โชว์ฝีมือผ่านจอแก้วและจอยักษ์มานับไม่ถ้วน แต่ใครจะรู้บ้างว่า เธอเป็น 1 ใน 1.5 ล้านคนของประชากรไทยที่กำลังเผชิญอยู่กับ “โรคซึมเศร้า”
“ทราย - อินทิรา เจริญปุระ” ถ่ายทอดเรื่องราวความเจ็บปวดของโรคดังกล่าว จากครั้งที่หนึ่งสู่ครั้งที่สอง ผ่านตัวอักษรจำนวน 160 หน้าให้กับ “เพื่อนร่วมโรค” ได้รับรู้ว่า พวกคุณไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ ขอเพียงเข้าใจและยอมรับมัน อีกทั้งยังเป็นกระบอกเสียงส่งคำตอบกลับไปสู่สังคมว่า แท้จริงแล้วโรคซึมเศร้าเป็นเพียงแค่โรคหนึ่งที่เป็นความเจ็บป่วย ไม่ใช่ความอ่อนแอหรือการเรียกร้องความสนใจแต่อย่างใด
เราไปทำความรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “โรคซึมเศร้า” โรคที่ยังคงถูกหลายคนตั้งคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า “แล้วทำไมถึงเศร้าล่ะ…ก็สนุกสิ” ซึ่งคุณจะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า “ทำไมโรคนี้…มันถึงได้เศร้าขนาดนี้”
• ‘3 วันดี 4 วันเศร้า’ เรื่องราวที่ถูกกลั่นเป็นตัวอักษรจากชีวิตของคนชื่อทราย อินทิรา
จริงๆ แล้วที่เราเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาก็เพื่ออยากจะสื่อสารกับคนทั้งสองฝั่งค่ะ ทั้งคนที่เป็นและไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า ในมุมสำหรับคนที่เป็น เรารู้ว่าสมาธิสั้น อ่านอะไรยาวๆ ไม่ได้แน่ๆ และเขาก็ไม่ควรได้อ่านอะไรที่ฮาร์ดคอร์ โศกเศร้า หรือจมดิ่งอะไรมากจนเกินไป เพราะว่าก่อนหน้านี้ทรายเคยอ่านหนังสือที่คนเป็นโรคซึมเศร้าเขียน อ่านแล้ว เราอ่านไม่จบ เพราะมันเศร้ามาก คือเราเองก็ยังงงตัวเองอยู่เลยว่าเพราะเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเรื่องมันเศร้า มันเครียดไปหมดเลย เราเลยไม่อยากให้คนที่มาอ่านหนังสือของเราเขารู้สึกว่ามันเครียดขนาดนั้น เพราะว่าชีวิตที่ป่วยมันก็แย่พออยู่แล้ว
จุดประสงค์หลักๆ ที่ทำให้เราอยากเขียนหนังสือเล่มนี้เพราะในช่วงแรกที่พยายามหาข้อมูล หมายถึงตอนที่เราป่วยนะคะ มันจะมีข้อมูลแค่ที่คุณหมอเขียนว่าถ้ามีอาการแบบนี้ต้องมาพบจิตแพทย์นะ แต่ทรายเชื่อว่าในชีวิตจริงมันมีคนที่อยากรู้มากกว่านั้น เช่น ต้องหาหมอที่ไหน แพงไหม แล้วกินยาต่อเนื่องนานหรือเปล่า คือจะมีความจุกจิกอะไรตรงนั้นไปอีก ซึ่งเสิร์ชหาก็ไม่มี คุณหมอทุกคนก็มีแต่บอกแค่ว่าให้ไปหาหมอก่อน ขนาดตัวเรายังคิดเลยว่าถ้าไปแล้วจะยังไงต่อ นานไหม มีอะไรอีกไหม เรารู้สึกว่าเรื่องจุกจิกเหล่านี้ มันเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจให้กับคนที่เขาอยากไปหาหมอ ให้เขากล้าที่จะไปมากขึ้นได้
อีกอย่างในช่วงนั้นที่เราเริ่มเขียน จะมีข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้มาอยู่เรื่อยๆ ว่า คนที่เป็นโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย แต่พอคำว่าซึมเศร้ามันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของข่าว หลายคนก็จะไม่เข้าใจ เขาก็จะบอกว่า “ก็สนุกสิ” “ก็ซึมทำไมล่ะ” “ก็อย่าซึมสิ” หรือว่ามีกรณีที่นักร้องหรือนักแสดงดังๆ เสียชีวิตเพราะเป็นโรคซึมเศร้า บางคนอายุ 50 - 60 ปีแล้ว หลายคนก็จะมองว่าทำไมมาตัดสินใจตายตอนนี้ อยู่อีกหน่อยก็ได้ตายแล้ว คือมันจะมีความไม่เข้าใจเยอะ ซึ่งทรายเข้าใจคนที่ไม่เข้าใจนะ เพราะว่ามันก็ดูประหลาดจริงๆ แหละ อย่างบางคนมองว่าชีวิตพี่เขาก็ดีนะ ไหนบอกว่ากินยาแล้วไง ทำไมไม่หาย ทำไมมาจบที่การตายล่ะ รวมถึงการตัดสินคนที่เสียชีวิตไปแล้วด้วยว่า เป็นพวกไม่คิดถึงพ่อถึงแม่ ไม่คิดถึงคนที่อยู่ข้างหลัง อะไรแบบนี้ ซึ่งเราไม่ได้บอกว่าการทำร้ายตัวเองมันถูกต้องนะคะ แต่สิ่งนี้เป็นเหมือนกับว่าเขากำลังขอความช่วยเหลืออยู่ ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ป่วย
ความหมายของคำว่า ‘3 วันดี 4 วันเศร้า’ ในมุมมองของทรายก็คือขนาดว่ากินยาแล้ว มันก็ยังมีวันที่เศร้า ยังมีวันที่ดาวน์ แต่ก็ดีกว่าไม่กินหรือว่าไม่พยายามทำอะไรกับตัวเองเลย คือจริงๆ มันเป็นเรื่องที่เราเห็นมาตั้งแต่เด็กเพราะว่าแม่เราก็เป็น เขาจะมีวันที่ดีแบบสามวันดี แล้วก็เอาอีกแล้ว มาอีกแล้ว ประมาณว่าเมื่อวานก็ยังออกไปรับไปส่งเราได้อยู่ แล้วทำไมวันนี้ไม่ไหว ขับรถไม่ได้ เราก็จะงงๆ แต่ก็จะชิน ว่าแม่เขาเป็นคนแบบนี้ เรายังเคยคุยกันกับพ่อเลยว่า คิดซะว่าแม่เขามีประจำเดือนทุกวันก็แล้วกัน (หัวเราะ) คือจะมีความปั่นป่วนอะไรแบบนี้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องแปลก อย่างแม่ทรายเขาก็กินยาแล้วนะ แต่สมัยก่อนเอฟเฟกต์ของยาจะเยอะกว่ายาสมัยนี้ ซึ่งตอนนั้นเราแค่รู้ว่าเขาเป็น แต่เราไม่เข้าใจจริงๆ หรอก ว่าโรคนี้มันเป็นยังไง แต่พอโตมาเราได้เป็นเองถึงอ๋อ! เข้าใจแล้ว ว่ามันเป็นแบบนี้นะ อย่างบางทีเมื่อเช้าเรายังโอเคอยู่เลย พอตกบ่ายฝนตก เยิน พังอีกแล้ว ตรงนี้จึงเป็นข้อสงสัยของหลายๆ คนด้วยว่า กินยาแล้วทำไมยังมีวันที่แย่อยู่ ทำไมไม่ดีแบบสม่ำเสมอล่ะ
ดังนั้นคำว่า “3 วันดี 4 วันเศร้า” นี่โคตรใช่เลย เพราะมันก็ยังมีวันแบบนั้นอยู่ แต่มันก็ไม่ได้แย่เท่าตอนที่ยังไม่ได้กินยาค่ะ
• ถามตามตรงเหตุใดถึงอยากลุกขึ้นมาเขียนเรื่องราวของตัวเองคะ
มีช่วงหนึ่งที่เรารู้สึกว่าเราโดนถามบ่อยมาก บ่อยจนเคยพูดเล่นๆ ว่าวันหลังจะทำคู่มือแจกแล้วได้ไหม ประมาณว่าทำคู่มือซึมเศร้า 101 เอาไปอ่านเองนะคะ ขี้เกียจตอบแล้ว อะไรประมาณนี้ แล้วก็เลยมีคนบอกว่าถ้าไม่อยากเล่าก็เขียนไปเลยสิ
ตอนแรกเราก็ไม่รู้จะเขียนยังไง อย่างถ้าให้เล่ากับเพื่อน มันเล่าได้นะ เพราะว่าเพื่อนก็พอจะรู้จักนิสัยเราอยู่แล้ว แต่ถ้าให้ไปเล่ากับคนที่ไม่รู้จักเลยฟัง อยู่ๆ เขามาอ่านเรื่องของเรา เขาจะเข้าใจเราไหม เขาจะเชื่อมโยงไหม แต่กลายเป็นว่าพอเราเริ่มออกมาเล่า หลังไมค์ทักเข้ามาถล่มทลายมากๆ ทั้งในอินสตาแกรม ในเฟซบุ๊ก ทุกคนมีประสบการณ์มาแชร์ อยากเล่าให้เราฟัง ซึ่งหลายๆ ครั้ง และหลายๆ เคสเราก็ต้องบอกว่า เราก็ป่วย เราก็ไม่ใช่หมอ เราแนะนำได้แค่ว่าให้ไปหาหมอ แต่ว่ารับฟังกันได้ เราเลยรู้สึกว่าเห้ยจริงๆ มันมีคนที่อยากรู้ ที่อยากแบ่งปันเยอะมากนะ
เราอยากให้เขามีเพื่อน เพราะว่าหลายคน อย่างล่าสุดที่งานหนังสือ เขาก็มาบอกกับเราว่าเขารู้สึกอุ่นใจจัง เขาติดตามเรามาตลอดเลยนะ เราทำให้เขากล้าไปกินยา กล้าไปหาหมอ หรือบางคนบอกว่าก่อนหน้านี้ไม่กล้าไปหาหมอแต่มากล้าที่จะไปเพราะเรา หรือว่าหามาสักพักแล้ว เริ่มท้อ เริ่มถอดใจแล้วแต่พอได้รู้เรื่องราวของเรา เขารู้สึกดีขึ้น
คือเรื่องบางเรื่องเราก็อยากเล่าแต่เราไม่อยากให้คนทั่วไปเขารำคาญ ใครจะมานั่งทนฟังคนที่โศกเศร้า หรือพูดแต่เรื่องเดิมซ้ำๆ ได้ตลอด ไม่ใช่แค่เพื่อนหรอกค่ะ ต่อให้เป็นพ่อแม่หรือคนรัก เจอบ่อยๆ ก็คงไม่ไหวเหมือนกัน แต่พอเราได้เขียนอะไรแบบนี้ออกมา เราได้แบ่งปันกำลังใจจากเพื่อนร่วมโรค ว่าเราเป็นเพื่อนกันนะ ชีวิตเราต้องไปต่อนะ ซึ่งตรงนี้เราว่ามันอบอุ่นดีนะเวลาที่มีเพื่อนร่วมทุกข์
• เมื่อโรคซึมเศร้า…มาเยือนครั้งแรกในชีวิต
เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ค่ะ เกิดจากที่ทรายประสบอุบัติเหตุรถชน ซึ่งพอรถชนแน่นอนว่าทุกคนเครียดหมด ประสาทเสียหมด เพราะต้องเสียเงิน เสียอะไร แต่บางคนเขาก็จบแค่นั้น แล้วเขาก็ไปต่อได้ แต่มันก็จะมีมนุษย์บางคนที่ไปต่อไม่ได้อย่างเรา
ทรายตัดสินใจหาหมอจิตแพทย์เพราะว่าเรารถชน แต่ที่มันแย่มากๆ ที่ทำให้ตัดสินใจพบหมอเลยก็คือ เราอ่านหนังสือไม่ได้ ปกติเราชอบอ่านหนังสือมาก แต่หลังจากรถชนเราเปิดหนังสือแล้วก็ถือไว้แบบนั้น วนอยู่ที่ย่อหน้าแรก มันอ่านไม่ได้ เราตกใจมาก ถ้าคอหักพิการจนทำงานไม่ได้ แล้วยังต้องอ่านหนังสือไม่ได้อีก นี่เราไม่เหลืออะไรในชีวิตแล้ว มันแย่มากแล้วนะ หรืออย่างตอนที่เราเปิดดีวีดี เราก็ดูไม่ได้ ดูๆ อยู่ เอ้า! ทำไมขึ้น end credit แล้วล่ะ แล้วเรื่องหายไปไหนหมด เราหายไปไหน นอกจากนี้ก็มีเพื่อนเริ่มทักว่าเราแปลกๆ ไปนะ เธอไม่โอเคแล้วนะ
ตอนนั้นเราต้องหาหมอ ต้องอยู่โรงพยาบาล ไปทำกายภาพทุกวันอยู่แล้ว เราก็เลยลองไปคุยกับจิตแพทย์ด้วยดีกว่า เพราะส่วนตัวเราก็ไม่ได้รู้สึกแปลกประหลาดกับจิตแพทย์อะไรเท่าไหร่อยู่แล้ว เนื่องจากเราก็ไปกับแม่ตลอดอยู่แล้วด้วยค่ะ
ครั้งแรกที่ไปหา คุณหมอบอกว่าเราเป็น POST-TRAUMATIC STRESS DISORDER (PTSD) คือคนที่เจอเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง แล้ววันหนึ่งคุณรู้สึกว่าคุณจะต้องทำงานไม่ได้ มันก็เลยเครียด แต่เหตุการณ์สะเทือนใจในที่นี้ก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องเหมือนกันทุกเคสนะคะ ยกตัวอย่างเช่น เรานั่งรถไปกัน 4 คน เผอิญว่ารถชน แล้วอาจจะกระทบกระเทือนใจเราหนักมาก แต่เพื่อนอีก 3 คนที่ไปด้วยเขาไม่เป็น ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเจ็บไปกว่าคนอื่นด้วยซ้ำนะ เราอาจจะไม่ได้เป็นอะไรเลยก็ได้ แต่เราเครียด เราสติแตกจากเหตุการณ์นั้นๆ หรือบางคนที่อยู่ๆ เปลี่ยนกะทันหัน เช่น นักกีฬาอาชีพ ที่อยู่ๆ เข่าเสีย เขาอาจจะช็อก เพราะกลับไปเล่นกีฬาเหมือนเดิมไม่ได้อีกแล้ว ก็มีสิทธิ์เป็นไปได้ มันคือความรุนแรงที่มีต่อแต่ละคนไม่เท่ากัน ตรงนี้ก็ต้องให้หมอวินิจฉัยอย่างละเอียดพอสมควร คือมันเป็นข้อย่อยหนึ่งใน depressed แต่ depressed มันมีหลายอย่างมาก แล้วแต่อาการ แล้วแต่ว่าจะไปโดนทริกเกอร์เรื่องไหน บางคนอาจจะมีปัญหาในครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก หรือครอบครัวใช้ความรุนแรงมาตั้งแต่เด็ก ตอนเด็กอาจจะไม่เป็น แต่มาเป็นเอาตอนอายุ 25 ปีก็ได้ คือมันแล้วแต่ที่มาที่ไปค่ะ
ครั้งแรกคุณหมอให้เรากินยาไปประมาณ 8-9 เดือน ถึงหยุดยาได้ และเว้นไปอีก 1 ปี เราก็ได้กลับมากินยาอีกรอบหนึ่ง
• เป็นได้ก็หายได้ หายแล้วก็กลับมาเป็นใหม่ได้ เมื่อโรคซึมเศร้า…กลับมาครั้งที่สอง
ครั้งที่สองต่างจากครั้งแรกเลยนะคะ คือครั้งแรกเราเป็น POST-TRAUMATIC STRESS DISORDER (PTSD) แต่ครั้งที่สองเราเป็นระดับ MDD (Major Depressive Disorder) คือเป็นโรคซึมเศร้าแบบออฟฟิเชียล ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นมันจะต่างกันออกไป แต่รอบสองพอเรารู้ตัวว่าจะต้องเป็นแน่ๆ มันดันแย่กว่าตอนที่อยู่ๆ ก็เป็นนะคะ ตอนแรกคือเราเป็นไม่รู้ตัวไง ก็จะเด๋อๆ งงๆ หน่อย แต่พอมันกลับมาอีกครั้ง เราแย่มากเพราะคิดว่าเอาอีกแล้วเหรอวะ ไม่ชอบ ไม่อยากเป็นเลย เราพยายามให้มันไม่เป็นได้ไหม อารมณ์เหมือนคนจะเป็นหวัดอีกแล้ว เจ็บคออีกแล้ว แต่มันหนีไม่ได้ เพราะว่าจะหนียังไงก็หนีไม่รอดอยู่ดี ซึ่งครั้งที่สองเราก็ไปหาหมอกินยาเหมือนเดิม ทุกวันนี้ก็ยังคงกินยาปกติค่ะ
• ตอนนี้นอกจากกินยาแล้ว ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือมีวิธีอะไรที่นำมาบำบัดอีกบ้างไหมคะ
ปรับเยอะเลยค่ะ ตั้งแต่เรื่องความกังวลของเรา โดยเฉพาะครั้งที่สองมันเป็นเรื่องที่เราต้องดูแลแม่ที่เขาป่วย ตอนแรกเราต้องรับมืออยู่คนเดียวเลย ซึ่งที่จริงหมอก็เตือนตั้งแต่แรกแล้วว่าเรามีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า ต้องให้น้องเข้ามาช่วยดูแลแม่นะ ต้องหัดขอความช่วยเหลือจากคนอื่นบ้าง คุณต้องกล้าพูด คุณต้องดูแลตัวเอง คุณต้องปกป้องตัวเองให้ได้นะ ทรายเลยทำตามวิธีที่คุณหมอแนะนำ ซึ่งตอนนี้ก็โอเคแล้วค่ะ ค่อนข้างลงตัวแล้ว แต่ถามว่าเราหายกังวลเรื่องนั้นไหม ก็ไม่หายหรอก มันไม่หายอยู่ดี ยังไงเขาก็เป็นแม่ เพียงแต่ว่าเราไม่ได้เอาตัวเข้าไปรับทุกอย่างอีกต่อไปแล้ว
ส่วนวิธีบำบัดอย่างอื่นของเราก็จะมีไปเที่ยวบ้าง จะมีจองโรงแรมไปเที่ยวใกล้ๆ เช่น ไปกาญจนบุรี ไปอยุธยา ไปนอนสถานที่สวยๆ คือให้รู้ว่าอย่าเพิ่งรีบตายนะ เราจองโรงแรมไว้แล้ว เราจ่ายเงินเขาไปแล้ว เราต้องไปให้ได้นะ ก็จะมีวิธีหลอกล่อตัวเอง คือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ นี่แหละที่ทำให้เรารู้สึกสบายใจขึ้น ทรายว่าอะไรเหล่านี้มันช่วยได้มากกว่าการนั่งรอว่าเมื่อไหร่เราจะหาย มันจะยิ่งกดดันเปล่าๆ
• เรียนรู้และรู้จักโรคซึมเศร้า แท้จริงแล้วมันคืออะไร อยากให้อธิบายถึงโรคนี้หน่อยค่ะ
“โรคซึมเศร้า” ในเชิงการแพทย์เป็นเรื่องของสารเคมีในสมอง และเกิดได้จากปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น กรรมพันธุ์ การใช้ยาเสพติดต่อเนื่อง สิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ตึงเครียดในชีวิต อาการเจ็บป่วย เป็นต้น ดังนั้นคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ในรายละเอียดจะไม่มีใครที่แพตเทิร์นซ้ำกันเลยนะคะ แต่อาการที่คล้ายกันส่วนมากก็จะเป็นปัญหาเรื่องพฤติกรรม การใช้ชีวิตที่พอถึงจุดหนึ่งแล้วมันจะเป็นปัญหากับชีวิตประจำวัน หรือว่าการทำงาน ซึ่งเราต้องไปหาหมอ เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัย เพราะอย่างความเครียดก็สามารถนำไปสู่ซึมเศร้าได้เหมือนกัน มันจะเริ่มมาจากมีภาวะเสี่ยงต่อความเครียด เครียด มีภาวะเสี่ยงต่อการซึมเศร้า ซึมเศร้า คือข้อย่อยมันค่อนข้างเยอะ
อย่าไปวินิจฉัยโรคด้วยตัวเอง เพราะปัญหาของทุกคนก็ใหญ่หมดแหละ แต่สำหรับบางคนถ้าไปหาหมอ อาจจะยังอยู่ในภาวะเครียด ยังสามารถปรับตัวได้ สามารถไปเที่ยว ไปเปลี่ยนบรรยากาศ แก้ไขปัญหานั้นๆ หรืออะไรยังไงก็ว่าไปได้ แต่สำหรับบางคนไปหาหมอแล้วมันอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการจะเป็นซึมเศร้า คุณหมอก็จะมีวิธีต่างๆ ทั้งวิธีจิตบำบัดที่ไม่ต้องกินยา อาศัยการพูดคุย การกินยา เป็นต้น
จริงๆ ถ้าคุณเริ่มเครียดก็เข้าไปคุยกับจิตแพทย์เลยค่ะ มันจะมีกรุ๊ปบำบัดเยอะมาก ทั้งกรุ๊ปของคนป่วย กรุ๊ปของคนที่ดูแลผู้ป่วย ซึ่งทรายก็เคยไป เขาจะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอยู่เรื่อยๆ บางคนถ้าอยู่ในภาวะเครียด ไปฟังปัญหาของคนอื่น แล้วก็จะแบบเห้ย นี่หนักกว่าเราอีกนะ ดีขึ้นเลยทันทีก็มีค่ะ หรือบางคนอาจจะได้คำแนะนำ พอแนะแนวปุ๊บ เข้าใจแล้วปั๊บ เห็นทางออก บางทีอันไหนเราแก้ไขได้ก็คือแก้ได้ ไม่เป็นไร แต่บางอันที่เราแก้ไขไม่ได้ เราก็ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญช่วย
เอาจริงๆ โรคนี้ไม่มีสัญญาณเตือนเลยนะคะ ไม่มีแบบว่าเหมือนเจ็บคอนิดๆ เหมือนเป็นไข้ หรือว่าเอ๊ะ ตากฝนแล้วกินยาดักได้ไหม แต่กับโรคนี้มันดักไม่ได้ มันไม่มีอะไรมาเตือน ว่าเธอๆ เธอกำลังจะป่วยนะ หนึ่ง สอง สาม มันไม่มี อยู่ๆ มันก็เป็นเลย มันไม่มีบอกล่วงหน้าแต่ว่ามันจะเป็นต่อเนื่อง อย่างของทรายหมอบอกว่ามันเป็นความกังวลที่สะสมมา ด้วยความที่อะไรต่างๆ เข้ามา ประมาณว่าหยดน้ำลงในแก้วทุกวัน มันก็ไม่เป็นไรหรอก น้ำมันก็อยู่ได้ จนวันหนึ่งมีหยดหนึ่งที่ทำให้มันล้น มันคืออันนั้นแหละค่ะ
แรกๆ ที่เป็น เรานอนไม่หลับ อาจจะฟังแล้วไม่แปลก เพราะถ้านอนไม่หลับหนึ่งคืนมันเป็นไปได้ ใครๆ ก็มีสิทธิ์เป็น คนมันอดนอนไม่ได้นานหรอก แต่ถ้าคุณไม่หลับสักสัปดาห์หนึ่ง หรือหลับแล้วตื่นมาเวลาเดิม แล้วไม่หลับอีกเลย นี่เป็นปัญหาแล้วนะ หรือกินน้อยเกินไป หรือกินมากเกินไปอันนี้ก็เป็นปัญหาเหมือนกัน เพราะมันมีความเกี่ยวข้องทางจิตวิทยาอยู่ว่าความเครียดบางอย่างก็ไประบายด้วยการกินๆ เข้าไป หยุดตัวเองไม่ได้ก็มี คืออะไรที่มันผิดไปจากที่เราเคยเป็น เราจะรู้ตัวเองดีที่สุด ของอย่างนี้มันขึ้นอยู่กับเจ้าตัว คุณต้องยอมรับให้ได้ด้วยว่าเราไม่สบาย
• แต่บางคนก็กลัวการไปพบจิตแพทย์นะคะ
อย่าเพิ่งไปรีบคิดว่าตัวเองเป็นโรคและอย่าเพิ่งไปรีบคิดว่าตัวเองไม่ได้เป็น คืออย่าสุดไปทั้งสองอย่าง บางคนก็รีบจะเป็นเหลือเกิน บางคนก็แบบไม่ๆ ฉันไม่เป็น บางทีจนจะแย่อยู่แล้ว ก็ยังบอกว่าฉันไม่ได้เป็น ดังนั้นให้เช็กอาการของตัวเองก่อน ถ้าคุณนอนไม่หลับติดต่อกันเกิน 3 วัน ทรายว่าไม่โอเคแล้วนะ คือส่วนใหญ่จะเริ่มมาจากปัญหาง่ายๆ เริ่มจาก ไลฟ์สไตล์เปลี่ยน เรื่องกิน เรื่องนอน นอนไม่ดี ตื่นมาแล้วก็ยังอึนๆ ถ้าเป็นแบบนี้ ลองไปคุยกับคุณหมอดูค่ะ อาจจะไปคุยแค่ว่าทำยังไงให้หลับดีขึ้นก็ได้
ทรายมองว่าจริงๆ แล้วมีหลายปัจจัยที่ทำให้เขากลัวการหาหมอนะคะ เช่น กลัวค่าใช้จ่าย กลัวหมอหลอกให้กินยา หรือบางคนกินแล้วก็บอกว่าไม่เห็นจะดีขึ้นเลย คือคนเราจะชินกับการกินยาลดไข้แล้วมันดีขึ้นเลย กินแล้วนอน ตื่นมาพรุ่งนี้ก็หาย แต่ยาโรคนี้ต้องกินอย่างน้อย 2 สัปดาห์ไปแล้วถึงจะเริ่มเห็นผล แล้วบางทีก็เป็น 2 สัปดาห์ที่ต้องเสียเปล่าเพราะยาไม่เข้ากับเรา ต้องเปลี่ยนยาเพื่อที่จะรออีก 2 สัปดาห์ก็มี ซึ่งเราเข้าใจนะ หรือบางคนไปหาหมอแล้ว หมอถามแค่ว่าเป็นอะไรมา พอบอกว่านอนไม่หลับมาหลายวันแล้ว หมอก็ให้ยามา แล้วบอกแค่ว่าคราวหน้ามาเจอกัน ซึ่งเขาก็จะมองว่าหมอคุยกับเราแค่นี้เองเหรอ นี่เราเครียดมากนะ แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับคนไข้ด้วยนะคะ บางคนอยากเล่าเยอะมาก บางคนไม่อยากเล่าอะไรเลย ไม่อยากให้รู้อะไรเลย คุณหมอก็เลยจะถามสิ่งที่เป็นปัญหาก่อน แก้ตรงนั้นก่อน
การนัดของจิตแพทย์ในช่วงแรกๆ หมอจะนัดถี่มาก ทุกสัปดาห์ ทุกสิบวัน เพื่อเช็กผลของยาด้วย เช็กรีแอกต์ของเราจนไปถึงจุดหนึ่งเขาถึงค่อยมาถามว่า มีอะไรในใจอยากจะเล่าไหม มีปัญหาอะไรไหม เพื่อนร่วมงานดีหรือเปล่า แฟนโอเคไหม พ่อแม่เป็นยังไง คือเขาจะไม่ได้มาถามแบบนี้ตั้งแต่แรก เพราะคนไม่ได้นอนมาเลย 3 วัน เล่าอะไรให้ฟังก็ไม่เข้าหัว ต้องไล่ให้กลับไปนอน แล้วค่อยมาคุยกันว่าปัญหามันคืออะไร ที่เราไม่ชอบมันคืออะไร อยากให้มันเป็นแบบไหน คุณหมอก็จะให้เวลาเรามากขึ้นในการตรวจครั้งต่อๆ ไป พร้อมกับระยะการนัดที่ห่างขึ้นเรื่อยๆ จาก 10 วัน เป็น 20 วัน เป็น 1 เดือน หรือ 2 เดือน อันนี้ก็แล้วแต่ผู้ป่วยแต่ละคนค่ะ
• แล้วคิดยังไงกับการที่ทุกวันนี้หลายคนในสังคมต้องเผชิญหน้ากับโรคซึมเศร้า จนถูกมองว่าโรคนี้เป็น “โรคยอดฮิต” บ้างคะ
ก็จะมีคนพูดเหมือนกันนะคะว่าแต่ก่อนไม่เห็นเป็นกันเลย คนเขาก็อยู่กันได้อ่อนไหวไปเองหรือเปล่า แต่เราลองนึกดู แล้วแม่ฉันล่ะ คืออะไร แม่ฉันก็เป็นมา 40 ปีแล้วนะ ก็ไม่ใช่โรคใหม่อะไรนะ หรืออย่างเวอร์จิเนีย วูล์ฟ ที่เขาเดินเอาหินถ่วงตัวเองแล้วก็จมน้ำตาย นั่นก็มีมาจะเป็นร้อยปีแล้วนะ เพียงแต่ว่าในทุกวันนี้มันอาจจะมีพื้นที่ให้สำรวจตัวเอง ให้สำรวจเพื่อนได้มากขึ้น มีข้อมูลเยอะขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะคนที่จะเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์ ก็จะมีเยอะขึ้นด้วย แต่แน่นอนว่ามันก็ทำให้คนที่ไม่ได้เป็น รู้สึกว่าทำไมเป็นกันชุมจังเลย คนนั้นก็เป็น คนนี้ก็เป็น เป็นกันไปหมดเลย เพราะด้วยการรับรู้ที่ถี่มากขึ้นเทียบกับแต่ก่อนที่ไม่ได้อัปเดตอะไรขนาดนั้น อย่างแต่ก่อนทรายเครียด ทรายหวีดร้อง ทรายก็อาจจะนอนชกตุ๊กตาอยู่ในห้อง ไม่มีใครได้รู้ แต่ตอนนี้ทรายเขียนเรื่องราวของตัวเอง เพื่อนก็จะรู้สึกว่าเราเป็นมากขึ้น แต่จริงๆ เราไม่ได้เป็นมากขึ้นหรือน้อยลงหรอกค่ะ มันเป็นระดับนี้แหละ แต่เพียงเพราะมีคนเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น เข้าใจวิธีการรักษามากขึ้น ยอมให้ตัวเองไปพบหมอมากขึ้นก็เท่านั้นเอง
• ปัจจุบันจะว่าไปแล้วยังมีความเข้าใจผิดอะไรเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าอีกบ้าง
“ทำไมไม่สนุกล่ะ” “ทำตัวให้ร่าเริงสิ” “หาอะไรทำสิ” จะเจอแบบนี้บ่อยมาก ซึ่งถ้าเราทำได้ก็ทำไปแล้ว แต่มันทำไม่ได้ ก็เหมือนคนที่เป็นโรคเกาต์ เราไปบอกให้เขากินไก่สิ ถามว่ากินได้ไหม เขากินได้ แต่กินแล้วใครซวย ก็ตัวเขา ก็เหมือนกันกับโรคนี้ที่บอกว่าให้ “สนุกสิ ร่าเริงสิ ทำได้ไหม” เขาก็ทำได้ แต่วันรุ่งขึ้นเขาอาจจะแย่ อาจจะเหนื่อย หรือไม่ก็หมดพลัง
ด้วยชื่อมันด้วยแหละมั้งคะ ทุกคนเลยจะคิดแต่ว่าถ้าเบื่อก็เปลี่ยนบรรยากาศสิ แต่ทรายจะบอกว่า วิธีแก้ไขก็คือถ้าเขาเบื่อ ก็ปล่อยให้เบื่อไปให้สุด ปล่อยไปเถอะ เดี๋ยวก็จะโอเค พรุ่งนี้จะดีขึ้นเอง ตรงนี้หมายถึงคนที่กินยาแล้วนะคะ
ส่วนคนที่ป่วยสิ่งที่เข้าใจผิดและเป็นปัญหามากๆ เลยก็คือการหยุดยาเอง ไม่กินแล้ว ดีขึ้นแล้ว เลยคิดว่าไม่ต้องกินแล้วก็ได้ หรือยาหมดก็ไม่ไปรับ หรือไม่ก็หยุดกินไปเลยดื้อๆ ซึ่งตรงนี้วันหนึ่งมันจะดีดกลับมา แรงกว่าเดิม ย่ำแย่กว่าเดิม เหมือนกับว่าเป็นภาวะโยโย่ทางอารมณ์ซึ่งอันตรายมากๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งค่ะ
• ส่วนตัวอยากให้คนทั่วไปมองโรคนี้ยังไง?
อยากให้ยอมรับว่ามันเป็นโรคโรคหนึ่งที่เป็นได้ก็หายได้ ไม่ใช่การคิดมากไปเอง หรือว่าอ่อนแอ ถ้าเรายอมรับว่ามันเป็นโรคได้เหมือนกับทุกๆ โรคบนโลกนี้มันก็จะตรงไปตรงมามากขึ้น เช่น เป็นโรค ป่วย ไปหาหมอ กินยา จบ มันคือแค่นี้เอง แต่ถ้าคุณไม่ยอมรับว่ามันเป็นโรค คราวนี้ก็จะเป็นการดิ้นรน เป็นการต่อสู้ด้วยการที่บอกว่า ทำนั่นไหม ทำนี่ไหม ลองนั่นสิ ลองนี่สิ แบบนี้ก็จะลองกันไปเรื่อยๆ มันก็จะยืดเยื้อออกไป ไม่หายสักที
• แบบนี้อยากฝากอะไรถึงครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่ในความดูแลบ้างไหมคะว่าเราควรดูแล หรืออยู่ร่วมกับคนที่ซึมเศร้าอย่างไร หรือ คนรอบตัวที่อยู่กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรปฏิบัติตัวอย่างไร
ทรายอยากให้ปล่อยไปค่ะ ต่อให้เขาเป็นคุณพ่อ คุณแม่หรือใครก็ตาม คุณต้องไม่เอาเขามาขึ้นคออยู่ตลอดเวลา เพราะคุณก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกัน หมอที่ทรายหาเขาพูดเลยนะคะว่า มันจะกลายเป็นจากป่วยหนึ่ง เป็นป่วยสอง จากป่วยสอง เป็นป่วยสาม จะลากกันลงไปเรื่อยๆ แทนที่ว่าทุกคนสามแรงสี่แรงจะช่วยกันดูแลคนป่วยหนึ่งคน แต่มันจะกลายเป็นคนป่วยสี่คนแล้วดูแลใครไม่ได้เลย ซึ่งมันไม่มีประโยชน์ ให้มันป่วยเป็นคนๆ ไปจะดีกว่า
บางครั้งก็ต้องปล่อยให้เขาร้องไห้ให้พอ ให้สาแก่ใจ เพราะว่าคุณไม่สามารถทำให้เขาดีขึ้นได้ในชั่วพริบตาอยู่แล้ว แล้วคุณเองจะแย่เปล่าๆ คือของบางอย่างมันงัดไม่ได้ ก็งัดไม่ได้ในนาทีนั้น แค่คุณใช้วิธีไปวนอยู่รอบๆ อาจจะพูดว่า “ถ้าจะกินอะไร ให้บอกนะ” แล้วคุณจะไปทำอะไรก็ได้ ปล่อยให้เขาจมกองน้ำตาอยู่ตรงนั้นแหละ เพราะเดี๋ยวพรุ่งนี้ตื่นมาก็ดีขึ้น ซึ่งทรายเป็นบ่อยมาก จนแรกๆ แฟนทรายก็งงนะว่าเอายังไงดี ถามมากก็โกรธ เซ้าซี้มากก็ไม่ได้ จนหลังๆ แฟนก็รู้ ก็จะเปลี่ยนเป็นถามว่า “ไหวไหม” “วันนี้ระดับไหน” แทน คือเขาก็จะปล่อยเรา
ทรายว่ามันต้องมีจุดร่วมกันระหว่างคนป่วยกับคนไม่ป่วย แต่คนป่วยก็ไม่ใช่ว่าจะให้ทุกคนบนโลกมาเข้าใจ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ไม่มีใครเข้าใจกันและกันได้อย่างถ่องแท้ขนาดนั้นหรอก ต่อให้ไม่ป่วยด้วยก็เถอะ อย่างบางทีเรารู้ตัวว่าเรางี่เง่านะ แต่มันห้ามไม่ได้ มันหยุดตัวเองไม่ได้ คุณต้องให้ความช่วยเหลือกับคนรอบตัวด้วย ไม่ใช่ว่าจะให้ทุกคนมารุมล้อมว่ารักฉันสิ รักฉันอยู่อย่างเดียว มันไม่ได้ ดังนั้นเราก็เลยเขียนวิธีที่จะทำให้คุณดีขึ้นได้ แต่คุณต้องทำ คุณต้องเริ่มจากตัวเองก่อน
ที่สำคัญทรายไม่อยากให้ไปเครียดกับเรื่องที่ว่า อันนั้นห้ามพูด อันนี้พูดได้ อันนั้นไม่ให้พูด คือคุณสนิทกับเพื่อนยังไงก็พูดไปแบบนั้นแหละค่ะ ถ้าเขาไม่ชอบ เขาก็บอกเอง ทรายจะบอกเพื่อนแบบนี้ตลอด ซึ่งเพื่อนแกล้งเรา แซวเรา เราก็ไม่เห็นจะโกรธเลย ก็เล่นกับเพื่อนได้ปกติ อย่าไปกังวลเลยค่ะ ถ้าคุณมีเพื่อนหรือว่ามีคนใกล้ชิดที่เป็นโรคนี้ก็แค่ทำตัวปกติกับเขา เพราะว่าเขาก็อยากจะเป็นปกติ คุณอย่าไปแยกจนเขารู้สึกว่าตัวเองดูประหลาดก็พอ
• ท้ายนี้อยากบอกหรือให้กำลังใจอะไรกับคนที่เผชิญโรคนี้อยู่บ้าง
ทรายอยากฝากถึงคนที่กำลังป่วย อยากจะบอกว่าเขาไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกนะ แต่ก็ไม่ได้จะบอกให้เขาภูมิใจว่าโลกนี้ยังมีคนป่วยอีกเยอะ ไม่ใช่แบบนั้น แต่ที่อยากบอกก็คือคุณไม่ได้ป่วยอยู่คนเดียว คุณไม่ได้เป็นคนที่แย่กว่าคนอื่น มันไม่ได้เป็นความผิด ไม่ได้เป็นความประมาทในการใช้ชีวิตคุณถึงป่วย คุณก็แค่เป็นคนคนหนึ่งที่ไม่สบายเฉยๆ แค่นั้นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณต้องไปพบจิตแพทย์ร่วมด้วย เพราะการหาหมอเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หาเร็ว ก็หายเร็วค่ะ
เรื่อง : วรัญญา งามขำ, พุทธิตา ลามคำ
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช
“ทราย - อินทิรา เจริญปุระ” ถ่ายทอดเรื่องราวความเจ็บปวดของโรคดังกล่าว จากครั้งที่หนึ่งสู่ครั้งที่สอง ผ่านตัวอักษรจำนวน 160 หน้าให้กับ “เพื่อนร่วมโรค” ได้รับรู้ว่า พวกคุณไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ ขอเพียงเข้าใจและยอมรับมัน อีกทั้งยังเป็นกระบอกเสียงส่งคำตอบกลับไปสู่สังคมว่า แท้จริงแล้วโรคซึมเศร้าเป็นเพียงแค่โรคหนึ่งที่เป็นความเจ็บป่วย ไม่ใช่ความอ่อนแอหรือการเรียกร้องความสนใจแต่อย่างใด
เราไปทำความรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “โรคซึมเศร้า” โรคที่ยังคงถูกหลายคนตั้งคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า “แล้วทำไมถึงเศร้าล่ะ…ก็สนุกสิ” ซึ่งคุณจะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า “ทำไมโรคนี้…มันถึงได้เศร้าขนาดนี้”
• ‘3 วันดี 4 วันเศร้า’ เรื่องราวที่ถูกกลั่นเป็นตัวอักษรจากชีวิตของคนชื่อทราย อินทิรา
จริงๆ แล้วที่เราเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาก็เพื่ออยากจะสื่อสารกับคนทั้งสองฝั่งค่ะ ทั้งคนที่เป็นและไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า ในมุมสำหรับคนที่เป็น เรารู้ว่าสมาธิสั้น อ่านอะไรยาวๆ ไม่ได้แน่ๆ และเขาก็ไม่ควรได้อ่านอะไรที่ฮาร์ดคอร์ โศกเศร้า หรือจมดิ่งอะไรมากจนเกินไป เพราะว่าก่อนหน้านี้ทรายเคยอ่านหนังสือที่คนเป็นโรคซึมเศร้าเขียน อ่านแล้ว เราอ่านไม่จบ เพราะมันเศร้ามาก คือเราเองก็ยังงงตัวเองอยู่เลยว่าเพราะเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเรื่องมันเศร้า มันเครียดไปหมดเลย เราเลยไม่อยากให้คนที่มาอ่านหนังสือของเราเขารู้สึกว่ามันเครียดขนาดนั้น เพราะว่าชีวิตที่ป่วยมันก็แย่พออยู่แล้ว
จุดประสงค์หลักๆ ที่ทำให้เราอยากเขียนหนังสือเล่มนี้เพราะในช่วงแรกที่พยายามหาข้อมูล หมายถึงตอนที่เราป่วยนะคะ มันจะมีข้อมูลแค่ที่คุณหมอเขียนว่าถ้ามีอาการแบบนี้ต้องมาพบจิตแพทย์นะ แต่ทรายเชื่อว่าในชีวิตจริงมันมีคนที่อยากรู้มากกว่านั้น เช่น ต้องหาหมอที่ไหน แพงไหม แล้วกินยาต่อเนื่องนานหรือเปล่า คือจะมีความจุกจิกอะไรตรงนั้นไปอีก ซึ่งเสิร์ชหาก็ไม่มี คุณหมอทุกคนก็มีแต่บอกแค่ว่าให้ไปหาหมอก่อน ขนาดตัวเรายังคิดเลยว่าถ้าไปแล้วจะยังไงต่อ นานไหม มีอะไรอีกไหม เรารู้สึกว่าเรื่องจุกจิกเหล่านี้ มันเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจให้กับคนที่เขาอยากไปหาหมอ ให้เขากล้าที่จะไปมากขึ้นได้
อีกอย่างในช่วงนั้นที่เราเริ่มเขียน จะมีข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้มาอยู่เรื่อยๆ ว่า คนที่เป็นโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย แต่พอคำว่าซึมเศร้ามันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของข่าว หลายคนก็จะไม่เข้าใจ เขาก็จะบอกว่า “ก็สนุกสิ” “ก็ซึมทำไมล่ะ” “ก็อย่าซึมสิ” หรือว่ามีกรณีที่นักร้องหรือนักแสดงดังๆ เสียชีวิตเพราะเป็นโรคซึมเศร้า บางคนอายุ 50 - 60 ปีแล้ว หลายคนก็จะมองว่าทำไมมาตัดสินใจตายตอนนี้ อยู่อีกหน่อยก็ได้ตายแล้ว คือมันจะมีความไม่เข้าใจเยอะ ซึ่งทรายเข้าใจคนที่ไม่เข้าใจนะ เพราะว่ามันก็ดูประหลาดจริงๆ แหละ อย่างบางคนมองว่าชีวิตพี่เขาก็ดีนะ ไหนบอกว่ากินยาแล้วไง ทำไมไม่หาย ทำไมมาจบที่การตายล่ะ รวมถึงการตัดสินคนที่เสียชีวิตไปแล้วด้วยว่า เป็นพวกไม่คิดถึงพ่อถึงแม่ ไม่คิดถึงคนที่อยู่ข้างหลัง อะไรแบบนี้ ซึ่งเราไม่ได้บอกว่าการทำร้ายตัวเองมันถูกต้องนะคะ แต่สิ่งนี้เป็นเหมือนกับว่าเขากำลังขอความช่วยเหลืออยู่ ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ป่วย
ความหมายของคำว่า ‘3 วันดี 4 วันเศร้า’ ในมุมมองของทรายก็คือขนาดว่ากินยาแล้ว มันก็ยังมีวันที่เศร้า ยังมีวันที่ดาวน์ แต่ก็ดีกว่าไม่กินหรือว่าไม่พยายามทำอะไรกับตัวเองเลย คือจริงๆ มันเป็นเรื่องที่เราเห็นมาตั้งแต่เด็กเพราะว่าแม่เราก็เป็น เขาจะมีวันที่ดีแบบสามวันดี แล้วก็เอาอีกแล้ว มาอีกแล้ว ประมาณว่าเมื่อวานก็ยังออกไปรับไปส่งเราได้อยู่ แล้วทำไมวันนี้ไม่ไหว ขับรถไม่ได้ เราก็จะงงๆ แต่ก็จะชิน ว่าแม่เขาเป็นคนแบบนี้ เรายังเคยคุยกันกับพ่อเลยว่า คิดซะว่าแม่เขามีประจำเดือนทุกวันก็แล้วกัน (หัวเราะ) คือจะมีความปั่นป่วนอะไรแบบนี้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องแปลก อย่างแม่ทรายเขาก็กินยาแล้วนะ แต่สมัยก่อนเอฟเฟกต์ของยาจะเยอะกว่ายาสมัยนี้ ซึ่งตอนนั้นเราแค่รู้ว่าเขาเป็น แต่เราไม่เข้าใจจริงๆ หรอก ว่าโรคนี้มันเป็นยังไง แต่พอโตมาเราได้เป็นเองถึงอ๋อ! เข้าใจแล้ว ว่ามันเป็นแบบนี้นะ อย่างบางทีเมื่อเช้าเรายังโอเคอยู่เลย พอตกบ่ายฝนตก เยิน พังอีกแล้ว ตรงนี้จึงเป็นข้อสงสัยของหลายๆ คนด้วยว่า กินยาแล้วทำไมยังมีวันที่แย่อยู่ ทำไมไม่ดีแบบสม่ำเสมอล่ะ
ดังนั้นคำว่า “3 วันดี 4 วันเศร้า” นี่โคตรใช่เลย เพราะมันก็ยังมีวันแบบนั้นอยู่ แต่มันก็ไม่ได้แย่เท่าตอนที่ยังไม่ได้กินยาค่ะ
• ถามตามตรงเหตุใดถึงอยากลุกขึ้นมาเขียนเรื่องราวของตัวเองคะ
มีช่วงหนึ่งที่เรารู้สึกว่าเราโดนถามบ่อยมาก บ่อยจนเคยพูดเล่นๆ ว่าวันหลังจะทำคู่มือแจกแล้วได้ไหม ประมาณว่าทำคู่มือซึมเศร้า 101 เอาไปอ่านเองนะคะ ขี้เกียจตอบแล้ว อะไรประมาณนี้ แล้วก็เลยมีคนบอกว่าถ้าไม่อยากเล่าก็เขียนไปเลยสิ
ตอนแรกเราก็ไม่รู้จะเขียนยังไง อย่างถ้าให้เล่ากับเพื่อน มันเล่าได้นะ เพราะว่าเพื่อนก็พอจะรู้จักนิสัยเราอยู่แล้ว แต่ถ้าให้ไปเล่ากับคนที่ไม่รู้จักเลยฟัง อยู่ๆ เขามาอ่านเรื่องของเรา เขาจะเข้าใจเราไหม เขาจะเชื่อมโยงไหม แต่กลายเป็นว่าพอเราเริ่มออกมาเล่า หลังไมค์ทักเข้ามาถล่มทลายมากๆ ทั้งในอินสตาแกรม ในเฟซบุ๊ก ทุกคนมีประสบการณ์มาแชร์ อยากเล่าให้เราฟัง ซึ่งหลายๆ ครั้ง และหลายๆ เคสเราก็ต้องบอกว่า เราก็ป่วย เราก็ไม่ใช่หมอ เราแนะนำได้แค่ว่าให้ไปหาหมอ แต่ว่ารับฟังกันได้ เราเลยรู้สึกว่าเห้ยจริงๆ มันมีคนที่อยากรู้ ที่อยากแบ่งปันเยอะมากนะ
เราอยากให้เขามีเพื่อน เพราะว่าหลายคน อย่างล่าสุดที่งานหนังสือ เขาก็มาบอกกับเราว่าเขารู้สึกอุ่นใจจัง เขาติดตามเรามาตลอดเลยนะ เราทำให้เขากล้าไปกินยา กล้าไปหาหมอ หรือบางคนบอกว่าก่อนหน้านี้ไม่กล้าไปหาหมอแต่มากล้าที่จะไปเพราะเรา หรือว่าหามาสักพักแล้ว เริ่มท้อ เริ่มถอดใจแล้วแต่พอได้รู้เรื่องราวของเรา เขารู้สึกดีขึ้น
คือเรื่องบางเรื่องเราก็อยากเล่าแต่เราไม่อยากให้คนทั่วไปเขารำคาญ ใครจะมานั่งทนฟังคนที่โศกเศร้า หรือพูดแต่เรื่องเดิมซ้ำๆ ได้ตลอด ไม่ใช่แค่เพื่อนหรอกค่ะ ต่อให้เป็นพ่อแม่หรือคนรัก เจอบ่อยๆ ก็คงไม่ไหวเหมือนกัน แต่พอเราได้เขียนอะไรแบบนี้ออกมา เราได้แบ่งปันกำลังใจจากเพื่อนร่วมโรค ว่าเราเป็นเพื่อนกันนะ ชีวิตเราต้องไปต่อนะ ซึ่งตรงนี้เราว่ามันอบอุ่นดีนะเวลาที่มีเพื่อนร่วมทุกข์
• เมื่อโรคซึมเศร้า…มาเยือนครั้งแรกในชีวิต
เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ค่ะ เกิดจากที่ทรายประสบอุบัติเหตุรถชน ซึ่งพอรถชนแน่นอนว่าทุกคนเครียดหมด ประสาทเสียหมด เพราะต้องเสียเงิน เสียอะไร แต่บางคนเขาก็จบแค่นั้น แล้วเขาก็ไปต่อได้ แต่มันก็จะมีมนุษย์บางคนที่ไปต่อไม่ได้อย่างเรา
ทรายตัดสินใจหาหมอจิตแพทย์เพราะว่าเรารถชน แต่ที่มันแย่มากๆ ที่ทำให้ตัดสินใจพบหมอเลยก็คือ เราอ่านหนังสือไม่ได้ ปกติเราชอบอ่านหนังสือมาก แต่หลังจากรถชนเราเปิดหนังสือแล้วก็ถือไว้แบบนั้น วนอยู่ที่ย่อหน้าแรก มันอ่านไม่ได้ เราตกใจมาก ถ้าคอหักพิการจนทำงานไม่ได้ แล้วยังต้องอ่านหนังสือไม่ได้อีก นี่เราไม่เหลืออะไรในชีวิตแล้ว มันแย่มากแล้วนะ หรืออย่างตอนที่เราเปิดดีวีดี เราก็ดูไม่ได้ ดูๆ อยู่ เอ้า! ทำไมขึ้น end credit แล้วล่ะ แล้วเรื่องหายไปไหนหมด เราหายไปไหน นอกจากนี้ก็มีเพื่อนเริ่มทักว่าเราแปลกๆ ไปนะ เธอไม่โอเคแล้วนะ
ตอนนั้นเราต้องหาหมอ ต้องอยู่โรงพยาบาล ไปทำกายภาพทุกวันอยู่แล้ว เราก็เลยลองไปคุยกับจิตแพทย์ด้วยดีกว่า เพราะส่วนตัวเราก็ไม่ได้รู้สึกแปลกประหลาดกับจิตแพทย์อะไรเท่าไหร่อยู่แล้ว เนื่องจากเราก็ไปกับแม่ตลอดอยู่แล้วด้วยค่ะ
ครั้งแรกที่ไปหา คุณหมอบอกว่าเราเป็น POST-TRAUMATIC STRESS DISORDER (PTSD) คือคนที่เจอเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง แล้ววันหนึ่งคุณรู้สึกว่าคุณจะต้องทำงานไม่ได้ มันก็เลยเครียด แต่เหตุการณ์สะเทือนใจในที่นี้ก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องเหมือนกันทุกเคสนะคะ ยกตัวอย่างเช่น เรานั่งรถไปกัน 4 คน เผอิญว่ารถชน แล้วอาจจะกระทบกระเทือนใจเราหนักมาก แต่เพื่อนอีก 3 คนที่ไปด้วยเขาไม่เป็น ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเจ็บไปกว่าคนอื่นด้วยซ้ำนะ เราอาจจะไม่ได้เป็นอะไรเลยก็ได้ แต่เราเครียด เราสติแตกจากเหตุการณ์นั้นๆ หรือบางคนที่อยู่ๆ เปลี่ยนกะทันหัน เช่น นักกีฬาอาชีพ ที่อยู่ๆ เข่าเสีย เขาอาจจะช็อก เพราะกลับไปเล่นกีฬาเหมือนเดิมไม่ได้อีกแล้ว ก็มีสิทธิ์เป็นไปได้ มันคือความรุนแรงที่มีต่อแต่ละคนไม่เท่ากัน ตรงนี้ก็ต้องให้หมอวินิจฉัยอย่างละเอียดพอสมควร คือมันเป็นข้อย่อยหนึ่งใน depressed แต่ depressed มันมีหลายอย่างมาก แล้วแต่อาการ แล้วแต่ว่าจะไปโดนทริกเกอร์เรื่องไหน บางคนอาจจะมีปัญหาในครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก หรือครอบครัวใช้ความรุนแรงมาตั้งแต่เด็ก ตอนเด็กอาจจะไม่เป็น แต่มาเป็นเอาตอนอายุ 25 ปีก็ได้ คือมันแล้วแต่ที่มาที่ไปค่ะ
ครั้งแรกคุณหมอให้เรากินยาไปประมาณ 8-9 เดือน ถึงหยุดยาได้ และเว้นไปอีก 1 ปี เราก็ได้กลับมากินยาอีกรอบหนึ่ง
• เป็นได้ก็หายได้ หายแล้วก็กลับมาเป็นใหม่ได้ เมื่อโรคซึมเศร้า…กลับมาครั้งที่สอง
ครั้งที่สองต่างจากครั้งแรกเลยนะคะ คือครั้งแรกเราเป็น POST-TRAUMATIC STRESS DISORDER (PTSD) แต่ครั้งที่สองเราเป็นระดับ MDD (Major Depressive Disorder) คือเป็นโรคซึมเศร้าแบบออฟฟิเชียล ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นมันจะต่างกันออกไป แต่รอบสองพอเรารู้ตัวว่าจะต้องเป็นแน่ๆ มันดันแย่กว่าตอนที่อยู่ๆ ก็เป็นนะคะ ตอนแรกคือเราเป็นไม่รู้ตัวไง ก็จะเด๋อๆ งงๆ หน่อย แต่พอมันกลับมาอีกครั้ง เราแย่มากเพราะคิดว่าเอาอีกแล้วเหรอวะ ไม่ชอบ ไม่อยากเป็นเลย เราพยายามให้มันไม่เป็นได้ไหม อารมณ์เหมือนคนจะเป็นหวัดอีกแล้ว เจ็บคออีกแล้ว แต่มันหนีไม่ได้ เพราะว่าจะหนียังไงก็หนีไม่รอดอยู่ดี ซึ่งครั้งที่สองเราก็ไปหาหมอกินยาเหมือนเดิม ทุกวันนี้ก็ยังคงกินยาปกติค่ะ
• ตอนนี้นอกจากกินยาแล้ว ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือมีวิธีอะไรที่นำมาบำบัดอีกบ้างไหมคะ
ปรับเยอะเลยค่ะ ตั้งแต่เรื่องความกังวลของเรา โดยเฉพาะครั้งที่สองมันเป็นเรื่องที่เราต้องดูแลแม่ที่เขาป่วย ตอนแรกเราต้องรับมืออยู่คนเดียวเลย ซึ่งที่จริงหมอก็เตือนตั้งแต่แรกแล้วว่าเรามีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า ต้องให้น้องเข้ามาช่วยดูแลแม่นะ ต้องหัดขอความช่วยเหลือจากคนอื่นบ้าง คุณต้องกล้าพูด คุณต้องดูแลตัวเอง คุณต้องปกป้องตัวเองให้ได้นะ ทรายเลยทำตามวิธีที่คุณหมอแนะนำ ซึ่งตอนนี้ก็โอเคแล้วค่ะ ค่อนข้างลงตัวแล้ว แต่ถามว่าเราหายกังวลเรื่องนั้นไหม ก็ไม่หายหรอก มันไม่หายอยู่ดี ยังไงเขาก็เป็นแม่ เพียงแต่ว่าเราไม่ได้เอาตัวเข้าไปรับทุกอย่างอีกต่อไปแล้ว
ส่วนวิธีบำบัดอย่างอื่นของเราก็จะมีไปเที่ยวบ้าง จะมีจองโรงแรมไปเที่ยวใกล้ๆ เช่น ไปกาญจนบุรี ไปอยุธยา ไปนอนสถานที่สวยๆ คือให้รู้ว่าอย่าเพิ่งรีบตายนะ เราจองโรงแรมไว้แล้ว เราจ่ายเงินเขาไปแล้ว เราต้องไปให้ได้นะ ก็จะมีวิธีหลอกล่อตัวเอง คือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ นี่แหละที่ทำให้เรารู้สึกสบายใจขึ้น ทรายว่าอะไรเหล่านี้มันช่วยได้มากกว่าการนั่งรอว่าเมื่อไหร่เราจะหาย มันจะยิ่งกดดันเปล่าๆ
• เรียนรู้และรู้จักโรคซึมเศร้า แท้จริงแล้วมันคืออะไร อยากให้อธิบายถึงโรคนี้หน่อยค่ะ
“โรคซึมเศร้า” ในเชิงการแพทย์เป็นเรื่องของสารเคมีในสมอง และเกิดได้จากปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น กรรมพันธุ์ การใช้ยาเสพติดต่อเนื่อง สิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ตึงเครียดในชีวิต อาการเจ็บป่วย เป็นต้น ดังนั้นคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ในรายละเอียดจะไม่มีใครที่แพตเทิร์นซ้ำกันเลยนะคะ แต่อาการที่คล้ายกันส่วนมากก็จะเป็นปัญหาเรื่องพฤติกรรม การใช้ชีวิตที่พอถึงจุดหนึ่งแล้วมันจะเป็นปัญหากับชีวิตประจำวัน หรือว่าการทำงาน ซึ่งเราต้องไปหาหมอ เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัย เพราะอย่างความเครียดก็สามารถนำไปสู่ซึมเศร้าได้เหมือนกัน มันจะเริ่มมาจากมีภาวะเสี่ยงต่อความเครียด เครียด มีภาวะเสี่ยงต่อการซึมเศร้า ซึมเศร้า คือข้อย่อยมันค่อนข้างเยอะ
อย่าไปวินิจฉัยโรคด้วยตัวเอง เพราะปัญหาของทุกคนก็ใหญ่หมดแหละ แต่สำหรับบางคนถ้าไปหาหมอ อาจจะยังอยู่ในภาวะเครียด ยังสามารถปรับตัวได้ สามารถไปเที่ยว ไปเปลี่ยนบรรยากาศ แก้ไขปัญหานั้นๆ หรืออะไรยังไงก็ว่าไปได้ แต่สำหรับบางคนไปหาหมอแล้วมันอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการจะเป็นซึมเศร้า คุณหมอก็จะมีวิธีต่างๆ ทั้งวิธีจิตบำบัดที่ไม่ต้องกินยา อาศัยการพูดคุย การกินยา เป็นต้น
จริงๆ ถ้าคุณเริ่มเครียดก็เข้าไปคุยกับจิตแพทย์เลยค่ะ มันจะมีกรุ๊ปบำบัดเยอะมาก ทั้งกรุ๊ปของคนป่วย กรุ๊ปของคนที่ดูแลผู้ป่วย ซึ่งทรายก็เคยไป เขาจะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอยู่เรื่อยๆ บางคนถ้าอยู่ในภาวะเครียด ไปฟังปัญหาของคนอื่น แล้วก็จะแบบเห้ย นี่หนักกว่าเราอีกนะ ดีขึ้นเลยทันทีก็มีค่ะ หรือบางคนอาจจะได้คำแนะนำ พอแนะแนวปุ๊บ เข้าใจแล้วปั๊บ เห็นทางออก บางทีอันไหนเราแก้ไขได้ก็คือแก้ได้ ไม่เป็นไร แต่บางอันที่เราแก้ไขไม่ได้ เราก็ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญช่วย
เอาจริงๆ โรคนี้ไม่มีสัญญาณเตือนเลยนะคะ ไม่มีแบบว่าเหมือนเจ็บคอนิดๆ เหมือนเป็นไข้ หรือว่าเอ๊ะ ตากฝนแล้วกินยาดักได้ไหม แต่กับโรคนี้มันดักไม่ได้ มันไม่มีอะไรมาเตือน ว่าเธอๆ เธอกำลังจะป่วยนะ หนึ่ง สอง สาม มันไม่มี อยู่ๆ มันก็เป็นเลย มันไม่มีบอกล่วงหน้าแต่ว่ามันจะเป็นต่อเนื่อง อย่างของทรายหมอบอกว่ามันเป็นความกังวลที่สะสมมา ด้วยความที่อะไรต่างๆ เข้ามา ประมาณว่าหยดน้ำลงในแก้วทุกวัน มันก็ไม่เป็นไรหรอก น้ำมันก็อยู่ได้ จนวันหนึ่งมีหยดหนึ่งที่ทำให้มันล้น มันคืออันนั้นแหละค่ะ
แรกๆ ที่เป็น เรานอนไม่หลับ อาจจะฟังแล้วไม่แปลก เพราะถ้านอนไม่หลับหนึ่งคืนมันเป็นไปได้ ใครๆ ก็มีสิทธิ์เป็น คนมันอดนอนไม่ได้นานหรอก แต่ถ้าคุณไม่หลับสักสัปดาห์หนึ่ง หรือหลับแล้วตื่นมาเวลาเดิม แล้วไม่หลับอีกเลย นี่เป็นปัญหาแล้วนะ หรือกินน้อยเกินไป หรือกินมากเกินไปอันนี้ก็เป็นปัญหาเหมือนกัน เพราะมันมีความเกี่ยวข้องทางจิตวิทยาอยู่ว่าความเครียดบางอย่างก็ไประบายด้วยการกินๆ เข้าไป หยุดตัวเองไม่ได้ก็มี คืออะไรที่มันผิดไปจากที่เราเคยเป็น เราจะรู้ตัวเองดีที่สุด ของอย่างนี้มันขึ้นอยู่กับเจ้าตัว คุณต้องยอมรับให้ได้ด้วยว่าเราไม่สบาย
• แต่บางคนก็กลัวการไปพบจิตแพทย์นะคะ
อย่าเพิ่งไปรีบคิดว่าตัวเองเป็นโรคและอย่าเพิ่งไปรีบคิดว่าตัวเองไม่ได้เป็น คืออย่าสุดไปทั้งสองอย่าง บางคนก็รีบจะเป็นเหลือเกิน บางคนก็แบบไม่ๆ ฉันไม่เป็น บางทีจนจะแย่อยู่แล้ว ก็ยังบอกว่าฉันไม่ได้เป็น ดังนั้นให้เช็กอาการของตัวเองก่อน ถ้าคุณนอนไม่หลับติดต่อกันเกิน 3 วัน ทรายว่าไม่โอเคแล้วนะ คือส่วนใหญ่จะเริ่มมาจากปัญหาง่ายๆ เริ่มจาก ไลฟ์สไตล์เปลี่ยน เรื่องกิน เรื่องนอน นอนไม่ดี ตื่นมาแล้วก็ยังอึนๆ ถ้าเป็นแบบนี้ ลองไปคุยกับคุณหมอดูค่ะ อาจจะไปคุยแค่ว่าทำยังไงให้หลับดีขึ้นก็ได้
ทรายมองว่าจริงๆ แล้วมีหลายปัจจัยที่ทำให้เขากลัวการหาหมอนะคะ เช่น กลัวค่าใช้จ่าย กลัวหมอหลอกให้กินยา หรือบางคนกินแล้วก็บอกว่าไม่เห็นจะดีขึ้นเลย คือคนเราจะชินกับการกินยาลดไข้แล้วมันดีขึ้นเลย กินแล้วนอน ตื่นมาพรุ่งนี้ก็หาย แต่ยาโรคนี้ต้องกินอย่างน้อย 2 สัปดาห์ไปแล้วถึงจะเริ่มเห็นผล แล้วบางทีก็เป็น 2 สัปดาห์ที่ต้องเสียเปล่าเพราะยาไม่เข้ากับเรา ต้องเปลี่ยนยาเพื่อที่จะรออีก 2 สัปดาห์ก็มี ซึ่งเราเข้าใจนะ หรือบางคนไปหาหมอแล้ว หมอถามแค่ว่าเป็นอะไรมา พอบอกว่านอนไม่หลับมาหลายวันแล้ว หมอก็ให้ยามา แล้วบอกแค่ว่าคราวหน้ามาเจอกัน ซึ่งเขาก็จะมองว่าหมอคุยกับเราแค่นี้เองเหรอ นี่เราเครียดมากนะ แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับคนไข้ด้วยนะคะ บางคนอยากเล่าเยอะมาก บางคนไม่อยากเล่าอะไรเลย ไม่อยากให้รู้อะไรเลย คุณหมอก็เลยจะถามสิ่งที่เป็นปัญหาก่อน แก้ตรงนั้นก่อน
การนัดของจิตแพทย์ในช่วงแรกๆ หมอจะนัดถี่มาก ทุกสัปดาห์ ทุกสิบวัน เพื่อเช็กผลของยาด้วย เช็กรีแอกต์ของเราจนไปถึงจุดหนึ่งเขาถึงค่อยมาถามว่า มีอะไรในใจอยากจะเล่าไหม มีปัญหาอะไรไหม เพื่อนร่วมงานดีหรือเปล่า แฟนโอเคไหม พ่อแม่เป็นยังไง คือเขาจะไม่ได้มาถามแบบนี้ตั้งแต่แรก เพราะคนไม่ได้นอนมาเลย 3 วัน เล่าอะไรให้ฟังก็ไม่เข้าหัว ต้องไล่ให้กลับไปนอน แล้วค่อยมาคุยกันว่าปัญหามันคืออะไร ที่เราไม่ชอบมันคืออะไร อยากให้มันเป็นแบบไหน คุณหมอก็จะให้เวลาเรามากขึ้นในการตรวจครั้งต่อๆ ไป พร้อมกับระยะการนัดที่ห่างขึ้นเรื่อยๆ จาก 10 วัน เป็น 20 วัน เป็น 1 เดือน หรือ 2 เดือน อันนี้ก็แล้วแต่ผู้ป่วยแต่ละคนค่ะ
• แล้วคิดยังไงกับการที่ทุกวันนี้หลายคนในสังคมต้องเผชิญหน้ากับโรคซึมเศร้า จนถูกมองว่าโรคนี้เป็น “โรคยอดฮิต” บ้างคะ
ก็จะมีคนพูดเหมือนกันนะคะว่าแต่ก่อนไม่เห็นเป็นกันเลย คนเขาก็อยู่กันได้อ่อนไหวไปเองหรือเปล่า แต่เราลองนึกดู แล้วแม่ฉันล่ะ คืออะไร แม่ฉันก็เป็นมา 40 ปีแล้วนะ ก็ไม่ใช่โรคใหม่อะไรนะ หรืออย่างเวอร์จิเนีย วูล์ฟ ที่เขาเดินเอาหินถ่วงตัวเองแล้วก็จมน้ำตาย นั่นก็มีมาจะเป็นร้อยปีแล้วนะ เพียงแต่ว่าในทุกวันนี้มันอาจจะมีพื้นที่ให้สำรวจตัวเอง ให้สำรวจเพื่อนได้มากขึ้น มีข้อมูลเยอะขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะคนที่จะเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์ ก็จะมีเยอะขึ้นด้วย แต่แน่นอนว่ามันก็ทำให้คนที่ไม่ได้เป็น รู้สึกว่าทำไมเป็นกันชุมจังเลย คนนั้นก็เป็น คนนี้ก็เป็น เป็นกันไปหมดเลย เพราะด้วยการรับรู้ที่ถี่มากขึ้นเทียบกับแต่ก่อนที่ไม่ได้อัปเดตอะไรขนาดนั้น อย่างแต่ก่อนทรายเครียด ทรายหวีดร้อง ทรายก็อาจจะนอนชกตุ๊กตาอยู่ในห้อง ไม่มีใครได้รู้ แต่ตอนนี้ทรายเขียนเรื่องราวของตัวเอง เพื่อนก็จะรู้สึกว่าเราเป็นมากขึ้น แต่จริงๆ เราไม่ได้เป็นมากขึ้นหรือน้อยลงหรอกค่ะ มันเป็นระดับนี้แหละ แต่เพียงเพราะมีคนเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น เข้าใจวิธีการรักษามากขึ้น ยอมให้ตัวเองไปพบหมอมากขึ้นก็เท่านั้นเอง
• ปัจจุบันจะว่าไปแล้วยังมีความเข้าใจผิดอะไรเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าอีกบ้าง
“ทำไมไม่สนุกล่ะ” “ทำตัวให้ร่าเริงสิ” “หาอะไรทำสิ” จะเจอแบบนี้บ่อยมาก ซึ่งถ้าเราทำได้ก็ทำไปแล้ว แต่มันทำไม่ได้ ก็เหมือนคนที่เป็นโรคเกาต์ เราไปบอกให้เขากินไก่สิ ถามว่ากินได้ไหม เขากินได้ แต่กินแล้วใครซวย ก็ตัวเขา ก็เหมือนกันกับโรคนี้ที่บอกว่าให้ “สนุกสิ ร่าเริงสิ ทำได้ไหม” เขาก็ทำได้ แต่วันรุ่งขึ้นเขาอาจจะแย่ อาจจะเหนื่อย หรือไม่ก็หมดพลัง
ด้วยชื่อมันด้วยแหละมั้งคะ ทุกคนเลยจะคิดแต่ว่าถ้าเบื่อก็เปลี่ยนบรรยากาศสิ แต่ทรายจะบอกว่า วิธีแก้ไขก็คือถ้าเขาเบื่อ ก็ปล่อยให้เบื่อไปให้สุด ปล่อยไปเถอะ เดี๋ยวก็จะโอเค พรุ่งนี้จะดีขึ้นเอง ตรงนี้หมายถึงคนที่กินยาแล้วนะคะ
ส่วนคนที่ป่วยสิ่งที่เข้าใจผิดและเป็นปัญหามากๆ เลยก็คือการหยุดยาเอง ไม่กินแล้ว ดีขึ้นแล้ว เลยคิดว่าไม่ต้องกินแล้วก็ได้ หรือยาหมดก็ไม่ไปรับ หรือไม่ก็หยุดกินไปเลยดื้อๆ ซึ่งตรงนี้วันหนึ่งมันจะดีดกลับมา แรงกว่าเดิม ย่ำแย่กว่าเดิม เหมือนกับว่าเป็นภาวะโยโย่ทางอารมณ์ซึ่งอันตรายมากๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งค่ะ
• ส่วนตัวอยากให้คนทั่วไปมองโรคนี้ยังไง?
อยากให้ยอมรับว่ามันเป็นโรคโรคหนึ่งที่เป็นได้ก็หายได้ ไม่ใช่การคิดมากไปเอง หรือว่าอ่อนแอ ถ้าเรายอมรับว่ามันเป็นโรคได้เหมือนกับทุกๆ โรคบนโลกนี้มันก็จะตรงไปตรงมามากขึ้น เช่น เป็นโรค ป่วย ไปหาหมอ กินยา จบ มันคือแค่นี้เอง แต่ถ้าคุณไม่ยอมรับว่ามันเป็นโรค คราวนี้ก็จะเป็นการดิ้นรน เป็นการต่อสู้ด้วยการที่บอกว่า ทำนั่นไหม ทำนี่ไหม ลองนั่นสิ ลองนี่สิ แบบนี้ก็จะลองกันไปเรื่อยๆ มันก็จะยืดเยื้อออกไป ไม่หายสักที
• แบบนี้อยากฝากอะไรถึงครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่ในความดูแลบ้างไหมคะว่าเราควรดูแล หรืออยู่ร่วมกับคนที่ซึมเศร้าอย่างไร หรือ คนรอบตัวที่อยู่กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรปฏิบัติตัวอย่างไร
ทรายอยากให้ปล่อยไปค่ะ ต่อให้เขาเป็นคุณพ่อ คุณแม่หรือใครก็ตาม คุณต้องไม่เอาเขามาขึ้นคออยู่ตลอดเวลา เพราะคุณก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกัน หมอที่ทรายหาเขาพูดเลยนะคะว่า มันจะกลายเป็นจากป่วยหนึ่ง เป็นป่วยสอง จากป่วยสอง เป็นป่วยสาม จะลากกันลงไปเรื่อยๆ แทนที่ว่าทุกคนสามแรงสี่แรงจะช่วยกันดูแลคนป่วยหนึ่งคน แต่มันจะกลายเป็นคนป่วยสี่คนแล้วดูแลใครไม่ได้เลย ซึ่งมันไม่มีประโยชน์ ให้มันป่วยเป็นคนๆ ไปจะดีกว่า
บางครั้งก็ต้องปล่อยให้เขาร้องไห้ให้พอ ให้สาแก่ใจ เพราะว่าคุณไม่สามารถทำให้เขาดีขึ้นได้ในชั่วพริบตาอยู่แล้ว แล้วคุณเองจะแย่เปล่าๆ คือของบางอย่างมันงัดไม่ได้ ก็งัดไม่ได้ในนาทีนั้น แค่คุณใช้วิธีไปวนอยู่รอบๆ อาจจะพูดว่า “ถ้าจะกินอะไร ให้บอกนะ” แล้วคุณจะไปทำอะไรก็ได้ ปล่อยให้เขาจมกองน้ำตาอยู่ตรงนั้นแหละ เพราะเดี๋ยวพรุ่งนี้ตื่นมาก็ดีขึ้น ซึ่งทรายเป็นบ่อยมาก จนแรกๆ แฟนทรายก็งงนะว่าเอายังไงดี ถามมากก็โกรธ เซ้าซี้มากก็ไม่ได้ จนหลังๆ แฟนก็รู้ ก็จะเปลี่ยนเป็นถามว่า “ไหวไหม” “วันนี้ระดับไหน” แทน คือเขาก็จะปล่อยเรา
ทรายว่ามันต้องมีจุดร่วมกันระหว่างคนป่วยกับคนไม่ป่วย แต่คนป่วยก็ไม่ใช่ว่าจะให้ทุกคนบนโลกมาเข้าใจ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ไม่มีใครเข้าใจกันและกันได้อย่างถ่องแท้ขนาดนั้นหรอก ต่อให้ไม่ป่วยด้วยก็เถอะ อย่างบางทีเรารู้ตัวว่าเรางี่เง่านะ แต่มันห้ามไม่ได้ มันหยุดตัวเองไม่ได้ คุณต้องให้ความช่วยเหลือกับคนรอบตัวด้วย ไม่ใช่ว่าจะให้ทุกคนมารุมล้อมว่ารักฉันสิ รักฉันอยู่อย่างเดียว มันไม่ได้ ดังนั้นเราก็เลยเขียนวิธีที่จะทำให้คุณดีขึ้นได้ แต่คุณต้องทำ คุณต้องเริ่มจากตัวเองก่อน
ที่สำคัญทรายไม่อยากให้ไปเครียดกับเรื่องที่ว่า อันนั้นห้ามพูด อันนี้พูดได้ อันนั้นไม่ให้พูด คือคุณสนิทกับเพื่อนยังไงก็พูดไปแบบนั้นแหละค่ะ ถ้าเขาไม่ชอบ เขาก็บอกเอง ทรายจะบอกเพื่อนแบบนี้ตลอด ซึ่งเพื่อนแกล้งเรา แซวเรา เราก็ไม่เห็นจะโกรธเลย ก็เล่นกับเพื่อนได้ปกติ อย่าไปกังวลเลยค่ะ ถ้าคุณมีเพื่อนหรือว่ามีคนใกล้ชิดที่เป็นโรคนี้ก็แค่ทำตัวปกติกับเขา เพราะว่าเขาก็อยากจะเป็นปกติ คุณอย่าไปแยกจนเขารู้สึกว่าตัวเองดูประหลาดก็พอ
• ท้ายนี้อยากบอกหรือให้กำลังใจอะไรกับคนที่เผชิญโรคนี้อยู่บ้าง
ทรายอยากฝากถึงคนที่กำลังป่วย อยากจะบอกว่าเขาไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกนะ แต่ก็ไม่ได้จะบอกให้เขาภูมิใจว่าโลกนี้ยังมีคนป่วยอีกเยอะ ไม่ใช่แบบนั้น แต่ที่อยากบอกก็คือคุณไม่ได้ป่วยอยู่คนเดียว คุณไม่ได้เป็นคนที่แย่กว่าคนอื่น มันไม่ได้เป็นความผิด ไม่ได้เป็นความประมาทในการใช้ชีวิตคุณถึงป่วย คุณก็แค่เป็นคนคนหนึ่งที่ไม่สบายเฉยๆ แค่นั้นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณต้องไปพบจิตแพทย์ร่วมด้วย เพราะการหาหมอเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หาเร็ว ก็หายเร็วค่ะ
เรื่อง : วรัญญา งามขำ, พุทธิตา ลามคำ
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช