สนทนากับ “โค้ชมอส-ตรีมินทร์ เกษมวิรัติพงศ์” หรือ โค้ชที่ได้รับการรับรองจาก ICF ระดับ PCC - Professional Certified Coach ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับทัศนคติและดึงศักยภาพ Neuro Linguistic Program และเป็นโค้ชด้าน Thinking & Attitude ของนางงามรุ่นใหม่ เช่น มารีญา แนท อนิพรณ์, น้ำตาล ชลิตา เหล่าเซเลบริตีคนดังและองค์กรหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนชื่อดังอย่าง กฟผ. SCG
บอกได้เลยว่า ทุกบรรทัดถัดจากนี้ “มีคุณค่าความหมาย”!!

• Neuro Linguistic Program คืออะไร
Neuro-Linguistic Program หรือ (NLP) คือเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของสมอง ซึ่งเป็นระบบประสาทของมนุษย์ การใช้ภาษาเราเกิด มันสะสมมาอย่างไร เหมือนโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ถูกเซตโปรแกรมมาอย่างไรก็จะทำงานแบบนั้น คนถึงเป็นคนแบบนี้แบบโน้น คนแบบนี้ก็จะพูดแบบนี้
โดยวิธีการศึกษาคือการใช้ภาษาเป็นตัววิเคราะห์ความคิดของคน ภาษาที่พูดออกมาจะเป็นตัววิเคราะห์ความคิดของคน เพราะภาษามันเหมือนกับภาพจำที่คนเราจำและเก็บข้อมูล พอฟังเสียงปุ๊บภาษาก็สื่อความหมายแปลออกมา เราก็ไปศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่มีการเรียนการสอนกันมา 40-50 ปีแล้ว เมืองไทยก็มีคนไปเรียนมาเยอะ เช่น พวกโค้ชต่างๆ ที่เกี่ยวกับไลฟ์โค้ช หรือนักพูดแรงบันดาลใจ หรือจริงๆ ก็มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพราะมันก็คือเรื่องการวิปัสสนากรรมฐานที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเรา
• ยังไงที่ว่าเหมือนหลักการสอนพระพุทธศาสนา
ถ้าเราดูจากแก่นแท้ของศาสตร์ หัวใจสำคัญของ NLP ก็คือทุกอย่างบนโลกใบนี้ไม่มีความหมาย เราต่างหากที่ให้ความหมายกับมันกับทุกเรื่อง มันก็คือวิปัสสนากรรมฐาน คือคำสอนพระพุทธเจ้าเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนัตตาคือไม่มีตัวตน อย่างเช่น คนมองหน้าเรา มันมีความหมายอะไรกับเรา เขามองหน้าเรา เราบอกว่ามองอะไรวะ ก็อาจจะมีเรื่อง หรือเฉยๆ แฮปปี้ไม่แฮปปี้ซึ่งเราเป็นคนให้ความหมาย มันไม่เกี่ยวอะไรกับเขาเลยด้วยซ้ำไป เราไปให้ความหมาย เพราะเขาอาจจะไม่คิดอะไรเลยด้วยซ้ำ หรือกระทั่งบางทีเราโทร.หาใครสักคนหนึ่งแล้วเขาไม่รับโทรศัพท์ เราหงุดหงิดเลยทันที ทว่าจริงๆ แล้วคนที่ไม่รับโทรศัพท์ เราก็แค่โทร.ไปแล้วไม่รับ แต่พอเป็นคนที่เราให้ความหมายเขากลายเป็นเราให้ความสำคัญ เราก็อาจจะให้ความหมายไปในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งคน 10 คน อาจจะให้ความหมายการไม่รับโทรศัพท์ของคนหนึ่งคนไม่เหมือนกันเลย

ฉะนั้น จิตเราต่างหากที่ปรุงแต่ง พอจิตปรุงแต่ง ซึ่งมันหมายความถึงเรื่องกิเลส เรื่องโลภะ โทสะ โมหะ พระพุทธเจ้าท่านเล่าเรื่องจริงของโลกใบนี้มานานแล้ว แต่ NLP มาทีหลังแต่เหมือนกัน แค่ตรงนี้เป็นภาษาวิชาการเท่านั้นเอง และท่านก็บอกว่าให้มองทุกอย่างเป็นสายกลาง มองทุกอย่างที่มันเป็นแล้วก็บอกว่ามันเป็นเช่นนี้แล สุดท้ายแล้วมันก็ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา สมมติวันนี้ทำไมเราใส่เสื้อสีฟ้ามา ทำไมไม่ใส่สีขาว คนอื่นทักบอกสีฟ้าดูไม่เหมาะ แต่สำหรับเรามันใช่ คนอื่นก็ไม่เกี่ยวอะไรเลย มันคือโลกของใครโลกของมัน โดยไม่เดือดร้อนใคร คนเรามันชอบก้าวก่ายเรื่องคนอื่น ทำให้โลกมันวุ่นวายปัญหา
• ปัญหาที่ว่าคืออะไร?
ณ ตอนนี้โซเชียลเป็นอีกโลกหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นโลกส่วนหนึ่งของโลกปัจจุบัน ก็สามารถทำให้วุ่นวายกับคนอื่นได้มากขึ้น ทำให้เราทุกข์จนเป็นนิสัย คือมันชินกับการที่บอกว่าตัวเองเครียด คือวัฒนธรรมบ้านเรา หากเราแสดงความทุกข์เมื่อไหร่ เราจะได้การตอบรับจากคนรอบข้างในทางที่ดี อย่างเช่น เดินเข้ามาในออฟฟิศบอกว่าเศร้ามีปัญหา คนก็จะเดินเข้ามาตบไหล่โอ้โลมปฏิโลม แต่ถ้าเข้ามาแบบโอ้ย…เย มีความสุขจังเลย คนในออฟฟิศจะหมั่นไส้ หรือวันนี้สบายชิลๆ เสร็จงานแล้วโว้ย…เขาแฮปปี้สนุกกับงานคนรอบข้างจะว่าอย่างไร
ตรงกันข้าม ถ้าเครียด นอกจากเห็นใจปลอบใจ เขาจะยังมองว่าคนคนนี้เป็นคนจริงจังกับงาน ตั้งใจทำงาน ดูดี จะโปรโมต แต่ถ้าเราเป็นคนร่าเริงสนุกสนานทำงาน คนก็จะไปโฟกัสที่อารมณ์นั้นโดยที่ยังไม่โต วุฒิภาวะไม่ดี ซึ่งมันเกี่ยวกับอารมณ์หรือไม่ อารมณ์ดีกับเครียดมันไม่เกี่ยว แต่ด้วยรูปของคนที่เห็นว่าคนทำงานเก่งต้องจริงจัง ต้องเข้มขึงตึงเครียด ต้องซีเรียส ฯลฯ มันก็เลยทำให้คนติดความทุกข์
เราก็ต้องมีพลังด้านบวกมาเสริม ถ้าถามว่าทำไมเราต้องรู้ในเรื่องตรงนี้ เพราะก่อนหน้านั้นมันก็ไม่รู้เรื่องนี้กันจริงจัง แต่ก็อยู่กันได้ ทัศนคติก่อให้เกิดตัวตนคนที่ไม่เหมือนกัน บางคนประสบความสำเร็จ ชีวิตดี มีความสุขตลอด บางคนล้มเหลว ชีวิตย่ำแย่ มีแต่ความทุกข์ หรือบางคนประสบความเสร็จ ชีวิตดี แต่กลับมีความทุกข์ คนที่คิดวิชานี้เขาก็สงสัยว่าทำไมคนถึงแตกต่างกัน มันเกิดอะไรขึ้น มันมาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเขาก็วิเคราะห์ว่าสิ่งที่มันทำให้คนเราแตกต่างมันคืออะไรก็ไปศึกษาวิธีการพูดของคน คนนั้นพูดแบบนี้ คนนี้พูดแบบนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น

• โดยถ้าเราปรับแก้มันได้ชีวิตก็เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น พัฒนาขึ้น
คือจากประสบการณ์แต่ก่อนเราก็เป็นแค่วิทยากรทั่วไป จบปริญญาตรีการระหว่างประเทศ ธรรมศาสตร์ ปริญญาโท นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เป็นเทรนเนอร์ทั่วไปภายในองค์กร ก็สอนตามโมเดลรีเลชันชิป ก็จะมีบอกว่า เป็นลีดเดอร์ผู้นำต้องทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ ถ้าจะสื่อสารให้ดีต้องทำอย่างนี้อย่างโน้น ถ้าจะพรีเซนต์ให้ดีต้องทำอย่างไร ก็มีรูปแบบตายตัว ซึ่งสอนไปทำไปเท่าไหร่คนก็ไม่เปลี่ยน ไม่เอาสิ่งที่เราสอนไปใช้ ยังคงพฤติกรรมเดิมตามความเข้าใจของตัวเองว่าทำอย่างนี้ถูกต้องดีสุดแล้ว ซึ่งตรงนี้ก็สอนกันมาเยอะมาก แต่ก็ไม่เห็นเปลี่ยน สภาวะผู้นำ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ถึงมีคำพูดในตอนเทรนนิ่งว่า เทรนแล้วมันก็นิ่ง
แต่พอหลักการนี้ พอเรามีความรู้ด้านความคิดของคน มันทำให้เราต้องเข้าใจคนก่อนแล้วเราถึงจะออกแบบสื่อได้ดีขึ้น เข้าถึงคนและการเปลี่ยนแปลงได้จริง ซึ่งผลที่ได้ศึกษาตัวเราเปลี่ยนมาก คือคนหนึ่งคนมันก็มีรูปแบบของเขา เราก็คิดว่าเราเป็นคนอย่างนี้ แบบนี้ๆ มันทำให้เรายึดติดกับรูปแบบเดิมๆ ของเรา แล้วรูปแบบของเรามันอาจจะทำให้เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่เราต้องการได้ อย่างเช่นเราบอกตัวเองว่าเราเป็นคนไม่กล้า เป็นผู้นำไม่ได้ ไม่รู้จะนำใคร สั่งใครไม่เป็น ไอ้ที่เราบอกตัวเองทั้งหมดพวกนี้มันคือสิ่งที่ขัดขวางชีวิตเรา

เพราะความเป็นจริง เราก็อยากเติบโต อยากเป็นผู้นำคน อยากจะมีธุรกิจ อยากจะมีความสำเร็จในชีวิตเรา เป็นนิสัยพื้นฐานของมนุษย์ เรื่องการเติบโตภายใน เรื่องความต้องการพื้นฐานมนุษย์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ เราก็อยากรู้สึกว่าตัวเราดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตรงนี้มันทำให้คนที่พอบอกตัวเองหลายๆ เรื่องส่งผลสร้างข้อจำกัดให้ตัวเอง เราก็เลยไม่ไปไหน เราก็หงุดหงิดกับชีวิต พนักงานประจำทั่งหลาย ถ้าไม่เป็นพนักงานประจำจะเอาอะไรกิน มันต้องมีเงินเดือน ถึงจะอยู่ได้ ในขณะที่มันเป็นเรื่องจริงไหม มันก็ไม่จริงทั้งหมด มันก็ยังมีคนอื่นที่ไม่ต้องมีเงินเดือน เขาขายข้าวแกงทำไมเขาอยู่ได้
NLP พอไปเรียนก็เลยเปลี่ยนความคิดแล้วก็เข้าใจตัวเองมากขึ้น จากคนที่เป็นพนักงานออฟฟิศแล้วก็ยึดติดเก้าอี้เพื่อต้องการรายได้ประจำ มันดูมั่นคง ก็ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่า ถ้าเราอยู่แบบนี้ก็ได้ แต่มันไม่สนุกสำหรับเรา ซึ่งอันนี้ไม่ได้บอกให้คนอ่านลาออก แต่ตรงนี้มันไม่ได้ตอบโจทย์เรา ที่เราอยากเป็นคนที่ออกไปช่วยคนแล้วก็ให้ความรู้คนในวงกว้างมากขึ้น ไม่ใช่ทำงานอยู่ในองค์กร ก็ทำให้เราคิดได้แล้วเปลี่ยนแปลงตัวเองที่จะออกไปข้างนอก เป็นต้น นี่คือเรื่องการทำงาน
ส่วนเรื่องชีวิตเรื่องคนรอบข้าง เมื่อก่อนเป็นคนที่ชอบสั่งชอบบงการ ชอบคิดว่าตัวเองคิดดีสุดแล้วเสมอ เราก็จะเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการคนโน้นคนนี้ คือด้วยความที่เป็นลูกคนโตสุด พ่วงด้วยหลานคนโตในตระกูล และเป็นคนที่เรียนหนังสือเยอะที่สุด ทำงานเป็นเรื่องเป็นราวเงินเดือนเยอะสุดในบ้าน มันทำให้เราติดรูปแบบว่าเรานั้นเจ๋งสุด พอเราคิดว่าเราเจ๋งสุด สิ่งที่ตามมาคือเราต้องไปควบคุมคนอื่นให้เขาดีเหมือนเรา เราคิดแบบนั้น แล้วเราก็ชอบเอาสิ่งที่เราเป็นให้คนอื่น ซึ่งพอเราเรียน NLP เราก็เข้าใจคน คนมันแตกต่างกัน แล้วเขาก็มีเส้นทางชีวิตของเขาที่จะไปได้ดีในทางของเขา ดังนั้น หยุดที่จะไปบังคับคนอื่น เจ้ากี้เจ้าการชาวบ้าน แล้วให้เขามีชีวิตของเขา นั่นคือสิ่งที่เราจะมีความสุขที่สุด

• แต่เรามักหวังดีจากประสบการณ์ที่เราผ่านมา
เราใช้คำว่าเราหวังดีมาเป็นตัวขับเคลื่อนการเจ้ากี้เจ้าการของเรา แต่ทำเขามีความทุกข์ แม้กระทั่งพ่อแม่เราก็เหมือนกัน ลูกหลายคนทะเลาะกับพ่อแม่เพราะลูกอยากได้ในทางตรงกันข้ามที่พ่อแม่อยากได้ต่อลูก ฉะนั้นมันเป็นความต้องการส่วนตัวของแต่ละคน ซึ่งมันอาจจะไม่ต้องเจอกันก็ได้แต่มันอยู่ด้วยกันได้ สิ่งที่เรียนรู้คือ ฉันไม่ต้องการอะไร สิ่งที่เราต้องการที่สุดก็คือความสุขของพ่อแม่ ความสุขของคนที่เขาอยู่กับเรา ดังนั้นทำอย่างไรให้คนที่เขาอยู่กับเรามีความสุข ก็คือให้เขาทำในสิ่งที่เขาอยากทำแล้วเรานั่งมองความสุขของเขาให้เรามีความสุข
• แล้วถ้ามันมีดีกว่านั้น มีทางที่ดียิ่งกว่า
คำว่าดี ไม่ว่าจะดีไม่สุด ดีกว่า เราคิดไปเอง ใช่หรือไม่ สิ่งที่เราคิดบางทีมันไม่เกี่ยวกับเขาด้วยซ้ำไป สำหรับเขามันดีที่สุดแล้ว คนบางคนบอกว่าผมอยากทำนา อยากมีรายได้แค่เดือนละ 8,000 บาท เพราะว่าต้องการใช้ชีวิตอยู่กับพ่อแม่ คนอีกคนอาจจะบอกว่าเฮ้ยโง่! ศักยภาพระดับนี้ต้องไปอยู่ในเมือง ต้องมีรถ มีบ้านของตัวเองก่อนเท่านั้นเท่านี้ อีกคนบอกว่าก็เราพอเพียง เราแฮปปี้แบบนี้ แล้วก็จะไปกันอีก 3-4 ประโยคตีกันแน่ๆ จริงๆ คือมันไม่มีดีที่สุด มันดีของใครดีของมัน เขาแฮปปี้แค่นั้นจบ
ยอมรับในความเป็นเขาแบบที่เขาเป็นและเชื่อว่านั่นดีที่สุดสำหรับเขาแล้ว ถ้าอยากให้เขาทำอะไรมากกว่านั้นก็ถามเขา เพราะว่าเขาจะเห็นด้วยไหม เขาอยากทำด้วยหรือเปล่า คือบางทีถ้าเป็นเรื่องชีวิตของใครของมัน แต่ถ้าเป็นเรื่องของการทำงานก็ต้องมาคุยกันอีกบริบทหนึ่ง หัวหน้าคนอยากให้ลูกน้องทำงานได้อย่างนี้ต้องทำอย่างไร แต่หัวหน้าต้องเข้าใจก่อนว่าลูกน้องพยายามเต็มที่แล้ว แต่ที่เขาขาด ยังทำไม่ได้เพราะศักยภาพยังไม่พร้อม ไม่ใช่ไปด่าอย่างเดียว เขาไม่ตั้งใจ ขี้เกียจ สารพัด อันนี้ไม่ถูกต้องและจะไม่สามารถแก้ปลดล็อกตรงนี้ได้
หรืออย่างคนที่เขาตั้งใจทำหน้าที่เราจะเห็นสังคมการเมืองในที่ทำงาน คนนั้นไม่ดี คนนี้ไม่ดี แต่ทำไมเติบโต จริงๆ แล้วคำว่าเห็นแก่ตัวคืออะไร เขาทำอะไรถึงไปเรียกเขาว่าเห็นแก่ตัว เรากำลังให้ความหมายเราเป็นคนที่เรียก ถามเจ้าตัวเขาไม่ได้เห็นแก่ตัวหรอก หรือคำว่าหลงตัวเองเป็นอย่างไร เราจะนิยามอย่างไร สมมติเราพูดฉันเก่ง ฉันดีใจมากเวลาทำอะไรสักอย่างสำเร็จ งานนี้แฮปปี้มาก เราก็อยากเล่าให้ใครสักคนฟังหรือหลายๆ คน กลายเป็นหลงตัวเองอย่างนั้นหรือเปล่า ซึ่งมันไม่ใช่

แต่ในมุมหนึ่งมันเป็นการชื่นชมตัวอง ให้กำลังใจตัวเอง และเราก็จะมีความตระหนักรู้ในตัวเอง งานต่อไปเราจะทำให้แย่กว่า ดีเท่าเดิมหรือดียิ่งกว่า คำว่ามีเล่ห์เหลี่ยมคืออะไร ไปเรียกคนอื่นอย่างนั้น แต่จริงๆ ตัวเขาก็จะเรียกตัวเขาเองว่าเป็นคนมีกลยุทธ์ มีเป้าหมายไปหมดว่าเขาจะต้องทำอะไรบ้าง เขาวางรูปแบบ ต้องรู้จักคนนี้ก่อนแล้วไปรู้จักพี่อีกคน เพื่อที่ตัวเองจะได้งานนี้ ต้องล็อบบี้ แต่สุดท้ายมันทำด้วยงาน เราก็ต้องการให้งานผ่าน คนข้างนอกเราอาจจะเรียกว่ามีเล่ห์เลี่ยม ตรงนี้มันทำให้มีปัญหาแล้วทำให้คนมันทุกข์ และก็จะมีเรื่องอื่นๆ อีก ที่ทำให้ขาดกลายเป็นคนมีความทุกข์ ติดนิสัยว่าถ้าฉันร่าเริงฉันอาจจะเป็นคนที่ไม่ดีในออฟฟิศ ถ้าฉันเป็นคนเครียดเท่านั้นถึงจะเป็นคนที่ดีตั้งใจ ได้รับการยกย่องเชิดชูหน้าตา จริงๆ แล้วออฟฟิศไหนชอบเครียดๆ
• มันเป็นจุดเริ่มต้นของหายนะหมดของระบบชีวิต
ใช่…สภาพแวดล้อมของคนคือปัจจัยสำคัญ วันนี้ออฟฟิศอารมณ์ดีสนับสนุนให้การทำงานมันเป็นอารมณ์ดี มีสุขภาพจิตที่ดีแล้วงานก็จะดำเนินไปได้ด้วยดี มันจะดีมาก เพราะว่าทุกคนก็จะได้มีความคิดเป็นบวกแล้วก็ NLP ในเชิงบวกเข้าไปโลกมันก็จะน่าอยู่ขึ้น คนเรามันก็จะคุยกัน ไอ้ปัญหาต่างๆ ที่แชร์หรือที่เห็นกันบนโลกโซเชียลปัจจุบันก็จะน้อยลงหรือไม่มี
กลับกัน ถ้าโดนด่า เราก็ไม่อยากจะทำให้ดี ทุกวันนี้คนมันทำดีน้อยลงเพียงเพราะคนรอบข้างไม่ชื่นชมการทำความดี แต่คนจะรู้สึกดีเมื่อได้ด่าชาวบ้าน และมีคนมาเสริมว่าเจ๋ง คิดถูกคิดเหมือนกันเลย แล้วเราก็รู้สึกว่าเราเจ๋ง เราเป็นผู้นำทางความคิดได้ แต่เป็นด้านเชิงลบ ซึ่งตรงนี้มันทำให้สังคมเป็นอย่างที่เห็น เกิดกระแสขึ้นรุมด่า เพราะการรุมด่าทำให้ตัวเองกลายเป็นผู้ที่เจ๋งกว่าคนที่ด่า แล้วมันมีพวกมันก็ขยายๆ ซึ่งมันไม่ได้สร้างพลังบวกให้สังคมเลย มันแย่มาก นั่นแหละที่เรียกว่าทุกข์จนเป็นนิสัย แล้วมันก็ทำให้คนเสพติดพลังงานด้านลบโดยไม่รู้ตัว

• เราจะป้องกันอย่างไร
มันควรจะมีสักคนหรือสักทีหนึ่งที่เป็นที่ปล่อยพลังบวกแล้วให้เขาเข้าใจในอีกมุมหนึ่ง คือตอนนี้เกือบร้อยละร้อยโซเชียลรุมด่ากัน เพจเอย ตัวบุคคลเอย คือธรรมชาติของคนไม่อยากเห็นใครดีกว่า ซึ่งถามว่าอีกมุมตามทฤษฎี ถ้าเราชื่นชมคนอื่นคนอื่นก็จะชื่นชมเรา กลับกันการที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี เมื่อเราไม่ชื่นชมคนอื่นเท่ากับเราเจ๋งกว่าคนอื่น อย่างวิจารณ์งานคนอื่น เรากำลังบอกว่าเก่งกว่าติติงได้ อันนี้มันเป็นพฤติกรรมเชิงลบของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่สิ่งที่เราได้คือเจ๋งกว่าอีกคนหนึ่ง มันคือวิธีการที่คนทำกันในโซเชียลกัน จับผิดละครดัง นั่งดูธรรมดาก็ได้ จะอะไรหนักหนา แต่เราเจ๋งไง จับผิดได้ แล้วคนก็มาใช้เลย
ทำอย่างนี้ๆ โลกโซชียลมันก็เลยเป็นการที่คนมาสาดพลังลบใส่กัน ถ้ามีที่หนึ่งที่สอนเขาเรื่องเกี่ยวกับการให้พลังบวก การมองคนในแง่ดี แต่ไม่ใช่โลกสวย แต่มองมันอย่างเข้าใจอย่างที่มันเป็น ทำงานดีชื่นชม มันดีดีอย่างไร ชื่นชม ถ้าอยากจะให้พัฒนามันพัฒนาได้อีก ไอ้ส่วนที่ดีก็บอกว่าดี ส่วนที่เพิ่มถ้าเป็นเราจะเพิ่มเติมตรงนี้ๆ แต่มันต้องเกิดจากข้างในที่อยากจะบอกอยากจะเมตตา ซึ่ง NLP มันมีหลักหนึ่งที่มันมีเป็นสมมติฐานของ NLP เลย เขาบอกว่าให้เชื่อว่าทุกคนตั้งใจทำดีเสมอ แต่ที่ยังทำไม่ได้ดีเพราะขาดทรัพยากร
• ความคิดมันเป็นเรืองสำคัญ
ใช่…ยกตัวอย่างกับเรื่องที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อช่วงปี 2013 ในสังคมนางงามบ้านเราที่ได้มีการนำหลักการนี้มาปรับเสริมเพิ่มของนางงาม เพราะนางงามก็เป็นหนึ่งอาชีพ หนึ่งบทบาทหนึ่งหน้าที่ ถ้ามนุษย์ทุกคนมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่คลาดเคลื่อน การทำงานในบทบาทหน้าที่นั้นก็ไม่สมบูรณ์ เราได้มีโอกาสไปเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันพัฒนาบุคลิกภาพ สอนด้านการสื่อสารและได้คุยกับรองประธานการประกวดที่เป็นเจ้าของสถาบันแล้วเราก็เป็นคนชอบดูนางงามมาตั้งแต่เด็ก ก็เลยได้เข้ามาตรงนี้ ทีนี้คนเราพอปักหมุดถูกอันก็จะไปถูกได้ หากปักผิดอย่างมาประกวดนางงามแล้วไม่ชอบถูกถ่ายรูปเลย ไม่ชอบเจอผู้ใหญ่ ไม่ชอบนั่งโต๊ะกินข้าว ไม่ชอบคุย แล้วมาเป็นนางามทำไม หนูเครียดทุกครั้งที่เจอนักข่าว อันนี้คิดถูกหรือผิด
ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนเราก็ยอมรับช่างมันเถอะเป็นตัวของตัวเองดีที่สุด ซึ่งอันนี้มันก็ไม่ดีต่อตัวนางงามเอง ในขณะที่เราก็ต้องสอนต้องคุยปรับเปลี่ยนความคิดเขาใหม่ หรือในตอนที่เขาไปมิสยูนิเวิร์ส เขาต้องไปอยู่ตรงนั้นเขาต้องมีเป้ามาหมายชัดเจนแค่ไหนในการประกวด ถ้าบอกว่าตั้งใจจะไปเผยแพร่วัฒนธรรม ตั้งใจไปโปรโมตการท่องเที่ยว เขาจะได้เป็นมิสยูนิเวิร์สหรือไม่ ต่างจากนางงามฝั่งประเทศยุโรป เขาปักหมุดว่าเขาไปเพื่อที่จะเป็นมิสยูนิเวิร์สเป็นนางงามจักรวาล เราก็จะเห็นว่าเขาขึ้นเวทีแต่ละครั้งเขาเดินสวย เขายิ้มสวย เขาตอบคำถามดี เขาเตรียมตัวมาดี หุ่นเขาดี เขาพร้อมสำหรับตำแหน่งสูงสุดแล้ว แล้วเขาก็เป็นผู้ชนะ เพราะเขามาเพื่อเป็นผู้ชนะ ไม่ได้มาเผยแพร่วัฒนธรรม ถ้าลองถามเล่นๆ ว่ารู้ไหมว่าที่เที่ยวประเทศเขามีที่ไหนบ้าง อาจจะไม่รู้ก็ได้ เขาไม่ได้มาเผยแพร่ท่องเที่ยว มาเพื่อประกวดนางงามจักรวาล เขาต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ที่ถูกต้อง
คือเมื่อก่อนอาจจะเข้าใจว่ามาสวยอย่างเดียวพอ นั่นคือความเชื่อสมัยโบราณว่าได้คนสวยมาคนหนึ่ง บทคนจะได้มันก็ได้ ไม่ใช่ ถ้าย้อนกลับไปดูพี่ปุ๋ย (ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก) ทำไมเป็นคนเดียวที่ผ่านมาที่ได้นางงามจักรวาล เขาไปเพื่อเป็นนางงามจักรวาล ไม่ได้ไปเพื่อร่วมประกวด เขาบอกตัวเองว่าไปเพื่อไปเป็นนางงามจักรวาล

ดังนั้น การเตรียมตัวการฝึกฝนความทุ่มเทมันจะต่างกัน เราก็เอาสิ่งที่เรียนมาทั้งหมดมาใช้ในบริบทนางงาม เป็นแค่หนึ่งบริบทที่เราทำได้ เพราะเรื่องของทัศนคติมันเป็นเรื่องของทุกคนทุกอาชีพ ทุกบทบาททุกหน้าที่เลย โดยเฉพาะคนระดับกลางปัญญาชนและพี่น้องประชาชนคนธรรมดาเดินดินกินข้าวแกง เขารับจากโซเชียลนี่มันไม่ได้ผ่านกระบวนการกรอง ข่าวปิดข่าวมั่ว ความเชื่อผิดๆ ความเชื่อมั่วๆ เต็มไปหมด มันไม่มีใครไปกรองให้เขา และด้วยความรู้ที่เขามี ความเข้าใจที่เขามีบางอย่างเขาก็รับไปโดยที่เขาก็ไม่ได้กรองเหมือนกัน มันก็ทำให้ชีวิตเขาเดือดร้อน ไม่อย่างนั้นคนต่างจังหวัด จะโดนหลอกกันเยอะหรือไม่ เพราะเขารู้น้อย อันนี้ต้องส่งเสริมความรู้ความคิดเขาเพิ่ม ที่สำคัญวัตถุประสงค์ของเราอันหนึ่งเลย คือเปลี่ยนแปลงทัศนคติทำให้คนต่างจังหวัดเข้าใจชีวิตว่าต่างจังหวัดสบายกว่ากรุงเทพฯ พอมากรุงเทพฯ ก็กินอยู่เหมือนอยู่บ้านต่างจังหวัดไม่ต่างกัน เงินไม่ใช่ปัจจัยของชีวิตที่ดี บ้าน ครอบครัวคือสิ่งสำคัญที่สุดของต้นทุนชีวิตที่ดี
สุขที่แท้จริง 4.0 คือเข้าใจความต้องการของตัวเอง เข้าใจอย่างแท้จริงว่าต้องการอะไรที่ไม่ใช่วัตถุ ถ้าวัตถุวันนี้รถหนึ่งคัน ปีหน้าอยากมีอีก อีก 5 ปีอยากมีอีก วัตถุมันไม่มีทางจบ วัตถุมันเป็นแค่สัญลักษณ์อันหนึ่งเฉยๆ คนรวยไม่เห็นจะหยุดกันอยู่ ไม่เคยพอ ฉะนั้น ถ้า 4.0 จริงๆ มันต้องเป็นความรู้จากตัวเองในความต้องการระดับลึกสุดของเราว่าเรามีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร ไอ้เงินทองมันเป็นแค่สิ่งบ่งบอก จริงๆ วันนี้การมีเงินมันมีความหมายอะไรกับเรา เราต้องเข้าใจการได้ทำงานที่ใดที่หนึ่งมีความหมายอะไรกับเรา ที่นี่มีคุณค่าอะไรกับเรา เราถึงเลือกมาอยู่ที่นี่ มันไม่ใช่แค่เงินเดือน แต่มันคืออะไรที่เราทำไปเพื่ออะไร ถ้าเขาเข้าใจตรงนี้ได้เขาจะมีชีวิตย่างมีความสุขทุกวัน ตื่นเช้ามาจะมีแรง
แต่โลกมันไปข้างหน้ารวดเร็ว โลกเราจะเคลื่อนไปเพียงมุมมองเราคนเดียวได้อย่างไร ถ้าเราเข้าใจตัวเองเราก็จะไม่ไปเปรียบเทียบ คนนั้นมีนั่นนี่ ไปโน่นนี่ ซึ่งอันนี้มันเรื่องของเขาแต่เราเอาตัวเองเข้าไปยุ่งกับเขาเอง ถ้าเราเข้าใจตัวเองเรารู้ว่าเงินตรงนี้มีความหมายของเราอยากทำอะไรยังไง ที่เราไม่ไปเพราะอยากเก็บเงินให้พ่อแม่ เราก็ไม่ต้องไปมองตรงที่คนอื่นทำ ไม่ใช่ว่าเราไปดิ้นรนเพื่อให้มีเหมือนคนอื่น โดยลืมตัวเอง แล้วพอเราอยากเหมือนคนอื่นเราจะใช้วิธีที่ผิด โกง ขโมย ขายยาเสพติด ไซด์ไลน์ ทำทุกอย่างให้ได้มาซึ่งเงินแล้วใช้ชีวิตแบบคนอื่น โดยลืมกระทั่งศีลธรรม จริยธรรม คนต้องเข้าใจความหมายของการใช้ชีวิตของตัวเองอย่างแท้จริง

อนาคตจึงอยากทำเซ็นเตอร์ที่จะช่วยคน คือถ้ามันมีช่องทางอื่นๆ ก็อยากทำ แต่ความตั้งใจด้วยทรัพยากรที่เรามีเราก็อยากทำศูนย์วิปัสสนาเป็นศูนย์ที่ใช้ทั้งศาสตร์ทางพุทธและ NLP ที่เรียนมาผสมผสานกันในการช่วยคนให้เขาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และมันก็จะเป็นที่ที่หนึ่งที่ส่งพลังบวกให้กับคน และเขาจะได้มีพลังในการใช้ชีวิต อันที่สอง ที่ตั้งใจคือการทำโค้ชชิ่ง เป็นเซ็นเตอร์ เป็นแชริตี คนที่มีความทุกข์ในชีวิต เพราะค่าเรียนมีราคาพอสมควร เราก็อยากจะทำเพื่อช่วยให้เขามาคุยมาปรึกษาพนักงานระดับล่างๆ ชาวบ้าน แม่ค้าร้านตลาดที่มีความทุกข์ เดินเข้ามาคุยกับโค้ชสักชั่วโมงสองชั่วโมงเขาจะได้อะไรกลับไปในชีวิตเยอะมาก
เราก็จะเป็นผู้ที่แข็งแรงทางความคิด แข็งแรงจากภายใน ท่วงท่าอากัปกิริยาต่างๆ มันมาจากความคิดภายใน ภาษากายมาจากภาษาใจ มองง่ายๆ คนมั่นใจยืนยังไง ไม่มั่นใจดูอย่างไร มองปราดเดียวรู้เลย ยกตัวอย่างคุณ โอปอล์ (ปาณิสรา อารยะสกุล) ตัวอย่างความแข็งแรงทางความคิดจากภายในแล้วเป็นพลังงานเชิงบวกที่ทำให้คนรอบข้างรักเขา มันเกิดจากพลังตัวเองแล้วไม่ทำร้ายใคร เนื่องจากโลกมันก็ไม่ได้เร็วไปช้าไป มันก็โลกของใครของมันแต่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ชื่นชมสิ่งที่คนอื่นเป็น ชื่นชมสิ่งที่เรามี แล้วก็แชร์กันแค่นั้นเอง


เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : วชิระ สายจำปา
บอกได้เลยว่า ทุกบรรทัดถัดจากนี้ “มีคุณค่าความหมาย”!!
• Neuro Linguistic Program คืออะไร
Neuro-Linguistic Program หรือ (NLP) คือเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของสมอง ซึ่งเป็นระบบประสาทของมนุษย์ การใช้ภาษาเราเกิด มันสะสมมาอย่างไร เหมือนโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ถูกเซตโปรแกรมมาอย่างไรก็จะทำงานแบบนั้น คนถึงเป็นคนแบบนี้แบบโน้น คนแบบนี้ก็จะพูดแบบนี้
โดยวิธีการศึกษาคือการใช้ภาษาเป็นตัววิเคราะห์ความคิดของคน ภาษาที่พูดออกมาจะเป็นตัววิเคราะห์ความคิดของคน เพราะภาษามันเหมือนกับภาพจำที่คนเราจำและเก็บข้อมูล พอฟังเสียงปุ๊บภาษาก็สื่อความหมายแปลออกมา เราก็ไปศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่มีการเรียนการสอนกันมา 40-50 ปีแล้ว เมืองไทยก็มีคนไปเรียนมาเยอะ เช่น พวกโค้ชต่างๆ ที่เกี่ยวกับไลฟ์โค้ช หรือนักพูดแรงบันดาลใจ หรือจริงๆ ก็มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพราะมันก็คือเรื่องการวิปัสสนากรรมฐานที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเรา
• ยังไงที่ว่าเหมือนหลักการสอนพระพุทธศาสนา
ถ้าเราดูจากแก่นแท้ของศาสตร์ หัวใจสำคัญของ NLP ก็คือทุกอย่างบนโลกใบนี้ไม่มีความหมาย เราต่างหากที่ให้ความหมายกับมันกับทุกเรื่อง มันก็คือวิปัสสนากรรมฐาน คือคำสอนพระพุทธเจ้าเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนัตตาคือไม่มีตัวตน อย่างเช่น คนมองหน้าเรา มันมีความหมายอะไรกับเรา เขามองหน้าเรา เราบอกว่ามองอะไรวะ ก็อาจจะมีเรื่อง หรือเฉยๆ แฮปปี้ไม่แฮปปี้ซึ่งเราเป็นคนให้ความหมาย มันไม่เกี่ยวอะไรกับเขาเลยด้วยซ้ำไป เราไปให้ความหมาย เพราะเขาอาจจะไม่คิดอะไรเลยด้วยซ้ำ หรือกระทั่งบางทีเราโทร.หาใครสักคนหนึ่งแล้วเขาไม่รับโทรศัพท์ เราหงุดหงิดเลยทันที ทว่าจริงๆ แล้วคนที่ไม่รับโทรศัพท์ เราก็แค่โทร.ไปแล้วไม่รับ แต่พอเป็นคนที่เราให้ความหมายเขากลายเป็นเราให้ความสำคัญ เราก็อาจจะให้ความหมายไปในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งคน 10 คน อาจจะให้ความหมายการไม่รับโทรศัพท์ของคนหนึ่งคนไม่เหมือนกันเลย
ฉะนั้น จิตเราต่างหากที่ปรุงแต่ง พอจิตปรุงแต่ง ซึ่งมันหมายความถึงเรื่องกิเลส เรื่องโลภะ โทสะ โมหะ พระพุทธเจ้าท่านเล่าเรื่องจริงของโลกใบนี้มานานแล้ว แต่ NLP มาทีหลังแต่เหมือนกัน แค่ตรงนี้เป็นภาษาวิชาการเท่านั้นเอง และท่านก็บอกว่าให้มองทุกอย่างเป็นสายกลาง มองทุกอย่างที่มันเป็นแล้วก็บอกว่ามันเป็นเช่นนี้แล สุดท้ายแล้วมันก็ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา สมมติวันนี้ทำไมเราใส่เสื้อสีฟ้ามา ทำไมไม่ใส่สีขาว คนอื่นทักบอกสีฟ้าดูไม่เหมาะ แต่สำหรับเรามันใช่ คนอื่นก็ไม่เกี่ยวอะไรเลย มันคือโลกของใครโลกของมัน โดยไม่เดือดร้อนใคร คนเรามันชอบก้าวก่ายเรื่องคนอื่น ทำให้โลกมันวุ่นวายปัญหา
• ปัญหาที่ว่าคืออะไร?
ณ ตอนนี้โซเชียลเป็นอีกโลกหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นโลกส่วนหนึ่งของโลกปัจจุบัน ก็สามารถทำให้วุ่นวายกับคนอื่นได้มากขึ้น ทำให้เราทุกข์จนเป็นนิสัย คือมันชินกับการที่บอกว่าตัวเองเครียด คือวัฒนธรรมบ้านเรา หากเราแสดงความทุกข์เมื่อไหร่ เราจะได้การตอบรับจากคนรอบข้างในทางที่ดี อย่างเช่น เดินเข้ามาในออฟฟิศบอกว่าเศร้ามีปัญหา คนก็จะเดินเข้ามาตบไหล่โอ้โลมปฏิโลม แต่ถ้าเข้ามาแบบโอ้ย…เย มีความสุขจังเลย คนในออฟฟิศจะหมั่นไส้ หรือวันนี้สบายชิลๆ เสร็จงานแล้วโว้ย…เขาแฮปปี้สนุกกับงานคนรอบข้างจะว่าอย่างไร
ตรงกันข้าม ถ้าเครียด นอกจากเห็นใจปลอบใจ เขาจะยังมองว่าคนคนนี้เป็นคนจริงจังกับงาน ตั้งใจทำงาน ดูดี จะโปรโมต แต่ถ้าเราเป็นคนร่าเริงสนุกสนานทำงาน คนก็จะไปโฟกัสที่อารมณ์นั้นโดยที่ยังไม่โต วุฒิภาวะไม่ดี ซึ่งมันเกี่ยวกับอารมณ์หรือไม่ อารมณ์ดีกับเครียดมันไม่เกี่ยว แต่ด้วยรูปของคนที่เห็นว่าคนทำงานเก่งต้องจริงจัง ต้องเข้มขึงตึงเครียด ต้องซีเรียส ฯลฯ มันก็เลยทำให้คนติดความทุกข์
เราก็ต้องมีพลังด้านบวกมาเสริม ถ้าถามว่าทำไมเราต้องรู้ในเรื่องตรงนี้ เพราะก่อนหน้านั้นมันก็ไม่รู้เรื่องนี้กันจริงจัง แต่ก็อยู่กันได้ ทัศนคติก่อให้เกิดตัวตนคนที่ไม่เหมือนกัน บางคนประสบความสำเร็จ ชีวิตดี มีความสุขตลอด บางคนล้มเหลว ชีวิตย่ำแย่ มีแต่ความทุกข์ หรือบางคนประสบความเสร็จ ชีวิตดี แต่กลับมีความทุกข์ คนที่คิดวิชานี้เขาก็สงสัยว่าทำไมคนถึงแตกต่างกัน มันเกิดอะไรขึ้น มันมาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเขาก็วิเคราะห์ว่าสิ่งที่มันทำให้คนเราแตกต่างมันคืออะไรก็ไปศึกษาวิธีการพูดของคน คนนั้นพูดแบบนี้ คนนี้พูดแบบนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น
• โดยถ้าเราปรับแก้มันได้ชีวิตก็เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น พัฒนาขึ้น
คือจากประสบการณ์แต่ก่อนเราก็เป็นแค่วิทยากรทั่วไป จบปริญญาตรีการระหว่างประเทศ ธรรมศาสตร์ ปริญญาโท นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เป็นเทรนเนอร์ทั่วไปภายในองค์กร ก็สอนตามโมเดลรีเลชันชิป ก็จะมีบอกว่า เป็นลีดเดอร์ผู้นำต้องทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ ถ้าจะสื่อสารให้ดีต้องทำอย่างนี้อย่างโน้น ถ้าจะพรีเซนต์ให้ดีต้องทำอย่างไร ก็มีรูปแบบตายตัว ซึ่งสอนไปทำไปเท่าไหร่คนก็ไม่เปลี่ยน ไม่เอาสิ่งที่เราสอนไปใช้ ยังคงพฤติกรรมเดิมตามความเข้าใจของตัวเองว่าทำอย่างนี้ถูกต้องดีสุดแล้ว ซึ่งตรงนี้ก็สอนกันมาเยอะมาก แต่ก็ไม่เห็นเปลี่ยน สภาวะผู้นำ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ถึงมีคำพูดในตอนเทรนนิ่งว่า เทรนแล้วมันก็นิ่ง
แต่พอหลักการนี้ พอเรามีความรู้ด้านความคิดของคน มันทำให้เราต้องเข้าใจคนก่อนแล้วเราถึงจะออกแบบสื่อได้ดีขึ้น เข้าถึงคนและการเปลี่ยนแปลงได้จริง ซึ่งผลที่ได้ศึกษาตัวเราเปลี่ยนมาก คือคนหนึ่งคนมันก็มีรูปแบบของเขา เราก็คิดว่าเราเป็นคนอย่างนี้ แบบนี้ๆ มันทำให้เรายึดติดกับรูปแบบเดิมๆ ของเรา แล้วรูปแบบของเรามันอาจจะทำให้เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่เราต้องการได้ อย่างเช่นเราบอกตัวเองว่าเราเป็นคนไม่กล้า เป็นผู้นำไม่ได้ ไม่รู้จะนำใคร สั่งใครไม่เป็น ไอ้ที่เราบอกตัวเองทั้งหมดพวกนี้มันคือสิ่งที่ขัดขวางชีวิตเรา
เพราะความเป็นจริง เราก็อยากเติบโต อยากเป็นผู้นำคน อยากจะมีธุรกิจ อยากจะมีความสำเร็จในชีวิตเรา เป็นนิสัยพื้นฐานของมนุษย์ เรื่องการเติบโตภายใน เรื่องความต้องการพื้นฐานมนุษย์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ เราก็อยากรู้สึกว่าตัวเราดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตรงนี้มันทำให้คนที่พอบอกตัวเองหลายๆ เรื่องส่งผลสร้างข้อจำกัดให้ตัวเอง เราก็เลยไม่ไปไหน เราก็หงุดหงิดกับชีวิต พนักงานประจำทั่งหลาย ถ้าไม่เป็นพนักงานประจำจะเอาอะไรกิน มันต้องมีเงินเดือน ถึงจะอยู่ได้ ในขณะที่มันเป็นเรื่องจริงไหม มันก็ไม่จริงทั้งหมด มันก็ยังมีคนอื่นที่ไม่ต้องมีเงินเดือน เขาขายข้าวแกงทำไมเขาอยู่ได้
NLP พอไปเรียนก็เลยเปลี่ยนความคิดแล้วก็เข้าใจตัวเองมากขึ้น จากคนที่เป็นพนักงานออฟฟิศแล้วก็ยึดติดเก้าอี้เพื่อต้องการรายได้ประจำ มันดูมั่นคง ก็ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่า ถ้าเราอยู่แบบนี้ก็ได้ แต่มันไม่สนุกสำหรับเรา ซึ่งอันนี้ไม่ได้บอกให้คนอ่านลาออก แต่ตรงนี้มันไม่ได้ตอบโจทย์เรา ที่เราอยากเป็นคนที่ออกไปช่วยคนแล้วก็ให้ความรู้คนในวงกว้างมากขึ้น ไม่ใช่ทำงานอยู่ในองค์กร ก็ทำให้เราคิดได้แล้วเปลี่ยนแปลงตัวเองที่จะออกไปข้างนอก เป็นต้น นี่คือเรื่องการทำงาน
ส่วนเรื่องชีวิตเรื่องคนรอบข้าง เมื่อก่อนเป็นคนที่ชอบสั่งชอบบงการ ชอบคิดว่าตัวเองคิดดีสุดแล้วเสมอ เราก็จะเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการคนโน้นคนนี้ คือด้วยความที่เป็นลูกคนโตสุด พ่วงด้วยหลานคนโตในตระกูล และเป็นคนที่เรียนหนังสือเยอะที่สุด ทำงานเป็นเรื่องเป็นราวเงินเดือนเยอะสุดในบ้าน มันทำให้เราติดรูปแบบว่าเรานั้นเจ๋งสุด พอเราคิดว่าเราเจ๋งสุด สิ่งที่ตามมาคือเราต้องไปควบคุมคนอื่นให้เขาดีเหมือนเรา เราคิดแบบนั้น แล้วเราก็ชอบเอาสิ่งที่เราเป็นให้คนอื่น ซึ่งพอเราเรียน NLP เราก็เข้าใจคน คนมันแตกต่างกัน แล้วเขาก็มีเส้นทางชีวิตของเขาที่จะไปได้ดีในทางของเขา ดังนั้น หยุดที่จะไปบังคับคนอื่น เจ้ากี้เจ้าการชาวบ้าน แล้วให้เขามีชีวิตของเขา นั่นคือสิ่งที่เราจะมีความสุขที่สุด
• แต่เรามักหวังดีจากประสบการณ์ที่เราผ่านมา
เราใช้คำว่าเราหวังดีมาเป็นตัวขับเคลื่อนการเจ้ากี้เจ้าการของเรา แต่ทำเขามีความทุกข์ แม้กระทั่งพ่อแม่เราก็เหมือนกัน ลูกหลายคนทะเลาะกับพ่อแม่เพราะลูกอยากได้ในทางตรงกันข้ามที่พ่อแม่อยากได้ต่อลูก ฉะนั้นมันเป็นความต้องการส่วนตัวของแต่ละคน ซึ่งมันอาจจะไม่ต้องเจอกันก็ได้แต่มันอยู่ด้วยกันได้ สิ่งที่เรียนรู้คือ ฉันไม่ต้องการอะไร สิ่งที่เราต้องการที่สุดก็คือความสุขของพ่อแม่ ความสุขของคนที่เขาอยู่กับเรา ดังนั้นทำอย่างไรให้คนที่เขาอยู่กับเรามีความสุข ก็คือให้เขาทำในสิ่งที่เขาอยากทำแล้วเรานั่งมองความสุขของเขาให้เรามีความสุข
• แล้วถ้ามันมีดีกว่านั้น มีทางที่ดียิ่งกว่า
คำว่าดี ไม่ว่าจะดีไม่สุด ดีกว่า เราคิดไปเอง ใช่หรือไม่ สิ่งที่เราคิดบางทีมันไม่เกี่ยวกับเขาด้วยซ้ำไป สำหรับเขามันดีที่สุดแล้ว คนบางคนบอกว่าผมอยากทำนา อยากมีรายได้แค่เดือนละ 8,000 บาท เพราะว่าต้องการใช้ชีวิตอยู่กับพ่อแม่ คนอีกคนอาจจะบอกว่าเฮ้ยโง่! ศักยภาพระดับนี้ต้องไปอยู่ในเมือง ต้องมีรถ มีบ้านของตัวเองก่อนเท่านั้นเท่านี้ อีกคนบอกว่าก็เราพอเพียง เราแฮปปี้แบบนี้ แล้วก็จะไปกันอีก 3-4 ประโยคตีกันแน่ๆ จริงๆ คือมันไม่มีดีที่สุด มันดีของใครดีของมัน เขาแฮปปี้แค่นั้นจบ
ยอมรับในความเป็นเขาแบบที่เขาเป็นและเชื่อว่านั่นดีที่สุดสำหรับเขาแล้ว ถ้าอยากให้เขาทำอะไรมากกว่านั้นก็ถามเขา เพราะว่าเขาจะเห็นด้วยไหม เขาอยากทำด้วยหรือเปล่า คือบางทีถ้าเป็นเรื่องชีวิตของใครของมัน แต่ถ้าเป็นเรื่องของการทำงานก็ต้องมาคุยกันอีกบริบทหนึ่ง หัวหน้าคนอยากให้ลูกน้องทำงานได้อย่างนี้ต้องทำอย่างไร แต่หัวหน้าต้องเข้าใจก่อนว่าลูกน้องพยายามเต็มที่แล้ว แต่ที่เขาขาด ยังทำไม่ได้เพราะศักยภาพยังไม่พร้อม ไม่ใช่ไปด่าอย่างเดียว เขาไม่ตั้งใจ ขี้เกียจ สารพัด อันนี้ไม่ถูกต้องและจะไม่สามารถแก้ปลดล็อกตรงนี้ได้
หรืออย่างคนที่เขาตั้งใจทำหน้าที่เราจะเห็นสังคมการเมืองในที่ทำงาน คนนั้นไม่ดี คนนี้ไม่ดี แต่ทำไมเติบโต จริงๆ แล้วคำว่าเห็นแก่ตัวคืออะไร เขาทำอะไรถึงไปเรียกเขาว่าเห็นแก่ตัว เรากำลังให้ความหมายเราเป็นคนที่เรียก ถามเจ้าตัวเขาไม่ได้เห็นแก่ตัวหรอก หรือคำว่าหลงตัวเองเป็นอย่างไร เราจะนิยามอย่างไร สมมติเราพูดฉันเก่ง ฉันดีใจมากเวลาทำอะไรสักอย่างสำเร็จ งานนี้แฮปปี้มาก เราก็อยากเล่าให้ใครสักคนฟังหรือหลายๆ คน กลายเป็นหลงตัวเองอย่างนั้นหรือเปล่า ซึ่งมันไม่ใช่
แต่ในมุมหนึ่งมันเป็นการชื่นชมตัวอง ให้กำลังใจตัวเอง และเราก็จะมีความตระหนักรู้ในตัวเอง งานต่อไปเราจะทำให้แย่กว่า ดีเท่าเดิมหรือดียิ่งกว่า คำว่ามีเล่ห์เหลี่ยมคืออะไร ไปเรียกคนอื่นอย่างนั้น แต่จริงๆ ตัวเขาก็จะเรียกตัวเขาเองว่าเป็นคนมีกลยุทธ์ มีเป้าหมายไปหมดว่าเขาจะต้องทำอะไรบ้าง เขาวางรูปแบบ ต้องรู้จักคนนี้ก่อนแล้วไปรู้จักพี่อีกคน เพื่อที่ตัวเองจะได้งานนี้ ต้องล็อบบี้ แต่สุดท้ายมันทำด้วยงาน เราก็ต้องการให้งานผ่าน คนข้างนอกเราอาจจะเรียกว่ามีเล่ห์เลี่ยม ตรงนี้มันทำให้มีปัญหาแล้วทำให้คนมันทุกข์ และก็จะมีเรื่องอื่นๆ อีก ที่ทำให้ขาดกลายเป็นคนมีความทุกข์ ติดนิสัยว่าถ้าฉันร่าเริงฉันอาจจะเป็นคนที่ไม่ดีในออฟฟิศ ถ้าฉันเป็นคนเครียดเท่านั้นถึงจะเป็นคนที่ดีตั้งใจ ได้รับการยกย่องเชิดชูหน้าตา จริงๆ แล้วออฟฟิศไหนชอบเครียดๆ
• มันเป็นจุดเริ่มต้นของหายนะหมดของระบบชีวิต
ใช่…สภาพแวดล้อมของคนคือปัจจัยสำคัญ วันนี้ออฟฟิศอารมณ์ดีสนับสนุนให้การทำงานมันเป็นอารมณ์ดี มีสุขภาพจิตที่ดีแล้วงานก็จะดำเนินไปได้ด้วยดี มันจะดีมาก เพราะว่าทุกคนก็จะได้มีความคิดเป็นบวกแล้วก็ NLP ในเชิงบวกเข้าไปโลกมันก็จะน่าอยู่ขึ้น คนเรามันก็จะคุยกัน ไอ้ปัญหาต่างๆ ที่แชร์หรือที่เห็นกันบนโลกโซเชียลปัจจุบันก็จะน้อยลงหรือไม่มี
กลับกัน ถ้าโดนด่า เราก็ไม่อยากจะทำให้ดี ทุกวันนี้คนมันทำดีน้อยลงเพียงเพราะคนรอบข้างไม่ชื่นชมการทำความดี แต่คนจะรู้สึกดีเมื่อได้ด่าชาวบ้าน และมีคนมาเสริมว่าเจ๋ง คิดถูกคิดเหมือนกันเลย แล้วเราก็รู้สึกว่าเราเจ๋ง เราเป็นผู้นำทางความคิดได้ แต่เป็นด้านเชิงลบ ซึ่งตรงนี้มันทำให้สังคมเป็นอย่างที่เห็น เกิดกระแสขึ้นรุมด่า เพราะการรุมด่าทำให้ตัวเองกลายเป็นผู้ที่เจ๋งกว่าคนที่ด่า แล้วมันมีพวกมันก็ขยายๆ ซึ่งมันไม่ได้สร้างพลังบวกให้สังคมเลย มันแย่มาก นั่นแหละที่เรียกว่าทุกข์จนเป็นนิสัย แล้วมันก็ทำให้คนเสพติดพลังงานด้านลบโดยไม่รู้ตัว
• เราจะป้องกันอย่างไร
มันควรจะมีสักคนหรือสักทีหนึ่งที่เป็นที่ปล่อยพลังบวกแล้วให้เขาเข้าใจในอีกมุมหนึ่ง คือตอนนี้เกือบร้อยละร้อยโซเชียลรุมด่ากัน เพจเอย ตัวบุคคลเอย คือธรรมชาติของคนไม่อยากเห็นใครดีกว่า ซึ่งถามว่าอีกมุมตามทฤษฎี ถ้าเราชื่นชมคนอื่นคนอื่นก็จะชื่นชมเรา กลับกันการที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี เมื่อเราไม่ชื่นชมคนอื่นเท่ากับเราเจ๋งกว่าคนอื่น อย่างวิจารณ์งานคนอื่น เรากำลังบอกว่าเก่งกว่าติติงได้ อันนี้มันเป็นพฤติกรรมเชิงลบของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่สิ่งที่เราได้คือเจ๋งกว่าอีกคนหนึ่ง มันคือวิธีการที่คนทำกันในโซเชียลกัน จับผิดละครดัง นั่งดูธรรมดาก็ได้ จะอะไรหนักหนา แต่เราเจ๋งไง จับผิดได้ แล้วคนก็มาใช้เลย
ทำอย่างนี้ๆ โลกโซชียลมันก็เลยเป็นการที่คนมาสาดพลังลบใส่กัน ถ้ามีที่หนึ่งที่สอนเขาเรื่องเกี่ยวกับการให้พลังบวก การมองคนในแง่ดี แต่ไม่ใช่โลกสวย แต่มองมันอย่างเข้าใจอย่างที่มันเป็น ทำงานดีชื่นชม มันดีดีอย่างไร ชื่นชม ถ้าอยากจะให้พัฒนามันพัฒนาได้อีก ไอ้ส่วนที่ดีก็บอกว่าดี ส่วนที่เพิ่มถ้าเป็นเราจะเพิ่มเติมตรงนี้ๆ แต่มันต้องเกิดจากข้างในที่อยากจะบอกอยากจะเมตตา ซึ่ง NLP มันมีหลักหนึ่งที่มันมีเป็นสมมติฐานของ NLP เลย เขาบอกว่าให้เชื่อว่าทุกคนตั้งใจทำดีเสมอ แต่ที่ยังทำไม่ได้ดีเพราะขาดทรัพยากร
• ความคิดมันเป็นเรืองสำคัญ
ใช่…ยกตัวอย่างกับเรื่องที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อช่วงปี 2013 ในสังคมนางงามบ้านเราที่ได้มีการนำหลักการนี้มาปรับเสริมเพิ่มของนางงาม เพราะนางงามก็เป็นหนึ่งอาชีพ หนึ่งบทบาทหนึ่งหน้าที่ ถ้ามนุษย์ทุกคนมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่คลาดเคลื่อน การทำงานในบทบาทหน้าที่นั้นก็ไม่สมบูรณ์ เราได้มีโอกาสไปเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันพัฒนาบุคลิกภาพ สอนด้านการสื่อสารและได้คุยกับรองประธานการประกวดที่เป็นเจ้าของสถาบันแล้วเราก็เป็นคนชอบดูนางงามมาตั้งแต่เด็ก ก็เลยได้เข้ามาตรงนี้ ทีนี้คนเราพอปักหมุดถูกอันก็จะไปถูกได้ หากปักผิดอย่างมาประกวดนางงามแล้วไม่ชอบถูกถ่ายรูปเลย ไม่ชอบเจอผู้ใหญ่ ไม่ชอบนั่งโต๊ะกินข้าว ไม่ชอบคุย แล้วมาเป็นนางามทำไม หนูเครียดทุกครั้งที่เจอนักข่าว อันนี้คิดถูกหรือผิด
ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนเราก็ยอมรับช่างมันเถอะเป็นตัวของตัวเองดีที่สุด ซึ่งอันนี้มันก็ไม่ดีต่อตัวนางงามเอง ในขณะที่เราก็ต้องสอนต้องคุยปรับเปลี่ยนความคิดเขาใหม่ หรือในตอนที่เขาไปมิสยูนิเวิร์ส เขาต้องไปอยู่ตรงนั้นเขาต้องมีเป้ามาหมายชัดเจนแค่ไหนในการประกวด ถ้าบอกว่าตั้งใจจะไปเผยแพร่วัฒนธรรม ตั้งใจไปโปรโมตการท่องเที่ยว เขาจะได้เป็นมิสยูนิเวิร์สหรือไม่ ต่างจากนางงามฝั่งประเทศยุโรป เขาปักหมุดว่าเขาไปเพื่อที่จะเป็นมิสยูนิเวิร์สเป็นนางงามจักรวาล เราก็จะเห็นว่าเขาขึ้นเวทีแต่ละครั้งเขาเดินสวย เขายิ้มสวย เขาตอบคำถามดี เขาเตรียมตัวมาดี หุ่นเขาดี เขาพร้อมสำหรับตำแหน่งสูงสุดแล้ว แล้วเขาก็เป็นผู้ชนะ เพราะเขามาเพื่อเป็นผู้ชนะ ไม่ได้มาเผยแพร่วัฒนธรรม ถ้าลองถามเล่นๆ ว่ารู้ไหมว่าที่เที่ยวประเทศเขามีที่ไหนบ้าง อาจจะไม่รู้ก็ได้ เขาไม่ได้มาเผยแพร่ท่องเที่ยว มาเพื่อประกวดนางงามจักรวาล เขาต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ที่ถูกต้อง
คือเมื่อก่อนอาจจะเข้าใจว่ามาสวยอย่างเดียวพอ นั่นคือความเชื่อสมัยโบราณว่าได้คนสวยมาคนหนึ่ง บทคนจะได้มันก็ได้ ไม่ใช่ ถ้าย้อนกลับไปดูพี่ปุ๋ย (ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก) ทำไมเป็นคนเดียวที่ผ่านมาที่ได้นางงามจักรวาล เขาไปเพื่อเป็นนางงามจักรวาล ไม่ได้ไปเพื่อร่วมประกวด เขาบอกตัวเองว่าไปเพื่อไปเป็นนางงามจักรวาล
ดังนั้น การเตรียมตัวการฝึกฝนความทุ่มเทมันจะต่างกัน เราก็เอาสิ่งที่เรียนมาทั้งหมดมาใช้ในบริบทนางงาม เป็นแค่หนึ่งบริบทที่เราทำได้ เพราะเรื่องของทัศนคติมันเป็นเรื่องของทุกคนทุกอาชีพ ทุกบทบาททุกหน้าที่เลย โดยเฉพาะคนระดับกลางปัญญาชนและพี่น้องประชาชนคนธรรมดาเดินดินกินข้าวแกง เขารับจากโซเชียลนี่มันไม่ได้ผ่านกระบวนการกรอง ข่าวปิดข่าวมั่ว ความเชื่อผิดๆ ความเชื่อมั่วๆ เต็มไปหมด มันไม่มีใครไปกรองให้เขา และด้วยความรู้ที่เขามี ความเข้าใจที่เขามีบางอย่างเขาก็รับไปโดยที่เขาก็ไม่ได้กรองเหมือนกัน มันก็ทำให้ชีวิตเขาเดือดร้อน ไม่อย่างนั้นคนต่างจังหวัด จะโดนหลอกกันเยอะหรือไม่ เพราะเขารู้น้อย อันนี้ต้องส่งเสริมความรู้ความคิดเขาเพิ่ม ที่สำคัญวัตถุประสงค์ของเราอันหนึ่งเลย คือเปลี่ยนแปลงทัศนคติทำให้คนต่างจังหวัดเข้าใจชีวิตว่าต่างจังหวัดสบายกว่ากรุงเทพฯ พอมากรุงเทพฯ ก็กินอยู่เหมือนอยู่บ้านต่างจังหวัดไม่ต่างกัน เงินไม่ใช่ปัจจัยของชีวิตที่ดี บ้าน ครอบครัวคือสิ่งสำคัญที่สุดของต้นทุนชีวิตที่ดี
สุขที่แท้จริง 4.0 คือเข้าใจความต้องการของตัวเอง เข้าใจอย่างแท้จริงว่าต้องการอะไรที่ไม่ใช่วัตถุ ถ้าวัตถุวันนี้รถหนึ่งคัน ปีหน้าอยากมีอีก อีก 5 ปีอยากมีอีก วัตถุมันไม่มีทางจบ วัตถุมันเป็นแค่สัญลักษณ์อันหนึ่งเฉยๆ คนรวยไม่เห็นจะหยุดกันอยู่ ไม่เคยพอ ฉะนั้น ถ้า 4.0 จริงๆ มันต้องเป็นความรู้จากตัวเองในความต้องการระดับลึกสุดของเราว่าเรามีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร ไอ้เงินทองมันเป็นแค่สิ่งบ่งบอก จริงๆ วันนี้การมีเงินมันมีความหมายอะไรกับเรา เราต้องเข้าใจการได้ทำงานที่ใดที่หนึ่งมีความหมายอะไรกับเรา ที่นี่มีคุณค่าอะไรกับเรา เราถึงเลือกมาอยู่ที่นี่ มันไม่ใช่แค่เงินเดือน แต่มันคืออะไรที่เราทำไปเพื่ออะไร ถ้าเขาเข้าใจตรงนี้ได้เขาจะมีชีวิตย่างมีความสุขทุกวัน ตื่นเช้ามาจะมีแรง
แต่โลกมันไปข้างหน้ารวดเร็ว โลกเราจะเคลื่อนไปเพียงมุมมองเราคนเดียวได้อย่างไร ถ้าเราเข้าใจตัวเองเราก็จะไม่ไปเปรียบเทียบ คนนั้นมีนั่นนี่ ไปโน่นนี่ ซึ่งอันนี้มันเรื่องของเขาแต่เราเอาตัวเองเข้าไปยุ่งกับเขาเอง ถ้าเราเข้าใจตัวเองเรารู้ว่าเงินตรงนี้มีความหมายของเราอยากทำอะไรยังไง ที่เราไม่ไปเพราะอยากเก็บเงินให้พ่อแม่ เราก็ไม่ต้องไปมองตรงที่คนอื่นทำ ไม่ใช่ว่าเราไปดิ้นรนเพื่อให้มีเหมือนคนอื่น โดยลืมตัวเอง แล้วพอเราอยากเหมือนคนอื่นเราจะใช้วิธีที่ผิด โกง ขโมย ขายยาเสพติด ไซด์ไลน์ ทำทุกอย่างให้ได้มาซึ่งเงินแล้วใช้ชีวิตแบบคนอื่น โดยลืมกระทั่งศีลธรรม จริยธรรม คนต้องเข้าใจความหมายของการใช้ชีวิตของตัวเองอย่างแท้จริง
อนาคตจึงอยากทำเซ็นเตอร์ที่จะช่วยคน คือถ้ามันมีช่องทางอื่นๆ ก็อยากทำ แต่ความตั้งใจด้วยทรัพยากรที่เรามีเราก็อยากทำศูนย์วิปัสสนาเป็นศูนย์ที่ใช้ทั้งศาสตร์ทางพุทธและ NLP ที่เรียนมาผสมผสานกันในการช่วยคนให้เขาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และมันก็จะเป็นที่ที่หนึ่งที่ส่งพลังบวกให้กับคน และเขาจะได้มีพลังในการใช้ชีวิต อันที่สอง ที่ตั้งใจคือการทำโค้ชชิ่ง เป็นเซ็นเตอร์ เป็นแชริตี คนที่มีความทุกข์ในชีวิต เพราะค่าเรียนมีราคาพอสมควร เราก็อยากจะทำเพื่อช่วยให้เขามาคุยมาปรึกษาพนักงานระดับล่างๆ ชาวบ้าน แม่ค้าร้านตลาดที่มีความทุกข์ เดินเข้ามาคุยกับโค้ชสักชั่วโมงสองชั่วโมงเขาจะได้อะไรกลับไปในชีวิตเยอะมาก
เราก็จะเป็นผู้ที่แข็งแรงทางความคิด แข็งแรงจากภายใน ท่วงท่าอากัปกิริยาต่างๆ มันมาจากความคิดภายใน ภาษากายมาจากภาษาใจ มองง่ายๆ คนมั่นใจยืนยังไง ไม่มั่นใจดูอย่างไร มองปราดเดียวรู้เลย ยกตัวอย่างคุณ โอปอล์ (ปาณิสรา อารยะสกุล) ตัวอย่างความแข็งแรงทางความคิดจากภายในแล้วเป็นพลังงานเชิงบวกที่ทำให้คนรอบข้างรักเขา มันเกิดจากพลังตัวเองแล้วไม่ทำร้ายใคร เนื่องจากโลกมันก็ไม่ได้เร็วไปช้าไป มันก็โลกของใครของมันแต่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ชื่นชมสิ่งที่คนอื่นเป็น ชื่นชมสิ่งที่เรามี แล้วก็แชร์กันแค่นั้นเอง
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : วชิระ สายจำปา