หากใครก็ตามที่ได้ไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์ใจกลางย่านสยามสแควร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงหนังสกาลา ที่ได้รับใช้นักดูหนังกว่า 50 ปี นั้น คงจะต้องพบเจอชายสวมสูทเหลืองที่คอยยืนฉีกตั๋วรับใช้บริการอยู่หน้าโรง โดย ‘ไพวงค์ ภูบุตรตะ’ ก็เป็นอีกหนึ่งคนในตำแหน่งนั้น ซึ่งกว่า 24 ปีที่เขาทำหน้าที่นี้ ก็กำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งตำนานของโรงหนังไทย ที่อาจจะถูกพูดถึงในอนาคตอันใกล้ เมื่อยามพูดถึงโรงหนังแห่งความทรงจำ ณ ที่แห่งนี้...

• อยากให้คุณช่วยเล่าถึงช่วงชีวิตของตัวเอง ก่อนที่จะมาทำงานที่นี่หน่อยครับ
ผมเป็นคนอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งก่อนที่เราจะเข้ามาทำงานที่นี่ ก็มีงานการทำปกติ เป็นชาวไร่ชาวนา ที่บ้าน แต่พอเราแต่งงานมีลูก ซึ่งถ้าอยู่บ้านปกติ เราก็พออยู่ได้ แต่พอมีลูก แล้วมีภาระทางการเงินเรื่องลูกที่จะต้องใช้เงินเป็นรายวันแล้ว เราก็คิดว่าคงหาไม่ทัน ก็เลยต้องดิ้นรนเข้ามากรุงเทพฯ เพราะว่ามีวุฒิแค่ ม.3 เอง ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็ใช้ชีวิตแบบเด็กบ้านนอกปกติทั่วไป พอผ่านการเกณฑ์ทหาร ตอนอายุ 21 ผ่านไปสักพักก็มีแฟนและลูกช่วง 23 แต่ก็อย่างที่บอกละครับว่า เรามีภาระเพิ่มขึ้น เราก็ปรึกษากับแฟนว่า มาหาเงินในกรุงเทพฯ ดีกว่า อีกอย่าง เราก็คิดล่วงหน้าแล้วว่า ลูกเราจะต้องมีเรียนพิเศษเพิ่มด้วย ซึ่งถ้าไม่ทันเขา เราจะอายมั้ยล่ะ เพราะแค่เรียนระดับอนุบาล มันก็มีเรียนพิเศษแล้ว ส่วนปัจจัยอื่น คิดว่าไม่น่ามีนะ เพราะถ้ายังอยู่ในวัยรุ่น ก็คงกินเที่ยว สนุกสนานเฮฮา ปกติ แต่พอมีครอบครัว ก็ทำให้เราต้องหารายได้เพิ่มไง เพราะตอนนั้นเพิ่ง 25-26 ปีเอง
• แล้วโดยส่วนตัวคุณเองก็ชอบดูมหรสพอยู่แล้วมั้ย
ชอบสิ (ตอบทันที) เราจะเปรียบว่า ต่างจังหวัดเมื่อก่อน ถ้าหนังโรงมา เราดีใจมั้ย เพราะว่ามันจะทำให้เราได้ดูก่อนเขา ประมาณว่าหนังเข้าโรงบ้านเราเว้ย ส่วนใหญ่หนังที่เข้าโรงที่บ้าน ก็จะเป็นหนังไทย กับ หนังจีน พวกเฉินหลง หรือ โจวเหวินฟะ โหดเลวดี จะดังมาก คนจะเต็มโรงเลย ประมาณนี้ละครับ โดยส่วนตัวก็ชอบแนวนี้ด้วย ส่วนหนังฝรั่งจะประปราย แต่ยังไม่ชอบเท่าไหร่ ส่วนคอนเสิร์ตเราก็ชอบดูบ้าง แต่ก็ไม่ได้หรูหราอะไร จะเป็นแนวหมอลำมากกว่า จะเป็นพวกพรศักดิ์ ส่องแสง ศิริพร อำไพพงษ์ แต่ก็เป็นแบบว่า นานๆ จะมาสักครั้งเหมือนกันนะ ซึ่งโรงหนังในอำเภอก็ห่างจากบ้านที่เราอยู่ด้วยไง ก็จะมีการรวมตัวเป็นกลุ่มวัยรุ่น ก็ขี่มอเตอร์ไซค์จากบ้านไปตัวอำเภอ หรือไปตัวจังหวัด เพราะว่าห่างแค่ประมาณหลัก 10-20 กิโลฯ เอง แต่ถ้าเป็นหนังโรง ก็จะมีเข้ามาฉายในหมู่บ้านเราอย่างที่บอก แล้วเราก็มากันได้ไง ซึ่งหนังโรงเราก็มาดูวันเสาร์-อาทิตย์ได้ ประมาณนั้น

• คุณถูกชักชวนให้มาทำงานที่นี่ได้ยังไงครับ
ตอนแรกสุด คนที่บ้านซึ่งเขามาทำงานที่นี่ก่อน ก็กลับมาเยี่ยมบ้านตอนช่วงสงกรานต์ แล้วก็เข้ามาอยู่จุดนี้ เขาก็มีการมาชวนเราว่าไปเที่ยวเล่นที่กรุงเทพฯบ้าง แต่เราก็ยังไม่พร้อมไง จนกระทั่งช่วงที่เราเริ่มตัดสินใจในเรื่องงานแล้ว ประกอบกับช่วงนั้นตำแหน่งมันว่างพอดี เราก็เลยมา เพราะอย่างที่บอกด้วย และไม่มีญาติที่กรุงเทพฯ ด้วย เราก็เลยมา เข้างานวันแรก เมื่อวันที่ 13 หรือ 14 เมษายน 2537 ซึ่งความคิดแรกสุด เราก็กะว่าจะไม่ได้อยู่นานหรอก อาจจะอยู่แค่หนึ่งปีหรือสองปี ก็คงกลับ เราคิดอยู่แค่นั้น แต่พอมาทำงานที่นี่จริงๆ ก็อยู่กันเป็นครอบครัว เราก็อยู่ยาวเลย ไม่อยากกลับบ้านแล้ว (หัวเราะ)
• บรรยากาศในช่วงแรกในการทำงานที่นี่เป็นยังไงบ้าง
ถ้าเปรียบเทียบระหว่างที่บ้านเรากับที่นี่ในช่วงนั้น ถือว่า เรามาเจอคนเยอะ เราก็ดีใจ ภูมิใจ แต่ถ้าคนน้อย เราก็ไม่รู้จะอยู่ยังไง คือตั้งแต่ที่เราอยู่มา จนถึงช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้ ถ้านับจากเวลาในปัจจุบัน คนยังดูหนังที่โรงอยู่เลย เต็มโรงทุกรอบ เราทำงานที่นี่จนลืมกลับบ้านเลย ได้เห็นคนหลายแบบหลายสไตล์ มีความสุขจนลืมกลับบ้านเลย ช่วงที่เราเข้าไปทำงานแรกๆ ก็ยังมีแบบเกือบเต็มโรงอยู่ 800-900 ที่ต่อรอบ แต่ถ้าเป็นคอนเสิร์ตหรือเดี่ยวไมโครโฟน นี่คือต้องมีเก้าอี้เสริมหรือนั่งตามบันไดเลย คือเราทำงานสนุกเพลินจนลืมกลับบ้านอย่างที่บอก

• หน้าที่การทำงานหลักๆ นี่คือเป็นยังไงครับ
หน้าที่เราตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงตอนนี้ก็คือ แผนกนามบัตรต้อนรับ ก็คือว่า ใส่สูทนี้ (ชี้ไปที่สูท) แล้วพาเขาไปนั่งตามหมายเลขที่นั่งที่ระบุตั๋วไว้ แล้วคอยแนะนำลูกค้าว่า เกิดอะไรขึ้น ห้องน้ำอยู่ตรงไหน เพราะอย่างลูกค้าบางรายก็ไม่รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน ซึ่งเราก็ทำหน้าที่นี้มาเหมือนเดิม อยุู่หน้าประตู (ชี้ไปที่ทางเข้า) ซึ่งพอเข้าไปแล้วก็จะมีอีกกลุ่มเข้าไป ซึ่งถ้ารอบไหนมีคนเยอะๆ แล้วที่มันซ้ำกันยุ่งเลยนะ คือเราเข้าใจได้ว่าจิตใจแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันนะ ถ้าเขาไม่ได้ที่ เขาก็ไม่ยอมอีกนะ ที่นั่งต้องเป๊ะตลอด
อย่างช่วงที่ผมมาทำงานแรกๆ อย่างหนังบางเรื่องก็จะมีประมาณ 5 รอบต่อวัน พนักงานก็จะมีการแบ่งกันว่า รอบนึงจะทำงานกันยังไง บริการยังไง จะต้องมีพนักงานประจำที่ของตัวเอง ซึ่งถ้ามีปัญหาในโรง ต้องมาแจ้งพนักงาน เพื่อให้มาแจ้ง รปภ. อีกทอดหนึ่ง อย่างแต่ละวันมันมี 5 รอบ ใครอยู่เวรในรอบต่างๆ ก็นั่งไป รับผิดชอบไป ก็จะสลับๆ กันไป อย่างหน้าประตูทางเข้า ก็จะมีคนมาเฝ้าอยู่เหมือนกัน ถ้าจะมาหนีหมดก็ไม่ได้นะ เกิดมีเหตุการณ์อะไรในโรงจะทำยังไงล่ะ มันต้องมีพนักงานมารับเรื่องไว้ ก่อนที่จะติดต่อหัวหน้าว่าจะยังไงดี
• ในฐานะที่เป็นคนทำงานของที่นี่ มีเรื่องไหนที่ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ของที่นี่
ถ้าเอาตามที่เราเคยมีประสบการณ์ร่วม ก็มีเรื่อง Amagedon Titanic Fast & Furios ตั้งแต่ภาคแรกจนภาคล่าสุดเลย แล้วก็ Jurassic Park ตั้งแต่ภาค 2 Avartar ซึ่งเมื่อก่อนหนังที่ว่ามาสามารถอยู่ที่นี่ได้เป็นเดือนเลย ขนาดเราถอดโปรแกรมออกแล้ว ลูกค้ายังถามหาเลยว่า ดูไม่ทัน คือบรรยากาศของคนดูในตอนนั้นที่ขั้นเต็มโรง มันก็ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างที่บอกนะ เพราะเราชอบบรรยากาศของคนที่ดูหนังในโรงนะ อย่างกลุ่มวัยรุ่นที่จับกลุ่มมาดูหนังกัน เขาไม่ได้มากับพ่อแม่นะ มันจะมีอารมณ์ร่วมระหว่างกลุ่มคนที่วัยไล่เลี่ยกัน มันก็ทำให้เราได้ตื่นเต้นไปด้วย ก็คือมีหนังแนววัยรุ่นบ้าง หนังแอกชั่นบ้าง

• ประสบการณ์แปลกๆ ในระหว่างการทำงานล่ะครับ
เราก็เจอประสบการณ์ต่างๆ ในโรงมาพอสมควรนะ แต่มีอยู่ 2 เคสที่จำได้ขึ้นใจเลย เคสแรก คือช่วยน้องนักศึกษาผู้หญิงอายุประมาณ 19-20 คนหนึ่ง เขาเกิดอาการปัสสาวะราดขณะดูหนังในโรง เนื่องจากตื่นเต้นตามหนัง จนเราและเพื่อนๆ ต้องหามกันออกมาจากโรงเลย ซึ่งเท่าที่เราประสบเจอในตอนนั้นคือ น้องเขามีอาการดิ้นแบบใจจะขาดเลย แล้วต้องพยุงเขาออกมาจากในโรงส่งต่อไปที่รถป่อเต็กตึ๊งเลย ซึ่งภายหลังมาทราบว่า เขาเป็นโรคประจำตัวของเขาเอง หลังจากนั้นเราก็ไม่รู้เรื่องแล้ว เพราะมีญาติของเขามารับตัวไป
ส่วนอีกเคสหนึ่ง เป็นผู้หญิงอายุประมาณ 30-40 ปี เกิดอาการวูบแบบล้มทั้งยืนในขณะซื้อตั๋วหนัง ตอนนั้น ผมก็อยู่ตรงหน้าประตู เพราะว่าเราก็ทำงานของเราไปในส่วนที่ตรวจดูผู้ชมต่างๆ เคสนี้ก็เอารถป่อเต็กตึ๊งมารับที่หน้าโรงเหมือนกัน ถามไปถามมา ปรากฎว่าผู้หญิงคนนั้นเพิ่งไปบริจาคเลือดมา แล้วจะมาดูหนัง
• จากที่เคยเป็นคนดูมาก่อน จนมาเป็นคนทำงานเอง ถือว่าเปลี่ยนไปพอควรมั้ยครับ
เปลี่ยนนะ ซึ่งจากแต่ก่อน ถ้าพูดถีงโรงหนัง ใครก็อยากเข้าใช่มั้ย แล้วพอเรามาทำงานในแผนกนี้ ก้ตอบโจทย์เราพอดี ที่เราชอบดูหนังอยู่แล้วด้วยไง บวกกับการให้บริการสำหรับลูกค้าที่มาดู มันก็ทำให้เรามีความสุขไปอีกแบบ เวลาที่ลูกค้าเขามาพูดกับเรา เราก็ได้คุยกับเขา ทั้งเรื่องหนัง เรื่องสารทุกข์สุกดิบ มีทั้งขาประจำตั้งแต่ที่เราเข้ามาทำงานแรกๆ ที่เขาโตมาพร้อมกับเรา จนถึงอายุ 60-70 มีครบทุกอาชีพเลย จนบางคนหายไป เราก็มีถามหานะว่าไปไหน

• บรรยากาศของการดูหนังในแต่ละยุค นับตั้งแต่ที่คุณได้เข้ามาทำงานเป็นยังไงครับ
ถ้าเป็นสมัยก่อน ผมคิดว่าพนักงานทุกแผนกมีความสุขกว่าตอนนี้นะ เพราะเราได้เห็นบรรยากาศของผู้ชมที่มีอารมณ์ร่วมอย่างที่บอก คนที่ดูหนังแบบเต็มโรงเกือบทุกรอบ ซึ่งต่างจากปัจจุบันนะ ที่มีคนมาดูรอบละ 50 คน บรรยากาศก็เงียบเหงา คนละอารมณ์เลย ซึ่งมันไม่ใช่เลย อย่างที่เราดูแบบต่างๆ ขนาดที่เราดูไม่รู้เรื่อง เราก็ยังเฮตามเขาได้ มันก็เป็นความสุขของเราเช่นกัน ซึ่งบรรยากาศก็แตกต่างกันไป แต่เดี๋ยวนี้มันก็อย่างว่า
• พูดถึงการแต่งกายในการทำงานแต่ละวัน โดยส่วนตัวมองตัวเองยังไง
คนที่มาดูก็ชอบเยอะนะ มีคนมาขอถ่ายรูปเยอะเลย แล้วโดยส่วนตัวก็ภูมิใจนะ เพราะสูทนี้ก็นำเข้ามาเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะด้วยนะ ใครแต่งนี่ผิดเลยนะ แต่พอเรามาแต่งเองก็ภูมิใจอย่างที่บอก เราก็ทำงานของเราปกติไปด้วย ไม่ได้เขินหรอก ขนาดผมเดินไปซื้อกับข้าว ผมยังใส่ไปซื้อเลย (หัวเราะ) จะไปอายทำไม เพราะสูทชุดนี้มันมีมาตั้งแต่เริ่มต้นโรงหนังแล้ว แล้วลูกค้าชาวต่างชาติก็มาขอถ่ายรูปกับเราตลอดเลย บางรายก็มาขอซื้อสูทนะ ผมบอกขายไม่ได้มันเป็นของบริษัท

• พอวันหนึ่งที่เป็นกระแสข่าวที่ออกมา ความรู้สึกของคุณเป็นยังไงบ้างครับ
พอได้ยินข่าวแล้ว เรารู้สึกว่ารับไม่ได้ มันเหมือนกับบ้านเราถูกยึด ถามว่าเสียใจมั้ย ก็เสียใจ เพราะว่าเราอยู่ที่นี่มาประมาณ 24 ปี เรามีความรู้สึกผูกพันกับที่นี่ เหมือนกับเป็นบ้านของตัวเองเลย ตื่นเช้าก็มาทำงานที่นี่อยู่ทุกวัน แล้วอยู่ดีๆ มีใครไม่รู้มายึดที่เราไป จะทำยังไง ตอนนี้ก็คือทำใจอยู่ทุกวันนะ เพราะอย่างที่บอก คือไม่ได้พูดเกินจริงนะ ไม่ใช่แค่ผมคนเดียว ทุกคนก็มีความรู้สึกแบบเดียวกัน แต่ชีวิตก็ต้องเดินต่อไป ทำอะไรไม่ได้ เพราะว่าเรามันก็แค่เป็นคนตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ซึ่งโรงหนังเครือนี้มันมีอายุกว่า 50 ปีแล้วนะ ผมเข้ามาทำงานก็น่าจะเป็นรุ่นที่สามได้ แต่พนักงานรุ่นแรกที่บุกเบิกมาด้วยกัน ที่เขาเข้ามาทำงานตั้งแต่อายุ 24-25 เหมือนกับตอนผมที่เข้ามาทำ ทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่เลยนะ ตอนนี้ก็ 60-70 แล้วรุ่นผมก็ยังมีอยู่ไม่ต่างกัน เพราะเครือเรา เมื่อก่อนมีทั่วกรุงเทพฯ เลย เรามาทำงานตอนที่ช่วงเหตุการณ์ลิโด้ไฟไหม้ไง คือเรามาทำงานในช่วงประมาณว่า นักศึกษามาขอหางตั๋วหนังในรอบเพื่อเอาไปอวดเพื่อนเลย ขนาดนั้นเลยคิดดู (หัวเราะ)
• ตอนนี้มีคิดบ้างหรือยังครับว่าหลังจากนี้จะดำเนินชีวิตยังไง
ตอนนี้ก็เริ่มคิดแล้วว่า ชีวิตจะยังไงต่อ เพราะเราก็เพิ่งอายุเท่านี้เอง มันก็คงมีทางไปสักวันแหละ อาจจะกลับบ้านไปทำการค้าขายที่ตลาดในบ้านต่อไป เพราะว่าลูกก็เรียนจบหมดแล้ว เขาก็ใช้ชีวิตของเขาไป แล้วชีวิตเราก็อยู่ไม่นิ่งแล้วล่ะ ก็ต้องเดินต่อไป
• ในฐานะที่คุณเป็นคนฉีกตั๋วของที่นี่ อยากให้ช่วยสรุปช่วงชีวิตในตอนนี้หน่อยครับว่ามันให้อะไรกับตัวเองบ้าง
จากการที่เราได้มาอยู่จุดนี้ เรามีความสุขนะ คือเริ่มต้นมาเลยจนปัจจุบัน เรามีความสุขมาก เรารักในอาชีพนี้ด้วย ถ้าเปรียบเทียบในความคุ้มในชีวิตแล้ว ผมบอกได้เลยว่าคุ้ม ซึ่งถ้าเรายังอยู่ที่บ้าน ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นยังไง อาจจะเปรียบได้ว่า การได้มาทำงานที่นี่ ถือว่าเป็นความคุ้มค่าในชีวิตอย่างที่บอก ประมาณว่า ค่อนชีวิตที่เราได้มาทำงานตรงนี้ ก็ถือว่าให้อะไรกับเรามากพอสมควรนะ ซึ่งหากเปรียบกับตัวเราแบบถ้ายังไม่เข้ามาทำงานที่ดี ชีวิตเราในตอนนี้ถือว่ามีอนาคตกว่านะ ครอบครัวของเราก็มีความสุข แล้วเราก็สามารถโม้ได้แล้วว่า ครั้งหนึ่งเราก็เป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของที่แห่งนี้ด้วย (ยิ้ม)
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ธัชกร กิจไชยภณ
• อยากให้คุณช่วยเล่าถึงช่วงชีวิตของตัวเอง ก่อนที่จะมาทำงานที่นี่หน่อยครับ
ผมเป็นคนอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งก่อนที่เราจะเข้ามาทำงานที่นี่ ก็มีงานการทำปกติ เป็นชาวไร่ชาวนา ที่บ้าน แต่พอเราแต่งงานมีลูก ซึ่งถ้าอยู่บ้านปกติ เราก็พออยู่ได้ แต่พอมีลูก แล้วมีภาระทางการเงินเรื่องลูกที่จะต้องใช้เงินเป็นรายวันแล้ว เราก็คิดว่าคงหาไม่ทัน ก็เลยต้องดิ้นรนเข้ามากรุงเทพฯ เพราะว่ามีวุฒิแค่ ม.3 เอง ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็ใช้ชีวิตแบบเด็กบ้านนอกปกติทั่วไป พอผ่านการเกณฑ์ทหาร ตอนอายุ 21 ผ่านไปสักพักก็มีแฟนและลูกช่วง 23 แต่ก็อย่างที่บอกละครับว่า เรามีภาระเพิ่มขึ้น เราก็ปรึกษากับแฟนว่า มาหาเงินในกรุงเทพฯ ดีกว่า อีกอย่าง เราก็คิดล่วงหน้าแล้วว่า ลูกเราจะต้องมีเรียนพิเศษเพิ่มด้วย ซึ่งถ้าไม่ทันเขา เราจะอายมั้ยล่ะ เพราะแค่เรียนระดับอนุบาล มันก็มีเรียนพิเศษแล้ว ส่วนปัจจัยอื่น คิดว่าไม่น่ามีนะ เพราะถ้ายังอยู่ในวัยรุ่น ก็คงกินเที่ยว สนุกสนานเฮฮา ปกติ แต่พอมีครอบครัว ก็ทำให้เราต้องหารายได้เพิ่มไง เพราะตอนนั้นเพิ่ง 25-26 ปีเอง
• แล้วโดยส่วนตัวคุณเองก็ชอบดูมหรสพอยู่แล้วมั้ย
ชอบสิ (ตอบทันที) เราจะเปรียบว่า ต่างจังหวัดเมื่อก่อน ถ้าหนังโรงมา เราดีใจมั้ย เพราะว่ามันจะทำให้เราได้ดูก่อนเขา ประมาณว่าหนังเข้าโรงบ้านเราเว้ย ส่วนใหญ่หนังที่เข้าโรงที่บ้าน ก็จะเป็นหนังไทย กับ หนังจีน พวกเฉินหลง หรือ โจวเหวินฟะ โหดเลวดี จะดังมาก คนจะเต็มโรงเลย ประมาณนี้ละครับ โดยส่วนตัวก็ชอบแนวนี้ด้วย ส่วนหนังฝรั่งจะประปราย แต่ยังไม่ชอบเท่าไหร่ ส่วนคอนเสิร์ตเราก็ชอบดูบ้าง แต่ก็ไม่ได้หรูหราอะไร จะเป็นแนวหมอลำมากกว่า จะเป็นพวกพรศักดิ์ ส่องแสง ศิริพร อำไพพงษ์ แต่ก็เป็นแบบว่า นานๆ จะมาสักครั้งเหมือนกันนะ ซึ่งโรงหนังในอำเภอก็ห่างจากบ้านที่เราอยู่ด้วยไง ก็จะมีการรวมตัวเป็นกลุ่มวัยรุ่น ก็ขี่มอเตอร์ไซค์จากบ้านไปตัวอำเภอ หรือไปตัวจังหวัด เพราะว่าห่างแค่ประมาณหลัก 10-20 กิโลฯ เอง แต่ถ้าเป็นหนังโรง ก็จะมีเข้ามาฉายในหมู่บ้านเราอย่างที่บอก แล้วเราก็มากันได้ไง ซึ่งหนังโรงเราก็มาดูวันเสาร์-อาทิตย์ได้ ประมาณนั้น
• คุณถูกชักชวนให้มาทำงานที่นี่ได้ยังไงครับ
ตอนแรกสุด คนที่บ้านซึ่งเขามาทำงานที่นี่ก่อน ก็กลับมาเยี่ยมบ้านตอนช่วงสงกรานต์ แล้วก็เข้ามาอยู่จุดนี้ เขาก็มีการมาชวนเราว่าไปเที่ยวเล่นที่กรุงเทพฯบ้าง แต่เราก็ยังไม่พร้อมไง จนกระทั่งช่วงที่เราเริ่มตัดสินใจในเรื่องงานแล้ว ประกอบกับช่วงนั้นตำแหน่งมันว่างพอดี เราก็เลยมา เพราะอย่างที่บอกด้วย และไม่มีญาติที่กรุงเทพฯ ด้วย เราก็เลยมา เข้างานวันแรก เมื่อวันที่ 13 หรือ 14 เมษายน 2537 ซึ่งความคิดแรกสุด เราก็กะว่าจะไม่ได้อยู่นานหรอก อาจจะอยู่แค่หนึ่งปีหรือสองปี ก็คงกลับ เราคิดอยู่แค่นั้น แต่พอมาทำงานที่นี่จริงๆ ก็อยู่กันเป็นครอบครัว เราก็อยู่ยาวเลย ไม่อยากกลับบ้านแล้ว (หัวเราะ)
• บรรยากาศในช่วงแรกในการทำงานที่นี่เป็นยังไงบ้าง
ถ้าเปรียบเทียบระหว่างที่บ้านเรากับที่นี่ในช่วงนั้น ถือว่า เรามาเจอคนเยอะ เราก็ดีใจ ภูมิใจ แต่ถ้าคนน้อย เราก็ไม่รู้จะอยู่ยังไง คือตั้งแต่ที่เราอยู่มา จนถึงช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้ ถ้านับจากเวลาในปัจจุบัน คนยังดูหนังที่โรงอยู่เลย เต็มโรงทุกรอบ เราทำงานที่นี่จนลืมกลับบ้านเลย ได้เห็นคนหลายแบบหลายสไตล์ มีความสุขจนลืมกลับบ้านเลย ช่วงที่เราเข้าไปทำงานแรกๆ ก็ยังมีแบบเกือบเต็มโรงอยู่ 800-900 ที่ต่อรอบ แต่ถ้าเป็นคอนเสิร์ตหรือเดี่ยวไมโครโฟน นี่คือต้องมีเก้าอี้เสริมหรือนั่งตามบันไดเลย คือเราทำงานสนุกเพลินจนลืมกลับบ้านอย่างที่บอก
• หน้าที่การทำงานหลักๆ นี่คือเป็นยังไงครับ
หน้าที่เราตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงตอนนี้ก็คือ แผนกนามบัตรต้อนรับ ก็คือว่า ใส่สูทนี้ (ชี้ไปที่สูท) แล้วพาเขาไปนั่งตามหมายเลขที่นั่งที่ระบุตั๋วไว้ แล้วคอยแนะนำลูกค้าว่า เกิดอะไรขึ้น ห้องน้ำอยู่ตรงไหน เพราะอย่างลูกค้าบางรายก็ไม่รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน ซึ่งเราก็ทำหน้าที่นี้มาเหมือนเดิม อยุู่หน้าประตู (ชี้ไปที่ทางเข้า) ซึ่งพอเข้าไปแล้วก็จะมีอีกกลุ่มเข้าไป ซึ่งถ้ารอบไหนมีคนเยอะๆ แล้วที่มันซ้ำกันยุ่งเลยนะ คือเราเข้าใจได้ว่าจิตใจแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันนะ ถ้าเขาไม่ได้ที่ เขาก็ไม่ยอมอีกนะ ที่นั่งต้องเป๊ะตลอด
อย่างช่วงที่ผมมาทำงานแรกๆ อย่างหนังบางเรื่องก็จะมีประมาณ 5 รอบต่อวัน พนักงานก็จะมีการแบ่งกันว่า รอบนึงจะทำงานกันยังไง บริการยังไง จะต้องมีพนักงานประจำที่ของตัวเอง ซึ่งถ้ามีปัญหาในโรง ต้องมาแจ้งพนักงาน เพื่อให้มาแจ้ง รปภ. อีกทอดหนึ่ง อย่างแต่ละวันมันมี 5 รอบ ใครอยู่เวรในรอบต่างๆ ก็นั่งไป รับผิดชอบไป ก็จะสลับๆ กันไป อย่างหน้าประตูทางเข้า ก็จะมีคนมาเฝ้าอยู่เหมือนกัน ถ้าจะมาหนีหมดก็ไม่ได้นะ เกิดมีเหตุการณ์อะไรในโรงจะทำยังไงล่ะ มันต้องมีพนักงานมารับเรื่องไว้ ก่อนที่จะติดต่อหัวหน้าว่าจะยังไงดี
• ในฐานะที่เป็นคนทำงานของที่นี่ มีเรื่องไหนที่ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ของที่นี่
ถ้าเอาตามที่เราเคยมีประสบการณ์ร่วม ก็มีเรื่อง Amagedon Titanic Fast & Furios ตั้งแต่ภาคแรกจนภาคล่าสุดเลย แล้วก็ Jurassic Park ตั้งแต่ภาค 2 Avartar ซึ่งเมื่อก่อนหนังที่ว่ามาสามารถอยู่ที่นี่ได้เป็นเดือนเลย ขนาดเราถอดโปรแกรมออกแล้ว ลูกค้ายังถามหาเลยว่า ดูไม่ทัน คือบรรยากาศของคนดูในตอนนั้นที่ขั้นเต็มโรง มันก็ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างที่บอกนะ เพราะเราชอบบรรยากาศของคนที่ดูหนังในโรงนะ อย่างกลุ่มวัยรุ่นที่จับกลุ่มมาดูหนังกัน เขาไม่ได้มากับพ่อแม่นะ มันจะมีอารมณ์ร่วมระหว่างกลุ่มคนที่วัยไล่เลี่ยกัน มันก็ทำให้เราได้ตื่นเต้นไปด้วย ก็คือมีหนังแนววัยรุ่นบ้าง หนังแอกชั่นบ้าง
• ประสบการณ์แปลกๆ ในระหว่างการทำงานล่ะครับ
เราก็เจอประสบการณ์ต่างๆ ในโรงมาพอสมควรนะ แต่มีอยู่ 2 เคสที่จำได้ขึ้นใจเลย เคสแรก คือช่วยน้องนักศึกษาผู้หญิงอายุประมาณ 19-20 คนหนึ่ง เขาเกิดอาการปัสสาวะราดขณะดูหนังในโรง เนื่องจากตื่นเต้นตามหนัง จนเราและเพื่อนๆ ต้องหามกันออกมาจากโรงเลย ซึ่งเท่าที่เราประสบเจอในตอนนั้นคือ น้องเขามีอาการดิ้นแบบใจจะขาดเลย แล้วต้องพยุงเขาออกมาจากในโรงส่งต่อไปที่รถป่อเต็กตึ๊งเลย ซึ่งภายหลังมาทราบว่า เขาเป็นโรคประจำตัวของเขาเอง หลังจากนั้นเราก็ไม่รู้เรื่องแล้ว เพราะมีญาติของเขามารับตัวไป
ส่วนอีกเคสหนึ่ง เป็นผู้หญิงอายุประมาณ 30-40 ปี เกิดอาการวูบแบบล้มทั้งยืนในขณะซื้อตั๋วหนัง ตอนนั้น ผมก็อยู่ตรงหน้าประตู เพราะว่าเราก็ทำงานของเราไปในส่วนที่ตรวจดูผู้ชมต่างๆ เคสนี้ก็เอารถป่อเต็กตึ๊งมารับที่หน้าโรงเหมือนกัน ถามไปถามมา ปรากฎว่าผู้หญิงคนนั้นเพิ่งไปบริจาคเลือดมา แล้วจะมาดูหนัง
• จากที่เคยเป็นคนดูมาก่อน จนมาเป็นคนทำงานเอง ถือว่าเปลี่ยนไปพอควรมั้ยครับ
เปลี่ยนนะ ซึ่งจากแต่ก่อน ถ้าพูดถีงโรงหนัง ใครก็อยากเข้าใช่มั้ย แล้วพอเรามาทำงานในแผนกนี้ ก้ตอบโจทย์เราพอดี ที่เราชอบดูหนังอยู่แล้วด้วยไง บวกกับการให้บริการสำหรับลูกค้าที่มาดู มันก็ทำให้เรามีความสุขไปอีกแบบ เวลาที่ลูกค้าเขามาพูดกับเรา เราก็ได้คุยกับเขา ทั้งเรื่องหนัง เรื่องสารทุกข์สุกดิบ มีทั้งขาประจำตั้งแต่ที่เราเข้ามาทำงานแรกๆ ที่เขาโตมาพร้อมกับเรา จนถึงอายุ 60-70 มีครบทุกอาชีพเลย จนบางคนหายไป เราก็มีถามหานะว่าไปไหน
• บรรยากาศของการดูหนังในแต่ละยุค นับตั้งแต่ที่คุณได้เข้ามาทำงานเป็นยังไงครับ
ถ้าเป็นสมัยก่อน ผมคิดว่าพนักงานทุกแผนกมีความสุขกว่าตอนนี้นะ เพราะเราได้เห็นบรรยากาศของผู้ชมที่มีอารมณ์ร่วมอย่างที่บอก คนที่ดูหนังแบบเต็มโรงเกือบทุกรอบ ซึ่งต่างจากปัจจุบันนะ ที่มีคนมาดูรอบละ 50 คน บรรยากาศก็เงียบเหงา คนละอารมณ์เลย ซึ่งมันไม่ใช่เลย อย่างที่เราดูแบบต่างๆ ขนาดที่เราดูไม่รู้เรื่อง เราก็ยังเฮตามเขาได้ มันก็เป็นความสุขของเราเช่นกัน ซึ่งบรรยากาศก็แตกต่างกันไป แต่เดี๋ยวนี้มันก็อย่างว่า
• พูดถึงการแต่งกายในการทำงานแต่ละวัน โดยส่วนตัวมองตัวเองยังไง
คนที่มาดูก็ชอบเยอะนะ มีคนมาขอถ่ายรูปเยอะเลย แล้วโดยส่วนตัวก็ภูมิใจนะ เพราะสูทนี้ก็นำเข้ามาเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะด้วยนะ ใครแต่งนี่ผิดเลยนะ แต่พอเรามาแต่งเองก็ภูมิใจอย่างที่บอก เราก็ทำงานของเราปกติไปด้วย ไม่ได้เขินหรอก ขนาดผมเดินไปซื้อกับข้าว ผมยังใส่ไปซื้อเลย (หัวเราะ) จะไปอายทำไม เพราะสูทชุดนี้มันมีมาตั้งแต่เริ่มต้นโรงหนังแล้ว แล้วลูกค้าชาวต่างชาติก็มาขอถ่ายรูปกับเราตลอดเลย บางรายก็มาขอซื้อสูทนะ ผมบอกขายไม่ได้มันเป็นของบริษัท
• พอวันหนึ่งที่เป็นกระแสข่าวที่ออกมา ความรู้สึกของคุณเป็นยังไงบ้างครับ
พอได้ยินข่าวแล้ว เรารู้สึกว่ารับไม่ได้ มันเหมือนกับบ้านเราถูกยึด ถามว่าเสียใจมั้ย ก็เสียใจ เพราะว่าเราอยู่ที่นี่มาประมาณ 24 ปี เรามีความรู้สึกผูกพันกับที่นี่ เหมือนกับเป็นบ้านของตัวเองเลย ตื่นเช้าก็มาทำงานที่นี่อยู่ทุกวัน แล้วอยู่ดีๆ มีใครไม่รู้มายึดที่เราไป จะทำยังไง ตอนนี้ก็คือทำใจอยู่ทุกวันนะ เพราะอย่างที่บอก คือไม่ได้พูดเกินจริงนะ ไม่ใช่แค่ผมคนเดียว ทุกคนก็มีความรู้สึกแบบเดียวกัน แต่ชีวิตก็ต้องเดินต่อไป ทำอะไรไม่ได้ เพราะว่าเรามันก็แค่เป็นคนตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ซึ่งโรงหนังเครือนี้มันมีอายุกว่า 50 ปีแล้วนะ ผมเข้ามาทำงานก็น่าจะเป็นรุ่นที่สามได้ แต่พนักงานรุ่นแรกที่บุกเบิกมาด้วยกัน ที่เขาเข้ามาทำงานตั้งแต่อายุ 24-25 เหมือนกับตอนผมที่เข้ามาทำ ทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่เลยนะ ตอนนี้ก็ 60-70 แล้วรุ่นผมก็ยังมีอยู่ไม่ต่างกัน เพราะเครือเรา เมื่อก่อนมีทั่วกรุงเทพฯ เลย เรามาทำงานตอนที่ช่วงเหตุการณ์ลิโด้ไฟไหม้ไง คือเรามาทำงานในช่วงประมาณว่า นักศึกษามาขอหางตั๋วหนังในรอบเพื่อเอาไปอวดเพื่อนเลย ขนาดนั้นเลยคิดดู (หัวเราะ)
• ตอนนี้มีคิดบ้างหรือยังครับว่าหลังจากนี้จะดำเนินชีวิตยังไง
ตอนนี้ก็เริ่มคิดแล้วว่า ชีวิตจะยังไงต่อ เพราะเราก็เพิ่งอายุเท่านี้เอง มันก็คงมีทางไปสักวันแหละ อาจจะกลับบ้านไปทำการค้าขายที่ตลาดในบ้านต่อไป เพราะว่าลูกก็เรียนจบหมดแล้ว เขาก็ใช้ชีวิตของเขาไป แล้วชีวิตเราก็อยู่ไม่นิ่งแล้วล่ะ ก็ต้องเดินต่อไป
• ในฐานะที่คุณเป็นคนฉีกตั๋วของที่นี่ อยากให้ช่วยสรุปช่วงชีวิตในตอนนี้หน่อยครับว่ามันให้อะไรกับตัวเองบ้าง
จากการที่เราได้มาอยู่จุดนี้ เรามีความสุขนะ คือเริ่มต้นมาเลยจนปัจจุบัน เรามีความสุขมาก เรารักในอาชีพนี้ด้วย ถ้าเปรียบเทียบในความคุ้มในชีวิตแล้ว ผมบอกได้เลยว่าคุ้ม ซึ่งถ้าเรายังอยู่ที่บ้าน ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นยังไง อาจจะเปรียบได้ว่า การได้มาทำงานที่นี่ ถือว่าเป็นความคุ้มค่าในชีวิตอย่างที่บอก ประมาณว่า ค่อนชีวิตที่เราได้มาทำงานตรงนี้ ก็ถือว่าให้อะไรกับเรามากพอสมควรนะ ซึ่งหากเปรียบกับตัวเราแบบถ้ายังไม่เข้ามาทำงานที่ดี ชีวิตเราในตอนนี้ถือว่ามีอนาคตกว่านะ ครอบครัวของเราก็มีความสุข แล้วเราก็สามารถโม้ได้แล้วว่า ครั้งหนึ่งเราก็เป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของที่แห่งนี้ด้วย (ยิ้ม)
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ธัชกร กิจไชยภณ