กลายเป็นตัวแทนคุณพ่อ คุณแม่ยุคใหม่ไปแล้วสำหรับแม่ตุ๊ก-นิรัตน์ชญา การุณวงศ์วัฒน์ และคุณพ่อเหว่ง- ภูศณัฎฐ์ การุณวงศ์วัฒน์ เจ้าของเพจ “little monster” เพจที่แชร์เรื่องราวและให้กำลังใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกผสมผสานกับความน่ารักสดใสที่แสนจะลงตัวของครอบครัว ซึ่งการันตีได้จากยอดผู้ติดตามจำนวนหลักล้าน

ย้อนกลับไปเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว “little monster” เกิดจากคุณแม่มือใหม่ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลังจากคลอดบุตร จึงริเริ่มสร้างเพจขึ้นเพื่อจะได้เขียนเรื่องราวต่างๆ โดยสอดแทรกเนื้อหามุมมองของคนเป็นแม่ที่ได้มาจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง รวมไปถึงความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการระบายและบำบัดอาการซึมเศร้าให้หายไป ซึ่งพอทำไปได้สักระยะหนึ่งการแชร์เนื้อหาที่เป็นความจริงปนความฮา บวกกับการเลี้ยงลูกที่ค่อนข้างสบาย ทำให้ลูกมีอารมณ์ดีกลายเป็นเรื่องถูกอกถูกใจใครหลายๆ คน ส่งผลให้มียอดผู้ติดตามเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และ ณ ปัจจุบันเพจ “little monster” มียอดผู้ติดตามเป็นจำนวนเกือบสองล้านคนเข้าไปแล้ว
ล่าสุดครอบครัว “little monster” ยังได้รับรางวัล Best Influencer on Social Media สาขา Kids and Family หรือผู้มีอิทธิพลบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมกลุ่มเด็กและครอบครัว ที่งาน Thailand Zocial Award 2018 อีกด้วย
เอาเป็นว่าเราไปทำความรู้จักครอบครัวนี้กันให้มากขึ้น เชื่อว่าคุณจะได้ทั้งความรู้ต่างๆ ในการเลี้ยงลูกและความน่ารักสดใสของเหล่ามอนสเตอร์ตัวน้อย ที่ทำให้คุณต้องอยากกดเลิฟให้รัวๆ

• เพจ “little monster” ตัวแทนคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่
ก่อนหน้าที่จะทำเพจ ตุ๊กจะเขียนไดอารีอะไรนิดหน่อยไว้บ้างแล้วนะคะ แต่เพจนี้ตุ๊กมาเริ่มทำจริงๆ ก็ตอนที่ “น้องจิน” ลูกคนแรกอายุได้ประมาณ 1 ขวบค่ะ จุดประสงค์ของการทำเพจ หลักๆ เราก็ไม่ได้มีอะไรชัดเจนขนาดนั้น เพราะสิ่งที่ทำให้ตุ๊กมาทำเพจจะเป็นการเริ่มมาจากตัวเองก่อน เนื่องจากเราเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด แล้ววิธีการทำเพจ มันเป็นการระบายและบำบัดเราได้ดี เพราะสมัยที่ยังไม่มีลูก เราทำงานทุกอย่างตรงตามที่จบมา เป็นครูสอนทำอาหารให้เด็ก เป็นฟรีแลนซ์รับงานกราฟิกทั่วไป
จำได้ว่าตอนนั้นนัดเพื่อนเดินเล่นสยามบ่อยมาก วันหยุดแฟนก็พาไปดูหนัง แต่เมื่อท้อง ทุกอย่างหยุดหมด วันๆ ไม่ทำอะไรเลย นอกจากอาเจียน กินข้าวก็อาเจียน มองหน้าสามียิ่งอาเจียนหนัก แต่หลังจากไม่อาเจียนแล้ว ก็มีความสุขมากขึ้นกับการเตรียมตัวที่จะเป็นแม่ อาจมีจิตตกบ้างเวลาเสิร์ชหาข้อมูลแล้วมานอยด์เอง แต่ก็เฝ้ารอที่จะได้เห็นหน้าลูก มั่นใจว่าเลี้ยงลูกไม่ยาก เพราะอาเจียนทุกวัน ยังผ่านมาได้เลย
จนถึงวันที่คลอดลูก "คุณพ่อคุณแม่มองกล้องและยิ้มค่ะ" พยาบาลกดชัตเตอร์พร้อมเปิดแฟลชถ่ายรูปครอบครัวรูปแรก ความรู้สึกตอนนั้นจำได้ไม่มากเพราะเพลียจัด แต่ภาพถ่ายยังชัดในความทรงจำแบบลืมไม่ลง เพราะเราทั้งสด ซีด และบวมมาก ขนาดที่โฟโต้ชอปช่วยไปก็เท่านั้น ปลอบใจตัวเองตลอดว่า เดี๋ยวไปแต่งหน้า แก้ตัวใหม่คนที่สองแล้วกัน ตอนอยู่โรงพยาบาลเราก็มีความสุขดีนะคะ พยาบาลเข็นลูกมาให้นม บางทีก็เดินไปให้นมเอง ยังไม่รู้สึกว่าการเลี้ยงลูกมันยากอะไร จนวันที่พาลูกกลับมาบ้าน คืนแรกล่อซะเช้า คืนที่สองก็ไม่ได้นอนอีก จนมาคืนที่สาม ลูกงอแงมากจนถึงจุดที่เราร้องไห้และบอกแฟนว่า "นี่คือสิ่งที่ตุ๊กจะต้องเจอทุกคืนเหรอ"
เราร้องไห้ ให้นมลูกและหลับไป จนวันรุ่งขึ้น หลังจากแฟนไปทำงาน เราก็ให้นมลูกตามปกติ แต่ความรู้สึกของเราไม่ปกติอีกแล้ว เรามองผนังห้อง ใจก็ได้แต่คิดว่า "รนหาที่ชัดๆ ไอ้ตุ๊ก" งานก็ทำไม่ได้ เพื่อนก็ไม่ได้เจอ จากซึมก็เปลี่ยนเป็นเศร้า และจากเศร้าก็ลามไปจนรู้สึกผิดทุกครั้งที่มองหน้าลูก "แม่มีลูกแล้ว แม่ต้องมีความสุขสิ ร้องไห้ทำไม" อาการมันไม่ปกติจนแฟนพาไปหาหมอ จำได้ว่าวันที่หมอเรียกไปคุย หมอยิ้มและพูดว่า "คุณไม่ได้ผิดปกตินะ แต่คุณมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด"
หลังจากนั้นมา หมอแนะนำให้ทำอะไรที่ชอบ ตอนนั้นก็ไม่รู้หรอกว่าชอบอะไร จำได้แต่ว่านอยด์บ่อย นอยด์ทีก็อยากจะแชร์อะไรที่เรารู้สึกลงเฟซบุ๊ก แต่หาที่ตรงใจไม่เจอ แฟนเลยบอกว่า ถ้าอย่างนั้นก็ทำเองไหม เราก็สะสมงานวาดและงานเขียนมาเรื่อยๆ เมื่อร่างกายและจิตใจดีขึ้น จึงตั้งเพจและเป็นที่มาของเพจ “Little Monster” อย่างที่เห็นค่ะ
อีกอย่าง เรารู้สึกว่าอยากจะทำอะไรที่เป็นมุมมองของคนเป็นแม่ มุมที่อาจจะยังไม่มีใครพูดถึงนัก ซึ่งเนื้อหาตอนแรกก็จะมาจากประสบการณ์ตรงของเราเลยค่ะ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องราวความรู้สึกของคนเป็นแม่ แล้วก็แนวเอนเตอร์เทน คือเราอยากจะบอกว่าการมีลูกไม่ใช่จุดจบของผู้หญิงคนนั้นที่เราเคยรู้จัก ตัวตนของเราก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้ไปไหน วันนั้นเคยทำอะไร วันนี้ก็ยังได้ทำ เพิ่มเติมคือมีลูกใส่เป้ติดตัวไปด้วยเท่านั้นเอง
พอตั้งเพจได้ระยะหนึ่งแล้ว ก็จะมีเรื่องราวจากทางบ้านส่งมาให้บ้าง แต่ถ้าเป็นเรื่องทางการแพทย์ เราก็จะหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาลงเพื่อให้ประโยชน์กับลูกเพจบ้าง คือจริงๆ แล้ว ประโยชน์ ถ้าในด้านความรู้ เราอาจจะไม่ได้มีเยอะขนาดนั้น เพราะเราก็ไม่ได้เป็นหมอ หรือเป็นแพทย์อะไร แต่ว่าในด้านการเลี้ยงลูกที่ค่อนข้างสบายๆ ให้ลูกมีอารมณ์ดี อย่างนี้น่าจะพอเป็นประโยชน์ได้บ้าง ซึ่งเราก็จะมีการ์ตูนสอดแทรกความฮา หรือความเข้าใจคนเป็นแม่ไปด้วย ซึ่งเราก็จะเป็นตัวแทนให้คุณแม่ทั้งหลายรู้ว่าไม่ใช่เขาคนเดียวนะที่เจอเหตุการณ์อะไรแบบนี้ อะไรทำนองนั้นค่ะ
การทำเพจเราจะแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน แต่ก่อนหน้านี้ “พี่เหว่ง” คุณพ่อของเด็กๆ เขาจะเป็นคนวาดรูปโปรไฟล์ให้ แต่ตอนนั้นเขาทำงานของเขาอยู่ เลยไม่ได้เข้ามาช่วยอะไรมาก จะเป็นตุ๊กที่ทำคนเดียวอยู่พักหนึ่งเลยค่ะ หลังจากนั้นก็จะมีน้องสาวเข้ามาช่วย จัดการเพจ ลงโพสต์ คุยงานให้ เพราะมีคนเริ่มติดต่อเราเข้ามาเยอะ แต่ปัจจุบันพี่เหว่งจะเข้ามาช่วยคิด ครีเอทีฟทั้งงานและคอนเทนต์ให้ บวกกับทำงานของเขาเองไปด้วย ส่วนตุ๊กก็ทำหน้าที่เป็นคุณแม่บล็อกเกอร์ แล้วก็ดูลูก เลี้ยงลูกเองด้วย อาจจะมีทำกราฟิกเองบ้าง
ปัจจุบันเพจ little monster เรามีทีมทั้งหมด 10 คนค่ะ รวมน้องๆ ตัดต่อวิดีโอ กราฟิก บัญชี แล้ว ทุกคนมีหน้าที่เฉพาะเลย ซึ่งอนาคตเราก็จะแตกยอดไปทาง Youtube channel ชื่อ Little Monster Family ทางนั้นก็จะเป็นแนว Vlog มีเพลงเด็ก แล้วก็มี Review ค่ะ

• นอกเหนือไปจากเนื้อหาที่เข้าถึงคุณแม่ด้วยกันแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากความน่ารักสดใสของลูกๆ ของคุณด้วยที่ทำให้วันนี้มีคนติดตามเพจเป็นหลักล้าน
พอเราทำไปเรื่อยๆ ก็มีลูกเพจหลากหลายที่เข้ามาชื่นชอบ ชื่นชม อย่างเมื่อก่อนลูกเพจเราจะเป็นแม่ซะส่วนใหญ่ที่จะ inbox มาคุยเรื่องการดูแลลูก ถ้ามีสถานการณ์แบบนี้จะรับมือยังไง อะไรต่างๆ แต่ปัจจุบันก็จะมีวัยรุ่นซึ่งจะเป็นน้องๆ ที่ยังไม่ได้มีลูกแต่เอ็นดูลูกๆ ของเราเข้ามาติดตามด้วย
อีกอย่าง ที่คนเข้ามาติดตามส่วนหนึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องราวการ์ตูนชีวิตของคนเป็นแม่ที่แอบมีความฮาและเรียลอยู่ แต่ปัจจุบันตุ๊กเดาว่าน่าจะเพราะความสมจริงของครอบครัวเรามั้งคะ (หัวเราะ) คือพ่อก็แบบนึง แม่ก็แบบนึง ลูกก็อีกแบบนึง แต่อยู่กันได้อย่างลงตัว (หัวเราะ)
• ตอนนี้เหมือนเราเป็นตัวแทนคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ไปแล้ว ขอย้อนกลับไปตอนที่มีลูกคนแรกหน่อยค่ะ ชีวิตเปลี่ยนไปแค่ไหน
ตุ๊กมีลูกคนแรกตอนอายุได้ประมาณ 30 ปีต้นๆ ค่ะ ตอนนี้เราสองคนก็เป็นคุณพ่อคุณแม่มาได้ 5 ปีกว่า จะ 6 ปีแล้วค่ะ จริงๆ แล้วเราไม่ได้วางแผนว่าเราจะมีลูก ณ ตอนนั้น แต่ว่าพอมีแล้ว สิ่งที่เราวางแผนชัดเจนที่สุดเลยก็คือเรื่องการเงินว่าเราต้องแบ่งสัดส่วนยังไงให้ลูก ให้เขาได้เรียนจนจบ แต่สิ่งที่เราเห็นพ้องต้องกันว่าความพร้อมในที่นี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินเพียงอย่างเดียว แต่หลักๆ เราต้องพร้อมเรื่องเวลาด้วย ตุ๊กรู้สึกว่าถ้าเราไม่พร้อมเรื่องเวลา ลูกก็จะโตมาค่อนข้างลำบาก
แน่นอนว่ามีลูกแล้ว ชีวิตยังไงก็ต้องเปลี่ยนไปอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปในเรื่องการแบ่งเวลา เพราะถ้าเรามีเวลา เราก็จะทุ่มเทให้ลูก ให้งาน จะไม่ค่อยมีเวลาให้ตัวเอง ไม่มีเวลาส่วนตัวสักเท่าไหร่ ซึ่งชีวิตที่มีลูกมันอาจจะเหนื่อยและไม่สะดวกเท่าเมื่อก่อน มีหลายที่ที่ไม่ได้ไปเพราะลูกไปไม่ได้ แต่ก็มีที่ใหม่ๆ ที่ไปพร้อมลูกแล้วมันสนุกกว่าเยอะค่ะ

• แบบนี้จำเป็นไหมที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง
จริงๆ แล้ว ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ทุกครอบครัวเลี้ยงลูกด้วยตัวเองจะดีกว่า แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากค่ะ เพราะว่าทุกครอบครัวก็ต้องทำงาน อย่างตุ๊กก็ต้องทำงาน บางทีตุ๊กก็จะมีฝากลูกไว้กับคุณยาย คุณตาบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่เราก็พยายามที่จะเลี้ยงและดูแลเอง คือการเลี้ยงลูกด้วยตัวเองดีกว่าการจ้างพี่เลี้ยงอยู่แล้ว เพราะเท่าที่ตุ๊กรู้จักนะ ไม่มีพี่เลี้ยงที่ไหนเขารักลูกเราเท่าที่เรารักแน่นอนค่ะ แล้วมันเป็นช่วงที่เด็กโตไวมาก ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะให้ใช้เวลากับลูกให้เยอะที่สุด เพราะเดี๋ยวแป๊บๆ เขาก็ไม่เอาเรา เขาก็โตไปแล้ว
• เปิดตำราเคล็ดลับวิธีการเลี้ยงดูลูกคนแรก
การเลี้ยงลูกของตุ๊กจะไม่ได้มีเคล็ดลับว่าต้องทำอะไรยังไงชัดเจนขนาดนั้นนะคะ แต่ว่าส่วนใหญ่ ด้วยความที่เป็นลูกคนแรก เราก็จะมีความกังวล เครียดเยอะหน่อย ว่าเอ๊ะ เราทำถูกไหม ตอนนั้นที่มีน้องจินใหม่ๆ เราจะเสิร์ชหาข้อมูลเยอะมาก ข้อมูลต้องแน่น ต้องชัวร์ว่ามันถูกต้อง ปลอดภัยกับลูกเราไหม
นอกจากนี้ ตุ๊กก็จะชอบศึกษาวิธีการเลี้ยงลูก ส่วนมากเราจะถามจากคุณหมอก่อน หรือไม่ก็จะอ่านหนังสือคู่มือของคุณหมอ แล้วก็ปรึกษาเพื่อนๆ ที่เขามีลูกมาก่อนเราบ้างค่ะ แต่วิธีการเลี้ยงลูกจริงๆ แล้วก็ไม่พ้นจากพ่อแม่ของเราเองหรอกค่ะ เราโตมาแบบไหน เราก็ค่อนข้างจะสอนลูกไปในแนวทางนั้น เหมือนที่พ่อแม่เขาเคยสอนเรามา ซึ่งด้วยความที่พ่อแม่ตุ๊กค่อนข้างเป็นคนสมัยใหม่ด้วย ก็เลยจะไม่ได้แตกต่างจากกันเท่าไหร่ เช่นเรื่องความชอบ อย่างทางบ้านพ่อแม่ตุ๊ก เขาจะไม่ค่อยให้ลูกเรียนพิเศษ หรือว่าเรียนหนัก แต่เขาจะสังเกตว่าลูกถนัดอะไร แล้วก็ค่อยสนับสนุนไปทางนั้น เราก็จะเป็นประมาณนั้นเหมือนกัน ถ้าลูกมีความชอบอะไร เราก็จะสนับสนุนตรงนั้นเพิ่มขึ้น
ส่วนวิธีการสอนของตุ๊กกับพ่อเขาจะค่อนข้างแตกต่างกันเยอะเลยนะคะ อย่างพี่เหว่งเขาก็จะค่อนข้างสบายๆ เขาไม่ได้หาข้อมูลเยอะเหมือนเรา แต่เราก็จะเป็นคนที่ต้องเป๊ะนิดนึง อันนี้ถูกต้อง อันนี้ดีกับลูกนะ ซึ่งเราสองคนก็จะหาจุดตรงกลางที่มันไปในทางเดียวกัน เราก็จะคุยกันว่าถ้ามันสุดโต่งไป มันก็ไม่ดี สมมติเรามีวิธีการสอนลูกแบบนี้ เขามีแบบนี้ เราก็จะมาคุยกันว่าต้องทำยังไงให้มันไปในทางเดียวกันมากกว่าค่ะ

• อย่างหลายคนที่ติดตามเพจ little monster อาจจะเคยเห็นว่าน้องจินลูกสาวของคุณตุ๊กคุณเหว่งเก่งภาษาอังกฤษมากๆ เลย ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนก็คงติดตามมาเพราะสิ่งนี้ด้วยเหมือนกัน
เรื่องภาษาอังกฤษ จริงๆ แล้วน้องจินเขาก็พูดได้ แต่ว่าเรื่องแกรมม่าเขาก็จะยังไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ ตามวัยของเขา แต่ตุ๊กจะเริ่มสอนภาษาอังกฤษเขาตอนที่เขาอายุได้ประมาณ 1 ขวบ 7 เดือนแล้วนะคะ ตุ๊กจะเริ่มพูดไปเรื่อยๆ สังเกตว่าสิ่งไหนที่เขาสนใจ เราก็จะพูดไปในสิ่งที่เขาสนใจ แล้วพอ 2 ขวบไปแล้ว เราก็เริ่มเปิดยูทิวบ์ เปิดการ์ตูนให้เขาดูบ้าง ให้เขาได้ฟังสำเนียงที่ถูกต้อง แต่ว่าเราก็จะจำกัดเวลาในการดู ไม่ได้ให้เขาดูเยอะมากขนาดนั้น แต่จะอาศัยพูดกับเขาบ่อยๆ ทั้งจากสิ่งรอบตัวทั่วไป ในชีวิตประจำวัน ซึ่งตุ๊กคิดว่าถ้ายิ่งสอนให้เขาพูดเร็วตั้งแต่เล็กๆ มันจะง่ายขึ้น ง่ายกว่าที่เรามาพูดกับเขาตอนโตแล้ว
เทคนิคง่ายๆ คือพูดบ่อยๆ พูดในสิ่งที่เขาสนใจ แต่พูดภาษาอังกฤษแบบร้อยเปอร์เซ็นต์มันก็จะเครียดไปหน่อย ก็อาจจะมีภาษาไทยบ้าง ภาษาอังกฤษบ้าง แต่ควรจะเป็นอังกฤษเยอะกว่าไทย ต้องใช้ความสม่ำเสมอค่ะ เพราะจริงๆ ความยากในการสอนให้ลูกพูดภาษาอังกฤษได้ น่าจะมาจากความสม่ำเสมอของพ่อแม่มากกว่าค่ะ
อย่างลูกตุ๊ก ณ ปัจจุบันเขาเรียนโรงเรียนอินเตอร์ด้วย ตุ๊กรู้สึกว่าลูกไม่ต้องปรับตัวเยอะในการที่ต้องย้ายจากโรงเรียนเดิมที่เขาเคยเรียน ไปเรียนที่สาธิตคริสเตียนที่เป็นโรงเรียนอินเตอร์ เพราะว่าเขาก็คุ้นชินกับภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนวัยเข้าเรียนแล้ว ซึ่งตุ๊กมองว่าการที่เขาพูดภาษาอังกฤษได้ เพราะตุ๊กพูดภาษาอังกฤษกับลูกด้วย จุดประสงค์คือเพื่อให้เขาคุ้นชินกับภาษา แล้วก็พูดสื่อสารได้รู้เรื่องระดับหนึ่ง พอลูกมีโอกาสได้เข้าอินเตอร์ ตุ๊กว่ามันจะช่วยเป็นแรงกระตุ้นให้เขา มีส่วนเสริมให้เขาพูดภาษาอังกฤษได้ก้าวกระโดดมากขึ้นด้วย

• นอกจากเรื่องภาษาแล้ว ทักษะด้านอื่นเราเสริมอะไรให้ลูกอีกบ้างไหมคะ
ด้านวาดรูปค่ะ จินเขาจะชอบวาดรูป เราก็จะมีพวกอุปกรณ์ให้เขาพร้อม ด้วยความที่เราถนัดด้านนั้นด้วยเหมือนกัน เราก็จะฝึกลูกลากเส้น เช่น เครื่องบินวาดประมาณนี้นะ ต้นไม้วาดประมาณนี้นะ บางทีเขาก็วาดจากจินตนาการของเขาเองด้วย แต่ว่าเราก็เสริมเรื่องอุปกรณ์ สี กระดาษให้เขาพร้อม เมื่อเขาอยากวาด
• แล้วด้านอารมณ์และจิตใจต่างๆ มีวิธีการสอนไหม
ส่วนด้านอารมณ์และจิตใจ ด้วยความที่เราก็ต้องดูด้วยว่าลูกเราอยู่ในวัยไหน การที่เวลาเขาหงุดหงิดหรือว่าโกรธ การที่เราบอกเขาว่าเขากำลังโกรธหรือหงุดหงิด ก็จะเป็นการช่วยให้ลูกรับรู้ว่า ณ ขณะนั้นเขารู้สึกอย่างนี้ แล้วอารมณ์แบบนี้มันเรียกว่าโกรธหรือหงุดหงิดนะ ตรงนี้ก็ช่วยให้เขาจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้บ้างค่ะ

• มีวิธีการผิดๆ แบบไหนที่เคยเห็นมา ที่ไม่ควรนำมาใช้กับการเลี้ยงลูกโดยเด็ดขาดบ้างหรือเปล่า
ที่เคยเห็นว่ามันผิดเหรอคะ จริงๆ แล้วตุ๊กว่าก็อย่างบางทีปล่อยให้ลูกดูมือถือ หรือยูทิวบ์นานๆ ตุ๊กว่าน่าจะไม่ค่อยดีกับเด็กเท่าไหร่ จริงๆ ที่เราพูดได้เพราะเราก็เคยมีช่วงนั้นเหมือนกัน เราอยากจะทำงาน แล้วก็ปล่อยลูกให้ดูการ์ตูน ตุ๊กว่ามันก็ไม่ดีกับตัวเด็ก เพราะว่าอย่างจินเนี่ยช่วงนั้นเขาก็จะไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น สมาธิก็ไม่ค่อยมี ใจร้อน เราก็เลยพยายามไม่ให้ลูกดูเยอะ
โชคดีที่ลูกๆ ของตุ๊กไม่ค่อยดื้อมาก แต่ก็ไม่ได้ว่าง่ายขนาดนั้น เราเคยตีลูกนะคะ แต่ตีไปแล้วรู้สึกว่าเขาก็ยังทำอยู่ จนเรามาค้นพบว่าวิธีสอนที่ช่วยให้ลูกฟังเรา ไม่ต่อต้านที่ดีที่สุดก็คือ เราต้องชมเขา ชมเขาเวลาเขาทำดี ตุ๊กว่าอย่างที่คุณแม่ๆ น่าจะรู้เรื่องวิธีการเลี้ยงลูกเชิงบวก แทนที่เราจะไปตีไปว่าเขาตรงๆ เพราะมันไม่ได้ช่วยให้ลูกเข้าใจมากขึ้น ซึ่งการที่เราจะสอนเขา เราก็ต้องถามเขา รับฟังเขา ใช้วิธีที่ไม่รุนแรง พูดให้เขาเข้าใจด้วยเหตุผล น่าจะช่วยได้มากกว่า
• อย่างตอนนี้เป็นคุณพ่อคุณแม่ลูกสองแล้วด้วย วิธีการเลี้ยงต่างกับลูกคนแรกไหมคะ
เลี้ยงเหมือนกันเลยค่ะ จะแตกต่างกันนิดหนึ่ง อย่างคนที่สองเราจะไม่ซีเรียสเครียดเหมือนคนแรก จะไม่เป๊ะขนาดนั้นแล้ว แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันจนแบบดูออก ว่าโอ้โหคนโตเลี้ยงอย่างนี้ คนเล็กเลี้ยงอย่างนี้ เราจะเลี้ยงคล้ายๆ กันค่ะ แต่ทั้งคู่ต่างกันเยอะนะคะ อย่างคนพี่เขาก็จะอารมณ์ศิลปิน อาจจะร้องไห้ง่าย คนเล็กก็จะออกไปทางตรงไปตรงมา แข็งๆ นิดหนึ่ง ต้องการอะไรหรืออยากได้อะไร เขาจะค่อนข้างชัดเจน แล้วก็ร้องไห้ยากกว่าคนโตอยู่ค่ะ
ดังนั้น เราเลยต้องปรับในเรื่องความรู้สึกมากกว่าว่าเวลาเราทำอะไรให้เรนนี่ลูกสาวคนเล็ก เราก็จะห่วงความรู้สึกของจินลูกสาวคนโตด้วยว่าเขาจะรู้สึกไหมว่าเขาไม่ได้เป็นลูกคนเดียวอีกแล้วนะ เราก็จะห่วงความรู้สึกของจินเยอะขึ้น

• ถ้ามีคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่มาขอเคล็ดลับและวิธีการเลี้ยงลูกอยากจะแนะนำเขาอย่างไรบ้าง
เคล็ดลับจริงๆ แล้วมันขึ้นอยู่กับตัวแต่ละครอบครัวเลยค่ะ คือมันไม่มีสูตรตายตัว หรือเคล็ดลับตายตัวว่า ตุ๊กเลี้ยงลูกมาแบบนี้ ต้องทำตามเคล็ดลับตุ๊กหรือพี่เหว่งนะ เพราะว่ามันอาจจะไม่เหมาะกับครอบครัวของคุณพ่อคุณแม่บางท่านก็ได้ ให้มองวิถีของแต่ละครอบครัวดีกว่า หรือแนวทางของแต่ละครอบครัวดีกว่า ว่าอันนี้เหมาะสมแล้วกับครอบครัวเรา ไม่ได้เป็นการฝืนใจลูก หรือฝืนใจเราจนเกินไป แล้วเลี้ยงลูกแบบนี้โอเคดี มีความสุข ไม่เดือดร้อนใคร ให้เขาโตมามีความสุข เลี้ยงตัวเองได้ ทำในสิ่งที่ดีที่ควร ตุ๊กว่าน่าจะเพียงพอแล้วค่ะ
• ท้ายนี้ส่วนตัวคิดเห็นอย่างไรกับคำว่าพื้นฐานครอบครัวนั้นสำคัญ อยากให้เด็กโตมาเป็นคนดีของสังคม พื้นฐานครอบครัวต้องดีก่อน
ตุ๊กเห็นด้วยกับคำนี้นะคะ คือถ้าเด็กคนหนึ่งมีพื้นฐานครอบครัวที่ดีและแข็งแรง โตไปเขาก็จะเป็นเด็กที่มีความมั่นคงทางด้านจิตใจ มากกว่าเด็กที่มีพื้นฐานทางด้านครอบครัวที่อาจจะแตกแยก แต่ว่าเรื่องหนึ่งที่ต้องยอมรับด้วยเช่นกันก็คือในกรณีที่บางครอบครัวเด็กอาจจะโตมาจากครอบครัวที่แตกแยกก็มีเปอร์เซ็นต์ที่เขาจะโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้เหมือนกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตุ๊กมองว่าถ้าพื้นฐานครอบครัวดีมันจะช่วยให้เด็กแข็งแรงทั้งด้านร่างกาย และจิตใจมากขึ้น เพราะเมื่อฐานเรามั่นคง ลูกเราก็จะโตไปอย่างมั่นคงได้
อย่างตุ๊กเองก็คาดหวังอยากให้ลูกๆ เขาคิดดี ทำดี แล้วก็มีความสุขในสิ่งที่ตัวเองทำ ที่ตัวเองรัก โตไปก็อยากให้เขามีความแข็งแรงทางด้านจิตใจ เจออุปสรรคอะไร ถ้าข้างในเขาแข็งแรง เวลาเขาเจออะไรมา เขาก็จะผ่านมันไปได้ ถึงแม้วันนั้นเราจะไม่ได้อยู่บนโลกนี้แล้วก็ตาม

6 เทคนิคเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้ลูก
ตามแบบฉบับเพจ little monster
1. เล่นเกม I Spy ช่วยให้เขารู้จักสังเกตและตอบเป็นภาษาอังกฤษ
I Spy เป็นเกมทายสิ่งต่างๆ รอบตัวที่ช่วยให้ลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้สนุกขึ้น เช่น เวลาเรานั่งอยู่ในรถกับลูก เราสามารถเล่นเกมได้โดยถามลูกว่า “I Spy with my little eye something is green outside” ซึ่งลูกอาจจะตอบว่า “It’s a tree” หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เขาสังเกตเห็นข้างนอกรถก็ได้ เกมนี้จะช่วยให้ลูกรู้จักสังเกตและสนุกกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอีกด้วยค่ะ
2. ให้เขาได้มีโอกาสเล่าเรื่องต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ
เช่น วันนี้ที่โรงเรียนเขากินข้าวกับอะไร เขาทำอะไรบ้าง เพื่อนที่เขาเล่นด้วยชื่ออะไร โดยเริ่มตั้งคำถามเป็นภาษาอังกฤษกับลูกก่อน และถ้าลูกไม่รู้ว่าจะเรียกสิ่งนั้นเป็นภาษาอังกฤษว่าอะไร เราก็สามารถเสริมลูกได้
3. ถ้าไม่เข้าใจ ให้อธิบายเป็นภาษาไทยได้บ้าง
ถ้าลูกยังไม่เข้าใจเวลาเราอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ เราสามารถอธิบายเป็นภาษาไทยได้บ้าง เพื่อให้ลูกไม่เครียดมากไป และให้ลูกไม่รู้สึกว่าการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่อึดอัดและยากจนไม่อยากพูด
4. อ่านนิทานภาษาอังกฤษ
การอ่านนิทานภาษาอังกฤษ นอกจากจะช่วยให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ แล้วนั้น การที่นิทานมีรูปประกอบ จะช่วยให้เข้าใจในภาษาอังกฤษและเนื้อหาในนิทานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเรายังสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมกับลูกได้ไม่ยาก
5. กำหนดเวลาดูการ์ตูนชัดเจน และเลือกการ์ตูนที่เหมาะสม
การให้ลูกได้ดูการ์ตูนจากเจ้าของภาษาเลย จะช่วยในเรื่องของการออกเสียงและสำเนียงที่ถูกต้อง แต่เราควรกำหนดเวลาการดูการ์ตูนอย่างชัดเจนเพื่อสุขภาพตาที่ดีของลูกและเพื่อไม่ให้ลูกจดจ่อกับหน้าจอนานเกินไป
6. ชื่นชมทุกครั้งที่เขาพูดได้ และให้กำลังใจในความพยายามของเขา
การฝึกให้ลูกพูดภาษาที่สองให้ได้นั้นไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นภายในวันหรือสองวัน แต่เป็นสิ่งที่ใช้ความพยายามและความสม่ำเสมอในการพูด ทั้งตัวเราและตัวลูกเราเป็นอย่างมาก เราจึงควรชื่นชมและให้กำลังใจเขาทุกครั้งที่เขาพูดและเข้าใจในสิ่งที่เราพูดได้ เพื่อเป็นแรงใจให้เขาพูดภาษาอังกฤษต่อไป
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : facebook : little monster
ย้อนกลับไปเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว “little monster” เกิดจากคุณแม่มือใหม่ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลังจากคลอดบุตร จึงริเริ่มสร้างเพจขึ้นเพื่อจะได้เขียนเรื่องราวต่างๆ โดยสอดแทรกเนื้อหามุมมองของคนเป็นแม่ที่ได้มาจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง รวมไปถึงความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการระบายและบำบัดอาการซึมเศร้าให้หายไป ซึ่งพอทำไปได้สักระยะหนึ่งการแชร์เนื้อหาที่เป็นความจริงปนความฮา บวกกับการเลี้ยงลูกที่ค่อนข้างสบาย ทำให้ลูกมีอารมณ์ดีกลายเป็นเรื่องถูกอกถูกใจใครหลายๆ คน ส่งผลให้มียอดผู้ติดตามเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และ ณ ปัจจุบันเพจ “little monster” มียอดผู้ติดตามเป็นจำนวนเกือบสองล้านคนเข้าไปแล้ว
ล่าสุดครอบครัว “little monster” ยังได้รับรางวัล Best Influencer on Social Media สาขา Kids and Family หรือผู้มีอิทธิพลบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมกลุ่มเด็กและครอบครัว ที่งาน Thailand Zocial Award 2018 อีกด้วย
เอาเป็นว่าเราไปทำความรู้จักครอบครัวนี้กันให้มากขึ้น เชื่อว่าคุณจะได้ทั้งความรู้ต่างๆ ในการเลี้ยงลูกและความน่ารักสดใสของเหล่ามอนสเตอร์ตัวน้อย ที่ทำให้คุณต้องอยากกดเลิฟให้รัวๆ
• เพจ “little monster” ตัวแทนคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่
ก่อนหน้าที่จะทำเพจ ตุ๊กจะเขียนไดอารีอะไรนิดหน่อยไว้บ้างแล้วนะคะ แต่เพจนี้ตุ๊กมาเริ่มทำจริงๆ ก็ตอนที่ “น้องจิน” ลูกคนแรกอายุได้ประมาณ 1 ขวบค่ะ จุดประสงค์ของการทำเพจ หลักๆ เราก็ไม่ได้มีอะไรชัดเจนขนาดนั้น เพราะสิ่งที่ทำให้ตุ๊กมาทำเพจจะเป็นการเริ่มมาจากตัวเองก่อน เนื่องจากเราเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด แล้ววิธีการทำเพจ มันเป็นการระบายและบำบัดเราได้ดี เพราะสมัยที่ยังไม่มีลูก เราทำงานทุกอย่างตรงตามที่จบมา เป็นครูสอนทำอาหารให้เด็ก เป็นฟรีแลนซ์รับงานกราฟิกทั่วไป
จำได้ว่าตอนนั้นนัดเพื่อนเดินเล่นสยามบ่อยมาก วันหยุดแฟนก็พาไปดูหนัง แต่เมื่อท้อง ทุกอย่างหยุดหมด วันๆ ไม่ทำอะไรเลย นอกจากอาเจียน กินข้าวก็อาเจียน มองหน้าสามียิ่งอาเจียนหนัก แต่หลังจากไม่อาเจียนแล้ว ก็มีความสุขมากขึ้นกับการเตรียมตัวที่จะเป็นแม่ อาจมีจิตตกบ้างเวลาเสิร์ชหาข้อมูลแล้วมานอยด์เอง แต่ก็เฝ้ารอที่จะได้เห็นหน้าลูก มั่นใจว่าเลี้ยงลูกไม่ยาก เพราะอาเจียนทุกวัน ยังผ่านมาได้เลย
จนถึงวันที่คลอดลูก "คุณพ่อคุณแม่มองกล้องและยิ้มค่ะ" พยาบาลกดชัตเตอร์พร้อมเปิดแฟลชถ่ายรูปครอบครัวรูปแรก ความรู้สึกตอนนั้นจำได้ไม่มากเพราะเพลียจัด แต่ภาพถ่ายยังชัดในความทรงจำแบบลืมไม่ลง เพราะเราทั้งสด ซีด และบวมมาก ขนาดที่โฟโต้ชอปช่วยไปก็เท่านั้น ปลอบใจตัวเองตลอดว่า เดี๋ยวไปแต่งหน้า แก้ตัวใหม่คนที่สองแล้วกัน ตอนอยู่โรงพยาบาลเราก็มีความสุขดีนะคะ พยาบาลเข็นลูกมาให้นม บางทีก็เดินไปให้นมเอง ยังไม่รู้สึกว่าการเลี้ยงลูกมันยากอะไร จนวันที่พาลูกกลับมาบ้าน คืนแรกล่อซะเช้า คืนที่สองก็ไม่ได้นอนอีก จนมาคืนที่สาม ลูกงอแงมากจนถึงจุดที่เราร้องไห้และบอกแฟนว่า "นี่คือสิ่งที่ตุ๊กจะต้องเจอทุกคืนเหรอ"
เราร้องไห้ ให้นมลูกและหลับไป จนวันรุ่งขึ้น หลังจากแฟนไปทำงาน เราก็ให้นมลูกตามปกติ แต่ความรู้สึกของเราไม่ปกติอีกแล้ว เรามองผนังห้อง ใจก็ได้แต่คิดว่า "รนหาที่ชัดๆ ไอ้ตุ๊ก" งานก็ทำไม่ได้ เพื่อนก็ไม่ได้เจอ จากซึมก็เปลี่ยนเป็นเศร้า และจากเศร้าก็ลามไปจนรู้สึกผิดทุกครั้งที่มองหน้าลูก "แม่มีลูกแล้ว แม่ต้องมีความสุขสิ ร้องไห้ทำไม" อาการมันไม่ปกติจนแฟนพาไปหาหมอ จำได้ว่าวันที่หมอเรียกไปคุย หมอยิ้มและพูดว่า "คุณไม่ได้ผิดปกตินะ แต่คุณมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด"
หลังจากนั้นมา หมอแนะนำให้ทำอะไรที่ชอบ ตอนนั้นก็ไม่รู้หรอกว่าชอบอะไร จำได้แต่ว่านอยด์บ่อย นอยด์ทีก็อยากจะแชร์อะไรที่เรารู้สึกลงเฟซบุ๊ก แต่หาที่ตรงใจไม่เจอ แฟนเลยบอกว่า ถ้าอย่างนั้นก็ทำเองไหม เราก็สะสมงานวาดและงานเขียนมาเรื่อยๆ เมื่อร่างกายและจิตใจดีขึ้น จึงตั้งเพจและเป็นที่มาของเพจ “Little Monster” อย่างที่เห็นค่ะ
อีกอย่าง เรารู้สึกว่าอยากจะทำอะไรที่เป็นมุมมองของคนเป็นแม่ มุมที่อาจจะยังไม่มีใครพูดถึงนัก ซึ่งเนื้อหาตอนแรกก็จะมาจากประสบการณ์ตรงของเราเลยค่ะ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องราวความรู้สึกของคนเป็นแม่ แล้วก็แนวเอนเตอร์เทน คือเราอยากจะบอกว่าการมีลูกไม่ใช่จุดจบของผู้หญิงคนนั้นที่เราเคยรู้จัก ตัวตนของเราก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้ไปไหน วันนั้นเคยทำอะไร วันนี้ก็ยังได้ทำ เพิ่มเติมคือมีลูกใส่เป้ติดตัวไปด้วยเท่านั้นเอง
พอตั้งเพจได้ระยะหนึ่งแล้ว ก็จะมีเรื่องราวจากทางบ้านส่งมาให้บ้าง แต่ถ้าเป็นเรื่องทางการแพทย์ เราก็จะหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาลงเพื่อให้ประโยชน์กับลูกเพจบ้าง คือจริงๆ แล้ว ประโยชน์ ถ้าในด้านความรู้ เราอาจจะไม่ได้มีเยอะขนาดนั้น เพราะเราก็ไม่ได้เป็นหมอ หรือเป็นแพทย์อะไร แต่ว่าในด้านการเลี้ยงลูกที่ค่อนข้างสบายๆ ให้ลูกมีอารมณ์ดี อย่างนี้น่าจะพอเป็นประโยชน์ได้บ้าง ซึ่งเราก็จะมีการ์ตูนสอดแทรกความฮา หรือความเข้าใจคนเป็นแม่ไปด้วย ซึ่งเราก็จะเป็นตัวแทนให้คุณแม่ทั้งหลายรู้ว่าไม่ใช่เขาคนเดียวนะที่เจอเหตุการณ์อะไรแบบนี้ อะไรทำนองนั้นค่ะ
การทำเพจเราจะแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน แต่ก่อนหน้านี้ “พี่เหว่ง” คุณพ่อของเด็กๆ เขาจะเป็นคนวาดรูปโปรไฟล์ให้ แต่ตอนนั้นเขาทำงานของเขาอยู่ เลยไม่ได้เข้ามาช่วยอะไรมาก จะเป็นตุ๊กที่ทำคนเดียวอยู่พักหนึ่งเลยค่ะ หลังจากนั้นก็จะมีน้องสาวเข้ามาช่วย จัดการเพจ ลงโพสต์ คุยงานให้ เพราะมีคนเริ่มติดต่อเราเข้ามาเยอะ แต่ปัจจุบันพี่เหว่งจะเข้ามาช่วยคิด ครีเอทีฟทั้งงานและคอนเทนต์ให้ บวกกับทำงานของเขาเองไปด้วย ส่วนตุ๊กก็ทำหน้าที่เป็นคุณแม่บล็อกเกอร์ แล้วก็ดูลูก เลี้ยงลูกเองด้วย อาจจะมีทำกราฟิกเองบ้าง
ปัจจุบันเพจ little monster เรามีทีมทั้งหมด 10 คนค่ะ รวมน้องๆ ตัดต่อวิดีโอ กราฟิก บัญชี แล้ว ทุกคนมีหน้าที่เฉพาะเลย ซึ่งอนาคตเราก็จะแตกยอดไปทาง Youtube channel ชื่อ Little Monster Family ทางนั้นก็จะเป็นแนว Vlog มีเพลงเด็ก แล้วก็มี Review ค่ะ
• นอกเหนือไปจากเนื้อหาที่เข้าถึงคุณแม่ด้วยกันแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากความน่ารักสดใสของลูกๆ ของคุณด้วยที่ทำให้วันนี้มีคนติดตามเพจเป็นหลักล้าน
พอเราทำไปเรื่อยๆ ก็มีลูกเพจหลากหลายที่เข้ามาชื่นชอบ ชื่นชม อย่างเมื่อก่อนลูกเพจเราจะเป็นแม่ซะส่วนใหญ่ที่จะ inbox มาคุยเรื่องการดูแลลูก ถ้ามีสถานการณ์แบบนี้จะรับมือยังไง อะไรต่างๆ แต่ปัจจุบันก็จะมีวัยรุ่นซึ่งจะเป็นน้องๆ ที่ยังไม่ได้มีลูกแต่เอ็นดูลูกๆ ของเราเข้ามาติดตามด้วย
อีกอย่าง ที่คนเข้ามาติดตามส่วนหนึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องราวการ์ตูนชีวิตของคนเป็นแม่ที่แอบมีความฮาและเรียลอยู่ แต่ปัจจุบันตุ๊กเดาว่าน่าจะเพราะความสมจริงของครอบครัวเรามั้งคะ (หัวเราะ) คือพ่อก็แบบนึง แม่ก็แบบนึง ลูกก็อีกแบบนึง แต่อยู่กันได้อย่างลงตัว (หัวเราะ)
• ตอนนี้เหมือนเราเป็นตัวแทนคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ไปแล้ว ขอย้อนกลับไปตอนที่มีลูกคนแรกหน่อยค่ะ ชีวิตเปลี่ยนไปแค่ไหน
ตุ๊กมีลูกคนแรกตอนอายุได้ประมาณ 30 ปีต้นๆ ค่ะ ตอนนี้เราสองคนก็เป็นคุณพ่อคุณแม่มาได้ 5 ปีกว่า จะ 6 ปีแล้วค่ะ จริงๆ แล้วเราไม่ได้วางแผนว่าเราจะมีลูก ณ ตอนนั้น แต่ว่าพอมีแล้ว สิ่งที่เราวางแผนชัดเจนที่สุดเลยก็คือเรื่องการเงินว่าเราต้องแบ่งสัดส่วนยังไงให้ลูก ให้เขาได้เรียนจนจบ แต่สิ่งที่เราเห็นพ้องต้องกันว่าความพร้อมในที่นี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินเพียงอย่างเดียว แต่หลักๆ เราต้องพร้อมเรื่องเวลาด้วย ตุ๊กรู้สึกว่าถ้าเราไม่พร้อมเรื่องเวลา ลูกก็จะโตมาค่อนข้างลำบาก
แน่นอนว่ามีลูกแล้ว ชีวิตยังไงก็ต้องเปลี่ยนไปอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปในเรื่องการแบ่งเวลา เพราะถ้าเรามีเวลา เราก็จะทุ่มเทให้ลูก ให้งาน จะไม่ค่อยมีเวลาให้ตัวเอง ไม่มีเวลาส่วนตัวสักเท่าไหร่ ซึ่งชีวิตที่มีลูกมันอาจจะเหนื่อยและไม่สะดวกเท่าเมื่อก่อน มีหลายที่ที่ไม่ได้ไปเพราะลูกไปไม่ได้ แต่ก็มีที่ใหม่ๆ ที่ไปพร้อมลูกแล้วมันสนุกกว่าเยอะค่ะ
• แบบนี้จำเป็นไหมที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง
จริงๆ แล้ว ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ทุกครอบครัวเลี้ยงลูกด้วยตัวเองจะดีกว่า แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากค่ะ เพราะว่าทุกครอบครัวก็ต้องทำงาน อย่างตุ๊กก็ต้องทำงาน บางทีตุ๊กก็จะมีฝากลูกไว้กับคุณยาย คุณตาบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่เราก็พยายามที่จะเลี้ยงและดูแลเอง คือการเลี้ยงลูกด้วยตัวเองดีกว่าการจ้างพี่เลี้ยงอยู่แล้ว เพราะเท่าที่ตุ๊กรู้จักนะ ไม่มีพี่เลี้ยงที่ไหนเขารักลูกเราเท่าที่เรารักแน่นอนค่ะ แล้วมันเป็นช่วงที่เด็กโตไวมาก ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะให้ใช้เวลากับลูกให้เยอะที่สุด เพราะเดี๋ยวแป๊บๆ เขาก็ไม่เอาเรา เขาก็โตไปแล้ว
• เปิดตำราเคล็ดลับวิธีการเลี้ยงดูลูกคนแรก
การเลี้ยงลูกของตุ๊กจะไม่ได้มีเคล็ดลับว่าต้องทำอะไรยังไงชัดเจนขนาดนั้นนะคะ แต่ว่าส่วนใหญ่ ด้วยความที่เป็นลูกคนแรก เราก็จะมีความกังวล เครียดเยอะหน่อย ว่าเอ๊ะ เราทำถูกไหม ตอนนั้นที่มีน้องจินใหม่ๆ เราจะเสิร์ชหาข้อมูลเยอะมาก ข้อมูลต้องแน่น ต้องชัวร์ว่ามันถูกต้อง ปลอดภัยกับลูกเราไหม
นอกจากนี้ ตุ๊กก็จะชอบศึกษาวิธีการเลี้ยงลูก ส่วนมากเราจะถามจากคุณหมอก่อน หรือไม่ก็จะอ่านหนังสือคู่มือของคุณหมอ แล้วก็ปรึกษาเพื่อนๆ ที่เขามีลูกมาก่อนเราบ้างค่ะ แต่วิธีการเลี้ยงลูกจริงๆ แล้วก็ไม่พ้นจากพ่อแม่ของเราเองหรอกค่ะ เราโตมาแบบไหน เราก็ค่อนข้างจะสอนลูกไปในแนวทางนั้น เหมือนที่พ่อแม่เขาเคยสอนเรามา ซึ่งด้วยความที่พ่อแม่ตุ๊กค่อนข้างเป็นคนสมัยใหม่ด้วย ก็เลยจะไม่ได้แตกต่างจากกันเท่าไหร่ เช่นเรื่องความชอบ อย่างทางบ้านพ่อแม่ตุ๊ก เขาจะไม่ค่อยให้ลูกเรียนพิเศษ หรือว่าเรียนหนัก แต่เขาจะสังเกตว่าลูกถนัดอะไร แล้วก็ค่อยสนับสนุนไปทางนั้น เราก็จะเป็นประมาณนั้นเหมือนกัน ถ้าลูกมีความชอบอะไร เราก็จะสนับสนุนตรงนั้นเพิ่มขึ้น
ส่วนวิธีการสอนของตุ๊กกับพ่อเขาจะค่อนข้างแตกต่างกันเยอะเลยนะคะ อย่างพี่เหว่งเขาก็จะค่อนข้างสบายๆ เขาไม่ได้หาข้อมูลเยอะเหมือนเรา แต่เราก็จะเป็นคนที่ต้องเป๊ะนิดนึง อันนี้ถูกต้อง อันนี้ดีกับลูกนะ ซึ่งเราสองคนก็จะหาจุดตรงกลางที่มันไปในทางเดียวกัน เราก็จะคุยกันว่าถ้ามันสุดโต่งไป มันก็ไม่ดี สมมติเรามีวิธีการสอนลูกแบบนี้ เขามีแบบนี้ เราก็จะมาคุยกันว่าต้องทำยังไงให้มันไปในทางเดียวกันมากกว่าค่ะ
• อย่างหลายคนที่ติดตามเพจ little monster อาจจะเคยเห็นว่าน้องจินลูกสาวของคุณตุ๊กคุณเหว่งเก่งภาษาอังกฤษมากๆ เลย ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนก็คงติดตามมาเพราะสิ่งนี้ด้วยเหมือนกัน
เรื่องภาษาอังกฤษ จริงๆ แล้วน้องจินเขาก็พูดได้ แต่ว่าเรื่องแกรมม่าเขาก็จะยังไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ ตามวัยของเขา แต่ตุ๊กจะเริ่มสอนภาษาอังกฤษเขาตอนที่เขาอายุได้ประมาณ 1 ขวบ 7 เดือนแล้วนะคะ ตุ๊กจะเริ่มพูดไปเรื่อยๆ สังเกตว่าสิ่งไหนที่เขาสนใจ เราก็จะพูดไปในสิ่งที่เขาสนใจ แล้วพอ 2 ขวบไปแล้ว เราก็เริ่มเปิดยูทิวบ์ เปิดการ์ตูนให้เขาดูบ้าง ให้เขาได้ฟังสำเนียงที่ถูกต้อง แต่ว่าเราก็จะจำกัดเวลาในการดู ไม่ได้ให้เขาดูเยอะมากขนาดนั้น แต่จะอาศัยพูดกับเขาบ่อยๆ ทั้งจากสิ่งรอบตัวทั่วไป ในชีวิตประจำวัน ซึ่งตุ๊กคิดว่าถ้ายิ่งสอนให้เขาพูดเร็วตั้งแต่เล็กๆ มันจะง่ายขึ้น ง่ายกว่าที่เรามาพูดกับเขาตอนโตแล้ว
เทคนิคง่ายๆ คือพูดบ่อยๆ พูดในสิ่งที่เขาสนใจ แต่พูดภาษาอังกฤษแบบร้อยเปอร์เซ็นต์มันก็จะเครียดไปหน่อย ก็อาจจะมีภาษาไทยบ้าง ภาษาอังกฤษบ้าง แต่ควรจะเป็นอังกฤษเยอะกว่าไทย ต้องใช้ความสม่ำเสมอค่ะ เพราะจริงๆ ความยากในการสอนให้ลูกพูดภาษาอังกฤษได้ น่าจะมาจากความสม่ำเสมอของพ่อแม่มากกว่าค่ะ
อย่างลูกตุ๊ก ณ ปัจจุบันเขาเรียนโรงเรียนอินเตอร์ด้วย ตุ๊กรู้สึกว่าลูกไม่ต้องปรับตัวเยอะในการที่ต้องย้ายจากโรงเรียนเดิมที่เขาเคยเรียน ไปเรียนที่สาธิตคริสเตียนที่เป็นโรงเรียนอินเตอร์ เพราะว่าเขาก็คุ้นชินกับภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนวัยเข้าเรียนแล้ว ซึ่งตุ๊กมองว่าการที่เขาพูดภาษาอังกฤษได้ เพราะตุ๊กพูดภาษาอังกฤษกับลูกด้วย จุดประสงค์คือเพื่อให้เขาคุ้นชินกับภาษา แล้วก็พูดสื่อสารได้รู้เรื่องระดับหนึ่ง พอลูกมีโอกาสได้เข้าอินเตอร์ ตุ๊กว่ามันจะช่วยเป็นแรงกระตุ้นให้เขา มีส่วนเสริมให้เขาพูดภาษาอังกฤษได้ก้าวกระโดดมากขึ้นด้วย
• นอกจากเรื่องภาษาแล้ว ทักษะด้านอื่นเราเสริมอะไรให้ลูกอีกบ้างไหมคะ
ด้านวาดรูปค่ะ จินเขาจะชอบวาดรูป เราก็จะมีพวกอุปกรณ์ให้เขาพร้อม ด้วยความที่เราถนัดด้านนั้นด้วยเหมือนกัน เราก็จะฝึกลูกลากเส้น เช่น เครื่องบินวาดประมาณนี้นะ ต้นไม้วาดประมาณนี้นะ บางทีเขาก็วาดจากจินตนาการของเขาเองด้วย แต่ว่าเราก็เสริมเรื่องอุปกรณ์ สี กระดาษให้เขาพร้อม เมื่อเขาอยากวาด
• แล้วด้านอารมณ์และจิตใจต่างๆ มีวิธีการสอนไหม
ส่วนด้านอารมณ์และจิตใจ ด้วยความที่เราก็ต้องดูด้วยว่าลูกเราอยู่ในวัยไหน การที่เวลาเขาหงุดหงิดหรือว่าโกรธ การที่เราบอกเขาว่าเขากำลังโกรธหรือหงุดหงิด ก็จะเป็นการช่วยให้ลูกรับรู้ว่า ณ ขณะนั้นเขารู้สึกอย่างนี้ แล้วอารมณ์แบบนี้มันเรียกว่าโกรธหรือหงุดหงิดนะ ตรงนี้ก็ช่วยให้เขาจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้บ้างค่ะ
• มีวิธีการผิดๆ แบบไหนที่เคยเห็นมา ที่ไม่ควรนำมาใช้กับการเลี้ยงลูกโดยเด็ดขาดบ้างหรือเปล่า
ที่เคยเห็นว่ามันผิดเหรอคะ จริงๆ แล้วตุ๊กว่าก็อย่างบางทีปล่อยให้ลูกดูมือถือ หรือยูทิวบ์นานๆ ตุ๊กว่าน่าจะไม่ค่อยดีกับเด็กเท่าไหร่ จริงๆ ที่เราพูดได้เพราะเราก็เคยมีช่วงนั้นเหมือนกัน เราอยากจะทำงาน แล้วก็ปล่อยลูกให้ดูการ์ตูน ตุ๊กว่ามันก็ไม่ดีกับตัวเด็ก เพราะว่าอย่างจินเนี่ยช่วงนั้นเขาก็จะไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น สมาธิก็ไม่ค่อยมี ใจร้อน เราก็เลยพยายามไม่ให้ลูกดูเยอะ
โชคดีที่ลูกๆ ของตุ๊กไม่ค่อยดื้อมาก แต่ก็ไม่ได้ว่าง่ายขนาดนั้น เราเคยตีลูกนะคะ แต่ตีไปแล้วรู้สึกว่าเขาก็ยังทำอยู่ จนเรามาค้นพบว่าวิธีสอนที่ช่วยให้ลูกฟังเรา ไม่ต่อต้านที่ดีที่สุดก็คือ เราต้องชมเขา ชมเขาเวลาเขาทำดี ตุ๊กว่าอย่างที่คุณแม่ๆ น่าจะรู้เรื่องวิธีการเลี้ยงลูกเชิงบวก แทนที่เราจะไปตีไปว่าเขาตรงๆ เพราะมันไม่ได้ช่วยให้ลูกเข้าใจมากขึ้น ซึ่งการที่เราจะสอนเขา เราก็ต้องถามเขา รับฟังเขา ใช้วิธีที่ไม่รุนแรง พูดให้เขาเข้าใจด้วยเหตุผล น่าจะช่วยได้มากกว่า
• อย่างตอนนี้เป็นคุณพ่อคุณแม่ลูกสองแล้วด้วย วิธีการเลี้ยงต่างกับลูกคนแรกไหมคะ
เลี้ยงเหมือนกันเลยค่ะ จะแตกต่างกันนิดหนึ่ง อย่างคนที่สองเราจะไม่ซีเรียสเครียดเหมือนคนแรก จะไม่เป๊ะขนาดนั้นแล้ว แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันจนแบบดูออก ว่าโอ้โหคนโตเลี้ยงอย่างนี้ คนเล็กเลี้ยงอย่างนี้ เราจะเลี้ยงคล้ายๆ กันค่ะ แต่ทั้งคู่ต่างกันเยอะนะคะ อย่างคนพี่เขาก็จะอารมณ์ศิลปิน อาจจะร้องไห้ง่าย คนเล็กก็จะออกไปทางตรงไปตรงมา แข็งๆ นิดหนึ่ง ต้องการอะไรหรืออยากได้อะไร เขาจะค่อนข้างชัดเจน แล้วก็ร้องไห้ยากกว่าคนโตอยู่ค่ะ
ดังนั้น เราเลยต้องปรับในเรื่องความรู้สึกมากกว่าว่าเวลาเราทำอะไรให้เรนนี่ลูกสาวคนเล็ก เราก็จะห่วงความรู้สึกของจินลูกสาวคนโตด้วยว่าเขาจะรู้สึกไหมว่าเขาไม่ได้เป็นลูกคนเดียวอีกแล้วนะ เราก็จะห่วงความรู้สึกของจินเยอะขึ้น
• ถ้ามีคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่มาขอเคล็ดลับและวิธีการเลี้ยงลูกอยากจะแนะนำเขาอย่างไรบ้าง
เคล็ดลับจริงๆ แล้วมันขึ้นอยู่กับตัวแต่ละครอบครัวเลยค่ะ คือมันไม่มีสูตรตายตัว หรือเคล็ดลับตายตัวว่า ตุ๊กเลี้ยงลูกมาแบบนี้ ต้องทำตามเคล็ดลับตุ๊กหรือพี่เหว่งนะ เพราะว่ามันอาจจะไม่เหมาะกับครอบครัวของคุณพ่อคุณแม่บางท่านก็ได้ ให้มองวิถีของแต่ละครอบครัวดีกว่า หรือแนวทางของแต่ละครอบครัวดีกว่า ว่าอันนี้เหมาะสมแล้วกับครอบครัวเรา ไม่ได้เป็นการฝืนใจลูก หรือฝืนใจเราจนเกินไป แล้วเลี้ยงลูกแบบนี้โอเคดี มีความสุข ไม่เดือดร้อนใคร ให้เขาโตมามีความสุข เลี้ยงตัวเองได้ ทำในสิ่งที่ดีที่ควร ตุ๊กว่าน่าจะเพียงพอแล้วค่ะ
• ท้ายนี้ส่วนตัวคิดเห็นอย่างไรกับคำว่าพื้นฐานครอบครัวนั้นสำคัญ อยากให้เด็กโตมาเป็นคนดีของสังคม พื้นฐานครอบครัวต้องดีก่อน
ตุ๊กเห็นด้วยกับคำนี้นะคะ คือถ้าเด็กคนหนึ่งมีพื้นฐานครอบครัวที่ดีและแข็งแรง โตไปเขาก็จะเป็นเด็กที่มีความมั่นคงทางด้านจิตใจ มากกว่าเด็กที่มีพื้นฐานทางด้านครอบครัวที่อาจจะแตกแยก แต่ว่าเรื่องหนึ่งที่ต้องยอมรับด้วยเช่นกันก็คือในกรณีที่บางครอบครัวเด็กอาจจะโตมาจากครอบครัวที่แตกแยกก็มีเปอร์เซ็นต์ที่เขาจะโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้เหมือนกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตุ๊กมองว่าถ้าพื้นฐานครอบครัวดีมันจะช่วยให้เด็กแข็งแรงทั้งด้านร่างกาย และจิตใจมากขึ้น เพราะเมื่อฐานเรามั่นคง ลูกเราก็จะโตไปอย่างมั่นคงได้
อย่างตุ๊กเองก็คาดหวังอยากให้ลูกๆ เขาคิดดี ทำดี แล้วก็มีความสุขในสิ่งที่ตัวเองทำ ที่ตัวเองรัก โตไปก็อยากให้เขามีความแข็งแรงทางด้านจิตใจ เจออุปสรรคอะไร ถ้าข้างในเขาแข็งแรง เวลาเขาเจออะไรมา เขาก็จะผ่านมันไปได้ ถึงแม้วันนั้นเราจะไม่ได้อยู่บนโลกนี้แล้วก็ตาม
6 เทคนิคเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้ลูก
ตามแบบฉบับเพจ little monster
1. เล่นเกม I Spy ช่วยให้เขารู้จักสังเกตและตอบเป็นภาษาอังกฤษ
I Spy เป็นเกมทายสิ่งต่างๆ รอบตัวที่ช่วยให้ลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้สนุกขึ้น เช่น เวลาเรานั่งอยู่ในรถกับลูก เราสามารถเล่นเกมได้โดยถามลูกว่า “I Spy with my little eye something is green outside” ซึ่งลูกอาจจะตอบว่า “It’s a tree” หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เขาสังเกตเห็นข้างนอกรถก็ได้ เกมนี้จะช่วยให้ลูกรู้จักสังเกตและสนุกกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอีกด้วยค่ะ
2. ให้เขาได้มีโอกาสเล่าเรื่องต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ
เช่น วันนี้ที่โรงเรียนเขากินข้าวกับอะไร เขาทำอะไรบ้าง เพื่อนที่เขาเล่นด้วยชื่ออะไร โดยเริ่มตั้งคำถามเป็นภาษาอังกฤษกับลูกก่อน และถ้าลูกไม่รู้ว่าจะเรียกสิ่งนั้นเป็นภาษาอังกฤษว่าอะไร เราก็สามารถเสริมลูกได้
3. ถ้าไม่เข้าใจ ให้อธิบายเป็นภาษาไทยได้บ้าง
ถ้าลูกยังไม่เข้าใจเวลาเราอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ เราสามารถอธิบายเป็นภาษาไทยได้บ้าง เพื่อให้ลูกไม่เครียดมากไป และให้ลูกไม่รู้สึกว่าการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่อึดอัดและยากจนไม่อยากพูด
4. อ่านนิทานภาษาอังกฤษ
การอ่านนิทานภาษาอังกฤษ นอกจากจะช่วยให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ แล้วนั้น การที่นิทานมีรูปประกอบ จะช่วยให้เข้าใจในภาษาอังกฤษและเนื้อหาในนิทานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเรายังสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมกับลูกได้ไม่ยาก
5. กำหนดเวลาดูการ์ตูนชัดเจน และเลือกการ์ตูนที่เหมาะสม
การให้ลูกได้ดูการ์ตูนจากเจ้าของภาษาเลย จะช่วยในเรื่องของการออกเสียงและสำเนียงที่ถูกต้อง แต่เราควรกำหนดเวลาการดูการ์ตูนอย่างชัดเจนเพื่อสุขภาพตาที่ดีของลูกและเพื่อไม่ให้ลูกจดจ่อกับหน้าจอนานเกินไป
6. ชื่นชมทุกครั้งที่เขาพูดได้ และให้กำลังใจในความพยายามของเขา
การฝึกให้ลูกพูดภาษาที่สองให้ได้นั้นไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นภายในวันหรือสองวัน แต่เป็นสิ่งที่ใช้ความพยายามและความสม่ำเสมอในการพูด ทั้งตัวเราและตัวลูกเราเป็นอย่างมาก เราจึงควรชื่นชมและให้กำลังใจเขาทุกครั้งที่เขาพูดและเข้าใจในสิ่งที่เราพูดได้ เพื่อเป็นแรงใจให้เขาพูดภาษาอังกฤษต่อไป
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : facebook : little monster