คลิกที่นี่เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.หวย 30 ล้านงวดเข้ามาทุกขณะ “ผบ.ตร.” เตรียมแถลงใครเจ้าของ 28 ก.พ.นี้ ด้าน “ผบก.-รอง ผกก.เมืองกาญจน์” ถูกเด้งเข้ากรุ!
ความคืบหน้ากรณีหวย 30 ล้าน ที่ ร.ต.ท.จรูญ วิมูล อดีตข้าราชการตำรวจเกษียณ และนายปรีชา ใคร่ครวญ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทพมงคลรังษี จ.กาญจนบุรี ต่างอ้างความเป็นเจ้าของล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 งวดประจำวันที่ 1 พ.ย.2560 เงินรางวัล 30 ล้านบาท ซึ่งตอนแรกตำรวจภูธรภาค 7 สรุปว่าเจ้าของล็อตเตอรี่ดังกล่าวคือ ครูปรีชา แต่ต่อมา พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งให้ตำรวจภาค 7 โอนคดีดังกล่าวมาให้ตำรวจกองปราบฯ ดูแลแทน ก่อนพบหลักฐานเด็ดเป็นคลิปเสียงการสนทนาระหว่างนางรัตนาพร สุภาทิพย์ หรือเจ๊บ้าบิ่น แม่ค้าขายล็อตเตอรี่กับครูปรีชา 2 คลิป ซึ่งครูปรีชายืนยันชัดเจนว่า ตนไม่ถูกรางวัลที่ 1 พร้อมระบุเลขที่ตนซื้อ ซึ่งไม่ตรงกับรางวัลที่ 1 แต่อย่างใด
ปรากฏว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ยังคงมีเรื่องคลิปเสียงการสนทนาระหว่างเจ๊บ้าบิ่นกับครูปรีชาออกมาอีก นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า 1 ในคลิปเสียงสนทนา ครูปรีชาบอกให้เจ๊บ้าบิ่นติดตามหาสลากฯ ที่ถูกรางวัลมาให้ได้ เพราะเป็นสลากฯ ที่ตนได้มาจากเจ๊บ้าบิ่น และหากไปหาสลากฯ ดังกล่าวมาได้ จะแบ่งกันคนละ 15 ล้านบาท หลังจากนั้นเจ๊บ้าบิ่นจึงเริ่มค้นหาข้อมูลของผู้ถูกรางวัลที่ 1 งวดดังกล่าว กระทั่งทราบว่า หมวดจรูญ ถูกรางวัลที่ 1 และขึ้นรางวัลไปแล้ว จึงพากันไปแจ้งความกับตำรวจ สภ.เมืองกาญจนบุรี กระทั่งตำรวจอายัดเงินดังกล่าวไว้
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ตำรวจสืบสวนพบว่า ครูปรีชาถือสลากที่ลงท้ายด้วยเลข 726 ตามคลิปเสียงที่ครูปรีชายืนยันก่อนหน้านี้ แต่เลขสามตัวหน้าไม่ใช่เลขที่ถูกรางวัลที่ 1 และสำคัญ เลขสามตัวหน้าของครูปรีชา ยังไม่ตรงกับเลขหน้าของสลากฯ ทั้ง 3 ชุดตามภาพถ่ายที่นางพัชริดา พรมตา หรือเจ๊พัช ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 30 ต.ค.2560 ด้วย
ด้านครูปรีชา ยังคงยืนยันว่า ไม่กังวลใจใดๆ หากผลคดีออกมาว่าตนเป็นคนผิด ก็ไม่คิดจะหลบหนี
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 ก.พ. พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ยืนยันว่า ยังไม่มีการสรุปว่า ใครเป็นเจ้าของลอตเตอรี่มูลค่า 30 ล้านบาท จนกว่าผลการสืบสวนสอบสวนจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเก็บรายละเอียด เพื่อให้ได้สำนวนที่รัดกุมและรอบด้าน “จากนั้นจะยื่นต่อศาลเพื่อพิจารณาเห็นชอบในการออกหมายจับต่อไป คาดว่าจะรู้ผลในวันที่ 28 ก.พ.นี้ อยากให้ทุกฝ่ายใจเย็นๆ อย่าเร่งรัดการทำงานของชุดคลี่คลายคดี เพราะการทำงานจะต้องโปร่งใส ไร้ข้อกังขา”
วันต่อมา 21 ก.พ. พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) เผยว่า ได้รับรายงานจากจากชุดทำงานของกองปราบฯ และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางแล้วว่า มีความคืบหน้ามากกว่า 90% ให้รอฟังแถลงสรุปวันที่ 28 ก.พ.นี้ จะได้ทราบว่าหวยเป็นของใคร พล.ต.อ.จักรทิพย์ ยอมรับด้วยว่า ทราบแล้วว่าใครเป็นเจ้าของหวย 30 ล้าน แต่จะพูดในวันที่ 28 ก.พ.นี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีรายงานข่าวว่า หวยเป็นของหมวดจรูญ ตรงกับที่ ผบ.ตร.ทราบหรือไม่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ กล่าวว่า “ก็เป็นย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะเขาเป็นคนไปขึ้นเงิน ได้เงินมา เขาถือเป็นคนสุดท้าย ส่วนรายละเอียดเดี๋ยวไปว่ากัน แต่จะตรงกับบทสรุปการคลี่คลายเรื่องนี้ของชุดทำงานกองปราบปรามหรือไม่ ผมไม่ทราบ บอกไม่ได้ คำตอบที่ผมทราบอยู่บนพื้นฐานของการเป็นไปตามพยานหลักฐาน ...คดีนี้แน่ชัดว่า ค่อนข้างทำเป็นขบวนการ แต่รอรายละเอียดในวันที่ 28 ก.พ.ว่ามีใครเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง”
ทั้งนี้ วันเดียวกัน พล.ต.อ.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ จเรตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้ พล.ต.ต.สุทธิ พวงพิกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.กาญจนบุรี มาปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขาดจากต้นสังกัด และให้ไปรายงานตัวต่อ พล.ต.ท.สุรพล พินิจชอบ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในวันที่ 22 ก.พ. จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
โดยมีรายงานว่า สาเหตุที่สั่งย้าย พล.ต.ต.สุทธิ ครั้งนี้ เนื่องจากได้สอบสวนตำรวจที่เกี่ยวข้อง เช่น ร.ต.อ.จิรยุทธ์ ชัชรินทร์กุล รอง สว.(สอบสวน) สภ.เมืองกาญจนบุรี ที่เป็นผู้รับแจ้งความคดีหวย 30 ล้าน ทำให้ทราบว่า พล.ต.ต.สุทธิมีการใช้อำนาจในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าพนักงานสอบสวนใน จ.กาญจนบุรี สั่งการให้พนักงานสอบสวนผู้ใต้บังคับบัญชาสอบสวนโดยไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม และมีอคติเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นหากให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมต่อไป อาจใช้อำนาจหน้าที่เข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และส่งผลให้พยานบุคคลเกิดความหวาดกลัว
วันต่อมา 22 ก.พ. ผู้สื่อข่าวได้ไปสัมภาษณ์ครูปรีชาว่า คดีนี้ต้องมีคนหนึ่งคนใดติดคุก ครูปรีชา ยืนยันว่า “ไม่วิตกกังวล เพราะไม่ใช่ผมแน่ ขอให้ดูกันต่อไป หนังมีหลายตอน ต้องดูจากพยานหลักฐาน ผมมีหลักฐานเด็ด แต่ไม่นำมาเปิดเผยผ่านสื่อ เพราะเป็นเรื่องของคดี”
ครูปรีชา ยังยืนยันด้วยว่า ตนซื้อหวยจริง และหายจริง และฝ่ายตนไม่ได้ทำกันเป็นขบวนการ และว่า การพูดคุยระหว่างตนและ ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี รวมทั้งคู่กรณี ไม่ได้มีคำพูดที่ว่าวินวินหรือแบ่งกันคนละครึ่ง 15 ล้านบาทแต่อย่างใด
เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจากผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.กาญจนบุรี จะถูกเด้งออกจากพื้นที่แล้ว กองทะเบียนพลยังมีหนังสืออนุมัติให้ พ.ต.ท.ชูวิทย์ เจริญนาค รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.เมืองกาญจนบุรี และ ร.ต.อ.จิรยุทธ์ ชัชรินทร์กุล รอง สว.(สอบสวน) สภ.เมืองกาญจนบุรี ร้อยเวรเจ้าของคดีหวย 30 ล้าน มาปฏิบัติราชการที่กองปราบฯ โดยขาดจากตำแหน่งเดิม พร้อมให้เหตุผลว่า เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้การกองปราบฯ มอบหมาย มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. 61 เป็นต้นไป
2.สนช.โหวตคว่ำ 7 ว่าที่ กกต.ใหม่ อ้างไม่เชี่ยวชาญด้านเลือกตั้ง-หวั่นศาลฎีกาสรรหาไม่ถูกต้อง!
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือไม่ หลังคณะกรรมาธิการสามัญตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็น กกต.แล้ว โดยผู้ได้รับการเสนอชื่อมี 7 คน ประกอบด้วย ตัวแทนที่มาจากคณะกรรมการสรรหา 5 คน ได้แก่ นายประชา เตรัตน์ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายเรืองวิทย์ เกษสุวรรณ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), นายอิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, นางชมพรรณ์ พงษ์เจริญ สุธีรชาติ หัวหน้าสำนักงานกฎหมายสุธีรชาติ และตัวแทนจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 คน ได้แก่ นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, นายปกรณ์ มหรรณพ ผู้พิพากษาศาลฎีกา
ทั้งนี้ ที่ประชุม สนช.ได้สั่งให้ประชุมลับเพื่อพิจารณารายงานการตรวจสอบประวัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน ก่อนลงมติลับด้วยการเข้าคูหากาบัตรลงคะแนน ผลปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน โดยไม่เห็นชอบนายฐากร ตัณฑสิทธิ ด้วยคะแนน 156 ต่อ 27 งดออกเสียง 17, ไม่เห็นชอบนายเรืองวิทย์ ด้วยคะแนน 175 ต่อ 10 งดออกเสียง 14, ไม่เห็นชอบนางชมพรรณ์ พงษ์เจริญ สุธีรชาติ ด้วยคะแนน 168 ต่อ 16 งดออกเสียง 16, ไม่เห็นชอบนายอิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ ด้วยคะแนน 149 ต่อ 30 งดออกเสียง 21, ไม่เห็นชอบนายประชา เตรัตน์ ด้วยคะแนน 125 ต่อ 57 งดออกเสียง 86, ไม่เห็นชอบนายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี ด้วยคะแนน 128 ต่อ 46 งดออกเสียง 26 และไม่เห็นชอบนายปกรณ์ มหรรณพ ด้วยคะแนน 130 ต่อ 41 งดออกเสียง 29
สำหรับขั้นตอนต่อไป สนช.จะรายงานผลประชุมให้คณะกรรมการสรรหาและที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาทราบ เพื่อสรรหาบุคคลมาให้ สนช.ลงมติให้ความเห็นชอบใหม่อีกครั้ง โดยทั้ง 7 คนดังกล่าวจะไม่สามารถกลับมาสมัครใหม่ได้ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พ.ศ. 2560
มีรายงานว่า ในการประชุมลับได้มีการรายงานผลการตรวจสอบประวัติในเชิงลึกของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คนอย่างละเอียด พบว่า ทุกคนมีเรื่องถูกร้องเรียนหมด และแม้ว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อทุกคนจะมีคุณสมบัติครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ แต่ สนช.เห็นว่า งานของ กกต.ตามรัฐธรรมนูญใหม่ มีภารกิจสำคัญเรื่องการเลือกตั้ง จึงอยากได้บุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการทำงาน โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่งสมาชิก สนช.ส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นในฝีมือของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของสาธารณชน และยังไม่เคยแสดงฝีมือการทำงานให้เป็นที่ประจักษ์ นอกจากนี้ในส่วนของผู้ได้รับการเสนอชื่อจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 คน อาจมีปัญหาเรื่องที่มาการสรรหาว่าได้ดำเนินการอย่างถูกต้องหรือไม่ แม้ สนช.จะได้รับหนังสือยืนยันจากศาลฎีกาว่า กระบวนการสรรหาดำเนินการอย่างถูกต้องแล้ว แต่ สนช.เกรงว่า จะมีผู้ไปยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยในภายหลัง อาจจะเกิดความวุ่นวายตามมา ซึ่งหากปล่อยผ่านคนที่มีปัญหา อาจทำให้ผู้สมัครคนอื่นถูกตั้งคำถามด้วยเช่นกันถึงคุณสมบัติ ดังนั้นจึงลงมติไม่เห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน
ด้าน นพ.เจตน์ ศิรธารานนท์ สนช. ยืนยันว่า แม้จะไม่ได้ 7 คนนี้เป็น กกต. ก็ไม่มีผลต่อโรดแมปการเลือกตั้ง เพราะ กกต.ชุดเก่ายังทำหน้าที่ต่อไป สามารถจัดการเลือกตั้ง หรือทำกฎหมายได้ โดย กกต.ชุดเก่าก็จะทำหน้าที่ไปจนกว่าจะมี กกต.ชุดใหม่
3.ศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก 78 “นักรบศรีวิชัย” การ์ดพันธมิตรฯ 6-8 เดือน คดีบุกเอ็นบีที ส่วน 6 จำเลยที่เป็นเยาวชน รอลงอาญา 2 ปี!
เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายธเนศร์ คำชุม กับพวกรวม 85 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักรบศรีวิชัย การ์ดของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เป็นจำเลย ในความผิดฐานสมคบกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ฯลฯ กรณีบุกรุกสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ในการชุมนุมขับไล่รัฐบาลเมื่อปี 2551
คดีนี้ โจทก์ฟ้องสรุปว่า ระหว่างวันที่ 22 - 26 ส.ค. 2551 จำเลย 85 คน ได้ร่วมกันประชุมวางแผนนัดแนะระดมพลจากสะพานมัฆวานรังสรรค์และสถานที่อื่น ตกลงกันเพื่อกระทำความผิดฐานร่วมกันบุกรุกอาคารสำนักงานสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จำเลยทั้งหมดพกพาอาวุธปืน เครื่องกระสุน มีดดาบ มีดพก ร่วมกันไปทำลายทรัพย์สินและบุกรุกสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที โดยไม่ได้รับอนุญาต และร่วมกันทำลายทรัพย์สินกว่า 15 รายการ รวมความเสียหายกว่า 6 แสนบาท โดยเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้หยุดการกระทำ จำเลยทั้งหมดก็ไม่หยุด อีกทั้งจำเลยยังร่วมข่มขืนใจ น.ส.ตวงพร อัศววิไล และนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และพนักงานคนอื่นๆ ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้จัดรายการออกอากาศ และขับไล่ให้ออกจากสำนักงาน โดยจำเลยให้การปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี ซึ่งระหว่างพิจารณาคดีปรากฏว่า นายมานิต อรรถรัฐ จำเลยที่ 42 หลบหนีคดี ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราวจนกว่าจะได้ตัวมา คงเหลือจำเลยที่ต้องมาฟังคำพิพากษารวม 84 ราย
อย่างไรก็ตาม มีจำเลยเดินทางมาฟังคำพิพากษาทั้งสิ้น 79 คน ไม่ได้เดินทางมา 5 คน ประกอบด้วย นายจีรวัฒน์ คงหนู จำเลยที่ 31, นายประเสริฐ ด้วงทิพย์ จำเลยที่ 37, นายวีระศักดิ์ บรรจงช่วย จำเลยที่ 59, นายวันชัย รักษายศ จำเลยที่ 78 และนายวิธวัช สืบกระพันธ์ จำเลยที่ 84 แม้จำเลยบางรายจะขอเลื่อน โดยมีใบรับรองแพทย์ว่าป่วย แต่ศาลมองว่า จำเลยทั้งห้ามีพฤติการณ์หลบเลี่ยงที่จะไม่มาศาล ศาลจึงให้อ่านคำพิพากษาของจำเลยทั้งหมดทันที พร้อมออกหมายจับจำเลยทั้งห้าเพื่อมาฟังคำพิพากษาต่อไป
ทั้งนี้ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุ กลุ่ม พันธมิตรฯ ชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช โดยแกนนำปราศรัยว่า จะไปปิดล้อมสถานที่ราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบทราบว่าจะมีการยึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีในวันที่ 26 ส.ค. 2551 จึงนำกำลังไปดูแลรักษาความปลอดภัย ต่อมาในเวลา 04.30 น. พวกจำเลยใส่ชุดดำไปรวมตัวกันและบุกรุกเข้าไปภายในอาคารสถานีเวลา 05.00 น. พร้อมพกพาอาวุธไม้แหลม กระจายกำลังไปตามชั้นต่างๆ ตำรวจจึงเข้าจับกุมได้พร้อมอาวุธ และต่อมาเวลา 8.00 น. ก็มีผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ กว่า 1 หมื่นคน บุกรุกเข้าไปบริเวณสถานี แล้วออกจากสถานีในเวลา 18.00 น.
ด้านอัยการโจทก์ได้ยื่นฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาซ่องโจรด้วย เนื่องจากจำเลยมีการรวมตัวกันเปิดเผย แบ่งหน้าที่กันทำ มีการแต่งกายชุดดำและถืออาวุธ เป็นการรวมตัวกันโดยสมัครใจบุกเข้าไปในสถานี พร้อมกระจายกำลังไปค้นหาเจ้าหน้าที่ของสถานีให้ยุติการปฏิบัติงาน เป็นการวางแผนเตรียมไว้ แต่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นาย เบิกความเกี่ยวกับเหตุการณ์ แต่พยานก็ไม่ทราบว่าจำเลยได้ประชุมปรึกษาหารือวางแผนร่วมกันที่ไหนอย่างไร อาจเป็นการทำตามคำสั่งแกนนำ จำเลยทั้ง 85 รายบุกรุกโดยไม่มีผู้นำ แม้จะมีการแสดงออกเปิดเผยแต่งกายลักษณะเดียวกัน อาจเกิดจากการแนะนำกันโดยไม่ได้ร่วมปรึกษาหารือ เป็นการปฏิบัติตามคำสั่ง ทำโดยสถานการณ์บีบบังคับ พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบไม่มีน้ำหนักพอว่าจำเลยกระทำผิดฐานซ่องโจร ฎีกาโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่จำเลยบางส่วนยื่นฎีกาขอให้รอการลงโทษหรือลงโทษสถานเบา โดยระบุว่า ไม่มีเจตนาก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ข่มขืนใจประทุษร้าย และหลังจากเข้าไปในสถานีแล้ว เจ้าหน้าที่ของสถานียังสามารถทำงานได้ตามปกติ ส่วนจำเลยที่ 1 ระบุว่าพกปืนติดตัวไปเฉยๆ ไม่ได้ใช้ในการก่อเหตุ ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 219 จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้จำคุกนายธเนศร์ คำชุม จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 8 เดือน, นายเมธี อู่ทอง จำเลยที่ 24 จำคุก 8 เดือน, นายนัสเซอร์ ยีหมะ อดีตหัวหน้าการ์ดเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) จำเลยที่ 14 กับจำเลยที่ 2-13, 15-23, 25-29, 31-41, 43- 46, 48 - 80, 82 รวม 76 ราย จำคุกคนละ 6 เดือน พร้อมกันนี้ศาลยังให้รวมโทษปรับนายชนินทร์ อินทร์พรหม จำเลยที่ 2, นายจรัส วีระพันธ์ จำเลยที่ 39 กับนายธนพล แก้วเชิด จำเลยที่ 80 ในความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอีกคนละ 500 บาท ส่วนนายอัมรินทร์ ยี่เฮง จำเลยที่ 48 ให้บวกโทษคดีนี้กับคดีอื่นอีก 3 เดือน จึงจำคุกรวม 9 เดือน และนายประดิษฐ์ คงช่วย จำเลยที่ 70 ก็เช่นกัน ให้บวกโทษกับคดีอื่นอีก 2 เดือน จึงจำคุกรวม 8 เดือน
สำหรับกลุ่มที่เป็นเยาวชนขณะกระทำความผิดอายุยังไม่เกิน 20 ปี ซึ่งประกอบด้วย จำเลยที่ 30, 47, 81 นั้น ให้จำคุกคนละ 4 เดือน ส่วนจำเลยที่ 83-85 ระหว่างกระทำผิดยังเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ให้จำคุกคนละ 3 เดือน แต่ศาลเห็นควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจำเลยทั้งหกรายจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้รายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายในกำหนด 1 ปี ส่วนความผิดฐานซ่องโจรให้ยกฟ้อง
4.ม็อบต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพาที่หน้ายูเอ็น ยอมกลับบ้านแล้ว หลังรัฐบาลลงนามเอ็มโอยูนับหนึ่งใหม่ควรสร้างหรือไม่!
ความคืบหน้ากรณีกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา ปักหลักชุมนุมที่หน้าสำนักงานสหประชาชาติ(ยูเอ็น) มานานกว่า 2 สัปดาห์ รวมทั้งอดข้าวมา 6-7 วัน ทำให้ผู้ชุมนุมเป็นลมไปนับสิบรายแล้ว แต่ดูเหมือนรัฐบาลไม่ให้ความสนใจหรือส่งตัวแทนไปเจรจาแต่อย่างใด
ส่งผลให้ผู้ชุมนุมเริ่มหมดความอดทน นายประสิทธิชัย หนูนวล ผู้ประสานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน จึงได้ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 19 ก.พ.ว่า จะยกระดับการชุมนุมด้วยการเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 20 ก.พ. เพื่อขอคำตอบจากรัฐบาลให้ยุติสร้างโรงฟฟ้าถ่านหิน
ปรากฏว่า วันที่ 20 ก.พ. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมตัวแทนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้เดินทางมาเจรจากับตัวแทนผู้ชุมนุมที่หน้าสำนักงานยูเอ็น เมื่อได้ข้อยุติ จึงลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(เอ็มโอยู) ก่อนเปิดแถลงให้ผู้ชุมนุมทราบ
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเผยว่า บันทึกข้อตกลงมี 4 ประเด็น คือ 1.ให้ กฟผ.ถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(อีเอชไอเอ) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ออกจากสำนักงานนโยบายและแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ภายใน 3 วัน 2.ให้กระทรวงพลังงานจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์(เอสอีเอ) เพื่อศึกษาว่า พื้นที่ จ.กระบี่และ อ.เทพา จ.สงขลา มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ โดยให้นักวิชาการที่เป็นกลางและเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ประเมิน และให้แล้วเสร็จภายใน 9 เดือน หากผลออกมาว่า พื้นที่ไม่หมาะสมที่จะทำโรงไฟฟ้าถ่านหิน กฟผ.ต้องยุติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองพื้นที่
3.หากผลรายงานออกมาว่าเหมาะสมต่อการสร้างไฟฟ้าถ่านหิน ขั้นตอนที่จะทำอีเอชไอเอ ต้องจัดทำโดยคนกลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ และ 4.ให้คดีระหว่างเครือข่ายผู้ชุมนุมกับ กฟผ.เลิกแล้วต่อกัน
ด้านนายประสิทธิชัย หนูนวล แกนนำเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน เผยว่า พอใจการทำเอ็มโอยูดังกล่าว และว่า จากนี้ ผู้ชุมนุมจะเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง โดยแต่ละพื้นที่ต้องไปเตรียมข้อมูลสำหรับทำรายงานประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ต่อไป
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้ขอบคุณกลุ่มผู้ชุมนุมที่เดินทางกลับบ้าน และว่า รัฐบาลไม่อยากให้ประชาชนเสียเวลาทำมาหากิน โดยรัฐบาลรับข้อเสนอทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ยังห่วงว่า จะทำอย่างไรในการเพิ่มไฟฟ้าในภาคใต้ เพื่อป้องกันการขาดแคลนไฟฟ้าในวันหน้า เพราะการก่อสร้างต้องใช้เวลา
เป็นที่น่าสังเกตว่า ฝ่ายที่หนุนให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ก็ออกมาเคลื่อนไหวเช่นกัน โดยนายพณวรรธน์ พงศ์ประยูร เครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย 66 องค์กร เผยว่า เครือข่ายได้ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับเอ็มโอยูที่ลงนามยุติโรงไฟฟ้าถ่านหินระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเลากระบี่-เทพา เพราะเป็นการใช้อำนาจส่วนตัว ทั้งที่เรื่องดังกล่าวควรเป็นเรื่องใหญ่ ต้องเป็นอำนาจระดับคณะรัฐมนตรี และว่า เครือข่ายจะนำคนนับพันคน เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาลเร็วๆ นี้ เพื่อแสดงให้เห็นจุดยืนว่าต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหิน และจะยื่นศาลปกครองเพื่อให้ตัดสินใจเรื่องการเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยไม่ให้เอ็มโอยูมาชะลอหรือยุติโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ยังเตรียมถวายฎีกา รวมทั้งจะยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในความผิด ม.157 ที่ประพฤติมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ
5.2 ป้าเหลืออด คว้าขวานทุบรถจอดขวางหน้าบ้าน โอดบ้านถูกล้อมด้วยตลาด-ทนมานับสิบปี ด้านผู้ว่าฯ กทม.สั่ง 3 ตลาดหยุดขาย รอตรวจสอบ!
สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่คลิปเหตุการณ์ผู้หญิง 2 คนใช้ขวานและเหล็กทุบรถกระบะที่จอดขวางหน้าประตูบ้านของตน โดยที่เกิดเหตุอยู่ใกล้กับตลาดสวนหลวง เขตประเวศ กทม. เหตุเกิดเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งบริเวณหน้าบ้านดังกล่าว มีคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อมเรื่องการจอดรถติดอยู่หน้าบ้านจำนวนมาก รวมทั้งมีป้ายสาปแช่งคนที่มาจอดรถขวางหน้าบ้านด้วย
หลังเกิดเหตุ น.ส.รชนิกร เลิศวาสนา อายุ 37 ปี ผู้เสียหายที่รถถูกทุบ ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจ สน.ประเวศ ให้ดำเนินคดีกับผู้ที่ทุบรถตน ข้อหาทำให้เสียทรัพย์ มูลค่าความเสียหายประมาณ 5 หมื่นบาท และว่า วันดังกล่าวมาจอดรถริมถนนทางเข้าสวนหลวง ร.9 แม้หน้าบ้านดังกล่าวจะมีป้ายประกาศติดไว้ แต่เห็นว่ามีทั้งลวดสลิงและกุญแจล็อก จึงเข้าใจว่าเป็นบ้านร้างและถูกบังคับคดี จึงจอดรถและไปซื้อของบริเวณใกล้เคียง ปกติจอดรถจะล็อกเบรกมือ หากเจ้าของบ้านมีเหตุจำเป็นต้องออกจากบ้าน ก็ต้องขอโทษจริงๆ
ขณะที่ป้าเจ้าของบ้านดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย น.ส.บุญศรี น.ส.รัตนฉัตร และ น.ส.ราณี แสงหยกตระการ ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวที่หน้าบ้านของตนเอง ซึ่งอยู่ในซอยศรีนครินทร์ 55 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. เพื่อชี้แจงกรณีใช้ขวานและเหล็กทุบรถที่จอดขวางประตูบ้าน โดย น.ส.บุญศรี กล่าวว่า พื้นที่เกิดเหตุเป็นของหมู่บ้านเสรีวิลล่า ซึ่งจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัย ก่อนหน้าจะซื้อที่ดินดังกล่าว ไม่เคยมีตลาด แต่ต่อมา มีตลาดมาก่อสร้างติดกับบ้านทั้งฝั่งซ้ายและขวา รวมถึงด้านหลังซึ่งเป็นที่จอดรถ มีการก่อสร้างเต๊นท์ขนาดใหญ่ติดบ้านพัก มีคนงานปีนขึ้นลงทั้งกลางวันและกลางคืน ฝนตก น้ำก็เทเข้าบ้าน สร้างความเดือดร้อนอย่างมาก เวลาออกจากบ้านก็เจอตลาด รถจอดกีดขวางหน้าบ้านทุกวัน ต้องรอจนกว่าเจ้าของรถจะซื้อของเสร็จ ถึงจะได้ออกจากบ้าน
น.ส.บุญศรี กล่าวอีกว่า ตนได้ฟ้องต่อศาลปกครองถึง 2 คดี โดยศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวันที่ 1 ส.ค.2556 ให้ ผอ.เขตประเวศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนกับตนและครอบครัว และผู้ที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่ไม่ได้รับการบรรเทาทุกข์แต่อย่างใด มีการฟ้องร้องมาเป็นสิบปีแล้ว และวันเกิดเหตุ ตนจะออกไปทำธุระนอกบ้าน แต่ออกไม่ได้ เพราะรถที่จอดขวางหน้าบ้านเข้าเบรกมือ กดแตรเท่าไหร่ก็ไม่มา โทรศัพท์ไปที่ 191 และศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ 1555 ก็ไม่มีใครมา จะให้ทำอย่างไร ก็ต้องใช้สิทธิอันชอบธรรมที่จะทำให้สิ่งกีดขวางนี้ออกไป
ขณะที่ น.ส.รัตนฉัตร 1 ในเจ้าของบ้าน กล่าวว่า “เราเจอเหตุการณ์นี้มาเป็นสิบปี ครั้งนี้ที่เกิดขึ้นรุนแรง เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย เพราะกดแตรนานกว่า 30 นาที และเมื่อเจ้าของรถมาถึง กลับบอกว่า เขาได้ยินเสียงแตรนานแล้ว แต่ยังซื้อของไม่เสร็จ เป็นคุณจะไม่โกรธเหรอ”
ด้าน พ.ต.อ.อลงกรณ์ ศิริสงคราม ผกก.สน.ประเวศ เผยหลังมีการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า น.ส.รชนิกร คนจอดรถขวางหน้าบ้าน ไม่ได้ทำผิดเรื่องห้ามจอดรถในช่วงเวลา 06.00-10.00 น. เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นเวลา 11.00 น. แต่พนักงานสอบสวนพิจารณาแล้วพบว่า ผิดตามมาตรา 57 พ.ร.บ.จราจร ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคาร หรือ ทางเดินรถ หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ และในลักษณะกีดขวางการจราจร จึงเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 500 บาท ส่วนฝ่ายที่ทุบรถ เจ้าหน้าที่ได้ออกหมายเรียกให้ น.ส.รัตนฉัตร และ น.ส.ราณี แสงหยกตระการ มาพบพนักงานสอบสวน สน.ประเวศ ในวันจันทร์ที่ 26 ก.พ.นี้ เวลา 13.00 น. ข้อหาร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และข่มขู่ทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว และพาอาวุธ ไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโดยไม่มีเหตุอันควร
ด้าน น.ส.บุญศรี และน.ส.รัตนฉัตร แสงหยกตระการ เจ้าของบ้าน เตรียมแจ้งความดำเนินคดีกับสาวเจ้าของรถที่มาจอดขวางหน้าบ้าน ฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญใจเช่นกัน
ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ร้อนถึง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.ต้องลงพื้นที่ตรวจสอบตลาด 5 แห่งที่อยู่รอบบ้านป้าที่ทุบรถ พร้อมสั่งตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงภายใน 7 วัน หรือภายในวันที่ 28 ก.พ.นี้ โดยตลาดทั้ง 5 แห่ง ประกอบด้วย ตลาดสวนหลวง มีนายสุรกิจ นามวรกานต์ เป็นเจ้าของ, ตลาดเปิ้ล มาร์เก็ต มีนายสมชัย ชัยรัตนะกมล เป็นเจ้าของ, ตลาดรุ่งวาณิชย์ มีนายธเนตร รุจิราวาณิชย์ เป็นเจ้าของ, ตลาดยิ่งนรา มี น.ส.พัชรี เจียรวนนท์ เป็นเจ้าของ และตลาดร่มเหลือง มีนายเกียรติรัตน์ สุวรรณวัฒนาสุข เป็นเจ้าของ
พล.ต.อ.อัศวิน เผยว่า ตลาดสวนหลวง มีการขออนุญาตก่อสร้างถูกต้อง แต่ไม่ได้ขออนุญาตประกอบกิจการตลาด, ตลาดเปิ้ล มาร์เก็ต และตลาดยิ่งนรา ขออนุญาตก่อสร้างสำหรับทำการค้าเชิงพาณิชย์ ซึ่ง กทม.จะพิจารณาข้อกฎหมายว่า สามารถค้าขายสินค้าแบบที่ขายอยู่ได้หรือไม่ ส่วนตลาดรุ่งวาณิชย์ และตลาดร่มเหลือง ไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงสั่งให้ ผอ.เขตประเวศทำหนังสือถึงเจ้าของตลาดสวนหลวง, ตลาดรุ่งวาณิชย์ และตลาดร่มเหลือง ให้หยุดขายก่อนระหว่างวันที่ 22-28 ก.พ.เพื่อเปิดโอกาสให้โต้แย้ง แสดงหลักฐานต่างๆ
ล่าสุด (24 ก.พ.) นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล รองประธานสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) คนที่ 2 ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการจัดตั้งตลาดภายในหมู่บ้านเสรีวิลล่า ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบตลาดทั้ง 5 แห่ง หลังจากนั้น ได้เผยว่า "จากการลงมาดูก็พบว่า บางตลาดไม่ได้ดำเนินการอย่างถูกต้องจริง อย่างตลาดรุ่งวาณิชย์ ตลาดสวนหลวง และตลาดร่มเหลือง ไม่ได้ขออนุญาตจัดตั้งตลาด ต้องปิดภายในวันที่ 28 ก.พ.นี้ ซึ่งทางผู้ค้าบอกว่าพร้อมยอมปิด โดยตลาดรุ่งวาณิชย์ระบุว่า จะปิดและปรับปรุงให้เข้าเกณฑ์และขออนุญาตใหม่อีกครั้ง ส่วนตลาดที่ขอเชิงพาณิชย์คือ ตลาดเปิ้ล มาร์เก็ต และตลาดยิ่งนรา ก็ต้องทำให้ถูกต้อง ที่มีของสดก็ต้องห้ามขาย ที่จอดรถที่กำหนดต้องมี 14 คัน ก็ต้องปรับปรุงให้ได้ตามเกณฑ์"
1.หวย 30 ล้านงวดเข้ามาทุกขณะ “ผบ.ตร.” เตรียมแถลงใครเจ้าของ 28 ก.พ.นี้ ด้าน “ผบก.-รอง ผกก.เมืองกาญจน์” ถูกเด้งเข้ากรุ!
ความคืบหน้ากรณีหวย 30 ล้าน ที่ ร.ต.ท.จรูญ วิมูล อดีตข้าราชการตำรวจเกษียณ และนายปรีชา ใคร่ครวญ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทพมงคลรังษี จ.กาญจนบุรี ต่างอ้างความเป็นเจ้าของล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 งวดประจำวันที่ 1 พ.ย.2560 เงินรางวัล 30 ล้านบาท ซึ่งตอนแรกตำรวจภูธรภาค 7 สรุปว่าเจ้าของล็อตเตอรี่ดังกล่าวคือ ครูปรีชา แต่ต่อมา พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งให้ตำรวจภาค 7 โอนคดีดังกล่าวมาให้ตำรวจกองปราบฯ ดูแลแทน ก่อนพบหลักฐานเด็ดเป็นคลิปเสียงการสนทนาระหว่างนางรัตนาพร สุภาทิพย์ หรือเจ๊บ้าบิ่น แม่ค้าขายล็อตเตอรี่กับครูปรีชา 2 คลิป ซึ่งครูปรีชายืนยันชัดเจนว่า ตนไม่ถูกรางวัลที่ 1 พร้อมระบุเลขที่ตนซื้อ ซึ่งไม่ตรงกับรางวัลที่ 1 แต่อย่างใด
ปรากฏว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ยังคงมีเรื่องคลิปเสียงการสนทนาระหว่างเจ๊บ้าบิ่นกับครูปรีชาออกมาอีก นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า 1 ในคลิปเสียงสนทนา ครูปรีชาบอกให้เจ๊บ้าบิ่นติดตามหาสลากฯ ที่ถูกรางวัลมาให้ได้ เพราะเป็นสลากฯ ที่ตนได้มาจากเจ๊บ้าบิ่น และหากไปหาสลากฯ ดังกล่าวมาได้ จะแบ่งกันคนละ 15 ล้านบาท หลังจากนั้นเจ๊บ้าบิ่นจึงเริ่มค้นหาข้อมูลของผู้ถูกรางวัลที่ 1 งวดดังกล่าว กระทั่งทราบว่า หมวดจรูญ ถูกรางวัลที่ 1 และขึ้นรางวัลไปแล้ว จึงพากันไปแจ้งความกับตำรวจ สภ.เมืองกาญจนบุรี กระทั่งตำรวจอายัดเงินดังกล่าวไว้
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ตำรวจสืบสวนพบว่า ครูปรีชาถือสลากที่ลงท้ายด้วยเลข 726 ตามคลิปเสียงที่ครูปรีชายืนยันก่อนหน้านี้ แต่เลขสามตัวหน้าไม่ใช่เลขที่ถูกรางวัลที่ 1 และสำคัญ เลขสามตัวหน้าของครูปรีชา ยังไม่ตรงกับเลขหน้าของสลากฯ ทั้ง 3 ชุดตามภาพถ่ายที่นางพัชริดา พรมตา หรือเจ๊พัช ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 30 ต.ค.2560 ด้วย
ด้านครูปรีชา ยังคงยืนยันว่า ไม่กังวลใจใดๆ หากผลคดีออกมาว่าตนเป็นคนผิด ก็ไม่คิดจะหลบหนี
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 ก.พ. พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ยืนยันว่า ยังไม่มีการสรุปว่า ใครเป็นเจ้าของลอตเตอรี่มูลค่า 30 ล้านบาท จนกว่าผลการสืบสวนสอบสวนจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเก็บรายละเอียด เพื่อให้ได้สำนวนที่รัดกุมและรอบด้าน “จากนั้นจะยื่นต่อศาลเพื่อพิจารณาเห็นชอบในการออกหมายจับต่อไป คาดว่าจะรู้ผลในวันที่ 28 ก.พ.นี้ อยากให้ทุกฝ่ายใจเย็นๆ อย่าเร่งรัดการทำงานของชุดคลี่คลายคดี เพราะการทำงานจะต้องโปร่งใส ไร้ข้อกังขา”
วันต่อมา 21 ก.พ. พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) เผยว่า ได้รับรายงานจากจากชุดทำงานของกองปราบฯ และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางแล้วว่า มีความคืบหน้ามากกว่า 90% ให้รอฟังแถลงสรุปวันที่ 28 ก.พ.นี้ จะได้ทราบว่าหวยเป็นของใคร พล.ต.อ.จักรทิพย์ ยอมรับด้วยว่า ทราบแล้วว่าใครเป็นเจ้าของหวย 30 ล้าน แต่จะพูดในวันที่ 28 ก.พ.นี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีรายงานข่าวว่า หวยเป็นของหมวดจรูญ ตรงกับที่ ผบ.ตร.ทราบหรือไม่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ กล่าวว่า “ก็เป็นย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะเขาเป็นคนไปขึ้นเงิน ได้เงินมา เขาถือเป็นคนสุดท้าย ส่วนรายละเอียดเดี๋ยวไปว่ากัน แต่จะตรงกับบทสรุปการคลี่คลายเรื่องนี้ของชุดทำงานกองปราบปรามหรือไม่ ผมไม่ทราบ บอกไม่ได้ คำตอบที่ผมทราบอยู่บนพื้นฐานของการเป็นไปตามพยานหลักฐาน ...คดีนี้แน่ชัดว่า ค่อนข้างทำเป็นขบวนการ แต่รอรายละเอียดในวันที่ 28 ก.พ.ว่ามีใครเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง”
ทั้งนี้ วันเดียวกัน พล.ต.อ.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ จเรตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้ พล.ต.ต.สุทธิ พวงพิกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.กาญจนบุรี มาปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขาดจากต้นสังกัด และให้ไปรายงานตัวต่อ พล.ต.ท.สุรพล พินิจชอบ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในวันที่ 22 ก.พ. จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
โดยมีรายงานว่า สาเหตุที่สั่งย้าย พล.ต.ต.สุทธิ ครั้งนี้ เนื่องจากได้สอบสวนตำรวจที่เกี่ยวข้อง เช่น ร.ต.อ.จิรยุทธ์ ชัชรินทร์กุล รอง สว.(สอบสวน) สภ.เมืองกาญจนบุรี ที่เป็นผู้รับแจ้งความคดีหวย 30 ล้าน ทำให้ทราบว่า พล.ต.ต.สุทธิมีการใช้อำนาจในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าพนักงานสอบสวนใน จ.กาญจนบุรี สั่งการให้พนักงานสอบสวนผู้ใต้บังคับบัญชาสอบสวนโดยไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม และมีอคติเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นหากให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมต่อไป อาจใช้อำนาจหน้าที่เข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และส่งผลให้พยานบุคคลเกิดความหวาดกลัว
วันต่อมา 22 ก.พ. ผู้สื่อข่าวได้ไปสัมภาษณ์ครูปรีชาว่า คดีนี้ต้องมีคนหนึ่งคนใดติดคุก ครูปรีชา ยืนยันว่า “ไม่วิตกกังวล เพราะไม่ใช่ผมแน่ ขอให้ดูกันต่อไป หนังมีหลายตอน ต้องดูจากพยานหลักฐาน ผมมีหลักฐานเด็ด แต่ไม่นำมาเปิดเผยผ่านสื่อ เพราะเป็นเรื่องของคดี”
ครูปรีชา ยังยืนยันด้วยว่า ตนซื้อหวยจริง และหายจริง และฝ่ายตนไม่ได้ทำกันเป็นขบวนการ และว่า การพูดคุยระหว่างตนและ ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี รวมทั้งคู่กรณี ไม่ได้มีคำพูดที่ว่าวินวินหรือแบ่งกันคนละครึ่ง 15 ล้านบาทแต่อย่างใด
เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจากผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.กาญจนบุรี จะถูกเด้งออกจากพื้นที่แล้ว กองทะเบียนพลยังมีหนังสืออนุมัติให้ พ.ต.ท.ชูวิทย์ เจริญนาค รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.เมืองกาญจนบุรี และ ร.ต.อ.จิรยุทธ์ ชัชรินทร์กุล รอง สว.(สอบสวน) สภ.เมืองกาญจนบุรี ร้อยเวรเจ้าของคดีหวย 30 ล้าน มาปฏิบัติราชการที่กองปราบฯ โดยขาดจากตำแหน่งเดิม พร้อมให้เหตุผลว่า เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้การกองปราบฯ มอบหมาย มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. 61 เป็นต้นไป
2.สนช.โหวตคว่ำ 7 ว่าที่ กกต.ใหม่ อ้างไม่เชี่ยวชาญด้านเลือกตั้ง-หวั่นศาลฎีกาสรรหาไม่ถูกต้อง!
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือไม่ หลังคณะกรรมาธิการสามัญตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็น กกต.แล้ว โดยผู้ได้รับการเสนอชื่อมี 7 คน ประกอบด้วย ตัวแทนที่มาจากคณะกรรมการสรรหา 5 คน ได้แก่ นายประชา เตรัตน์ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายเรืองวิทย์ เกษสุวรรณ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), นายอิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, นางชมพรรณ์ พงษ์เจริญ สุธีรชาติ หัวหน้าสำนักงานกฎหมายสุธีรชาติ และตัวแทนจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 คน ได้แก่ นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, นายปกรณ์ มหรรณพ ผู้พิพากษาศาลฎีกา
ทั้งนี้ ที่ประชุม สนช.ได้สั่งให้ประชุมลับเพื่อพิจารณารายงานการตรวจสอบประวัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน ก่อนลงมติลับด้วยการเข้าคูหากาบัตรลงคะแนน ผลปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน โดยไม่เห็นชอบนายฐากร ตัณฑสิทธิ ด้วยคะแนน 156 ต่อ 27 งดออกเสียง 17, ไม่เห็นชอบนายเรืองวิทย์ ด้วยคะแนน 175 ต่อ 10 งดออกเสียง 14, ไม่เห็นชอบนางชมพรรณ์ พงษ์เจริญ สุธีรชาติ ด้วยคะแนน 168 ต่อ 16 งดออกเสียง 16, ไม่เห็นชอบนายอิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ ด้วยคะแนน 149 ต่อ 30 งดออกเสียง 21, ไม่เห็นชอบนายประชา เตรัตน์ ด้วยคะแนน 125 ต่อ 57 งดออกเสียง 86, ไม่เห็นชอบนายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี ด้วยคะแนน 128 ต่อ 46 งดออกเสียง 26 และไม่เห็นชอบนายปกรณ์ มหรรณพ ด้วยคะแนน 130 ต่อ 41 งดออกเสียง 29
สำหรับขั้นตอนต่อไป สนช.จะรายงานผลประชุมให้คณะกรรมการสรรหาและที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาทราบ เพื่อสรรหาบุคคลมาให้ สนช.ลงมติให้ความเห็นชอบใหม่อีกครั้ง โดยทั้ง 7 คนดังกล่าวจะไม่สามารถกลับมาสมัครใหม่ได้ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พ.ศ. 2560
มีรายงานว่า ในการประชุมลับได้มีการรายงานผลการตรวจสอบประวัติในเชิงลึกของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คนอย่างละเอียด พบว่า ทุกคนมีเรื่องถูกร้องเรียนหมด และแม้ว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อทุกคนจะมีคุณสมบัติครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ แต่ สนช.เห็นว่า งานของ กกต.ตามรัฐธรรมนูญใหม่ มีภารกิจสำคัญเรื่องการเลือกตั้ง จึงอยากได้บุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการทำงาน โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่งสมาชิก สนช.ส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นในฝีมือของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของสาธารณชน และยังไม่เคยแสดงฝีมือการทำงานให้เป็นที่ประจักษ์ นอกจากนี้ในส่วนของผู้ได้รับการเสนอชื่อจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 คน อาจมีปัญหาเรื่องที่มาการสรรหาว่าได้ดำเนินการอย่างถูกต้องหรือไม่ แม้ สนช.จะได้รับหนังสือยืนยันจากศาลฎีกาว่า กระบวนการสรรหาดำเนินการอย่างถูกต้องแล้ว แต่ สนช.เกรงว่า จะมีผู้ไปยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยในภายหลัง อาจจะเกิดความวุ่นวายตามมา ซึ่งหากปล่อยผ่านคนที่มีปัญหา อาจทำให้ผู้สมัครคนอื่นถูกตั้งคำถามด้วยเช่นกันถึงคุณสมบัติ ดังนั้นจึงลงมติไม่เห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน
ด้าน นพ.เจตน์ ศิรธารานนท์ สนช. ยืนยันว่า แม้จะไม่ได้ 7 คนนี้เป็น กกต. ก็ไม่มีผลต่อโรดแมปการเลือกตั้ง เพราะ กกต.ชุดเก่ายังทำหน้าที่ต่อไป สามารถจัดการเลือกตั้ง หรือทำกฎหมายได้ โดย กกต.ชุดเก่าก็จะทำหน้าที่ไปจนกว่าจะมี กกต.ชุดใหม่
3.ศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก 78 “นักรบศรีวิชัย” การ์ดพันธมิตรฯ 6-8 เดือน คดีบุกเอ็นบีที ส่วน 6 จำเลยที่เป็นเยาวชน รอลงอาญา 2 ปี!
เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายธเนศร์ คำชุม กับพวกรวม 85 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักรบศรีวิชัย การ์ดของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เป็นจำเลย ในความผิดฐานสมคบกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ฯลฯ กรณีบุกรุกสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ในการชุมนุมขับไล่รัฐบาลเมื่อปี 2551
คดีนี้ โจทก์ฟ้องสรุปว่า ระหว่างวันที่ 22 - 26 ส.ค. 2551 จำเลย 85 คน ได้ร่วมกันประชุมวางแผนนัดแนะระดมพลจากสะพานมัฆวานรังสรรค์และสถานที่อื่น ตกลงกันเพื่อกระทำความผิดฐานร่วมกันบุกรุกอาคารสำนักงานสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จำเลยทั้งหมดพกพาอาวุธปืน เครื่องกระสุน มีดดาบ มีดพก ร่วมกันไปทำลายทรัพย์สินและบุกรุกสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที โดยไม่ได้รับอนุญาต และร่วมกันทำลายทรัพย์สินกว่า 15 รายการ รวมความเสียหายกว่า 6 แสนบาท โดยเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้หยุดการกระทำ จำเลยทั้งหมดก็ไม่หยุด อีกทั้งจำเลยยังร่วมข่มขืนใจ น.ส.ตวงพร อัศววิไล และนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และพนักงานคนอื่นๆ ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้จัดรายการออกอากาศ และขับไล่ให้ออกจากสำนักงาน โดยจำเลยให้การปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี ซึ่งระหว่างพิจารณาคดีปรากฏว่า นายมานิต อรรถรัฐ จำเลยที่ 42 หลบหนีคดี ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราวจนกว่าจะได้ตัวมา คงเหลือจำเลยที่ต้องมาฟังคำพิพากษารวม 84 ราย
อย่างไรก็ตาม มีจำเลยเดินทางมาฟังคำพิพากษาทั้งสิ้น 79 คน ไม่ได้เดินทางมา 5 คน ประกอบด้วย นายจีรวัฒน์ คงหนู จำเลยที่ 31, นายประเสริฐ ด้วงทิพย์ จำเลยที่ 37, นายวีระศักดิ์ บรรจงช่วย จำเลยที่ 59, นายวันชัย รักษายศ จำเลยที่ 78 และนายวิธวัช สืบกระพันธ์ จำเลยที่ 84 แม้จำเลยบางรายจะขอเลื่อน โดยมีใบรับรองแพทย์ว่าป่วย แต่ศาลมองว่า จำเลยทั้งห้ามีพฤติการณ์หลบเลี่ยงที่จะไม่มาศาล ศาลจึงให้อ่านคำพิพากษาของจำเลยทั้งหมดทันที พร้อมออกหมายจับจำเลยทั้งห้าเพื่อมาฟังคำพิพากษาต่อไป
ทั้งนี้ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุ กลุ่ม พันธมิตรฯ ชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช โดยแกนนำปราศรัยว่า จะไปปิดล้อมสถานที่ราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบทราบว่าจะมีการยึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีในวันที่ 26 ส.ค. 2551 จึงนำกำลังไปดูแลรักษาความปลอดภัย ต่อมาในเวลา 04.30 น. พวกจำเลยใส่ชุดดำไปรวมตัวกันและบุกรุกเข้าไปภายในอาคารสถานีเวลา 05.00 น. พร้อมพกพาอาวุธไม้แหลม กระจายกำลังไปตามชั้นต่างๆ ตำรวจจึงเข้าจับกุมได้พร้อมอาวุธ และต่อมาเวลา 8.00 น. ก็มีผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ กว่า 1 หมื่นคน บุกรุกเข้าไปบริเวณสถานี แล้วออกจากสถานีในเวลา 18.00 น.
ด้านอัยการโจทก์ได้ยื่นฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาซ่องโจรด้วย เนื่องจากจำเลยมีการรวมตัวกันเปิดเผย แบ่งหน้าที่กันทำ มีการแต่งกายชุดดำและถืออาวุธ เป็นการรวมตัวกันโดยสมัครใจบุกเข้าไปในสถานี พร้อมกระจายกำลังไปค้นหาเจ้าหน้าที่ของสถานีให้ยุติการปฏิบัติงาน เป็นการวางแผนเตรียมไว้ แต่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นาย เบิกความเกี่ยวกับเหตุการณ์ แต่พยานก็ไม่ทราบว่าจำเลยได้ประชุมปรึกษาหารือวางแผนร่วมกันที่ไหนอย่างไร อาจเป็นการทำตามคำสั่งแกนนำ จำเลยทั้ง 85 รายบุกรุกโดยไม่มีผู้นำ แม้จะมีการแสดงออกเปิดเผยแต่งกายลักษณะเดียวกัน อาจเกิดจากการแนะนำกันโดยไม่ได้ร่วมปรึกษาหารือ เป็นการปฏิบัติตามคำสั่ง ทำโดยสถานการณ์บีบบังคับ พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบไม่มีน้ำหนักพอว่าจำเลยกระทำผิดฐานซ่องโจร ฎีกาโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่จำเลยบางส่วนยื่นฎีกาขอให้รอการลงโทษหรือลงโทษสถานเบา โดยระบุว่า ไม่มีเจตนาก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ข่มขืนใจประทุษร้าย และหลังจากเข้าไปในสถานีแล้ว เจ้าหน้าที่ของสถานียังสามารถทำงานได้ตามปกติ ส่วนจำเลยที่ 1 ระบุว่าพกปืนติดตัวไปเฉยๆ ไม่ได้ใช้ในการก่อเหตุ ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 219 จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้จำคุกนายธเนศร์ คำชุม จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 8 เดือน, นายเมธี อู่ทอง จำเลยที่ 24 จำคุก 8 เดือน, นายนัสเซอร์ ยีหมะ อดีตหัวหน้าการ์ดเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) จำเลยที่ 14 กับจำเลยที่ 2-13, 15-23, 25-29, 31-41, 43- 46, 48 - 80, 82 รวม 76 ราย จำคุกคนละ 6 เดือน พร้อมกันนี้ศาลยังให้รวมโทษปรับนายชนินทร์ อินทร์พรหม จำเลยที่ 2, นายจรัส วีระพันธ์ จำเลยที่ 39 กับนายธนพล แก้วเชิด จำเลยที่ 80 ในความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอีกคนละ 500 บาท ส่วนนายอัมรินทร์ ยี่เฮง จำเลยที่ 48 ให้บวกโทษคดีนี้กับคดีอื่นอีก 3 เดือน จึงจำคุกรวม 9 เดือน และนายประดิษฐ์ คงช่วย จำเลยที่ 70 ก็เช่นกัน ให้บวกโทษกับคดีอื่นอีก 2 เดือน จึงจำคุกรวม 8 เดือน
สำหรับกลุ่มที่เป็นเยาวชนขณะกระทำความผิดอายุยังไม่เกิน 20 ปี ซึ่งประกอบด้วย จำเลยที่ 30, 47, 81 นั้น ให้จำคุกคนละ 4 เดือน ส่วนจำเลยที่ 83-85 ระหว่างกระทำผิดยังเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ให้จำคุกคนละ 3 เดือน แต่ศาลเห็นควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจำเลยทั้งหกรายจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้รายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายในกำหนด 1 ปี ส่วนความผิดฐานซ่องโจรให้ยกฟ้อง
4.ม็อบต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพาที่หน้ายูเอ็น ยอมกลับบ้านแล้ว หลังรัฐบาลลงนามเอ็มโอยูนับหนึ่งใหม่ควรสร้างหรือไม่!
ความคืบหน้ากรณีกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา ปักหลักชุมนุมที่หน้าสำนักงานสหประชาชาติ(ยูเอ็น) มานานกว่า 2 สัปดาห์ รวมทั้งอดข้าวมา 6-7 วัน ทำให้ผู้ชุมนุมเป็นลมไปนับสิบรายแล้ว แต่ดูเหมือนรัฐบาลไม่ให้ความสนใจหรือส่งตัวแทนไปเจรจาแต่อย่างใด
ส่งผลให้ผู้ชุมนุมเริ่มหมดความอดทน นายประสิทธิชัย หนูนวล ผู้ประสานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน จึงได้ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 19 ก.พ.ว่า จะยกระดับการชุมนุมด้วยการเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 20 ก.พ. เพื่อขอคำตอบจากรัฐบาลให้ยุติสร้างโรงฟฟ้าถ่านหิน
ปรากฏว่า วันที่ 20 ก.พ. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมตัวแทนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้เดินทางมาเจรจากับตัวแทนผู้ชุมนุมที่หน้าสำนักงานยูเอ็น เมื่อได้ข้อยุติ จึงลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(เอ็มโอยู) ก่อนเปิดแถลงให้ผู้ชุมนุมทราบ
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเผยว่า บันทึกข้อตกลงมี 4 ประเด็น คือ 1.ให้ กฟผ.ถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(อีเอชไอเอ) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ออกจากสำนักงานนโยบายและแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ภายใน 3 วัน 2.ให้กระทรวงพลังงานจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์(เอสอีเอ) เพื่อศึกษาว่า พื้นที่ จ.กระบี่และ อ.เทพา จ.สงขลา มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ โดยให้นักวิชาการที่เป็นกลางและเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ประเมิน และให้แล้วเสร็จภายใน 9 เดือน หากผลออกมาว่า พื้นที่ไม่หมาะสมที่จะทำโรงไฟฟ้าถ่านหิน กฟผ.ต้องยุติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองพื้นที่
3.หากผลรายงานออกมาว่าเหมาะสมต่อการสร้างไฟฟ้าถ่านหิน ขั้นตอนที่จะทำอีเอชไอเอ ต้องจัดทำโดยคนกลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ และ 4.ให้คดีระหว่างเครือข่ายผู้ชุมนุมกับ กฟผ.เลิกแล้วต่อกัน
ด้านนายประสิทธิชัย หนูนวล แกนนำเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน เผยว่า พอใจการทำเอ็มโอยูดังกล่าว และว่า จากนี้ ผู้ชุมนุมจะเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง โดยแต่ละพื้นที่ต้องไปเตรียมข้อมูลสำหรับทำรายงานประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ต่อไป
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้ขอบคุณกลุ่มผู้ชุมนุมที่เดินทางกลับบ้าน และว่า รัฐบาลไม่อยากให้ประชาชนเสียเวลาทำมาหากิน โดยรัฐบาลรับข้อเสนอทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ยังห่วงว่า จะทำอย่างไรในการเพิ่มไฟฟ้าในภาคใต้ เพื่อป้องกันการขาดแคลนไฟฟ้าในวันหน้า เพราะการก่อสร้างต้องใช้เวลา
เป็นที่น่าสังเกตว่า ฝ่ายที่หนุนให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ก็ออกมาเคลื่อนไหวเช่นกัน โดยนายพณวรรธน์ พงศ์ประยูร เครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย 66 องค์กร เผยว่า เครือข่ายได้ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับเอ็มโอยูที่ลงนามยุติโรงไฟฟ้าถ่านหินระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเลากระบี่-เทพา เพราะเป็นการใช้อำนาจส่วนตัว ทั้งที่เรื่องดังกล่าวควรเป็นเรื่องใหญ่ ต้องเป็นอำนาจระดับคณะรัฐมนตรี และว่า เครือข่ายจะนำคนนับพันคน เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาลเร็วๆ นี้ เพื่อแสดงให้เห็นจุดยืนว่าต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหิน และจะยื่นศาลปกครองเพื่อให้ตัดสินใจเรื่องการเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยไม่ให้เอ็มโอยูมาชะลอหรือยุติโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ยังเตรียมถวายฎีกา รวมทั้งจะยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในความผิด ม.157 ที่ประพฤติมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ
5.2 ป้าเหลืออด คว้าขวานทุบรถจอดขวางหน้าบ้าน โอดบ้านถูกล้อมด้วยตลาด-ทนมานับสิบปี ด้านผู้ว่าฯ กทม.สั่ง 3 ตลาดหยุดขาย รอตรวจสอบ!
สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่คลิปเหตุการณ์ผู้หญิง 2 คนใช้ขวานและเหล็กทุบรถกระบะที่จอดขวางหน้าประตูบ้านของตน โดยที่เกิดเหตุอยู่ใกล้กับตลาดสวนหลวง เขตประเวศ กทม. เหตุเกิดเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งบริเวณหน้าบ้านดังกล่าว มีคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อมเรื่องการจอดรถติดอยู่หน้าบ้านจำนวนมาก รวมทั้งมีป้ายสาปแช่งคนที่มาจอดรถขวางหน้าบ้านด้วย
หลังเกิดเหตุ น.ส.รชนิกร เลิศวาสนา อายุ 37 ปี ผู้เสียหายที่รถถูกทุบ ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจ สน.ประเวศ ให้ดำเนินคดีกับผู้ที่ทุบรถตน ข้อหาทำให้เสียทรัพย์ มูลค่าความเสียหายประมาณ 5 หมื่นบาท และว่า วันดังกล่าวมาจอดรถริมถนนทางเข้าสวนหลวง ร.9 แม้หน้าบ้านดังกล่าวจะมีป้ายประกาศติดไว้ แต่เห็นว่ามีทั้งลวดสลิงและกุญแจล็อก จึงเข้าใจว่าเป็นบ้านร้างและถูกบังคับคดี จึงจอดรถและไปซื้อของบริเวณใกล้เคียง ปกติจอดรถจะล็อกเบรกมือ หากเจ้าของบ้านมีเหตุจำเป็นต้องออกจากบ้าน ก็ต้องขอโทษจริงๆ
ขณะที่ป้าเจ้าของบ้านดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย น.ส.บุญศรี น.ส.รัตนฉัตร และ น.ส.ราณี แสงหยกตระการ ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวที่หน้าบ้านของตนเอง ซึ่งอยู่ในซอยศรีนครินทร์ 55 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. เพื่อชี้แจงกรณีใช้ขวานและเหล็กทุบรถที่จอดขวางประตูบ้าน โดย น.ส.บุญศรี กล่าวว่า พื้นที่เกิดเหตุเป็นของหมู่บ้านเสรีวิลล่า ซึ่งจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัย ก่อนหน้าจะซื้อที่ดินดังกล่าว ไม่เคยมีตลาด แต่ต่อมา มีตลาดมาก่อสร้างติดกับบ้านทั้งฝั่งซ้ายและขวา รวมถึงด้านหลังซึ่งเป็นที่จอดรถ มีการก่อสร้างเต๊นท์ขนาดใหญ่ติดบ้านพัก มีคนงานปีนขึ้นลงทั้งกลางวันและกลางคืน ฝนตก น้ำก็เทเข้าบ้าน สร้างความเดือดร้อนอย่างมาก เวลาออกจากบ้านก็เจอตลาด รถจอดกีดขวางหน้าบ้านทุกวัน ต้องรอจนกว่าเจ้าของรถจะซื้อของเสร็จ ถึงจะได้ออกจากบ้าน
น.ส.บุญศรี กล่าวอีกว่า ตนได้ฟ้องต่อศาลปกครองถึง 2 คดี โดยศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวันที่ 1 ส.ค.2556 ให้ ผอ.เขตประเวศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนกับตนและครอบครัว และผู้ที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่ไม่ได้รับการบรรเทาทุกข์แต่อย่างใด มีการฟ้องร้องมาเป็นสิบปีแล้ว และวันเกิดเหตุ ตนจะออกไปทำธุระนอกบ้าน แต่ออกไม่ได้ เพราะรถที่จอดขวางหน้าบ้านเข้าเบรกมือ กดแตรเท่าไหร่ก็ไม่มา โทรศัพท์ไปที่ 191 และศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ 1555 ก็ไม่มีใครมา จะให้ทำอย่างไร ก็ต้องใช้สิทธิอันชอบธรรมที่จะทำให้สิ่งกีดขวางนี้ออกไป
ขณะที่ น.ส.รัตนฉัตร 1 ในเจ้าของบ้าน กล่าวว่า “เราเจอเหตุการณ์นี้มาเป็นสิบปี ครั้งนี้ที่เกิดขึ้นรุนแรง เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย เพราะกดแตรนานกว่า 30 นาที และเมื่อเจ้าของรถมาถึง กลับบอกว่า เขาได้ยินเสียงแตรนานแล้ว แต่ยังซื้อของไม่เสร็จ เป็นคุณจะไม่โกรธเหรอ”
ด้าน พ.ต.อ.อลงกรณ์ ศิริสงคราม ผกก.สน.ประเวศ เผยหลังมีการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า น.ส.รชนิกร คนจอดรถขวางหน้าบ้าน ไม่ได้ทำผิดเรื่องห้ามจอดรถในช่วงเวลา 06.00-10.00 น. เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นเวลา 11.00 น. แต่พนักงานสอบสวนพิจารณาแล้วพบว่า ผิดตามมาตรา 57 พ.ร.บ.จราจร ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคาร หรือ ทางเดินรถ หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ และในลักษณะกีดขวางการจราจร จึงเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 500 บาท ส่วนฝ่ายที่ทุบรถ เจ้าหน้าที่ได้ออกหมายเรียกให้ น.ส.รัตนฉัตร และ น.ส.ราณี แสงหยกตระการ มาพบพนักงานสอบสวน สน.ประเวศ ในวันจันทร์ที่ 26 ก.พ.นี้ เวลา 13.00 น. ข้อหาร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และข่มขู่ทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว และพาอาวุธ ไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโดยไม่มีเหตุอันควร
ด้าน น.ส.บุญศรี และน.ส.รัตนฉัตร แสงหยกตระการ เจ้าของบ้าน เตรียมแจ้งความดำเนินคดีกับสาวเจ้าของรถที่มาจอดขวางหน้าบ้าน ฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญใจเช่นกัน
ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ร้อนถึง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.ต้องลงพื้นที่ตรวจสอบตลาด 5 แห่งที่อยู่รอบบ้านป้าที่ทุบรถ พร้อมสั่งตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงภายใน 7 วัน หรือภายในวันที่ 28 ก.พ.นี้ โดยตลาดทั้ง 5 แห่ง ประกอบด้วย ตลาดสวนหลวง มีนายสุรกิจ นามวรกานต์ เป็นเจ้าของ, ตลาดเปิ้ล มาร์เก็ต มีนายสมชัย ชัยรัตนะกมล เป็นเจ้าของ, ตลาดรุ่งวาณิชย์ มีนายธเนตร รุจิราวาณิชย์ เป็นเจ้าของ, ตลาดยิ่งนรา มี น.ส.พัชรี เจียรวนนท์ เป็นเจ้าของ และตลาดร่มเหลือง มีนายเกียรติรัตน์ สุวรรณวัฒนาสุข เป็นเจ้าของ
พล.ต.อ.อัศวิน เผยว่า ตลาดสวนหลวง มีการขออนุญาตก่อสร้างถูกต้อง แต่ไม่ได้ขออนุญาตประกอบกิจการตลาด, ตลาดเปิ้ล มาร์เก็ต และตลาดยิ่งนรา ขออนุญาตก่อสร้างสำหรับทำการค้าเชิงพาณิชย์ ซึ่ง กทม.จะพิจารณาข้อกฎหมายว่า สามารถค้าขายสินค้าแบบที่ขายอยู่ได้หรือไม่ ส่วนตลาดรุ่งวาณิชย์ และตลาดร่มเหลือง ไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงสั่งให้ ผอ.เขตประเวศทำหนังสือถึงเจ้าของตลาดสวนหลวง, ตลาดรุ่งวาณิชย์ และตลาดร่มเหลือง ให้หยุดขายก่อนระหว่างวันที่ 22-28 ก.พ.เพื่อเปิดโอกาสให้โต้แย้ง แสดงหลักฐานต่างๆ
ล่าสุด (24 ก.พ.) นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล รองประธานสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) คนที่ 2 ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการจัดตั้งตลาดภายในหมู่บ้านเสรีวิลล่า ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบตลาดทั้ง 5 แห่ง หลังจากนั้น ได้เผยว่า "จากการลงมาดูก็พบว่า บางตลาดไม่ได้ดำเนินการอย่างถูกต้องจริง อย่างตลาดรุ่งวาณิชย์ ตลาดสวนหลวง และตลาดร่มเหลือง ไม่ได้ขออนุญาตจัดตั้งตลาด ต้องปิดภายในวันที่ 28 ก.พ.นี้ ซึ่งทางผู้ค้าบอกว่าพร้อมยอมปิด โดยตลาดรุ่งวาณิชย์ระบุว่า จะปิดและปรับปรุงให้เข้าเกณฑ์และขออนุญาตใหม่อีกครั้ง ส่วนตลาดที่ขอเชิงพาณิชย์คือ ตลาดเปิ้ล มาร์เก็ต และตลาดยิ่งนรา ก็ต้องทำให้ถูกต้อง ที่มีของสดก็ต้องห้ามขาย ที่จอดรถที่กำหนดต้องมี 14 คัน ก็ต้องปรับปรุงให้ได้ตามเกณฑ์"