xs
xsm
sm
md
lg

อย่าเพิ่งดรามา! พ.ร.บ.การทารุณกรรมสัตว์ ใช้กับ “คดีเปรมชัย” ล่าสัตว์ป่าคุ้มครองไม่ได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ไม่ได้สวนกระแส แต่อยากบอกความจริง ชี้ข้อหา “ทารุณกรรมสัตว์” ใช้กับสัตว์เลี้ยง สัตว์พาหนะ แต่ “เปรมชัย” ล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง โทษร้ายแรงกว่ามาก

เฟซบุ๊ก Nitipat Bhandhumachinda ได้โพสต์อธิบาย กรณีที่ นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) พร้อมพวกรวม 4 คน ลักลอบล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี แล้วพบว่าการแจ้งข้อหาที่ 10 ในข้อหาทารุณกรรมสัตว์ ที่ นายณรงค์ชัย สังวรวงศา หัวหน้าด่านกักสัตว์กาญจนบุรี เป็นผู้ร้องทุกข์ได้แจ้งถอนการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ที่ผ่านมา เนื่องจากไม่เข้าข้อกฎหมายและคำนิยม ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ นั้น

อธิบายว่า พ.ร.บ. การทารุณกรรมสัตว์ นั้นออกมาใหม่ เมื่อปี 2557 เพื่อใช้คุ้มครองสวัสดิภาพของสัตว์ ซึ่งหมายถึง สัตว์เลี้ยง สัตว์พาหนะ และสัตว์เกษตร รวมทั้งสัตว์ซึ่งอาศัยอยู่ในธรรมชาติบางชนิด ที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้รับการคุ้มครอง ส่วนสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าในพื้นที่ห้ามล่าสัตว์ป่านั้น มี พ.ร.บ. คุ้มครอง ทั้งในด้านการล่า การฆ่า และการครอบครองซาก อีกทั้งการบุกรุกเข้าไปล่า การนำอาวุธเข้าไปล่า อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ. เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า สัตว์สงวน คุ้มครอง และการล่าสัตว์ในอุทยานฯ นั้น โทษร้ายแรงกว่ามาก และคณะล่าเสือดำของนายเปรมชัย ก็ได้รับข้อหาที่กล่าวจนครบ 9 กระทง

“การที่สื่อพยายามปลุกกระแสสังคมให้โจมตีเจ้าหน้าที่รัฐ ในกรณีที่ไม่รับดำเนินคดีข้อหา พ.ร.บ. การทารุณกรรมสัตว์ จึงเป็นเรื่องที่ สื่อจงใจจะหาเรื่องให้เจ้าหน้าที่รัฐโดนสังคมก่นด่าอย่างไม่ยุติธรรม ส่วน 9 ข้อหาที่เหลือนั้น จะพลิกไปอย่างไร หรือจะมีการช่วยเหลือกันหรือไม่ต่างหาก ที่สังคมควรจะจับตาและร่วมกันกดดันให้ ผู้กระทำผิดได้รับโทษตามผลกรรมที่กระทำไว้” เฟซบุ๊ก Nitipat Bhandhumachinda ระบุ

สำหรับ 9 ข้อหาที่นายเปรมชัยถูกตั้งข้อกล่าวหา ได้แก่ 1. ร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาตในเขตพื้นที่สัตว์ป่าคุ้มครอง 2. ร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง 3. ร่วมกันมีไว้ซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครอง 4. ร่วมกันพยายามล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 5. ร่วมกันช่วยซ่อนเร้นซากสัตว์ป่า อันได้มาโดยการกระทำผิด 6. ร่วมกันนำเครื่องมือล่าสัตว์ป่าเข้าไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 7. ร่วมกันเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต 8. ร่วมกันเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และ 9. ความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน




กำลังโหลดความคิดเห็น