xs
xsm
sm
md
lg

ทนายเคลียร์! “ไลฟ์สดแจกเงิน” ผิดหรือไม่?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

กลายเป็นกระแสสังคมไปอีกกรณีหนึ่ง สำหรับกรณีของการไลฟ์สดแล้วมีการแจกเงินที่มีคำถามว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่ง ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร ได้ให้ความกระจ่างเรื่องข้อกฎหมาย ผ่านรายการ ‘เป็นเรื่อง!’ ทางช่อง News1
ในกรณีที่แจกเงินเป็นตั้งๆ ผ่านโลกออนไลน์ อันนี้คือไม่ถูกกฎหมาย 100 เปอร์เซ็นต์ ใช่มั้ยครับ

ต้องบอกก่อนว่า การแจกเงิน การทำบุญสุนทาน โดยไม่หวังผลกำไร มันไม่มีกฎหมายเอาผิดนะครับ เราอยากแจกใคร เราอยากให้เด็กคนไหน เราอยากให้คนยากคนจนคนใด เรามีสิทธิ์แจกได้ ไม่เป็นความผิดในกฎหมายทั้งสิ้น แต่ถ้าเกิดว่าการแจกตัวนี้มีเงื่อนไข เงื่อนไขที่ได้ไปคือทรัพย์สินของผู้ต้องการร่วมกิจกรรมหรือไม่ได้ไปที่ทรัพย์สินของเขา

มันจะมีกฎหมายฉบับหนึ่งครับ เราเรียกว่า พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ซึ่ง พ.ร.บ. นี้ ในมาตราที่ 8 เขาบอกถึงการจัดให้มีการเล่นเสี่ยงโชค ซึ่งการเล่นนี้จะต้องขออนุญาตจากกรมการปกครองก่อน ผู้ใดจัดกิจกรรมหรือฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 50 - 2000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทีนี้เนื่องจากว่าการจัดกิจกรรมเสี่ยงโชคที่มีการให้ไลก์ ให้แชร์ ในทางเฟซบุ๊ก มันไม่ได้ไปที่ทรัพย์สินของผู้ร่วมกิจกรรม เจ้าหน้าที่ของรัฐเองก็มองว่าเป็นช่องว่างทางกฎหมาย เอาผิดอะไรเขาไม่ได้

แต่ถ้ามันเป็นหวังผลกระตุ้นยอดขาย โดยมีโฆษณาแฝงไปด้วย อันนี้คือผิดมั้ยครับ

ถ้าเป็นโฆษณาแฝง ต้องบอกก่อนว่ามันไม่ได้มีกฎหมายชี้ชัดว่าเป็นความผิด มันเป็นช่องว่างทางกฎหมายที่สามารถทำได้ ซึ่งทางกรมการปกครอง เขาก็เลือกที่จำไม่ดำเนินคดี เพราะเขาบอกว่ากฎหมายไม่ชัดว่าเป็นความผิด ในกรณีที่ไม่ได้ไปที่ทรัพย์สินของผู้ร่วมเล่น มันเป็นลักษณะของการคืนกำไร เขาใช้คำนี้นะครับ ให้กับผู้บริโภค

แต่การที่ไปเช่าเงินมา แล้วมาไลฟ์สด มันก็เข้าข่ายหลอกลวงประชาชนนี่

คือถ้าจะเป็นความผิดฐานหลอกลวงหรือฉ้อโกงได้เนี่ย คือได้ไปในทรัพย์สินของผู้ตกเป็นเหยื่อ ในกรณีที่เขาไลฟ์ เขาแชร์เนี่ย มันไม่ได้ทรัพย์สินอย่างชัดเจนไง เมื่อไม่ได้ทรัพย์สินไป มันก็เป็นหลักอย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้ผิดตามหลักคอมพิวเตอร์ด้วย แต่อาจจะเป็นความผิด พ.ร.บ. การพนัน หรือเปล่า ก้จะให้กรมการปกครองดำเนินการ แต่กรมก็เคยตอบมาแล้วว่าไม่ผิด เพราะมันเป็นช่องว่าง ซึ่งบางทีผมก็ตลกเหมือนกันนะครับ ถ้านิติกรในกระทรวงหรือในหน่วยงานรัฐ ทราบว่าเป็นช่องว่าง แล้วทำไมถึงไม่อุดมัน ดก็ออกประกาศ ออกระเบียบเลยนว่า ใครไลฟ์ ใครแชร์ โดยที่ไม่ขออนุญาตกรมการปกครองก่อน จะโดนจับ ทำไมไม่ออกระเบียบให้โดนจับล่ะ หรือจะปล่อยให้เขาไปไลฟ์กันเรื่อยๆ หรือยังไง

ซึ่งกรณีอย่างงี้ก็ต้องไปตรวจสอบนะ เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ต้องไปตรวจสอบว่ามันเป็นเรื่องจริงมั้ย ว่าเงินนั้นท่านได้แต่ใดมา สรรพากรก็เห็นที่แชร์ๆ กัน ก็ลงไปตรวจดูบ้าง มีการตรวจสอบว่า มีการเสียภาษีมั้ย มันจะได้มีตัวบทกำหนดที่ชัดเจน แต่ผมก็ต้องฝากไว้อย่างหนึ่งแหละ คือสุดท้ายมันก็เป็นช่องว่างทางกฎหมาย ตราบใดที่มีการร่วมกิจกรรม สั่งซื้อของกันผ่านตัวโพสต์ตัวแชร์

หรืออย่างกรณีดารากับการขายสินค้า ถ้ามีการพิสูจน์ว่ามีผู้เสียหายจริง เพราะว่าเขาเชื่อดาราแล้วไปลงทุน แล้วขายไม่ได้ อันนี้เจ้าของแบรนด์ผิดแล้ว มีใครผิดอีกมั้ยครับ

ถ้าดารามีส่วนได้เสีย จากการได้ไปในส่วนทรัพย์สินของลูกค้า ดาราก็อาจจะมีความผิดด้วย แต่ถ้าเขารีวิวสินค้าแล้วมาโดนคดีด้วย มันก็ไม่เป็นธรรมกับดาราเท่าไหร่ ประเด็นคือเส้นทางการเงินของทรัพย์สินตัวนี้ มันมีการแบ่งสันปันส่วนให้ดาราหรือไม่ ถ้ามีการแบ่งปัน ก็น่าจะผิดตามกฎหมายได้ แล้วเมื่อสุดท้ายว่ามีการโฆษณาเกินจริง เป็นการหลอกลวงผู้บริโภคให้หลงเชื่อและไปสมัครสมาชิก ก็เข้าข่ายฉ้อโกงแล้วนะ

แต่ถ้าเป็นในแบบเชียร์สินค้า มันไม่เข้าข่ายหลอกลวงหรอกครับ ถามว่าผิดกฎหมายมั้ย มันก็ไม่มีกฎหมายห้าม เป็นจิตวิทยาในการขายของ ซึ่งทุกคนก็มีสิทธิ์ทำได้ มันเป็นเรื่องจริยธรรมของการขายสินค้ามากกว่า เพียงแต่ที่คุณไปบอกว่าสินค้าตัวนี้ เอาไปเถอะ ยังไงก็ขายได้ ผมมีเงินเก็บเป็นล้าน เอาเงินไว้แจกฟรียังได้เลย แล้วพอไปตรวจสอบ ปรากฏว่าเป็นการกล่าวอ้าง แล้วการไลฟ์สดก็เป็นปลอมๆ อันนี้อาจจะเป็นการเข้าข่ายผิดอาญาได้

คำว่าจริยธรรมมันใช้กับคนพวกนี้ได้ด้วยเหรอ

คือถ้าไม่มีจริยธรรมมันก็ต้องมีกฎหมายมาดูและ แต่ถ้าไม่มีกำหมายมาดูแล มันก็ต้องใช้จริยธรรมมาดูแลแทน ต้องขอร้อง อ้อนวอน เราต้องพยายามครับ พยายามให้ดูแลได้ แต่ถ้าหลักจริยธรรมมันใช้ไม่ได้ สุดท้ายมันก็กลับมาในหลักศาสนา ว่าปล่อยวาง ประชาชนจะถูกหลอกก็ไม่เป็นไร ก็ถูกหลอกกันทั้งประเทศ โดนหลอกอย่างเท่าเทียมกัน ปล่อยวางก็ปล่อยวาง เขาจะโฆษณาอะไรไปก็เรื่องของเขา รอให้มีเด็กตายก่อนแล้วค่อยมาจับก็ได้ก็ไม่ว่า



กำลังโหลดความคิดเห็น