คลิปคุณครูสุดเฟี้ยว ใส่ทั้งปีกนางฟ้า มีทั้งแว่นตาและสวมมงกุฎสีชมพูหวานแหวว เข้าสอนวิชาคณิตศาสตร์บวกกับลีลาการสอนสุดล้ำ ดึงความสนใจให้นักเรียนแย่งกันเรียน แข่งกันตอบโจทย์คณิตศาสตร์บนกระดานดำ
ยอมรับว่า นั่นเป็นภาพแรกๆ ที่ทำให้เราสนอกสนใจในตัวของเรือจ้างซึ่งอยู่ในคลิปดังกล่าวที่มีคนกดดูไป 5 ล้านกว่าวิว ในช่วงเวลาไม่กี่วัน

“ครูเอฟ” หรือ “พงษ์พันธ์ จันทร์เพ็ง” วัย 42 ปี ครู คศ.2 ชำนาญการ ภาควิชาคณิตศาสตร์ แห่งโรงเรียนวัดสุทธิวราราม จากเด็กตกเลขเกรดศูนย์ สู่การเพียรพยายามร่ำเรียนกระทั่งพิชิตผ่านหลักเกณฑ์ตัดสัดส่วนเกือบเต็มร้อย ก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นครูสอนคณิตศาสตร์อย่างเข้าอกเข้าใจนักเรียน
• ครูเอฟฟี่ ถือกำเนิดเกิดขึ้นจากแห่งหนตำบลไหน
ผมเป็นคนจังหวัดตรังครับ บ้านอยู่ที่อำเภอปะเหลียน คุณพ่อรับราชการกรมป่าไม้ คุณแม่ทำงานโรงแรม ไม่มีเชื้อทางสายครูเลย สาเหตุที่มาเป็นครู จริงๆ สมัยเรา ผมจะพูดกับเด็กเสมอว่าพวกนายโชคดีนะที่เดี๋ยวนี้การแนะแนวก็ดี โซเชียลฯ ก็ดี ทำให้ได้รับรู้โลกที่เปิดกว้าง เราจบมัธยมปลาย เราจะไปทางไหน มีทิศทางอย่างไร ในขณะที่สมัยก่อน 20 กว่าปี โลกการสื่อสารยังแคบ ไม่ได้มีการแนะแนวอะไรมากมาย
พอจบ ม.6 ก็ต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ด้วยโควตาความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี เขาก็ให้เลือกคณะว่าเราอยากจะอยู่คณะอะไร ตอนนั้นเรามีความรู้สึกกับวิชาเลข เพราะตอนเรียน ม.4 สมัยเรียน เราติดศูนย์วิชาเลข ก็แค้นใจตัวเอง พอเทอมสองก็ได้เกรด 1 ด้วยคะแนนที่เฉียดฉิว ก็มีความรู้สึกว่าต้องไปเรียนพิเศษ ซึ่งบ้านกับที่เรียนอยู่ห่างกันมาก แต่ก็ทำให้ได้เกรด 3 และเกรด 4
ตรงนี้ก็เกิดการฉุกคิดว่ามันน่าจะเกิดจากการสื่อสารของครูกับเราที่อาจจะมีช่องโหว่ ที่เคยเจอ คือครูท่านส่วนมากก็จะถามในวันแรกๆ ว่าถ้ามีอะไรไม่เข้าใจให้ถามนะ แต่วันแรกๆ มันก็ยังจะไม่มีอะไร วันที่สองก็อาจจะมีนิดหน่อยที่เราไม่เข้าใจแท้จริง แต่เราไม่รู้ คิดว่าเข้าใจ ทีนี้วันต่อๆ มา มันก็จะเริ่มๆ เข้าใจผิด พอปลายๆ ยกมือถาม ตรงนี้ไม่เข้าใจ หลังจากนั้นมาเป็นชุดใหญ่เลย ทำไมไม่รู้เรื่อง ไม่ฟัง อย่างนั้นอย่างนี้ เราจำช็อตตรงนั้นได้ เรามาวันนี้ เราเรียนเลขได้ ก็คิดว่าเราจะสามารถเติมเต็มตรงนั้นได้ ก็ตัดสินใจเลือกเป็นครูคณิตศาสตร์ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ 20 ปี

• เกิดแรงบันดาลใจจากตรงนั้นเลยทันที
ส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในทีเดียว ตอนแรกที่มาเป็นครูสอน ก็สอนตามอย่างแบบครูปกติธรรมดา สอนตามแผนการเรียนการสอน แต่เราจะสอดแทรกความบันเทิงของเราอยู่แล้วนิดๆ หน่อยๆ แต่ไม่ถึงกับเป็นครูเอฟฟี่เหมือน ณ วันนี้ ก็ค่อยๆ เอาสื่อการเรียนการสอนคลิปของต่างชาติบ้าง คลิปของคนไทยบ้าง จากประสบการณ์ที่ได้จนได้ไปเป็นพิธีกรสอนคณิตศาสตร์ประถม เด็ก ป.1-6 ทางช่อง ETV ช่วงปี 2547 ก็ค่อยๆ สั่งสมเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกและสุขประปราย แต่เด็กก็จะสนใจดูแค่แป๊บๆ ระดับหนึ่งแล้วก็หลังจากนั้นผ่านไป เขาก็จะไม่สนใจอะไรอีก
เราอยากให้ห้องเรียนของเรามีความสุขมากขึ้น ทำอย่างไรดี เราจะเติมเต็มตรงไหนได้อีก นอกจากที่จะแค่เรียนไปอย่างเดียว รับความรู้จากครูไปอย่างเดียว แล้วเราจะทำอย่างไรได้ ก็พยายามคิดว่าตัวครูเองที่จะต้องเป็นตัวกลางระหว่างนักเรียนกับความรู้ให้ได้ แต่เราจะต้องทำอย่างไรให้เด็กเรียนรู้กับเราบนความสุขให้ได้ นั่นคือความบันเทิงที่เด็กจะต้องได้รับด้วย
• ต้องทำเบอร์นั้นเลย
เด็กสมัยนี้มีสิ่งเร้าให้เบนความสนใจมาก เราต้องตามโลกให้ทัน เราจะอยู่นิ่งกับที่ตามเดิมไม่ได้ เด็กสมัยนี้เป็นเด็กโซเชียล ไม่เหมือนสมัยเรา ที่แทบทุกสิ่งอย่างจะต้องเรียนรู้จากครู เพราะฉะนั้น เราจะต้องหาวิธีการยังไงให้เด็กเกิดความสนใจให้ได้
ถ้าถามว่าเหนื่อยไหม ก็ยอมรับว่าเหนื่อย แต่ก็มีความสุข ไม่ได้ตอบเอาดูหล่อ เหนื่อย แต่สิ่งที่ได้รับกลับมา เรามีความสุข เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม การตอบคำถาม การเห็นสายตาที่เขามองมาที่เรา การได้เห็นแววตาที่เขามีความสุข พอวันนี้เราใช้การสอนในลักษณะนี้ เด็กสนใจเรามากขึ้น มีสมาธิ มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ นั่นคือการที่จะทำให้เราหายเหนื่อยจากทั้งหมด

• เราไม่ใช่เรือจ้างอย่างเดียว เราเป็นเหมือนพี่ที่ชักจูงนำ
เป็นเพื่อนที่ไปพร้อมๆ กันกับเขา เป็นเพื่อนที่ไปด้วยกัน เป็นเพื่อนกัน ไม่ได้เป็นแค่คนที่คอยพายเรือให้เขาไป ถึงแม้เราจะพายเรือไปพร้อมกัน แต่เขาจะต้องอยู่บนเรือเราอย่างมีความสุข เขาจะต้องนั่งเรือเราอย่างมีความสุขให้ได้ เราจะต้องหาวิธีการอย่างไรให้เขาเกิดความสุขกับการนั่งเรือของเราให้ได้ ไม่ใช่เขาไม่มีความสุข เขาจะกระโดดออกข้างทาง ลงน้ำ เขาไม่อยากอยู่บนเรือของเรา เราก็ต้องหาวิธีการที่ทำให้เขาอยู่กับเราแล้วอยู่ให้ได้อย่างมีความสุขให้ได้ และไปถึงฝั่ง
• ครูต้องทำอย่างไรให้มีเส้นแบ่งขอบเขตที่เหมาะสม
เราไม่ได้แต่งทุกวัน เพราะวัตถุประสงค์ของเราคือจุดประกายแห่งการเรียนรู้ เราเลยไม่แต่งทุกวันทุกคาบ คือในหนึ่งสัปดาห์ก็อาจจะครั้งหนึ่ง เพื่อให้สารที่เราสื่อยังคงได้ผล ถ้าเราทำแบบนี้ทุกครั้ง มันก็จะเหมือนรูปแบบเดิม กลับไปในรูปแบบเดิมๆ ที่ครูคนเดิม ฉะนั้น ถ้าเราเปลี่ยนตลอดเวลา เราคิดเสมอว่า ทฤษฎีคนแปลกหน้า เคยสังเกตหลายๆ ที่ ที่เราไปติวกับโรงเรียนต่างๆ จะรับรู้ว่าเขามีความสุขจังเลย ทั้งๆ ที่ความรู้หรือเนื้อหามันก็ไมได้ต่างจากครูที่เขาสอนหรอก แต่เหมือนกับเด็กเจอครูคนใหม่แล้วเด็กจะมีความสนใจใคร่รู้ตามวันวัยของเขาที่มักจะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ปัญหาที่เราต้องเจอเขาตลอดเวลา เราก็เลยต้องทำเป็นคนแปลกหน้า เป็นครูคนใหม่นะ เขามาสอนมาเจอกับเขา
เขาอยากสนุกตลอดเวลา แต่เราต้องทำให้เขารู้จักสนุกอย่างมีสาระควบคู่ไปด้วยกัน แถมการที่เขาชอบ เขาจะเรียกร้อง เขาก็จะเกิดการสร้างวินัยของความอดทนในการรอคอยไปด้วยในตัว

• ที่มาของแฮชแท็ก #ธรรมดาโลกไม่จำ อันเป็นคาแรกเตอร์ที่หลายคนยกย่อง
แฮชแท็กนี้ ผมบอกได้เลยว่าเกิดจากไอเดียของเด็กในห้องเรียน แล้วเลาที่เขาจะถ่ายรูป เขามักจะพูดว่าธรรมดาโลกไม่จำ พร้อมกับนับ 1-2-3 แล้วก็แชะ ทำท่าที่ไม่เหมือนคนอื่น นี่คือคีย์เวิร์ดจุดเริ่มต้น แล้วเราก็กลับมาคิดกับตัวเอง ธรรมดาโลกไม่จำในตัวของครู เราจะทำอย่างไรให้ธรรมดาโลกไม่จำ โลกถึงจะจำเราได้ เราก็ต้องไม่ธรรมดาโลกถึงจะจดจำเราได้ ก็เลยลองหาวิธีการทำออกมาอย่างในคลิป ถ้ามันใส่ปีกนางฟ้าใส่แว่นตาสวมมงกุฎสีชมพูอย่างนี้ออกมา มันจะเป็นอย่างไรบ้าง
• สรุปเป็นอย่างไร นักเรียนสนใจตอบรับมากน้อยแค่ไหน
ก่อนหน้านี้ก็เคยทำมาบ้างแต่ไม่ทำบ่อยๆ ก็เลยลองมาใส่ ซึ่งห้องในคลิปวันนั้นจะต้องไปสอนติว O-Net ก็คิดว่าจะทำอย่างไรดีให้เด็กเรียน O-Net อย่างมีความสุขหลังจากที่เขาก็เรียนวิชาความรู้หลักๆ ของเขาอยู่แล้ว ผลที่ได้รับก็เกินความคาดหมายเป็นอย่างมาก เนื่องจากห้องต้นเรื่องดังกล่าวเขาเป็นเด็กเรียนกันอยู่แล้ว บางทีเราแทบไม่จำเป็นจะต้องใส่อะไรให้เต็มที่เข้าไปด้วยซ้ำ แต่พอเราใส่เข้าไป สิ่งที่เราได้รับกลับมาก็คือความสุขที่ไม่เคยเกิดขึ้น ความทรงจำความประทับใจที่มันมากขึ้นกว่าเดิม เติมความสร้างสรรค์เข้าไป เพราะความรู้มันก็คู่ความสร้างสรรค์อยู่แล้ว ฉะนั้น ตัวเราเองต้องเป็นบุคคลจุดประกายความสร้างสรรค์ตรงนั้นออกมาให้ได้ ให้มีเกิดขึ้นให้ได้
• มีฟีดแบ็กอย่างไรบ้างอีก นอกจากเด็กๆ มีความสุข
คือก่อนจะทำ เราคิดแล้วว่าเดี๋ยวมันจะต้องมีฟีดแบ็กวิพากษ์วิจารณ์ “เฮ้ย…ทำไมครูทำแบบนี้” แต่ เราลองชั่งนั่งน้ำหนักระหว่างความสุขของเด็กที่เราจะทุ่มเทลงไปกับฟี้ดแบ็คที่เราจะได้รับกลับมา คิดว่าความสุของเด็กที่มันอยู่ในห้อง มันคงจะมีน้ำหนักที่มากกว่า ก็เลยกล้าที่จะทำแบบนี้ และไม่ใช่แค่อย่างน้อย แต่มันคือสิ่งสำคัญเลย นักเรียนอยากเรียนรู้ นักเรียนเกิดความสนใจ มีความสนใจตลอดเวลา เด็กได้ความรู้แถมมีความสุข ถึงเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็เป็นสารตั้งต้นที่ดีที่เขาจะเกิดการอยากเรียนรู้ด้วยตัวเขาเอง

แต่ถ้าเขาไม่มีความสุขตั้งแต่แรก พรุ่งนี้ก็ไม่มี ถ้าเราจุดประกายเริ่มต้นแล้ว ครั้งต่อไป ก็เกิดจากตัวเขา ถึงแม้เราจะไปลุคที่ไม่ใช่ครูเอฟฟี่ เป็นลุคของครูพงษ์พันธ์ จันทร์เพ็ง ซึ่งเราก็มีการแบ่ง ไม่ได้แต่งทุกวัน แต่เขาก็มีความเชื่อมต่อ นั่นคือความเป็นมิตรความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนั่งเรียน คุยกันได้ แนะนำกันได้ ตักเตือน พูดคุยกันตลอด
• อนาคตวางหมุดหมายแนวทางการเรียนการสอนของเราว่าจะพัฒนาอย่างไรต่อไปอีกไหม
ก็คิดว่าจะต้องปรับเปลี่ยนไปตามโลก คือไม่รู้ว่าเด็กจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้าง รู้แค่ว่าตัวเราต้อปรับไปหาเขาให้ได้ เราต้องเปลี่ยนแปลงไปตามตัวเด็กให้ได้ เด็กอยากเรียนรู้แบบไหน แต่ยังไงก็ตาม เราเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า ครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้จริงๆ ครูต้องเป็นผู้ที่ถ่ายถอดความรู้ให้กับเด็กให้ได้ แต่ตัวครูเองจะต้องมีวิธีการ หลักการ ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ของเราไปสู่เด็กให้ได้มากที่สุด
• การันตีเรื่องความสุข แต่สาระยังคงเต็มคาบ
ก็ไม่ทิ้งหลักการ ทักษะบนความสุขที่เด็กจะได้รับ ย้อนมองกลับไปสมัยก่อนเราเรียน เรายังไม่ค่อยมีความสุขกับการเรียนเท่าไหร่ แล้วผลการเรียนของเราเป็นอย่างไร มาวันนี้เราต้องทำให้เขาเรียนรู้อย่างมีความสุขให้ได้ วันข้างหน้าที่เราจะต้องทำต่อไป เพราะครูจริงๆ เหมือนนักแสดงคนหนึ่งที่จะต้องเป็นผู้แสดง แต่การแสดงของครูจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นครู เราไม่ได้แสดงเพื่อความบันเทิง แต่เราแสดงเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ฉะนั้นนักแสดงทั่วไปแสดงเพื่อให้เกิดความบันเทิง ความสุข แต่เราต้องแสดงเพื่อให้เกิดความบันเทิง ความสุข และเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันให้ได้ นั่นคือสิ่งสำคัญ


เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ครูเอฟ สิงห์สะพานปลา
ยอมรับว่า นั่นเป็นภาพแรกๆ ที่ทำให้เราสนอกสนใจในตัวของเรือจ้างซึ่งอยู่ในคลิปดังกล่าวที่มีคนกดดูไป 5 ล้านกว่าวิว ในช่วงเวลาไม่กี่วัน
“ครูเอฟ” หรือ “พงษ์พันธ์ จันทร์เพ็ง” วัย 42 ปี ครู คศ.2 ชำนาญการ ภาควิชาคณิตศาสตร์ แห่งโรงเรียนวัดสุทธิวราราม จากเด็กตกเลขเกรดศูนย์ สู่การเพียรพยายามร่ำเรียนกระทั่งพิชิตผ่านหลักเกณฑ์ตัดสัดส่วนเกือบเต็มร้อย ก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นครูสอนคณิตศาสตร์อย่างเข้าอกเข้าใจนักเรียน
• ครูเอฟฟี่ ถือกำเนิดเกิดขึ้นจากแห่งหนตำบลไหน
ผมเป็นคนจังหวัดตรังครับ บ้านอยู่ที่อำเภอปะเหลียน คุณพ่อรับราชการกรมป่าไม้ คุณแม่ทำงานโรงแรม ไม่มีเชื้อทางสายครูเลย สาเหตุที่มาเป็นครู จริงๆ สมัยเรา ผมจะพูดกับเด็กเสมอว่าพวกนายโชคดีนะที่เดี๋ยวนี้การแนะแนวก็ดี โซเชียลฯ ก็ดี ทำให้ได้รับรู้โลกที่เปิดกว้าง เราจบมัธยมปลาย เราจะไปทางไหน มีทิศทางอย่างไร ในขณะที่สมัยก่อน 20 กว่าปี โลกการสื่อสารยังแคบ ไม่ได้มีการแนะแนวอะไรมากมาย
พอจบ ม.6 ก็ต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ด้วยโควตาความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี เขาก็ให้เลือกคณะว่าเราอยากจะอยู่คณะอะไร ตอนนั้นเรามีความรู้สึกกับวิชาเลข เพราะตอนเรียน ม.4 สมัยเรียน เราติดศูนย์วิชาเลข ก็แค้นใจตัวเอง พอเทอมสองก็ได้เกรด 1 ด้วยคะแนนที่เฉียดฉิว ก็มีความรู้สึกว่าต้องไปเรียนพิเศษ ซึ่งบ้านกับที่เรียนอยู่ห่างกันมาก แต่ก็ทำให้ได้เกรด 3 และเกรด 4
ตรงนี้ก็เกิดการฉุกคิดว่ามันน่าจะเกิดจากการสื่อสารของครูกับเราที่อาจจะมีช่องโหว่ ที่เคยเจอ คือครูท่านส่วนมากก็จะถามในวันแรกๆ ว่าถ้ามีอะไรไม่เข้าใจให้ถามนะ แต่วันแรกๆ มันก็ยังจะไม่มีอะไร วันที่สองก็อาจจะมีนิดหน่อยที่เราไม่เข้าใจแท้จริง แต่เราไม่รู้ คิดว่าเข้าใจ ทีนี้วันต่อๆ มา มันก็จะเริ่มๆ เข้าใจผิด พอปลายๆ ยกมือถาม ตรงนี้ไม่เข้าใจ หลังจากนั้นมาเป็นชุดใหญ่เลย ทำไมไม่รู้เรื่อง ไม่ฟัง อย่างนั้นอย่างนี้ เราจำช็อตตรงนั้นได้ เรามาวันนี้ เราเรียนเลขได้ ก็คิดว่าเราจะสามารถเติมเต็มตรงนั้นได้ ก็ตัดสินใจเลือกเป็นครูคณิตศาสตร์ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ 20 ปี
• เกิดแรงบันดาลใจจากตรงนั้นเลยทันที
ส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในทีเดียว ตอนแรกที่มาเป็นครูสอน ก็สอนตามอย่างแบบครูปกติธรรมดา สอนตามแผนการเรียนการสอน แต่เราจะสอดแทรกความบันเทิงของเราอยู่แล้วนิดๆ หน่อยๆ แต่ไม่ถึงกับเป็นครูเอฟฟี่เหมือน ณ วันนี้ ก็ค่อยๆ เอาสื่อการเรียนการสอนคลิปของต่างชาติบ้าง คลิปของคนไทยบ้าง จากประสบการณ์ที่ได้จนได้ไปเป็นพิธีกรสอนคณิตศาสตร์ประถม เด็ก ป.1-6 ทางช่อง ETV ช่วงปี 2547 ก็ค่อยๆ สั่งสมเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกและสุขประปราย แต่เด็กก็จะสนใจดูแค่แป๊บๆ ระดับหนึ่งแล้วก็หลังจากนั้นผ่านไป เขาก็จะไม่สนใจอะไรอีก
เราอยากให้ห้องเรียนของเรามีความสุขมากขึ้น ทำอย่างไรดี เราจะเติมเต็มตรงไหนได้อีก นอกจากที่จะแค่เรียนไปอย่างเดียว รับความรู้จากครูไปอย่างเดียว แล้วเราจะทำอย่างไรได้ ก็พยายามคิดว่าตัวครูเองที่จะต้องเป็นตัวกลางระหว่างนักเรียนกับความรู้ให้ได้ แต่เราจะต้องทำอย่างไรให้เด็กเรียนรู้กับเราบนความสุขให้ได้ นั่นคือความบันเทิงที่เด็กจะต้องได้รับด้วย
• ต้องทำเบอร์นั้นเลย
เด็กสมัยนี้มีสิ่งเร้าให้เบนความสนใจมาก เราต้องตามโลกให้ทัน เราจะอยู่นิ่งกับที่ตามเดิมไม่ได้ เด็กสมัยนี้เป็นเด็กโซเชียล ไม่เหมือนสมัยเรา ที่แทบทุกสิ่งอย่างจะต้องเรียนรู้จากครู เพราะฉะนั้น เราจะต้องหาวิธีการยังไงให้เด็กเกิดความสนใจให้ได้
ถ้าถามว่าเหนื่อยไหม ก็ยอมรับว่าเหนื่อย แต่ก็มีความสุข ไม่ได้ตอบเอาดูหล่อ เหนื่อย แต่สิ่งที่ได้รับกลับมา เรามีความสุข เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม การตอบคำถาม การเห็นสายตาที่เขามองมาที่เรา การได้เห็นแววตาที่เขามีความสุข พอวันนี้เราใช้การสอนในลักษณะนี้ เด็กสนใจเรามากขึ้น มีสมาธิ มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ นั่นคือการที่จะทำให้เราหายเหนื่อยจากทั้งหมด
• เราไม่ใช่เรือจ้างอย่างเดียว เราเป็นเหมือนพี่ที่ชักจูงนำ
เป็นเพื่อนที่ไปพร้อมๆ กันกับเขา เป็นเพื่อนที่ไปด้วยกัน เป็นเพื่อนกัน ไม่ได้เป็นแค่คนที่คอยพายเรือให้เขาไป ถึงแม้เราจะพายเรือไปพร้อมกัน แต่เขาจะต้องอยู่บนเรือเราอย่างมีความสุข เขาจะต้องนั่งเรือเราอย่างมีความสุขให้ได้ เราจะต้องหาวิธีการอย่างไรให้เขาเกิดความสุขกับการนั่งเรือของเราให้ได้ ไม่ใช่เขาไม่มีความสุข เขาจะกระโดดออกข้างทาง ลงน้ำ เขาไม่อยากอยู่บนเรือของเรา เราก็ต้องหาวิธีการที่ทำให้เขาอยู่กับเราแล้วอยู่ให้ได้อย่างมีความสุขให้ได้ และไปถึงฝั่ง
• ครูต้องทำอย่างไรให้มีเส้นแบ่งขอบเขตที่เหมาะสม
เราไม่ได้แต่งทุกวัน เพราะวัตถุประสงค์ของเราคือจุดประกายแห่งการเรียนรู้ เราเลยไม่แต่งทุกวันทุกคาบ คือในหนึ่งสัปดาห์ก็อาจจะครั้งหนึ่ง เพื่อให้สารที่เราสื่อยังคงได้ผล ถ้าเราทำแบบนี้ทุกครั้ง มันก็จะเหมือนรูปแบบเดิม กลับไปในรูปแบบเดิมๆ ที่ครูคนเดิม ฉะนั้น ถ้าเราเปลี่ยนตลอดเวลา เราคิดเสมอว่า ทฤษฎีคนแปลกหน้า เคยสังเกตหลายๆ ที่ ที่เราไปติวกับโรงเรียนต่างๆ จะรับรู้ว่าเขามีความสุขจังเลย ทั้งๆ ที่ความรู้หรือเนื้อหามันก็ไมได้ต่างจากครูที่เขาสอนหรอก แต่เหมือนกับเด็กเจอครูคนใหม่แล้วเด็กจะมีความสนใจใคร่รู้ตามวันวัยของเขาที่มักจะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ปัญหาที่เราต้องเจอเขาตลอดเวลา เราก็เลยต้องทำเป็นคนแปลกหน้า เป็นครูคนใหม่นะ เขามาสอนมาเจอกับเขา
เขาอยากสนุกตลอดเวลา แต่เราต้องทำให้เขารู้จักสนุกอย่างมีสาระควบคู่ไปด้วยกัน แถมการที่เขาชอบ เขาจะเรียกร้อง เขาก็จะเกิดการสร้างวินัยของความอดทนในการรอคอยไปด้วยในตัว
• ที่มาของแฮชแท็ก #ธรรมดาโลกไม่จำ อันเป็นคาแรกเตอร์ที่หลายคนยกย่อง
แฮชแท็กนี้ ผมบอกได้เลยว่าเกิดจากไอเดียของเด็กในห้องเรียน แล้วเลาที่เขาจะถ่ายรูป เขามักจะพูดว่าธรรมดาโลกไม่จำ พร้อมกับนับ 1-2-3 แล้วก็แชะ ทำท่าที่ไม่เหมือนคนอื่น นี่คือคีย์เวิร์ดจุดเริ่มต้น แล้วเราก็กลับมาคิดกับตัวเอง ธรรมดาโลกไม่จำในตัวของครู เราจะทำอย่างไรให้ธรรมดาโลกไม่จำ โลกถึงจะจำเราได้ เราก็ต้องไม่ธรรมดาโลกถึงจะจดจำเราได้ ก็เลยลองหาวิธีการทำออกมาอย่างในคลิป ถ้ามันใส่ปีกนางฟ้าใส่แว่นตาสวมมงกุฎสีชมพูอย่างนี้ออกมา มันจะเป็นอย่างไรบ้าง
• สรุปเป็นอย่างไร นักเรียนสนใจตอบรับมากน้อยแค่ไหน
ก่อนหน้านี้ก็เคยทำมาบ้างแต่ไม่ทำบ่อยๆ ก็เลยลองมาใส่ ซึ่งห้องในคลิปวันนั้นจะต้องไปสอนติว O-Net ก็คิดว่าจะทำอย่างไรดีให้เด็กเรียน O-Net อย่างมีความสุขหลังจากที่เขาก็เรียนวิชาความรู้หลักๆ ของเขาอยู่แล้ว ผลที่ได้รับก็เกินความคาดหมายเป็นอย่างมาก เนื่องจากห้องต้นเรื่องดังกล่าวเขาเป็นเด็กเรียนกันอยู่แล้ว บางทีเราแทบไม่จำเป็นจะต้องใส่อะไรให้เต็มที่เข้าไปด้วยซ้ำ แต่พอเราใส่เข้าไป สิ่งที่เราได้รับกลับมาก็คือความสุขที่ไม่เคยเกิดขึ้น ความทรงจำความประทับใจที่มันมากขึ้นกว่าเดิม เติมความสร้างสรรค์เข้าไป เพราะความรู้มันก็คู่ความสร้างสรรค์อยู่แล้ว ฉะนั้น ตัวเราเองต้องเป็นบุคคลจุดประกายความสร้างสรรค์ตรงนั้นออกมาให้ได้ ให้มีเกิดขึ้นให้ได้
• มีฟีดแบ็กอย่างไรบ้างอีก นอกจากเด็กๆ มีความสุข
คือก่อนจะทำ เราคิดแล้วว่าเดี๋ยวมันจะต้องมีฟีดแบ็กวิพากษ์วิจารณ์ “เฮ้ย…ทำไมครูทำแบบนี้” แต่ เราลองชั่งนั่งน้ำหนักระหว่างความสุขของเด็กที่เราจะทุ่มเทลงไปกับฟี้ดแบ็คที่เราจะได้รับกลับมา คิดว่าความสุของเด็กที่มันอยู่ในห้อง มันคงจะมีน้ำหนักที่มากกว่า ก็เลยกล้าที่จะทำแบบนี้ และไม่ใช่แค่อย่างน้อย แต่มันคือสิ่งสำคัญเลย นักเรียนอยากเรียนรู้ นักเรียนเกิดความสนใจ มีความสนใจตลอดเวลา เด็กได้ความรู้แถมมีความสุข ถึงเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็เป็นสารตั้งต้นที่ดีที่เขาจะเกิดการอยากเรียนรู้ด้วยตัวเขาเอง
แต่ถ้าเขาไม่มีความสุขตั้งแต่แรก พรุ่งนี้ก็ไม่มี ถ้าเราจุดประกายเริ่มต้นแล้ว ครั้งต่อไป ก็เกิดจากตัวเขา ถึงแม้เราจะไปลุคที่ไม่ใช่ครูเอฟฟี่ เป็นลุคของครูพงษ์พันธ์ จันทร์เพ็ง ซึ่งเราก็มีการแบ่ง ไม่ได้แต่งทุกวัน แต่เขาก็มีความเชื่อมต่อ นั่นคือความเป็นมิตรความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนั่งเรียน คุยกันได้ แนะนำกันได้ ตักเตือน พูดคุยกันตลอด
• อนาคตวางหมุดหมายแนวทางการเรียนการสอนของเราว่าจะพัฒนาอย่างไรต่อไปอีกไหม
ก็คิดว่าจะต้องปรับเปลี่ยนไปตามโลก คือไม่รู้ว่าเด็กจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้าง รู้แค่ว่าตัวเราต้อปรับไปหาเขาให้ได้ เราต้องเปลี่ยนแปลงไปตามตัวเด็กให้ได้ เด็กอยากเรียนรู้แบบไหน แต่ยังไงก็ตาม เราเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า ครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้จริงๆ ครูต้องเป็นผู้ที่ถ่ายถอดความรู้ให้กับเด็กให้ได้ แต่ตัวครูเองจะต้องมีวิธีการ หลักการ ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ของเราไปสู่เด็กให้ได้มากที่สุด
• การันตีเรื่องความสุข แต่สาระยังคงเต็มคาบ
ก็ไม่ทิ้งหลักการ ทักษะบนความสุขที่เด็กจะได้รับ ย้อนมองกลับไปสมัยก่อนเราเรียน เรายังไม่ค่อยมีความสุขกับการเรียนเท่าไหร่ แล้วผลการเรียนของเราเป็นอย่างไร มาวันนี้เราต้องทำให้เขาเรียนรู้อย่างมีความสุขให้ได้ วันข้างหน้าที่เราจะต้องทำต่อไป เพราะครูจริงๆ เหมือนนักแสดงคนหนึ่งที่จะต้องเป็นผู้แสดง แต่การแสดงของครูจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นครู เราไม่ได้แสดงเพื่อความบันเทิง แต่เราแสดงเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ฉะนั้นนักแสดงทั่วไปแสดงเพื่อให้เกิดความบันเทิง ความสุข แต่เราต้องแสดงเพื่อให้เกิดความบันเทิง ความสุข และเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันให้ได้ นั่นคือสิ่งสำคัญ
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ครูเอฟ สิงห์สะพานปลา