หากย้อนไปในช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลายคนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล คงต้องพบกับปรากฏการณ์หนึ่งทางอากาศ นั่นคือมีกลุ่มควันกลุ่มหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายหมอกเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวัน ที่นอกจากจะสร้างทัศนวิสัยที่ไม่ดีโดยรวมแล้ว ยังได้สร้างทั้งความขุ่นมัวในการดำรงชีวิตที่ต้องเผชิญกับการสูดดมกลุ่มควันเหล่านี้แบบไม่ตั้งใจเข้าไปด้วยเช่นกัน

ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นแค่กลุ่มควันที่ผ่านเข้ามาและจากไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้าพูดถึงในแง่ของสภาพอากาศแล้ว เหตุการณ์นี้เปรียบเหมือนกับการส่งสัญญาณย่อมๆ ต่อเมืองไทยในภาพรวมอยู่พอสมควร ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว เพื่อที่ครั้งต่อไป คนไทยจะได้เตรียมรับมือกับภาวะนี้อย่างไม่ต้องเกรงกลัวอีก

หนึ่งปัญหาของผลลัพธ์
คือการสะสมของมลพิษ
ด้วยสภาวะโดยรวมของกรุงเทพฯ ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหานครหนึ่งของโลกที่มีเรื่องของความแออัดสะสมจากไอเสียยานพาหนะ นั่นจึงเป็นที่มาของการเกิดปัญหามลพิษทางอากาศในระดับหนึ่ง ซึ่งเมื่อมาประสบกับสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจด้วยแล้ว คำตอบของปรากฏการณ์มลพิษทางอากาศจึงได้เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจนั่นเอง
“อันดับแรกก่อนเลยนะครับ กทม. เป็นเมืองใหญ่ มีประชากรเกิน 10 ล้านคน ซึ่งถ้าเทียบก็เปรียบได้ว่าเป็นหัวเมืองใหญ่ในระดับต้นๆ ของเอเชีย แน่นอนว่าจะต้องมีการปลดปล่อยมลพิษ โดยเฉพาะไอเสียจากยานพาหนะนี่คือเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้วในเขต กทม. แต่อย่างไรก็ตามในเขตปริมณฑล ก็จะมีการเผาในที่โล่งแจ้ง เรื่องของควันที่มาจากอุตสาหกรรมก็มาด้วย นี่คือเป็นการผสมกัน รวมกัน แต่หลักๆ ที่ผมเคยทำงานวิจัยมา ถ้าเป็นแหล่งปลดปล่อยสารก่อมะเร็งเกิน 70-80 เปอร์เซ็นต์เลย จะมาจากท่อไอเสียจากยานพาหนะ นี่คือสิ่งที่เราพบ ซึ่งนั่นคือแหล่งปลดปล่อยหลักอยู่แล้ว
“ทีนี้ในสภาวะปกติ กรุงเทพฯจะได้รับอิทธิพลจากลมบก ลมทะเล ช่วยระบายไม่ให้มลพิษนั้นสะสมไว้นาน ซึ่งการที่มลพิษไม่ได้ตกค้างนานเกินไป มันก็เลยทำให้คุณภาพอากาศที่ไม่เลวร้ายกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งต้องเข้าใจสถานการณ์ตรงนี้ก่อน จริงๆ แล้ว แหล่งปลดปล่อยมันมีเยอะเลยแหละ แต่เนื่องจากสภาพมวลอากาศที่มีการไหลหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากกรุงเทพฯ ใกล้กับทะเลอ่าวไทย ฉะนั้นเลยได้รับอิทธิพลของลมบก ลมทะเลที่จะช่วยระบายมลพิษออกไปสู่อ่าวไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วหลังจากนั้นอากาศบริสุทธิ์จากอ่าวไทยก็พัดเข้ามา นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างในช่วงเวลากลางวัน มวลอากาศที่เย็นกว่า จากอ่าวไทย จะไหลเข้ามาที่แผ่นดิน
“แล้วพอถึงช่วงเวลากลางคืน พอน้ำเริ่มคลายความร้อน จากที่มันดูดพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์สะสมเก็บไว้ในเวลากลางวัน มวลอากาศที่ร้อนก็จะยกตัวขึ้น มวลอากาศที่เย็นกว่าในตอนกลางคืน จากแผ่นดินใหญ่ คือจาก กทม. ก็จะไหลสู่อ่าวไทย เพราะฉะนั้นมันจะเป็นการระบายของมลพิษสะสมในเวลากลางวันออกไปในช่วงกลางคืน แล้วช่วงเช้ามวลอากาศที่บริสุทธิ์ก็จะพัดเข้า ซึ่งอันนี้จะเป็นระบบการระบาย การถ่ายเท ไม่มีมลพิษสะสมไว้มากกว่าที่ควรจะเป็น
“ทีนี้สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ มันเกิดภาวะที่ว่าอากาศนิ่ง ไม่เกิดการถ่ายเท คงที่ เมื่อภาวะอากาศมันนิ่งปั๊บ ลมข้างนอกแทบจะไม่กระดิกเลย ซึ่งลักษณะการเกิดภาวะอากาศนิ่ง มันจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงฤดูหนาว เพราะฤดูหนาวจะมีแบบนี้เยอะ ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่า ปรากฏการณ์นี้ทำให้การถ่ายเทของมลพิษมันไม่เกิดขึ้น ทีนี้เวลาที่เรามองว่าเป็นหมอก แต่จริงๆ คือฝุ่นละออง ซึ่งเมื่อไปทำปฏิกิริยากับพวกแก๊สต่างๆ โดยเฉพาะพวกแก๊ส VOC ที่ปล่อยออกมาในรูปไอเสียยานพาหนะ ซึ่งเวลาที่ปล่อยมลพิษออกมา ทั้งในรูปแบบของแก๊ส อย่างที่เราคุ้นชินกัน ทั้ง คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ โอโซน พวกนี้ปล่อยออกมา แล้วมันก็ปล่อยพวกฝุ่นละอองเล็กจิ๋วอย่างที่เราทราบกันดี เช่น PM10 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน PM2.5 พวกฝุ่นละอองที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอน เป็นต้น
“ทีนี้สารพิษพวกนี้ก็จะทำปฏิกิริยากันในสองรูปแบบ หนึ่งคือ รูปแบบ แก๊สกับแก๊ส อันนี้เรียกว่า homogeneous reaction กับอีกอันหนึ่ง คือ heterogeneous reaction คือการทำปฏิกิริยาระหว่างฝุ่นละอองกับแก๊ส ซึ่งอย่างหลังนี่แหละ ที่ทำให้ฝุ่นบางตัว แปลสภาพเป็น SOA - secondary organic aerosol ซึ่งพวกนี้ เมื่อมันไปผสมกับความชื้นในอากาศที่เป็นหมอก ตรงนี้มันซับซ้อนนิดนึงนะ คือ ธรรมชาติมันจะมีไอน้ำที่ระเหยอยู่แล้ว พอตอนเช้ามาก็เป็นหมอก ทีนี้หมอกก็ไปผสมกับควัน ที่มาจากไอเสียยานพาหนะ พอมารวมตัวกัน ก็จะเป็น Smog
“เมื่อ Smoke บวก Fog ปั๊บ แล้วเมื่อแสงแดดมากระทบ การหักเหของแสงก็จะเกิดขึ้น ทำให้เราเห็นภาพไม่ชัด เบลอ กลายเป็นภาพขมุกขมัว อย่างที่เราเห็นกัน นั่นคือเกิดจากการเป็น Smog งั้นตรงนี้คือสาเหตุที่มันเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน แต่ทีนี้ที่โชคยังดี ทั้งๆ ที่น่าจะรุนแรงกว่านี้ แต่บังเอิญ ปีนี้ยังมีปรากฏการณ์ลานีญ่า อยู่ คือเหตุการณ์นี้มีมาตั้งแต่ช่วงพฤศจิกายนของปีที่แล้ว คือมันลดลงมาเหลือช่วง 80-90 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงเดือนธันวาคม แล้วก็มามกราคม ก็ยังอยู่ที่ประมาณ 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เมื่อปีไหนที่ลานีญ่ามันแรง ฝนก็จะตก แม้กระทั่งฤดูที่ฝนไม่น่าตกก็ตก เช่นช่วงนี้ ก็ไม่ควรที่ฝนตกเลย ก็ตก ก็เลยกลายเป็นความโชคดีของคนกรุงเทพฯ ซึ่งตามหลักควรที่จะต้องสูดดมเอามลพิษเข้าไปเยอะในช่วงที่สภาพอากาศนิ่ง แต่พอลานีญ่ามาทับปุ๊บ มันก็เลยเกิดฝนชะล้างมลพิษออกไปพอสมควร
“แต่อย่าลืมว่า มลพิษก็จะมีแหล่งกำเนิดกับการทำลาย คือแหล่งกำเนิดก็ยังปล่อยอยู่ ทีนี้ กลไกที่จะให้เจือจาง มันยังไม่ทำงาน เช่น ลมบกลมทะเล ตอนนี้ก็ยังไม่ได้พัดมาก เพราะปรากฏการณ์ตอนนี้อากาศมันนิ่ง เมื่ออากาศนิ่งก็ไม่เกิดการเคลื่อนไหว มันก็ไม่เกิดการระบาย แต่บังเอิญโชคดีที่ฝนมาตกมันก็เลยชะล้างไป เมื่อ 2 ปรากฏการณ์นี้มันมารวมกัน มันเลยรู้สึกว่ายังไงกันแน่ จริงๆ มลพิษในอากาศจะต้องรุนแรง แต่ก็ไม่รุนแรงกว่าที่เป็น ก็เพราะลานีญ่ามาช่วยไว้ คิดดูว่า แค่นี้ คนกรุงเทพฯ เดือดร้อนแล้วนะ แล้วคนใน 9 จังหวัดภาคเหนือที่โดนกันประจำ มันคืออะไร เชียงใหม่นี่คือมองไม่เห็นดอยสุเทพเลยนะ ช่วงที่มีการเผาป่า (หัวเราะเบาๆ)”
“กล่าวโดยสรุปว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของกรุงเทพฯ มันเป็นความโชคร้ายและเป็นความโชคดีในเวลาเดียวกัน โชคร้ายตรงที่ว่าอากาศนิ่ง แต่โชคดีตรงที่ว่าฝนมาตก ก็เลยหักล้างกันไป ฉะนั้น กลไกในเรื่องการชะล้างมันจะมี เราจะพูดถึงเรื่อง source (แหล่งปลดปล่อยมลพิษ) กับ sink (แหล่งทำลายมลพิษ) อย่างแรกคือแหล่งกำเนิด เราต้องหาให้ได้ว่าแหล่งกำเนิดคืออะไร ซึ่งแหล่งกำเนิดไม่เปลี่ยน แหล่งกำเนิดคงที่คือไอเสียจากยานพาหนะเป็นหลักเลย แล้วแหล่งทำลายมันมีอะไรบ้าง? หนึ่ง คือปฏิกิริยาของแสงแดดมันทำลายมลพิษได้ สอง ลม พัดระบายมลพิษออกสู่ทะเล สาม การชะล้างโดยน้ำฝน สี่ แรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงฝุ่นลงมาสู้พื้นผิวโลก โดยปกติสภาวะอากาศนิ่งแม้จะเกิดขึ้นแต่ก็ไม่บ่อยนัก ส่วนเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกก็เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว แสงแดดก็คงที่ของมันอยู่ตลอดในเกือบทุกฤดูกาลอยู่แล้ว เหลือการชะล้างด้วยฝนนี่แหละ ซึ่งปรากฏการณ์ลักษณะนี้ ทำให้มลพิษหายไปได้พอสมควร เพราะเหตุผลนี้ เลยเป็นทั้งความโชคร้ายและโชคดีในเวลาเดียวกัน

ปรากฏการณ์นี้
มีแค่เฉพาะช่วงฤดู
หากให้พูดถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้น ก็อาจจะสรุปได้ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ในเฉพาะช่วงฤดูหนาว ที่มีอากาศที่เหมาะสมต่อการเกิดสภาวการณ์นี้ แม้ว่าหลักการของเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนักในเมืองไทย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว เราอาจจะเรียกว่าเป็นสัญญาณเตือนเล็กๆ ก็เป็นได้
“ถ้าถามว่าคนกรุงเทพฯได้พบความตื่นเต้นมั้ย คนเชียงใหม่นี่เจอประจำเลย (หัวเราะ) ในสภาพปกตินี้คือ สามารถมองเห็นพระธาตุดอยสุเทพแบบชัดเลย แต่พอช่วงที่มีการเผาป่าแบบรุนแรงนี่คือมองแทบไม่เห็น นั่นคือการปล่อยสารเคมีในชั้นบรรยากาศในรูปแบบของ Biogenic Emissions (การปลดปล่อยสารเคมีจากต้นไม้ในป่า) สำทับด้วยการเผาเศษชีวมวล เมื่อปรากฏการณ์สองอย่างนี้มาเกิดพร้อมกันในช่วงฤดูหนาว พร้อมกับการกดทับของขั้นบรรยากาศด้วยแล้ว ส่งผลให้ในช่วงฤดูหนาว การสะสมของมลพิษจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าฤดูอื่นๆ เพราะว่าการถ่ายเทของมวลอากาศมันไม่ค่อยดี โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่แอ่งกระทะ เหตุผลก็เพราะว่า การรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวมันจะน้อยกว่าช่วงฤดูร้อนอันนี้คือชัดเจนอยู่แล้ว ฤดูร้อนคือพระอาทิตย์ลอยอยู่กลางศีรษะเลย ส่วนฤดูหนาววงโคจรดวงอาทิตย์จะขึ้นมาแนวเฉียงอย่างนี้ (ทำท่าประกอบด้วยการวางแขนแบบเฉียงๆ) เพราะฉะนั้น พลังงานความร้อนที่ได้รับจากพื้น มันจะได้รับไม่เต็มที่ เมื่อได้ไม่เต็มที่ เกิดอะไรขึ้นครับ มวลอากาศก็จะเย็นตาม
“ถามว่ามวลอากาศจะยกขึ้นมั้ย? ก็ไม่ยก เหมือนเราปล่อยโคมลอย ทำไมโคมลอยถึงลอยตัวได้ เพราะว่าเรามีตะเกียงข้างใน เพื่อให้มันร้อนกว่าข้างนอก และตัวโคมก็จะลอยได้เร็วในช่วงฤดูหนาว เพราะมันมีความต่างของอุณหภูมิระหว่างในโคมลอยกับนอกโคมลอย คือช่วงฤดูหนาวอากาศข้างนอกโคมลอยจะเย็นมาก ส่วนอากาศในโคมลอยกลับร้อน กล่าวคือเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ความหนาแน่นอากาศจะลดลง ความต่างของความหนาแน่นอากาศระหว่างด้านในกับนอกโคมลอยมีผลอย่างมากต่อการยกตัวของโคมลอย เคยดำน้ำแล้วลองปล่อยลูกปิงปองจากใต้สระน้ำมั้ย? ทำไมลูกปิงปองถึงลอยขึ้นแทนที่จะจมลง? เพราะว่าความหนาแน่นของลูกปิงปองมันน้อยกว่ามวลน้ำที่อยู่รอบข้าง ลองเทียบดูระหว่างลูกปิงปองกับลูกปาจิงโกะ ปริมาตรของลูกปิงปองมีมากกว่าลูกปาจิงโกะใช่มั้ย? แต่น้ำหนักกลับเบากว่า เพราะฉะนั้น เมื่อมวลมันน้อย หารด้วยปริมาตร ซึ่งมากกลายเป็นว่าความหนาแน่นของลูกปิงปองต่ำกว่าลูกปาจิงโกะ ดังนั้นเมื่อนำลูกปาจิงโกะทิ้งในสระน้ำ มันจะจมเพราะความหนาแน่นมันมากกว่าน้ำ ในขณะที่ลูกปิงปองกลับลอยเนื่องจากความหนาแน่นของมันน้อยกว่าน้ำ เหมือนกัน มวลอากาศมันยกขึ้น ถ้าอุณหภูมิข้างในมันสูง เมื่ออุณหภูมิข้างในมันสูงปั๊บความหนาแน่นของอากาศภายในโคมมันลดลง ส่งผลให้โคมมีแรงยกตัวขึ้นสูง นั่นจึงทำให้เราไม่เคยได้ยินเรื่องปัญหามลพิษทางอากาศในฤดูร้อนเลย เพราะว่ามวลอากาศมีการไหลหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น จำไว้เลยว่า มลพิษทางอากาศจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อนแทบไม่ค่อยเป็นประเด็นสักเท่าไหร่ ฤดูฝนยิ่งไม่เป็นประเด็น เพราะมีกลไกการชะล้างอยู่แล้ว มันจะเกิดเฉพาะในฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูของการสะสมมลพิษทางอากาศเลย
“ส่วนใหญ่ช่วงหน้าหนาวจะหนักเป็นพิเศษ อย่างประเทศจีน ช่วงหน้าหนาวจะหนักมาก อย่าลืมว่า ไอเสียจากยานพาหนะไม่มีฤดูกาล เพราะคนขับรถจะขับทั้งปี แต่สิ่งที่จะมีเฉพาะฤดูกาล แต่เราไม่ค่อยเจอ ก็คือ เขาใช้ฟืน ในชนบทเยอะ หรืออย่างในเมือง เขาก็ไม่ได้ใช้แก๊สนะ เขายังใช้น้ำมันเตา อันนี้คือการใช้เชื้อเพลิงสร้างความอบอุ่นในครัวเรือน อย่างบางที่เขาก็ยังใช้เตาผิงนะ สมัยก่อนลอนดอนใช้เตาผิงเยอะมาก เพราะเตาผิงมันดี ซึ่งจริงๆ ฟืนที่เก็บไว้หน้าหนาวมันดีมากเลย แล้วในชนบทก็ใช้กันแบบนั้น แต่ปัจจุบันรถยนต์มันมีมากขึ้น ประชากรก็เพิ่มมากขึ้น การใช้เชื้อเพลิงในการสร้างความอบอุ่นก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ถ้าเป็นพวกฟอสซิลเมื่อไหร่ก็ปล่อย ถ้าเป็นฟืนก็ปล่อย และยังไม่พอ มวลอากาศยังระบายไม่ดี มันไม่ยกขึ้น มันกดลง เพราะเป็นหน้าหนาว
“เพราะฉะนั้น อย่าลืมว่าระดับความเข้มข้นของมลพิษในชั้นบรรยากาศคือมวลของมลพิษหารด้วยปริมาตร ปริมาตรตรงนี้คือ ปริมาตรของอากาศ หรือ ชั้นบรรยากาศที่ติดกับพื้นผิวโลก (boundary layer) ซึ่งในช่วงฤดูร้อนมันจะขยายตัวขึ้นสูงมาก เมื่อปริมาตรมันเยอะขึ้น หารด้วยมวลเท่าเดิม ความหมายก็คือ ความเข้มข้นจะลดลง ปัญหามลพิษทางกาศเลยไม่เป็นประเด็น คราวนี้ลองกำหนดให้มวลเท่าเดิม แต่ถ้าปริมาตรลดลง ระดับความเข้มข้นจะสูงขึ้น เหมือนผมเอาน้ำปลาเทใส่แก้วน้ำเปล่า 2 หยด ยังไงก็เค็มแน่นอน เปรียบเทียบกับ การที่ผมเอาน้ำปลาเทใส่แท็งค์น้ำใหญ่ๆ ซัก 10 ลูกบาศก์เมตร ให้ชิม เผลอๆ อาจจะไม่ได้รสชาติ เพราะอะไร มวลเท่ากัน แต่ปริมาตรที่หารไม่เท่ากัน ปริมาตรนี่น้อยกว่า ในขณะที่ปริมาตรแท็งค์น้ำ มันเป็น 10 ลูกบาศก์เมตร มันเยอะกว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเข้มข้นมันเจือจาง จนแทบไม่เป็นประเด็น ต่อให้ใส่ทั้งขวดก็ไม่เป็นไร เพราะฉะนั้นจำนวน emission source เท่าเดิมในกรุงเทพฯ แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูร้อน ปริมาตรมันขยายขึ้น เมื่อมันขยายขึ้นปั๊บ ความเข้มข้นก็เจือจางลง จึงไม่เป็นประเด็น แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มันหดลงหรือมันนิ่ง มันจะเป็นประเด็นขึ้นมาทันที เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งมาตกใจนะว่า เป็นเฉพาะตอนนี้เหรอ จริงๆมันก็เท่าเดิม ไม่ได้เปลี่ยนเลย เพียงแต่ว่าปัจจัยนี้แหละที่ขึ้นลงๆ นี่แหละ ถ้าไม่มีการระบาย จบเลย

ระบบขนส่งมวลชน
ช่วยลดมลพิษได้
ปัจจัยหนึ่งที่แม้ว่าจะไม่มีเหตุการณ์มลพิษกลายเป็นหมอกมาเป็นสาเหตุ แต่ก็ถือว่าเป็นปัญหาหลักของมลพิษทางอากาศที่ยังแก้ไม่ตก ซึ่งการสร้างระบบขนส่งสาธารณะ ก็ถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะทางได้ดีอีกทางหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าในระยะแรกของการเดินทางอาจจะมีบ้างในเรื่องความแออัดของการใช้บริการ แต่หากเริ่มคุ้นชินในระบบแล้ว เชื่อได้ว่าปัญหานี้จะคลี่คลายลงไปได้ในระยะเวลาต่อมาอย่างแน่นอน
“ประเด็นต่อไปที่ผมจะพูด ยังไงก็ตาม สิ่งที่ผมอยากให้ทำเลย คือ ต้องลดจำนวนรถยนต์ลง ยังไงก็ต้องลด ซึ่งการจะลดได้ ก็คือ หนึ่ง อันนี้คือปัญหาโลกแตกเลย แต่มันเป็นปัญหาระยะยาวที่ต้องทำ คือ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ซึ่งตอนนี้เราก็ทำอยู่นะ นี่ขนาดมี BTS กับ MRT นะ ถ้าไม่มีสองอย่างนี้ หนักกว่าเดิมอีกนะ แค่นี้ก็รถติดมโหฬารแล้ว คือถ้าลองไปเมืองอื่นๆ อย่างโตเกียว ทั้งๆ ที่จำนวนคนมันเยอะกว่า แต่รถไม่ได้ติดหนักเหมือนเรา เพราะว่าคนส่วนใหญ่เขาไม่ใช้รถยนต์ และแท็กซี่ซึ่งแพงมาก แต่ในขณะเดียวกัน เขากลับมีระบบขนส่งที่มีเครือข่ายเหมือนเส้นใยแมงมุม อย่างบางสถานีเช่น โอเทะมะจิ ซ้อนกัน 5 ไลน์ อยู่ในนั้น ใยแมงมุม เครือข่ายครบหมด ระบบเขาสุดยอดมาก คือคุณขึ้นที่ไหนๆ ครบหมดเลย เพราะว่าระบบสาธารณะดีมาก ทุกอย่างครอบคลุมหมด จบ แล้วก็เดินต่ออีกนิดหน่อยก็ถึงแล้ว คือไม่เหมือนของเรา ที่ระบบขนส่งสาธารณะยังไม่โอเค
“เมื่อระบบขนส่งสาธารณะมันไม่โอเค คุณภาพอากาศเราก็แย่ไปด้วย คุณภาพชีวิตเราก็แย่ไปด้วย นี่คือที่สิ่งที่ผู้บริหารประเทศไม่ค่อยคิด แล้วสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลพูดมาตลอดก็คือ กระตุ้นเศรษฐกิจ แต่คำพูดนี้ คุณไม่ได้คิดถึงต้นทุนสุขภาพและสิ่งแวดล้อมใส่เข้าไปเลย เรากระตุ้นเศรษฐกิจไปเพื่ออยากได้เงิน แต่ถามต่ออีกว่า เราอยากมีความสุขใช่มั้ย เราอยากมีความสุข มีเงินเยอะ แต่ว่าเราต้องนอนป่วยเป็นโรคมะเร็งเอามั้ย คือมารู้ตัวอีกทีตอนเป็นระยะที่ 3 ที่ 4 ตอนนี้เพื่อนผมตายไป 20 คน แล้ว ด้วยหลายโรค คือเมื่อก่อนมะเร็งมันไม่ได้เยอะขนาดนี้นะ สาเหตุการเสียชีวิตอันดับแรกในอดีตคือโรคหัวใจ แต่เดี่ยวนี้ โรคหัวใจกับโรคมะเร็งนี่คือขี่กันมาเลย
“ผมมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งอยู่ มันเป็นการสรุปของเรื่องค่าเฉลี่ยของสารก่อมะเร็งแต่ละชนิดในชั้นบรรยากาศ ซึ่งวัดมาจาก 9 จังหวัดภาคเหนือ ในช่วงเวลา 4 ปีย้อนหลัง เป็นช่วงที่เกิดการเผาป่าที่เชียงใหม่ มีทั้งค่าเฉลี่ยระดับความเข้มข้นของสารก่อมะเร็งในชั้นบรรยากาศในภาวะปกติ และค่าเฉลี่ยหลังกรณีเผาป่า ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเมืองใหญ่ๆในโลก เช่น ไต้หวัน จีน ฮ่องกง บราซิล ซึ่งมีระดับความเข้มข้นของสารก่อมะเร็งในชั้นบรรยากาศสูงกว่าของเราเยอะเลย แสดงให้เห็นว่า มันไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น ทั้งๆ ที่ต่อให้มีวิกฤตที่ว่ามานะ แสดงว่าอะไร แสดงว่าไฟป่าไม่ได้ปล่อยสารก่อมะเร็งมากอย่างที่เราคิด ตัวการสำคัญคือไอเสียจากยานพาหนะเป็นแหล่งปลดปล่อยมลพิษที่สำคัญ ผมคิดว่ายังไงเราก็ต้องเร่งลดจำนวนรถยนต์ลง อย่างที่บอกคือ ต้องมีการใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้เยอะขึ้น หรือว่าต่อไปในเรื่องอนาคตก็ต้องมีเรื่องการปรับเปลี่ยนผังเมือง
“ความสะดวกสบายมันก็เป็นเรื่องดี แต่ประเด็นคือ จะทำยังไงให้ภาครัฐเข้ามาช่วยให้ระบบการขนส่งมันดีขึ้น คือถ้าระบบมันไม่ดี ประชาชนก็ไม่มีทางเลือก เขาก็จำเป็นต้องซื้อรถยนต์ ไม่งั้นเขาจะเดินทางยังไง มันก็ตอบโจทย์เขาไม่ได้ มันเลยบีบให้เขาต้องซื้อไง ซึ่งอันนี้มันก็โทษไม่ได้ ซึ่งผมก็จะไม่ซื้อรถนะ ถ้าเส้นทางการเดินทางระหว่างบ้านกับที่ทำงานสามารถใช้รถไฟฟ้าได้ แต่ถ้ามันไม่ได้ยังไงก็ต้องซื้อ เพราะจะให้เรานั่งแท็กซี่ทุกวันได้ยังไง มันก็ไม่ได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีรถไง ถามว่า ในเรื่องความสะดวกสบาย มันก็ยังจำเป็นต่อการมีรถนะ ซึ่งถามว่าใช้เป็นบางกรณี แต่ในเวลาทำงาน ถ้าเราใช้ระบบนี้ มันสามารถกำหนดเวลาได้เลย แล้วเราจะสบายมาก นี่แหละคือความสะดวกสบายที่แท้จริง ไม่ต้องไปเสี่ยงว่าจะไปถึงกี่โมง ขับรถไป รถติดอีก เราก็ไม่รู้หรอก เพราะมันควบคุมเวลาไม่ได้ ขณะเดียวกัน ถ้าเรานั่งระบบสาธารณะ เราสามารถควบคุมเวลาได้ไง
“รัฐบาลต้องช่วยในการสร้างระบบขนส่งมวลชน แม้ว่าจะขาดทุนในระยะแรกก็ไม่เป็นไร อย่าไปเอาผลกำไรเป็นหลัก คือคนก็ไปคิดเรื่องนี้ก่อนแล้ว ซี่งบางอย่างรัฐต้องลงทุนก่อน ถึงแม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม แต่ถ้ามันทำให้คนทั้งเมืองไม่ต้องไปสูดสารก่อมะเร็งได้ย่อมเป็นเรื่องดี ประเด็นที่สอง การกระจายหัวเมืองออก ไม่ใช่ทุกอย่างมากระจุกแค่ กทม. ซึ่งปัญหานี้ปัญหาใหญ่ คือคนรุ่นผม จะซื้อบ้านสักหลัง จะสามารถซื้อได้มั้ย ทำงานทั้งชาติก็ยังซื้อไม่ได้เลยมั้ง (หัวเราะ) ความหมายก็คือว่า ถ้ารัฐไม่มีแผนที่จะกระจายไปหัวเมืองต่างๆ ซึ่งนั่นเขาก็ทำถูกนะในเรื่องของการย้ายสถานที่ราชการไปนนทบุรี หรือว่าในอนาคต โคราชอาจจะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่และขณะเดียวกันกรุงเทพฯ ก็ยังคงไว้ด้วยฐานะเมืองเศรษฐกิจ

กระจายความเจริญ
ลดความแออัดของเมือง
การที่กรุงเทพฯ ซึ่งนอกจากจะเป็นเมืองหลวงของประเทศแล้ว มหานครนี้ก็เปรียบเสมือนเมืองหลักอีกเมืองหนึ่งในทุกด้านของประเทศไทย ซึ่งปัญหาความแออัดและการกระจุกตัวอยู่ในเมืองเดียวนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำใหเกิดปัญหามลภาวะตามไปด้วย สำหรับความเห็นของ ดร.ศิวัช นั่น เขามองว่า การกระจายตัวเมืองไปสู่หัวเมืองต่างๆ ของประเทศ จะเป็นการแก้ปัญหามลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
“อย่างเมืองนอก เช่นอเมริกา ก็มีเมืองลักษณะเดียวกัน เช่น วอชิงตัน ดี.ซี. เป็นเมืองหลวง แต่ก็มี นิวยอร์ก ที่เป็นหัวเมืองในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของเขาอยู่ คนสามารถอยู่ที่นั่น โดยไม่จำเป็นจะต้องเข้า กทม. ก็ได้ ลองไปดูประเทศที่พัฒนาแล้วสิ แต่ละเมืองจะมีความเจริญสูสีกันไม่แพ้กันมาก นิวยอร์กยิ่งใหญ่อลังการก็จริง แต่ลอสแองเจลิส กับ ซานฟรานซิสโก ก็ไม่ธรรมดา คือเมืองที่มีสเกลเล็กกว่า แต่เขาก็มีความอลังการของเขาอยู่ คือคนเขาก็ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขอยู่ในเมืองนั้นได้โดยไม่จำเป็นที่จะมาหางานทำในนิวยอร์ก ด้วยรายได้ที่สูงเท่าเทียมกัน คนอเมริกันที่มีรายได้สูง อาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่นิวยอร์กก็ได้ แล้วแต่บริษัทดังๆ จะจ่ายให้ ก็ย้ายไปอยู่ที่อื่น รับเงินเดือนแพงๆ ได้ คือมีเงื่อนไขพิเศษดึงดูดล่อใจให้ไปทำงาน
“แต่แน่นอนว่าเงินเดือนสูง เป็นแรงจูงใจลำดับแรกๆ ที่จะให้คนไปอยู่ พอไปอยู่แล้ว ไปสร้างผลกำไรให้บริษัทก็ได้ เขาก็แฮปปี้ ซึ่งสมมติว่า ถ้าให้บริษัทดังๆ ไปตั้งฐานที่เชียงใหม่นะ แล้วให้ผลตอบแทนสูงหรือดีกว่า กทม. คนก็เฮโลไป คนก็อยากไปอยู่ นั่นแหละคือการกระจายความเจริญ ไม่ใช่เอะอะก็เฮโลมากระจุกตัวกันที่กรุงเทพฯ หมด ซึ่งเราพูดถึงมลพิษทางอากาศ แต่มันสัมพันธ์โยงใยไปหมดเลย เป็นเรื่องของการกระจายประชากร กระจายความเจริญ แล้วเรื่องของการกระจุกศูนย์รวมอำนาจที่ กทม. เห็นมั้ย ทุกอย่างก็มาจากเรื่องนี้
ค่ามาตรฐานของไทย
ควรกำหนดด้วยตนเอง
แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมจะต้องขับเคลื่อนต่อไป ตามกลไกเศรษฐกิจของประเทศ แต่ด้วยปัญหาที่มาจากสิ่งเหล่านี้ด้วยนั้น ก็ส่งผลบางอย่างต่อบางชุมชนที่ได้รับผลกระทบนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจากเหตุผลนี้เอง ดร.ศิวัช ได้แสดงทรรศนะด้วยว่า ประเทศไทยควรมีค่าวัดระดับมาตรฐานทางอากาศแบบของตัวเองได้แล้ว
“อย่างที่ผมเขียนในโพสต์นั่นแหละ ว่าค่ามาตรฐานเหล่านั้นมันเป็นค่าที่หยาบมาก โดย common sense ค่าค่าหนึ่ง จะมาใช้กับคนทั้งโลกได้ยังไง เพราะอะไร ค่าพวกนี้ มันมาจากสูตรการประเมินความเสี่ยง โดยขึ้นอยู่กับขนาดของปอด ขนาดของน้ำหนักตัว แล้วถามว่า น้ำหนักตัวของคนไทยกับคนอเมริกันเหมือนกันกันมั้ย ขนาดปอดของคนทั้ง 2 ชาติ เหมือนกันหรือเปล่า ความสูงเฉลี่ยของผู้ชายอเมริกัน สูงที่ 176.4 เซนติเมตร ขณะที่ชายไทยอยู่ที่ 170.3 เซนติเมตร ต่ำกว่าคนอเมริกันแน่นอน แล้วขนาดปอดละเท่ากันมั้ย หรือระยะเวลาที่รับสารก่อมะเร็งของคนทั้ง 2 ชาติ เท่ากันหรือเปล่า วิถีชีวิตเหมือนกันมั้ย ฉะนั้น เราจะไปอิงตามเขาทำไม US-EPA (สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา) เขาคำนวณมาจากวิถีชีวิตคนอเมริกัน กับสภาพคนอเมริกัน แล้วคนไทยเหมือนมั้ย
“เพราะฉะนั้น เราจะต้องมีค่ามาตรฐานของเราเอง นี่คือประเด็นที่หนึ่ง ประเด็นที่สองที่อยากบอกให้สังคมรับรู้ว่า ไม่ใช่ให้ไปตื่นเต้นกับค่าตัวเลข PM10 กับ PM 2.5 มากจนเกินไปคือตอนนี้เราดูข้อมูลจากสองสิ่งนี้ เช่น PM2.5 มีค่าเฉลี่ยมาตรฐาน 50 ลูกบาศก์เมตร ภายในเวลา 24 ชั่วโมง WHO (องค์การอนามัยโลก) กำหนดไว้อย่างนั้น เขากำหนดให้เป็นตัวเลขหยาบๆ สำหรับคน 7,000 ล้านคนทั่วโลก แล้วถามว่า คนไทย 70 ล้านคน มาใช้ค่าเฉลี่ยนี้มัน make sense มั้ย ก็ไม่ แต่เหนือสิ่งอื่นใดที่เขาพูดไม่หมดก็คือว่า ขนาดของฝุ่นละออง ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม มันไม่เพียงพอที่จะมาตัดสินอะไรได้ ที่ผมโพสต์ในกระทู้ facebook นั้น มันยังมีสารพิษอีกไม่รู้กี่ชนิด ที่ในอนุสัญญาสตอกโฮล์มซึ่งระบุว่ามี 12 ชนิดที่เป็นอันตรายอาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ ยังไม่รวมถึงโลหะหนักนะครับ ซึ่งอันตรายมาก พวกนั้นคือทั้งโลหะหนักใน กทม. ที่ผมวัดแล้ว มีข้อมูลหมด ข้อมูลพวกนี้ ทำไมไม่พูดถึง ทำไมถึงไม่มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
“ซึ่งผมเข้าใจและเห็นใจกรมควบคุมมลพิษนะ เพราะว่างบประมาณเขาน้อย เขาจึงมีแค่นั้น ซึ่งเราก็ต้องถามรัฐบาลต่อว่า การแบ่งสันปันส่วนมาที่เรื่องนี้มันน้อยเกินไป คือมันเป็นปัญหาตรงที่ว่า คนยังไม่เห็นความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม เพราะคิดว่าต้นทุนด้านนี้ไม่ต้องใส่รวมไปในค่าใช้จ่ายโครงการ สมมติว่าเราจะสร้างโรงงานหรือสร้างคอนโดหนึ่งขึ้นมา ต้องมีการทุบตึก มีการฟุ้งกระจายหรือฝุ่นละอองของคอนกรีต ไอ้เรื่องพวกนี้ ไม่ต้องไปใส่ในต้นทุน ถามว่าไม่ใส่เข้าไปได้ยังไง คุณเล่นทุบนู่นนี่นั่น แล้วฝุ่นฟุ้งออกไป ชาวบ้านก็ต้องสูดดม ซึ่งถ้าปอดเขาเสียขึ้นมา ใครจะจ่ายเงิน ถามว่าคนสร้างคอนโดเขาจะจ่ายเงินให้มั้ย ก็ไม่จ่าย สรุปคือชาวบ้านละแวกนั้นซวย
“เพราะฉะนั้น ทุกโครงการ ทุกความเจริญที่อยากให้เกิดขึ้น จะต้องแลกกับสุขภาพของคน และแลกกับสิ่งแวดล้อมที่เสียไปเสมอ ตัวอย่างหลายกรณีที่ผ่านๆ มา ก็เป็นอย่างนั้น ทีนี้ อันนี้ก็เป็นเรื่องของความยุติธรรมแล้ว ว่าคนคนหนึ่ง ทำธุรกิจหนึ่งขึ้นมา มีความร่ำรวยขึ้นมา บนความเดือดร้อนของคนจำนวนมากที่ต้องเสียสุขภาพไป เรื่องแบบนี้มันแฟร์มั้ย เพราะฉะนั้น เราอย่าไปมุ่งกับตัวเลขของ GDP อย่างเดียว เราต้องดูในเรื่องของสุขภาพของคนส่วนใหญ่ด้วยว่ามันเป็นยังไง ผมสนับสนุนให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณให้กับกรมควบคุมมลพิษมากกว่านี้ในการที่เขาสามารถที่จะตรวจวัด เฝ้าระวังมลพิษในชั้นบรรยากาศตามหัวเมืองต่างๆ ได้ตลอด มันเป็นเวชศาสตร์เชิงป้องกัน (Preventive Medicine)
“ถามว่าทำไมต้องมีสิ่งนี้ เพราะว่าเราต้องรอให้เป็นทั้งมะเร็งหรือโรคหัวใจก่อนหรือเปล่าถึงมารักษา มันไม่ใช่ใช่มั้ยครับ สาเหตุหนี่งที่ทำไมเราต้องไปตรวจสุขภาพทุกปี เพราะว่าจะได้กันไว้ดีกว่าแก้ไง เขา (แพทย์) จะบอกเราก่อนที่จะไปถึงจุดวิกฤตไง เพราะฉะนั้น ศักยภาพของ คพ. (กรมควบคุมมลพิษ) มันวัดได้ในข้อมูลหลักๆ เช่น คาร์บอนมอนอกไซค์ PM10 PM2.5 วัดได้ แต่สารเคมีที่ทำให้เกิดโรคร้าย มันไม่ได้มีแค่นี้ มีมากกว่านี้เป็นร้อยๆ ชนิดเลย แน่นอนค่าใช้จ่ายมันสูงขึ้น แต่ก็ต้องมีบางอย่างที่จะต้องวัด เช่นอย่างที่ผมโพสต์ไว้ใน facebook ซึ่งค่าใช้จ่ายมันสูงมาก เข้าใจได้ แต่เมืองนอกเขาทำ เขาจ่าย
“อย่างอังกฤษ เขาวัดคุณภาพอากาศกันเป็นรายตำบลเลย ค่ามาตรฐาน PAHs (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons: สารก่อมะเร็ง) ขนาดที่เมืองไทยยังไม่มีเลย เอาง่ายๆแค่กฎหมายที่ควบคุมสารก่อมะเร็งในชั้นบรรยากาศภายนอกยังไม่มีเลย อังกฤษนี่มีกำหนดไว้แล้วไม่ให้เกิน 0.25 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานของ UK-EPAQS) ผมกำลังพูดถึงเรื่องสมัยที่ผมไปทำปริญญาเอกที่นั่นนะ เมื่อปี 2000 แล้วเขาก็ทำมาก่อนหน้านั้น 10-20 ปีแล้ว ซึ่งพอมาบวกกับเวลาปัจจุบัน เขาทำมาเกือบ 40 ปีแล้ว ขณะที่บ้านเรายังไม่กระดิกเลย ผมถึงบอกเลยว่า ชีวิตคนไทยมันราคาถูก จะสร้างอะไรแต่ละครั้งนี่คือ อย่างเช่นในเขตก่อสร้างทางด่วนเอาลูกตุ้มมาห้อยอยู่บนหัวเรา จนทำให้เราระแวงและสยองว่า มันจะตกมาเมื่อไหร่ แล้วถ้ามันตกลงมาใส่เราตาย แล้วใครจะรับผิดชอบ ชีวิตมันไถ่คืนกันได้มั้ย คืออย่างที่ผมบอกว่า เรื่องต้นทุน อย่าไปคาดหวังกับเรื่องเลข GDP ภาพหลอนพวกนั้น ดูภูฏานสิ คนเขามีความสุขมั้ย ไม่จำเป็นที่จะต้องมีโรงงานใหญ่โต
“ผมไม่ได้แอนตี้อุตสาหกรรมนะ แต่ว่าอุตสาหกรรมนั้นควรมีการขบคิดใช้ปัญญาอย่างไตร่ตรองแล้ว มันควรเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพน้อย และไม่เป็นพิษต่อคน อย่างประเทศที่พัฒนาแล้วเขาฉลาด อะไรที่เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สร้างมลพิษเยอะ ผลักออกไปนอกประเทศหมดเลย คงไว้แต่หัวใจสำคัญของตัวอุตสาหกรรมอย่างเช่น การวิจัยและพัฒนา (R&D) ไว้ในประเทศ ไม่ต้องนำ R&D ออกไปข้างนอก เพราฉะนั้นไอเดียที่จะเป็นมันอยู่ในสมอง จะอยู่ในประเทศเขา อะไรที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ผลักออกไป นี่คือปัญหา

ถ้าเลี่ยงไม่ทัน
ก็จงอยู่กับมันให้ได้
แม้ว่าปรากฏการณ์นี้ อาจจะเป็นแค่สภาวการณ์ชั่วคราวที่ผ่านมาและจากไปตามฤดูกาล แต่เพื่อความไม่ประมาทแล้ว หากสมมติว่ามีการเกิดเหตุการณ์นี้แบบระยะยาวจริงๆ ดร.ศิวัช มีวิธีการที่จะเตรียมรับมือเหตุการณ์นี้ได้ เพื่อความไม่ประมาทของแต่ละบุคคลนั่นเอง
“สำหรับข้อปฏิบัติของประชาชนนะ เรื่องแรก งดการออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง เพราะอะไร เมื่อไหร่ที่ออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง เมื่อคุณภาพอากาศแย่ สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร เราหายใจเยอะขึ้น เมื่อเราทำสิ่งนี้ เราก็สูดพวกควันฝุ่นเข้าไปเยอะ แล้วพอได้สารพวกนี้เข้ามาในปอดเรื่อยๆ มันจะไปอยู่ในปอด ในก้านปอด และเข้าไปสู่การหมุนเวียนของกระแสเลือด ซึ่งถ้าเข้าไปอยู่ในกระแสนี้แล้ว จะเกิดภาวะเลือดข้นขึ้น ซึ่งข้อมูลนี้คนไม่ค่อยรู้ เลือดข้นเพราะเราเอาฝุ่นละอองเข้าไป ก็เหมือนเราเอาผงอะไรเทใส่น้ำ ซึ่งคนที่เลือดข้นก็คือคนที่ไม่ค่อยชอบดื่มน้ำเปล่า เขาจะบังคับเลยว่า พวกเลือดหนืด มักจะไปสัมพันธ์กับโรคหัวใจ ยิ่งหนืด หัวใจยิ่งทำงานหนัก
“เพราะฉะนั้น คนที่เป็นโรคหัวใจแล้วไปออกกำลังกายเยอะๆ ในที่โล่งแจ้ง ในช่วงที่มลพิษเยอะ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจสูงมาก และมีงานวิจัยออกมาแล้วที่บราซิล ช่วงที่มีมลพิษหมอกควันสูง จำนวนของคนที่แอดมิตจากโรคหัวใจมีเยอะขึ้น ยังไม่รวมถึงโรคการปวดศีรษะอย่างไม่ทราบสาเหตุ เรื่องของไอจาม โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจเป็นหมด ฉะนั้นควรงดการออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง
“ข้อที่สอง คือการหาหน้ากากมาปิดจมูก ก็ช่วยในระดับหนึ่ง แต่กันไว้ได้ไม่หมด แต่สวมไว้ก็ดี ซึ่งถ้าเป็นหน้ากากปิดจมูกราคาถูกก็อาจจะช่วยได้ไม่มาก เพราะว่าฝุ่นละอองมันมีขนาดเล็ก และถ้าเราอยู่ในอาคารที่มีระบบเครื่องกรองอากาศที่ดี มันดักได้ อย่างเช่นเครื่องฟอกอากาศ เพราะมันสามารถช่วยได้เยอะจริงๆ หรือระบบหนึ่งที่ผมเคยเสนอมานานแล้ว คือ ใช้สเปรย์น้ำ แบบเดียวกับตามร้านกาแฟที่เขาเอาไว้ฉีดรอบร้าน นั่นก็ช่วยได้เยอะเลย แต่ต้องเปิดทั้งวันทั้งคืน นี่ก็ต้องจ่ายเงินหนักเหมือนกัน ถ้าสำหรับคนมีเงิน นั่นก็ช่วยได้เยอะเลย มันเหมือนการจำลองฝนตกนั่นแหละ มันจะช่วยชะล้างฝุ่นละอองออกไปได้ระดับหนึ่ง
“แต่ถ้ากล่าวโดยสรุปคือ ก็ต้องเฝ้าระวังผ่านทางแอปพลิเคชันก็ได้ ถ้าช่วงไหนเกิดวิกฤตแย่ๆ ว่าเรามีแผนที่จะไปเตะฟุตบอลกับเพื่อน งดไว้ก่อนเลย แต่ถ้าเป็นในอาคารที่มีการติดตั้งระบบเครื่องปรับอากาศยังได้ แอร์คอนดิชั่นนี่ช่วยได้เยอะ ถ้าลองมาล้างแอร์ในแต่ละครั้งนี่คือฝุ่นเยอะเลย คือมันก็กันได้ระดับหนึ่ง แต่ว่ามันต้องทำหลายชั้น อย่างที่บอก ถ้ามีเงินมากก็ควรซื้อของพวกนี้ อย่าลืมว่าปอดมันกลับมาใช้เหมือนเดิมไม่ได้นะ เราใช้มันจนตายนะ เพราะว่าสิ่งนี้มันช่วยได้เยอะจริงๆ นะ อย่างเครื่องฟอกอากาศมันช่วยได้อยู่แล้วไง
“หรืออีกทางหนึ่ง ผมมีเพื่อนชาวต่างชาติที่อยู่เชียงใหม่ เขาใช้วิธีนี้เลย เขาวางแผนกับครอบครัวเขาเลยว่า ถ้าในเมืองที่อยู่มีปัญหาหมอกควัน ก็หนีไปเที่ยวที่อื่นในตอนนั้นเลย หนีออกจากจุดเสี่ยง ถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยง หรืออยู่แล้วก็ต้องรับมือกันไป แต่สิ่งนี้คือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ต้นเหตุยังไม่ได้รับการแก้ไขเหมือนเดิม แต่ผมเชื่อว่าอนาคตจะดีขึ้น เพราะอย่างที่บอก ทั้งระบบขนส่งมวลชน และสิ่งที่ผมอยากเห็นคือ การกระจายความเจริญไปสู่หัวเมืองอื่นรอบๆ กทม. นี่คือสิ่งที่เราอยากเห็น คือจำนวนคนใน กทม. ลดลง เกิดการกระจายตัวของประชากรไปที่อื่นบ้าง ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องพร้อมใจกันขับรถเข้ามาที่ใจกลางเมืองหมด อย่างนั้นก็ไม่ไหว
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ศิวกร เสนสอน
ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นแค่กลุ่มควันที่ผ่านเข้ามาและจากไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้าพูดถึงในแง่ของสภาพอากาศแล้ว เหตุการณ์นี้เปรียบเหมือนกับการส่งสัญญาณย่อมๆ ต่อเมืองไทยในภาพรวมอยู่พอสมควร ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว เพื่อที่ครั้งต่อไป คนไทยจะได้เตรียมรับมือกับภาวะนี้อย่างไม่ต้องเกรงกลัวอีก
หนึ่งปัญหาของผลลัพธ์
คือการสะสมของมลพิษ
ด้วยสภาวะโดยรวมของกรุงเทพฯ ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหานครหนึ่งของโลกที่มีเรื่องของความแออัดสะสมจากไอเสียยานพาหนะ นั่นจึงเป็นที่มาของการเกิดปัญหามลพิษทางอากาศในระดับหนึ่ง ซึ่งเมื่อมาประสบกับสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจด้วยแล้ว คำตอบของปรากฏการณ์มลพิษทางอากาศจึงได้เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจนั่นเอง
“อันดับแรกก่อนเลยนะครับ กทม. เป็นเมืองใหญ่ มีประชากรเกิน 10 ล้านคน ซึ่งถ้าเทียบก็เปรียบได้ว่าเป็นหัวเมืองใหญ่ในระดับต้นๆ ของเอเชีย แน่นอนว่าจะต้องมีการปลดปล่อยมลพิษ โดยเฉพาะไอเสียจากยานพาหนะนี่คือเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้วในเขต กทม. แต่อย่างไรก็ตามในเขตปริมณฑล ก็จะมีการเผาในที่โล่งแจ้ง เรื่องของควันที่มาจากอุตสาหกรรมก็มาด้วย นี่คือเป็นการผสมกัน รวมกัน แต่หลักๆ ที่ผมเคยทำงานวิจัยมา ถ้าเป็นแหล่งปลดปล่อยสารก่อมะเร็งเกิน 70-80 เปอร์เซ็นต์เลย จะมาจากท่อไอเสียจากยานพาหนะ นี่คือสิ่งที่เราพบ ซึ่งนั่นคือแหล่งปลดปล่อยหลักอยู่แล้ว
“ทีนี้ในสภาวะปกติ กรุงเทพฯจะได้รับอิทธิพลจากลมบก ลมทะเล ช่วยระบายไม่ให้มลพิษนั้นสะสมไว้นาน ซึ่งการที่มลพิษไม่ได้ตกค้างนานเกินไป มันก็เลยทำให้คุณภาพอากาศที่ไม่เลวร้ายกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งต้องเข้าใจสถานการณ์ตรงนี้ก่อน จริงๆ แล้ว แหล่งปลดปล่อยมันมีเยอะเลยแหละ แต่เนื่องจากสภาพมวลอากาศที่มีการไหลหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากกรุงเทพฯ ใกล้กับทะเลอ่าวไทย ฉะนั้นเลยได้รับอิทธิพลของลมบก ลมทะเลที่จะช่วยระบายมลพิษออกไปสู่อ่าวไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วหลังจากนั้นอากาศบริสุทธิ์จากอ่าวไทยก็พัดเข้ามา นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างในช่วงเวลากลางวัน มวลอากาศที่เย็นกว่า จากอ่าวไทย จะไหลเข้ามาที่แผ่นดิน
“แล้วพอถึงช่วงเวลากลางคืน พอน้ำเริ่มคลายความร้อน จากที่มันดูดพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์สะสมเก็บไว้ในเวลากลางวัน มวลอากาศที่ร้อนก็จะยกตัวขึ้น มวลอากาศที่เย็นกว่าในตอนกลางคืน จากแผ่นดินใหญ่ คือจาก กทม. ก็จะไหลสู่อ่าวไทย เพราะฉะนั้นมันจะเป็นการระบายของมลพิษสะสมในเวลากลางวันออกไปในช่วงกลางคืน แล้วช่วงเช้ามวลอากาศที่บริสุทธิ์ก็จะพัดเข้า ซึ่งอันนี้จะเป็นระบบการระบาย การถ่ายเท ไม่มีมลพิษสะสมไว้มากกว่าที่ควรจะเป็น
“ทีนี้สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ มันเกิดภาวะที่ว่าอากาศนิ่ง ไม่เกิดการถ่ายเท คงที่ เมื่อภาวะอากาศมันนิ่งปั๊บ ลมข้างนอกแทบจะไม่กระดิกเลย ซึ่งลักษณะการเกิดภาวะอากาศนิ่ง มันจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงฤดูหนาว เพราะฤดูหนาวจะมีแบบนี้เยอะ ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่า ปรากฏการณ์นี้ทำให้การถ่ายเทของมลพิษมันไม่เกิดขึ้น ทีนี้เวลาที่เรามองว่าเป็นหมอก แต่จริงๆ คือฝุ่นละออง ซึ่งเมื่อไปทำปฏิกิริยากับพวกแก๊สต่างๆ โดยเฉพาะพวกแก๊ส VOC ที่ปล่อยออกมาในรูปไอเสียยานพาหนะ ซึ่งเวลาที่ปล่อยมลพิษออกมา ทั้งในรูปแบบของแก๊ส อย่างที่เราคุ้นชินกัน ทั้ง คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ โอโซน พวกนี้ปล่อยออกมา แล้วมันก็ปล่อยพวกฝุ่นละอองเล็กจิ๋วอย่างที่เราทราบกันดี เช่น PM10 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน PM2.5 พวกฝุ่นละอองที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอน เป็นต้น
“ทีนี้สารพิษพวกนี้ก็จะทำปฏิกิริยากันในสองรูปแบบ หนึ่งคือ รูปแบบ แก๊สกับแก๊ส อันนี้เรียกว่า homogeneous reaction กับอีกอันหนึ่ง คือ heterogeneous reaction คือการทำปฏิกิริยาระหว่างฝุ่นละอองกับแก๊ส ซึ่งอย่างหลังนี่แหละ ที่ทำให้ฝุ่นบางตัว แปลสภาพเป็น SOA - secondary organic aerosol ซึ่งพวกนี้ เมื่อมันไปผสมกับความชื้นในอากาศที่เป็นหมอก ตรงนี้มันซับซ้อนนิดนึงนะ คือ ธรรมชาติมันจะมีไอน้ำที่ระเหยอยู่แล้ว พอตอนเช้ามาก็เป็นหมอก ทีนี้หมอกก็ไปผสมกับควัน ที่มาจากไอเสียยานพาหนะ พอมารวมตัวกัน ก็จะเป็น Smog
“เมื่อ Smoke บวก Fog ปั๊บ แล้วเมื่อแสงแดดมากระทบ การหักเหของแสงก็จะเกิดขึ้น ทำให้เราเห็นภาพไม่ชัด เบลอ กลายเป็นภาพขมุกขมัว อย่างที่เราเห็นกัน นั่นคือเกิดจากการเป็น Smog งั้นตรงนี้คือสาเหตุที่มันเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน แต่ทีนี้ที่โชคยังดี ทั้งๆ ที่น่าจะรุนแรงกว่านี้ แต่บังเอิญ ปีนี้ยังมีปรากฏการณ์ลานีญ่า อยู่ คือเหตุการณ์นี้มีมาตั้งแต่ช่วงพฤศจิกายนของปีที่แล้ว คือมันลดลงมาเหลือช่วง 80-90 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงเดือนธันวาคม แล้วก็มามกราคม ก็ยังอยู่ที่ประมาณ 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เมื่อปีไหนที่ลานีญ่ามันแรง ฝนก็จะตก แม้กระทั่งฤดูที่ฝนไม่น่าตกก็ตก เช่นช่วงนี้ ก็ไม่ควรที่ฝนตกเลย ก็ตก ก็เลยกลายเป็นความโชคดีของคนกรุงเทพฯ ซึ่งตามหลักควรที่จะต้องสูดดมเอามลพิษเข้าไปเยอะในช่วงที่สภาพอากาศนิ่ง แต่พอลานีญ่ามาทับปุ๊บ มันก็เลยเกิดฝนชะล้างมลพิษออกไปพอสมควร
“แต่อย่าลืมว่า มลพิษก็จะมีแหล่งกำเนิดกับการทำลาย คือแหล่งกำเนิดก็ยังปล่อยอยู่ ทีนี้ กลไกที่จะให้เจือจาง มันยังไม่ทำงาน เช่น ลมบกลมทะเล ตอนนี้ก็ยังไม่ได้พัดมาก เพราะปรากฏการณ์ตอนนี้อากาศมันนิ่ง เมื่ออากาศนิ่งก็ไม่เกิดการเคลื่อนไหว มันก็ไม่เกิดการระบาย แต่บังเอิญโชคดีที่ฝนมาตกมันก็เลยชะล้างไป เมื่อ 2 ปรากฏการณ์นี้มันมารวมกัน มันเลยรู้สึกว่ายังไงกันแน่ จริงๆ มลพิษในอากาศจะต้องรุนแรง แต่ก็ไม่รุนแรงกว่าที่เป็น ก็เพราะลานีญ่ามาช่วยไว้ คิดดูว่า แค่นี้ คนกรุงเทพฯ เดือดร้อนแล้วนะ แล้วคนใน 9 จังหวัดภาคเหนือที่โดนกันประจำ มันคืออะไร เชียงใหม่นี่คือมองไม่เห็นดอยสุเทพเลยนะ ช่วงที่มีการเผาป่า (หัวเราะเบาๆ)”
“กล่าวโดยสรุปว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของกรุงเทพฯ มันเป็นความโชคร้ายและเป็นความโชคดีในเวลาเดียวกัน โชคร้ายตรงที่ว่าอากาศนิ่ง แต่โชคดีตรงที่ว่าฝนมาตก ก็เลยหักล้างกันไป ฉะนั้น กลไกในเรื่องการชะล้างมันจะมี เราจะพูดถึงเรื่อง source (แหล่งปลดปล่อยมลพิษ) กับ sink (แหล่งทำลายมลพิษ) อย่างแรกคือแหล่งกำเนิด เราต้องหาให้ได้ว่าแหล่งกำเนิดคืออะไร ซึ่งแหล่งกำเนิดไม่เปลี่ยน แหล่งกำเนิดคงที่คือไอเสียจากยานพาหนะเป็นหลักเลย แล้วแหล่งทำลายมันมีอะไรบ้าง? หนึ่ง คือปฏิกิริยาของแสงแดดมันทำลายมลพิษได้ สอง ลม พัดระบายมลพิษออกสู่ทะเล สาม การชะล้างโดยน้ำฝน สี่ แรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงฝุ่นลงมาสู้พื้นผิวโลก โดยปกติสภาวะอากาศนิ่งแม้จะเกิดขึ้นแต่ก็ไม่บ่อยนัก ส่วนเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกก็เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว แสงแดดก็คงที่ของมันอยู่ตลอดในเกือบทุกฤดูกาลอยู่แล้ว เหลือการชะล้างด้วยฝนนี่แหละ ซึ่งปรากฏการณ์ลักษณะนี้ ทำให้มลพิษหายไปได้พอสมควร เพราะเหตุผลนี้ เลยเป็นทั้งความโชคร้ายและโชคดีในเวลาเดียวกัน
ปรากฏการณ์นี้
มีแค่เฉพาะช่วงฤดู
หากให้พูดถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้น ก็อาจจะสรุปได้ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ในเฉพาะช่วงฤดูหนาว ที่มีอากาศที่เหมาะสมต่อการเกิดสภาวการณ์นี้ แม้ว่าหลักการของเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนักในเมืองไทย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว เราอาจจะเรียกว่าเป็นสัญญาณเตือนเล็กๆ ก็เป็นได้
“ถ้าถามว่าคนกรุงเทพฯได้พบความตื่นเต้นมั้ย คนเชียงใหม่นี่เจอประจำเลย (หัวเราะ) ในสภาพปกตินี้คือ สามารถมองเห็นพระธาตุดอยสุเทพแบบชัดเลย แต่พอช่วงที่มีการเผาป่าแบบรุนแรงนี่คือมองแทบไม่เห็น นั่นคือการปล่อยสารเคมีในชั้นบรรยากาศในรูปแบบของ Biogenic Emissions (การปลดปล่อยสารเคมีจากต้นไม้ในป่า) สำทับด้วยการเผาเศษชีวมวล เมื่อปรากฏการณ์สองอย่างนี้มาเกิดพร้อมกันในช่วงฤดูหนาว พร้อมกับการกดทับของขั้นบรรยากาศด้วยแล้ว ส่งผลให้ในช่วงฤดูหนาว การสะสมของมลพิษจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าฤดูอื่นๆ เพราะว่าการถ่ายเทของมวลอากาศมันไม่ค่อยดี โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่แอ่งกระทะ เหตุผลก็เพราะว่า การรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวมันจะน้อยกว่าช่วงฤดูร้อนอันนี้คือชัดเจนอยู่แล้ว ฤดูร้อนคือพระอาทิตย์ลอยอยู่กลางศีรษะเลย ส่วนฤดูหนาววงโคจรดวงอาทิตย์จะขึ้นมาแนวเฉียงอย่างนี้ (ทำท่าประกอบด้วยการวางแขนแบบเฉียงๆ) เพราะฉะนั้น พลังงานความร้อนที่ได้รับจากพื้น มันจะได้รับไม่เต็มที่ เมื่อได้ไม่เต็มที่ เกิดอะไรขึ้นครับ มวลอากาศก็จะเย็นตาม
“ถามว่ามวลอากาศจะยกขึ้นมั้ย? ก็ไม่ยก เหมือนเราปล่อยโคมลอย ทำไมโคมลอยถึงลอยตัวได้ เพราะว่าเรามีตะเกียงข้างใน เพื่อให้มันร้อนกว่าข้างนอก และตัวโคมก็จะลอยได้เร็วในช่วงฤดูหนาว เพราะมันมีความต่างของอุณหภูมิระหว่างในโคมลอยกับนอกโคมลอย คือช่วงฤดูหนาวอากาศข้างนอกโคมลอยจะเย็นมาก ส่วนอากาศในโคมลอยกลับร้อน กล่าวคือเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ความหนาแน่นอากาศจะลดลง ความต่างของความหนาแน่นอากาศระหว่างด้านในกับนอกโคมลอยมีผลอย่างมากต่อการยกตัวของโคมลอย เคยดำน้ำแล้วลองปล่อยลูกปิงปองจากใต้สระน้ำมั้ย? ทำไมลูกปิงปองถึงลอยขึ้นแทนที่จะจมลง? เพราะว่าความหนาแน่นของลูกปิงปองมันน้อยกว่ามวลน้ำที่อยู่รอบข้าง ลองเทียบดูระหว่างลูกปิงปองกับลูกปาจิงโกะ ปริมาตรของลูกปิงปองมีมากกว่าลูกปาจิงโกะใช่มั้ย? แต่น้ำหนักกลับเบากว่า เพราะฉะนั้น เมื่อมวลมันน้อย หารด้วยปริมาตร ซึ่งมากกลายเป็นว่าความหนาแน่นของลูกปิงปองต่ำกว่าลูกปาจิงโกะ ดังนั้นเมื่อนำลูกปาจิงโกะทิ้งในสระน้ำ มันจะจมเพราะความหนาแน่นมันมากกว่าน้ำ ในขณะที่ลูกปิงปองกลับลอยเนื่องจากความหนาแน่นของมันน้อยกว่าน้ำ เหมือนกัน มวลอากาศมันยกขึ้น ถ้าอุณหภูมิข้างในมันสูง เมื่ออุณหภูมิข้างในมันสูงปั๊บความหนาแน่นของอากาศภายในโคมมันลดลง ส่งผลให้โคมมีแรงยกตัวขึ้นสูง นั่นจึงทำให้เราไม่เคยได้ยินเรื่องปัญหามลพิษทางอากาศในฤดูร้อนเลย เพราะว่ามวลอากาศมีการไหลหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น จำไว้เลยว่า มลพิษทางอากาศจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อนแทบไม่ค่อยเป็นประเด็นสักเท่าไหร่ ฤดูฝนยิ่งไม่เป็นประเด็น เพราะมีกลไกการชะล้างอยู่แล้ว มันจะเกิดเฉพาะในฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูของการสะสมมลพิษทางอากาศเลย
“ส่วนใหญ่ช่วงหน้าหนาวจะหนักเป็นพิเศษ อย่างประเทศจีน ช่วงหน้าหนาวจะหนักมาก อย่าลืมว่า ไอเสียจากยานพาหนะไม่มีฤดูกาล เพราะคนขับรถจะขับทั้งปี แต่สิ่งที่จะมีเฉพาะฤดูกาล แต่เราไม่ค่อยเจอ ก็คือ เขาใช้ฟืน ในชนบทเยอะ หรืออย่างในเมือง เขาก็ไม่ได้ใช้แก๊สนะ เขายังใช้น้ำมันเตา อันนี้คือการใช้เชื้อเพลิงสร้างความอบอุ่นในครัวเรือน อย่างบางที่เขาก็ยังใช้เตาผิงนะ สมัยก่อนลอนดอนใช้เตาผิงเยอะมาก เพราะเตาผิงมันดี ซึ่งจริงๆ ฟืนที่เก็บไว้หน้าหนาวมันดีมากเลย แล้วในชนบทก็ใช้กันแบบนั้น แต่ปัจจุบันรถยนต์มันมีมากขึ้น ประชากรก็เพิ่มมากขึ้น การใช้เชื้อเพลิงในการสร้างความอบอุ่นก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ถ้าเป็นพวกฟอสซิลเมื่อไหร่ก็ปล่อย ถ้าเป็นฟืนก็ปล่อย และยังไม่พอ มวลอากาศยังระบายไม่ดี มันไม่ยกขึ้น มันกดลง เพราะเป็นหน้าหนาว
“เพราะฉะนั้น อย่าลืมว่าระดับความเข้มข้นของมลพิษในชั้นบรรยากาศคือมวลของมลพิษหารด้วยปริมาตร ปริมาตรตรงนี้คือ ปริมาตรของอากาศ หรือ ชั้นบรรยากาศที่ติดกับพื้นผิวโลก (boundary layer) ซึ่งในช่วงฤดูร้อนมันจะขยายตัวขึ้นสูงมาก เมื่อปริมาตรมันเยอะขึ้น หารด้วยมวลเท่าเดิม ความหมายก็คือ ความเข้มข้นจะลดลง ปัญหามลพิษทางกาศเลยไม่เป็นประเด็น คราวนี้ลองกำหนดให้มวลเท่าเดิม แต่ถ้าปริมาตรลดลง ระดับความเข้มข้นจะสูงขึ้น เหมือนผมเอาน้ำปลาเทใส่แก้วน้ำเปล่า 2 หยด ยังไงก็เค็มแน่นอน เปรียบเทียบกับ การที่ผมเอาน้ำปลาเทใส่แท็งค์น้ำใหญ่ๆ ซัก 10 ลูกบาศก์เมตร ให้ชิม เผลอๆ อาจจะไม่ได้รสชาติ เพราะอะไร มวลเท่ากัน แต่ปริมาตรที่หารไม่เท่ากัน ปริมาตรนี่น้อยกว่า ในขณะที่ปริมาตรแท็งค์น้ำ มันเป็น 10 ลูกบาศก์เมตร มันเยอะกว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเข้มข้นมันเจือจาง จนแทบไม่เป็นประเด็น ต่อให้ใส่ทั้งขวดก็ไม่เป็นไร เพราะฉะนั้นจำนวน emission source เท่าเดิมในกรุงเทพฯ แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูร้อน ปริมาตรมันขยายขึ้น เมื่อมันขยายขึ้นปั๊บ ความเข้มข้นก็เจือจางลง จึงไม่เป็นประเด็น แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มันหดลงหรือมันนิ่ง มันจะเป็นประเด็นขึ้นมาทันที เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งมาตกใจนะว่า เป็นเฉพาะตอนนี้เหรอ จริงๆมันก็เท่าเดิม ไม่ได้เปลี่ยนเลย เพียงแต่ว่าปัจจัยนี้แหละที่ขึ้นลงๆ นี่แหละ ถ้าไม่มีการระบาย จบเลย
ระบบขนส่งมวลชน
ช่วยลดมลพิษได้
ปัจจัยหนึ่งที่แม้ว่าจะไม่มีเหตุการณ์มลพิษกลายเป็นหมอกมาเป็นสาเหตุ แต่ก็ถือว่าเป็นปัญหาหลักของมลพิษทางอากาศที่ยังแก้ไม่ตก ซึ่งการสร้างระบบขนส่งสาธารณะ ก็ถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะทางได้ดีอีกทางหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าในระยะแรกของการเดินทางอาจจะมีบ้างในเรื่องความแออัดของการใช้บริการ แต่หากเริ่มคุ้นชินในระบบแล้ว เชื่อได้ว่าปัญหานี้จะคลี่คลายลงไปได้ในระยะเวลาต่อมาอย่างแน่นอน
“ประเด็นต่อไปที่ผมจะพูด ยังไงก็ตาม สิ่งที่ผมอยากให้ทำเลย คือ ต้องลดจำนวนรถยนต์ลง ยังไงก็ต้องลด ซึ่งการจะลดได้ ก็คือ หนึ่ง อันนี้คือปัญหาโลกแตกเลย แต่มันเป็นปัญหาระยะยาวที่ต้องทำ คือ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ซึ่งตอนนี้เราก็ทำอยู่นะ นี่ขนาดมี BTS กับ MRT นะ ถ้าไม่มีสองอย่างนี้ หนักกว่าเดิมอีกนะ แค่นี้ก็รถติดมโหฬารแล้ว คือถ้าลองไปเมืองอื่นๆ อย่างโตเกียว ทั้งๆ ที่จำนวนคนมันเยอะกว่า แต่รถไม่ได้ติดหนักเหมือนเรา เพราะว่าคนส่วนใหญ่เขาไม่ใช้รถยนต์ และแท็กซี่ซึ่งแพงมาก แต่ในขณะเดียวกัน เขากลับมีระบบขนส่งที่มีเครือข่ายเหมือนเส้นใยแมงมุม อย่างบางสถานีเช่น โอเทะมะจิ ซ้อนกัน 5 ไลน์ อยู่ในนั้น ใยแมงมุม เครือข่ายครบหมด ระบบเขาสุดยอดมาก คือคุณขึ้นที่ไหนๆ ครบหมดเลย เพราะว่าระบบสาธารณะดีมาก ทุกอย่างครอบคลุมหมด จบ แล้วก็เดินต่ออีกนิดหน่อยก็ถึงแล้ว คือไม่เหมือนของเรา ที่ระบบขนส่งสาธารณะยังไม่โอเค
“เมื่อระบบขนส่งสาธารณะมันไม่โอเค คุณภาพอากาศเราก็แย่ไปด้วย คุณภาพชีวิตเราก็แย่ไปด้วย นี่คือที่สิ่งที่ผู้บริหารประเทศไม่ค่อยคิด แล้วสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลพูดมาตลอดก็คือ กระตุ้นเศรษฐกิจ แต่คำพูดนี้ คุณไม่ได้คิดถึงต้นทุนสุขภาพและสิ่งแวดล้อมใส่เข้าไปเลย เรากระตุ้นเศรษฐกิจไปเพื่ออยากได้เงิน แต่ถามต่ออีกว่า เราอยากมีความสุขใช่มั้ย เราอยากมีความสุข มีเงินเยอะ แต่ว่าเราต้องนอนป่วยเป็นโรคมะเร็งเอามั้ย คือมารู้ตัวอีกทีตอนเป็นระยะที่ 3 ที่ 4 ตอนนี้เพื่อนผมตายไป 20 คน แล้ว ด้วยหลายโรค คือเมื่อก่อนมะเร็งมันไม่ได้เยอะขนาดนี้นะ สาเหตุการเสียชีวิตอันดับแรกในอดีตคือโรคหัวใจ แต่เดี่ยวนี้ โรคหัวใจกับโรคมะเร็งนี่คือขี่กันมาเลย
“ผมมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งอยู่ มันเป็นการสรุปของเรื่องค่าเฉลี่ยของสารก่อมะเร็งแต่ละชนิดในชั้นบรรยากาศ ซึ่งวัดมาจาก 9 จังหวัดภาคเหนือ ในช่วงเวลา 4 ปีย้อนหลัง เป็นช่วงที่เกิดการเผาป่าที่เชียงใหม่ มีทั้งค่าเฉลี่ยระดับความเข้มข้นของสารก่อมะเร็งในชั้นบรรยากาศในภาวะปกติ และค่าเฉลี่ยหลังกรณีเผาป่า ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเมืองใหญ่ๆในโลก เช่น ไต้หวัน จีน ฮ่องกง บราซิล ซึ่งมีระดับความเข้มข้นของสารก่อมะเร็งในชั้นบรรยากาศสูงกว่าของเราเยอะเลย แสดงให้เห็นว่า มันไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น ทั้งๆ ที่ต่อให้มีวิกฤตที่ว่ามานะ แสดงว่าอะไร แสดงว่าไฟป่าไม่ได้ปล่อยสารก่อมะเร็งมากอย่างที่เราคิด ตัวการสำคัญคือไอเสียจากยานพาหนะเป็นแหล่งปลดปล่อยมลพิษที่สำคัญ ผมคิดว่ายังไงเราก็ต้องเร่งลดจำนวนรถยนต์ลง อย่างที่บอกคือ ต้องมีการใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้เยอะขึ้น หรือว่าต่อไปในเรื่องอนาคตก็ต้องมีเรื่องการปรับเปลี่ยนผังเมือง
“ความสะดวกสบายมันก็เป็นเรื่องดี แต่ประเด็นคือ จะทำยังไงให้ภาครัฐเข้ามาช่วยให้ระบบการขนส่งมันดีขึ้น คือถ้าระบบมันไม่ดี ประชาชนก็ไม่มีทางเลือก เขาก็จำเป็นต้องซื้อรถยนต์ ไม่งั้นเขาจะเดินทางยังไง มันก็ตอบโจทย์เขาไม่ได้ มันเลยบีบให้เขาต้องซื้อไง ซึ่งอันนี้มันก็โทษไม่ได้ ซึ่งผมก็จะไม่ซื้อรถนะ ถ้าเส้นทางการเดินทางระหว่างบ้านกับที่ทำงานสามารถใช้รถไฟฟ้าได้ แต่ถ้ามันไม่ได้ยังไงก็ต้องซื้อ เพราะจะให้เรานั่งแท็กซี่ทุกวันได้ยังไง มันก็ไม่ได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีรถไง ถามว่า ในเรื่องความสะดวกสบาย มันก็ยังจำเป็นต่อการมีรถนะ ซึ่งถามว่าใช้เป็นบางกรณี แต่ในเวลาทำงาน ถ้าเราใช้ระบบนี้ มันสามารถกำหนดเวลาได้เลย แล้วเราจะสบายมาก นี่แหละคือความสะดวกสบายที่แท้จริง ไม่ต้องไปเสี่ยงว่าจะไปถึงกี่โมง ขับรถไป รถติดอีก เราก็ไม่รู้หรอก เพราะมันควบคุมเวลาไม่ได้ ขณะเดียวกัน ถ้าเรานั่งระบบสาธารณะ เราสามารถควบคุมเวลาได้ไง
“รัฐบาลต้องช่วยในการสร้างระบบขนส่งมวลชน แม้ว่าจะขาดทุนในระยะแรกก็ไม่เป็นไร อย่าไปเอาผลกำไรเป็นหลัก คือคนก็ไปคิดเรื่องนี้ก่อนแล้ว ซี่งบางอย่างรัฐต้องลงทุนก่อน ถึงแม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม แต่ถ้ามันทำให้คนทั้งเมืองไม่ต้องไปสูดสารก่อมะเร็งได้ย่อมเป็นเรื่องดี ประเด็นที่สอง การกระจายหัวเมืองออก ไม่ใช่ทุกอย่างมากระจุกแค่ กทม. ซึ่งปัญหานี้ปัญหาใหญ่ คือคนรุ่นผม จะซื้อบ้านสักหลัง จะสามารถซื้อได้มั้ย ทำงานทั้งชาติก็ยังซื้อไม่ได้เลยมั้ง (หัวเราะ) ความหมายก็คือว่า ถ้ารัฐไม่มีแผนที่จะกระจายไปหัวเมืองต่างๆ ซึ่งนั่นเขาก็ทำถูกนะในเรื่องของการย้ายสถานที่ราชการไปนนทบุรี หรือว่าในอนาคต โคราชอาจจะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่และขณะเดียวกันกรุงเทพฯ ก็ยังคงไว้ด้วยฐานะเมืองเศรษฐกิจ
กระจายความเจริญ
ลดความแออัดของเมือง
การที่กรุงเทพฯ ซึ่งนอกจากจะเป็นเมืองหลวงของประเทศแล้ว มหานครนี้ก็เปรียบเสมือนเมืองหลักอีกเมืองหนึ่งในทุกด้านของประเทศไทย ซึ่งปัญหาความแออัดและการกระจุกตัวอยู่ในเมืองเดียวนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำใหเกิดปัญหามลภาวะตามไปด้วย สำหรับความเห็นของ ดร.ศิวัช นั่น เขามองว่า การกระจายตัวเมืองไปสู่หัวเมืองต่างๆ ของประเทศ จะเป็นการแก้ปัญหามลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
“อย่างเมืองนอก เช่นอเมริกา ก็มีเมืองลักษณะเดียวกัน เช่น วอชิงตัน ดี.ซี. เป็นเมืองหลวง แต่ก็มี นิวยอร์ก ที่เป็นหัวเมืองในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของเขาอยู่ คนสามารถอยู่ที่นั่น โดยไม่จำเป็นจะต้องเข้า กทม. ก็ได้ ลองไปดูประเทศที่พัฒนาแล้วสิ แต่ละเมืองจะมีความเจริญสูสีกันไม่แพ้กันมาก นิวยอร์กยิ่งใหญ่อลังการก็จริง แต่ลอสแองเจลิส กับ ซานฟรานซิสโก ก็ไม่ธรรมดา คือเมืองที่มีสเกลเล็กกว่า แต่เขาก็มีความอลังการของเขาอยู่ คือคนเขาก็ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขอยู่ในเมืองนั้นได้โดยไม่จำเป็นที่จะมาหางานทำในนิวยอร์ก ด้วยรายได้ที่สูงเท่าเทียมกัน คนอเมริกันที่มีรายได้สูง อาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่นิวยอร์กก็ได้ แล้วแต่บริษัทดังๆ จะจ่ายให้ ก็ย้ายไปอยู่ที่อื่น รับเงินเดือนแพงๆ ได้ คือมีเงื่อนไขพิเศษดึงดูดล่อใจให้ไปทำงาน
“แต่แน่นอนว่าเงินเดือนสูง เป็นแรงจูงใจลำดับแรกๆ ที่จะให้คนไปอยู่ พอไปอยู่แล้ว ไปสร้างผลกำไรให้บริษัทก็ได้ เขาก็แฮปปี้ ซึ่งสมมติว่า ถ้าให้บริษัทดังๆ ไปตั้งฐานที่เชียงใหม่นะ แล้วให้ผลตอบแทนสูงหรือดีกว่า กทม. คนก็เฮโลไป คนก็อยากไปอยู่ นั่นแหละคือการกระจายความเจริญ ไม่ใช่เอะอะก็เฮโลมากระจุกตัวกันที่กรุงเทพฯ หมด ซึ่งเราพูดถึงมลพิษทางอากาศ แต่มันสัมพันธ์โยงใยไปหมดเลย เป็นเรื่องของการกระจายประชากร กระจายความเจริญ แล้วเรื่องของการกระจุกศูนย์รวมอำนาจที่ กทม. เห็นมั้ย ทุกอย่างก็มาจากเรื่องนี้
ค่ามาตรฐานของไทย
ควรกำหนดด้วยตนเอง
แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมจะต้องขับเคลื่อนต่อไป ตามกลไกเศรษฐกิจของประเทศ แต่ด้วยปัญหาที่มาจากสิ่งเหล่านี้ด้วยนั้น ก็ส่งผลบางอย่างต่อบางชุมชนที่ได้รับผลกระทบนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจากเหตุผลนี้เอง ดร.ศิวัช ได้แสดงทรรศนะด้วยว่า ประเทศไทยควรมีค่าวัดระดับมาตรฐานทางอากาศแบบของตัวเองได้แล้ว
“อย่างที่ผมเขียนในโพสต์นั่นแหละ ว่าค่ามาตรฐานเหล่านั้นมันเป็นค่าที่หยาบมาก โดย common sense ค่าค่าหนึ่ง จะมาใช้กับคนทั้งโลกได้ยังไง เพราะอะไร ค่าพวกนี้ มันมาจากสูตรการประเมินความเสี่ยง โดยขึ้นอยู่กับขนาดของปอด ขนาดของน้ำหนักตัว แล้วถามว่า น้ำหนักตัวของคนไทยกับคนอเมริกันเหมือนกันกันมั้ย ขนาดปอดของคนทั้ง 2 ชาติ เหมือนกันหรือเปล่า ความสูงเฉลี่ยของผู้ชายอเมริกัน สูงที่ 176.4 เซนติเมตร ขณะที่ชายไทยอยู่ที่ 170.3 เซนติเมตร ต่ำกว่าคนอเมริกันแน่นอน แล้วขนาดปอดละเท่ากันมั้ย หรือระยะเวลาที่รับสารก่อมะเร็งของคนทั้ง 2 ชาติ เท่ากันหรือเปล่า วิถีชีวิตเหมือนกันมั้ย ฉะนั้น เราจะไปอิงตามเขาทำไม US-EPA (สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา) เขาคำนวณมาจากวิถีชีวิตคนอเมริกัน กับสภาพคนอเมริกัน แล้วคนไทยเหมือนมั้ย
“เพราะฉะนั้น เราจะต้องมีค่ามาตรฐานของเราเอง นี่คือประเด็นที่หนึ่ง ประเด็นที่สองที่อยากบอกให้สังคมรับรู้ว่า ไม่ใช่ให้ไปตื่นเต้นกับค่าตัวเลข PM10 กับ PM 2.5 มากจนเกินไปคือตอนนี้เราดูข้อมูลจากสองสิ่งนี้ เช่น PM2.5 มีค่าเฉลี่ยมาตรฐาน 50 ลูกบาศก์เมตร ภายในเวลา 24 ชั่วโมง WHO (องค์การอนามัยโลก) กำหนดไว้อย่างนั้น เขากำหนดให้เป็นตัวเลขหยาบๆ สำหรับคน 7,000 ล้านคนทั่วโลก แล้วถามว่า คนไทย 70 ล้านคน มาใช้ค่าเฉลี่ยนี้มัน make sense มั้ย ก็ไม่ แต่เหนือสิ่งอื่นใดที่เขาพูดไม่หมดก็คือว่า ขนาดของฝุ่นละออง ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม มันไม่เพียงพอที่จะมาตัดสินอะไรได้ ที่ผมโพสต์ในกระทู้ facebook นั้น มันยังมีสารพิษอีกไม่รู้กี่ชนิด ที่ในอนุสัญญาสตอกโฮล์มซึ่งระบุว่ามี 12 ชนิดที่เป็นอันตรายอาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ ยังไม่รวมถึงโลหะหนักนะครับ ซึ่งอันตรายมาก พวกนั้นคือทั้งโลหะหนักใน กทม. ที่ผมวัดแล้ว มีข้อมูลหมด ข้อมูลพวกนี้ ทำไมไม่พูดถึง ทำไมถึงไม่มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
“ซึ่งผมเข้าใจและเห็นใจกรมควบคุมมลพิษนะ เพราะว่างบประมาณเขาน้อย เขาจึงมีแค่นั้น ซึ่งเราก็ต้องถามรัฐบาลต่อว่า การแบ่งสันปันส่วนมาที่เรื่องนี้มันน้อยเกินไป คือมันเป็นปัญหาตรงที่ว่า คนยังไม่เห็นความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม เพราะคิดว่าต้นทุนด้านนี้ไม่ต้องใส่รวมไปในค่าใช้จ่ายโครงการ สมมติว่าเราจะสร้างโรงงานหรือสร้างคอนโดหนึ่งขึ้นมา ต้องมีการทุบตึก มีการฟุ้งกระจายหรือฝุ่นละอองของคอนกรีต ไอ้เรื่องพวกนี้ ไม่ต้องไปใส่ในต้นทุน ถามว่าไม่ใส่เข้าไปได้ยังไง คุณเล่นทุบนู่นนี่นั่น แล้วฝุ่นฟุ้งออกไป ชาวบ้านก็ต้องสูดดม ซึ่งถ้าปอดเขาเสียขึ้นมา ใครจะจ่ายเงิน ถามว่าคนสร้างคอนโดเขาจะจ่ายเงินให้มั้ย ก็ไม่จ่าย สรุปคือชาวบ้านละแวกนั้นซวย
“เพราะฉะนั้น ทุกโครงการ ทุกความเจริญที่อยากให้เกิดขึ้น จะต้องแลกกับสุขภาพของคน และแลกกับสิ่งแวดล้อมที่เสียไปเสมอ ตัวอย่างหลายกรณีที่ผ่านๆ มา ก็เป็นอย่างนั้น ทีนี้ อันนี้ก็เป็นเรื่องของความยุติธรรมแล้ว ว่าคนคนหนึ่ง ทำธุรกิจหนึ่งขึ้นมา มีความร่ำรวยขึ้นมา บนความเดือดร้อนของคนจำนวนมากที่ต้องเสียสุขภาพไป เรื่องแบบนี้มันแฟร์มั้ย เพราะฉะนั้น เราอย่าไปมุ่งกับตัวเลขของ GDP อย่างเดียว เราต้องดูในเรื่องของสุขภาพของคนส่วนใหญ่ด้วยว่ามันเป็นยังไง ผมสนับสนุนให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณให้กับกรมควบคุมมลพิษมากกว่านี้ในการที่เขาสามารถที่จะตรวจวัด เฝ้าระวังมลพิษในชั้นบรรยากาศตามหัวเมืองต่างๆ ได้ตลอด มันเป็นเวชศาสตร์เชิงป้องกัน (Preventive Medicine)
“ถามว่าทำไมต้องมีสิ่งนี้ เพราะว่าเราต้องรอให้เป็นทั้งมะเร็งหรือโรคหัวใจก่อนหรือเปล่าถึงมารักษา มันไม่ใช่ใช่มั้ยครับ สาเหตุหนี่งที่ทำไมเราต้องไปตรวจสุขภาพทุกปี เพราะว่าจะได้กันไว้ดีกว่าแก้ไง เขา (แพทย์) จะบอกเราก่อนที่จะไปถึงจุดวิกฤตไง เพราะฉะนั้น ศักยภาพของ คพ. (กรมควบคุมมลพิษ) มันวัดได้ในข้อมูลหลักๆ เช่น คาร์บอนมอนอกไซค์ PM10 PM2.5 วัดได้ แต่สารเคมีที่ทำให้เกิดโรคร้าย มันไม่ได้มีแค่นี้ มีมากกว่านี้เป็นร้อยๆ ชนิดเลย แน่นอนค่าใช้จ่ายมันสูงขึ้น แต่ก็ต้องมีบางอย่างที่จะต้องวัด เช่นอย่างที่ผมโพสต์ไว้ใน facebook ซึ่งค่าใช้จ่ายมันสูงมาก เข้าใจได้ แต่เมืองนอกเขาทำ เขาจ่าย
“อย่างอังกฤษ เขาวัดคุณภาพอากาศกันเป็นรายตำบลเลย ค่ามาตรฐาน PAHs (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons: สารก่อมะเร็ง) ขนาดที่เมืองไทยยังไม่มีเลย เอาง่ายๆแค่กฎหมายที่ควบคุมสารก่อมะเร็งในชั้นบรรยากาศภายนอกยังไม่มีเลย อังกฤษนี่มีกำหนดไว้แล้วไม่ให้เกิน 0.25 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานของ UK-EPAQS) ผมกำลังพูดถึงเรื่องสมัยที่ผมไปทำปริญญาเอกที่นั่นนะ เมื่อปี 2000 แล้วเขาก็ทำมาก่อนหน้านั้น 10-20 ปีแล้ว ซึ่งพอมาบวกกับเวลาปัจจุบัน เขาทำมาเกือบ 40 ปีแล้ว ขณะที่บ้านเรายังไม่กระดิกเลย ผมถึงบอกเลยว่า ชีวิตคนไทยมันราคาถูก จะสร้างอะไรแต่ละครั้งนี่คือ อย่างเช่นในเขตก่อสร้างทางด่วนเอาลูกตุ้มมาห้อยอยู่บนหัวเรา จนทำให้เราระแวงและสยองว่า มันจะตกมาเมื่อไหร่ แล้วถ้ามันตกลงมาใส่เราตาย แล้วใครจะรับผิดชอบ ชีวิตมันไถ่คืนกันได้มั้ย คืออย่างที่ผมบอกว่า เรื่องต้นทุน อย่าไปคาดหวังกับเรื่องเลข GDP ภาพหลอนพวกนั้น ดูภูฏานสิ คนเขามีความสุขมั้ย ไม่จำเป็นที่จะต้องมีโรงงานใหญ่โต
“ผมไม่ได้แอนตี้อุตสาหกรรมนะ แต่ว่าอุตสาหกรรมนั้นควรมีการขบคิดใช้ปัญญาอย่างไตร่ตรองแล้ว มันควรเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพน้อย และไม่เป็นพิษต่อคน อย่างประเทศที่พัฒนาแล้วเขาฉลาด อะไรที่เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สร้างมลพิษเยอะ ผลักออกไปนอกประเทศหมดเลย คงไว้แต่หัวใจสำคัญของตัวอุตสาหกรรมอย่างเช่น การวิจัยและพัฒนา (R&D) ไว้ในประเทศ ไม่ต้องนำ R&D ออกไปข้างนอก เพราฉะนั้นไอเดียที่จะเป็นมันอยู่ในสมอง จะอยู่ในประเทศเขา อะไรที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ผลักออกไป นี่คือปัญหา
ถ้าเลี่ยงไม่ทัน
ก็จงอยู่กับมันให้ได้
แม้ว่าปรากฏการณ์นี้ อาจจะเป็นแค่สภาวการณ์ชั่วคราวที่ผ่านมาและจากไปตามฤดูกาล แต่เพื่อความไม่ประมาทแล้ว หากสมมติว่ามีการเกิดเหตุการณ์นี้แบบระยะยาวจริงๆ ดร.ศิวัช มีวิธีการที่จะเตรียมรับมือเหตุการณ์นี้ได้ เพื่อความไม่ประมาทของแต่ละบุคคลนั่นเอง
“สำหรับข้อปฏิบัติของประชาชนนะ เรื่องแรก งดการออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง เพราะอะไร เมื่อไหร่ที่ออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง เมื่อคุณภาพอากาศแย่ สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร เราหายใจเยอะขึ้น เมื่อเราทำสิ่งนี้ เราก็สูดพวกควันฝุ่นเข้าไปเยอะ แล้วพอได้สารพวกนี้เข้ามาในปอดเรื่อยๆ มันจะไปอยู่ในปอด ในก้านปอด และเข้าไปสู่การหมุนเวียนของกระแสเลือด ซึ่งถ้าเข้าไปอยู่ในกระแสนี้แล้ว จะเกิดภาวะเลือดข้นขึ้น ซึ่งข้อมูลนี้คนไม่ค่อยรู้ เลือดข้นเพราะเราเอาฝุ่นละอองเข้าไป ก็เหมือนเราเอาผงอะไรเทใส่น้ำ ซึ่งคนที่เลือดข้นก็คือคนที่ไม่ค่อยชอบดื่มน้ำเปล่า เขาจะบังคับเลยว่า พวกเลือดหนืด มักจะไปสัมพันธ์กับโรคหัวใจ ยิ่งหนืด หัวใจยิ่งทำงานหนัก
“เพราะฉะนั้น คนที่เป็นโรคหัวใจแล้วไปออกกำลังกายเยอะๆ ในที่โล่งแจ้ง ในช่วงที่มลพิษเยอะ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจสูงมาก และมีงานวิจัยออกมาแล้วที่บราซิล ช่วงที่มีมลพิษหมอกควันสูง จำนวนของคนที่แอดมิตจากโรคหัวใจมีเยอะขึ้น ยังไม่รวมถึงโรคการปวดศีรษะอย่างไม่ทราบสาเหตุ เรื่องของไอจาม โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจเป็นหมด ฉะนั้นควรงดการออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง
“ข้อที่สอง คือการหาหน้ากากมาปิดจมูก ก็ช่วยในระดับหนึ่ง แต่กันไว้ได้ไม่หมด แต่สวมไว้ก็ดี ซึ่งถ้าเป็นหน้ากากปิดจมูกราคาถูกก็อาจจะช่วยได้ไม่มาก เพราะว่าฝุ่นละอองมันมีขนาดเล็ก และถ้าเราอยู่ในอาคารที่มีระบบเครื่องกรองอากาศที่ดี มันดักได้ อย่างเช่นเครื่องฟอกอากาศ เพราะมันสามารถช่วยได้เยอะจริงๆ หรือระบบหนึ่งที่ผมเคยเสนอมานานแล้ว คือ ใช้สเปรย์น้ำ แบบเดียวกับตามร้านกาแฟที่เขาเอาไว้ฉีดรอบร้าน นั่นก็ช่วยได้เยอะเลย แต่ต้องเปิดทั้งวันทั้งคืน นี่ก็ต้องจ่ายเงินหนักเหมือนกัน ถ้าสำหรับคนมีเงิน นั่นก็ช่วยได้เยอะเลย มันเหมือนการจำลองฝนตกนั่นแหละ มันจะช่วยชะล้างฝุ่นละอองออกไปได้ระดับหนึ่ง
“แต่ถ้ากล่าวโดยสรุปคือ ก็ต้องเฝ้าระวังผ่านทางแอปพลิเคชันก็ได้ ถ้าช่วงไหนเกิดวิกฤตแย่ๆ ว่าเรามีแผนที่จะไปเตะฟุตบอลกับเพื่อน งดไว้ก่อนเลย แต่ถ้าเป็นในอาคารที่มีการติดตั้งระบบเครื่องปรับอากาศยังได้ แอร์คอนดิชั่นนี่ช่วยได้เยอะ ถ้าลองมาล้างแอร์ในแต่ละครั้งนี่คือฝุ่นเยอะเลย คือมันก็กันได้ระดับหนึ่ง แต่ว่ามันต้องทำหลายชั้น อย่างที่บอก ถ้ามีเงินมากก็ควรซื้อของพวกนี้ อย่าลืมว่าปอดมันกลับมาใช้เหมือนเดิมไม่ได้นะ เราใช้มันจนตายนะ เพราะว่าสิ่งนี้มันช่วยได้เยอะจริงๆ นะ อย่างเครื่องฟอกอากาศมันช่วยได้อยู่แล้วไง
“หรืออีกทางหนึ่ง ผมมีเพื่อนชาวต่างชาติที่อยู่เชียงใหม่ เขาใช้วิธีนี้เลย เขาวางแผนกับครอบครัวเขาเลยว่า ถ้าในเมืองที่อยู่มีปัญหาหมอกควัน ก็หนีไปเที่ยวที่อื่นในตอนนั้นเลย หนีออกจากจุดเสี่ยง ถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยง หรืออยู่แล้วก็ต้องรับมือกันไป แต่สิ่งนี้คือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ต้นเหตุยังไม่ได้รับการแก้ไขเหมือนเดิม แต่ผมเชื่อว่าอนาคตจะดีขึ้น เพราะอย่างที่บอก ทั้งระบบขนส่งมวลชน และสิ่งที่ผมอยากเห็นคือ การกระจายความเจริญไปสู่หัวเมืองอื่นรอบๆ กทม. นี่คือสิ่งที่เราอยากเห็น คือจำนวนคนใน กทม. ลดลง เกิดการกระจายตัวของประชากรไปที่อื่นบ้าง ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องพร้อมใจกันขับรถเข้ามาที่ใจกลางเมืองหมด อย่างนั้นก็ไม่ไหว
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ศิวกร เสนสอน