คลิกที่นี่เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.สนช.ผ่านฉลุย กม.เลือกตั้ง ส.ส.-กม.ที่มา ส.ว. ยืดเวลาเลือกตั้ง ด้าน “วิษณุ” คาด เลือกตั้ง ก.พ.62!

เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ในวาระ 2 และ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.ป. ส.ส.พิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีจำนวน 178 มาตรา
สำหรับประเด็นที่ถูกจับตา ได้แก่ มาตรา 2 การให้ร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 90 วัน โดยนายวิทยา ผิวผ่อง ประธานคณะ กมธ.ฯ ชี้แจงเหตุที่ต้องเลื่อนเวลาบังคับใช้ร่างกฎหมายฉบับนี้ 90 วัน เพื่อให้ประชาชน พรรคการเมือง ได้ศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมายล่วงหน้า จะได้ไม่กระทำผิดโดยไม่เจตนา ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 1.5 ล้านคนก็จะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้โดยไม่ผิดพลาด อย่างไรก็ตาม นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับการขยายเวลาบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้มองว่า การขยายเวลาเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กำหนดไว้ และ สนช.ได้ลงมติรับหลักการในวาระแรกไปแล้ว อีกทั้งที่ผ่านมา คสช. คณะรัฐมนตรี และ กกต. ก็ไม่เคยแจ้งหรือขอให้ขยายเวลา ดังนั้น กรธ. จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะขยายเวลาออกไป
ด้านนายนัฏฐ์ เล่าห์สีสวกุล ตัวแทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในฐานะกรรมาธิการชี้แจงว่า การขยายเวลาการบังคับใช้กฎหมายนี้ออกไป 90 วัน ไม่ได้แปลว่าวันเลือกตั้งต้องขยายออกไป 90 วัน เพราะอำนาจขยายเวลาบังคับใช้เป็นของฝ่ายบริหาร แต่อำนาจกำหนดวันเลือกตั้งเป็นของ กกต. ดังนั้นปฏิทินการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นชัดเจนในเดือน มิ.ย.2561
ทั้งนี้่ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการขยายเวลาบังคับใช้ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ออกไป 90 วัน ด้วยคะแนน 196 ต่อ 12 เสียง และงดออกเสียง 14 เสียง
ส่วนมาตรา 35 ที่ กมธ.เสียงข้างมากให้ตัดสิทธิผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยให้ตัดสิทธิการสมัครเข้ารับราชการ พนักงาน และลูกจ้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภานั้น ที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วย ด้วยคะแนน 118 ต่อ 92 งดออกเสียง 13 แต่เห็นด้วยกับการตัดสิทธิการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง และผู้บริหารท้องถิ่นแก่ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตามที่ กมธ. เสียงข้างมากแก้ไขเพิ่มเติมเข้ามา
ขณะที่มาตรา 75 ที่ กมธ.เสียงข้างมากให้ตัดข้อห้ามผู้สมัครรับเลือกตั้งโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพและงานรื่นเริงนั้น ที่ประชุมเห็นด้วย ด้วยคะแนน 136 ไม่เห็นด้วย 78 งดออกเสียง 8 เท่ากับว่าผู้สมัครสามารถหาเสียงด้วยการจัดมหรสพและงานรื่นเริงได้
นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นด้วยกับ กมธ.เสียงข้างมากที่ให้เปลี่ยนเวลาในวันเลือกตั้ง จากเดิม 08.00-16.00 น. เป็นเวลา 07.00-17.00 น. ด้วยคะแนน 156 ไม่เห็นด้วย 59 งดออกเสียง 5
ต่อมา ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ในวาระที่ 3 ด้วยคะแนน 213 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง โดยที่ประชุมใช้เวลาพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ในวาระ 2-3 ยาวนานเกือบ 14 ชั่วโมง
สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ สนช. จะนำร่างกฎหมายฉบับนี้ ส่งไปยัง กรธ. และ กกต. เพื่อพิจารณาว่า มีเนื้อหาขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากพบว่าขัด ต้องมีการตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย สนช.-กรธ.-กกต. เพื่อทบทวนร่างกฎหมายต่อไป
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประเมินว่า ถ้า พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ประกาศใช้ในเดือน มิ.ย. แล้วให้บังคับใช้หลังจากนั้น 90 วัน คือเดือน ก.ย. จะต้องจัดเลือกการเลือกตั้งภายใน 150 วัน คือภายในเดือน ก.พ.2562
ทั้งนี้ นอกจากร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.จะผ่าน สนช.ในวาระ 3 แล้ว ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ว.ก็ผ่านวาระ 3 จาก สนช.แล้วเช่นกัน โดยการประชุมพิจารณาร่างดังกล่าวมีขึ้นเมื่อวันที่ 26 ม.ค. ซึ่งร่างดังกล่าวมี 92 มาตรา
โดยหลังจาก สนช.อภิปรายทุกมาตราแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าว ในวาระ 3 ด้วยคะแนน 197 ต่อ 0 งดออกเสียง 7 คะแนน ซึ่งสาระสำคัญได้แก่ ให้ร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลทันทีหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไม่ต้องขยายเวลาให้มีผลหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 90 วันเหมือนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. , เห็นชอบให้ ส.ว. มี 2 ประเภท คือ ผู้สมัครแบบอิสระ และผู้สมัครซึ่งเป็นตัวแทนขององค์กร และลดกลุ่มอาชีพของผู้สมัคร ส.ว.ลง จากที่ กรธ.กำหนด 20 กลุ่ม เหลือ 10 กลุ่ม ขณะที่การเลือก ให้เลือกกันเองในกลุ่ม แทนการเลือกแบบไขว้
ซึ่งนายอุดม รัฐอมฤต คณะ กมธ.วิสามัญฯในสัดส่วนของ กรธ.ชี้แจงว่า ที่กำหนดไว้ 20 กลุ่ม เพื่อให้ได้ ส.ว.หลากหลายอาชีพ แต่นายสมคิด เลิศไพฑูรญ์ ประธาน กมธ.ฯ แย้งว่า การแบ่งกลุ่มจำนวนมาก จะไม่สามารถหากลุ่มวิชาชีพทั้งหมดได้ในระดับอำเภอ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง
สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ ทาง สนช.จะส่งร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวที่ผ่านความเห็นชอบในวาระ 3 แล้ว ไปให้ กรธ. และองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาว่าจะมีความเห็นแย้งหรือไม่ภายใน 10 วัน หากมีฝ่ายใดโต้แย้ง ต้องตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย เพื่อพิจารณาภายใน 15 วัน ก่อนส่งให้ที่ประชุม สนช.พิจารณาอีกครั้ง
2.“อภิสิทธิ์” นำทีม ปชป.ยื่นผู้ตรวจการฯ สอบคำสั่งหัวหน้า คสช.ขัด รธน. รีเซ็ตสมาชิกพรรค-เอื้อประโยชน์พรรคใหม่ บ่อนทำลายพรรคเก่า!

เมื่อวันที่ 23 ม.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) พร้อมด้วยแกนนำพรรค ได้เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 เกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หลังหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นคำสั่งที่รีเซ็ตสมาชิกพรรคการเมือง และเป็นคำสั่งที่เอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองที่จะตั้งขึ้นใหม่
ทั้งนี้ คำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ระบุสาเหตุที่คำสั่ง คสช.ดังกล่าวอาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 5 ข้อ คือ 1. คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้สมาชิกพรรคต้องยืนยันความเป็นสมาชิกต่อหัวหน้าพรรคภายใน 30 วัน ซึ่งมีผลไม่ต่างจากการรีเซ็ตสมาชิกพรรคการเมือง หรือเท่ากับบังคับให้สมาชิกพรรคการเมืองพ้นสมาชิกภาพทั้งหมดและต้องสมัครใหม่โดยปริยาย 2. คำสั่งดังกล่าวห้ามไม่ให้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วดำเนินการประชุมหรือดำเนินกิจการใดๆ ในทางการเมือง ทำให้พรรคไม่สามารถสื่อสารกับสมาชิกพรรคโดยวิธีปกติในทางการเมืองได้
3. คำสั่งดังกล่าวมีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองใหม่ บ่อนทำลายพรรคการเมืองเดิมที่มีขนาดใหญ่ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกพรรคได้รับความเดือดร้อน 4. คำสั่งดังกล่าวละเมิดสิทธิเสรีภาพของสมาชิกพรรคที่เป็นประชาชนตามรัฐธรรมนูญ จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในเรื่องการปฏิรูปและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์และกระบวนการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกพรรคได้รับความเสียหาย และ 5. คำสั่งดังกล่าวตราขึ้นโดยไม่ปฏิบัติตามกระบวนการตามรัฐธรรมนูญมาตรา77 และมาตรา 132 (2)
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คำสั่งหัวหน้า คสช.ดังกล่าว ไม่เข้าข่ายเงื่อนไขตามมาตรา 44 ที่ต้องทำเฉพาะเรื่องปรองดอง สามัคคี ความมั่นคง และการปฏิรูป ทั้งยังเป็นคำสั่งที่ปราศจากเหตุผลโดยสิ้นเชิง เช่น กรณีที่อ้างว่ามีสมาชิกซ้ำซ้อนกัน ก็เป็นสิ่งที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบและแก้ปัญหานี้ไปแล้ว หรือการอ้างว่าคำสั่งนี้เปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคการเมืองทบทวนอุดมการณ์ก็ไม่เป็นคามจริง เพราะการประชุมใหญ่ไม่สามารถทำได้ “ผมไม่มีเจตนาสร้างปัญหาทางการเมืองให้กับผู้ออกคำสั่งนี้ แต่ผมมีหน้าที่ที่จะปกป้องสิทธิของประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และผมต้องการเห็นการปฏิรูปการเมืองเดินหน้า การตรากฎหมายเป็นไปตามหลักนิติธรรม ไม่มีการใช้อำนาจบิดเบือนจนทำให้เกิดวิกฤตอย่างในปัจจุบัน ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขความเดือดร้อน สร้างภาระเกินแก่เหตุ จึงขอให้เสนอไปยังหน่วยงานรัฐแก้ไขไม่ให้ก่อให้เกิดผลกระทบและส่งศาลรัฐธรรมนูญได้หากเห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญ และขอให้พิจารณาโดยเร่งด่วนเพราะความไม่เป็นธรรมจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป”
ด้านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า จะรายงานให้ที่ประชุมรับทราบถึงคำร้องดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเดือดร้อนหรือทำให้เกิดภาระที่เกินกว่าเหตุหรือไม่ และหากมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็อาจส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ถ้าผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวชอบแล้ว ก็จะต้องชี้แจงให้ผู้ร้องรับทราบต่อไป พร้อมยืนยัน จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว และให้ความมั่นใจว่า ผู้ตวจการแผ่นดินไม่ได้ทำงานภายใต้แรงกดดันของใคร แต่ปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระตามข้อเท็จจริง
3.อัยการสั่งฟ้อง 9 แกนนำ กปปส. “สุเทพ-ชุมพล” โดนทั้งกบฏ-ก่อการร้าย ด้านศาลให้ประกัน แต่ห้ามออกนอกประเทศ!

เมื่อวันที่ 24 ม.ค. อัยการได้นัดฟังคำสั่งว่าส่งฟ้องแกนนำและแนวร่วมคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) ข้อหากบฎและก่อการร้ายหรือไม่ กรณีชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์และปิดกรุงเทพฯ หรือชัตดาวน์กรุงเทพฯ รวมทั้งปิดล้อมหน่วยรับสมัครและหน่วยเลือกตั้ง เมื่อปี 2556-2557
เมื่อถึงกำหนดนัด นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.พร้อมแกนนำ กปปส.รวม 9 คน ได้มารายงานตัวเพื่อฟังการสั่งคดีของอัยการ ด้านนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า คดีนี้ นายคารม พลพรกลาง ทนายความ นปช.กับพวกได้ฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก สำนวนถึงสำนักงานอัยการสูงสุดเมื่อปี 2557 มีผู้ต้องหา 58 คน อธิบดีอัยการพิเศษขณะนั้นสั่งไม่ฟ้อง 1 คน คือ นายพิจารณ์ สุขภารังษี อาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ เนื่องจากไม่ได้กระทำผิด ส่วนผู้ต้องหาที่เหลือ 57 คน ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ยังไมได้ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุด 3 คน จึงเหลือสำนวนอยู่ 54 คน แต่มีบางข้อหาไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคดีหลัก จึงแยกสำนวนไป 7 สำนวน ส่วนที่เหลือ คณะทำงานของสำนักงานอัยการสูงสุดสมัยนั้น เห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่เหลือทั้งหมด โดยยื่นฟ้องไปแล้ว 4 ราย คือ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์, นายเสรี วงษ์มณฑา, นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม และนายสกลธี ภัททิยกุล
ทั้งนี้ อัยการได้นำตัวนายสุเทพ พร้อมพวกรวม 9 คนที่เป็นแกนนำ กปปส.ส่งฟ้องต่อศาล ประกอบด้วย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายชุมพล จุลใส,นายพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์, นายอิสสระ สมชัย, นายวิทยา แก้วภราดัย, นายถาวร เสนเนียม, นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ, และนายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ ในข้อหาร่วมกันเป็นกบฎ, ยุยงให้หยุดงาน, กระทำให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในราชอาณาจักร, อั้งยี่, ซ่องโจร, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง, บุกรุกในเวลากลางคืน และร่วมกันขัดขวางการเลือกตั้ง โดยนายสุเทพและนายชุมพล ถูกส่งฟ้องข้อหาก่อการร้ายด้วย ส่วนผู้ต้องหาที่เหลืออีก 34 คน ที่ไม่ได้มารายงานตัว เนื่องจากขอเลื่อนฟังการสั่งคดีนั้น อัยการเตรียมส่งฟ้องไว้ทุกคนแล้ว โดยจะพิจารณาว่า เหตุผลที่แต่ละคนขอเลื่อนนั้นฟังได้หรือไม่ โดยนัดให้มาฟังคำสั่งคดีอีกครั้งในวันที่ 14 มี.ค.นี้
หลังอัยการนำตัวนายสุเทพพร้อมแกนนำ กปปส.รวม 9 คนส่งฟ้องต่อศาลแล้ว ศาลได้ประทับรับฟ้อง และสอบคำให้การเบื้องต้น ซึ่งจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ ทั้งนี้ ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 19 มี.ค. เวลา 09.00 น. หลังจากนั้น ผู้ต้องหาทั้ง 9 คน ได้ยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัว ซึ่งศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยตีราคาประกันคนละ 6 แสนบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
ด้านนายสุเทพ กล่าวหลังถูกส่งฟ้องต่อศาลทั้งข้อหากบฏและก่อการร้ายว่า พวกตนทั้ง 9 คนได้ตกลงกันตั้งแต่ต้นแล้วว่า จะมามอบตัว เพราะเราเป็นคนไทย ต้องเคารพกฎหมายไทย เคารพกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย จะถูกผิดอย่างไร ก็ไปสู้ในกระบวนการยุติธรรม จะนำเอาพยานหลักฐานที่รวบรวมได้ไปเสนอต่อศาล และเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ถ้าเราพลาดพลั้งแพ้คดี ถูกศาลลงโทษ ก็พร้อมจะน้อมรับ
4.ป.ป.ช. ชี้ถ้านาฬิกาหรูของเพื่อน “บิ๊กป้อม” ไม่ต้องแจ้งบัญชี ด้าน “วัชรพล” ถอนตัวไม่ร่วมพิจารณาเรื่องนี้!

เมื่อวันที่ 24 ม.ค. นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้แถลงความคืบหน้าการตรวจสอบนาฬิกาหรูและแหวนเพชรของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมว่า หลังปรากฏข่าวเกี่ยวกับนาฬิกาจำนวน 25 เรือน ป.ป.ช.จึงต้องให้ พล.อ.ประวิตร ชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องนี้เพิ่มเติมเป็นครั้งที่ 3 และว่า ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตรชี้แจงผ่านสื่อว่า นาฬิกาไม่ใช่ของท่าน จึงเป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.ต้องตรวจสอบเพื่อยืนยันข้อมูล
อย่างไรก็ตาม นายวรวิทย์ กล่าวว่า ที่สื่อเผยแพร่ข้อมูลว่า พล.อ.ประวิตรมีนาฬิกา 25 เรือนนั้น บางเรือนรูปไม่ชัดเจน บางเรือนเห็นแค่สาย จึงต้องตรวจสอบว่าเท็จจริงอย่างไร มีนาฬิกา 25 เรือนจริงหรือไม่ หรืออาจเป็นภาพซ้ำ ความจริงแล้ว อาจมีแค่ 15 เรือน และต้องตรวจสอบว่าเป็นนาฬิกาของใคร ใครเป็นเจ้าของ
ส่วนการสอบพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น นายวรวิทย์ กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาสอบพยานไปหมดแล้ว เหลืออีก 1 ราย เป็นพยานสำคัญ ขณะนี้อยู่ระหว่างเดินทางไปต่างประเทศ จะกลับมาสัปดาห์หน้า ป.ป.ช.ได้นัดหมายที่จะไปรับฟังการชี้แจงในสัปดาห์หน้า นอกจากนั้น ป.ป.ช.ยังได้มีหนังสือไปยังบริษัทตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาในประเทศที่ปรากฏเป็นข่าวจำนวน 13 แห่ง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงด้วย โดยอยู่ระหว่างรอผลตรวจสอบจากบริษัทดังกล่าว ซึ่งยังตอบมาไม่หมด คิดว่าต้องใช้เวลาในการตรวจสอบสักพัก เพราะต้องตรวจสอบนาฬิกาทั้ง 25 เรือน คาดว่าถ้ารวบรวมข้อมูลครบถ้วนเรียบร้อย จะสรุปและเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ได้พิจารณาในเดือน ก.พ.นี้
เลขาธิการ ป.ป.ช.เผยด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้เสนอความคืบหน้าการรวบรวมข้อมูลเรื่องนาฬิกาต่อที่ประชุม ซึ่ง พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช.ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า “เมื่อสำนักงาน ป.ป.ช.ดำเนินการแล้วเสร็จ และเสนอสำนวนการตรวจสอบทรัพย์สินคดีนี้ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว พล.ต.อ.วัชรพล ขอถอนตัวจากการพิจารณาสำนวนการตรวจทรัพย์สินคดีดังกล่าว”
ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.ต.อ.วัชรพล ขอถอนตัวไม่ร่วมพิจารณาเรื่องนี้เพราะอะไร นายวรวิทย์ กล่าวว่า ปกติแล้ว กรณีที่กรรมการ ป.ป.ช.จะไม่สามารถเข้าร่วมพิจารณาได้คือ มีส่วนได้เสียกับเรื่องนั้น แม้ พล.ต.อ.วัชรพล จะไม่ได้เข้าข่ายตามที่กฎหมายกำหนด แต่เพื่อให้เกิดความโปร่งใส จึงขอถอนตัวไม่ร่วมพิจารณาคดีนี้
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.วัชรพล ได้ถูกหลายฝ่ายตั้งคำถามว่า จะตรวจสอบเรื่องนาฬิกาหรูและแหวนเพชร ของ พล.อ.ประวิตร ด้วยความเป็นกลางหรือไม่ เนื่องจาก พล.ต.อ.วัชรพล เคยทำงานเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ พล.อ.ประวิตร
ผู้สื่อข่าวถามด้วยว่า ถ้านาฬิกาเป็นของบุคคลอื่น พล.อ.ประวิตร ต้องแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินหรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ถ้านาฬิกาเป็นของบุคคลอื่น พล.อ.ประวิตร ไม่ต้องแสดง เพราะจะต้องแสดงเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตัวเอง และคู่สมรส พร้อมบุตร หากเป็นทรัพย์สินของ พล.อ.ประวิตร ต้องถามว่าได้มาเมื่อใด ก่อนหรือหลังเข้ารับตำแหน่ง ถ้าได้มาก่อน จะมีคำถามว่า เหตุใดจึงไม่แจ้งในบัญชีทรัพย์สิน แต่ถ้าได้มาหลังเข้ารับตำแหน่ง จะถือว่า ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องแจ้ง นายวรวิทย์ ย้ำด้วยว่า ทรัพย์สินที่จะยื่นนั้น ต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเอง ส่วนทรัพย์สินที่ได้ครอบครองเฉยๆ ไม่จำเป็นต้องยื่น
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า หากเป็นของบุคคลอื่น จะเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 103 พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 หรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ให้หรือไม่ ยังไม่ทราบ เพราะเจ้าตัวยังไม่ได้บอกเลยว่า เป็นการให้ที่ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่มีการให้หรือรับ ถ้ามีราคาเกิน 3,000 บาท ปกติ ป.ป.ช.ต้องตรวจสอบใช่หรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ป.ป.ช.จะดูให้ครอบคลุมทั้งหมด ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายมาตราใด
ด้านนายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย มองกรณีนาฬิกาหรูว่า น่าจะเข้าข่ายผิดตามมาตรา 103 คือ รับประโยชน์อื่นใด เพราะไม่ต้องเอาเงินเดือนไปซื้อเอง ก็มีคนเอามาให้ โดยมาตรา 122 ให้มีโทษจำคุก 3 ปี และให้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ต้องถอดถอนและดำเนินคดีอาญาด้วย
5.ครม.เตรียมเคาะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 5-22 บ.30 ม.ค.นี้ ด้าน กกร.จี้ทบทวน ขณะที่แรงงานขอขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ!

ความคืบหน้ากรณีที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง) มีมติเมื่อวันที่ 17 ม.ค.ให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปี 2561 ทุกจังหวัดทั่วประเทศระหว่าง 5-22 บาท โดยแต่ละจังหวัดได้ไม่เท่ากัน และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้ โดยเตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาต่อไปนั้น
ปรากฏว่า ได้เกิดปฏิกิริยาจากหลายฝ่าย เช่น คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ซึ่งประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้แถลงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าว พร้อมรวบรวมความเห็นเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยระบุเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยว่า เนื่องจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ได้ดำเนินการไปแล้วเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2560 และการปรับค่าจ้างครั้งนี้ก็ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจความเป็นจริงของแต่ละจังหวัด ทั้งยังไม่เป็นไปตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด และไม่เป็นไปตามการคำนวณดัชนีทางเศรษฐกิจที่ระบุไว้ตามมาตรา 87 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นอกจากนี้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ ยังจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าจ้างแรงงานและการผลิตให้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคเกษตร ภาคบริการ และเอสเอ็มอี ที่จะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ฯลฯ
ขณะที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) นำโดยนายชาลี ลอยสูง รองประธาน คสรท.พร้อมสมาชิก ได้เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เรียกร้อง 4 ข้อ 1.ขอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นไปตามหลักสากล เพื่อให้สามารถเลี้ยงคนในครอบครัวได้อย่างเพียงพอ 2.ค่าจ้างขั้นต่ำต้องเท่ากันทั่วประเทศ 3.ยกเลิกคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และให้มีคณะกรรมการค่าจ้างระดับชาติจากทุกภาคส่วน และ 4.ให้รัฐบาลวางมาตรการควบคุมราคาสินค้าไม่ให้แพงเกินจริง หากรัฐบาลและกระทรวงแรงงานไม่ทบทวนเรื่องดังกล่าว จะมีการเคลื่อนไหวต่อไป
ด้าน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้างกลางที่มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน ตรงกับของจังหวัด และไม่น่ามีปัญหาอะไร และว่า การเสนอ ครม.จะยึดตามมติของคณะกรรมการค่าจ้างกลาง โดยจะเสนอ ครม.ในวันที่ 30 ม.ค.นี้
ขณะที่นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ชี้แจงเหตุที่บอร์ดค่าจ้างมีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 5-22 บาททั่วประเทศว่า เพราะพิจารณาแล้วพบว่า ไม่ได้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมานานถึง 3 ปี และได้พิจารณาตามสูตรการคำนวณ ซึ่งคณะกรรมการก็ไม่ขัดข้อง “การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ ยอมรับว่า ไม่สามารถทำให้ทุกฝ่ายพอพอใจได้ทั้งหมด แต่บอร์ดค่าจ้างมั่นใจว่า เป็นตัวเลขที่เหมาะสมแล้ว ...ผมว่าเรื่องนี้อย่าพูดกันอีก เพราะทุกอย่างผ่านพ้นไปหมดแล้ว แต่จะรับทุกข้อเสนอไปพิจารณาต่อในรอบหน้า...”
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.มองว่า แม้ตัวเลขการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะไม่สูงมากนัก แต่จะเป็นผลดี ทำให้เกิดการใช้จ่ายในระบบมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย ไปสอดส่องดูแลไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า
1.สนช.ผ่านฉลุย กม.เลือกตั้ง ส.ส.-กม.ที่มา ส.ว. ยืดเวลาเลือกตั้ง ด้าน “วิษณุ” คาด เลือกตั้ง ก.พ.62!
เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ในวาระ 2 และ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.ป. ส.ส.พิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีจำนวน 178 มาตรา
สำหรับประเด็นที่ถูกจับตา ได้แก่ มาตรา 2 การให้ร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 90 วัน โดยนายวิทยา ผิวผ่อง ประธานคณะ กมธ.ฯ ชี้แจงเหตุที่ต้องเลื่อนเวลาบังคับใช้ร่างกฎหมายฉบับนี้ 90 วัน เพื่อให้ประชาชน พรรคการเมือง ได้ศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมายล่วงหน้า จะได้ไม่กระทำผิดโดยไม่เจตนา ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 1.5 ล้านคนก็จะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้โดยไม่ผิดพลาด อย่างไรก็ตาม นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับการขยายเวลาบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้มองว่า การขยายเวลาเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กำหนดไว้ และ สนช.ได้ลงมติรับหลักการในวาระแรกไปแล้ว อีกทั้งที่ผ่านมา คสช. คณะรัฐมนตรี และ กกต. ก็ไม่เคยแจ้งหรือขอให้ขยายเวลา ดังนั้น กรธ. จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะขยายเวลาออกไป
ด้านนายนัฏฐ์ เล่าห์สีสวกุล ตัวแทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในฐานะกรรมาธิการชี้แจงว่า การขยายเวลาการบังคับใช้กฎหมายนี้ออกไป 90 วัน ไม่ได้แปลว่าวันเลือกตั้งต้องขยายออกไป 90 วัน เพราะอำนาจขยายเวลาบังคับใช้เป็นของฝ่ายบริหาร แต่อำนาจกำหนดวันเลือกตั้งเป็นของ กกต. ดังนั้นปฏิทินการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นชัดเจนในเดือน มิ.ย.2561
ทั้งนี้่ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการขยายเวลาบังคับใช้ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ออกไป 90 วัน ด้วยคะแนน 196 ต่อ 12 เสียง และงดออกเสียง 14 เสียง
ส่วนมาตรา 35 ที่ กมธ.เสียงข้างมากให้ตัดสิทธิผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยให้ตัดสิทธิการสมัครเข้ารับราชการ พนักงาน และลูกจ้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภานั้น ที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วย ด้วยคะแนน 118 ต่อ 92 งดออกเสียง 13 แต่เห็นด้วยกับการตัดสิทธิการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง และผู้บริหารท้องถิ่นแก่ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตามที่ กมธ. เสียงข้างมากแก้ไขเพิ่มเติมเข้ามา
ขณะที่มาตรา 75 ที่ กมธ.เสียงข้างมากให้ตัดข้อห้ามผู้สมัครรับเลือกตั้งโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพและงานรื่นเริงนั้น ที่ประชุมเห็นด้วย ด้วยคะแนน 136 ไม่เห็นด้วย 78 งดออกเสียง 8 เท่ากับว่าผู้สมัครสามารถหาเสียงด้วยการจัดมหรสพและงานรื่นเริงได้
นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นด้วยกับ กมธ.เสียงข้างมากที่ให้เปลี่ยนเวลาในวันเลือกตั้ง จากเดิม 08.00-16.00 น. เป็นเวลา 07.00-17.00 น. ด้วยคะแนน 156 ไม่เห็นด้วย 59 งดออกเสียง 5
ต่อมา ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ในวาระที่ 3 ด้วยคะแนน 213 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง โดยที่ประชุมใช้เวลาพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ในวาระ 2-3 ยาวนานเกือบ 14 ชั่วโมง
สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ สนช. จะนำร่างกฎหมายฉบับนี้ ส่งไปยัง กรธ. และ กกต. เพื่อพิจารณาว่า มีเนื้อหาขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากพบว่าขัด ต้องมีการตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย สนช.-กรธ.-กกต. เพื่อทบทวนร่างกฎหมายต่อไป
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประเมินว่า ถ้า พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ประกาศใช้ในเดือน มิ.ย. แล้วให้บังคับใช้หลังจากนั้น 90 วัน คือเดือน ก.ย. จะต้องจัดเลือกการเลือกตั้งภายใน 150 วัน คือภายในเดือน ก.พ.2562
ทั้งนี้ นอกจากร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.จะผ่าน สนช.ในวาระ 3 แล้ว ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ว.ก็ผ่านวาระ 3 จาก สนช.แล้วเช่นกัน โดยการประชุมพิจารณาร่างดังกล่าวมีขึ้นเมื่อวันที่ 26 ม.ค. ซึ่งร่างดังกล่าวมี 92 มาตรา
โดยหลังจาก สนช.อภิปรายทุกมาตราแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าว ในวาระ 3 ด้วยคะแนน 197 ต่อ 0 งดออกเสียง 7 คะแนน ซึ่งสาระสำคัญได้แก่ ให้ร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลทันทีหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไม่ต้องขยายเวลาให้มีผลหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 90 วันเหมือนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. , เห็นชอบให้ ส.ว. มี 2 ประเภท คือ ผู้สมัครแบบอิสระ และผู้สมัครซึ่งเป็นตัวแทนขององค์กร และลดกลุ่มอาชีพของผู้สมัคร ส.ว.ลง จากที่ กรธ.กำหนด 20 กลุ่ม เหลือ 10 กลุ่ม ขณะที่การเลือก ให้เลือกกันเองในกลุ่ม แทนการเลือกแบบไขว้
ซึ่งนายอุดม รัฐอมฤต คณะ กมธ.วิสามัญฯในสัดส่วนของ กรธ.ชี้แจงว่า ที่กำหนดไว้ 20 กลุ่ม เพื่อให้ได้ ส.ว.หลากหลายอาชีพ แต่นายสมคิด เลิศไพฑูรญ์ ประธาน กมธ.ฯ แย้งว่า การแบ่งกลุ่มจำนวนมาก จะไม่สามารถหากลุ่มวิชาชีพทั้งหมดได้ในระดับอำเภอ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง
สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ ทาง สนช.จะส่งร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวที่ผ่านความเห็นชอบในวาระ 3 แล้ว ไปให้ กรธ. และองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาว่าจะมีความเห็นแย้งหรือไม่ภายใน 10 วัน หากมีฝ่ายใดโต้แย้ง ต้องตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย เพื่อพิจารณาภายใน 15 วัน ก่อนส่งให้ที่ประชุม สนช.พิจารณาอีกครั้ง
2.“อภิสิทธิ์” นำทีม ปชป.ยื่นผู้ตรวจการฯ สอบคำสั่งหัวหน้า คสช.ขัด รธน. รีเซ็ตสมาชิกพรรค-เอื้อประโยชน์พรรคใหม่ บ่อนทำลายพรรคเก่า!
เมื่อวันที่ 23 ม.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) พร้อมด้วยแกนนำพรรค ได้เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/2560 เกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หลังหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นคำสั่งที่รีเซ็ตสมาชิกพรรคการเมือง และเป็นคำสั่งที่เอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองที่จะตั้งขึ้นใหม่
ทั้งนี้ คำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ระบุสาเหตุที่คำสั่ง คสช.ดังกล่าวอาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 5 ข้อ คือ 1. คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้สมาชิกพรรคต้องยืนยันความเป็นสมาชิกต่อหัวหน้าพรรคภายใน 30 วัน ซึ่งมีผลไม่ต่างจากการรีเซ็ตสมาชิกพรรคการเมือง หรือเท่ากับบังคับให้สมาชิกพรรคการเมืองพ้นสมาชิกภาพทั้งหมดและต้องสมัครใหม่โดยปริยาย 2. คำสั่งดังกล่าวห้ามไม่ให้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วดำเนินการประชุมหรือดำเนินกิจการใดๆ ในทางการเมือง ทำให้พรรคไม่สามารถสื่อสารกับสมาชิกพรรคโดยวิธีปกติในทางการเมืองได้
3. คำสั่งดังกล่าวมีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองใหม่ บ่อนทำลายพรรคการเมืองเดิมที่มีขนาดใหญ่ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกพรรคได้รับความเดือดร้อน 4. คำสั่งดังกล่าวละเมิดสิทธิเสรีภาพของสมาชิกพรรคที่เป็นประชาชนตามรัฐธรรมนูญ จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในเรื่องการปฏิรูปและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์และกระบวนการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกพรรคได้รับความเสียหาย และ 5. คำสั่งดังกล่าวตราขึ้นโดยไม่ปฏิบัติตามกระบวนการตามรัฐธรรมนูญมาตรา77 และมาตรา 132 (2)
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คำสั่งหัวหน้า คสช.ดังกล่าว ไม่เข้าข่ายเงื่อนไขตามมาตรา 44 ที่ต้องทำเฉพาะเรื่องปรองดอง สามัคคี ความมั่นคง และการปฏิรูป ทั้งยังเป็นคำสั่งที่ปราศจากเหตุผลโดยสิ้นเชิง เช่น กรณีที่อ้างว่ามีสมาชิกซ้ำซ้อนกัน ก็เป็นสิ่งที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบและแก้ปัญหานี้ไปแล้ว หรือการอ้างว่าคำสั่งนี้เปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคการเมืองทบทวนอุดมการณ์ก็ไม่เป็นคามจริง เพราะการประชุมใหญ่ไม่สามารถทำได้ “ผมไม่มีเจตนาสร้างปัญหาทางการเมืองให้กับผู้ออกคำสั่งนี้ แต่ผมมีหน้าที่ที่จะปกป้องสิทธิของประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และผมต้องการเห็นการปฏิรูปการเมืองเดินหน้า การตรากฎหมายเป็นไปตามหลักนิติธรรม ไม่มีการใช้อำนาจบิดเบือนจนทำให้เกิดวิกฤตอย่างในปัจจุบัน ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขความเดือดร้อน สร้างภาระเกินแก่เหตุ จึงขอให้เสนอไปยังหน่วยงานรัฐแก้ไขไม่ให้ก่อให้เกิดผลกระทบและส่งศาลรัฐธรรมนูญได้หากเห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญ และขอให้พิจารณาโดยเร่งด่วนเพราะความไม่เป็นธรรมจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป”
ด้านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า จะรายงานให้ที่ประชุมรับทราบถึงคำร้องดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเดือดร้อนหรือทำให้เกิดภาระที่เกินกว่าเหตุหรือไม่ และหากมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็อาจส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ถ้าผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวชอบแล้ว ก็จะต้องชี้แจงให้ผู้ร้องรับทราบต่อไป พร้อมยืนยัน จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว และให้ความมั่นใจว่า ผู้ตวจการแผ่นดินไม่ได้ทำงานภายใต้แรงกดดันของใคร แต่ปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระตามข้อเท็จจริง
3.อัยการสั่งฟ้อง 9 แกนนำ กปปส. “สุเทพ-ชุมพล” โดนทั้งกบฏ-ก่อการร้าย ด้านศาลให้ประกัน แต่ห้ามออกนอกประเทศ!
เมื่อวันที่ 24 ม.ค. อัยการได้นัดฟังคำสั่งว่าส่งฟ้องแกนนำและแนวร่วมคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) ข้อหากบฎและก่อการร้ายหรือไม่ กรณีชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์และปิดกรุงเทพฯ หรือชัตดาวน์กรุงเทพฯ รวมทั้งปิดล้อมหน่วยรับสมัครและหน่วยเลือกตั้ง เมื่อปี 2556-2557
เมื่อถึงกำหนดนัด นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.พร้อมแกนนำ กปปส.รวม 9 คน ได้มารายงานตัวเพื่อฟังการสั่งคดีของอัยการ ด้านนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า คดีนี้ นายคารม พลพรกลาง ทนายความ นปช.กับพวกได้ฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก สำนวนถึงสำนักงานอัยการสูงสุดเมื่อปี 2557 มีผู้ต้องหา 58 คน อธิบดีอัยการพิเศษขณะนั้นสั่งไม่ฟ้อง 1 คน คือ นายพิจารณ์ สุขภารังษี อาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ เนื่องจากไม่ได้กระทำผิด ส่วนผู้ต้องหาที่เหลือ 57 คน ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ยังไมได้ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุด 3 คน จึงเหลือสำนวนอยู่ 54 คน แต่มีบางข้อหาไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคดีหลัก จึงแยกสำนวนไป 7 สำนวน ส่วนที่เหลือ คณะทำงานของสำนักงานอัยการสูงสุดสมัยนั้น เห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่เหลือทั้งหมด โดยยื่นฟ้องไปแล้ว 4 ราย คือ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์, นายเสรี วงษ์มณฑา, นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม และนายสกลธี ภัททิยกุล
ทั้งนี้ อัยการได้นำตัวนายสุเทพ พร้อมพวกรวม 9 คนที่เป็นแกนนำ กปปส.ส่งฟ้องต่อศาล ประกอบด้วย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายชุมพล จุลใส,นายพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์, นายอิสสระ สมชัย, นายวิทยา แก้วภราดัย, นายถาวร เสนเนียม, นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ, และนายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ ในข้อหาร่วมกันเป็นกบฎ, ยุยงให้หยุดงาน, กระทำให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในราชอาณาจักร, อั้งยี่, ซ่องโจร, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง, บุกรุกในเวลากลางคืน และร่วมกันขัดขวางการเลือกตั้ง โดยนายสุเทพและนายชุมพล ถูกส่งฟ้องข้อหาก่อการร้ายด้วย ส่วนผู้ต้องหาที่เหลืออีก 34 คน ที่ไม่ได้มารายงานตัว เนื่องจากขอเลื่อนฟังการสั่งคดีนั้น อัยการเตรียมส่งฟ้องไว้ทุกคนแล้ว โดยจะพิจารณาว่า เหตุผลที่แต่ละคนขอเลื่อนนั้นฟังได้หรือไม่ โดยนัดให้มาฟังคำสั่งคดีอีกครั้งในวันที่ 14 มี.ค.นี้
หลังอัยการนำตัวนายสุเทพพร้อมแกนนำ กปปส.รวม 9 คนส่งฟ้องต่อศาลแล้ว ศาลได้ประทับรับฟ้อง และสอบคำให้การเบื้องต้น ซึ่งจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ ทั้งนี้ ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 19 มี.ค. เวลา 09.00 น. หลังจากนั้น ผู้ต้องหาทั้ง 9 คน ได้ยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัว ซึ่งศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยตีราคาประกันคนละ 6 แสนบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
ด้านนายสุเทพ กล่าวหลังถูกส่งฟ้องต่อศาลทั้งข้อหากบฏและก่อการร้ายว่า พวกตนทั้ง 9 คนได้ตกลงกันตั้งแต่ต้นแล้วว่า จะมามอบตัว เพราะเราเป็นคนไทย ต้องเคารพกฎหมายไทย เคารพกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย จะถูกผิดอย่างไร ก็ไปสู้ในกระบวนการยุติธรรม จะนำเอาพยานหลักฐานที่รวบรวมได้ไปเสนอต่อศาล และเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ถ้าเราพลาดพลั้งแพ้คดี ถูกศาลลงโทษ ก็พร้อมจะน้อมรับ
4.ป.ป.ช. ชี้ถ้านาฬิกาหรูของเพื่อน “บิ๊กป้อม” ไม่ต้องแจ้งบัญชี ด้าน “วัชรพล” ถอนตัวไม่ร่วมพิจารณาเรื่องนี้!
เมื่อวันที่ 24 ม.ค. นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้แถลงความคืบหน้าการตรวจสอบนาฬิกาหรูและแหวนเพชรของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมว่า หลังปรากฏข่าวเกี่ยวกับนาฬิกาจำนวน 25 เรือน ป.ป.ช.จึงต้องให้ พล.อ.ประวิตร ชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องนี้เพิ่มเติมเป็นครั้งที่ 3 และว่า ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตรชี้แจงผ่านสื่อว่า นาฬิกาไม่ใช่ของท่าน จึงเป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.ต้องตรวจสอบเพื่อยืนยันข้อมูล
อย่างไรก็ตาม นายวรวิทย์ กล่าวว่า ที่สื่อเผยแพร่ข้อมูลว่า พล.อ.ประวิตรมีนาฬิกา 25 เรือนนั้น บางเรือนรูปไม่ชัดเจน บางเรือนเห็นแค่สาย จึงต้องตรวจสอบว่าเท็จจริงอย่างไร มีนาฬิกา 25 เรือนจริงหรือไม่ หรืออาจเป็นภาพซ้ำ ความจริงแล้ว อาจมีแค่ 15 เรือน และต้องตรวจสอบว่าเป็นนาฬิกาของใคร ใครเป็นเจ้าของ
ส่วนการสอบพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น นายวรวิทย์ กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาสอบพยานไปหมดแล้ว เหลืออีก 1 ราย เป็นพยานสำคัญ ขณะนี้อยู่ระหว่างเดินทางไปต่างประเทศ จะกลับมาสัปดาห์หน้า ป.ป.ช.ได้นัดหมายที่จะไปรับฟังการชี้แจงในสัปดาห์หน้า นอกจากนั้น ป.ป.ช.ยังได้มีหนังสือไปยังบริษัทตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาในประเทศที่ปรากฏเป็นข่าวจำนวน 13 แห่ง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงด้วย โดยอยู่ระหว่างรอผลตรวจสอบจากบริษัทดังกล่าว ซึ่งยังตอบมาไม่หมด คิดว่าต้องใช้เวลาในการตรวจสอบสักพัก เพราะต้องตรวจสอบนาฬิกาทั้ง 25 เรือน คาดว่าถ้ารวบรวมข้อมูลครบถ้วนเรียบร้อย จะสรุปและเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ได้พิจารณาในเดือน ก.พ.นี้
เลขาธิการ ป.ป.ช.เผยด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้เสนอความคืบหน้าการรวบรวมข้อมูลเรื่องนาฬิกาต่อที่ประชุม ซึ่ง พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช.ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า “เมื่อสำนักงาน ป.ป.ช.ดำเนินการแล้วเสร็จ และเสนอสำนวนการตรวจสอบทรัพย์สินคดีนี้ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว พล.ต.อ.วัชรพล ขอถอนตัวจากการพิจารณาสำนวนการตรวจทรัพย์สินคดีดังกล่าว”
ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.ต.อ.วัชรพล ขอถอนตัวไม่ร่วมพิจารณาเรื่องนี้เพราะอะไร นายวรวิทย์ กล่าวว่า ปกติแล้ว กรณีที่กรรมการ ป.ป.ช.จะไม่สามารถเข้าร่วมพิจารณาได้คือ มีส่วนได้เสียกับเรื่องนั้น แม้ พล.ต.อ.วัชรพล จะไม่ได้เข้าข่ายตามที่กฎหมายกำหนด แต่เพื่อให้เกิดความโปร่งใส จึงขอถอนตัวไม่ร่วมพิจารณาคดีนี้
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.วัชรพล ได้ถูกหลายฝ่ายตั้งคำถามว่า จะตรวจสอบเรื่องนาฬิกาหรูและแหวนเพชร ของ พล.อ.ประวิตร ด้วยความเป็นกลางหรือไม่ เนื่องจาก พล.ต.อ.วัชรพล เคยทำงานเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ พล.อ.ประวิตร
ผู้สื่อข่าวถามด้วยว่า ถ้านาฬิกาเป็นของบุคคลอื่น พล.อ.ประวิตร ต้องแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินหรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ถ้านาฬิกาเป็นของบุคคลอื่น พล.อ.ประวิตร ไม่ต้องแสดง เพราะจะต้องแสดงเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตัวเอง และคู่สมรส พร้อมบุตร หากเป็นทรัพย์สินของ พล.อ.ประวิตร ต้องถามว่าได้มาเมื่อใด ก่อนหรือหลังเข้ารับตำแหน่ง ถ้าได้มาก่อน จะมีคำถามว่า เหตุใดจึงไม่แจ้งในบัญชีทรัพย์สิน แต่ถ้าได้มาหลังเข้ารับตำแหน่ง จะถือว่า ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องแจ้ง นายวรวิทย์ ย้ำด้วยว่า ทรัพย์สินที่จะยื่นนั้น ต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเอง ส่วนทรัพย์สินที่ได้ครอบครองเฉยๆ ไม่จำเป็นต้องยื่น
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า หากเป็นของบุคคลอื่น จะเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 103 พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 หรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ให้หรือไม่ ยังไม่ทราบ เพราะเจ้าตัวยังไม่ได้บอกเลยว่า เป็นการให้ที่ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่มีการให้หรือรับ ถ้ามีราคาเกิน 3,000 บาท ปกติ ป.ป.ช.ต้องตรวจสอบใช่หรือไม่ นายวรวิทย์ กล่าวว่า ป.ป.ช.จะดูให้ครอบคลุมทั้งหมด ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายมาตราใด
ด้านนายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย มองกรณีนาฬิกาหรูว่า น่าจะเข้าข่ายผิดตามมาตรา 103 คือ รับประโยชน์อื่นใด เพราะไม่ต้องเอาเงินเดือนไปซื้อเอง ก็มีคนเอามาให้ โดยมาตรา 122 ให้มีโทษจำคุก 3 ปี และให้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ต้องถอดถอนและดำเนินคดีอาญาด้วย
5.ครม.เตรียมเคาะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 5-22 บ.30 ม.ค.นี้ ด้าน กกร.จี้ทบทวน ขณะที่แรงงานขอขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ!
ความคืบหน้ากรณีที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง) มีมติเมื่อวันที่ 17 ม.ค.ให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปี 2561 ทุกจังหวัดทั่วประเทศระหว่าง 5-22 บาท โดยแต่ละจังหวัดได้ไม่เท่ากัน และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้ โดยเตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาต่อไปนั้น
ปรากฏว่า ได้เกิดปฏิกิริยาจากหลายฝ่าย เช่น คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ซึ่งประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้แถลงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าว พร้อมรวบรวมความเห็นเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยระบุเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยว่า เนื่องจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ได้ดำเนินการไปแล้วเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2560 และการปรับค่าจ้างครั้งนี้ก็ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจความเป็นจริงของแต่ละจังหวัด ทั้งยังไม่เป็นไปตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด และไม่เป็นไปตามการคำนวณดัชนีทางเศรษฐกิจที่ระบุไว้ตามมาตรา 87 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นอกจากนี้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ ยังจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าจ้างแรงงานและการผลิตให้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคเกษตร ภาคบริการ และเอสเอ็มอี ที่จะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ฯลฯ
ขณะที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) นำโดยนายชาลี ลอยสูง รองประธาน คสรท.พร้อมสมาชิก ได้เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เรียกร้อง 4 ข้อ 1.ขอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นไปตามหลักสากล เพื่อให้สามารถเลี้ยงคนในครอบครัวได้อย่างเพียงพอ 2.ค่าจ้างขั้นต่ำต้องเท่ากันทั่วประเทศ 3.ยกเลิกคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และให้มีคณะกรรมการค่าจ้างระดับชาติจากทุกภาคส่วน และ 4.ให้รัฐบาลวางมาตรการควบคุมราคาสินค้าไม่ให้แพงเกินจริง หากรัฐบาลและกระทรวงแรงงานไม่ทบทวนเรื่องดังกล่าว จะมีการเคลื่อนไหวต่อไป
ด้าน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้างกลางที่มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน ตรงกับของจังหวัด และไม่น่ามีปัญหาอะไร และว่า การเสนอ ครม.จะยึดตามมติของคณะกรรมการค่าจ้างกลาง โดยจะเสนอ ครม.ในวันที่ 30 ม.ค.นี้
ขณะที่นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ชี้แจงเหตุที่บอร์ดค่าจ้างมีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 5-22 บาททั่วประเทศว่า เพราะพิจารณาแล้วพบว่า ไม่ได้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมานานถึง 3 ปี และได้พิจารณาตามสูตรการคำนวณ ซึ่งคณะกรรมการก็ไม่ขัดข้อง “การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ ยอมรับว่า ไม่สามารถทำให้ทุกฝ่ายพอพอใจได้ทั้งหมด แต่บอร์ดค่าจ้างมั่นใจว่า เป็นตัวเลขที่เหมาะสมแล้ว ...ผมว่าเรื่องนี้อย่าพูดกันอีก เพราะทุกอย่างผ่านพ้นไปหมดแล้ว แต่จะรับทุกข้อเสนอไปพิจารณาต่อในรอบหน้า...”
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.มองว่า แม้ตัวเลขการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะไม่สูงมากนัก แต่จะเป็นผลดี ทำให้เกิดการใช้จ่ายในระบบมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย ไปสอดส่องดูแลไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า