บันทึก 182 หลักสูตร จาก 40 สถาบันการศึกษา ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษาเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน ในปีการศึกษา 2558 และ 2559 ก่อน สกอ. ถอดออกจากเว็บ พบ ม.รามคำแหงมากสุด 40 หลักสูตร เฉพาะปริญญาโทพบ 30 หลักสูตร รองลงมา มรภ.เชียงราย 22 หลักสูตร
หมายเหตุ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้เผยแพร่รายชื่อหลักสูตรที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษาเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน ในปีการศึกษา 2558 และ 2559 ภายในเว็บไซต์ของ สกอ. www.mua.go.th โดยพบว่า มีจำนวน 182 หลักสูตร ของมหาวิทยาลัย 40 แห่ง จากที่เปิดสอนจำนวน 9,099 หลักสูตร แบ่งเป็นหลักสูตรที่เปิดสอนและอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไข 53 หลักสูตร ปิดหลักสูตร 59 หลักสูตร งดรับนักศึกษา 68 หลักสูตร และมีอีก 2 หลักสูตรที่ควบรวมกัน ดังนี้
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน (หลักสูตรนานาชาติ) ระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์เขตร้อน (หลักสูตรนานาชาติ) และระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์เขตร้อน (หลักสูตรนานาชาติ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
มหาวิทยาลัยทักษิณ 4 หลักสูตร ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพื้นที่ศึกษา, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการวางแผนสังคม, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาให้คำปรึกษา และ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม (หลักสูตรต่อเนื่อง) และระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศประยุกต์
มหาวิทยาลัยบูรพา 5 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ระดับปริญญาโท 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีบริหาร, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการประชาสัมพันธ์และสื่อมวลชน, หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต และระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
มหาวิทยาลัยพะเยา 2 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปสัสนาภาวนา ระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหามกฏุราชวิทยาลัย 4 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตร 5 ปี), หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1 หลักสูตร ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 3 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์-ภาษาอังกฤษเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, หลักสูตรครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 2 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ และ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร 1 หลักสูตร ระดับปริญญาเอก ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาระบบและนโยบายสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 8 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 6 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ, หลักสูตรศึกษาศาสตดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง 40 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการกอล์ฟ, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) ระดับปริญญาโท 30 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการกอล์ฟ, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารพัฒนาการ, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, หลักสูตรทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนคหเศรษฐศาสตร์, หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหาร, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน (หลักสูตรนานาชาติ), หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ), หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (หลักสูตรนานาชาติ), หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ระดับปริญญาเอก 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทางสังคมศาสตร์, หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ), หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ), หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 1 หลักสูตร ระดับปริญญาเอก ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 22 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 12 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสถาปัตยกรรมบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการขนส่งสินค้าทางอากาศ, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่าอากาศยาน, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจราจรทางอากาศ, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภูมิปัญญาและทรัพยากรทางวัฒนธรรม, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมสังคม, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการการบริหารท้องถิ่น, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชาติพันธุ์ศึกษาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต (สูงกว่าระดับปริญญาตรี แต่ไม่ถึงปริญญาโท) 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ระดับปริญญาโท 7 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 5 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลปและการละคร ระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ ระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชน (หลักสูตรนานาชาติ), หลักสูตรปรัญชาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจและการศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2 หลักสูตร ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ระดับปริญญาเอก ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 2 หลักสูตร ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา ระดับปริญญาเอก ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 1 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการพืชสวนประดับ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 11 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษ์ศึกษาและภาษาอังกฤษ, หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษและภาษาไทย, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสัตว์, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตร, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 4 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา ระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 1 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 1 หลักสูตร ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2 หลักสูตร ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 6 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ระดับปริญญาโท 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 1 หลักสูตร ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 5 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม ระดับปริญญาโท 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาเอก 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 3 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 1 หลักสูตร ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 1 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 7 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์, หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร, หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอตุสาหกรรม (หลักสูตรต่อเนื่อง) ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 1 หลักสูตร ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 1 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยพายัพ 3 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว, หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี), หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยศิลป์
มหาวิทยาลัยชินวัตร 1 หลักสูตร ระดับปริญญาเอก ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 16 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี 9 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ, หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ (หลักสูตรภาษาจีน), หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน (หลักสูตรภาษาจีน), หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัลมีเดียและระบบเกม, หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาระบบงานประปา, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ระดับปริญญาโท 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรภาษาจีน), หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศอัตโนมัติเชิงธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย) 3 หลักสูตร ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารด้วยสื่อ, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 1 หลักสูตร ระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา 1 หลักสูตร ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการภาครัฐและเอกชน
อย่างไรก็ตาม สกอ. ได้ถอดประกาศรายชื่อหลักสูตรออกจากเว็บไซต์ อ้างว่า เพื่อตรวจสอบสถานะล่าสุดของแต่ละหลักสูตรในปีการศึกษา 2560 ก่อน เนื่องจากที่รายงานต่อ กกอ.เป็นผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2558 และ 2559 ซึ่งบางหลักสูตรของบางมหาวิทยาลัยที่มีการประกาศ ได้มีการปรับแก้ไขเรียบร้อย มีการปิด หรืองดรับนักศึกษา ในปี 2560 แล้ว แต่ไม่ได้มีการรายงานมาที่ สกอ. หรือบางแห่งก็เพิ่งดำเนินการก่อนหน้า กกอ.มีมติไม่กี่วัน จึงต้องตรวจสอบให้เป็นสถานะล่าสุด
รายงานข่าวแจ้งว่า ผลการประเมินดังกล่าว สกอ. ได้ประเมินระดับหลักสูตรเฉพาะองค์ประกอบที่ 1 คือ เรื่องจำนวนและคุณสมบัติของอาจารย์ การบริหารจัดการหลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี โท เอก โดยพบว่ามี 182 หลักสูตร ที่มีปัญหาไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามการกำกับมาตรฐานตามองค์ประกอบที่ 1 เป็นเวลาติดต่อกันถึง 2 ปี โดยพบว่าร้อยละ 90 จะมีปัญหาในประเด็นเรื่องจำนวนคุณวุฒิและคุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร ซึ่ง สกอ. ได้เตรียมหารือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในการหมุนเวียนอาจารย์ประจำหลักสูตร และวางแผนจัดการประชุมเพื่อจัดระบบคลีนิกแก้ไขปัญหาร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2561