ทำความรู้จัก “ด.ญ.อริยา เหล่าธิติพงศ์” หรือ “น้องจิ๊จ๊ะ” อายุ 13 ปี แชมป์การแข่งขันเปียโนระดับโลก The 5th Franz Liszt International Competition for Young Pianist จากโรงเรียนนานาชาติ เดอะรีเจ้นท์ กรุงเทพฯ

จุดเริ่มต้นบนเส้นทางนักเปียโน
คุณแม่ : คือตั้งแต่เล็กๆ ให้เรียนหลักสูตรจูเนียร์คอร์สของโรงเรียนดนตรีสยามกลการยามาฮ่า เพราะว่าไปอ่านหนังสือเจอเขาบอกว่าเด็กจะพัฒนาทางหูสูงสุดในช่วง 4-6 ขวบ และหลักสูตรนี้ก็ดีมากจากการที่ส่งพี่เขาไปเรียนก่อนก็เห็นผลลัพธ์ ก็เรียนต่อๆ กันมา น้องเป็นเด็กที่หูดีมาก ทีนี้จากหูก็พัฒนาไปเป็นจังหวะ เบสิกพื้นฐานของดนตรี คือทางโรงเรียนเขาจะให้เด็กรักดนตรีก่อน ร้องรำทำเพลง ปรบมือเข้าจังวะและค่อยๆ ยากขึ้นๆ จนถึงอ่านตัวโน้ต
ตอนแรกได้วางแผนไว้หรือไม่ว่าจะให้เล่นดนตรีระดับมืออาชีพขนาดนี้
คุณแม่ : ไม่เคยคิดเพราะว่าแม่เล่นดนตรีไม่เป็นอ่านโน้ตไม่ออก คิดอย่างเดียวว่าเรียนเพื่อเป็นอีกสิ่งที่คู่ขนานไปกับเรียนพื้นฐานของเขา ให้ช่วยเสริมในเรื่องสมาธิ อย่างน้อยๆ มันก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ คือคิดเพียงว่าลูกเล่นดนตรีอยู่ถ้าเขาทุกข์หรืออะไรก็ตามแต่ดนตรีก็จะอยู่กับเราเป็นเพื่อนเราได้ แล้วก็ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แค่นั้นเอง แต่เขาเกิดรักมันขึ้นมาจริงๆ
จิ๊จ๊ะ : คือที่อยากเป็นนักเปียโนจริงๆ เพราะรู้สึกว่าการเล่นดนตรีมันสนุก มันท้าทาย มีความท้าทายตลอดเวลาเพราะกว่าจะอ่านโน้ตแต่ละตัวกว่าจะเพิ่มไดนามิก มันก็ยาก และมันก็มีกุญแจสองตัว แตกต่างจากดนตรีอื่นๆ ที่มีตัวเดียว ใช้มือสองข้างด้วย และทุกการแข่งขันทุกรายการผู้เล่นต้องจำโน้ตเองทั้งหมดเลย ห้ามดูโน้ต เพลงเพลงหนึ่งกว่า 15-20 นาที มันก็ชอบความท้าทาย พอรู้สึกอย่างนั้นก็ไปบอกคุณแม่ (ยิ้ม)

พอตัดสินใจเป็นนักเปียโนต้องมีเวลาฝึก แบ่งเวลาอย่างไรบ้าง
คุณแม่ : ก็แรกๆ เรียนปกติ เรียนการศึกษาของไทยคู่ขนานกับการเรียนเปียโนในวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ เพราะตอนแรกใช้เวลาไม่เยอะยังไม่แอดวานซ์ เรียนไปเรื่อยๆ ซึ่งทางยามาฮ่าจะมีการแข่งขันในโรงเรียนก็ลองลงแข่ง เริ่มแข่งและเริ่มเข้ารอบชิงชนะเลิศ แต่ยังไม่ได้รางวัล (ยิ้ม) คือแข่งเป็นกิจกรรม จนเริ่มมาแข่งข้างนอกและเขามาบอกว่าเขาอยากเป็นนักเปียโนตอนช่วงประมาณ 9 ขวบ แม่ก็คิดว่าเขาอยากเป็นนักเปียโนเพราะว่าเขาเล่นได้ดีและมีคนชื่นชม หรือจริงๆ แล้วเขาอยากเป็นจริงๆ ตอนนั้นก็ไม่ทราบ แต่อะไรก็ตามเราก็สนับสนุนไปก่อนเท่าที่ศักยภาพเขาอยู่ที่ตรงไหน ก็เริ่มไปเรียนเพิ่มเติมข้างนอก กับ ดร.พรพรรณ บันเทิงหรรษา ควบคู่ไปกับยามาฮ่าและเรียนหนังสือภาคพื้นฐาน
หลังจากนั้นพอน้องเริ่มฝึกเยอะขึ้นเราก็มาคิดว่าการเรียนในระบบการศึกษาไทยเนี่ยการบ้านค่อนข้างเยอะ ก็คิดว่าเราน่าจะย้ายไปเรียนโรงเรียนอินเตอร์ ก็ปรึกษาคุณครูท่านก็เห็นด้วย แต่ที่นี้เราเรียนสองอย่างค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและโรงเรียนอินเตอร์ก็มีค่าเทอมที่เรตแพง เราก็ควรจะต้องขอทุนการศึกษา และเราก็ทราบมาว่าโรงเรียนนานาชาติ เดอะรีเจ้นท์ กรุงเทพฯ เขาสนับสนุนด้านดนตรี หลังจากปรับพื้นฐานด้านภาษาก็ฝึกฝนการเล่นเปียโน สอบเกรดเปียโน
จิ๊จ๊ะ : คือการบ้านเยอะมาก เรียนเสร็จกลับมาถึงบ้านก็เย็นประมาณ 5-6 โมง กว่าจะทำการบ้านเสร็จก็ดึกแล้วถึงเวลานอน วันหนึ่งๆ ก็ได้ซ้อมวันละ 1-2 ชม. เรารู้สึกว่ามันไม่พอ ต้องซ้อมมากกว่านั้น
ส่วนตัว ณ เวลานั้นเราแหวกขนบคิดเดิมๆ ที่ว่ายังไงการศึกษาพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
คุณแม่ : เราก็ต้องคุยกับเขาก่อนว่าถ้าชอบ ถ้าอาชีพที่ลูกเลือกมันต้องเลี้ยงตัวได้ก่อน คือทางบ้านมีคอนเซ็ปต์ว่าอะไรก็ได้ที่เลี้ยงตัวได้แล้วเป็นอาชีพสุจริตและอยู่กับมันได้ตลอดชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งอันนี้เราคิดว่าถ้าลูกคิดอย่างนี้ เรามองมากกว่าว่ามันจริงหรือเปล่าที่ลูกพูด อีกหน่อยลูกจะเปลี่ยนหรือเล่าด้วยความเป็นเด็ก แต่คิดว่าในเมื่อลูกบอกอย่างนี้เราลองสนับสนุนแล้วดูว่าเขาจะไปได้แค่ไหน และการที่จะไปในอาชีพไหนก็ตามต้องไปให้สุดของอาชีพนั้น อย่างที่บอกไปจะเลี้ยงตัวได้ไหม มันเลี้ยงตัวได้ถ้าเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถแม่คิดอย่างนี้
ฉะนั้นสนับสนุนเท่าที่ศักยภาพเขาไปได้ ซึ่งน้องเขาก็ทำตรงนี้ได้ และจากการออดิชั่นวันนั้นก็ตอบรับทุนเรียนฟรี 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็มารู้ทีหลังว่ากรรมการบางท่านให้คะแนนน้องเต็มร้อยเลยตอนสอบ ก็คิดอยู่นานเพราะว่าไกลบ้าน แต่คิดว่าถ้าทางโรงเรียนเห็นคุณค่าของน้องก็คิดว่าเราก็น่าจะมาเรียนที่นี่ดู

เด็กทุนดนตรีการเรียนการสอนแบ่งยังไงแตกต่างไหม
จิ๊จ๊ะ : ก็เรียนทุกอย่างเหมือนเด็กปกติเลย แต่มันก็จะมีซ้อมออเคสตรา เราก็ต้องเหมือนกับไปซ้อมตามที่ครูกำหนด และเวลามีคนเสิร์ตก็ต้องไปเล่น เลิกเรียนบ่าย 3 โมง กลับบ้านซ้อม 2-3 ชั่วโมงต่อวันในช่วงเปิดเทอม แต่ถ้าปิดเทอมก็ซ้อม 4-5 ชั่วโมง ที่ซ้อมทุกวัน ถามว่าเหนื่อยไหมก็ทั้งสนุกและเครียดค่ะ เพราะบางครั้งซ้อมตั้งนานทำไมยังทำไม่ได้ เนื่องจากไม่ใช่ว่าแข่งเยอะมันจะยิ่งหายตื่นเต้น ยิ่งโตมันก็ยิ่งตื่นเต้นขึ้นเรื่อยๆ เพราะเวทีมันก็จะหินขึ้นเรื่อยๆ ตอนนั้นตื่นเต้นมากกลัวเล่นผิด มือสั่น อยู่หลังเวทีก็คอยนึกโน้ต พยายามไม่คิดเรื่องแย่ๆ อย่างตอนไปแข่งต่างประเทศก็ซ้อมอย่างเดียว ในรายการล่าสุด The 5th Franz Liszt International Competition for Young Pianist ที่เมือง Weimar ประเทศเยอรมนี อยู่แต่ในห้องซ้อม 2 อาทิตย์ และวันจบไปเที่ยวเมืองแฟรงก์เฟิร์ตนิดหน่อยเท่านั้น แต่ก็ต้อง keep going ทำต่อไปเรื่อยๆ
แต่สิ่งที่แตกต่างที่สุดก็คือเรื่องของการเดินทาง ที่ผ่านมาก็มีเรื่องของการซ้อมไม่เหมือนเลย ที่ซ้อมเขาจำกัดให้แค่วันละ 2 ชั่วโมง เราก็ต้องแอบซ้อมมากกว่านั้นเพราะมันไม่พอ ก็พอเวลาคนไหนออกจากห้องซ้อมเราก็รีบวิ่งเข้าไปใน เขาก็มาไล่บ้าง (หัวเราะ) เพราะเด็กเยอะ
แม่ : คือที่นั่นห้องซ้อมมี 2 ที่ ที่มหาวิทยาลัยกับที่วังเก่า ทีนี้ที่ซ้อมของทางมหาวิทยาลัยจำกัด 2 ชั่วโมง แต่อีกที่ให้ 3 ชั่วโมง เราก็ต้องแบ่งเวลา คือถ้าวันนี้แข่งที่นี่เราก็ซ้อมที่นี่ เพราะรถแท็กซี่ที่นั่นแพง ก็เลยใช้รถเมล์ที่ชั่วโมงจะมีคันหนึ่ง เราก็ต้องกะเวลาว่าต้องทานข้าวเวลาไหนเนื่องจากเป็นวังเก่าไม่มีอะไรเลย ก็ต้องเตรียมมาม่า เอากาต้มน้ำไปด้วย ก็หนักอยู่ ถ้าถามว่าที่ไหนลำบากที่สุด ก็ไม่เชิง ส่วนใหญ่หลายๆ ที่ เราไปแข่งก็จัดขึ้นในเมืองใหญ่ ที่ลำบากคือเราต้องศึกษาก่อนแล้วภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ดีมาก เราจะเดินทางไปยังไง รัดกุมเรื่องวินัย

เรามีเคล็ดลับก้าวผ่านความกดดันทั้งเรื่องเวลาและรูปแบบรวมไปถึงการแสดงบนเวทีได้อย่างไร
จิ๊จ๊ะ : ถ้าสมมติว่าสั่นก็คิดว่ามันเป็นคอนเสิร์ตมากกว่า เพราะมันจะยิ่งกดดันตัวเอง มีกรรมการมา เราคิดว่ามาเล่นคอนเสิร์ตให้คนดู เล่นยังไงก็ได้ให้คนดูชอบและอินไปกับบทเพลงของเรา ส่วนเรื่องทักษะการแสดงเวลาคอมเมนต์บวกหรือลบเราก็ต้องไปปรับปรุงกับการที่เราเล่นเพราะว่าการคอมเมนต์เป็นสิ่งที่ดี ทำให้เราเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างในบทเพลงของเรา
คุณแม่ : น้องเป็นเด็กที่แข็งแรงทางใจมาก เวลาอยู่บนเวทีคนมักจะบอกว่าเขาเหมือนผู้ใหญ่ แต่พอลงจากเวทีเขาก็แบบเด็กธรรมดาทั่วไป ซน ชอบกีฬาผาดโผน เขาขอเล่นหลายอย่างที่แม่ไม่ให้เล่น คือเราต้องดูว่าอะไรที่มันเป็นอันตรายต่อแขนต่อมือ นิ้ว อย่างเมื่อก่อนเล่นยิมนาสติกก็แค่ขั้นเบสิก แอดวานซ์ก็ให้หยุด เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงมันแก้ไขไม่ได้ มันอาจจะส่งผลไม่ดีต่อการเล่น ก็ต้องคุยกับเขา บาลานซ์ปล่อยให้บางอย่าง แต่ตอนนี้ก็เริ่มดื้อบ้าง เพราะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น วัยที่เป็นตัวของตัวเอง

วัฒนธรรมสายอาชีพนี้ต่างจากบ้านเราไหม จากประสบการณ์สัมผัสนักดนตรีเมืองนอก
คุณแม่ : ของเขาน่าจะไม่ต้องฟันฝ่าเท่าบ้านเรา บ้านเราถ้าจะไปสายดนตรี คือการเรียนต้นทุนสูงมากในการเรียนดนตรีให้เก่ง เพราะเราต้องอาศัยครูที่มีความสามารถ ขณะที่เมืองนอกสิ่งแวดล้อมของเขาอาจจะหล่อหลอม เช่น ในโบสถ์เขาได้ร้องเพลงคอรัส ได้ฝึกอะไรมากและการเรียนเปียโนอาจจะไม่ต้องลงทุนเยอะ ทว่าของเราอย่างน้อยถ้าน้องจะไปขนาดนี้คือเราใช้อัปไรต์เปียโนไม่ได้แล้ว ต้องใช้แกรนด์เปียโน แล้วแกรนด์เปียโนที่คุณภาพดีอย่างน้อยๆ ก็หลังละล้านกว่า ฉะนั้นเราจะลำบากมากกว่า ต้องพยายามขอทุน โชคดีที่นี่เขาเห็นคุณค่า สนับสนุน ทำให้เราเอาทรัพยากรตรงนี้ไปเรียนดนตรี

มองอนาคตเราอย่างไรบ้างสำหรับการเล่นเปียโน
คุณแม่ : ถ้าจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 น้องยังไม่เปลี่ยนยังรักชอบก็อาจจะไปศึกษาต่อต่างประเทศ แต่ยังไม่รู้ว่าจะโซนยุโรปหรือโซนอเมริกา เพราะตอนนี้ให้น้องเริ่มเรียนภาษาเยอรมัน เพราะเห็นมีทาบทามถ้าเราเรียนที่นั่นก็ให้ทุนเลยเนื่องจากเราได้รางวัลที่นั่น
ก็อยากจะฝากสำหรับใครที่มีบุตรหลานถ้ารักชอบสิ่งใดให้ประเมินเขา คอยเฝ้าดูเขา ปรึกษาครูว่าลูกเรามีทักษะความสามารถพิเศษแบบไหนเพราะเด็กทุกคนไม่เหมือนกัน มีความสามารถแตกต่างกัน บางคนอาจจะไม่เหมาะกับดนตรีก็ได้แม้จะชอบ เราก็เล่นเป็นงานอดิเรกแล้วไปทำอย่างอื่น แต่ถ้าชอบและมีศักยภาพก็ควรจะส่งเสริมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และก็จะได้ผลลัพธ์อย่างเดียวกับน้องที่อยากเป็นนักเปียโนอาชีพ
จิ๊จ๊ะ : อยากเป็นนักเปียโนในระดับโลกด้วย (ยิ้ม) อยากไปเล่นคอนเสิร์ตใหญ่ๆ ที่คนมาดูเราหลายพันคน ได้โชว์เดี่ยวกับออเคสตราของตัวได้ ได้เล่นโซโลเป็นของตัวเอง ก็มุ่งมั่นเต็มที่ไม่มีทางแยกจากสายนี้เด็ดขาด เพราะถ้าเราชอบอะไรเราไม่ต้องการให้คนมาบังคับเรา ที่สำคัญเราก็จะทำมันได้ดี หนูก็มีความสุขมากเวลาเล่น

จุดเริ่มต้นบนเส้นทางนักเปียโน
คุณแม่ : คือตั้งแต่เล็กๆ ให้เรียนหลักสูตรจูเนียร์คอร์สของโรงเรียนดนตรีสยามกลการยามาฮ่า เพราะว่าไปอ่านหนังสือเจอเขาบอกว่าเด็กจะพัฒนาทางหูสูงสุดในช่วง 4-6 ขวบ และหลักสูตรนี้ก็ดีมากจากการที่ส่งพี่เขาไปเรียนก่อนก็เห็นผลลัพธ์ ก็เรียนต่อๆ กันมา น้องเป็นเด็กที่หูดีมาก ทีนี้จากหูก็พัฒนาไปเป็นจังหวะ เบสิกพื้นฐานของดนตรี คือทางโรงเรียนเขาจะให้เด็กรักดนตรีก่อน ร้องรำทำเพลง ปรบมือเข้าจังวะและค่อยๆ ยากขึ้นๆ จนถึงอ่านตัวโน้ต
ตอนแรกได้วางแผนไว้หรือไม่ว่าจะให้เล่นดนตรีระดับมืออาชีพขนาดนี้
คุณแม่ : ไม่เคยคิดเพราะว่าแม่เล่นดนตรีไม่เป็นอ่านโน้ตไม่ออก คิดอย่างเดียวว่าเรียนเพื่อเป็นอีกสิ่งที่คู่ขนานไปกับเรียนพื้นฐานของเขา ให้ช่วยเสริมในเรื่องสมาธิ อย่างน้อยๆ มันก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ คือคิดเพียงว่าลูกเล่นดนตรีอยู่ถ้าเขาทุกข์หรืออะไรก็ตามแต่ดนตรีก็จะอยู่กับเราเป็นเพื่อนเราได้ แล้วก็ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แค่นั้นเอง แต่เขาเกิดรักมันขึ้นมาจริงๆ
จิ๊จ๊ะ : คือที่อยากเป็นนักเปียโนจริงๆ เพราะรู้สึกว่าการเล่นดนตรีมันสนุก มันท้าทาย มีความท้าทายตลอดเวลาเพราะกว่าจะอ่านโน้ตแต่ละตัวกว่าจะเพิ่มไดนามิก มันก็ยาก และมันก็มีกุญแจสองตัว แตกต่างจากดนตรีอื่นๆ ที่มีตัวเดียว ใช้มือสองข้างด้วย และทุกการแข่งขันทุกรายการผู้เล่นต้องจำโน้ตเองทั้งหมดเลย ห้ามดูโน้ต เพลงเพลงหนึ่งกว่า 15-20 นาที มันก็ชอบความท้าทาย พอรู้สึกอย่างนั้นก็ไปบอกคุณแม่ (ยิ้ม)
พอตัดสินใจเป็นนักเปียโนต้องมีเวลาฝึก แบ่งเวลาอย่างไรบ้าง
คุณแม่ : ก็แรกๆ เรียนปกติ เรียนการศึกษาของไทยคู่ขนานกับการเรียนเปียโนในวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ เพราะตอนแรกใช้เวลาไม่เยอะยังไม่แอดวานซ์ เรียนไปเรื่อยๆ ซึ่งทางยามาฮ่าจะมีการแข่งขันในโรงเรียนก็ลองลงแข่ง เริ่มแข่งและเริ่มเข้ารอบชิงชนะเลิศ แต่ยังไม่ได้รางวัล (ยิ้ม) คือแข่งเป็นกิจกรรม จนเริ่มมาแข่งข้างนอกและเขามาบอกว่าเขาอยากเป็นนักเปียโนตอนช่วงประมาณ 9 ขวบ แม่ก็คิดว่าเขาอยากเป็นนักเปียโนเพราะว่าเขาเล่นได้ดีและมีคนชื่นชม หรือจริงๆ แล้วเขาอยากเป็นจริงๆ ตอนนั้นก็ไม่ทราบ แต่อะไรก็ตามเราก็สนับสนุนไปก่อนเท่าที่ศักยภาพเขาอยู่ที่ตรงไหน ก็เริ่มไปเรียนเพิ่มเติมข้างนอก กับ ดร.พรพรรณ บันเทิงหรรษา ควบคู่ไปกับยามาฮ่าและเรียนหนังสือภาคพื้นฐาน
หลังจากนั้นพอน้องเริ่มฝึกเยอะขึ้นเราก็มาคิดว่าการเรียนในระบบการศึกษาไทยเนี่ยการบ้านค่อนข้างเยอะ ก็คิดว่าเราน่าจะย้ายไปเรียนโรงเรียนอินเตอร์ ก็ปรึกษาคุณครูท่านก็เห็นด้วย แต่ที่นี้เราเรียนสองอย่างค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและโรงเรียนอินเตอร์ก็มีค่าเทอมที่เรตแพง เราก็ควรจะต้องขอทุนการศึกษา และเราก็ทราบมาว่าโรงเรียนนานาชาติ เดอะรีเจ้นท์ กรุงเทพฯ เขาสนับสนุนด้านดนตรี หลังจากปรับพื้นฐานด้านภาษาก็ฝึกฝนการเล่นเปียโน สอบเกรดเปียโน
จิ๊จ๊ะ : คือการบ้านเยอะมาก เรียนเสร็จกลับมาถึงบ้านก็เย็นประมาณ 5-6 โมง กว่าจะทำการบ้านเสร็จก็ดึกแล้วถึงเวลานอน วันหนึ่งๆ ก็ได้ซ้อมวันละ 1-2 ชม. เรารู้สึกว่ามันไม่พอ ต้องซ้อมมากกว่านั้น
ส่วนตัว ณ เวลานั้นเราแหวกขนบคิดเดิมๆ ที่ว่ายังไงการศึกษาพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
คุณแม่ : เราก็ต้องคุยกับเขาก่อนว่าถ้าชอบ ถ้าอาชีพที่ลูกเลือกมันต้องเลี้ยงตัวได้ก่อน คือทางบ้านมีคอนเซ็ปต์ว่าอะไรก็ได้ที่เลี้ยงตัวได้แล้วเป็นอาชีพสุจริตและอยู่กับมันได้ตลอดชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งอันนี้เราคิดว่าถ้าลูกคิดอย่างนี้ เรามองมากกว่าว่ามันจริงหรือเปล่าที่ลูกพูด อีกหน่อยลูกจะเปลี่ยนหรือเล่าด้วยความเป็นเด็ก แต่คิดว่าในเมื่อลูกบอกอย่างนี้เราลองสนับสนุนแล้วดูว่าเขาจะไปได้แค่ไหน และการที่จะไปในอาชีพไหนก็ตามต้องไปให้สุดของอาชีพนั้น อย่างที่บอกไปจะเลี้ยงตัวได้ไหม มันเลี้ยงตัวได้ถ้าเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถแม่คิดอย่างนี้
ฉะนั้นสนับสนุนเท่าที่ศักยภาพเขาไปได้ ซึ่งน้องเขาก็ทำตรงนี้ได้ และจากการออดิชั่นวันนั้นก็ตอบรับทุนเรียนฟรี 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็มารู้ทีหลังว่ากรรมการบางท่านให้คะแนนน้องเต็มร้อยเลยตอนสอบ ก็คิดอยู่นานเพราะว่าไกลบ้าน แต่คิดว่าถ้าทางโรงเรียนเห็นคุณค่าของน้องก็คิดว่าเราก็น่าจะมาเรียนที่นี่ดู
เด็กทุนดนตรีการเรียนการสอนแบ่งยังไงแตกต่างไหม
จิ๊จ๊ะ : ก็เรียนทุกอย่างเหมือนเด็กปกติเลย แต่มันก็จะมีซ้อมออเคสตรา เราก็ต้องเหมือนกับไปซ้อมตามที่ครูกำหนด และเวลามีคนเสิร์ตก็ต้องไปเล่น เลิกเรียนบ่าย 3 โมง กลับบ้านซ้อม 2-3 ชั่วโมงต่อวันในช่วงเปิดเทอม แต่ถ้าปิดเทอมก็ซ้อม 4-5 ชั่วโมง ที่ซ้อมทุกวัน ถามว่าเหนื่อยไหมก็ทั้งสนุกและเครียดค่ะ เพราะบางครั้งซ้อมตั้งนานทำไมยังทำไม่ได้ เนื่องจากไม่ใช่ว่าแข่งเยอะมันจะยิ่งหายตื่นเต้น ยิ่งโตมันก็ยิ่งตื่นเต้นขึ้นเรื่อยๆ เพราะเวทีมันก็จะหินขึ้นเรื่อยๆ ตอนนั้นตื่นเต้นมากกลัวเล่นผิด มือสั่น อยู่หลังเวทีก็คอยนึกโน้ต พยายามไม่คิดเรื่องแย่ๆ อย่างตอนไปแข่งต่างประเทศก็ซ้อมอย่างเดียว ในรายการล่าสุด The 5th Franz Liszt International Competition for Young Pianist ที่เมือง Weimar ประเทศเยอรมนี อยู่แต่ในห้องซ้อม 2 อาทิตย์ และวันจบไปเที่ยวเมืองแฟรงก์เฟิร์ตนิดหน่อยเท่านั้น แต่ก็ต้อง keep going ทำต่อไปเรื่อยๆ
แต่สิ่งที่แตกต่างที่สุดก็คือเรื่องของการเดินทาง ที่ผ่านมาก็มีเรื่องของการซ้อมไม่เหมือนเลย ที่ซ้อมเขาจำกัดให้แค่วันละ 2 ชั่วโมง เราก็ต้องแอบซ้อมมากกว่านั้นเพราะมันไม่พอ ก็พอเวลาคนไหนออกจากห้องซ้อมเราก็รีบวิ่งเข้าไปใน เขาก็มาไล่บ้าง (หัวเราะ) เพราะเด็กเยอะ
แม่ : คือที่นั่นห้องซ้อมมี 2 ที่ ที่มหาวิทยาลัยกับที่วังเก่า ทีนี้ที่ซ้อมของทางมหาวิทยาลัยจำกัด 2 ชั่วโมง แต่อีกที่ให้ 3 ชั่วโมง เราก็ต้องแบ่งเวลา คือถ้าวันนี้แข่งที่นี่เราก็ซ้อมที่นี่ เพราะรถแท็กซี่ที่นั่นแพง ก็เลยใช้รถเมล์ที่ชั่วโมงจะมีคันหนึ่ง เราก็ต้องกะเวลาว่าต้องทานข้าวเวลาไหนเนื่องจากเป็นวังเก่าไม่มีอะไรเลย ก็ต้องเตรียมมาม่า เอากาต้มน้ำไปด้วย ก็หนักอยู่ ถ้าถามว่าที่ไหนลำบากที่สุด ก็ไม่เชิง ส่วนใหญ่หลายๆ ที่ เราไปแข่งก็จัดขึ้นในเมืองใหญ่ ที่ลำบากคือเราต้องศึกษาก่อนแล้วภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ดีมาก เราจะเดินทางไปยังไง รัดกุมเรื่องวินัย
เรามีเคล็ดลับก้าวผ่านความกดดันทั้งเรื่องเวลาและรูปแบบรวมไปถึงการแสดงบนเวทีได้อย่างไร
จิ๊จ๊ะ : ถ้าสมมติว่าสั่นก็คิดว่ามันเป็นคอนเสิร์ตมากกว่า เพราะมันจะยิ่งกดดันตัวเอง มีกรรมการมา เราคิดว่ามาเล่นคอนเสิร์ตให้คนดู เล่นยังไงก็ได้ให้คนดูชอบและอินไปกับบทเพลงของเรา ส่วนเรื่องทักษะการแสดงเวลาคอมเมนต์บวกหรือลบเราก็ต้องไปปรับปรุงกับการที่เราเล่นเพราะว่าการคอมเมนต์เป็นสิ่งที่ดี ทำให้เราเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างในบทเพลงของเรา
คุณแม่ : น้องเป็นเด็กที่แข็งแรงทางใจมาก เวลาอยู่บนเวทีคนมักจะบอกว่าเขาเหมือนผู้ใหญ่ แต่พอลงจากเวทีเขาก็แบบเด็กธรรมดาทั่วไป ซน ชอบกีฬาผาดโผน เขาขอเล่นหลายอย่างที่แม่ไม่ให้เล่น คือเราต้องดูว่าอะไรที่มันเป็นอันตรายต่อแขนต่อมือ นิ้ว อย่างเมื่อก่อนเล่นยิมนาสติกก็แค่ขั้นเบสิก แอดวานซ์ก็ให้หยุด เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงมันแก้ไขไม่ได้ มันอาจจะส่งผลไม่ดีต่อการเล่น ก็ต้องคุยกับเขา บาลานซ์ปล่อยให้บางอย่าง แต่ตอนนี้ก็เริ่มดื้อบ้าง เพราะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น วัยที่เป็นตัวของตัวเอง
วัฒนธรรมสายอาชีพนี้ต่างจากบ้านเราไหม จากประสบการณ์สัมผัสนักดนตรีเมืองนอก
คุณแม่ : ของเขาน่าจะไม่ต้องฟันฝ่าเท่าบ้านเรา บ้านเราถ้าจะไปสายดนตรี คือการเรียนต้นทุนสูงมากในการเรียนดนตรีให้เก่ง เพราะเราต้องอาศัยครูที่มีความสามารถ ขณะที่เมืองนอกสิ่งแวดล้อมของเขาอาจจะหล่อหลอม เช่น ในโบสถ์เขาได้ร้องเพลงคอรัส ได้ฝึกอะไรมากและการเรียนเปียโนอาจจะไม่ต้องลงทุนเยอะ ทว่าของเราอย่างน้อยถ้าน้องจะไปขนาดนี้คือเราใช้อัปไรต์เปียโนไม่ได้แล้ว ต้องใช้แกรนด์เปียโน แล้วแกรนด์เปียโนที่คุณภาพดีอย่างน้อยๆ ก็หลังละล้านกว่า ฉะนั้นเราจะลำบากมากกว่า ต้องพยายามขอทุน โชคดีที่นี่เขาเห็นคุณค่า สนับสนุน ทำให้เราเอาทรัพยากรตรงนี้ไปเรียนดนตรี
มองอนาคตเราอย่างไรบ้างสำหรับการเล่นเปียโน
คุณแม่ : ถ้าจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 น้องยังไม่เปลี่ยนยังรักชอบก็อาจจะไปศึกษาต่อต่างประเทศ แต่ยังไม่รู้ว่าจะโซนยุโรปหรือโซนอเมริกา เพราะตอนนี้ให้น้องเริ่มเรียนภาษาเยอรมัน เพราะเห็นมีทาบทามถ้าเราเรียนที่นั่นก็ให้ทุนเลยเนื่องจากเราได้รางวัลที่นั่น
ก็อยากจะฝากสำหรับใครที่มีบุตรหลานถ้ารักชอบสิ่งใดให้ประเมินเขา คอยเฝ้าดูเขา ปรึกษาครูว่าลูกเรามีทักษะความสามารถพิเศษแบบไหนเพราะเด็กทุกคนไม่เหมือนกัน มีความสามารถแตกต่างกัน บางคนอาจจะไม่เหมาะกับดนตรีก็ได้แม้จะชอบ เราก็เล่นเป็นงานอดิเรกแล้วไปทำอย่างอื่น แต่ถ้าชอบและมีศักยภาพก็ควรจะส่งเสริมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และก็จะได้ผลลัพธ์อย่างเดียวกับน้องที่อยากเป็นนักเปียโนอาชีพ
จิ๊จ๊ะ : อยากเป็นนักเปียโนในระดับโลกด้วย (ยิ้ม) อยากไปเล่นคอนเสิร์ตใหญ่ๆ ที่คนมาดูเราหลายพันคน ได้โชว์เดี่ยวกับออเคสตราของตัวได้ ได้เล่นโซโลเป็นของตัวเอง ก็มุ่งมั่นเต็มที่ไม่มีทางแยกจากสายนี้เด็ดขาด เพราะถ้าเราชอบอะไรเราไม่ต้องการให้คนมาบังคับเรา ที่สำคัญเราก็จะทำมันได้ดี หนูก็มีความสุขมากเวลาเล่น