โด่งดังเป็นที่รู้จักทั่วสารทิศสำหรับเจ้าหมีน้อยไซเบอร์สีขาวน่ารัก ‘Etda bear’ มาสคอต ที่ออกมาวาดลวดลายยักย้ายส่ายสะโพก จนมีแฟนคลับเรือนแสนหลักล้าน ติดตามเหนียวแน่น ไม่ใช่แค่ครั้งคราวหรือชั่ววันคืน

อะไรที่ทำให้มาสคอตงานจ้างธรรมดา สู่ธุรกิจบริษัท
เบื้องหลังชุดคลุมน่ารัก มีแนวคิดหลักการอย่างไร
เราพาไปสนทนากับผู้ก่อตั้ง New BB event ซึ่งสร้างปรากฏการณ์พลิกโฉมวงการอีเวนต์ออแกไนเซอร์และมาสคอตของเมืองไทย “บีม - วิริยะ ชูฤทธิ์” และ “นิว - เสาวลักษณ์ อุ่ยคำ” สองหัวเรือใหญ่ที่สร้างรอยยิ้มแห่งความสุขให้กับทุกคนในโลกของมาสคอต
• จาก Mascot งานจ้างธรรมดาพาร์ตไทม์ กลายมาเป็นธุรกิจบริษัทได้อย่างไร
บีม : เกิดจากการที่ผมมีประสบการณ์อยู่ในวงการ Mascot มาประมาณ 8 ปี โดยคนทั่วไปก็จะดูว่าการทำงาน Mascot เหมือนกับบริษัทรับจัดอีเวนต์ เป็นออแกไนเซอร์จัดการ แล้วเขาก็หาคนใส่ให้เรา จะไม่เคยมีภาพแยกย่อยในหัวว่ามันสามารถโดดออกมาทำเป็นธุรกิจเดี่ยวๆ จุดเริ่มของเราเกิดจากลูกค้าออแกไนเซอร์บางคนที่ว่าจ้าง เขาอยากจะได้ Mascot ทีเดียวหลายๆ คน อย่างเช่น 6 คนในเวลาเดียวกัน แล้วเขาเห็นว่าเราเต้นเก่ง เขาก็สอบถามว่า พอจะมีน้องๆ แนะนำไหม หลังจากนั้นเราก็เริ่มเทรนน้องๆ มาใส่ เพราะบางทีลูกค้าเขาต้องการ เราก็เทรนน้องมาให้เอนเตอร์เทนแบบที่เราทำ
นิว : ทีนี้งานมันเริ่มเยอะ บูมขึ้น ก็เกิดไอเดียที่จะมาลองให้มันใหม่กว่านี้ดูไหม ก็เลยกลายมาเป็นบริษัท จริงๆ ตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะกลายเป็นรูปแบบบริษัทขนาดนี้ ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของรายได้ งานที่ไม่ได้มีทุกวัน

• แล้ววินาทีนั้นเรามองเห็นช่องทางในการสร้างได้อย่างไร
บีม : คือรายได้ต่อวัน 500 บาท เต้นสุดใจสุดชีวิต อย่างที่บอกว่า จ้างห้าร้อย เต้นห้าพัน แต่ที่ตัดสินใจทำสร้างขึ้นมาเป็นอาชีพหลัก เพราะพอทำแล้ว เราสนุกไปกับมัน เราได้อยู่กับงานที่รัก
นิว : แรกๆ ก็ไม่เคยคิด พอใส่แล้วก็ยังไม่คิดว่าจะเป็นธุรกิจหรือทำอะไรจริงจังได้ เพราะวันงานมันน้อย เราก็ยังสนใจที่จะไปทำงานประจำอยู่เลย ทว่าสุดท้าย บีมเขาบอกว่าเขาหาเลี้ยงได้ ทำได้ ประมาณครึ่งปี ก็ได้งานเต็มเลย เราก็ตัดสินใจมาช่วยกัน สุดท้ายมันก็กลายเป็นความสุข อยู่กับมันได้นาน การเปลี่ยนแปลงมันก็เกิดขึ้น ลูกค้าก็เลยชอบ เราก็ดีใจด้วย
• กลายมาเป็น New BB event อย่างสมบูรณ์แบบเต็มขั้นเต็มตัวเมื่อปีไหน
นิว : ปี 2557 ตอนแรกชื่อ ‘The BB Mascot’ แต่เพจเฟซบุ๊กเกิดโดนไวรัส เราก็เลยเปลี่ยนชื่อเพจใหม่ ซึ่งพอเราจะตั้งใหม่ เราคิดดูแล้วว่าไม่ได้มีแค่ Mascot อย่างเดียว แต่เรารับทำอย่างอื่นด้วย ไม่ได้ใส่อย่างเดียว เรารับทำความสะอาด ดูแล เก็บดูแลรักษา เก็บไว้ให้ พอถึงวันที่ลูกค้าอยากใช้ชุด เราก็ไปส่งให้ หรือจะมาเอาเองก็ได้ แล้วเราก็มีสตาฟฟ์มีอะไรให้ ก็เลยใช้ชื่อ ‘New BB Mascot’ เมื่อ 1 ปีที่แล้ว
• เป็นเจ้าแรกเลยหรือไม่
นิว : สไตล์แบบนี้ในประเทศไทยน่าจะมีประมาณ 2 เจ้า

• ทำการตลาดอย่างไรจนเป็นที่รู้จัก
นิว : เราเต็มที่กับงาน บีมเป็นคนที่มีใจรักในการใส่ Mascot เราเต็มที่กับมันจริงๆ ก็ทำให้มีงานเข้ามาเรื่อยๆ เพราะเราจะพยายามเพิ่มเติมเสริมพัฒนาทุกอย่าง แรกๆ ก็ทำเสียงเล็กๆ ธรรมดา “ไอเลิฟยู” “ไอมิสยู” แบบตุ๊กตาสติกเกอร์ไลน์
บีม : จุดแรกเริ่มที่เป็นที่รู้จักและมีแฟนคลับ ก็น่าจะเป็นตอนที่ใส่ชุดน้องกระทิง ในงานตลาดหลักทรัพย์ คือมันตีลังกาได้ มันเล่นมันเต้นได้ เขาชอบ หลักงานนั้นก็มีติดต่องานเข้ามา ให้ใส่ตัว ‘Etda bear’ หมีขาว แค่วันเดียวก็เป็นที่รู้จัก ซึ่งจริงๆ มีคนใส่อยู่แล้ว แต่ว่าเราไปสะดุดตาเขาเข้า เขาชอบ จากนั้นเขาก็โปรโมตว่าน้องกระทิงในวันนั้นจะมาใส่ให้กับเขาแล้วนะ

• การก้าวขึ้นมาสู่ระดับที่มีแฟนคลับเรียกร้อง ส่วนตัวเราต้องเตรียมตัวอย่างไรเพิ่มบ้างหรือไม่
บีม : เรื่องลีลาการเต้น การสนุกสนาน ไม่ได้เตรียมตัวซักซ้อมอะไรเลย เพราะพี่เขาบอกว่าฟรีสไตล์เลย อยากทำอะไรทำเลย พี่ไม่ว่า คือเขาบอกว่าเดี๋ยวจะคอยถ่ายวิดีโอไลฟ์สดให้ แต่จะมีก็เรื่องการปรับสภาพในการใส่ชุด เหมือนต้องจูนกับมันก่อน ต้องปรับตัว และอีกอย่างต้องดูดีๆ ตัวหมีตัวนี้ไม่มีมือ ทำอะไรก็ทำยากนิดหนึ่ง กว่าจะเต้นได้ ถ้าล้มลงไป ต้องลุกอย่างไร มันก็มีวิธีการลุกด้วย
• การใส่ Mascot มีกฎเกณฑ์รูปแบบอะไรอย่างไรบ้างหรือไม่
บีม : ห้ามถอดหัวในที่สาธารณะ คือเราต้องห้ามให้คนเห็นว่าใครใส่ กฎของมันเลย และสอง ห้ามเปลี่ยนชุดในที่กลางแจ้ง ต้องมิดชิด
นิว : ที่สำคัญคือมีใจรักทางด้านนี้ คือเมื่อก่อน เราจะหาก่อนว่าคนไหนอยากใส่ พออยากใส่ เราก็ให้มาลองใส่ แต่เราจะเลือกคนที่ชอบมันจริงๆ ไม่ใช่เห็นแค่เงินดี 1,000 บาท จึงอยากใส่ ก็ไม่ได้ เราอยากได้คนจริงจัง ชอบมันจริงๆ เนื่องจากเราอยากให้ทุกคนมีความสุขกับการที่ได้เห็น Mascot เต้นได้ แต่ถ้าไม่ตื่นเต้น ไม่สนุกกับมัน ลูกค้าก็จะไม่สนุกกับมันเหมือนกัน

คือเราดูอย่างบีมที่เขาชอบ เขาก็จะเต้นอย่างเต็มที่กับงาน ในการทำงานของบีมเองก็ไม่ได้อยู่ในกรอบงานทั่วๆ ไป การสร้างงาน ชอบทำใหญ่ไว้ก่อน อย่างตัว Mascot ก๊อตจิ ปตท. ทอดไข่เจียว เขาไม่ได้จ้างให้ไปทอดไข่ งานคอนเซ็ปต์คือไปเต้นเอนเตอร์เทน ไปเรียกลูกค้า แต่พอดีจังหวะนั้นเป็นงานคอนเสิร์ตแล้วเขามีให้แข่งทอดไข่เจียว ก๊อตจิก็แอบเอาไข่เขามาเต๊าะแล้วก็ทอด ก็เลยกลายเป็นกระแสที่เป็นประเด็น ‘คนทางบ้านมาแข่งกับก๊อตจิ’ ของโครงการเขาต่อ เขาก็ต่อยอดโครงการของเขาไป มันก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น เพราะบีมรักที่จะทำมัน จริงๆ การใส่ชุด Mascot หนักมาก แต่ถามว่ามันมีความสุขยังไง ร้อนก็ร้อน แต่พอเราเห็นคนยิ้มคนหัวเราะ เราก็สนุก แฮปปี้
บีม : จริงๆ Mascot มีหลายรูปแบบ มีหัวไฟเบอร์น้ำหนักเยอะ หัวโฟมเบาขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง ส่วนหัวฟองน้ำ เบาที่สุด เรื่องของน้ำหนักจะมีผลกับคนใส่ หนึ่ง คนใส่ก็จะไม่เจ็บหัวไหล่ คล่องตัวขึ้น เวลาลูกค้าเลือก เราก็ต้องถามก่อนว่าอยากได้แบบทนหรือชอบให้เต้นได้เยอะๆ เอนเตอร์เทนเก่งๆ เราก็จะแนะนำที่เหมาะสมกับลูกค้า

• แล้วในเรื่องของการใส่ชุด Mascot จำเป็นต้องมีการเซ็นสัญญาระบุตัว Mascot แต่ละตัวกันเลยมั้ย
นิว : สัญญาใจมากกว่า เราเต็มที่ให้กับเขา เขาก็เห็นความจริงว่าเราเต็มที่ให้กับงานตัวหนึ่ง เขาก็จะชอบ เราก็ได้ใส่ต่อไปเรื่อยๆ ถ้าเราทำเต็มที่ อันนี้ก็ไม่ใช่ปัญหา ปัญหาของธุรกิจ Mascot ของเราตอนนี้ก็คืองานชน เพราะบางเคส ลูกค้าเลือกมาว่าต้องเป็นบีมเท่านั้น แต่บางทีเราก็บอกว่ามีน้องที่เต้นได้เหมือนกัน แต่เขาอยากได้ชัวร์ เราก็ต้องบอกก่อนว่าน้องที่ใส่ได้ก็มี เราก็ส่งไปให้ดูว่า น้องทำได้จริงๆ เพราะเราไม่ได้ฟิกซ์ว่าใครจะต้องใส่ตัวใดตัวหนึ่ง

• คิวแน่นข้ามเดือนชนปี กลัวเหมือนกับธุรกิจอื่นๆ หรือไม่ ที่เวลาได้รับความนิยม จะเกิดกระแสลอกเลียนแบบ
นิว : จริงๆ ถามว่าเราต้องกลัวไหม มันไม่กลัว เพราะว่าคนใส่มันมีเยอะ งานจริงๆ ลูกค้าเขามีคนใส่ของเขาอยู่แล้ว แต่เรากลัวแค่ว่าอาจจะไปแอบอ้างมากกว่า เพราะบางทีเขาอาจจะเคยทำงานกับเราแล้วพอไม่ได้ทำ แต่บอกว่าเป็นคนของทีมนี้มา เรากลัวอย่างนั้นมากกว่า
• คิดว่าจุดแข็งของเราคืออะไร
นิว : ความเต็มที่กับงาน รักในงาน เพราะการที่เราใส่ เราให้น้องๆ ทุกคนเต็มที่กับงาน แล้วก็เวลาที่ถอด เราไม่ได้ว่าให้เขาอยู่เฉยๆ มีอะไรเราก็ให้เขาช่วยเหลือลูกค้าหยิบจับ ลูกค้าก็เห็นว่าเราเต็มที่กับงาน ก็เชื่อมั่นเรา ว่าจ้างเรามา แล้วเราก็จะประสบความสำเร็จ
บีม : และมันก็จะตอบโจทย์ หากเราเต็มที่ เราก็เลี้ยงดูครอบครัวหรือตัวเองได้ คือตั้งแต่ทำมา ตอนนี้ก็มีรถใช้จากธุรกิจนี้ เดี๋ยวก็จะซื้อบ้าน ก็จากธุรกิจนี้เหมือนกัน

• ในอนาคต วางหมุดหมายแพลนงานไว้อย่างไรบ้างหรือไม่
นิว : ก็จะอยู่ในแบบนี้ต่อไป พัฒนากันต่อไป เพราะเรารักมัน ไม่อยากทำอย่างอื่น คือมันเป็นอาชีพที่มอบความสุขให้กับทุกคน ผ่าน Mascot เล็กๆ เราเห็นเขายิ้ม มีคนหัวเราะ มีความสุข ก็ทำให้ผมมีความสุขทุกครั้งในการใส่ชุด Mascot ก้าวเดินต่อไป

เรื่องและภาพ : รายการ “คนล่าฝัน”
เรียบเรียง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
อะไรที่ทำให้มาสคอตงานจ้างธรรมดา สู่ธุรกิจบริษัท
เบื้องหลังชุดคลุมน่ารัก มีแนวคิดหลักการอย่างไร
เราพาไปสนทนากับผู้ก่อตั้ง New BB event ซึ่งสร้างปรากฏการณ์พลิกโฉมวงการอีเวนต์ออแกไนเซอร์และมาสคอตของเมืองไทย “บีม - วิริยะ ชูฤทธิ์” และ “นิว - เสาวลักษณ์ อุ่ยคำ” สองหัวเรือใหญ่ที่สร้างรอยยิ้มแห่งความสุขให้กับทุกคนในโลกของมาสคอต
• จาก Mascot งานจ้างธรรมดาพาร์ตไทม์ กลายมาเป็นธุรกิจบริษัทได้อย่างไร
บีม : เกิดจากการที่ผมมีประสบการณ์อยู่ในวงการ Mascot มาประมาณ 8 ปี โดยคนทั่วไปก็จะดูว่าการทำงาน Mascot เหมือนกับบริษัทรับจัดอีเวนต์ เป็นออแกไนเซอร์จัดการ แล้วเขาก็หาคนใส่ให้เรา จะไม่เคยมีภาพแยกย่อยในหัวว่ามันสามารถโดดออกมาทำเป็นธุรกิจเดี่ยวๆ จุดเริ่มของเราเกิดจากลูกค้าออแกไนเซอร์บางคนที่ว่าจ้าง เขาอยากจะได้ Mascot ทีเดียวหลายๆ คน อย่างเช่น 6 คนในเวลาเดียวกัน แล้วเขาเห็นว่าเราเต้นเก่ง เขาก็สอบถามว่า พอจะมีน้องๆ แนะนำไหม หลังจากนั้นเราก็เริ่มเทรนน้องๆ มาใส่ เพราะบางทีลูกค้าเขาต้องการ เราก็เทรนน้องมาให้เอนเตอร์เทนแบบที่เราทำ
นิว : ทีนี้งานมันเริ่มเยอะ บูมขึ้น ก็เกิดไอเดียที่จะมาลองให้มันใหม่กว่านี้ดูไหม ก็เลยกลายมาเป็นบริษัท จริงๆ ตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะกลายเป็นรูปแบบบริษัทขนาดนี้ ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของรายได้ งานที่ไม่ได้มีทุกวัน
• แล้ววินาทีนั้นเรามองเห็นช่องทางในการสร้างได้อย่างไร
บีม : คือรายได้ต่อวัน 500 บาท เต้นสุดใจสุดชีวิต อย่างที่บอกว่า จ้างห้าร้อย เต้นห้าพัน แต่ที่ตัดสินใจทำสร้างขึ้นมาเป็นอาชีพหลัก เพราะพอทำแล้ว เราสนุกไปกับมัน เราได้อยู่กับงานที่รัก
นิว : แรกๆ ก็ไม่เคยคิด พอใส่แล้วก็ยังไม่คิดว่าจะเป็นธุรกิจหรือทำอะไรจริงจังได้ เพราะวันงานมันน้อย เราก็ยังสนใจที่จะไปทำงานประจำอยู่เลย ทว่าสุดท้าย บีมเขาบอกว่าเขาหาเลี้ยงได้ ทำได้ ประมาณครึ่งปี ก็ได้งานเต็มเลย เราก็ตัดสินใจมาช่วยกัน สุดท้ายมันก็กลายเป็นความสุข อยู่กับมันได้นาน การเปลี่ยนแปลงมันก็เกิดขึ้น ลูกค้าก็เลยชอบ เราก็ดีใจด้วย
• กลายมาเป็น New BB event อย่างสมบูรณ์แบบเต็มขั้นเต็มตัวเมื่อปีไหน
นิว : ปี 2557 ตอนแรกชื่อ ‘The BB Mascot’ แต่เพจเฟซบุ๊กเกิดโดนไวรัส เราก็เลยเปลี่ยนชื่อเพจใหม่ ซึ่งพอเราจะตั้งใหม่ เราคิดดูแล้วว่าไม่ได้มีแค่ Mascot อย่างเดียว แต่เรารับทำอย่างอื่นด้วย ไม่ได้ใส่อย่างเดียว เรารับทำความสะอาด ดูแล เก็บดูแลรักษา เก็บไว้ให้ พอถึงวันที่ลูกค้าอยากใช้ชุด เราก็ไปส่งให้ หรือจะมาเอาเองก็ได้ แล้วเราก็มีสตาฟฟ์มีอะไรให้ ก็เลยใช้ชื่อ ‘New BB Mascot’ เมื่อ 1 ปีที่แล้ว
• เป็นเจ้าแรกเลยหรือไม่
นิว : สไตล์แบบนี้ในประเทศไทยน่าจะมีประมาณ 2 เจ้า
• ทำการตลาดอย่างไรจนเป็นที่รู้จัก
นิว : เราเต็มที่กับงาน บีมเป็นคนที่มีใจรักในการใส่ Mascot เราเต็มที่กับมันจริงๆ ก็ทำให้มีงานเข้ามาเรื่อยๆ เพราะเราจะพยายามเพิ่มเติมเสริมพัฒนาทุกอย่าง แรกๆ ก็ทำเสียงเล็กๆ ธรรมดา “ไอเลิฟยู” “ไอมิสยู” แบบตุ๊กตาสติกเกอร์ไลน์
บีม : จุดแรกเริ่มที่เป็นที่รู้จักและมีแฟนคลับ ก็น่าจะเป็นตอนที่ใส่ชุดน้องกระทิง ในงานตลาดหลักทรัพย์ คือมันตีลังกาได้ มันเล่นมันเต้นได้ เขาชอบ หลักงานนั้นก็มีติดต่องานเข้ามา ให้ใส่ตัว ‘Etda bear’ หมีขาว แค่วันเดียวก็เป็นที่รู้จัก ซึ่งจริงๆ มีคนใส่อยู่แล้ว แต่ว่าเราไปสะดุดตาเขาเข้า เขาชอบ จากนั้นเขาก็โปรโมตว่าน้องกระทิงในวันนั้นจะมาใส่ให้กับเขาแล้วนะ
• การก้าวขึ้นมาสู่ระดับที่มีแฟนคลับเรียกร้อง ส่วนตัวเราต้องเตรียมตัวอย่างไรเพิ่มบ้างหรือไม่
บีม : เรื่องลีลาการเต้น การสนุกสนาน ไม่ได้เตรียมตัวซักซ้อมอะไรเลย เพราะพี่เขาบอกว่าฟรีสไตล์เลย อยากทำอะไรทำเลย พี่ไม่ว่า คือเขาบอกว่าเดี๋ยวจะคอยถ่ายวิดีโอไลฟ์สดให้ แต่จะมีก็เรื่องการปรับสภาพในการใส่ชุด เหมือนต้องจูนกับมันก่อน ต้องปรับตัว และอีกอย่างต้องดูดีๆ ตัวหมีตัวนี้ไม่มีมือ ทำอะไรก็ทำยากนิดหนึ่ง กว่าจะเต้นได้ ถ้าล้มลงไป ต้องลุกอย่างไร มันก็มีวิธีการลุกด้วย
• การใส่ Mascot มีกฎเกณฑ์รูปแบบอะไรอย่างไรบ้างหรือไม่
บีม : ห้ามถอดหัวในที่สาธารณะ คือเราต้องห้ามให้คนเห็นว่าใครใส่ กฎของมันเลย และสอง ห้ามเปลี่ยนชุดในที่กลางแจ้ง ต้องมิดชิด
นิว : ที่สำคัญคือมีใจรักทางด้านนี้ คือเมื่อก่อน เราจะหาก่อนว่าคนไหนอยากใส่ พออยากใส่ เราก็ให้มาลองใส่ แต่เราจะเลือกคนที่ชอบมันจริงๆ ไม่ใช่เห็นแค่เงินดี 1,000 บาท จึงอยากใส่ ก็ไม่ได้ เราอยากได้คนจริงจัง ชอบมันจริงๆ เนื่องจากเราอยากให้ทุกคนมีความสุขกับการที่ได้เห็น Mascot เต้นได้ แต่ถ้าไม่ตื่นเต้น ไม่สนุกกับมัน ลูกค้าก็จะไม่สนุกกับมันเหมือนกัน
คือเราดูอย่างบีมที่เขาชอบ เขาก็จะเต้นอย่างเต็มที่กับงาน ในการทำงานของบีมเองก็ไม่ได้อยู่ในกรอบงานทั่วๆ ไป การสร้างงาน ชอบทำใหญ่ไว้ก่อน อย่างตัว Mascot ก๊อตจิ ปตท. ทอดไข่เจียว เขาไม่ได้จ้างให้ไปทอดไข่ งานคอนเซ็ปต์คือไปเต้นเอนเตอร์เทน ไปเรียกลูกค้า แต่พอดีจังหวะนั้นเป็นงานคอนเสิร์ตแล้วเขามีให้แข่งทอดไข่เจียว ก๊อตจิก็แอบเอาไข่เขามาเต๊าะแล้วก็ทอด ก็เลยกลายเป็นกระแสที่เป็นประเด็น ‘คนทางบ้านมาแข่งกับก๊อตจิ’ ของโครงการเขาต่อ เขาก็ต่อยอดโครงการของเขาไป มันก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น เพราะบีมรักที่จะทำมัน จริงๆ การใส่ชุด Mascot หนักมาก แต่ถามว่ามันมีความสุขยังไง ร้อนก็ร้อน แต่พอเราเห็นคนยิ้มคนหัวเราะ เราก็สนุก แฮปปี้
บีม : จริงๆ Mascot มีหลายรูปแบบ มีหัวไฟเบอร์น้ำหนักเยอะ หัวโฟมเบาขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง ส่วนหัวฟองน้ำ เบาที่สุด เรื่องของน้ำหนักจะมีผลกับคนใส่ หนึ่ง คนใส่ก็จะไม่เจ็บหัวไหล่ คล่องตัวขึ้น เวลาลูกค้าเลือก เราก็ต้องถามก่อนว่าอยากได้แบบทนหรือชอบให้เต้นได้เยอะๆ เอนเตอร์เทนเก่งๆ เราก็จะแนะนำที่เหมาะสมกับลูกค้า
• แล้วในเรื่องของการใส่ชุด Mascot จำเป็นต้องมีการเซ็นสัญญาระบุตัว Mascot แต่ละตัวกันเลยมั้ย
นิว : สัญญาใจมากกว่า เราเต็มที่ให้กับเขา เขาก็เห็นความจริงว่าเราเต็มที่ให้กับงานตัวหนึ่ง เขาก็จะชอบ เราก็ได้ใส่ต่อไปเรื่อยๆ ถ้าเราทำเต็มที่ อันนี้ก็ไม่ใช่ปัญหา ปัญหาของธุรกิจ Mascot ของเราตอนนี้ก็คืองานชน เพราะบางเคส ลูกค้าเลือกมาว่าต้องเป็นบีมเท่านั้น แต่บางทีเราก็บอกว่ามีน้องที่เต้นได้เหมือนกัน แต่เขาอยากได้ชัวร์ เราก็ต้องบอกก่อนว่าน้องที่ใส่ได้ก็มี เราก็ส่งไปให้ดูว่า น้องทำได้จริงๆ เพราะเราไม่ได้ฟิกซ์ว่าใครจะต้องใส่ตัวใดตัวหนึ่ง
• คิวแน่นข้ามเดือนชนปี กลัวเหมือนกับธุรกิจอื่นๆ หรือไม่ ที่เวลาได้รับความนิยม จะเกิดกระแสลอกเลียนแบบ
นิว : จริงๆ ถามว่าเราต้องกลัวไหม มันไม่กลัว เพราะว่าคนใส่มันมีเยอะ งานจริงๆ ลูกค้าเขามีคนใส่ของเขาอยู่แล้ว แต่เรากลัวแค่ว่าอาจจะไปแอบอ้างมากกว่า เพราะบางทีเขาอาจจะเคยทำงานกับเราแล้วพอไม่ได้ทำ แต่บอกว่าเป็นคนของทีมนี้มา เรากลัวอย่างนั้นมากกว่า
• คิดว่าจุดแข็งของเราคืออะไร
นิว : ความเต็มที่กับงาน รักในงาน เพราะการที่เราใส่ เราให้น้องๆ ทุกคนเต็มที่กับงาน แล้วก็เวลาที่ถอด เราไม่ได้ว่าให้เขาอยู่เฉยๆ มีอะไรเราก็ให้เขาช่วยเหลือลูกค้าหยิบจับ ลูกค้าก็เห็นว่าเราเต็มที่กับงาน ก็เชื่อมั่นเรา ว่าจ้างเรามา แล้วเราก็จะประสบความสำเร็จ
บีม : และมันก็จะตอบโจทย์ หากเราเต็มที่ เราก็เลี้ยงดูครอบครัวหรือตัวเองได้ คือตั้งแต่ทำมา ตอนนี้ก็มีรถใช้จากธุรกิจนี้ เดี๋ยวก็จะซื้อบ้าน ก็จากธุรกิจนี้เหมือนกัน
• ในอนาคต วางหมุดหมายแพลนงานไว้อย่างไรบ้างหรือไม่
นิว : ก็จะอยู่ในแบบนี้ต่อไป พัฒนากันต่อไป เพราะเรารักมัน ไม่อยากทำอย่างอื่น คือมันเป็นอาชีพที่มอบความสุขให้กับทุกคน ผ่าน Mascot เล็กๆ เราเห็นเขายิ้ม มีคนหัวเราะ มีความสุข ก็ทำให้ผมมีความสุขทุกครั้งในการใส่ชุด Mascot ก้าวเดินต่อไป
เรื่องและภาพ : รายการ “คนล่าฝัน”
เรียบเรียง : รัชพล ธนศุทธิสกุล