ปฏิเสธไม่ได้ว่า สมัยนี้การทำศัลยกรรมได้รับความนิยมอย่างมาก บางคนทำมาแล้วก็ประสบความสำเร็จ สวยขึ้น หล่อขึ้น แต่กับบางคนก็ต้องพบกับปัญหามากมายแทนที่จะดีขึ้นกลับกลายเป็นแย่ลงไปกว่าเดิม
เราไปจับเข่าคุยกับ “นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี” ผู้อำนวยการและผู้บริหารดีอาร์เค บิวตี้ คลินิก และ “พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่ง ซึ่งมาให้ความรู้แบบเปิดหมดเปลือกในเรื่องศัลยกรรม และพูดได้คำเดียวเลยว่า ถ้าคิดจะศัลย์ ต้องอ่านทุกบรรทัดถัดจากนี้...

รู้จักให้ถ่องแท้
‘ศัลยกรรม’ คืออะไร?
พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม : ศัลยกรรมคือการใช้การผ่าตัดเข้ามาช่วยในการปรับเปลี่ยนจุดที่เราคิดว่าไม่พึงพอใจหรือว่าผิดปกติ โดยศัลยกรรมจะแบ่งออกได้เป็นทั้งที่แก้ไขความผิดปกติจริงๆ และแบบเพิ่มความสวยงาม ซึ่งจะใช้วิธีผ่าตัด ตัดส่วนที่ผิดปกติออก แก้ไขให้ดีขึ้น
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : การผิดปกติก็จะมีตั้งแต่กำเนิดจนถึงปลายทางเลยครับ ศัลยกรรมตั้งแต่กำเนิดก็มี ในคนไข้ที่มีความพิการ เช่นปากแหว่งเพดานโหว่ หรือลักษณะของคิ้ว ตา ปากไม่ปกติ นิ้วเกินหรืออะไรต่างๆ เราก็จะสามารถผ่าตัดแก้ไขกันได้ อันนี้ก็จะเป็นเรื่องของความพิการแต่กำเนิดครับ
ผมเคยเจอคนไข้ที่มีนิ้วมือกับนิ้วเท้ารวมกัน 28 นิ้ว คือเคสนี้ถ้าคิดง่ายๆ ตัดทิ้งก็คงจะง่ายไป แต่ว่าเราต้องคิดถึงโครงสร้างของนิ้วด้วยว่าถ้าเราตัดออกแล้วสิ่งที่เหลืออยู่ไม่สมดุลกัน มันก็จะเกิดความผิดปกติตามมา แปลว่างานของเราไปเพิ่มความพิการให้กับคนไข้ ดังนั้น การวางแผนของการผ่าตัดเราจะต้องรู้เรื่องกายวิภาค รู้เรื่องเทคนิคในการผ่าตัดแต่ละชนิดเพื่อที่จะให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละรายไป

‘ศัลยกรรมเพื่อความสวยหล่อ’
นิยมอย่างมากในยุคปัจจุบัน
พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม : ในการศัลยกรรมเพื่อความงามนั้น เรื่องความสวยงามเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของชีวิตคนทุกวันนี้ไปแล้วนะคะ เราต้องการเงิน ต้องการเวลา พอทุกอย่างครบเสร็จ เราก็จะกลับมามองที่ตัวเองว่าเรายังขาดความสวยอะไรตรงไหนอีกบ้าง
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : ในมุมมองกลับกัน ผมว่าเขาทำเพื่อเพิ่มโอกาสในชีวิตให้มากขึ้น อย่างในหลายๆ รายที่มีหน้าที่การงานที่ดีขึ้น ก็มาจากรูปร่างหน้าตาที่ดีด้วย เช่น นักศึกษาจบใหม่ พอไปสัมภาษณ์งาน ผู้สัมภาษณ์อาจจะไม่ได้อ่านด้วยซ้ำว่าเราจบที่ไหนมา ได้เกรดอะไร แต่ถ้าหน้าตาดีก็มีโอกาสเลย มันเป็นโอกาสในสังคม ทำให้คนหันมาหาหมอศัลยกรรมมากขึ้นครับ
พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม : ปัจจุบันผู้หญิงจะชอบทำจมูกกับคางมากที่สุดค่ะ ซึ่งในการศัลยกรรมที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของใบหน้ามากที่สุดเลยก็คือการทำจมูก เพราะจมูกอยู่ตรงแกนกลางหน้า จึงทำให้เด่นชัด ซึ่งในความเห็นของผม จมูกก็เหมือนเสื้อผ้า มันเป็นแฟชั่น อย่างเมื่อสิบปีก่อน คนจะนิยมจมูกทรงหยดน้ำ แต่เดี๋ยวนี้จะนิยมทรงปลายพุ่ง มันเหมือนแฟชั่นเสื้อผ้าที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แต่การเปลี่ยนจมูกไม่ได้ง่ายขนาดนั้น
อย่างผู้หญิงสมัยก่อนจะมาให้ทำจมูกแบบคุณอั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ ซึ่งเป็นที่นิยมมาก แต่ตอนนี้ก็จะเป็นคุณญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ บ้าง คุณใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่ บ้าง ส่วนริมฝีปากหลายคนอยากจะมีแบบคุณใบเฟิร์น พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ ซึ่งคนไข้มีต้นแบบก็จริง แต่ต้องนึกถึงฝั่งแพทย์บ้าง เพราะว่ารูปร่างแต่ละคนไม่เหมือนกัน ก็ต้องดูตามความเหมาะสม เพราะยังไงสุดท้าย ผมว่าคนเราก็สวยหล่อตามพื้นฐานที่เรามีอันนี้ดีที่สุด ซึ่งเราก็จะอธิบายให้คนไข้ฟังเสมอว่าเราทำได้เท่าไหน สิ่งที่เขาต้องการกับสิ่งที่เราทำให้ มันตรงกันไหม ถ้าตรงก็ลุย แต่ถ้าไม่ตรงก็พักไว้ก่อน มีคนไข้บางคนมาหาเราเพื่ออยากเปลี่ยนทรงจมูกตามแฟชั่น แต่ในคำแนะนำของหมอก็คือถ้าจมูกเราทำมาแล้วไม่มีปัญหาอะไร เราก็ไม่ควรไปยุ่งกับมันบ่อยๆ จะดีกว่าค่ะ
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : ส่วนผู้ชายส่วนใหญ่จะชอบทำตากับจมูก ผู้ชายจะชอบลักษณะตาสองชั้นหลบใน ผู้ชายแท้ๆ จะชอบประมาณนี้ครับ ส่วนจมูกจะชอบแนวตรงๆ ให้ดูเข้มแข็งๆ หน่อย แต่จะไม่มีแบบมาให้ดู อีกอย่างหนึ่งเลยที่มาแรงในผู้ชายทั้งวัยรุ่นและสูงวัย ก็คือการปลูกผมที่นิยมทำกันมากๆ ซึ่งผู้ชายจะเป็นกังวลเรื่องนี้มาก

ศัลยกรรมที่ดี
ต้องไม่รู้ว่าทำ ต้องไม่ผิดธรรมชาติ
พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม : ที่หมอเจอมาจะเป็นประมาณว่ามารีเควสต์ขอศัลยกรรมเกินธรรมชาติค่ะ เช่น ขอทำคางให้ยาวขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเวลาที่เราตรวจเขาดู เราเห็นว่าอัตราส่วนของใบหน้าเขาพอดีอยู่แล้ว ตรงตามมาตรฐานอยู่แล้ว ซึ่งหมอจะบอกตามตรงว่าที่เขารีเควสต์มา ดูผิดธรรมชาติแล้วนะคะ และอะไรที่ดูผิดธรรมชาติ หมอจะไม่แนะนำให้ทำ ซึ่งจะเจอบ่อยมากเรื่องคาง บางคนอยากได้แหลมๆ เลยก็มี หมอก็ต้องคุยกับคนไข้ให้เขาเข้าใจ เพราะเราก็ไม่อยากทำอะไรที่ผิดธรรมชาติไปให้คนไข้ ซึ่งบางคนก็ยอม บางคนก็ไม่ยอม ซึ่งหมอก็จะไม่ทำให้ค่ะ เพราะศัลยกรรมที่ดีคือ ต้องเอาออกได้ เอาเข้าได้ แล้วศัลยกรรมที่ดีคือต้องไม่รู้ว่าทำมาค่ะ
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : คือตรงนี้จะมีความสัมพันธ์กันนะครับ เพราะจะมีสัดส่วนของความสวยงามทางการแพทย์ที่เขามีอยู่แล้ว แต่ในทางปฏิบัติ เราจะมีวิธีดู เช่น ใบหูตำแหน่งที่ถูกต้องอยู่ประมาณไหน ใบหูอยู่ประมาณคิ้ว ติ่งหูอยู่ประมาณปลายจมูก สัดส่วนปากบนปากล่างเท่าไหร่ คือง่ายๆ จะต้องเป็น 1- 1- 1 คือเห็นแล้วต้องเท่ากัน หน้าผากถึงคิ้ว ปลายคิ้วถึงปลายจมูก ปลายจมูกถึงคาง ซึ่งจะอยู่ในตำราของศัลยกรรมและตำราของช่างแต่งหน้าด้วยครับ
อย่างเรื่องหน้าอกก็เช่นกัน สาวๆ ส่วนใหญ่จะมาทำหน้าอก ปัญหาที่เจอบ่อยคือคนไข้จะคิดว่าไซส์ใหญ่ใส่อะไรก็ได้ ซึ่งจริงๆ ทางการแพทย์มันไม่ใช่นะครับ เพราะยิ่งถ้าทำใหญ่เกินตัวมากเท่าไหร่ ปัญหาก็ยิ่งเยอะ ในทางปฏิบัติจริงๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเขาจะไม่ได้วัดแค่หน้าอก แต่ต้องวัดส่วนสูง วัดน้ำหนัก ดูคุณภาพของผิวหนัง มีไขมันมากน้อยแค่ไหน หน้าอกเป็นยังไง กว้างยาวสูง สัดส่วนเป็นยังไง มีปัญหาอื่นร่วมด้วยไหม แม้กระทั่งต้องลองตัวไซส์เสื้อ ขนาดของหน้าอกโดยประมาณ ทุกๆ คนจะมีโครงสร้างของตัวเอง คือคนไข้เดินมาบอกเราว่าจะเอาข้างละ 400 ซีซี เราก็สามารถทำให้ได้ ซึ่งความสวยงามที่คนไข้เข้าใจ บางทีอยากมีหน้าอกสวยกลมเหมือนลูกบอลอย่างในการ์ตูน ประชาชนทั่วไปอาจจะมองว่าสวย แต่จริงๆ มันไม่ใช่ครับ
สิ่งที่ผมเจอบ่อยเลยก็คือ ก่อนจะมาทำ เดิมทีคนไข้ไม่รู้ เช่น หน้าอกสองข้างของเขาไม่เท่ากัน หรือโครงหน้าอกเขาผิดปกติ อกบุ๋มบ้าง อกไก่บ้าง อย่างสมมติคนไข้อกไก่คือกระดูกตรงกลางโปร่ง หน้าอกก็จะชี้ออกสองข้าง แต่สิ่งที่คนไข้ต้องการก็คือนมชิด ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ด้วยโครงสร้างหลายๆ อย่าง หรืออย่างด้านรูปทรงต่างๆ จะมีเทคนิคในการวางตำแหน่ง เป็นรายละเอียดของการผ่าตัด ก็จะเป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่คนไข้ประเมินเองไม่ได้ครับ ก็ต้องอธิบายกัน เป็นต้น

เรื่องเล่าจากห้องผ่าตัด แต่ละเคสไม่ได้ง่าย
ใครบ้างที่สมควรทำศัลยกรรม
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเด็กที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มนี้จะต้องทำก่อนเด็กเริ่มหัดพูด ต้องผ่าก่อนขวบปีแรก เพราะว่าถ้าเขาเริ่มพูดแล้ว การผ่าจะทำให้การออกเสียงของเขาผิดปกติไปหมดเลย เขาจะชินกับอวัยวะที่พิการ หรือแม้กระทั่งริมฝีปากไม่ต้องไปรอ 1 ขวบค่อยทำแต่ต้องรีบทำ ส่วนในแง่สวยงามอย่างการทำจมูก เด็กอายุ 15 ปีมาทำ ก็ไม่ใช่ เพราะว่าเขายังโตไม่เต็มที่ ซึ่งค่าเฉลี่ยที่เริ่มทำได้ ต้องอายุ 16-17 ปี เป็นต้นไป หรืออย่างขากรรไกร ช้าสุดก็ต้อง 17-18 ปีไปแล้วถึงทำได้
พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม : คนที่อายุเยอะ ก็ใช่ว่าจะทำศัลยกรรมไม่ได้นะคะ แต่อายุเยอะจะมาพร้อมกับโรคประจำตัวซึ่งเราก็ต้องดูว่ามีความดันสูงไหม ควบคุมความดันดีไหม เป็นโรคเบาหวาน มีปัญหาเรื่องการคุมน้ำตาลไหม เป็นโรคหัวใจไหม มียาที่ทานอยู่ประจำที่มีผลกับการผ่าตัดไหม เราก็ต้องเช็กดูก่อนค่ะถ้าไม่มีก็สามารถทำได้เลย
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : ผมมีเคสเล่าให้ฟัง ตอนนั้นผมยังฝึกแพทย์ประจำบ้านอยู่กับโรงเรียนแพทย์ มีคนไข้คนหนึ่งอายุ 70-80 ปีแล้วจะมาแปลงเพศ สิ่งแรกที่ทำก็เหมือนที่อาจารย์กันยาภาบอก ก็คือเช็กประวัติ ตรวจร่างกาย โรคประจำตัวมีไหม ซึ่งอาจารย์ผมท่านก็เห็นว่าทุกอย่างโอเค แต่ประโยคเดียวที่อาจารย์ตัดสินใจทำให้ก็คือทำไมถึงมาทำตอนอายุ 70-80 ปีซึ่งเขาตอบว่าเขาเกิดเป็นชายก็จริง แต่เขาอยากตายในร่างหญิง นี่คือแรงบันดาลใจของเขา ซึ่งทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี แต่เราก็ต้องเช็กทุกอย่างก่อนทำทั้งหมด

คำแนะนำก่อนตัดสินใจทำ ‘ศัลยกรรม’
อยากทำศัลยกรรมเตรียมตัวยังไง?
พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม : อย่างแรกเราต้องเช็กความคิดของตัวเองก่อนว่าเราพร้อมที่จะทำจริงๆ หรือยัง หรือว่าเราพร้อมที่จะอยู่กับอวัยวะใหม่ที่เราผ่าตัดเข้าไปหรือยัง อย่างที่สองคือเรื่องคนรอบข้าง เพราะคนรอบข้างก็มีผลกับเราเหมือนกัน เราต้องคุยกับคนในครอบครัวก่อน โดยเฉพาะเด็กๆ วัยรุ่น บางคนมาถึง บอกหมอว่าหนูอยากทำมากเลย แม่อยู่ต่างจังหวัด หมอทำให้เลยได้ไหม อันนี้ไม่ควรนะคะ เพราะควรจะให้ที่บ้านรับรู้ด้วย อย่างที่สาม แพทย์ คลินิก หรือโรงพยาบาลที่เราจะไปทำ คือทุกวันนี้คลินิกเยอะมาก แล้วก็มีหลายรูปแบบมาก เราต้องหาข้อมูลเพื่อที่จะเซฟตัวเองว่าเราจะไปอยู่ในมือหมอแบบไหน เป็นคุณหมอที่ผ่านการอบรมมาดีแล้วหรือยัง อันนี้ขึ้นอยู่กับตัวเรา ไม่มีใครบอกว่าคุณควรจะทำกับคุณหมอศัลยกรรมตกแต่งเท่านั้น อันนี้ไม่ใช่ แต่ว่าตัวเราเองเลือกได้ เพราะทุกวันนี้ข้อมูลหาได้จากอินเทอร์เน็ตค่ะ
ที่หมออยากแนะนำเลยก็คือเรื่องของข้อมูล อยากให้ดูว่าคนอื่นเขาทำไปแล้วเป็นยังไง ต้องหาข้อมูลนิดนึงเพื่อที่จะได้รู้ว่าถ้าเกิดเราทำศัลยกรรมกับตัวเองแล้ว เราจะรับได้ไหม เพราะว่าศัลยกรรมทุกอย่างจะมีผลและติดตัวกับเราไปตลอด การทำศัลยกรรมครั้งหนึ่ง เราต้องมีการลงมีด มีการผ่าตัด มีโอกาสเกิดความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ ยิ่งคนที่มีซิลิโคนหรือว่าสิ่งแปลกปลอมอะไรบางอย่างใส่เข้าไป ต้องอยู่กับเราไปตลอด อาจจะมีปัญหาในระยะยาว ดังนั้น ต้องศึกษาข้อมูลก่อนทำแล้วเรารับกับความเสี่ยงนี้ได้ไหม
ส่วนจะทำกับคุณหมอท่านใด ทุกวันนี้มีเว็บไซต์ของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย ซึ่งก่อนทำ เราสามารถเอาชื่อแพทย์ที่เราตั้งใจจะไปผ่าตัดกับท่านมาเสิร์ชดูข้อมูลว่าท่านเป็นศัลยแพทย์ตกแต่งตัวจริงหรือไม่ ข้อมูลการศึกษาอย่างไร สามารถเช็กได้ในอินเทอร์เน็ตหมดเลยค่ะ ซึ่งถ้าเกิดว่าเป็นนายแพทย์จริงๆ ก็จะมีรายชื่ออยู่ในระบบ เราก็จะสามารถมั่นใจได้ว่าเรากำลังจะได้ผ่าตัดกับศัลยแพทย์ตกแต่งจริงๆ ค่ะ

นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : ในส่วนของรีวิวจะมีรีวิวเชิงคนไข้กับรีวิวเชิงแพทย์นะครับ รีวิวเชิงคนไข้ความหมายคือคนไข้อาจจะไม่ได้มีความรู้ทางการแพทย์เหมือนตัวแพทย์เอง แต่ที่จะให้ดูรีวิวก็เพราะจะได้รู้ว่าคนที่เคยทำมาก่อนเขาต้องเจออะไรบ้าง ก่อนผ่าและหลังผ่าเป็นยังไง มีภาวะแทรกซ้อนยังไง นี่คือสิ่งที่ต้องอ่าน แต่ก็ต้องไปแยกแยะเองว่ามันแฝงไปด้วยการโฆษณาหรือไม่ อีกอย่างหนึ่งคือการรีวิวทางการแพทย์ เช่น การผ่าตัดเสริมคางมีหลายเทคนิค ซึ่งเทคนิคแต่ละอันมันมีข้อดีและข้อด้อยอะไร เราก็ต้องอ่าน ต้องทำการบ้านไปบางส่วน แล้วก็ไปถามกับคุณหมอที่เราตัดสินใจเลือกหน้างานอีกทีหนึ่ง
ผมต้องบอกเลยว่าศัลยกรรมทุกชนิดมีความเสี่ยง ต้องคิดไว้ในใจเสมอเลยนะครับ เมื่อเช้าผมไปเจอโพสต์ในพื้นที่ส่วนตัวของหมอศัลยกรรมตกแต่งที่ศิริราช ซึ่งผมขออนุญาตยกคำพูดของท่านมาพูดให้ฟังนะครับ ท่านโพสต์ประมาณว่า “ศัลยกรรมทุกชนิดมีความเสี่ยง ก็เหมือนเราขึ้นเครื่องบิน เครื่องบินทุกลำมีโอกาสตก ดังนั้น การเลือกความปลอดภัยของสายการบิน เป็นสิ่งที่สำคัญ ถามว่านักบินสำคัญไหม ก็สำคัญ นักบินก็คงเหมือนแพทย์ ต้องมีการฝึกฝน การเรียนรู้ แก้ไขที่เคยผิดพลาดมาแล้วทำให้มันดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน”
ดังนั้น ผมมองว่า ศัลยแพทย์ตกแต่งก็เช่นกัน การทำศัลยกรรมตกแต่งก็ต้องใช้มืออาชีพ ไม่ได้แปลว่าทำกับผมหรืออาจารย์กันยาภา หรือกับคุณหมอศัลยกรรมตกแต่งทั่วประเทศ 300 กว่าคนจะไม่มีปัญหา แต่ว่าเราจะจัดการกับมันได้เร็ว ซึ่งอะไรที่มีปัญหา มีความเสี่ยง เราก็จะหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำ นี่คือสิ่งที่คนไข้จะได้รับ เพราะเราเรียนรู้มา การเรียนโรงเรียนแพทย์ เราไม่ได้ไปยืนเลกเชอร์เฉยๆ นะครับ เราเห็นเคสเยอะมาก
เราเรียนหมอมา 6 ปี ต่อเฉพาะทางอีก 5 ปี ไม่นับประสบการณ์ที่จะต้องเก็บเกี่ยวเรื่อยๆ ระหว่างทางอีก เราต้องใช้เวลา ทั้งดูอาจารย์ ช่วยอาจารย์ จนสเต็ปเราค่อยๆ ดีขึ้น เข้าใจมากขึ้น ทั้งเรื่องกายวิภาค เข้าใจถึงวิธีผ่าตัด จนถึงจุดที่อาจารย์เห็นว่าเราทำได้แล้ว เราก็เริ่มลงมือทำเอง ลงมือทำเองเสร็จแล้ว ยังมีช่วงที่ต้องทำซ้ำแล้วซ้ำอีก ผ่าตัดจบวันนี้ ไม่ได้แปลว่าจบนะครับ เพราะกว่าจะรู้เทคนิค รู้มือเราว่าออกฤทธิ์ยังไงกับคนไข้ เราต้องติดตามคนไข้เป็นเดือน เป็นปี และหลายๆ ปี เราได้เห็นว่าคนไข้เกิดภาวะแทรกซ้อนอะไร อาจารย์แก้ยังไง เราจะแก้ยังไง ก็ต้องมีระยะเวลาเรียนรู้พอสมควร
สิ่งนี้เราหาจากในหนังสือไม่ได้ ต้องใช้จากประสบการณ์ส่วนตัว ดังนั้น ความเสี่ยงมี ต้องศึกษาให้เรียบร้อย คนไข้มีสิทธิ์เลือกว่าจะทำกับคุณหมอศัลยกรรม หรือไม่ใช่คุณหมอศัลยกรรม ตรงนี้อยู่ที่ท่านใช้วิจารณญาณ แต่หลายๆ คนต้องตัดสินใจเพราะว่าเรื่องของงบประมาณ แต่ก็ต้องมานั่งคิด เพราะบางอย่างมันเป็นการผ่าตัดครั้งเดียวในชีวิต ถ้ามันไม่ได้เป็นเรื่องด่วนอย่างไส้ติ่งแตก ก็รอหน่อยดีไหม หรือถ้าอยากสวยแบบด่วนก็ต้องดูถึงความเสี่ยง เราต้องยอมรับกับมันให้ได้เท่านั้นเองครับ

7 ข้อท่องไว้! ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรม
อย่าเชื่อคนง่าย
ปรึกษาคลินิกหลายๆ แห่ง
ดูประวัติแพทย์
ศึกษากรณีปัญหา
เตรียมเวลาพักฟื้น
เตรียมพื้นที่สำหรับพักฟื้น
เชื่อมั่นในแหล่งที่เลือก
ข้อควรรู้! หลังทำศัลยกรรม
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : การผ่าตัดทุกอย่างในสมัยนี้ แผลจะเล็กลง คนไข้พักฟื้นน้อยลง เทคนิค อุปกรณ์หลายๆ อย่างก็มีวิวัฒนาการมากขึ้น เช่นอาจจะมีอุปกรณ์บางอย่างใส่ร่วมเข้าไป หรือแม้กระทั่งจากการผ่าตัดใหญ่ๆ สมัยก่อนต้องแผลใหญ่ เดี๋ยวกลายเป็นว่าเล็กลง แผลน้อยลง พักฟื้นน้อยลง แต่ราคาอาจจะสูงขึ้น
ส่วนการฟักฟื้นในการทำศัลยกรรม มาตรฐานเลย คือจะบวมใน 3 วันแรก หลังจาก 3 วันจะค่อยๆ ลดลง ส่วนเรื่องรอยช้ำจะอยู่ใน 2-3 สัปดาห์ ส่วนการผ่าตัดจะเข้าที่ จะอยู่ในช่วงที่คงที่แล้ว ต้องตั้งแต่ 1-3 เดือนขึ้นไป ไม่ใช่ว่าทำแล้วจะสวยได้เลย ณ ขณะนั้น แต่อาจจะมีเทคนิคที่ทำให้บวมน้อยลง ธรรมชาติเร็วขึ้น แต่ก็ต้องใช้เวลาอยู่ดี ซึ่งการผ่าตัดหลายๆ อย่าง ต้องใช้เวลา ใช้เงิน และต้องไปนั่งคุยกันกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ข้อมูล : รายการพระอาทิตย์ Live ช่อง News 1
เรียบเรียง : วรัญญา งามขำ
เราไปจับเข่าคุยกับ “นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี” ผู้อำนวยการและผู้บริหารดีอาร์เค บิวตี้ คลินิก และ “พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่ง ซึ่งมาให้ความรู้แบบเปิดหมดเปลือกในเรื่องศัลยกรรม และพูดได้คำเดียวเลยว่า ถ้าคิดจะศัลย์ ต้องอ่านทุกบรรทัดถัดจากนี้...
รู้จักให้ถ่องแท้
‘ศัลยกรรม’ คืออะไร?
พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม : ศัลยกรรมคือการใช้การผ่าตัดเข้ามาช่วยในการปรับเปลี่ยนจุดที่เราคิดว่าไม่พึงพอใจหรือว่าผิดปกติ โดยศัลยกรรมจะแบ่งออกได้เป็นทั้งที่แก้ไขความผิดปกติจริงๆ และแบบเพิ่มความสวยงาม ซึ่งจะใช้วิธีผ่าตัด ตัดส่วนที่ผิดปกติออก แก้ไขให้ดีขึ้น
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : การผิดปกติก็จะมีตั้งแต่กำเนิดจนถึงปลายทางเลยครับ ศัลยกรรมตั้งแต่กำเนิดก็มี ในคนไข้ที่มีความพิการ เช่นปากแหว่งเพดานโหว่ หรือลักษณะของคิ้ว ตา ปากไม่ปกติ นิ้วเกินหรืออะไรต่างๆ เราก็จะสามารถผ่าตัดแก้ไขกันได้ อันนี้ก็จะเป็นเรื่องของความพิการแต่กำเนิดครับ
ผมเคยเจอคนไข้ที่มีนิ้วมือกับนิ้วเท้ารวมกัน 28 นิ้ว คือเคสนี้ถ้าคิดง่ายๆ ตัดทิ้งก็คงจะง่ายไป แต่ว่าเราต้องคิดถึงโครงสร้างของนิ้วด้วยว่าถ้าเราตัดออกแล้วสิ่งที่เหลืออยู่ไม่สมดุลกัน มันก็จะเกิดความผิดปกติตามมา แปลว่างานของเราไปเพิ่มความพิการให้กับคนไข้ ดังนั้น การวางแผนของการผ่าตัดเราจะต้องรู้เรื่องกายวิภาค รู้เรื่องเทคนิคในการผ่าตัดแต่ละชนิดเพื่อที่จะให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละรายไป
‘ศัลยกรรมเพื่อความสวยหล่อ’
นิยมอย่างมากในยุคปัจจุบัน
พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม : ในการศัลยกรรมเพื่อความงามนั้น เรื่องความสวยงามเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของชีวิตคนทุกวันนี้ไปแล้วนะคะ เราต้องการเงิน ต้องการเวลา พอทุกอย่างครบเสร็จ เราก็จะกลับมามองที่ตัวเองว่าเรายังขาดความสวยอะไรตรงไหนอีกบ้าง
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : ในมุมมองกลับกัน ผมว่าเขาทำเพื่อเพิ่มโอกาสในชีวิตให้มากขึ้น อย่างในหลายๆ รายที่มีหน้าที่การงานที่ดีขึ้น ก็มาจากรูปร่างหน้าตาที่ดีด้วย เช่น นักศึกษาจบใหม่ พอไปสัมภาษณ์งาน ผู้สัมภาษณ์อาจจะไม่ได้อ่านด้วยซ้ำว่าเราจบที่ไหนมา ได้เกรดอะไร แต่ถ้าหน้าตาดีก็มีโอกาสเลย มันเป็นโอกาสในสังคม ทำให้คนหันมาหาหมอศัลยกรรมมากขึ้นครับ
พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม : ปัจจุบันผู้หญิงจะชอบทำจมูกกับคางมากที่สุดค่ะ ซึ่งในการศัลยกรรมที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของใบหน้ามากที่สุดเลยก็คือการทำจมูก เพราะจมูกอยู่ตรงแกนกลางหน้า จึงทำให้เด่นชัด ซึ่งในความเห็นของผม จมูกก็เหมือนเสื้อผ้า มันเป็นแฟชั่น อย่างเมื่อสิบปีก่อน คนจะนิยมจมูกทรงหยดน้ำ แต่เดี๋ยวนี้จะนิยมทรงปลายพุ่ง มันเหมือนแฟชั่นเสื้อผ้าที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แต่การเปลี่ยนจมูกไม่ได้ง่ายขนาดนั้น
อย่างผู้หญิงสมัยก่อนจะมาให้ทำจมูกแบบคุณอั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ ซึ่งเป็นที่นิยมมาก แต่ตอนนี้ก็จะเป็นคุณญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ บ้าง คุณใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่ บ้าง ส่วนริมฝีปากหลายคนอยากจะมีแบบคุณใบเฟิร์น พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ ซึ่งคนไข้มีต้นแบบก็จริง แต่ต้องนึกถึงฝั่งแพทย์บ้าง เพราะว่ารูปร่างแต่ละคนไม่เหมือนกัน ก็ต้องดูตามความเหมาะสม เพราะยังไงสุดท้าย ผมว่าคนเราก็สวยหล่อตามพื้นฐานที่เรามีอันนี้ดีที่สุด ซึ่งเราก็จะอธิบายให้คนไข้ฟังเสมอว่าเราทำได้เท่าไหน สิ่งที่เขาต้องการกับสิ่งที่เราทำให้ มันตรงกันไหม ถ้าตรงก็ลุย แต่ถ้าไม่ตรงก็พักไว้ก่อน มีคนไข้บางคนมาหาเราเพื่ออยากเปลี่ยนทรงจมูกตามแฟชั่น แต่ในคำแนะนำของหมอก็คือถ้าจมูกเราทำมาแล้วไม่มีปัญหาอะไร เราก็ไม่ควรไปยุ่งกับมันบ่อยๆ จะดีกว่าค่ะ
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : ส่วนผู้ชายส่วนใหญ่จะชอบทำตากับจมูก ผู้ชายจะชอบลักษณะตาสองชั้นหลบใน ผู้ชายแท้ๆ จะชอบประมาณนี้ครับ ส่วนจมูกจะชอบแนวตรงๆ ให้ดูเข้มแข็งๆ หน่อย แต่จะไม่มีแบบมาให้ดู อีกอย่างหนึ่งเลยที่มาแรงในผู้ชายทั้งวัยรุ่นและสูงวัย ก็คือการปลูกผมที่นิยมทำกันมากๆ ซึ่งผู้ชายจะเป็นกังวลเรื่องนี้มาก
ศัลยกรรมที่ดี
ต้องไม่รู้ว่าทำ ต้องไม่ผิดธรรมชาติ
พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม : ที่หมอเจอมาจะเป็นประมาณว่ามารีเควสต์ขอศัลยกรรมเกินธรรมชาติค่ะ เช่น ขอทำคางให้ยาวขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเวลาที่เราตรวจเขาดู เราเห็นว่าอัตราส่วนของใบหน้าเขาพอดีอยู่แล้ว ตรงตามมาตรฐานอยู่แล้ว ซึ่งหมอจะบอกตามตรงว่าที่เขารีเควสต์มา ดูผิดธรรมชาติแล้วนะคะ และอะไรที่ดูผิดธรรมชาติ หมอจะไม่แนะนำให้ทำ ซึ่งจะเจอบ่อยมากเรื่องคาง บางคนอยากได้แหลมๆ เลยก็มี หมอก็ต้องคุยกับคนไข้ให้เขาเข้าใจ เพราะเราก็ไม่อยากทำอะไรที่ผิดธรรมชาติไปให้คนไข้ ซึ่งบางคนก็ยอม บางคนก็ไม่ยอม ซึ่งหมอก็จะไม่ทำให้ค่ะ เพราะศัลยกรรมที่ดีคือ ต้องเอาออกได้ เอาเข้าได้ แล้วศัลยกรรมที่ดีคือต้องไม่รู้ว่าทำมาค่ะ
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : คือตรงนี้จะมีความสัมพันธ์กันนะครับ เพราะจะมีสัดส่วนของความสวยงามทางการแพทย์ที่เขามีอยู่แล้ว แต่ในทางปฏิบัติ เราจะมีวิธีดู เช่น ใบหูตำแหน่งที่ถูกต้องอยู่ประมาณไหน ใบหูอยู่ประมาณคิ้ว ติ่งหูอยู่ประมาณปลายจมูก สัดส่วนปากบนปากล่างเท่าไหร่ คือง่ายๆ จะต้องเป็น 1- 1- 1 คือเห็นแล้วต้องเท่ากัน หน้าผากถึงคิ้ว ปลายคิ้วถึงปลายจมูก ปลายจมูกถึงคาง ซึ่งจะอยู่ในตำราของศัลยกรรมและตำราของช่างแต่งหน้าด้วยครับ
อย่างเรื่องหน้าอกก็เช่นกัน สาวๆ ส่วนใหญ่จะมาทำหน้าอก ปัญหาที่เจอบ่อยคือคนไข้จะคิดว่าไซส์ใหญ่ใส่อะไรก็ได้ ซึ่งจริงๆ ทางการแพทย์มันไม่ใช่นะครับ เพราะยิ่งถ้าทำใหญ่เกินตัวมากเท่าไหร่ ปัญหาก็ยิ่งเยอะ ในทางปฏิบัติจริงๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเขาจะไม่ได้วัดแค่หน้าอก แต่ต้องวัดส่วนสูง วัดน้ำหนัก ดูคุณภาพของผิวหนัง มีไขมันมากน้อยแค่ไหน หน้าอกเป็นยังไง กว้างยาวสูง สัดส่วนเป็นยังไง มีปัญหาอื่นร่วมด้วยไหม แม้กระทั่งต้องลองตัวไซส์เสื้อ ขนาดของหน้าอกโดยประมาณ ทุกๆ คนจะมีโครงสร้างของตัวเอง คือคนไข้เดินมาบอกเราว่าจะเอาข้างละ 400 ซีซี เราก็สามารถทำให้ได้ ซึ่งความสวยงามที่คนไข้เข้าใจ บางทีอยากมีหน้าอกสวยกลมเหมือนลูกบอลอย่างในการ์ตูน ประชาชนทั่วไปอาจจะมองว่าสวย แต่จริงๆ มันไม่ใช่ครับ
สิ่งที่ผมเจอบ่อยเลยก็คือ ก่อนจะมาทำ เดิมทีคนไข้ไม่รู้ เช่น หน้าอกสองข้างของเขาไม่เท่ากัน หรือโครงหน้าอกเขาผิดปกติ อกบุ๋มบ้าง อกไก่บ้าง อย่างสมมติคนไข้อกไก่คือกระดูกตรงกลางโปร่ง หน้าอกก็จะชี้ออกสองข้าง แต่สิ่งที่คนไข้ต้องการก็คือนมชิด ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ด้วยโครงสร้างหลายๆ อย่าง หรืออย่างด้านรูปทรงต่างๆ จะมีเทคนิคในการวางตำแหน่ง เป็นรายละเอียดของการผ่าตัด ก็จะเป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่คนไข้ประเมินเองไม่ได้ครับ ก็ต้องอธิบายกัน เป็นต้น
เรื่องเล่าจากห้องผ่าตัด แต่ละเคสไม่ได้ง่าย
ใครบ้างที่สมควรทำศัลยกรรม
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเด็กที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มนี้จะต้องทำก่อนเด็กเริ่มหัดพูด ต้องผ่าก่อนขวบปีแรก เพราะว่าถ้าเขาเริ่มพูดแล้ว การผ่าจะทำให้การออกเสียงของเขาผิดปกติไปหมดเลย เขาจะชินกับอวัยวะที่พิการ หรือแม้กระทั่งริมฝีปากไม่ต้องไปรอ 1 ขวบค่อยทำแต่ต้องรีบทำ ส่วนในแง่สวยงามอย่างการทำจมูก เด็กอายุ 15 ปีมาทำ ก็ไม่ใช่ เพราะว่าเขายังโตไม่เต็มที่ ซึ่งค่าเฉลี่ยที่เริ่มทำได้ ต้องอายุ 16-17 ปี เป็นต้นไป หรืออย่างขากรรไกร ช้าสุดก็ต้อง 17-18 ปีไปแล้วถึงทำได้
พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม : คนที่อายุเยอะ ก็ใช่ว่าจะทำศัลยกรรมไม่ได้นะคะ แต่อายุเยอะจะมาพร้อมกับโรคประจำตัวซึ่งเราก็ต้องดูว่ามีความดันสูงไหม ควบคุมความดันดีไหม เป็นโรคเบาหวาน มีปัญหาเรื่องการคุมน้ำตาลไหม เป็นโรคหัวใจไหม มียาที่ทานอยู่ประจำที่มีผลกับการผ่าตัดไหม เราก็ต้องเช็กดูก่อนค่ะถ้าไม่มีก็สามารถทำได้เลย
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : ผมมีเคสเล่าให้ฟัง ตอนนั้นผมยังฝึกแพทย์ประจำบ้านอยู่กับโรงเรียนแพทย์ มีคนไข้คนหนึ่งอายุ 70-80 ปีแล้วจะมาแปลงเพศ สิ่งแรกที่ทำก็เหมือนที่อาจารย์กันยาภาบอก ก็คือเช็กประวัติ ตรวจร่างกาย โรคประจำตัวมีไหม ซึ่งอาจารย์ผมท่านก็เห็นว่าทุกอย่างโอเค แต่ประโยคเดียวที่อาจารย์ตัดสินใจทำให้ก็คือทำไมถึงมาทำตอนอายุ 70-80 ปีซึ่งเขาตอบว่าเขาเกิดเป็นชายก็จริง แต่เขาอยากตายในร่างหญิง นี่คือแรงบันดาลใจของเขา ซึ่งทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี แต่เราก็ต้องเช็กทุกอย่างก่อนทำทั้งหมด
คำแนะนำก่อนตัดสินใจทำ ‘ศัลยกรรม’
อยากทำศัลยกรรมเตรียมตัวยังไง?
พญ.กันยาภา ฤกษ์งาม : อย่างแรกเราต้องเช็กความคิดของตัวเองก่อนว่าเราพร้อมที่จะทำจริงๆ หรือยัง หรือว่าเราพร้อมที่จะอยู่กับอวัยวะใหม่ที่เราผ่าตัดเข้าไปหรือยัง อย่างที่สองคือเรื่องคนรอบข้าง เพราะคนรอบข้างก็มีผลกับเราเหมือนกัน เราต้องคุยกับคนในครอบครัวก่อน โดยเฉพาะเด็กๆ วัยรุ่น บางคนมาถึง บอกหมอว่าหนูอยากทำมากเลย แม่อยู่ต่างจังหวัด หมอทำให้เลยได้ไหม อันนี้ไม่ควรนะคะ เพราะควรจะให้ที่บ้านรับรู้ด้วย อย่างที่สาม แพทย์ คลินิก หรือโรงพยาบาลที่เราจะไปทำ คือทุกวันนี้คลินิกเยอะมาก แล้วก็มีหลายรูปแบบมาก เราต้องหาข้อมูลเพื่อที่จะเซฟตัวเองว่าเราจะไปอยู่ในมือหมอแบบไหน เป็นคุณหมอที่ผ่านการอบรมมาดีแล้วหรือยัง อันนี้ขึ้นอยู่กับตัวเรา ไม่มีใครบอกว่าคุณควรจะทำกับคุณหมอศัลยกรรมตกแต่งเท่านั้น อันนี้ไม่ใช่ แต่ว่าตัวเราเองเลือกได้ เพราะทุกวันนี้ข้อมูลหาได้จากอินเทอร์เน็ตค่ะ
ที่หมออยากแนะนำเลยก็คือเรื่องของข้อมูล อยากให้ดูว่าคนอื่นเขาทำไปแล้วเป็นยังไง ต้องหาข้อมูลนิดนึงเพื่อที่จะได้รู้ว่าถ้าเกิดเราทำศัลยกรรมกับตัวเองแล้ว เราจะรับได้ไหม เพราะว่าศัลยกรรมทุกอย่างจะมีผลและติดตัวกับเราไปตลอด การทำศัลยกรรมครั้งหนึ่ง เราต้องมีการลงมีด มีการผ่าตัด มีโอกาสเกิดความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ ยิ่งคนที่มีซิลิโคนหรือว่าสิ่งแปลกปลอมอะไรบางอย่างใส่เข้าไป ต้องอยู่กับเราไปตลอด อาจจะมีปัญหาในระยะยาว ดังนั้น ต้องศึกษาข้อมูลก่อนทำแล้วเรารับกับความเสี่ยงนี้ได้ไหม
ส่วนจะทำกับคุณหมอท่านใด ทุกวันนี้มีเว็บไซต์ของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย ซึ่งก่อนทำ เราสามารถเอาชื่อแพทย์ที่เราตั้งใจจะไปผ่าตัดกับท่านมาเสิร์ชดูข้อมูลว่าท่านเป็นศัลยแพทย์ตกแต่งตัวจริงหรือไม่ ข้อมูลการศึกษาอย่างไร สามารถเช็กได้ในอินเทอร์เน็ตหมดเลยค่ะ ซึ่งถ้าเกิดว่าเป็นนายแพทย์จริงๆ ก็จะมีรายชื่ออยู่ในระบบ เราก็จะสามารถมั่นใจได้ว่าเรากำลังจะได้ผ่าตัดกับศัลยแพทย์ตกแต่งจริงๆ ค่ะ
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : ในส่วนของรีวิวจะมีรีวิวเชิงคนไข้กับรีวิวเชิงแพทย์นะครับ รีวิวเชิงคนไข้ความหมายคือคนไข้อาจจะไม่ได้มีความรู้ทางการแพทย์เหมือนตัวแพทย์เอง แต่ที่จะให้ดูรีวิวก็เพราะจะได้รู้ว่าคนที่เคยทำมาก่อนเขาต้องเจออะไรบ้าง ก่อนผ่าและหลังผ่าเป็นยังไง มีภาวะแทรกซ้อนยังไง นี่คือสิ่งที่ต้องอ่าน แต่ก็ต้องไปแยกแยะเองว่ามันแฝงไปด้วยการโฆษณาหรือไม่ อีกอย่างหนึ่งคือการรีวิวทางการแพทย์ เช่น การผ่าตัดเสริมคางมีหลายเทคนิค ซึ่งเทคนิคแต่ละอันมันมีข้อดีและข้อด้อยอะไร เราก็ต้องอ่าน ต้องทำการบ้านไปบางส่วน แล้วก็ไปถามกับคุณหมอที่เราตัดสินใจเลือกหน้างานอีกทีหนึ่ง
ผมต้องบอกเลยว่าศัลยกรรมทุกชนิดมีความเสี่ยง ต้องคิดไว้ในใจเสมอเลยนะครับ เมื่อเช้าผมไปเจอโพสต์ในพื้นที่ส่วนตัวของหมอศัลยกรรมตกแต่งที่ศิริราช ซึ่งผมขออนุญาตยกคำพูดของท่านมาพูดให้ฟังนะครับ ท่านโพสต์ประมาณว่า “ศัลยกรรมทุกชนิดมีความเสี่ยง ก็เหมือนเราขึ้นเครื่องบิน เครื่องบินทุกลำมีโอกาสตก ดังนั้น การเลือกความปลอดภัยของสายการบิน เป็นสิ่งที่สำคัญ ถามว่านักบินสำคัญไหม ก็สำคัญ นักบินก็คงเหมือนแพทย์ ต้องมีการฝึกฝน การเรียนรู้ แก้ไขที่เคยผิดพลาดมาแล้วทำให้มันดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน”
ดังนั้น ผมมองว่า ศัลยแพทย์ตกแต่งก็เช่นกัน การทำศัลยกรรมตกแต่งก็ต้องใช้มืออาชีพ ไม่ได้แปลว่าทำกับผมหรืออาจารย์กันยาภา หรือกับคุณหมอศัลยกรรมตกแต่งทั่วประเทศ 300 กว่าคนจะไม่มีปัญหา แต่ว่าเราจะจัดการกับมันได้เร็ว ซึ่งอะไรที่มีปัญหา มีความเสี่ยง เราก็จะหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำ นี่คือสิ่งที่คนไข้จะได้รับ เพราะเราเรียนรู้มา การเรียนโรงเรียนแพทย์ เราไม่ได้ไปยืนเลกเชอร์เฉยๆ นะครับ เราเห็นเคสเยอะมาก
เราเรียนหมอมา 6 ปี ต่อเฉพาะทางอีก 5 ปี ไม่นับประสบการณ์ที่จะต้องเก็บเกี่ยวเรื่อยๆ ระหว่างทางอีก เราต้องใช้เวลา ทั้งดูอาจารย์ ช่วยอาจารย์ จนสเต็ปเราค่อยๆ ดีขึ้น เข้าใจมากขึ้น ทั้งเรื่องกายวิภาค เข้าใจถึงวิธีผ่าตัด จนถึงจุดที่อาจารย์เห็นว่าเราทำได้แล้ว เราก็เริ่มลงมือทำเอง ลงมือทำเองเสร็จแล้ว ยังมีช่วงที่ต้องทำซ้ำแล้วซ้ำอีก ผ่าตัดจบวันนี้ ไม่ได้แปลว่าจบนะครับ เพราะกว่าจะรู้เทคนิค รู้มือเราว่าออกฤทธิ์ยังไงกับคนไข้ เราต้องติดตามคนไข้เป็นเดือน เป็นปี และหลายๆ ปี เราได้เห็นว่าคนไข้เกิดภาวะแทรกซ้อนอะไร อาจารย์แก้ยังไง เราจะแก้ยังไง ก็ต้องมีระยะเวลาเรียนรู้พอสมควร
สิ่งนี้เราหาจากในหนังสือไม่ได้ ต้องใช้จากประสบการณ์ส่วนตัว ดังนั้น ความเสี่ยงมี ต้องศึกษาให้เรียบร้อย คนไข้มีสิทธิ์เลือกว่าจะทำกับคุณหมอศัลยกรรม หรือไม่ใช่คุณหมอศัลยกรรม ตรงนี้อยู่ที่ท่านใช้วิจารณญาณ แต่หลายๆ คนต้องตัดสินใจเพราะว่าเรื่องของงบประมาณ แต่ก็ต้องมานั่งคิด เพราะบางอย่างมันเป็นการผ่าตัดครั้งเดียวในชีวิต ถ้ามันไม่ได้เป็นเรื่องด่วนอย่างไส้ติ่งแตก ก็รอหน่อยดีไหม หรือถ้าอยากสวยแบบด่วนก็ต้องดูถึงความเสี่ยง เราต้องยอมรับกับมันให้ได้เท่านั้นเองครับ
7 ข้อท่องไว้! ควรรู้ก่อนทำศัลยกรรม
อย่าเชื่อคนง่าย
ปรึกษาคลินิกหลายๆ แห่ง
ดูประวัติแพทย์
ศึกษากรณีปัญหา
เตรียมเวลาพักฟื้น
เตรียมพื้นที่สำหรับพักฟื้น
เชื่อมั่นในแหล่งที่เลือก
ข้อควรรู้! หลังทำศัลยกรรม
นพ.กลวัชร์ เหล่าชัยศรี : การผ่าตัดทุกอย่างในสมัยนี้ แผลจะเล็กลง คนไข้พักฟื้นน้อยลง เทคนิค อุปกรณ์หลายๆ อย่างก็มีวิวัฒนาการมากขึ้น เช่นอาจจะมีอุปกรณ์บางอย่างใส่ร่วมเข้าไป หรือแม้กระทั่งจากการผ่าตัดใหญ่ๆ สมัยก่อนต้องแผลใหญ่ เดี๋ยวกลายเป็นว่าเล็กลง แผลน้อยลง พักฟื้นน้อยลง แต่ราคาอาจจะสูงขึ้น
ส่วนการฟักฟื้นในการทำศัลยกรรม มาตรฐานเลย คือจะบวมใน 3 วันแรก หลังจาก 3 วันจะค่อยๆ ลดลง ส่วนเรื่องรอยช้ำจะอยู่ใน 2-3 สัปดาห์ ส่วนการผ่าตัดจะเข้าที่ จะอยู่ในช่วงที่คงที่แล้ว ต้องตั้งแต่ 1-3 เดือนขึ้นไป ไม่ใช่ว่าทำแล้วจะสวยได้เลย ณ ขณะนั้น แต่อาจจะมีเทคนิคที่ทำให้บวมน้อยลง ธรรมชาติเร็วขึ้น แต่ก็ต้องใช้เวลาอยู่ดี ซึ่งการผ่าตัดหลายๆ อย่าง ต้องใช้เวลา ใช้เงิน และต้องไปนั่งคุยกันกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ข้อมูล : รายการพระอาทิตย์ Live ช่อง News 1
เรียบเรียง : วรัญญา งามขำ