xs
xsm
sm
md
lg

อาลัยเทิดพระเกียรติ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ศิลปินเด็กทุน “ป๋า” และศิลปินแห่งชาติร่วมสร้างผลงาน นำประมูลหาทุนสนับสนุนวงการศึกษาศิลปะ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวของกองทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะ “มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์”(กองทุนฯ)ในการจัดพิธีมอบทุนจำนวน ๙๘ ทุน ระดับปริญญาตรี-โท-เอกและประมูลผลงานศิลปะจำนวน ๓๖ ผลงานหาทุนเพื่อมอบให้กับนิสิต-นักศึกษาศิลปะ ประจำปี ๒๕๖๐ ที่โรงแรมดุสิตธานีในวันพุธที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
มูลนิธิรัฐบุรุษฯ จัดประมูลผลงานเพื่อหาทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะ พร้อมจัดพิธีมอบทุน 22 พ.ย.นี้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี โดยมีผลงานศิลปินแห่งชาติ และศิลปินเด็กทุน“ป๋า” ทั้งพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 และงานศิลปะคลาสสิกให้เลือกประมูลไปสะสมเคารพบูชา

วันอังคารที่ 26 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีและประธานมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (กองทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะ “มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์”) ได้เป็นประธานการแถลงข่าว “การจัดพิธีมอบทุน และประมูลจัดหาทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะ” ประจำปี 2560 โดยได้กล่าวว่า ในปีนี้ กำหนดจัดขึ้นในวันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษให้เกียรติเป็นประธานพิธี
การแถลงข่าวในครั้งนี้มี อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร(ซ้าย) ศิลปินแห่งชาติ และประธานคณะกรรมการดำเนินงานกองทุนฯ และคุณไพฑูรย์ วิโรจน์โภคา(ขวา) ที่ปรึกษากองทุนฯ ได้ร่วมแถลงข่าวด้วย
พิธีมอบทุนในปีนี้ ได้กำหนดจำนวนทุนที่จะมอบให้นิสิต-นักศึกษาที่ศึกษาด้านการสร้างสรรค์ศิลปะในปีสุดท้ายตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จำนวนทั้งสิ้น 98 ทุน เพื่อนำไปใช้เป็นทุนในการสร้างสรรค์ “ศิลปะนิพนธ์” ให้จบการศึกษาไปประกอบอาชีพให้เจริญก้าวหน้าในวิชาชีพต่อไป อีกทั้งยังเป็นการดำเนินตามแนวทาง “เกิดมาต้องตอบแทนบุณคุณแผ่นดิน” ของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษด้วย

สำหรับจำนวนทุนที่จะมอบให้กับนิสิตนักศึกษาด้านศิลปะทั่วประเทศจะเป็นจำนวนเท่าอายุของประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ซึ่งถือว่าเป็นการที่กองทุนได้มีส่วนร่วมฉลองที่ท่านมีอายุเข้าปีที่ 98 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 15 ปี ท่านเป็นบุคคลสำคัญในการริเริ่มการก่อตั้งกองทุนฯ และให้การสนับสนุนกองทุนฯ อย่างต่อเนื่อง อันก่อประโยชน์กับวงการศึกษาศิลปะอย่างกว้างขวางซึ่งที่ผ่านมาได้มีนิสิต-นักศึกษาได้รับทุนไปแล้วรวมจำนวนทั้งสิ้น 1,170 คนโดยทุนการศึกษาที่มอบให้กับนิสิต นักศึกษา ในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท จำนวนทุนละ 30,000 บาท และในระดับปริญญาเอกที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า จะได้รับทุนการศึกษาทุนละ 60,000 บาท
การแถลงข่าวในครั้งนี้ได้มีอดีตนิสิต-นักศึกษาที่เคยได้รับทุนจบไปแล้วประสบผลสำเร็จก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นครูอาจารย์ในสถาบันศิลปะชั้นนำของประเทศ ได้มอบผลงานสร้างสรรค์ที่งดงาม(ดูรายละเอียดจากข่าว)ให้กับการประมูลเพื่อนำขึ้นประมูล ได้มาร่วมแถลงข่าวด้วย
นอกจากนี้กองทุนฯ ยังได้เห็นความสำคัญของบุคคลในหน่วยงานราชการทั้งภาครัฐและเอกชนที่ได้ให้การสนับสนุนช่วยประมูลผลงานช่วยซื้อผลงานหรือบริจาคเงินให้กับกองทุนฯ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกองทุนฯ จึงได้จัดทำเหรียญทองขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์ 1.5 นิ้ว จำนวน 29 เหรียญ เพื่อมอบให้กับผู้มีอุปการะคุณเป็นการแสดงความขอบคุณท่านที่ให้การสนับสนุน

ด้าน อาจารย์ ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติและประธานคณะกรรมการดำเนินงานกองทุนฯ ได้เปิดเผยว่าการดำเนินงานด้านการคัดเลือกและขอผลงานจากศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นเยี่ยม ศิลปินอาวุโสและศิลปินอดีตนิสิต-นักศึกษาทุนในปีนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และได้มอบผลงานให้กับกองทุนฯ รวมจำนวน 35 ผลงานด้วยความยินดีเพื่อให้นำขึ้นประมูลหาทุนเข้ากองทุนฯ ในวันงานดังกล่าว

สำหรับผลงานแรกที่โดดเด่นที่คณะกรรมการฯได้คัดเลือกให้ใช้เป็นผลงานในการจัดพิมพ์เป็นบัตรเชิญชวนการซื้อโต๊ะร่วมประมูลในครั้งนี้เป็นผลงานของ อาจารย์สิโรจน์ พวงบุบผา อดีตนิสิต-นักศึกษาที่เคยได้รับทุน โดยได้สร้างสรรค์ผลงานชื่อ “ร่มโพธิ์ทองของแผ่นดิน” ขนาดใหญ่ 160 x 130 ซม. (รูปที่ 33)ด้วยเทคนิคจิตรกรรมลายทองบนผ้าใบที่งดงาม

ส่วนผลงานชิ้นที่สองที่โดดเด่นซึ่งได้รับเลือกให้ใช้เป็นหน้าปกสูจิบัตรการประมูลในครั้งนี้เป็นผลงานที่งดงามและมีคุณค่าด้านศิลปะอย่างสูง เป็นผลงานขนาดใหญ่ 140 x 100 ซม.ของ“จารุวัตร บุญแวดล้อม” อดีตนิสิต-นักศึกษาทุนปีแรก โดยสร้างสรรค์ผลงานที่ชื่อว่า “ในหลวงของเรา” (รูปที่ 31)
หลังการแถลงข่าวประธานได้ชมผลงานที่จะนำขึ้นประมูล และได้ชมผลงานสะสมของประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่มอบให้กับการประมูลครั้งนี้ด้วย ที่เป็นผลงานสร้างสรรค์ของ อาจารย์สุชาติ วงศ์ทอง ที่มีชื่อว่า “อารมณ์สุนทรีย์”
เจ้าของผลงานชิ้นนี้ได้บอกเล่าถึงรายละเอียดการสร้างสรรค์งานว่าตนเองทำด้วยความรัก ด้วยความตั้งใจต้องการสร้างสรรค์ผลงานให้เห็นถึงความสง่างามในวัยเยาว์ของพระองค์ตามความประทับใจของศิลปินโดยศิลปินได้บอกเล่าถึงการทำงานในครั้งนี้อย่างไม่ปิดบังและไม่เคยเป็นมาก่อนว่า ขณะที่สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้น้ำตาลก็ไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว ไม่รู้เหตุแต่ก็ต้องทำต่อจนจบ น้ำตาจึงได้หยุดไหล

ส่วนผลงานชิ้นที่ 3 ที่อาจารย์ปัญญานำมากล่าวถึงในที่นี้ เป็นผลงานที่ผ่านการชิงกับผู้ที่ชนะมาแล้วถึง 2 ครั้ง 2 คราว เพื่อให้ใช้เป็นบัตรเชิญ หรือใช้เป็นปกสูจิบัตรที่ล้ำค่า แต่ก็พลาดหวังด้วยเหตุปัจจัยหลายด้าน แต่การพลาด ก็ไม่ได้ทำให้ความงามของผลงานชิ้นนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด(รูปที่ 12)

ผลงานชิ้นนี้มีชื่อว่า“ทรงพระเจริญ”ของศิลปินอาวุโส“นภดล โชตะสิริ” ที่สร้างผลงานด้วยสีอะคริลิคบนผ้าใบ ขนาด 70 x 90 ซม. ให้เห็นถึงความสะอาดบริสุทธิ์ของ“ในหลวงรัชกาลที่ 9”ในวงล้อมตัวอักษร 3 ภาษา คือไทย จีน อังกฤษ ที่มีความหมายเดียวกันคือ“ทรงพระเจริญ” คนที่ได้เห็นผลงานนี้จะนึกย้อนยุคกลับไปได้ไกลราว 40 ถึง50 ปีในยุคที่เมืองไทยมีรูปในหลวงรูปนี้แขวนกันทั่วทุกบ้านและทุกร้านของคนไทยเชื้อสายจีนที่ได้มาพึ่งพระบรมโพธิ์สมภารของพระองค์

ผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่อาจารย์ปัญญายกขึ้นมาพูดถึง เป็นผลงานของศิลปินชั้นเยี่ยม “อัฐพร นิมมาลัยแก้ว” อดีตนิสิต-นักศึกษาที่เคยได้รับทุนเช่นเดียวกัน ปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันสอนศิลปะชั้นแนวหน้าของประเทศอีกสถาบันหนึ่ง

อาจารย์อัฐพรได้ใช้ชั้นเชิงเทคนิคสื่อผสมของ “สีน้ำมันบนผ้าโปร่งแสง” ทับซ้อนกันเป็นชั้น ทำให้เกิดเป็นภาพเชิงซ้อน 3 มิติที่นูนหนาประกอบกันขึ้นมาเป็นสาทิสลักษณ์อันงดงามในชื่อ “รัชกาลที่ 9” ขนาด 100 x 120 ซม.ในตู้พลาสติกใส(รูปที่ 27) ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนในโลกหล้านี้จึงเป็นที่หมายตาของนักสะสมหลายคนจะประมูลสู้กันอย่างสนุก เพื่อให้ได้ผลงานชิ้นนี้ไปครอบครอง

นางเยาวณี นิรันดร ผู้แทน บริษัท คริสตี้ อ๊อกชั่น ประเทศไทย ผู้ดำเนินการประมูลในครั้งนี้ ได้ให้ความเห็นถึงผลงานที่จะทำขึ้นประมูลในครั้งนี้ว่านอกเหนือจากผลงานที่กล่าวมาแล้วกองทุนฯ ยังได้รับมอบผลงานสะสมของประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษมาด้วยจำนวน 1 ผลงาน

ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานสร้างสรรค์แบบสดๆ และฉับไวของอาจารย์สุชาติ วงษ์ทอง ที่ได้เห็นท่านประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเล่นเปียโนจึงได้จับอารมณ์ความรู้สึกของท่านและความไพเราะของเปียโนในช่วงเวลานั้นมาสร้างเป็นผลงานสดที่งดงามชื่อ “อารมณ์สุนทรีย์” ด้วยสีอะคริลิคบนผ้าใบ ขนาด 90 x 120 ซม.ที่เป็นผลงานภาพเหมือนของ“ป๋า”เพียงผลงานเดียวในการประมูลครั้งนี้

นอกจากนี้คุณเยาวณี ยังได้ชี้ชวนให้นักสะสมได้พิจารณาผลงานของ อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติในการประมูลครั้งนี้ เนื่องจากอาจารย์จะมีเวลาสร้างสรรค์ผลงานปีละไม่กี่ชิ้น มีผู้รอคิวเป็นแรมปีที่จะเป็นเจ้าของผลงาน มีเพียงในงานนี้เท่านั้นที่อาจารย์มอบผลงานเยี่ยมๆให้นำขึ้นประมูลปีละครั้งเพื่อนำขึ้นประมูลหาทุนให้กับนิสิต-นักศึกษาเป็นประจำทุกปี
อ.ปัญญา ยืนข้างผลงานที่งดงามของท่าน ที่มีชื่อว่า “เสด็จออกบวช”ในการแถลงข่าวครั้งนี้
ผลงานในปีนี้ที่อาจารย์ปัญญามอบเพื่อนำขึ้นประมูลมีชื่อว่า “เสด็จออกบวช” เป็นผลงานศิลปะไทยแนวธรรมะที่ท่านถนัดซึ่งสร้างสรรค์ด้วยสีอะคริลิคบนผ้าใบขนาด 150 x 180 ซม. (รูปที่ 9) ภาพผลงานโดยรวมมีพื้นสีเหลืองทองเป็นพื้นหลักที่สะท้อนถึง“ธรรมะ” มุมขวาเห็นคนจูงม้าขาวตัวงามแสดงถึงการออกเดิน มุมซ้ายมีใบโพธิ์สัญลักษณ์ของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ากระจายอยู่ราวกับต้นโพธิ์ สื่อความหมายให้เห็นการเดินทางสู่การบรรลุธรรมที่งดงาม เรียบร้อย และพอเพียงควรค่าแก่การสะสมเป็นอย่างยิ่ง

ผลงานของศิลปินแห่งชาติที่จะนำขึ้นประมูลในครั้งนี้ นอกจากของอาจารย์ปัญญาแล้ว ก็ยังมีผลงานของศิลปินแห่งชาติอีก 8 ท่าน รวมแล้วเป็นผลงานของศิลปินแห่งชาติจำนวน 9 จำนวนผลงานที่จะขึ้นประมูลจำนวน 36 ผลงาน บรรยากาศการประมูลคาดว่าจะคึกคักเช่นเดียวกับทุกปีที่ผ่านมา จึงขอเรียนเชิญให้นักสะสม และผู้ใหญ่ใจบุญทั้งหลายได้ร่วมกันสร้างกุศลในการจัดหาทุนให้กับการศึกษาศิลปะกันให้มากๆ เพื่อให้นิสิต-นักศึกษาที่ยากจนได้มีโอกาสจบการศึกษา และกลับมารับใช้สังคมและประเทศชาติต่อไป

รายละเอียดผลงานที่นำมาประมูล เรียงตามลำดับ

๑.ชลูด นิ่มเสมอ อยู่ระหว่างรอรับผลงาน

๒.ทวี รัชนีกร “ศิลปินในห้องทำงาน” ๙๐ x ๑๔๐ เซนติเมตร สีน้ำมันบนผ้าใบ
๒.
๓.นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน “ปรารถณา” ๖๐ x ๓๘ x ๒๐ เซนติเมตร อะลูมิเนียม
๓.
๔.เดชา วราชุน “ของสะสม ๑ /๒๕๕๙” ๑๐๐ x ๑๒๐ เซนติเมตร สีอะคริลิค,ทองแดง,อลูมิเนียมบนผ้าใบ
๔.
๕.อิทธิพล ตั้งโฉลก “ใบไม้สีดำ” ๑๐๕ x ๗๙ เซนติเมตร สีน้ำมันบนกระดาษ
๕.
๖.ปรีชา เถาทอง อยู่ระหว่างรอรับผลงาน


๗.ธงชัย รักปทุม “Untitled ” ๑๑๘ x ๑๕๐ เซนติเมตร สื่อผสมบนไม้
๗.
๘.วิโชค มุกดามณี อยู่ระหว่างรอรับผลงาน

๙.ปัญญา วิจินธนสาร ชื่อผลงาน : เสด็จออกบวช ๑๕๐ x ๑๘๐ เซนติเมตร สีอะคริลิคบนผ้าใบ
๙.
๑๐.สุจินตน์ ตรีณรงค์ “แสงในธรรมชาติ” ๑๐๐ x ๑๒๐ เซนติเมตร สีน้ำมันบนผ้าใบ
๑๐.
๑๑.ยรรยงค์ ศิริรัตน์ “ดอกสาละ” ๑๐๒ x ๑๒๒ เซนติเมตร สีน้ำมันบนผ้าใบ
๑๑.
๑๒.นภดล โชตะสิริ “ทรงพระเจริญ” ๗๐ x ๙๐ เซนติเมตร สีอะคริลิคบนผ้าใบ
๑๒.
๑๓.วีรเดช พนมวัน ณ อยุธยา อยู่ระหว่างรอรับผลงาน

๑๔.ปริญาญา ตันติสุข “บ้าน : บ้าน: แมว” ๑๐๐ x ๑๒๐ เซนติเมตร สีอะคริลิคบนผ้าใบ
๑๔.
๑๕.พงเดช ไชยคุตร “My Friends” ๘๐ x ๑๗๘ เซนติเมตร Dry Point on paper
๑๕.
๑๖.อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ “เปลี่ยนแปลงฤดูกาล” ๑๕๐ x ๑๗๐ เซนติเมตร สีอะครีลิคบนผ้าใบ
๑๖.
๑๗.ทวี เกษางาม “แสงแห่งอารยะ” ๘๐ x ๑๓๒ เซนติเมตร สีน้ำบนกระดาษฝ้าย
๑๗.
๑๘.ไพโรจน์ วังบอน อยู่ระหว่างรอรับผลงาน

๑๙.ศักชัย อุทธิโท อยู่ระหว่างรอรับผลงาน

๒๐.ทรงไชย บัวชุม “สะพานไม้แห่งศรัทธาและแสงแห่งสติ” ๑๔๐ x ๑๘๐ เซนติเมตร เทคนิคผสมและสีน้ำมันบนผ้าใบ
๒๐.
๒๑.ธนฤษภ์ ทิพย์วารี “King Rama 9” ๑๐๐ x ๑๕๐ เซนติเมตร สีน้ำมันบนผ้าลินิน
๒๑.
๒๒.อุตสาห์ ไวยศรีแสง “มหาราชผู้ทรงเป็นที่รัก” ๖๐ x ๕๐ เซนติเมตร สีน้ำมันบนผ้าลินิน
๒๒.
๒๓.เทอดเกียรติ หวังวัชระกุล “ฉันไปได้” ๑๒๐ x ๑๕๐ เซนติเมตร สีอะคริลิคบนผ้าใบ
๒๓.
๒๔.สมพร แต้มประสิทธิ์ “กัลปพฤกษ์ในแดนสวรรค์” ๑๐๐ x ๑๒๐ เซนติเมตร สีอะคริลิค ปิดทองคำเปลวบนผ้าใบ
๒๔.
๒๕.ชัยวุฒิ ร่วมฤดีกุล "ความงาม เบิกบาน มีความสุข 2559" ๑๕๐ x ๑๒๐ เซนติเมตร สีอะครายลิค และทองคำเปลวบนผ้าใบ
๒๕.
๒๖.อนุพงษ์ จันทร “รูปกรรม”๕๐ x ๖๐ x ๕๐ เซนติเมตร Bronze
๒๖.
๒๗.อัฐพร นิมมาลัยแก้ว "รัชกาลที่ 9" ๑๐๐ x ๑๒๐ เซนติเมตร สีน้ำมันบนผ้าโปร่งแสง
๒๗.
๒๘.ประสิทธิ์ วิชายะ อยู่ระหว่างรอรับผลงาน


๒๙.ชัยวุฒิ เทียมปาน “ผัก-น้ำพริก” ๑๔๐ x ๑๘๐ เซนติเมตร สีน้ำมันบนผ้าใบ
๒๙.
๓๐.สุวรรณี สารคณา “ไออุ่นจากอ้อมกอดแห่งรักของแม่” ๑๗๐ x ๑๗๐ เซนติเมตร สีน้ำมันบนผ้าใบ
๓๐.
๓๑.จารุวัตร บุญแวดล้อม “ในหลวงของเรา” ๑๔๐ x ๑๐๐ เซนติเมตร สีน้ำมันบนผ้าใบ
๓๑.
๓๒.พงศ์ศิริ คิดดี “ใต้ร่มโพธิ์ทอง” ๑๕๐ x ๑๑๘ เซนติเมตร silkscreen on canvas
๓๒.
๓๓.สิโรจน์ พวงบุบผา “ร่มโพธิ์ทองของแผ่นดิน” ๑๖๐ x ๑๓๐ เซนติเมตร จิตรกรรมลายทองบนผ้าใบ
๓๓.
๓๔.นรากร สิทธิเทศ “มหาราชา” (The Great King) ๑๕๐ x ๑๒๐ เซนติเมตร สีน้ำมันบนผ้าลินิน
๓๔.
๓๕.สุชาติ วงษ์ทอง “อารมณ์สุนทรีย์” ๙๐ x ๑๒๐ เซนติเมตร สีอะคริลิคบนผ้าใบ
๓๕.
๓๖.วิรัญญา ดวงรัตน์ อยู่ระหว่างรอรับผลงาน
กำลังโหลดความคิดเห็น