คลิกที่นี่เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยกนพปฏลมหาเศวตฉัตรขึ้นสู่ยอดพระเมรุมาศ พร้อมพระราชทาน “ไฟหลวง” ในพิธีถวายพระเพลิงทั้ง 76 จังหวัด-ตปท.!

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. เวลา 17.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระที่นั่งทรงธรรม พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เพื่อทรงยกนพปฎลมหาเศวตฉัตร ขึ้นสู่ยอดพระเมรุมาศ ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ โดยเสด็จด้วย และมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และคณะกรรมการฯ เฝ้าฯ รับเสด็จ
สำหรับนพปฎลมหาเศวตฉัตรนี้ เป็นฉัตรสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีแล้ว
ต่อมา เวลา 18.30 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชทานพระราชวโรกาสให้ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ พร้อมด้วยปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน เฝ้าฯ รับพระราชทานไฟหลวง เพื่อนำไปใช้ในพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระเมรุมาศจำลอง
โอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้แทนรับไฟหลวงพระราชทาน เพื่อเชิญไปมอบให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด และพระราชทานหีบเพลิง ที่ประกอบด้วย ดอกไม้จันทน์ 1 ดอก ไม้ขีด 1 กลัก เทียนชนวน 1 แท่ง ให้แก่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเชิญไปยังสถานกงสุลและประเทศต่างๆ ทั่วโลก และพระราชทานไฟหลวงให้แก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อเชิญไปในพิธีถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศจำลอง 4 แห่งรอบพระเมรุมาศ ประกอบด้วย สวนนาคราภิรมย์ หน้ากองสลากเก่า ลานคนเมือง และหน้าอนุสาวรีย์ปฐมบรมราชานุสรณ์(สะพานพุทธ)
ด้าน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. เผยถึงการเตรียมการดูแลและรองรับประชาชนที่จะเดินทางมาร่วมพิธีวางดอกไม้จันทน์ในพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพฯ ว่า กทม.ได้ประสานวัดและโรงเรียนในพื้นที่ กทม. เพื่อเป็นสถานที่พักค้างและพักคอย ประกอบด้วย วัดและโรงเรียน 164 แห่ง รวมถึงอาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง และศูนย์เยาวชนบางขุนเทียน โดยจะเปิดให้ประชาชนเข้าพักระหว่างวันที่ 25-26 ต.ค. ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งการเข้าพักด้วยตนเองได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ที่วัด โรงเรียน หรือศูนย์เยาวชนนั้นตั้งอยู่ โดยประชาชนต้องจัดเตรียมเครื่องนอนมาด้วยตนเอง สำหรับวัดและโรงเรียนในพื้นที่เขตพระนครและป้อมปราบศัตรูพ่าย จะเปิดให้ประชาชนพักคอยเท่านั้น ทั้งนี้ สามารถติดตามรายชื่อสถานที่พักค้างและพักคอยได้ที่ www.prbangkok.com
ขณะที่ น.ส.เสาวรีย์ อัมภสุวรรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหารกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวถึงการเข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ว่า มีข้อปฏิบัติและข้อห้ามที่ประชาชนจะต้องปฏิบัติ 8 ข้อ ได้แก่ 1.แสดงบัตรประจำตัวประชาชนกับเจ้าหน้าที่เมื่อเดินผ่านจุดคัดกรองและพกบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวตลอดเวลา 2.เมื่อผ่านจุดคัดกรอง ประชาชนสามารถจับจองพื้นที่บริเวณทางเท้าริมถนนมหาราช ถนนสนามไชย ยาวถึงศาลหลักเมือง เฉพาะฝั่งตรงข้ามพระบรมมหาราชวังเท่านั้น 3.อยู่ในอาการสุภาพเรียบร้อย น้อมถวายอาลัยด้วยอาการสงบ สำรวม 4.เมื่อริ้วขบวน ซึ่งประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินในริ้วขบวนผ่าน จิตอาสาต้องถอดหมวกและก้มกราบ
5.เครื่องแต่งกาย สัมภาระ และอุปกรณ์ต่างๆ โดยสุภาพบุรุษ ให้สวมเสื้อดำ เชิ้ตดำ กางเกงดำขายาว รองเท้าสุภาพหุ้มส้นสีดำ ส่วนสุภาพสตรี สวมใส่เสื้อดำ กระโปรงยาวสีดำคลุมเข่า รองเท้าสุภาพหุ้มส้นสีดำ สำหรับจิตอาสา แต่งจุดจิตอาสาพระราชทาน เสื้อดำ สวมหมวก ผ้าพันคอ กางเกง/กระโปรงสีดำเท่านั้น สามารถสวมรองเท้าผ้าใบได้ ตามความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถนำร่ม หมวก แว่นกันแดดมาใช้ได้โดยควรเป็นสีดำหรือสีโทนสุภาพ และเมื่อริ้วขบวนซึ่งประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินในริ้วขบวนผ่าน ต้องเก็บร่ม พัด หมวก แว่นกันแดด และถวายความเคารพ 6.พกเฉพาะสิ่งของจำเป็นเท่านั้น เตรียมพร้อมยาประจำตัว อาหาร น้ำดื่ม 7.ห้ามถ่ายภาพในเขตราชวัติ หรือรั้วรอบบริเวณพิธี และ 8.เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติหน้าที่จิตอาสา ไม่ควรมีผู้ติดตามเข้าในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ให้งดเปล่งเสียงถวายพระพร “ทรงพระเจริญ” และงดถ่ายภาพแบบเซลฟี่ระหว่างริ้วขบวนเคลื่อนผ่าน
ด้านคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ได้มีมติให้คืนสีโทรทัศน์ทุกช่องตามเดิมตั้งแต่เวลา 20.00 น. ของวันที่ 19 ต.ค.เป็นต้นไป เพื่อให้โอกาสประชาชนได้รับชมภาพความสวยงามของพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ อย่างเต็มอิ่ม และไม่ให้เศร้าโศกไปมากกว่านี้
ขณะที่ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเปิดพื้นที่บริเวณพระเมรุมาศให้ประชาชนได้เยี่ยมชมภายหลังเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานเปิดในวันที่ 2 พ.ย.นี้ เวลา 07.00 น. หลังจากนั้นจะเปิดให้ประชาชนเยี่ยมชมไปจนถึงวันที่ 30 พ.ย. ตั้งแต่เวลา 07.00-22.00 น.ของทุกวัน โดยเบื้องต้นจะจัดรูปแบบการเข้าชมเหมือนกับการกราบพระบรมศพฯ
2.ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก “เบญจา” 3 ปี - “คนสนิทเลขาฯ หญิงอ้อ” เจอคุก 2 ปี กรณีช่วย “โอ๊ค-เอม” ไม่เสียภาษีหุ้นกว่า 1.5 หมื่นล้าน!

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนางเบญจา หลุยเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร, น.ส.จำรัส แหยมสร้อยทอง อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย, น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย, นายกริช วิปุลานุสาสน์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร และ น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยานายทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2558 ระบุพฤติการณ์สรุปว่า จำเลยที่ 1-4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมสรรพากร ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อไม่ให้นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณ ต้องเสียภาษีอากรหรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย และได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ จากการที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 49.25 บาท ถือได้ว่านายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา เป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีของส่วนต่างราคาหุ้น คนละ 7,941,950,000 บาท การกระทำนั้นทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการเสียหาย ซึ่งจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2559 ว่า นางเบญจา, น.ส.จำรัส, น.ส.โมรีรัตน์ และนายกริช จำเลยที่ 1-4 มีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 83 ให้จำคุกคนละ 3 ปี
ส่วน น.ส.ปราณี จำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 86 มีโทษ 2 ใน 3 จึงให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี และเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีของจำเลยทั้งหมด ไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ
ต่อมาจำเลยทั้งหมดยื่นอุทธรณ์คดี และได้รับการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งศาลตีราคาประกันคนละ 300,000 บาท โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขใดๆในการปล่อยชั่วคราว
ขณะที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำอุทธรณ์ของจำเลยทุกประเด็นทั้งเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และประเด็นว่าการตอบข้อหารือของจำเลยที่ทำหนังสือสอบถามกรมสรรพากรก่อนทำให้เกิดความเสียหายแก่กรมสรรพากรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่ กับสมควรลงโทษสถานเบาหรือให้รอการลงโทษจำคุกหรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ทุกประเด็นในคำอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้านั้นฟังไม่ขึ้น ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยทั้งห้าในอัตราโทษโดยไม่รอการลงโทษนั้น ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเห็นพ้องด้วย โดยสภาพความผิดของจำเลยทั้งห้าเป็นการกระทำโดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายและความน่าเชื่อถือในการจัดเก็บภาษีอากรของประเทศชาติ พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง จำเลยจะอ้างว่าเรื่องนี้ในที่สุดแล้วก็มิได้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีคำพิพากษายึดทรัพย์ที่เกี่ยวข้องไปหมดแล้วและศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษาเพิกถอนการประเมินภาษีของกรมสรรพากรไปแล้ว มาเป็นข้ออ้างเพื่อขอให้ศาลรอการลงโทษไม่ได้ จึงพิพากษายืน
ทั้งนี้ ตามกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนคดีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามฎีกาในประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง หากจะยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจะต้องให้ผู้พิพากษาที่ได้ร่วมทำสำนวนหรืออัยการสูงสุดเซ็นรับรองก่อน
หลังฟังคำพิพากษา จำเลยได้ยื่นขอประกันตัวในชั้นฎีกา ซึ่งศาลอาญาแผนกคดีทุจริตฯ ได้ส่งคำร้องไปให้ศาลฎีกาพิจารณาว่า จะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเย็นวันดังกล่าว เมื่อไม่มีคำสั่งจากศาลฎีกาลงมาว่าจะอนุญาตให้ประกันตัวหรือไม่ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จึงนำตัวจำเลยทั้ง 5 คน ไปคุมขัง โดยจำเลยผู้หญิงถูกนำไปควบคุมไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง ส่วนจำเลยผู้ชายควบคุมไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่วันต่อมา(20 ต.ค.) ศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งห้า โดยตีราคาประกันคนละ 5 แสนบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยทั้งหมดเดินทางออกนอกประเทศ และให้จำเลยทั้งหมดนำหนังสือเดินทางมามอบต่อศาลอาญาคดีทุจริตฯ และให้ศาลแจ้งไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้ทราบ
ด้านนางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกนางเบญจาและอดีตข้าราชการคนละ 3 ปี ไม่รอลงอาญา และจำคุก น.ส.ปราณี 2 ปี ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบว่า ท้ายคำพิพากษาศาลระบุชัดเจนว่า เป็นการเอื้อประโยชน์และทำให้รัฐเสียหาย เท่ากับว่ารัฐโดยกระทรวงการคลังสามารถตั้งเรื่องเรียกคืนค่าเสียหายนี้จากผู้ต้องหาเป็นการชดเชยได้ ขณะเดียวกันต้องทำหน้าที่นำค่าเสียหายจากกรณีการเลี่ยงภาษีจากการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คืนมาจากผู้เกี่ยวข้อง “กรณีนี้ การซื้อขายหุ้นดังกล่าวของนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร เป็นการหลบเลี่ยงภาษีที่ต้องจัดเก็บจำนวนคนละ 7,941 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,882 ล้านบาท เงินจำนวนนี้พร้อมดอกผลเป็นของรัฐและแผ่นดินที่ต้องนำไปเป็นงบประมาณดูแลประชาชนไม่ใช่ถูกเลี่ยงไปเป็นเงินส่วนตัวด้วยการทุจริตเช่นนี้”
3.ศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก “พ่อบอล” มือฆ่า “เอกยุทธ อัญชันบุตร” 1 ปี 4 เดือน ฐานรับของโจร ส่วน “บอล-เบิ้ม” คดีจบชั้นอุทธรณ์ จำคุกตลอดชีวิต!

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีฆ่านายเอกยุทธ อัญชันบุตร นักธุรกิจชื่อดัง ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสันติภาพ หรือบอล เพ็งด้วง อายุ 25 ปี, นายสุทธิพงศ์ หรือเบิ้ม พิมพิสาร อายุ 30 ปี, นายชวลิต หรือเชาว์ วุ่นชุม อายุ 25 ปี, นายทิวากร หรือทิว เกื้อทอง อายุ 20 ปี, จ.ส.อ.อิทธิพล เพ็งด้วง อายุ 53 ปี และนางจิตอำไพ เพ็งด้วง อายุ 50 ปี บิดาและมารดาของนายสันติภาพ ซึ่งทั้งหมดเป็นชาว จ.พัทลุง ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายเพื่อปิดบังสาเหตุการตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน,ใช้กำลังประทุษร้ายทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายและข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอมกระทำการใดฯ, หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพฯ, ร่วมกันปล้นทรัพย์, รับของโจร และพาอาวุธไปในที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรฯ รวมความผิด 8 ข้อหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 199, 289, 309, 310, 340, 357, 371 และ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ. 2490
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2557 ให้ประหารชีวิตนายสันติภาพ หรือบอล และนายสุทธิพงศ์ หรือเบิ้ม จำเลยที่ 1-2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนฯ แต่คำให้การชั้นพิจารณาเป็นประโยชน์อยู่บ้าง จึงลดโทษ เหลือจำคุกตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังให้จำคุกจำเลยที่ 1-2 ในข้อหาร่วมกันชิงทรัพย์ คนละ 18 ปี และให้จำเลยที่ 1-2 ร่วมกันชดใช้เงิน จำนวน 1.9 ล้านบาท ให้กับทายาทของผู้เสียชีวิตด้วย
สำหรับนายชวลิต หรือเชาว์ จำเลยที่ 3 มีความผิด ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และร่วมกันซ่อนเร้นศพฯ ให้จำคุก 13 เดือน โดยให้รวมโทษ ที่รอการลงอาญาไว้ในคดีเดิมอีก 6 เดือนด้วย รวมจำคุก 19 เดือน สำหรับนายทิวากร หรือทิว จำเลยที่ 4 ให้จำคุก 8 เดือน ฐานร่วมกันซ่อนเร้นศพฯ ส่วน จ.ส.อ.อิทธิพล และนางจิตอำไพ จำเลยที่ 5-6 บิดา-มารดาของนายสันติภาพ ให้ลงโทษฐานรับของโจร แต่จำเลยรับสารภาพ และช่วยติดตามนำเงินของกลางมาคืนจำนวน 4.4 ล้านบาท จึงพิพากษาจำคุก 1 ปี 4 เดือน
ต่อมาวันที่ 30 มิ.ย. 2559 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น หลังจากนั้น มีเพียง จ.ส.อ.อิทธิพล จำเลยที่ 5 เพียงคนเดียวที่ยื่นฎีกาขอให้ศาลรอการลงโทษ
ทั้งนี้ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า ที่จำเลยที่ 5 ยื่นฎีกาขอให้รอการลงโทษนั้น ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า จำเลยได้รับเงินของกลางจำนวน 4 ล้านบาท จากนางจิตอำไพ จำเลยที่ 6 ซึ่งได้รับต่อจากนายสันติภาพ จำเลยที่ 1 โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้จากการทำผิดกฎหมาย มาแบ่งเป็น 2 ส่วน นำไปซุกซ่อนฝังดิน จำเลยที่ 5 ในฐานะบิดารู้ว่าบุตรของตนกระทำผิดกฎหมาย กลับไม่ห้ามปราม และยังช่วยซุกซ่อนทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด ถือว่ามีส่วนให้เกิดอาชญากรรม เป็นเรื่องร้ายแรงต่อสังคม จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ
ศาลฎีกาเห็นพ้องตามที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนตามอุทธรณ์ จำคุก 1 ปี 4 เดือน หลังศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้นำตัว จ.ส.อ.อิทธิพล จำเลยที่ 5 ไปคุมขังยังเรือนจำเพื่อรับโทษตามคำพิพากษาต่อไป ส่วนจำเลยอื่นซึ่งไม่ได้ยื่นฎีกา ถือว่าคดีเป็นที่สิ้นสุด ให้บังคับโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
4.ศาลพิพากษาจำคุก “หญิงไก่” เพิ่มอีก 3 ปี คดีค้ามนุษย์ หลังถูกสั่งจำคุก 7 ปี 6 เดือน คดีหมิ่นเบื้องสูง!

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการคดีค้ามนุษย์ 2 เป็นโจทก์ฟ้องนางมณตา หรือหญิงไก่ หยกรัตนกาญ เป็นจำเลยในความผิดฐานค้ามนุษย์
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2559 บรรยายพฤติการณ์สรุปว่า ต้นเดือน มิ.ย. 2549 ถึงปลายเดือน ต.ค. 2553 น.ส.ดาลิน หล้าคำ อายุ 19 ปี ผู้เสียหายที่ 1 ได้สมัครทำงานเป็นแม่บ้านไว้ที่ศูนย์จัดหางานใน จ.ปทุมธานี ต่อมาศูนย์ฯ ส่งตัวผู้เสียหายไปทำงานกับจำเลย โดยจำเลยหลอกลวงบังคับใช้แรงงานผู้เสียหายที่ 1 ให้ทำงานบ้านตั้งแต่เวลา 05.00-22.00 น.ทุกวัน ไม่มีวันหยุด โดยจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้ จ่ายเพียงค่ายังชีพเล็กน้อย แล้วจำเลยยังขู่ว่า หากผู้เสียหายที่ 1 ไม่ยอมทำงานแล้วจะกลับบ้าน จำเลยก็จะแจ้งตำรวจจับ ต่อมาระหว่างต้นเดือน พ.ค. 2551 ถึงปลายเดือน เม.ย. 2552 จำเลยยังหลอกลวง น.ส.กาญจนา ปองลาภสุนทร ผู้เสียหายที่ 2 จาก จ.แม่ฮ่องสอน ให้ผู้เสียหายมาทำงานด้วยที่ กทม. จะให้เงินเดือน 6,000 บาท พร้อมส่งเสียให้เรียนพยาบาลฟรี แต่เมื่อมาทำงานด้วยแล้ว จำเลยได้ยึดบัตรประชาชนผู้เสียหายที่ 2 ไว้ ก่อนบังคับทำงานเช่นเดียวกับผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ได้ส่งเสียให้เรียน นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือน ก.ค. 2552 - ก.พ. 2553 จำเลยได้หลอกลวง น.ส.ขวัญจิรา จิรสกุลโชคชัย อายุ 17 ปีเศษ ผู้เสียหายที่ 3 ให้มาทำงานด้วย โดยอ้างว่าจะให้เงินเดือน 4,500 บาท และบังคับใช้แรงงานตั้งแต่ 05.00-23.00 น. ไม่มีวันหยุด ซึ่งในชั้นสอบสวน จำเลยให้การปฏิเสธ
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยไม่ได้ทำผิดกับผู้เสียหายที่ 1 และ 3 ส่วน น.ส.กาญจนา ผู้เสียหายที่ 2 ศาลเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 2 ประกอบบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวน ปรากฏว่า ผู้เสียหายที่ 2 ให้ถ้อยคำไว้ในทำนองเดียวกัน จึงน่าเชื่อว่าเบิกความไปตามที่ผู้เสียหายได้ประสบมาจริง เห็นว่าการที่จำเลยรับผู้เสียหายที่ 2 มาทำงาน โดยอ้างว่าจะส่งให้เรียนพยาบาล แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 2 มาทำงานแล้ว จำเลยกลับไม่ส่งเรียนพยาบาล และไม่ให้เงินเดือนตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ แม้ว่างานที่ทำจะมีไม่มาก รวมทั้งมิได้มีการกักขังก็ตาม แต่การที่จำเลยยึดบัตรประชาชนมาเก็บไว้ก็ส่อแสดงว่าจำเลยมีเจตนาจัดหาที่อยู่อาศัยหรือรับตัวผู้เสียหายที่ 2 โดยใช้อำนาจมิชอบ เป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากการบังคับใช้แรงงาน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ จึงพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 6, 52 วรรคหนึ่ง ให้จำคุก 4 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 4 คงจำคุก 3 ปี และให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเงิน 590,007 บาท
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. ที่ผ่านมา ศาลอาญาได้พิพากษาจำคุกหญิงไก่ คดีหนึ่งแล้ว ฐานหมิ่นเบื้องสูง โดยพิพากษาจำคุก 7 ปี 6 เดือน
5.ศาลแพ่งพิพากษาให้อุตสาหกรรมการบินจ่าย 2.75 ล้าน กรณี “นรต.ร่มไม่กาง” ดับ ด้านพ่อน้องโยโย่เตรียมอุทธรณ์ ยันลูกชายไม่มีส่วนผิด!

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีที่นายสาธร พุทธชัยยงค์ บิดาของ นรต.ชยากร พุทธชัยยงค์ หรือน้องโยโย่ ที่กระโดดร่มไม่กางเสียชีวิตที่ จ.เพชรบุรี พร้อมนายอนันต์ชัย ไชยเดช ทนายความ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด, พล.อ.อ.วีรนันท์ หาญสวธา, ร.ต.กณพ อยู่สุข, พ.จ.อ.สมชาย อำภา, จ.อ.กีรติ สุริโย, จ.อ.รัชเดช เถาว์เพ็ง, ร.ท.สมเจต สวัสดิรักษา, นายวัชรพงษ์ วงศ์สุบรรณ และนายสุพร ธนบดี เป็นจำเลยที่ 1-10 ให้ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 40 ล้านบาท เป็นค่าจัดการศพ และค่าขาดไร้อุปการะ โดยคดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อปี 2559
ทั้งนี้ ศาลมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทั้ง 10 คนได้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โดยเห็นว่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ซ่อมแซมเครื่องบินให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในฐานะเป็นผู้รับจ้าง ส่วนบริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทรับจ้างช่วงจากจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จัดซื้อจัดหาอะไหล่และอุปกรณ์สำหรับเครื่องบินสำเลียงสำหรับกระโดดร่มคาซ่า รวมทั้งการผลิตสายสลิง จำเลยที่ 9 มีหน้าที่สั่งซื้อสายสลิง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 10 มีหน้าที่ควบคุมดูแลการซ่อมแซมอุปกรณ์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 5-7 นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐาน ขณะที่พยานโจทก์มี พ.ต.อ.ธนสิทธิ แตงจันทร์ เบิกความว่า ได้ควบคุมการติดตั้ง และได้แจ้งว่า สายสลิงไม่ได้มาตรฐานไม่แน่นหนา ไม่มีความสมมาตร ที่ปลายสลิงมีรอยตัดเป็นวงรี อีกทั้งมีการเจียรทำให้มีขนาดไม่เท่าเดิม นอกจากนี้อุปกรณ์ปลอกรัดข้อต่อไม่เหมาะสม อีกทั้งนักบินได้แจ้งแล้ว จำเลยที่ 1 ได้บอกจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ได้บอกจำเลยอื่นเป็นทอดๆ
ดังนั้นเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2556 นายช่างอากาศยานได้ตรวจซ้ำและพบเห็นปัญหาดังกล่าวจริงตามที่แจ้ง จึงบอกว่าสายชำรุดเกิดจากการใช้งาน เกรงว่าจะเป็นอุปสรรคในการกระโดดร่ม จึงได้แจ้งผู้บังคับบัญชาเพื่อให้กองทัพอากาศซ่อม แต่ซ่อมไม่ได้ จึงต้องจ้างบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด จำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบอุปกรณ์ ดังนั้นความเสียหายจึงไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 10 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 10 จึงไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดไปด้วย
ส่วนการกระทำของจำเลยอื่นๆ นั้น ศาลเห็นว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้างช่วงของจำเลยที่ 1 และมีจำเลยที่ 9 เป็นลูกจ้าง การติดตั้งลวดสลิงดังกล่าวมีการแจ้งถึงเหตุบกพร่องไปตามลำดับชั้น ดังนั้น เมื่อความผิดพลาดเสียหายเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ดังนั้นจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดฐานละเมิดไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อว่า จำเลยต้องรับผิดต่อผู้เสียหายเป็นจำนวนเท่าใด ศาลเห็นว่า การที่จะให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามฟ้องหรือไม่ ต้องดูจากความร้ายแรงและพฤติการณ์แห่งการละเมิด โดยพิจารณาพฤติการณ์แห่งความผิดว่า ผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วยหรือไม่ ศาลเห็นว่า ในการกระโดดร่มจะมีผู้บังคับบัญชาและครูฝึกควบคุม เห็นว่าในการฝึกต่อเที่ยวบิน จะมีการกระโดดร่ม 3 ชุด ชุดละ 9 คน ในการกระโดดร่มครั้งนี้เป็นเที่ยวแรก นรต.ชยากรบุตรของโจทก์อยู่ในสำดับที่ 4 โดยครูฝึกจะคล้องข้อต่อกับลวดสลิง ซึ่งในการฝึกกระโดดร่ม ครูได้แจ้งว่า ในการกระโดดร่มระดับ 1200 ฟุต เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2557 ต้องกระโดดห่างกันคนละ 1 -2 วินาที จากนั้นเมื่อกระโดดพ้นเครื่องลงไปแล้ว นักเรียนจะต้องตะโกนขานรับ 1-5 หรือหมายถึง 1-5 วินาที เมื่อนับถึง 5 ร่างของนักเรียนจะอยู่สูงจากพื้น 700 ฟุต ซึ่งเป็นค่ามาตรฐาน หากเวลานั้นร่มไม่กาง นักเรียนจะต้องกระตุกร่มสำรองที่ความสูง 700 ฟุตนั่นเอง แต่จากการตรวจสภาพศพ พยานจำเลยเบิกความว่า นรต.ชยากร ไม่ได้กระตุกร่มสำรอง ขณะที่นักเรียนนายร้อยคนที่ 5, 6, 7 ซึ่งร่มไม่กางเช่นกัน ได้กระตุกร่มสำรอง ทำให้ปลอดภัยไม่เสียชีวิต เห็นว่าผู้เสียหายเองก็มีส่วนผิดไม่กระตุกร่มสำรอง
แต่จำเลยที่ 2 และ 9 เป็นผู้สั่งซื้ออุปกรณ์สายสลิง ย่อมมีส่วนในการกระทำความผิดมากกว่า ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมาตามฟ้องนั้น ศาลเห็นว่า สมควรให้ค่าปลงศพจำนวน 2.5 แสนบาท และค่าขาดไร้อุปการะ 2.5 ล้านบาท รวมทั้งหมด 2.75 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ให้กับนายสาธรบิดาของนรต.ชยากร ผู้เสียชีวิต นับตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. 2559 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันฟ้องคดีนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ รวมทั้งให้ชำระค่าทนายความแทนโจทก์อีก 10,000 บาทด้วย ส่วนจำเลยอื่นๆ ให้ยกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า ไม่ได้กระทำการประมาทเลินเล่อ จนทำให้ นรต.ชยากรต้องเสียชีวิต
หลังฟังคำพิพากษา นายอนันต์ชัย ไชยเดช ทนายความกล่าวว่า โจทก์และตนเคารพคำพิพากษาของศาล แต่ยังไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในบางส่วน โดยเฉพาะประเด็นที่ศาลมองว่าผู้ตายมีส่วนในการกระทำผิดด้วย เพราะไม่ได้ดึงร่มสำรองช่วย ซึ่งตนเห็นว่า ขณะนั้นผู้ตายมีอาการเซจนล้มไปโดนครูฝึกซึ่งอยู่ท้ายเครื่องบิน จึงไม่ได้อยู่ในสภาพที่สามารถดึงร่มช่วยได้ โดยประเด็นนี้ทำให้คำพิพากษาในเรื่องค่าเสียหายลดลง ดังนั้นจะยื่นอุทธรณ์คดีต่อไป
ด้านนายสาทร บิดาน้องโยโย่กล่าวว่า ตนเคารพในคำตัดสินของศาล แต่ไม่เห็นด้วยในประเด็นที่มองว่าลูกชายมีส่วนผิดในการทำให้เกิดเหตุร้ายขึ้น เพราะในวันที่เกิดเหตุ เป็นการฝึกกระโดดร่มชุดแรก มีนักเรียนนายร้อยจำนวน 9 คน ลูกชายกระโดดเป็นคนที่ 4 ซึ่งเป็นคนแรกที่ลวดสลิงหลุด โดยครูฝึกก็ให้การเป็นพยานว่า หลังจากที่ลูกชายลวดสลิงหลุด ลูกชายเสียการทรงตัว เซไปชนครูฝึก ตนคิดว่าลูกชายไม่ได้กระโดดออกจากเครื่องบินในท่าปกติที่ฝึกมา ดังนั้นจะอุทธรณ์คดีต่อไป
1.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยกนพปฏลมหาเศวตฉัตรขึ้นสู่ยอดพระเมรุมาศ พร้อมพระราชทาน “ไฟหลวง” ในพิธีถวายพระเพลิงทั้ง 76 จังหวัด-ตปท.!
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. เวลา 17.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระที่นั่งทรงธรรม พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เพื่อทรงยกนพปฎลมหาเศวตฉัตร ขึ้นสู่ยอดพระเมรุมาศ ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ โดยเสด็จด้วย และมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และคณะกรรมการฯ เฝ้าฯ รับเสด็จ
สำหรับนพปฎลมหาเศวตฉัตรนี้ เป็นฉัตรสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีแล้ว
ต่อมา เวลา 18.30 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชทานพระราชวโรกาสให้ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ พร้อมด้วยปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน เฝ้าฯ รับพระราชทานไฟหลวง เพื่อนำไปใช้ในพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระเมรุมาศจำลอง
โอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้แทนรับไฟหลวงพระราชทาน เพื่อเชิญไปมอบให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด และพระราชทานหีบเพลิง ที่ประกอบด้วย ดอกไม้จันทน์ 1 ดอก ไม้ขีด 1 กลัก เทียนชนวน 1 แท่ง ให้แก่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเชิญไปยังสถานกงสุลและประเทศต่างๆ ทั่วโลก และพระราชทานไฟหลวงให้แก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อเชิญไปในพิธีถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศจำลอง 4 แห่งรอบพระเมรุมาศ ประกอบด้วย สวนนาคราภิรมย์ หน้ากองสลากเก่า ลานคนเมือง และหน้าอนุสาวรีย์ปฐมบรมราชานุสรณ์(สะพานพุทธ)
ด้าน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. เผยถึงการเตรียมการดูแลและรองรับประชาชนที่จะเดินทางมาร่วมพิธีวางดอกไม้จันทน์ในพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพฯ ว่า กทม.ได้ประสานวัดและโรงเรียนในพื้นที่ กทม. เพื่อเป็นสถานที่พักค้างและพักคอย ประกอบด้วย วัดและโรงเรียน 164 แห่ง รวมถึงอาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง และศูนย์เยาวชนบางขุนเทียน โดยจะเปิดให้ประชาชนเข้าพักระหว่างวันที่ 25-26 ต.ค. ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งการเข้าพักด้วยตนเองได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ที่วัด โรงเรียน หรือศูนย์เยาวชนนั้นตั้งอยู่ โดยประชาชนต้องจัดเตรียมเครื่องนอนมาด้วยตนเอง สำหรับวัดและโรงเรียนในพื้นที่เขตพระนครและป้อมปราบศัตรูพ่าย จะเปิดให้ประชาชนพักคอยเท่านั้น ทั้งนี้ สามารถติดตามรายชื่อสถานที่พักค้างและพักคอยได้ที่ www.prbangkok.com
ขณะที่ น.ส.เสาวรีย์ อัมภสุวรรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหารกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวถึงการเข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ว่า มีข้อปฏิบัติและข้อห้ามที่ประชาชนจะต้องปฏิบัติ 8 ข้อ ได้แก่ 1.แสดงบัตรประจำตัวประชาชนกับเจ้าหน้าที่เมื่อเดินผ่านจุดคัดกรองและพกบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวตลอดเวลา 2.เมื่อผ่านจุดคัดกรอง ประชาชนสามารถจับจองพื้นที่บริเวณทางเท้าริมถนนมหาราช ถนนสนามไชย ยาวถึงศาลหลักเมือง เฉพาะฝั่งตรงข้ามพระบรมมหาราชวังเท่านั้น 3.อยู่ในอาการสุภาพเรียบร้อย น้อมถวายอาลัยด้วยอาการสงบ สำรวม 4.เมื่อริ้วขบวน ซึ่งประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินในริ้วขบวนผ่าน จิตอาสาต้องถอดหมวกและก้มกราบ
5.เครื่องแต่งกาย สัมภาระ และอุปกรณ์ต่างๆ โดยสุภาพบุรุษ ให้สวมเสื้อดำ เชิ้ตดำ กางเกงดำขายาว รองเท้าสุภาพหุ้มส้นสีดำ ส่วนสุภาพสตรี สวมใส่เสื้อดำ กระโปรงยาวสีดำคลุมเข่า รองเท้าสุภาพหุ้มส้นสีดำ สำหรับจิตอาสา แต่งจุดจิตอาสาพระราชทาน เสื้อดำ สวมหมวก ผ้าพันคอ กางเกง/กระโปรงสีดำเท่านั้น สามารถสวมรองเท้าผ้าใบได้ ตามความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถนำร่ม หมวก แว่นกันแดดมาใช้ได้โดยควรเป็นสีดำหรือสีโทนสุภาพ และเมื่อริ้วขบวนซึ่งประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินในริ้วขบวนผ่าน ต้องเก็บร่ม พัด หมวก แว่นกันแดด และถวายความเคารพ 6.พกเฉพาะสิ่งของจำเป็นเท่านั้น เตรียมพร้อมยาประจำตัว อาหาร น้ำดื่ม 7.ห้ามถ่ายภาพในเขตราชวัติ หรือรั้วรอบบริเวณพิธี และ 8.เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติหน้าที่จิตอาสา ไม่ควรมีผู้ติดตามเข้าในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ให้งดเปล่งเสียงถวายพระพร “ทรงพระเจริญ” และงดถ่ายภาพแบบเซลฟี่ระหว่างริ้วขบวนเคลื่อนผ่าน
ด้านคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ได้มีมติให้คืนสีโทรทัศน์ทุกช่องตามเดิมตั้งแต่เวลา 20.00 น. ของวันที่ 19 ต.ค.เป็นต้นไป เพื่อให้โอกาสประชาชนได้รับชมภาพความสวยงามของพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ อย่างเต็มอิ่ม และไม่ให้เศร้าโศกไปมากกว่านี้
ขณะที่ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเปิดพื้นที่บริเวณพระเมรุมาศให้ประชาชนได้เยี่ยมชมภายหลังเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานเปิดในวันที่ 2 พ.ย.นี้ เวลา 07.00 น. หลังจากนั้นจะเปิดให้ประชาชนเยี่ยมชมไปจนถึงวันที่ 30 พ.ย. ตั้งแต่เวลา 07.00-22.00 น.ของทุกวัน โดยเบื้องต้นจะจัดรูปแบบการเข้าชมเหมือนกับการกราบพระบรมศพฯ
2.ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก “เบญจา” 3 ปี - “คนสนิทเลขาฯ หญิงอ้อ” เจอคุก 2 ปี กรณีช่วย “โอ๊ค-เอม” ไม่เสียภาษีหุ้นกว่า 1.5 หมื่นล้าน!
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนางเบญจา หลุยเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร, น.ส.จำรัส แหยมสร้อยทอง อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย, น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย, นายกริช วิปุลานุสาสน์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร และ น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยานายทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2558 ระบุพฤติการณ์สรุปว่า จำเลยที่ 1-4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมสรรพากร ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อไม่ให้นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณ ต้องเสียภาษีอากรหรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย และได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ จากการที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 49.25 บาท ถือได้ว่านายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา เป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีของส่วนต่างราคาหุ้น คนละ 7,941,950,000 บาท การกระทำนั้นทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการเสียหาย ซึ่งจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2559 ว่า นางเบญจา, น.ส.จำรัส, น.ส.โมรีรัตน์ และนายกริช จำเลยที่ 1-4 มีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 83 ให้จำคุกคนละ 3 ปี
ส่วน น.ส.ปราณี จำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 86 มีโทษ 2 ใน 3 จึงให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี และเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีของจำเลยทั้งหมด ไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ
ต่อมาจำเลยทั้งหมดยื่นอุทธรณ์คดี และได้รับการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งศาลตีราคาประกันคนละ 300,000 บาท โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขใดๆในการปล่อยชั่วคราว
ขณะที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำอุทธรณ์ของจำเลยทุกประเด็นทั้งเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และประเด็นว่าการตอบข้อหารือของจำเลยที่ทำหนังสือสอบถามกรมสรรพากรก่อนทำให้เกิดความเสียหายแก่กรมสรรพากรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่ กับสมควรลงโทษสถานเบาหรือให้รอการลงโทษจำคุกหรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ทุกประเด็นในคำอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้านั้นฟังไม่ขึ้น ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยทั้งห้าในอัตราโทษโดยไม่รอการลงโทษนั้น ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเห็นพ้องด้วย โดยสภาพความผิดของจำเลยทั้งห้าเป็นการกระทำโดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายและความน่าเชื่อถือในการจัดเก็บภาษีอากรของประเทศชาติ พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง จำเลยจะอ้างว่าเรื่องนี้ในที่สุดแล้วก็มิได้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีคำพิพากษายึดทรัพย์ที่เกี่ยวข้องไปหมดแล้วและศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษาเพิกถอนการประเมินภาษีของกรมสรรพากรไปแล้ว มาเป็นข้ออ้างเพื่อขอให้ศาลรอการลงโทษไม่ได้ จึงพิพากษายืน
ทั้งนี้ ตามกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนคดีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามฎีกาในประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง หากจะยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจะต้องให้ผู้พิพากษาที่ได้ร่วมทำสำนวนหรืออัยการสูงสุดเซ็นรับรองก่อน
หลังฟังคำพิพากษา จำเลยได้ยื่นขอประกันตัวในชั้นฎีกา ซึ่งศาลอาญาแผนกคดีทุจริตฯ ได้ส่งคำร้องไปให้ศาลฎีกาพิจารณาว่า จะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเย็นวันดังกล่าว เมื่อไม่มีคำสั่งจากศาลฎีกาลงมาว่าจะอนุญาตให้ประกันตัวหรือไม่ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จึงนำตัวจำเลยทั้ง 5 คน ไปคุมขัง โดยจำเลยผู้หญิงถูกนำไปควบคุมไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง ส่วนจำเลยผู้ชายควบคุมไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่วันต่อมา(20 ต.ค.) ศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งห้า โดยตีราคาประกันคนละ 5 แสนบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยทั้งหมดเดินทางออกนอกประเทศ และให้จำเลยทั้งหมดนำหนังสือเดินทางมามอบต่อศาลอาญาคดีทุจริตฯ และให้ศาลแจ้งไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้ทราบ
ด้านนางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกนางเบญจาและอดีตข้าราชการคนละ 3 ปี ไม่รอลงอาญา และจำคุก น.ส.ปราณี 2 ปี ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบว่า ท้ายคำพิพากษาศาลระบุชัดเจนว่า เป็นการเอื้อประโยชน์และทำให้รัฐเสียหาย เท่ากับว่ารัฐโดยกระทรวงการคลังสามารถตั้งเรื่องเรียกคืนค่าเสียหายนี้จากผู้ต้องหาเป็นการชดเชยได้ ขณะเดียวกันต้องทำหน้าที่นำค่าเสียหายจากกรณีการเลี่ยงภาษีจากการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คืนมาจากผู้เกี่ยวข้อง “กรณีนี้ การซื้อขายหุ้นดังกล่าวของนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร เป็นการหลบเลี่ยงภาษีที่ต้องจัดเก็บจำนวนคนละ 7,941 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,882 ล้านบาท เงินจำนวนนี้พร้อมดอกผลเป็นของรัฐและแผ่นดินที่ต้องนำไปเป็นงบประมาณดูแลประชาชนไม่ใช่ถูกเลี่ยงไปเป็นเงินส่วนตัวด้วยการทุจริตเช่นนี้”
3.ศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก “พ่อบอล” มือฆ่า “เอกยุทธ อัญชันบุตร” 1 ปี 4 เดือน ฐานรับของโจร ส่วน “บอล-เบิ้ม” คดีจบชั้นอุทธรณ์ จำคุกตลอดชีวิต!
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีฆ่านายเอกยุทธ อัญชันบุตร นักธุรกิจชื่อดัง ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสันติภาพ หรือบอล เพ็งด้วง อายุ 25 ปี, นายสุทธิพงศ์ หรือเบิ้ม พิมพิสาร อายุ 30 ปี, นายชวลิต หรือเชาว์ วุ่นชุม อายุ 25 ปี, นายทิวากร หรือทิว เกื้อทอง อายุ 20 ปี, จ.ส.อ.อิทธิพล เพ็งด้วง อายุ 53 ปี และนางจิตอำไพ เพ็งด้วง อายุ 50 ปี บิดาและมารดาของนายสันติภาพ ซึ่งทั้งหมดเป็นชาว จ.พัทลุง ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายเพื่อปิดบังสาเหตุการตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน,ใช้กำลังประทุษร้ายทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายและข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอมกระทำการใดฯ, หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพฯ, ร่วมกันปล้นทรัพย์, รับของโจร และพาอาวุธไปในที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรฯ รวมความผิด 8 ข้อหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 199, 289, 309, 310, 340, 357, 371 และ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ. 2490
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2557 ให้ประหารชีวิตนายสันติภาพ หรือบอล และนายสุทธิพงศ์ หรือเบิ้ม จำเลยที่ 1-2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนฯ แต่คำให้การชั้นพิจารณาเป็นประโยชน์อยู่บ้าง จึงลดโทษ เหลือจำคุกตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังให้จำคุกจำเลยที่ 1-2 ในข้อหาร่วมกันชิงทรัพย์ คนละ 18 ปี และให้จำเลยที่ 1-2 ร่วมกันชดใช้เงิน จำนวน 1.9 ล้านบาท ให้กับทายาทของผู้เสียชีวิตด้วย
สำหรับนายชวลิต หรือเชาว์ จำเลยที่ 3 มีความผิด ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และร่วมกันซ่อนเร้นศพฯ ให้จำคุก 13 เดือน โดยให้รวมโทษ ที่รอการลงอาญาไว้ในคดีเดิมอีก 6 เดือนด้วย รวมจำคุก 19 เดือน สำหรับนายทิวากร หรือทิว จำเลยที่ 4 ให้จำคุก 8 เดือน ฐานร่วมกันซ่อนเร้นศพฯ ส่วน จ.ส.อ.อิทธิพล และนางจิตอำไพ จำเลยที่ 5-6 บิดา-มารดาของนายสันติภาพ ให้ลงโทษฐานรับของโจร แต่จำเลยรับสารภาพ และช่วยติดตามนำเงินของกลางมาคืนจำนวน 4.4 ล้านบาท จึงพิพากษาจำคุก 1 ปี 4 เดือน
ต่อมาวันที่ 30 มิ.ย. 2559 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น หลังจากนั้น มีเพียง จ.ส.อ.อิทธิพล จำเลยที่ 5 เพียงคนเดียวที่ยื่นฎีกาขอให้ศาลรอการลงโทษ
ทั้งนี้ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า ที่จำเลยที่ 5 ยื่นฎีกาขอให้รอการลงโทษนั้น ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า จำเลยได้รับเงินของกลางจำนวน 4 ล้านบาท จากนางจิตอำไพ จำเลยที่ 6 ซึ่งได้รับต่อจากนายสันติภาพ จำเลยที่ 1 โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้จากการทำผิดกฎหมาย มาแบ่งเป็น 2 ส่วน นำไปซุกซ่อนฝังดิน จำเลยที่ 5 ในฐานะบิดารู้ว่าบุตรของตนกระทำผิดกฎหมาย กลับไม่ห้ามปราม และยังช่วยซุกซ่อนทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด ถือว่ามีส่วนให้เกิดอาชญากรรม เป็นเรื่องร้ายแรงต่อสังคม จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ
ศาลฎีกาเห็นพ้องตามที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนตามอุทธรณ์ จำคุก 1 ปี 4 เดือน หลังศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้นำตัว จ.ส.อ.อิทธิพล จำเลยที่ 5 ไปคุมขังยังเรือนจำเพื่อรับโทษตามคำพิพากษาต่อไป ส่วนจำเลยอื่นซึ่งไม่ได้ยื่นฎีกา ถือว่าคดีเป็นที่สิ้นสุด ให้บังคับโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
4.ศาลพิพากษาจำคุก “หญิงไก่” เพิ่มอีก 3 ปี คดีค้ามนุษย์ หลังถูกสั่งจำคุก 7 ปี 6 เดือน คดีหมิ่นเบื้องสูง!
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการคดีค้ามนุษย์ 2 เป็นโจทก์ฟ้องนางมณตา หรือหญิงไก่ หยกรัตนกาญ เป็นจำเลยในความผิดฐานค้ามนุษย์
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2559 บรรยายพฤติการณ์สรุปว่า ต้นเดือน มิ.ย. 2549 ถึงปลายเดือน ต.ค. 2553 น.ส.ดาลิน หล้าคำ อายุ 19 ปี ผู้เสียหายที่ 1 ได้สมัครทำงานเป็นแม่บ้านไว้ที่ศูนย์จัดหางานใน จ.ปทุมธานี ต่อมาศูนย์ฯ ส่งตัวผู้เสียหายไปทำงานกับจำเลย โดยจำเลยหลอกลวงบังคับใช้แรงงานผู้เสียหายที่ 1 ให้ทำงานบ้านตั้งแต่เวลา 05.00-22.00 น.ทุกวัน ไม่มีวันหยุด โดยจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้ จ่ายเพียงค่ายังชีพเล็กน้อย แล้วจำเลยยังขู่ว่า หากผู้เสียหายที่ 1 ไม่ยอมทำงานแล้วจะกลับบ้าน จำเลยก็จะแจ้งตำรวจจับ ต่อมาระหว่างต้นเดือน พ.ค. 2551 ถึงปลายเดือน เม.ย. 2552 จำเลยยังหลอกลวง น.ส.กาญจนา ปองลาภสุนทร ผู้เสียหายที่ 2 จาก จ.แม่ฮ่องสอน ให้ผู้เสียหายมาทำงานด้วยที่ กทม. จะให้เงินเดือน 6,000 บาท พร้อมส่งเสียให้เรียนพยาบาลฟรี แต่เมื่อมาทำงานด้วยแล้ว จำเลยได้ยึดบัตรประชาชนผู้เสียหายที่ 2 ไว้ ก่อนบังคับทำงานเช่นเดียวกับผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ได้ส่งเสียให้เรียน นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือน ก.ค. 2552 - ก.พ. 2553 จำเลยได้หลอกลวง น.ส.ขวัญจิรา จิรสกุลโชคชัย อายุ 17 ปีเศษ ผู้เสียหายที่ 3 ให้มาทำงานด้วย โดยอ้างว่าจะให้เงินเดือน 4,500 บาท และบังคับใช้แรงงานตั้งแต่ 05.00-23.00 น. ไม่มีวันหยุด ซึ่งในชั้นสอบสวน จำเลยให้การปฏิเสธ
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยไม่ได้ทำผิดกับผู้เสียหายที่ 1 และ 3 ส่วน น.ส.กาญจนา ผู้เสียหายที่ 2 ศาลเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 2 ประกอบบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวน ปรากฏว่า ผู้เสียหายที่ 2 ให้ถ้อยคำไว้ในทำนองเดียวกัน จึงน่าเชื่อว่าเบิกความไปตามที่ผู้เสียหายได้ประสบมาจริง เห็นว่าการที่จำเลยรับผู้เสียหายที่ 2 มาทำงาน โดยอ้างว่าจะส่งให้เรียนพยาบาล แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 2 มาทำงานแล้ว จำเลยกลับไม่ส่งเรียนพยาบาล และไม่ให้เงินเดือนตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ แม้ว่างานที่ทำจะมีไม่มาก รวมทั้งมิได้มีการกักขังก็ตาม แต่การที่จำเลยยึดบัตรประชาชนมาเก็บไว้ก็ส่อแสดงว่าจำเลยมีเจตนาจัดหาที่อยู่อาศัยหรือรับตัวผู้เสียหายที่ 2 โดยใช้อำนาจมิชอบ เป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากการบังคับใช้แรงงาน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ จึงพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 6, 52 วรรคหนึ่ง ให้จำคุก 4 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 4 คงจำคุก 3 ปี และให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเงิน 590,007 บาท
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. ที่ผ่านมา ศาลอาญาได้พิพากษาจำคุกหญิงไก่ คดีหนึ่งแล้ว ฐานหมิ่นเบื้องสูง โดยพิพากษาจำคุก 7 ปี 6 เดือน
5.ศาลแพ่งพิพากษาให้อุตสาหกรรมการบินจ่าย 2.75 ล้าน กรณี “นรต.ร่มไม่กาง” ดับ ด้านพ่อน้องโยโย่เตรียมอุทธรณ์ ยันลูกชายไม่มีส่วนผิด!
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีที่นายสาธร พุทธชัยยงค์ บิดาของ นรต.ชยากร พุทธชัยยงค์ หรือน้องโยโย่ ที่กระโดดร่มไม่กางเสียชีวิตที่ จ.เพชรบุรี พร้อมนายอนันต์ชัย ไชยเดช ทนายความ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด, พล.อ.อ.วีรนันท์ หาญสวธา, ร.ต.กณพ อยู่สุข, พ.จ.อ.สมชาย อำภา, จ.อ.กีรติ สุริโย, จ.อ.รัชเดช เถาว์เพ็ง, ร.ท.สมเจต สวัสดิรักษา, นายวัชรพงษ์ วงศ์สุบรรณ และนายสุพร ธนบดี เป็นจำเลยที่ 1-10 ให้ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 40 ล้านบาท เป็นค่าจัดการศพ และค่าขาดไร้อุปการะ โดยคดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อปี 2559
ทั้งนี้ ศาลมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทั้ง 10 คนได้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โดยเห็นว่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ซ่อมแซมเครื่องบินให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในฐานะเป็นผู้รับจ้าง ส่วนบริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทรับจ้างช่วงจากจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จัดซื้อจัดหาอะไหล่และอุปกรณ์สำหรับเครื่องบินสำเลียงสำหรับกระโดดร่มคาซ่า รวมทั้งการผลิตสายสลิง จำเลยที่ 9 มีหน้าที่สั่งซื้อสายสลิง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 10 มีหน้าที่ควบคุมดูแลการซ่อมแซมอุปกรณ์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 5-7 นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐาน ขณะที่พยานโจทก์มี พ.ต.อ.ธนสิทธิ แตงจันทร์ เบิกความว่า ได้ควบคุมการติดตั้ง และได้แจ้งว่า สายสลิงไม่ได้มาตรฐานไม่แน่นหนา ไม่มีความสมมาตร ที่ปลายสลิงมีรอยตัดเป็นวงรี อีกทั้งมีการเจียรทำให้มีขนาดไม่เท่าเดิม นอกจากนี้อุปกรณ์ปลอกรัดข้อต่อไม่เหมาะสม อีกทั้งนักบินได้แจ้งแล้ว จำเลยที่ 1 ได้บอกจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ได้บอกจำเลยอื่นเป็นทอดๆ
ดังนั้นเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2556 นายช่างอากาศยานได้ตรวจซ้ำและพบเห็นปัญหาดังกล่าวจริงตามที่แจ้ง จึงบอกว่าสายชำรุดเกิดจากการใช้งาน เกรงว่าจะเป็นอุปสรรคในการกระโดดร่ม จึงได้แจ้งผู้บังคับบัญชาเพื่อให้กองทัพอากาศซ่อม แต่ซ่อมไม่ได้ จึงต้องจ้างบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด จำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบอุปกรณ์ ดังนั้นความเสียหายจึงไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 10 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 10 จึงไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดไปด้วย
ส่วนการกระทำของจำเลยอื่นๆ นั้น ศาลเห็นว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้างช่วงของจำเลยที่ 1 และมีจำเลยที่ 9 เป็นลูกจ้าง การติดตั้งลวดสลิงดังกล่าวมีการแจ้งถึงเหตุบกพร่องไปตามลำดับชั้น ดังนั้น เมื่อความผิดพลาดเสียหายเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ดังนั้นจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดฐานละเมิดไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อว่า จำเลยต้องรับผิดต่อผู้เสียหายเป็นจำนวนเท่าใด ศาลเห็นว่า การที่จะให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามฟ้องหรือไม่ ต้องดูจากความร้ายแรงและพฤติการณ์แห่งการละเมิด โดยพิจารณาพฤติการณ์แห่งความผิดว่า ผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วยหรือไม่ ศาลเห็นว่า ในการกระโดดร่มจะมีผู้บังคับบัญชาและครูฝึกควบคุม เห็นว่าในการฝึกต่อเที่ยวบิน จะมีการกระโดดร่ม 3 ชุด ชุดละ 9 คน ในการกระโดดร่มครั้งนี้เป็นเที่ยวแรก นรต.ชยากรบุตรของโจทก์อยู่ในสำดับที่ 4 โดยครูฝึกจะคล้องข้อต่อกับลวดสลิง ซึ่งในการฝึกกระโดดร่ม ครูได้แจ้งว่า ในการกระโดดร่มระดับ 1200 ฟุต เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2557 ต้องกระโดดห่างกันคนละ 1 -2 วินาที จากนั้นเมื่อกระโดดพ้นเครื่องลงไปแล้ว นักเรียนจะต้องตะโกนขานรับ 1-5 หรือหมายถึง 1-5 วินาที เมื่อนับถึง 5 ร่างของนักเรียนจะอยู่สูงจากพื้น 700 ฟุต ซึ่งเป็นค่ามาตรฐาน หากเวลานั้นร่มไม่กาง นักเรียนจะต้องกระตุกร่มสำรองที่ความสูง 700 ฟุตนั่นเอง แต่จากการตรวจสภาพศพ พยานจำเลยเบิกความว่า นรต.ชยากร ไม่ได้กระตุกร่มสำรอง ขณะที่นักเรียนนายร้อยคนที่ 5, 6, 7 ซึ่งร่มไม่กางเช่นกัน ได้กระตุกร่มสำรอง ทำให้ปลอดภัยไม่เสียชีวิต เห็นว่าผู้เสียหายเองก็มีส่วนผิดไม่กระตุกร่มสำรอง
แต่จำเลยที่ 2 และ 9 เป็นผู้สั่งซื้ออุปกรณ์สายสลิง ย่อมมีส่วนในการกระทำความผิดมากกว่า ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมาตามฟ้องนั้น ศาลเห็นว่า สมควรให้ค่าปลงศพจำนวน 2.5 แสนบาท และค่าขาดไร้อุปการะ 2.5 ล้านบาท รวมทั้งหมด 2.75 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ให้กับนายสาธรบิดาของนรต.ชยากร ผู้เสียชีวิต นับตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. 2559 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันฟ้องคดีนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ รวมทั้งให้ชำระค่าทนายความแทนโจทก์อีก 10,000 บาทด้วย ส่วนจำเลยอื่นๆ ให้ยกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า ไม่ได้กระทำการประมาทเลินเล่อ จนทำให้ นรต.ชยากรต้องเสียชีวิต
หลังฟังคำพิพากษา นายอนันต์ชัย ไชยเดช ทนายความกล่าวว่า โจทก์และตนเคารพคำพิพากษาของศาล แต่ยังไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในบางส่วน โดยเฉพาะประเด็นที่ศาลมองว่าผู้ตายมีส่วนในการกระทำผิดด้วย เพราะไม่ได้ดึงร่มสำรองช่วย ซึ่งตนเห็นว่า ขณะนั้นผู้ตายมีอาการเซจนล้มไปโดนครูฝึกซึ่งอยู่ท้ายเครื่องบิน จึงไม่ได้อยู่ในสภาพที่สามารถดึงร่มช่วยได้ โดยประเด็นนี้ทำให้คำพิพากษาในเรื่องค่าเสียหายลดลง ดังนั้นจะยื่นอุทธรณ์คดีต่อไป
ด้านนายสาทร บิดาน้องโยโย่กล่าวว่า ตนเคารพในคำตัดสินของศาล แต่ไม่เห็นด้วยในประเด็นที่มองว่าลูกชายมีส่วนผิดในการทำให้เกิดเหตุร้ายขึ้น เพราะในวันที่เกิดเหตุ เป็นการฝึกกระโดดร่มชุดแรก มีนักเรียนนายร้อยจำนวน 9 คน ลูกชายกระโดดเป็นคนที่ 4 ซึ่งเป็นคนแรกที่ลวดสลิงหลุด โดยครูฝึกก็ให้การเป็นพยานว่า หลังจากที่ลูกชายลวดสลิงหลุด ลูกชายเสียการทรงตัว เซไปชนครูฝึก ตนคิดว่าลูกชายไม่ได้กระโดดออกจากเครื่องบินในท่าปกติที่ฝึกมา ดังนั้นจะอุทธรณ์คดีต่อไป