xs
xsm
sm
md
lg

“หอยทาก” จากศัตรูตัวร้าย กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจแสนรัก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


นครนายกเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และสภาพภูมิอากาศ ทำให้มีหอยทากยักษ์แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว และกัดกินพืชผลทางการเกษตร สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ดังนั้น เพื่อควบคุมจำนวนหอยทากและนำเมือกหอยทากซึ่งมีคุณสมบัติบำรุงผิวพรรณ ชะลอวัย มาใช้ประโยชน์ นับเป็นการแก้ปัญหาได้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพยิ่ง ด้วยการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงหอยทาก “อาช่า” สนับสนุนและส่งเสริมโครงการโดยนักธุรกิจอาหารสุขภาพและออแกนิครีสอร์ทแห่งแรกของเอเซีย

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา วิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนหอยทาก อาช่า (Acha) จังหวัดนครนายก ดร.ประดิษฐ์ ยมานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก เป็นประธานในโครงการ “เกษตรเพื่อการท่องเที่ยว” โดยมี จ.ส.ต.สกล ทองคำ ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครนายก และนายนฤพล สังเกตุ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครนายก พร้อมนางไพรวัลย์ ศรีเทพ ผู้ช่วยฯ และ ดร.สว่าง ทองไพ นายกสมาคมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว นำคณะสมาคมสื่อมวลชนจากส่วนกลางและสมาชิกสมาคมฯ เข้าร่วมกิจกรรม FAM Trip สื่อท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ “ดีต่อกาย ดีต่อใจ ไม่ไกลกรุงเทพฯ”
พร้อมด้วยบริษัท เอเดนอินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ผลิต ส่งออกอาหารอินทรีย์ไปทั่วโลก และ เป็นผู้ประกอบการ ออแกนิค รีสอร์ทแห่งแรกในเอเชีย ภายใต้ชื่อ วิลล่า เอเดน จังหวัดนครนายก นายกฤตพง ภัทรธุวานัน กรรมการผู้จัดการฯ ได้นำผู้ร่วมกิจกรรม FAM Trip สื่อท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ “ดีต่อกาย ดีต่อใจ ไม่ไกลกรุงเทพฯ” เยี่ยมชม ออแกนิค รีสอร์ท แห่งแรกในเอเชีย, พิพิธภัณฑ์วิถีไทย และรับประทานอาหาร ออแกนิคหลากหลายเมนู และนำชมฟาร์มเลี้ยงหอยทาก 3 แห่งในเขตพื้นที่จังหวัดนครนายก ของชุมชน เพื่อสนับสนุนให้เป็นเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว ส่งเสริมสุขภาพ

โดยมีลักษณะการเลี้ยงหอยทากทั้ง 3 แห่งจะมีการเลี้ยงที่แตกต่างกัน คือ เลี้ยงแบบปลอกท่อซีเมนต์, เลี้ยงแบบกรงยกพื้น และปล่อยในโรงเรือน จัดสถานที่ให้อยู่อย่างธรรมชาติ จากการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรผู้เข้าร่วมโครงการนำไปปรับใช้วิธีการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมกับตนเอง ส่วนการให้อาหารความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความสะอาดของอาหารที่เน้นปลอดสารพิษ ต้องมีการล้างทำความสะอาดอย่างถูกต้อง
เกษตรบางท่านก็มีการเพาะถั่วงอกด้วยตนเองเพื่อให้ได้อาหารของหอยทากที่สะอาดปลอดภัยเพื่อความมั่นใจและให้ได้มาตรฐานที่ดี อาหารส่วนใหญ่จะเป็นผัก เช่น แตงกวา แฟง บวบ ฟักทอง ตำลึง ผักขม ใบหม่อน ผักกาด ฯลฯ จะให้อาหารวันละ 1 มื้อ เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป งดผลไม้ทุกชนิด

* เลี้ยงแบบปลอกท่อซีเมนต์ *

* เลี้ยงแบบกรงยกพื้น *

* ปล่อยในโรงเรือน *


* การเพาะถั่วงอกไว้เลี้ยงหอยทาก *

และสาธิตวิธีการเก็บเมือกหอยทาก โดยใช้น้ำพ่นไปที่หลังคอ (Mantle) ของหอยทากเพื่อให้ได้เมือกที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ ผู้เก็บเมือกต้องสวมถุงมือและใช้ผ้าปิดปากและสวมหมวกเก็บผมเพื่อที่จะเก็บเมือกที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดไม่มีสิ่งปนเปื้อนลงไปในเมือก หอกทาก 1 ตัว เพียงแค่ 1 ครั้ง หลังจากได้เมือกแล้วเก็บในขวดพลาสติก โดยใส่ถุง 2 ชั้นและใช้ถุงสวมด้านนอกอีกครั้งหนึ่ง เก็บไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น

หอยทากยักษ์ (Achatina fulica) เป็นสัตว์ดั้งเดิมของแอฟริกา ขยายพันธุ์ได้ดีในเขตร้อนชื้นเช่น ไทย อินเดีย อินโดนีเซีย แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว กัดกินพืชผลเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท/ปี เกษตรกรปลูกผักเตรียมขายถูกหอยทากกัดกินหมดทั้งแปลงเพียงข้ามคืนสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ดังนั้นเพื่อควบคุมจำนวนหอยทาก และใช้ประโยชน์จากการเก็บเมือก (Snail Filtrate) ซึ่งมีคุณสมบัติโดดเด่นต่อการบำรุงผิวพรรณ ชลอวัย โดยจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงหอยทากอาช่า สนับสนุนและส่งเสริมโครงการ โดยนักธุรกิจ อาหารสุขภาพ และออแกนิครีสอร์ทแห่งแรกของเอเซีย

นายกฤตพง ภัทรธุวานัน กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอเดนอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ซึ่งเป็นองค์กรรัฐ ที่มีความเชี่ยวชาญและเครื่องมือ ในการวิจัยและพัฒนาเซรั่มเมือกหอยทาก (Snail Filtrate Serum) ตามเส้นทางหอยทาก เริ่มตั้งแต่การเลี้ยงดูแลหอยทากให้สุขภาพดี ขั้นตอนการสปาหอยทาก เพื่อคลายเมือก การจัดเก็บรักษาเมือกหอย ตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น ก่อนนำส่งห้องทดลอง ถึงปลายทางเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ


นายกฤตพง ภัทรธุวานัน กรรมการผู้จัดการฯ กล่าวว่า โครงการเกษตรยั่งยืนด้วยการส่งเสริมเลี้ยงหอยทากนั้น ทางบริษัทเอเดนฯ มองว่าเป็นวิธีที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร เป็นการสร้างอาชีพอย่างยั่งยืนได้ ขณะที่บริษัทฯ ก็มีความพร้อมในการนำผลผลิตจากเมือกหอยทาก มาต่อยอดใช้ประโยชน์ให้มีคุณภาพระดับสากล ขณะที่หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ต่างบอกว่าการเลี้ยงหอยทากได้ตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนแล้ว ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยสนับสนุน
“ด้านจังหวัดนครนายกก็ได้นำวิสาหกิจหอยทากชุมชนเป็นยุทธศาสตร์ประจำจังหวัด ดังนั้นจะมีงบประมาณบางส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกษตรเข้ามาสนับสนุน ซึ่งเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเลี้ยงหอยทาก อาช่า ปัจจุบันทั้งหมด 72 ราย 73 ฟาร์ม โดยเมือกหอยทากสดๆ สามารถเก็บได้ต่อเดือนประมาณ 500 ลิตรโดยสามารถนำไปแปลงเป็นเซรั่มหอยทากค่อนข้างได้จำนวน ซึ่งตั้งเป้าไว้ก่อนสิ้นปี ขยายฟาร์มให้ได้ 80 ฟาร์ม”

ทางด้าน นายประดิษฐ์ ยมานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ได้กล่าวชื่มชมในความตั้งใจศึกษาค้นคว้าและวิจัย จนประสบความสำเร็จของบริษัทเอเดน ฯ ทำให้การเลี้ยงหอยทากเพื่อนำมาผลิต “เซรั่ม” มีผลเป็นรูปธรรมและสร้างรายได้ต่อเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครนายกตามเป้าหมาย ซึ่งปัจจุบัน นอกจากมีเกษตรกรทั่วไป เข้าร่วมโครงการแล้ว ยังมีกลุ่ม “กลุ่มกินอยู่พอเพียง เลี้ยงหอยทากสร้างรายได้” บ้านบางอ้อ อำเภอบ้านนา ภายใต้การการสนับสนุนจาก “โครงการ 9101” ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ที่เข้าร่วมโครงการนี้แล้วเช่นกัน
“ล่าสุด ทางเกษตรจังหวัดนครนายก ยังได้จดทะเบียนให้ผู้เลี้ยงหอยทากเป็นวิสาหกิจชุมชน ซึ่งถือเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่จะสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยืน และสร้างความอบอุ่นในครอบครัวและยังสร้างชื่อเสียงของจังหวัดในฐานะเมืองที่มีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ระดับโลกอย่าง จีน เกาหลี และฝรั่งเศส ทีเดียว”


นอกจากนี้ นายกฤตพง ภัทรธุวานัน กรรมการผู้จัดการฯ ยังได้่จัดแกลงข่าวเปิดตัวแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ “เซรั่มเมือกหอยทาก เอเดนสเนล” (ADEN SNAIL SERUM) โดยมี พรีเซนเตอร์ “ไฮโซเอย” ณัฐชนันท์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา แบรนด์แอมบาสเดอร์ และพรีเซนเตอร์ เป็นผู้แนะนำผลิตภัณฑ์

ซึ่งคุณสมบัติโดดเด่นของผลิตภัณฑ์คือสามารถบำรุงผิวพรรณ ที่มีความปลอดภัยไร้สารเคมีสังเคราะห์ เมือกหอยทาก อาช่า (Achatina) มีคุณสมบัติในทางยาและเครื่องสำอาง ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณเพื่อลดการอักเสบผิวหนัง เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยอาช่าจะมีมือนุ่มและลื่นมากจากการสัมผัสตัวหอยทากทุกวัน เมื่อมีบาดแผลที่มือจะหายอย่างรวดเร็วโดยไม่อักเสบ ส่วนประกอบของเมือกหอยทากอาช่าประกอบด้วยสารที่ช่วยเร่งการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวหนัง ช่วยสมานแผล ช่วยให้ผิวนุ่มเปล่งปลั่ง และมีสารปฏิชีวนะธรรมชาติช่วยต้านเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิด นักวิทยาศาสตร์ด้านเครื่อสำอางค์ต่างยืนยันกันว่าเมือกหอยทากและเซรั่มสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นผิวหนัง กระตุ้นการสร้างเซลใหม่ให้ผิวหนัง ซึ่งเป็นนัยสำคัญในการบำรุงผิวหนังให้เต่งตึง เปล่งปลั่ง

โดยบริษัทฯ ได้รับความร่วมมือจาก สำนักงาน กศน.นครนายก, คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. ซึ่งทั้งหมดเป็นองค์กรรัฐที่มีความเชี่ยวชาญและมีเครื่องมือ มีการวิจัยและพัฒนาเมือกผงหอยทาก แบบฟรีชดรายน์ ภายใต้โครงการ “เกษตรยั่งยืน นครนายก” เพื่อส่งเสริมอาชีพในชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย ให้มีความอยู่ดีกินดี ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 73 ฟาร์ม รวมกว่า 400 ครัวเรือนในพื้นที่ จังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี ซึ่งขึ้นชื่อว่า เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ป่าไม้และสภาพอากาศดี และมีโอโซนดีอันดับเจ็ดของโลก
เรื่อง / ภาพ : อรวรรณ เหม่นแหลม

กำลังโหลดความคิดเห็น