เมื่อวันที่ 27 ก.ย. รายการสภากาแฟ เวทีชาวบ้าน COFFEE TALK ได้รับเชิญแขกพิเศษ นายจเร พันธุ์เปรื่อง ท่านเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ท่านเป็นอดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมพูดคุยให้สัมภาษณ์ผ่านรายการถึงการเป็นข้าราชการ การทำงาน การรับผิดในตำแหน่งของตัวเรา ซื่อสัตย์กับการทำงาน และคนบางคนทำดีก็ทำได้ แต่ไม่ยอมทำ
ทั้งนี้ นายจเร พันธุ์เปรื่อง ได้นำคำสอนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้ในการทำงาน คือ “การเป็นข้าราชการเป็นการทำประโยชน์ ทำประโยชน์ให้ประชาชน ยิ่งกว่าการทำบุญใส่บาตร เพราะฉะนั้นถ้าเกิดไปเอา ไปโกงเงินของประชาชน มันยิ่งบาปขนาดไหน”
คำต่อคำกับการให้สัมภาษณ์ของนายจเร พันธุ์เปรื่อง ท่านเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ท่านเป็นอดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ยุทธิยง - สวัสดีครับท่านผู้ชมครับ วันนี้สภากาแฟเรามานอกสถานที่ เราเดินทางมาที่ กพ. ตั้งใจว่าวันนี้อยากให้ท่านผู้ชมได้รับรู้เรื่องราวดีดี เราจะพูดคุยกับข้าราชการที่ท่านรับราชการมาตลอดทั้งชีวิตเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ ก็คือท่านจเร พันธุ์เปรื่อง ท่านเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ท่านเป็นอดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เขียนถึงสัจธรรมชีวิตราชการเอาไว้วันนี้ เราอยากให้ท่านผู้ชมได้รับรู้บางอย่างที่อยู่ในหัวใจของท่าน ท่านมองสังคมอย่างไร มองชีวิตระบบราชการอย่างไร ท่านเห็นบ้านเมืองเป็นอย่างไร วันนี้เราจะคุยกันครับ สวัสดีครับท่านจเรครับที่ให้เกียรติสภากาแฟ ท่านจเรครับ คนดีอยู่ในสังคมนี้ยากนะ
จเร - ที่เขาบอกคนดีต้องมีที่ยืน ดูแล้วถ้าดีจริงยืนได้ทุกที่ ถ้าเกิดคนดีคือคนดีต้องมีอะไรดีอยู่ในตัวแล้วคนดีเป็นอย่างไรผมว่าทุกคนครับเป็นคนดี ในตัวของคนทุกคน มีทั้งดีและไม่ดีมันขึ้นอยู่กับว่าอันไหนมากกว่ากัน บางทีการที่แสดงออกมันจะแสดงให้เห็นว่าคนนี้ดีนะ เวลาเรามีเพื่อนบ้านมีเพื่อนร่วมงาน เราก็จะเห็นว่าเดินมาแว้บเดียว คบกันเดือนสองเดือน เออคนนี้ดีนะ ผมถึงบอกว่าถ้าเกิดว่าเป็นปุถุชนคนปกติ ท่านอยากคบคนดีหรือคนไม่ดีพอภาพมันออกมันเห็นแล้วว่าคนไม่ดีส่วนใหญ่ คนก็จะหนี เสื่อมตามกาลเวลา
ยุทธิยง - ครับ ท่านจเรครับ คนดีอยู่ได้ทุกสถานที่ แต่ถ้าไม่ดี เผลอแป๊บเดียว กาลเวลาผ่านไปไม่นานก็เสื่อม เสื่อมความนิยม
จเร - ก็ต้องไปมีความเป็นไป เป็นกฎของธรรมชาติ คือผมเชื่อเรื่องกรรมนะครับ กรรมนะมีจริง กรรมคือการกระทำ คนที่ทำดีจะเป็นที่ยอมรับและความดีนั้นก็จะปรากฎอยู่เรื่อยไป แต่เกิดคนทำกรรมไม่ดีกรรมชั่วมันก็ต้องรับกรรมเหมือนกันไอ้ผลมันจะออกมา บางคนอาจช้าไม่ทันใจไม่อะไรต่ออะไรทั้งนั้น มันมีหลายอย่างบางทีคนนั้นอาจดีมากไม่ดีมาก ผลดีมันอาจปรากฎเร็วผลไม่ดีมันอาจช้านิดครับ ต้องอดทน
ยุทธิยง - เราพูดถึงชีวิตราชการย่อมข้องเกี่ยวกับการเมืองการแกครองของประเทศ ท่านเองท่านจเรผ่านมาหลายระบบทั้งประชาธิปไตย ทั้งรัฐประหารก็ผ่านแล้ว วางตัวยากไหม
จเร - คืออย่างนี้การรับราชการของผมนะ ยึดมั่นอยู่ 2 เรื่อง เรื่องแรกเราจะตั้งใจมาแต่แรกว่าเห้ยต้องสื่อสัตย์นะ การรับราชการต้องซื่อสัตย์ 2.ต้องซื่อสัตย์ 3.อดทน ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน มันนำไปสู่การเป็นราชการที่ดีได้เรื่องที่ 2
ยุทธิยง - วิ่งเต้นซื้อตำแหน่งงานการไม่ทำ หาประโยชน์
จเร - ไม่ใช่ ไม่ได้ เรื่องที่ 2.ที่ยึดไว้เป็นแนวทางปฏิบัติและบอกเพื่อนข้าราชการที่สภาตลอด การเมืองเหมือนไฟถ้าไปอยู่ใกล้มากไหม้ ถ้าเกิดอยู่ไกลเกินไปหนาวแข็งตาย เพราะฉะนั้นคุณต้องรักษาระยะห่างให้ดีให้รู้ว่าอันไหนเป็นการเมืองเป็นเรื่องของเขา ก็เรื่องของเขาไม่เกี่ยวกับเรา ถ้าอันไหนเป็นเรื่องราชการ เรื่องสำนักงาน เรื่องของสภา เรื่องในที่ประชุมต้องดำเนินการ เป็นเรื่องของเรา เราเข้าไปให้คำแนะนำชี้แจงอธิบายให้ได้ทุกเรื่อง แต่ถ้าเกิดเราไปยุ่งในเรื่องของพรรค ของการเมืองใครทำอะไรที่ไหนในเรื่องของการเมืองอะไรต่ออะไรซึ่งเป็นเรื่องของเขาเท่ากับเราก้าวก่ายในสิ่งที่ไม่อันควร
ยุทธิยง - เข้าใกล้ไฟ
จเร - เข้าใกล้ไฟนะครับ ครับ ในสิ่งพวกนี้ก็พยายามยึดมาตลอด พยายามจะสอนน้องๆ ที่สำคัญคือความซื่อสัตย์คนที่ซื่อสัตย์ถึงแม้จะไม่ค่อยฉาดอย่าว่าโง่นะครับ คือไม่ค่อยฉลาดการศึกษาอาจน้อยแต่ถ้าเกิดเขาเป็นคนขยันเป็นคนที่อดทนมันสามารถสอนได้ส่งไปเรียนเพิ่มได้พัฒนาได้ ขยันตั้งใจทำงานไม่ย่อท้อนะครับ บางคนไม่อดทนเลยคือเรียนมาสูงเกียรตินิยมพอถึงเจอปัญหาไม่เอาละ เลิก ถอย ไม่อดทนเพราะฉะนั้นคนที่ซื่อสัตย์ขยันอดทนเป็นคนที่สามารถพัฒนาให้เป็นข้าราชการที่ดีได้ ถ้าเกิดว่าในส่วนราชการใดมีคนแบบนี้เยอะๆ รับรองจะไม่มีปัญหาทั้งในเรื่องการบริหารวิธีการงบประมาณในเรื่องของการพัฒนาเกี่ยวกับอะไรทั้งหลายจะส่งผลให้เกิดประโยชน์กับประชาชนกับประเทศชาติ
ยุทธิยง - ท่านจเรครับในบางยุคบางสมัยประชาชนเฝ้ามองระบบราชการก็ท้อถอยเหมือนกัน คือให้กำลังใจแต่พอมาเห็นระบบคนเขาก็พูดกันเปรยๆ ว่าทำดีไม่ได้ดีทำชั่วได้ดีทั้งเงินและอำนาจคิดไปอย่างนั้น
จเร - ถึงบอกว่าถ้าเกิดว่าคนที่ไม่ซื่อสัตย์เข้ามารับราชการ วิ่งเต้นตั้งแต่ก่อนเข้า พอเข้ามนในบ้านเมืองในอะไรต่ออะไรทั้งหลายยังวิ่งเต้นต่อเอาตำแหน่ง เอาอะไรไปสนองผู้มีอำนาจอะไรต่ออะไรทั้งหลายถูกไหมครับ อะไรต่ออะไรได้ทุกอย่าง กลายเป็นคนเก่งของสังคมอะไรต่ออะไรทั้งหลายในสิ่งพวกนี้เราต้องค่อยๆ พิจารณาดูในการดำเนินการทั้งหลายข้าราชการทั้งหลายเป็นตัวจักรสำคัญ ถามว่าเรื่องหลายๆ เรื่องที่มันมีปัญหากันในบ้านเมืองในอะไรต่ออะไรทั้งหลายจริงๆ มันเริ่มต้นจากข้าราชการ
ยุทธิยง - เป็นคนตั้งเรื่องตั้งชงเอกสารซ่อนเอกสารหรือตั้งเรื่องซึ่งกฎเกณฑ์เขามีอยู่แล้ว
จเร - ครับแต่ถามว่าข้าราชการพวกนี้มีเยอะไหม ไม่เยอะหรอกครับ ข้าราชการดีดีมีเยอะกว่าไม่งั้นสังคมมันอยู่ไม่ได้ มันก็มีการคอยดูแลคอยตรวจสอบคอยอะไรต่ออะไร รัฐเองพยายามจ้างระบบตรวจสอบ กลไกของรัฐเองพยายามสร้างอะไรต่ออะไร ไปค้นในระบบมันไม่ให้ความร่วมมือ คือตัวข้าราชการเองตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐเองไม่ได้ให้ความร่วมมือให้มันเป็นไปตามระบบกลไกของการตรวจสอบก็เท่านั้นและ
ยุทธิยง - ตรวจสอบไปก็ไม่เจอ ขอเรื่องไป ป.ป.ช.ขอเรื่องไป หน่วยงานขอเรื่องไป ขอเรื่องไป 10 ปี ก็ได้กระดาษไม่กี่แผ่นกลับมา
จเร - เพราะคนที่มีอำนาจอยู่มันเป็นพวกเดียวกันก็หมดท่าใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้นต้องมาดูว่าทำอย่างไรให้ข้าราชการมีจิตสำนึกที่ดี
ยุทธิยง - ครับท่านจเรครับบ้านเมืองเข้าสู่สังคมแห่งการปฏิรูปสังคมมีการเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปทางสังคมในระบบราชการการเมือง แต่พอยู่มาสักระยะหนึ่ง สังคมเริมตั้งคำถามทำไมข้าราชการดีดี ถูกย้ายเยอะจัง
จเร - มันต้องดูว่านิยามคำว่าข้าราชการดีมันเป็นใครเป็นคนนิยามคนที่จะพิจารณาว่าดีหรือไม่ดีที่ผมบอกว่าไม่ว่าใครก็ตามมันมีการใส่สีตีไข่กัน กว่าที่เขาจะอธิบายได้ ถ้าเกิดเขาสามารถอธิบายได้ เออ มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ที่ดรควรเป็นอ่างนั้นอย่างนี้ เขาทำอย่างนี้มันดีนะ ถ้าอธิบายได้เร็วมันก็จบเร็ว ถ้าเกิดว่าอธิบายได้ช้าถ้าไม่สามารถอธิบายให้คนที่มีอำนาจเข้าใจได้มันก็อาจช้า แต่ในที่สุดแล้วผลพอมาปรากฏมันไปแล้ว
ยุทธิยง - วันเวลาผ่านเลยไปแล้ว คนที่ทำอำนาจสั่งการทำอะไรผิดพลาดไปหรือไหม
จเร - มันไม่ได้มีปัญหาแค่นั้นคือคนที่เวลามีอำนาจต้องดุหลายๆ อย่าง ประกอบกันมีประสิทธิภาพไหม มันไม่ใช่ดูว่าถูกหรือผิดมันมีเรื่องอื่นมีองค์ประกอบอย่างอื่นนะครับว่าถ้าเกิดเอาคนนี้มาแทนมันอาจแทนที่จะได้ 80 มันอาจได้ 100 ถูกไหมครับ แต่ถ้าเกิดสมมุติว่ามีการทุจริตก็อีกเรื่องหนึ่งแต่บางทีมันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการทุจริตมันก็แล้วแต่อาจจะดูเรื่องประสิทธิภาพสมัยก่อนที่เขารู้เรื่องการการสนองนโยบายใช่ไหมครับ ว่าย้ายหลบอะไรต่ออะไรอาจจะเป็นแบบนั้น
ยุทธิยง - ข้าราชการท่านนี้ยืนยันว่าเรื่องนี้ผ่านไม่ได้เห็นผลที่ผ่านไม่ได้คือรัฐจะเสียประโยชน์
จเร - อะไรก็ว่าไป ทีนี้มันอาจจะดูในภาพรวมถ้าเกิดย้ายแล้วมีประสิทธิภาพมากกว่าถ้าเกิดคนอื่นมาได้ทั้งประโยชน์รัฐได้ทั้งผลงานมีประสิทธิภาพมันก็อีกเรื่องหนึ่งก็แล้วแต่ คือข้อเท็จจริงที่มันปรากฎกับเราบางทีมันก็เกิดข้อเท็จจริงไม่ถึง 20 % คงการแผนงานทั้งหลายไม่มีโปรแกรมเลยเข้าไปในเครื่องว่าโครงการแผนงานนี้มันต้องทำอะไร จะจัดซื้อจัดจ้างทำเมื่อไหร่กระบวนการมี 1 2 3 อย่างไรใครต้องทำอะไรบ้างอยู่ในโปรแกรมนี้หมด พอใครทำอะไรก็ผิดปกติปุ๊บมีเครื่องเตือน แว้บๆ มา
ยุทธิยง - เหมือนธนาคารที่สั่งระบบเอาไว้ เอาเบิกงบประมาณหลวงบอกว่ากี่ปีต้องสร้างเสร็จ ใครเบิก ใครเป็นคนก่อสร้าง เอามาให้สังคมได้เห็น สร้างหรือยัง
จเร - อันนี้ผมไม่ทราบ ถ้าเกิดมันมีระบบอะไรแบบนี้มันก็สามารถตรวจสอบ ว่ามันเป็นอย่างไรผิดปกติไหม
จเร - ใครทำอะไรก็ใส่ลงไป
ยุทธิยง - เข้าไปในโปรแกรมเห็นเลย สื่อมวลชน ประชาชนเห็นเลย
จเร - ไปทำอะไรก็ต้องใส่เข้าไปเข้าไปในโปรแกรมนี้เลย สมมุติว่าสัญญาจ้างเวลาเท่านี้นะ ถึงเวลาเท่านี้นะ ได้เท่าไหร่เวลาเท่านี้ได้เท่าไหร่เบิกเงินเวลาเท่าไหร่คุ้มไหม
ยุทธิยง - ใครเป็นคนทำ
จเร - ใครเป็นคนทำ ซึ่งมันไม่ยาก
ยุทธิยง - ออกแบบได้ ออกแบบโปรแกรม
จเร - ออกแบบได้
ยุทธิยง - และมีการออกพระราชบัญญัติหรือระเบียบวินัยสำนักนายกฯ ให้ทุกโครงการทำแบบนี้
จเร - ก็เดี๋ยวนี้เวลาจะมีสอบสวนว่ายังไงๆ กรรมการก็ยังขอเอกสารสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ทีโออาร์ อะไรต่อมิอะไร ต้นสังกัดที่หน่วยงาน กว่าจะส่งมาบางทีก็หาไม่เจอ
ยุทธิยง - 10 ปี ผ่านไป
จเร - ก็ยังmanual ก็ยังหาไม่เจอ ไม่ทำ
ยุทธิยง - ทำยากหรอครับๆ การทำแบบนี้ เพราะเรื่องยากๆ มันทำมาแล้ว แต่เรื่องแบบนี้มันทำยาก
จเร - พอดีผมไม่ได้จบวิศวะไอซีที ถ้าผมจบวิศวะ ผมทำให้ฟรีเลย
ยุทธิยง - ครับๆ ท่านจเรครับ ชีวิตของการเป็นข้าราชการ ความอดทนก็สูง น้อยใจโชคชะตาไหม
จเร - ไม่มี
ยุทธิยง - ไม่มี
จเร - ผมได้มาอยู่ที่สภา ผมได้เป็นข้าราชการสภาที่เข้ามาในรุ่นเดียว แล้วผมถูกย้ายด่วน ไม่รู้ว่าอาจจะเป็นปาก ความขัดแย้งภายใน อะไรต่ออะไรทั้งหลาย แล้วผมย้ายไปถูกย้ายไป ผมได้ขึ้นที่ใหม่อยู่ดี คนมันต้องพิสูจน์กว่า คนเรามีอิทธิฤทธิ์ เราไม่จำเป็นต้องมีปลอกคอ
ยุทธิยง - บุญมีฤทธิ์ กุศลมีฤทธิ์ พระท่านว่าอย่างงั้น
จเร - พระท่านว่า ผมไม่ได้ตกอกตกใจอะไรนะ ในการถูกย้าย ถูกอะไรต่อมิอะไร รวมถึงไอ้ย้ายมาอยู่ที่นี่ ผมก็ไม่ได้อะไร เฉยๆ
ยุทธิยง - ถือว่าที่นี่เป็นห้องทำงานไหมครับ
จเร - ก็เป็นห้องทำงาน
ยุทธิยง - ห้องทำงานนะครับ ได้เห็นว่าย้ายท่านมาแล้ว งานมีไหม แฟ้มมีไหม ก็อยากรู้เมื่อกัน ให้สังคมได้เห็นว่าย้ายงานมาแล้ว
จเร - ตอนนี้ส่งโครงการเสร็จหมดแล้ว เสร็จหมดแล้ว
ยุทธิยง - ผมอยู่ภายนอกก็ทำสื่อมวลชน วิชาชีพกับสื่อมวลชน ได้เห็นข้าราชการทำงาน ข้าราชการที่ดีๆ ก็จะต้องอดทนสูงมากนะครับ บางครั้งก็แอบเป็นกำลังใจ หลายท่านเกษียณปั๊ป เขียนโน้ตมาถึงสถานีก็มีครับท่านจเร บางกระทรวง กระทรวงที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก มันจำแม่นเลย เราก็ตั้งคำถามว่าประเทศของเรามั่งคั่ง ฝนดี แดดดี ทำไมประชาชน ถึงยากจน นะครับ ตั้งคำถามอยู่บ่อย ข้าราชการที่เกษียนเขียนว่าความยากจนของประเทศคือลาภอันประเสริฐของข้าราชการหรือการเมืองเลว
จเร - ข้าราชการหรือการเมืองเลว
ยุทธิยง - ไม่ใช่ผมพูดนะครับ ผมมีประสบการณ์ข้าราชการพูดให้ฟัง
จเร - มันเป็นความไม่ต่อเนื่องของระบบราชการ คืออย่างนี้ครับว่าหน่วยงานไหนที่มีการสานต่อแผนงานโครงการ หรือแผนงานนโยบายในส่วนนี้ทั้งหลาย สานต่อกันได้ระหว่างผู้บริหารยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่งได้ ในหน่วยงานนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อเนื่อง ใช่ไหมครับ แต่ถ้าเปลี่ยนที่สมัยเดิมๆ เรียกว่าเปลี่ยนขั้ว
ยุทธิยง - เปลี่ยนขั้ว
จเร - เปลี่ยนขั้ว พอเปลี่ยนมาปุ๊บ คือผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะข้าราชการหรือว่าเป็นนิสัยของคนไทย ที่ไม่ยอมรับสิ่งดีๆ ของคนอื่น คือใจแคบ อะไรที่ดีก็ทำต่อไป ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย ใช่ไหมครับ
ยุทธิยง - หรือว่าหาประโยชน์ก่อน
จเร - อันนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง
ยุทธิยง - นโยบายบางนโยบาย ไม่สนองตอบต่อระบบการเงินที่มันใช้เงินไม่
จเร - มันหลายเรื่อง คืออาจจะเป็นเพระาว่าความเจริญของวัตถุดิบ อย่างสมัยก่อน ผมทำโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติอะไรต่ออะไร เราขายหมวก ขายเสื้อเพื่อที่จะ เพื่อที่จะให้ได้เงินมา เพื่อเอาไป
ยุทธิยง - เอาไปปลูก
จเร - เอาไปทำงาน ใช่ไหมครับ ไปเป็นค่าอะไรต่ออะไรทั้งหลาย รวมถึงเอาไปให้เขาทำนุบำรุง แต่สมัยใหม่มีการตั้งงบประมาณ ไป ใช้งบประมาณไปปลูก เกณฑ์เอาคนไปหาอาสาเหมือนกับว่าจะไปร่วมมือกันปลูก คือ ไม่ ไปเที่ยวแล้วถึงเวลาไปเที่ยว ไปกินอาหารต่างจังหวัด ไปอะไรต่ออะไร เขาเรียกว่าอะไรนะ กินหรู อยู่ฟรี อะไรอย่างนี้ก็ไป กะว่ามันได้อะไร มันไม่ได้อะไร สร้างจิตสำนึกอะไรเลย เรานี่พยายาม
ยุทธิยง - นี่ถือเป็นประเพณีที่เลวร้าย ที่ยังมีอยู่
จเร - ใช่ ผมถึงบอกว่าทำยังไงก็ได้ เพื่อที่ให้เขาออกคนละ 5 บาท 10 บาท อะไรอย่างนี้นะ เพื่อให้เขาได้เป็นเจ้าของต้นไม้ ผมเคยไปปลูกแถวปราจีนฯ พอถึงเวลาเราขับรถผ่านไป เรามองไปมีต้นไม้ของเราโตไหม ใช่ไหมครับ ในสิ่งนี้เราต้องสร้างจิตสำนึก แต่ในระบบสมัยใหม่ ราชการสมัยใหม่ อาจจะเป็นฉุกละหุกอะไรไปหมด ไอ้นู้นก็เร่ง ไอ้นี้ก็เร่ง
ยุทธิยง - ไอ้นี่ก็เร่ง ไอ้นั้นก็ดวล ทำกันแบบดวลๆ
จเร - มันก็ไม่รู้ มันก็เลยไปเรื่อย ไอ้นู้นก็พลาด ไอ้นี่ก็พลาด
ยุทธิยง - ผมชอบในไอเดียของท่านจเรนะครับ ก่อนหน้านี้เรื่องราวของการปลูกต้นไม้ เราใช้หัวใจ เรี่ยรายกันเอามาคนละ 5 บาท 10 บาท การประหยัดของเอง ลูกของเอง ช่วยกัน ทุกวันนี้ปลูกป่าต้องเบิกงบประมาณหลวง บ้านเมืองมาถึงขั้นนี้ ซึ่งมันสะท้อนหลายอย่าง
จเร - สะท้อน
ยุทธิยง - สะท้อนภาพของคนในชาติ สะท้อนสำนึกที่มันออกแบบกันมาแบบนี้ได้ยังไง
จเร - คนไทยมันติดสบาย แล้วไม่อยากฟัง
ยุทธิยง - ไม่อยากฟัง เป็นสะอย่างงั้น ท่านครับกลับมาเราได้เห็นนะครับว่า สิ่งที่ท่านนั้นพูดออกมาได้น่าคิดนะครับ บอกว่า การเป็นข้าราชการที่ดีจะไม่ยอม จะไม่ยอมกับการทุจริตหรือทำในสิ่งที่ระเบียบเขาห้ามไว้ แล้วรัฐเสียประโยชน์ ท่านก็ไม่ยอม
จเร - มันเป็นเรื่องปกติของคนเป็นข้าราชการ ในหลวงองค์ รัชกาลที่ ๙ ท่านสอนว่าการเป็นข้าราชการเป็นการทำประโยชน์ถูกไหมครับ ทำประโยชน์ให้ประชาชน ยิ่งกว่าการทำบุญใส่บาตร ใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดไปเอา ไปโกงเงินของประชาชน มันยิ่งบาปขนาดไหน
ยุทธิยง - บาป โกงเงินเขา บั่นทอนชาติ ถือว่าบั่นทอนไหมครับ
จเร - มีสมัยก่อนที่มีการอภิปรายยุติในสภา อะไรต่ออะไรทั้งหลาย เปรียบเสมือนแผนงาน โครงการอะไรทั้งหลายที่ทำกันต่างจังหวัดในเชิงของชนบท เหมือนไอติมแท่ง เสร็จกว่าจะไปถึงท้องถิ่น ตำบล หมู่บ้าน ก็เหลือแต่ไม้ไอติม เลียกันไปคนละผับ สองผับหมด อะไรอย่างนี้ ถามว่าปัญหามันได้รับการแก้ไข
ยุทธิยง - มันน่าจะได้รับการแก้ไข
จเร - มันคงแก้ไขได้บ้าง
ยุทธิยง - พูดกันตั้งแต่สมัยผมเรียนอยู่มหาลัยครับ ท่านจเร วันนี้ก็มาเป็นสื่อมวลชนยาวนาน
จเร - ผมก็ว่าแก้ไขได้บ้าง คิดวิธีตรวจสอบ วิธีอะไรต่ออะไรต่างๆ มันทำให้เห็นว่าไอ้ระบบกฎหมายบ้านเรา ไอ้การที่บังคับการใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ มันทำให้มีกฎหมายอะไรให้เอามาแก้ไขปัญหาได้ แล้วมันก็เลยกลายเป็นว่าบ้านเรากฎหมายเยอะแยะไปหมด ถามว่าถ้าเกิดในประเทศนี้มีคนดี มันต้องมีกฎหมายไหม
ยุทธิยง - ไม่มี หลักปรัชญาของการปกครองไม่สร้างซับซ้อน
จเร - ใช่ไหมครับ แต่ถ้าเกิดแค่ประมวลกฎหมายแพ่ง ประมวลกฎหมายอาญา จริงๆ มันเป็นพื้นฐานของชีวิตของคนอยู่แล้ว มันพอไหม จริงๆ มันพอนะ ใช่ไหมครับ ตอนนี้กฎหมายปราบปรามทุจริต กฎหมายอะไรต่ออะไร กฎหมายตรวจดงินแผ่นดิน อะไรต่ออะไรทั้งหลาย ผมว่าไอ้คนพวกนี้เป็นกฎหมายฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็นนะ แต่มีเงื่อนไขว่าคนต้องเป็นคนดี ระบบราชการมันต้องดี ในสิ่งพวกนี้ต่างหาก ไอ้ระบบราชการเองไปสนับสนุน ในสิ่งที่เลอะเทอะขึ้นมา
ยุทธิยง - การยืนหยัดครับ การยืนหยัดเพื่อที่จะรักษาความดีไว้ ให้มั่นคงให้ได้ มันยากนะครับ ชีวิต
จเร - มันอยู่ที่คน คือถ้าเราคิดว่ามาตรฐานเราเป็นแบบนี้ เราก็เป็นแบบนี้
ยุทธิยง - พ่อแม่สอนมาเป็นแบบนั้น
จเร - แล้วผมทำให้เป็นตัวอย่างคือคน ผมพยายามบอกผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอ คนบางคนต้องทำให้ดี เขาถึงทำได้ คนบางคนต้องจับมือเขียน เด็กบางคนต้องจับมือเขียนถึงจะเขียนหนังสือได้ ต้องทำให้ดู คนบางคนบอกเข้าใจ บางคนต้องบอกแล้วอธิบายด้วย บางคนไม่ต้องบอกอะไรเลย ทำเองได้ ใช่ไหมครับ ไอ้จริยธรรม คุณธรรม เหมือนกัน บางคนมีมาแต่บ้านแล้ว มาเป็นข้าราชการ มีจิตสำนึกพ่อแม่เขาสอนมาตั้งแต่เล็กๆ เขารู้ตั้งแต่แรกแล้วอันไหนดี อันไหนไม่ดี แล้วครอบครัวเขาพร้อมหมดเลย ไม่ต้องไขว่คว้าอะไรมากมาย ใช่ไหม ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำงาน พวกนี้อยากจะให้มีเยอะๆ แต่บางคนเข้ามาอาจจะไม่พร้อมสักเท่าไหร่ ก็มาสอนกัน อธิบายกัน ให้เข้าใจ ก็โอเคแล้ว แต่บางคนสอนอธิบายยังไงก็ไม่ฟัง
ยุทธิยง - มาแสวงหาความมั่งคั่ง จากส่วนเกินกัน
จเร - ใช่ๆ ไอ้พวกนี้มันไม่ฟังกัน วิธีการของผมก็มีการทำให้ดู ทุกโครงการมัน็เข้าไปอธิบายว่าทำเป็นอย่างนี้นะอย่างนี้นะ ผมก็พยายามพฤติให้เห็นว่าเราเป็นอย่างนี้นะ จะสร้างทำกิจกรรมอะไรต่ออะไรผมก็เอาเงินส่วนตัวมาออกก่อน ก็ไม่มีปัญหานะครับ
ยุทธิยง - ครับ เดี๋ยวเราสักครู่ก่อนนะครับ