จากเด็กบ้านแตก ตุหรัดตุเหร่เซซัดกับคืนวันอันอัตคัดของคนเร่ร่อน ขโมยอาหาร ขอข้าววัด ถูกหลอกเป็นเด็กเดินยา ก่อนฟ้าที่เคยปิดจะแง้มเปิดราวกับจะหยั่งเชิงวิสัยทัศน์ในตัวและโอกาสในการสร้างด้วยตัวเอง
ในแวดวงการศึกษา อาจจะรู้จักเขาในนามครูอาจารย์
ในแวดวงสังคม เขาคือ “ป๊อด” คนหนุ่มที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศ
และล่าสุด เรื่องราวของเขาได้ถูกนำไปสร้างเป็นหนังสั้นชิงรางวัลภาพยนตร์โลก
“ดร.กุลชาติ จุลเพ็ญ” อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
บทแรกของนิยายชีวิต
เปิดฉากไอ้ป๊อดปรอทแตกชุมพร
“มันเป็นทางรอด ทางอยู่ของเรา ทุกวันนี้ผมมองย้อนอดีตไปตลอดว่าเราผิดพลาดอะไรบ้าง มีอะไรที่เราไม่เข้าใจมาบ้าง จนตอบโจทย์เราหมด ผมเรียนรู้ชีวิตตัวเองทั้งหมดจากอดีต ด้วยเหตุและผล เลยเข้าใจหมดทุกอย่าง”
“ป๊อด” หรือ “กุลชาติ จุลเพ็ญ” เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ก็เหมือนจะเป็นเด็กทั่วๆ ไป เติบโตท่ามกลางครอบครัวที่แม้ไม่ร่ำรวยผนังหลังคาจั่วคอนกรีต หากแต่ว่าฝาไม้ขนาดฝ่ามือตะปุ่มตะป่ำที่ล้อมรอบครอบครัวซึ่งประกอบไปด้วยพ่อ แม่ พี่สาว ก็ให้ความอบอุ่นแก่เขายามลมหนาวแทรกลอดรูบ้าน หรือไอเย็นของเม็ดฝนที่ตกชุกแทบทั้งปี
ทุกคนต่างดูแลกันและกัน และช่วยกันสรรค์สร้างปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ
กระทั่งเขาอายุได้ 6 ขวบ ในวันวัยที่กำลังเรียนรู้ ครอบครัวก็มีอันร่วงลา
“พ่อแม่แยกทางกัน ทำให้ทุกคนไปคนละทิศคนละทาง เหลือผมคนเดียวที่รอว่าใครกลับมา
“ชีวิตอิสรเสรีอย่างที่เด็กๆ ในช่วงวัยเหล่านั้นน่าจะชื่นชอบ” ดร.หนุ่มแซมยิ้มเบาๆ ถึงชีวิตไร้เดียงสาที่ยังไม่ผ่านโลก
“ตอนนั้นอยู่กับแม่ แม่บังคับให้เราไปเรียนหนังสือ ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องไปเรียน ตื่นได้แล้ว ไปโรงเรียนได้แล้ว ทำการบ้านหรือยัง เข้านอนหรือยัง คือทุกอย่างแม่วางกฎเกณฑ์ให้เราหมด แต่พอวันหนึ่งที่ไม่มีพ่อแม่มาคอยเคี่ยวเข็ญ พอวันหนึ่งที่พวกท่านไม่อยู่แล้ว ในวัยแค่เด็กตอนนั้น ผมรู้สึกอิสระแล้ว หลุดจากกรอบนั้นมาแล้ว
“แต่เราไม่มีอะไรกิน ปรากฏว่าชีวิตผมตอนนั้นเป็นเด็กเร่ร่อนเลย ทำงานไม่เป็น ช่วยเหลือตัวเองยังไม่ได้ ฉะนั้นจะหาอาหารใส่ท้องก็ไม่มี ก่อนหน้านั้น พ่อแม่วางรอไว้ให้เรา แต่วันนี้ไม่มีใครทำไว้ให้เรา ผมก็ต้องไปหาไปขอข้าวเขากินจากแม่ค้า ซึ่งแม่ค้าก็ให้กิน แต่ต้องทำงานแลก เราก็ไม่รู้ว่างานคืออะไร และกินข้าวต้องทำงานแลกเหรอ เราทำงานไม่เป็นเพราะพ่อแม่ไม่เคยสอนให้ทำ ก็ตอบว่าไม่ทำ ด้วยสุจริตใจ เขาก็มองว่าเลี้ยงเสียข้าวสุก ไม่รู้จักบุญคุณ เขาก็เลยไล่ตะเพิดว่า ทีหลังไม่ต้องมาขอข้าวเขากินอีก ถ้าไม่ยอมทำงาน ทีนี้เมื่อขอไม่ได้ ก็ไปแย่งข้าวลูกค้ากินในร้าน แม่ค้าเห็นก็ไล่ตะเพิดไปอีก เพราะกลัวว่าเราหนักข้อขึ้น จะขโมยของในร้านเขากิน ก็เลยต้องไปขอทาน ขอเงินไปซื้อข้าวกิน”
เดินยกมือไหว้ปลกๆ ไม่ได้ก็ยืนกดดัน จนเป็นที่หน้ารำคาญ ทั้ง บขส.จังหวัดชุมพร ณ ขณะนั้น
“ก็โดนไล่อีก เพราะขอบ่อย นายท่ารถเขาเลยไล่ตะเพิดอออกไปอีก ก็ต้องไปอยู่กับเพื่อนมากขึ้น ลูกแม่ค้าที่อยู่ใน บขส. ด้วยกัน ชวนกันโดดเรียน ชีวิตโดดเรียนมันก็อยู่ในสายตาคนทั่วไปไม่ได้ ก็เลยต้องไปอยู่ตามร้านเกม ไปหลบนั่งเล่นเกม ครบสูตรเด็กเกเร ปรากฏว่าคนเขาเห็น เขาก็สังเกตว่าทำไมไม่ไปโรงเรียน เขาก็มาทลายร้านเกม ผมก็เป็นตัวซวยอีก ร้านห้ามเข้าอีก”
ไม่ตายก็เหมือนตายทั้งเป็น เมื่อความหิวไม่ปรานีปราศรัย พูดคุยเจรจาด้วยเหตุและผลให้เข้าใจไม่ได้ หนทางที่พึ่งสุดท้ายจึงไม่ต่างไปจากจุดหมายสุดท้ายปลายทางของคนสิ้นลมหายใจในวาระโลกนี้ นั่นก็คือ “วัด”
“ก็ไปอยู่วัด จริงๆ ก่อนอยู่วัด ไปขโมยก่อน เพราะหิว ไปขโมยตามร้านขายของชำ เขาก็จับได้ส่งให้ตำรวจ เขาก็ถามทำไมทำอย่างนี้ พ่อแม่ไปไหน นั่นน่ะสิ พ่อแม่ไปไหน เขาก็ตะลึง เขาก็บอกว่าอย่าทำอย่างนี้อีกนะ เดี๋ยวให้ไปอยู่ในคุก ผมก็บอกว่าดีซิครับ ผมจะได้มีข้าวกิน ตำรวจก็สตันท์ไปอีก พูดเพราะเด็กจริงๆ ไม่มีความรับรู้ คือไม่รู้คุกเป็นอย่างไร แต่คิดว่ายังไงก็ดีกว่าข้างนอกตอนนี้แน่นอน ตำรวจเขาก็จับไปขังในคุก 1 วัน ชั่วโมงแรกๆ ก็สนุกดี หลังๆ ไม่สนุกแล้ว อิสระที่เรามีมันหายไป ก็ขอโทษขอโพย จะไม่เอาอีกแล้วครับ เขาก็ดัดนิสัยถึงเย็นแล้วถึงปล่อย”
ครั้นอยู่วัด บารมีร่มโพธิ์พุทธศาสนาก็มิอาจจะปรับแก้พฤติการณ์ในเวลานั้นให้หายได้เป็นปลิดทิ้ง ชีวิตยังคงดำเนินไปตามแบบแผนที่ห่างไกลจากแสงสว่างสีขาว
“เพราะเราทำอะไรไม่เป็น อย่างที่บอก ไม่ได้ตังใจกลับตัวเป็นคนดี ไปขอข้าววัดกิน ไปขอจริงๆ หลวงพ่อให้ช่วยทำอะไรก็ไม่ทำ เก็บขยะ กวาดลานวัด กวาดใบไม้ ไม่ทำ เราไม่เคยถูกสอนเลย หลวงพ่อก็นิ่งไม่ว่าอะไร พอวันรุ่งขึ้น ผมกับเพื่อนเดินไปหาหลวงพ่อ หลวงพ่อยืนถือบาตรหน้ากุฏิ ยังคิดในใจ หลวงพ่อรู้งานนะวันนี้ แต่พอเดินไปถึงท่านอีก 3 ก้าว ท่านเทข้าวให้หมากิน แล้วก็พูดกับหมาว่า หมานี่นะให้ข้าวกินยังรู้จักฟัง ไม่เหมือนคน พูดเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักฟัง”
“ในเวลานั้นได้แต่อึ้ง”
ดร.หนุ่มเผยความรู้สึกที่ไร้ซึ่งอารมณ์โกรธแค้นแต่อย่างใด เพราะด้วยเบื้องลึกจิตใจหาได้เป็นคนไม่รู้คุณคน เพียงแต่วันวัยและการเติบโตทำไม่เข้าใจในสาส์นที่คนปกติทั่วไปสื่อสาร
“หลวงพ่อคุยกับหมา ไม่คุยกับเรา เราก็เฉยๆ เพราะเราเข้าใจว่าหมาคงหิวเหมือนที่เราหิว ทีนี้พอไม่มีข้าวกินก็เลยไปแย่งข้าวเจ้าที่กิน ตามใต้ต้นโพธิ์ต้นไทร ไปยกมือไหว้ลากิน หลังจากนั้นเดินสายไปตามบ้าน ถ้าวันไหนวันพระก็อย่างกับบุฟเฟต์
“กลางคืนเราก็ออกมาเร่ร่อน ก็บังเอิญไปเจอคน คนเขาก็เรียกไอ้หนูๆ อยากได้เงินกินขนมไหม เราไม่มีเงิน หิว ก็อยากได้ เขาใช้ให้ทำอะไรก็ทำหมด คือเวลานั้นไม่รู้ รู้อย่างเดียวได้เงิน ไม่รู้ว่ามันคืออะไรด้วยซ้ำ ก็ตกกระได เป็นเด็กส่งยา โดนหลอกให้ทำโดยที่ไม่รู้ ก็ทำจนเพื่อนผมโดนจับ ก็เกิดความกลัว กลัวแบบไม่รู้ว่ามันคืออะไรอีกนั่นแหละ รู้แต่ว่าทำแล้วโดนจับ มันต้องเป็นสิ่งไม่ดีสักอย่างแน่ๆ ก็ระวังตัวมากขึ้น ระแวงมากขึ้น ใครจะมาใช้ให้เราทำอะไร ไม่ทำเลย”
แต่ชีวิตก็ยังไม่วายถลำลงสู่ก้นเหว ทำทุกสิ่งอย่างเพียงเพื่อตัวเองอยู่รอด ท้องอิ่ม เพื่อให้พ้นความอ้างว้างยามค่ำ หลีกหนีเสียงสงัดที่กัดเซาะแทงใจ และได้ฝันถึงอีกวันที่ทุกคนในครอบครัวจะได้อยู่กันพร้อมหน้า
“ก็เด็กจริงๆ ปฏิกิริยาเด็กไม่รู้จะทำอย่างไร เรียนรู้จากสิ่งรอบข้าง สถานการณ์ในเวลานั้น ทำอย่างไรก็ได้ให้อยู่รอดได้ในแต่ละวัน ได้กลับมาใช้เวลาแห่งความสุข ความสุขที่สุดในช่วงเด็กเร่ร่อนตอนนั้นคือ การนอนมาก เพราะการนอนมันทำให้ผมฝันเห็นทุกคนกลับมา แล้วผมรู้สึกว่าผมไม่ได้อยู่คนเดียวแล้วนะ แต่พอผมตื่นมา ผมมองหลังคามุ้งแล้วผมยอมรับความจริงไม่ได้ ผมก็ต้องข่มตาหลับต่อไปอีก เพื่อที่จะอยู่กับความฝัน
“คือใครชอบนอน มาถามผมเลย ผมนอนทั้งวันทั้งคืน เพราะไม่อยากรับรู้ความจริง ผมคิดว่าการนอนทำให้หนีความจริงนี้ได้ ปรากฏว่าไม่ได้ สิ่งที่ปลุกขึ้นมาคือความหิว ผมพยายามคิดว่าเราจะชนะความหิวได้ อดทนจะชนะได้ ไม่จริง และก็ทำให้ผมรู้ว่าความหิวนี่แหละคือพลังที่แท้จริงของชีวิตที่ทำให้คนคนหนึ่ง ดิ้นรนอยู่ เราต่างดิ้นรนเพื่อเอาชนะความหิวในตัวตนของเรา
“ทำไมเรามีเงินมากมาย ทำไมยังดิ้นรนอยู่?” ดร.หนุ่มย้อนถาม
“เพราะร่างกายคุณยังหิวอยู่ กินมากเท่าไหร่ สุดท้ายพรุ่งนี้ก็ยังหิวอยู่ดี เลยคิดว่าไอ้ความหิวเนี่ยคือพลังชีวิตเรา ก็คิดว่าผมโชคดีนะที่มีความหิวอยู่ มันทำให้เรามีพลังในการต่อสู้ชีวิต
“จากแต่ก่อนที่ร้องจนไม่มีน้ำตาจะไหลแล้วครับ ร้องไห้ให้กับชีวิตทุกเรื่อง แต่ผมก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตผมดีขึ้น ร้องจนตาบวม เจ็บปวดมาทุกอย่าง แต่เหมือนเดิม สุดท้ายน้ำตามันไม่ได้ช่วยอะไรเลย ผมก็เลยมองว่าผมต้องช่วยเหลือตัวเอง ต้องลุกขึ้นมา ไม่รอโอกาสจากใคร เคยรอพ่อว่าพ่อจะกลับมา แล้วให้ผมดีขึ้น แต่ก็ไม่มาสักที เราก็ต้องลงมือทำด้วยตัวเองในเวลานั้น จนผมปฏิญาณตนเองว่าผมจะไม่ร้องไห้ให้กับชีวิตตัวเองแล้ว ไม่เสียน้ำตาให้กับสิ่งไร้สาระของชีวิต เอาเวลาไปแก้ไขปัญหา ไปสู้ดีกว่า”
ทำไม่ดี ได้ดี มีที่ไหน ทำดีได้ดีสิถึงใจ
เทก 2 คัต 1 บทวัดชีวิตที่ติดลบแต่...“เท่มาก”
“ก่อนจะคิดได้ ทุกวันนี้ผมมองย้อนอดีตไปตลอดว่าเราผิดพลาดอะไรบ้าง มีอะไรที่เราไม่เข้าใจมาบ้าง จนตอบโจทย์เราหมด ผมเรียนรู้ชีวิตตัวเองทั้งหมดจากอดีต ด้วยเหตุและผล เลยเข้าใจหมดทุกอย่าง
“ระยะเวลากว่า 2 ปี น้ำไม่อาบ ฟันไม่แปรง เสื้อผ้าชุดเดียว หลายคนก็มองว่าคงไม่พ้นโจร แต่ชีวิตผมก็ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร อยากทำดีหรือเปล่า แต่เคยทำเลวแล้วมันไม่ได้ดี ชีวิตมันไม่ได้ดีขึ้น เราเคยทำ เคยอยู่ด้านลบมาแล้ว ชีวิตมันมีแต่แย่ลงๆ กว่าเดิม มันก็ไม่หลุดพ้นกงกรรมกงเวียนสักทีหนึ่ง ก็เลยลองหันมาทำดีดู ว่าทำดีมันได้ดีจริงๆ ไหม พอผมเริ่มหันมาทำความดี คนก็เริ่มมองว่าเองทำดีได้ด้วยเหรอ เขาไม่เชื่อว่าเราจะทำดีได้สักแค่ไหน ก็ต้องพิสูจน์ตัวเองไปเรื่อยๆ ว่าทำดีแล้วมันต้องได้ดี”
ดร.หนุ่มเล่าถึงจุดเปลี่ยนหักเหในชีวิตอย่างกระปรี้กระเปร่าคึกคัก ผ่านถ้อยคำปนความรู้สึกน่าอัศจรรย์ใจในความเป็นไปแห่งชีวิต ซึ่งก็จริงอย่างที่เขาว่า ใครจะไปเชื่อ แต่เมื่อสำนึกแห่งดีเกิดจุดใด ก็ได้ดี
ท่ามกลางฟ้าเปิด หลังมืดมนในโลกมืดตัวคนเดียว แม่ที่จากบ้านไปนานถึง 2 ปี ก็รู้ซึ่งความจริงถึงสถานภาพครอบครัว จึงได้เดินทางกลับมาบ้านเพื่อตามลูกๆ กลับ และอบรมพร่ำสอนให้เป็นคนดีอีกครั้ง แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ขุดล้างพฤติการณ์ความเคยชินที่ฝังในช่วงวัยเรียนรู้เติบโต
“ก่อนหน้านั้น แม่ไปทำงานแล้วก็ส่งเงินมาให้ตลอด แต่เงินไม่ถึงผม เพราะพี่สาวผมมีหน้าที่ไปรับเงินที่ บขส. แต่พี่สาวผมก็มีเหตุจำเป็นให้ต้องออกจากบ้านไปอยู่ห่างไกลกันเหมือนกัน ทำให้ผมเองก็ไม่รู้ว่าแม่ส่งเงินมาที่ไหน ส่งมาอย่างไร แล้วคนที่ได้รับเงิน เขาก็ไม่เห็นผมเท่าไหร่นัก เงินตรงนั้นผมก็เลยไม่ได้รับและได้ติดต่อ
“แต่พอแม่รู้แม่ตกใจ สิ้นคำที่เขาบอกว่าบ้านแตกสาแหรกขาดแล้วนะ ท่านก็รีบกลับ มาเพื่อที่จะพาลูกกลับมาให้ได้ เพราะมีคนบอกว่าลูกเกเรทุกคน แม่เลยยอมทิ้งทุกอย่าง ไม่ทำงานแล้ว กลับมาเพื่อทำให้ลูกฉันเป็นคนดีให้ได้”
ดร.หนุ่มย้อนล่วงความหลังด้วยรอยยิ้ม เพราะนั่นนอกจากจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ยังเป็นเรื่องราวของความขลาดเขลาเบาปัญญาที่มองไม่เห็นในเวลานั้น จนเกือบทำให้ปิดตายประตูชีวิต
“ด้วยความเคยตัวสองปี แม่กลับมาดูแล ก็ปลุกแล้วปลุกอีก พูดเท่าไหร่ผมก็ไม่ฟัง ไม่ไปโรงเรียน เถียงตลอด ขึ้นเสียงตะคอก ทุกอย่าง หาข้ออ้างทุกอย่าง ไม่สบาย ปวดหัวตัวร้อน จนวันหนึ่งที่บ้านส้วมเต็ม ก็จะหัวหมอ อ้างไม่ไปโรงเรียนอีกตามเคย แม่บอกไม่ต้อง ให้เราอาบน้ำล้างหน้าแปรงฟันอย่างเดียวพอแล้วไปเรียน
“ทว่าพอกลับมา แม่ก็รอผมเข้านอน แล้วก็จุดเทียนเข้าไปห้องน้ำ กะเทาะปูนฝาส้วมออก แล้วเอากระป๋องสีตักอุจจาระออก ก่อนจะดับเทียนแล้วเอาไปทิ้งห่างจากบ้าน 2-3 เมตร แล้วก็จุดเทียนกลับใหม่ ทำอยู่อย่างนี้ทีละกระป๋อง ในตอนนั้นผมยังหลับไม่สนิทเลยย่องมาดูว่าแม่ทำอะไร เห็นแม่ทำเท่านั้น ผมไม่กล้าออกมา เพราะกลัวแม่ใช้ ก็ได้แต่แอบมอง แม่ยอมทำขนาดนี้เพื่อเรา มันทำให้ผมย้อนมองตัวเอง แล้วที่ผ่านมา ผมทำอะไรเพื่อแม่บ้าง ก็มีแต่เรื่องเลวๆ แล้วเขาไม่เคยสบายใจหรือพูดอะไรกับเราเลย ไม่ว่าจะเปลี่ยนงานมาทำงานรับจ้าง เงินไม่พอกิน ไม่มีเหลือติดตัว ต้องไปเก็บขยะประทังชีวิต”
จากวันนั้นจนวันนี้ ภาพนั้นยังคงฉายซ้ำไปซ้ำมา และลอยติดตาแม้ยามหลับและตื่นปลุกให้ชีวิตต้องพลิกและตั้งใจ สู้ต่อให้ใครจะก่นด่าดูถูกก็ไม่ย่อท้อน้อยใจ
“ก็เริ่มตั้งใจเรียนและช่วยแม่เก็บขยะ แต่ก็ยังไม่เข้าใจ ยังมีความอาย อายเพื่อน เพื่อนล้อ พยายามจะเลี่ยงตอลด แม่ก็จับนั่งรถเข็นขยะเลย ไม่งั้นผมเดินหนีไปอีกทางหนึ่ง แต่หลังๆ มันอด มันไม่มีเงินก็ต้องทำ ซึ่งจริงๆ ขยะไม่ได้ทำร้ายผม คนบอกว่าขยะเน่าเหม็น แต่สำหรับผมมันเหมือนเสี่ยงโชค เวลาผมมองทาง ผมไม่เคยมองไปข้างหน้า มองพื้นอย่างเดียวว่ามีขยะหล่นตรงไหนบ้าง มองถังขยะ ถ้าเปิดถึงขยะมาแล้วมันโล่ง ผมเศร้านะ ชีวิตมันไม่มีความหวัง ไม่มีโชค ตรงกันข้ามคนปกติ ชอบถังขยะโล่ง เป็นโชค เขาจะได้ทิ้งขยะได้ มันหาเลี้ยงเรา แต่สิ่งที่ทำให้ผมอยู่ไม่ได้ คือคนที่มองผมเหมือนขยะไปพร้อมกันด้วย
“เขามองผมเพราะแค่ผมไปเก็บขยะแล้วเนื้อตัวผมมีกลิ่นขยะ หลายคนเก็บขยะชิ้นเดียวก็รีบไปล้างมือ แต่ผมเก็บทั้งวันไม่มีเวลาไปล้างมือ ผมก็ต้องเก็บให้เสร็จแล้วไปล้างมือทีเดียว กลัวมันติด ผมเดินผ่านไป บางคนก็ทำท่าเหม็น รังเกียจ ไล่ตะเพิด เราก็ไม่เข้าใจ”
สิ้นเสียงเล่า ดร.หนุ่มพลันเปลี่ยนสีหน้า ยามที่หวนนึกเหตุการณ์ ณ ร้านก๋วยเตี๋ยวที่เขาทำได้เพียงใส่ถุงกลับบ้านเท่านั้น ห้ามรับประทานที่ร้านโดยเด็ดขาด เพราะกลิ่นตัวเหม็น หรือเสียงเย้ยยันจากคนรอบข้างที่หมิ่นแคลน
“คือมีอยู่วันหนึ่งผมอยากกินก๋วยเตี๋ยวเหมือนคนอื่นๆ แม่บอกเดี๋ยวเก็บให้ได้เท่านี้ๆก่อนนะ หลังจากได้ตามเป้า แม่ก็พาไปเลย แต่ไปถึงก็คิดว่าได้กลิ่นขยะ อาจจะทำให้ลูกค้าเขากินไม่ลงก็ได้ เขาก็ไม่ให้กินในร้าน ให้ใส่ถุงไป คือจริงๆ ในละแวกนั้น เราก็มองว่าสังคมมองเราแย่ แต่มันก็ยังไม่ทำร้ายเรา เท่าคนรอบข้างที่เห็นอยู่กับเราในอดีต
“เรื่องที่ทำร้ายเรามากๆ ที่สุดเลยก็คือ เราเคยเป็นเด็กเร่ร่อนมาก่อน เคยขอทานมาก่อน ชี้หน้าด่าผม มึงลูกไม่มีพ่อ มึงไอ้เด็กขอทาน มึงไอ้เด็กเก็บขยะ แม่มึงไม่มีทางเลี้ยงมึงไปได้ดีหรอก แม่มึงกระจอก เลี้ยงลูกไม่ได้ดีสักคนหนึ่ง นี่คือคำที่ทำร้ายใจเรา ผมรู้สึกโมโหมากในทุกครั้งที่ได้ยิน และอยากจะเข้าไปชกหน้าคนที่พูดตลอด แต่ปรากฏว่าแม่จับมือ บอกว่าอย่าลูก ถ้าลูกไปทำร้ายเขา ลูกก็ไม่ต่างอะไรจากที่เขาว่าลูก เขาดูถูกเราอย่างไร เราตั้งใจเรียนก็พอแล้ว แล้ววันหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ ทั้งหมดก็เป็นเครื่องตอกกลับเขาไปโดยที่ลูกไม่ต้องทำร้ายเขาเลย”
ยิ่งดูถูก ยิ่งต้องทำให้สำเร็จมากเท่านั้น
ต้องสู้กับตัวเองดีกว่า
คือคำพูดที่เตือนสติ เป็นเครื่องตอกย้ำให้ต้องก้าวล่วงให้สำเร็จ แม้สิ้นไร้ไม้ตอกก็มองเห็นลิ่มเสี้ยน ประกอบต่อจนแข็งไว้ ฝ่าฟันอุปสรรค
“เวลานั้นไม่รู้ว่าจะสู้กับคนอื่นได้อย่างไร ด้วยอาชีพอย่างนี้ ก็มีทางเดียว ต้องเรียนๆๆ ตั้งใจเรียน เพื่อเอาการศึกษามาหาให้เราเกิดปัญญา สร้างโอกาสให้กับตัวเอง เพราะผมไปเก็บขยะกับแม่ ไปด้วยกันหรือคนเดียว ขยะมันเท่าเดิม ถ้าจะให้ได้มาก มันต้องแยกทางกัน แต่แม่ก็กลัวว่าเราจะเอาตัวไม่รอด ผมก็เลยอยากจะช่วยแม่ ก็ไปเลือกเรียนสายช่าง เรียนช่างเชื่อม เพราะว่าข้างบ้านมีร้านทำประตูหน้าต่างเหล็กดัด กะว่าจะมาทำใกล้ๆ บ้านนี่แหละในตอนนั้น
“ทีนี้พอไปเรียน ผมมีเป้าหมายในการเรียน รู้ว่าจบมาจะทำอะไร ต่างจากหลายๆ คนที่เรียนเพราะสอบไปไม่ติดบ้าง ก็เลยมาเรียนอันนี้ก่อน หรือมาเรียนเพราะที่บ้านสั่งให้มาเรียน ผลการเรียนผมก็เลยดีกว่าเพื่อน แต่ผมไม่สนใจผลการเรียน ผมสนใจว่าผมจะได้อะไรติดตัวบ้าง
“หลังจากนั้นคุณครูก็เลยถามว่า ถ้าเราตั้งใจเรียนขนาดนี้ทำไม่ไม่ตั้งใจเรียนให้สูงขึ้น เราก็บอกว่าผมจะตั้งใจเรียนไปทำไมครับ ผมแค่อยากไปทำงานแค่นี้ อาจารย์ก็สอนว่าถ้าเรียนสูงขึ้น เวลาไปทำงาน เงินสูงกว่า มั่นคงกว่า ณ ตอนนั้นก็ยังคิดในใจเราจะไปยังไง ครูท่านก็เมตตาให้โควต้าไปเรียนต่อ ก็ไปเรียนต่อที่ต่างจังหวัด ตอนที่เรียนช่าง เราก็ทดสอบฝีมือตัวเองโดยครูหางานมาให้ทำ ทำให้ผมหางานได้ระหว่างเรียนอยู่แล้ว และแม่ก็บอกว่าจะส่งเงินมาให้ แต่จริงๆ เราก็ไม่รู้หรอกว่าปลายทางเราจะเอาตัวรอดได้อย่างไร เพราะแม่บอกส่งให้ 2,000 บาทต่อเดือน แต่ค่าเช่าห้องก็ 1,500 บาทแล้ว เหลือกิน 500 บาท”
แย่งข้าวเจ้าที่ก็ทำมาแล้ว อดข้าว 3-4 มื้อ ก็ผ่านพ้นจนเติบใหญ่ ปัญหาหลักใหญ่ใจความอย่างเงิน จึงไม่อาจจะทำอะไรความคิดตั้งมั่นในใจได้ ยิ่งบวกกับวิชาการเข้าหาคนสร้างสัมพันธไมตรีในตอนขอทาน ผสมเข้ากับความเป็นคนดี ลิขิตฟ้าหรือจะมาขวางทางได้
“ผมใช้วิธีตอนเรียน ไปหาเพื่อน หารุ่นพี่ มีพื้นที่ให้ผมช่วยแชร์ด้วยไหม ขอแค่มีที่นอน ที่อาบน้ำพอ ก็บังเอิญไปเจอรุ่นพี่ที่เขาเช่าบ้าน 2,000 บาท อยู่กัน 4 คน ก็ได้ไปแจมเหลือคนละ 400 ค่าน้ำไฟ 500 เหลือกิน 1,500 บาท ส่งเสียชีวิต แม่ก็ส่งมาให้ทุกเดือนๆ อีกไม่นานก็จะสำเร็จ ปรากฏว่าผ่านไปได้ครึ่งปี เงินไม่เข้า โทร.กลับมาถามแม่ แม่บอกว่าแม่ลืม แต่ผมคิดว่ามันต้องมีอะไร วันรุ่งขึ้นแม่ก็โอนมาแค่ 500 บาท เพื่อให้ผมจ่ายค่าเช่าไปก่อน ผมก็รู้เลยว่าแม่หาเงินไม่ทัน ก็เลยต้องออกไปหางานส่งตัวเองเรียน”
สำนึกแห่งดี เกิดจุดใด ก็ได้ดี
รุ่งอรุณแห่งดอกเตอร์อาจารย์ผู้ส่งต่อ
“ทุกครั้งที่ผมเจอคนเร่รอนมาขอเงิน บอกว่ามาหางานทำนานแล้วไม่ได้สักที ผมรีบให้เลย” ดร.หนุ่มเผยความรู้สึก ก่อนจะร่ายโมงยามชีวิตที่ต่อให้พลิกลุกขึ้นยืนแล้วก็ยังต้องช่วยเหลือคนอื่น
“เพราะผมได้รับโอกาสนั้น หลังจากจบที่สงขลา ผมมาหางานทำที่กรุงเทพฯ ผมไม่มีที่อยู่อาศัย มีแค่บัตรประชาชนกับวุฒิการศึกษา พอจะไปสมัครงานก็ไม่มีใครกล้ารับ เพราะเราไม่มีที่อยู่ที่ กทม. มีใครให้ติดต่อ มีแม่อยู่คนเดียว หลักประกันผมไม่มี หางานเท่าไหร่ก็ไม่ได้
“ที่ผ่านมาได้ ก็เพราะใช้วิธีการไปลองสอบเข้าเรียน เพื่อจะได้มีเพื่อน เนื่องจากเพื่อนส่วนมากก็มีที่พัก เราไปขออยู่ด้วย ก็ได้ที่พัก เวลาสอบสัมภาษณ์กับอาจารย์ ก็บอกขออาจารย์ครับ ผมไม่มีเงินเรียน ต้องทำงาน อาจารย์ช่วยค้ำประกันผมหน่อยได้ไหม ก็ได้โอกาสเหล่านี้ทำให้ชีวิตดีขึ้น วันนี้ผมก็เลยได้กลับมาเป็นอาจารย์เพื่อได้ทดแทนโอกาสที่ผมเคยได้รับ
“ซึ่งจริงๆ ตอนแรกก็ไม่คิดว่าจะเรียนถึงขั้นปริญญาเอก เอาแค่ปริญญาตรีเป็นใบแรกให้แม่ก็ภูมิใจแล้วตอนนั้น ผมคิดตลอด จะมีปริญญาให้แม่ภูมิใจให้ได้ แต่ทว่าวันรับปริญญา ผมไม่มีเงินซื้อกล้องถ่ายรูปคู่กับแม่ ผมไม่มีภาพถ่ายกับแม่เลยสักใบ ไม่มีภาพประทับใจกับแม่ ผมต้องไปวิ่งเข้ากล้องเพื่อน ขอเข้าไปร่วมด้วยเพื่อจะมีภาพวันรับ แต่รูปถ่ายกับแม่ไม่ได้เลย
“ก็ไม่เป็นไร...บอกกับตัวเอง” ดร.หนุ่มกล่าวพลางเว้นวรรค เฉกเช่นวันเวลานั้นที่แม้อะไรๆ ก็ไม่เอื้ออำนวยหมด
แต่คนมันจะสู้ จะทำดี สักวัน ต้องได้รับสิ่งที่ดี
“ก็เรียนใหม่ ปริญญาตรีไม่ได้ถ่ายคู่กับแม่ ไม่เป็นไร เดี๋ยวเรียนปริญญาโทอีกใบ เพื่อที่จะได้มีโอกาสถ่ายคู่กับแม่ แต่ช่วงที่ เรียน ป.โท ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นช่วงที่น้องคนเล็กกำลังอยู่ในวัยเรียนพอดี รวมกับค่าส่งให้แม่ 3,000 บาท เงินเดือน 6,000 บาท ในการเป็นครูของเราทุกเดือน ก็ไม่สามารถเก็บให้มีค่ารถ ค่าที่พัก ในการเดินทางของครอบครัว ไม่อยากจะรบกวนเงินที่ส่งให้แม่ ก็เลยบอกแม่ไปว่าก็รับเหมือนๆ ปริญญาตรี คือเราไม่อยากให้แม่เป็นหนี้ ไม่เป็นหนี้มาตลอด ทุกวันเมื่อก่อนผมต้องวิ่งบอกแม่ให้หลบเจ้าหนี้ตลอด แม่ต้องไปซุกหลังบ้าน ก็บอกท่านไปอย่างนั้น แต่จริงๆ เราไม่มีเงินพอ
“ก็เรียนต่อปริญญาเอก ใบนี้สุดท้ายแล้วเราต้องทำให้ได้ ไม่อย่างนั้นไม่มีโอกาสอีกแล้ว พอขอทุนได้ ก็ตั้งมั่นปณิธานว่าจะต้องเก็บเงินให้ได้ แม้ว่าครั้งนี้จะไปถึงประเทศญี่ปุ่น ก็อดทน ซึ่งมันทำให้รู้ว่า จริงๆ แล้ว วันที่ผมอยู่บ้าน ที่แม่เข็นให้ทำงานบ้าน วันนั้นผมทำอะไรไม่เป็น ทำกับข้าว ล้างจาน ทุกอย่าง ไม่รู้ให้ทำทำไม แต่วันที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง ทำกับข้าวเอง เซฟเงินมากมาย ใครจะรู้ว่าหมูแพ็คหนึ่งทำกินได้เป็นอาทิตย์ แล้วผมก็มีเงินเหลือเก็บให้แม่มางานรับปริญญาแล้วก็มีเงินพอให้น้องมาด้วย”
แม่ยืนอยู่ตรงประตูทางออก แล้วเป็นคนแรกที่ส่งยิ้มให้
แม่ผมมายืนขวางคนเพื่อให้ได้พบเป็นคนแรก
ทั้งหมดทั้งมวลมาจากบุคคลนี้เพียงผู้เดียวและเพื่อผู้เดียว เป็นภาพความในใจของดร.หนุ่มและชื่อเรียกขานตัวเองอีกในนามว่า “ดอกเตอร์จากกองขยะ” อย่างไม่รู้สึกนึกอายใดๆ
“ผมวิ่งไปคุกเข่าต่อหน้า บอกแม่ว่า...แม่ครับ ถ้าไม่มีแม่คนนี้ที่เฆี่ยนตีให้ผมกลับมาเป็นคนดี ถ้าไม่มีแม่คนนี้ที่เก็บขยะส่งให้ผมได้เรียนหนังสือ ถ้าไม่มีแม่คนนี้ที่พูดคำสอนดีๆ ให้ผมตั้งใจเรียน ผมก็คงไม่มีโอกาสมาถึงวันนี้ ฉะนั้นใบปริญญาใบนี้ผมขอมอบให้กับแม่
“แม่เป็นไอดอล เพราะเราเห็นความลำบากของแม่ ความเหนื่อยยาก ความจนของเรา ความเลวร้ายที่เราเจอมันคือแรงผลักดันที่ดีของชีวิต ก็ต้องขอบคุณ ทุกคนที่เจอเชื่อว่าลำบากหมดเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเราต้องเอาความลำบากนั้นเป็นแรงผลักดันชีวิตให้ได้ ผมเชื่อว่าทุกคนทำได้ ขนาดชีวิตติดลบแบบผมยังทำได้
“ถ้าคุณไม่มีเงินคุณก็ต้องมีปัญญา แต่ถ้าวันหนึ่งไม่มีปัญญาก็ต้องมีเงินและเอาเงินไปหาความรู้สร้างธุรกิจ และถ้าไม่มีทั้งสองชนิด คุณต้องมีแรงและใช้แรงในการไปต่อสู่ชีวิต แต่ถ้าหมดแรงต้องมีกำลังใจ
“ชีวิตต้องเดินต่อไป ผมก็เลยอยากจะส่งต่อโอกาสที่เราได้รับส่งต่อคนอื่น ตอนที่ขอทานผมไม่รู้ว่าผมขอใครมาบ้าง ฉะนั้น ผมไม่รู้ว่าผมจะคืนให้ใครคนนั้น แต่ทุกคนที่เคยให้ผมมามันเหมือนผมติดค้าง ผมเลยอยากจะทำอะไรคืนให้กับทุกๆ คนบ้าง”
ขอบคุณข้อมูล : รายการพระอาทิตย์ Live ช่อง News 1
ผู้เรียบเรียง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ในแวดวงการศึกษา อาจจะรู้จักเขาในนามครูอาจารย์
ในแวดวงสังคม เขาคือ “ป๊อด” คนหนุ่มที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศ
และล่าสุด เรื่องราวของเขาได้ถูกนำไปสร้างเป็นหนังสั้นชิงรางวัลภาพยนตร์โลก
“ดร.กุลชาติ จุลเพ็ญ” อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
บทแรกของนิยายชีวิต
เปิดฉากไอ้ป๊อดปรอทแตกชุมพร
“มันเป็นทางรอด ทางอยู่ของเรา ทุกวันนี้ผมมองย้อนอดีตไปตลอดว่าเราผิดพลาดอะไรบ้าง มีอะไรที่เราไม่เข้าใจมาบ้าง จนตอบโจทย์เราหมด ผมเรียนรู้ชีวิตตัวเองทั้งหมดจากอดีต ด้วยเหตุและผล เลยเข้าใจหมดทุกอย่าง”
“ป๊อด” หรือ “กุลชาติ จุลเพ็ญ” เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ก็เหมือนจะเป็นเด็กทั่วๆ ไป เติบโตท่ามกลางครอบครัวที่แม้ไม่ร่ำรวยผนังหลังคาจั่วคอนกรีต หากแต่ว่าฝาไม้ขนาดฝ่ามือตะปุ่มตะป่ำที่ล้อมรอบครอบครัวซึ่งประกอบไปด้วยพ่อ แม่ พี่สาว ก็ให้ความอบอุ่นแก่เขายามลมหนาวแทรกลอดรูบ้าน หรือไอเย็นของเม็ดฝนที่ตกชุกแทบทั้งปี
ทุกคนต่างดูแลกันและกัน และช่วยกันสรรค์สร้างปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ
กระทั่งเขาอายุได้ 6 ขวบ ในวันวัยที่กำลังเรียนรู้ ครอบครัวก็มีอันร่วงลา
“พ่อแม่แยกทางกัน ทำให้ทุกคนไปคนละทิศคนละทาง เหลือผมคนเดียวที่รอว่าใครกลับมา
“ชีวิตอิสรเสรีอย่างที่เด็กๆ ในช่วงวัยเหล่านั้นน่าจะชื่นชอบ” ดร.หนุ่มแซมยิ้มเบาๆ ถึงชีวิตไร้เดียงสาที่ยังไม่ผ่านโลก
“ตอนนั้นอยู่กับแม่ แม่บังคับให้เราไปเรียนหนังสือ ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องไปเรียน ตื่นได้แล้ว ไปโรงเรียนได้แล้ว ทำการบ้านหรือยัง เข้านอนหรือยัง คือทุกอย่างแม่วางกฎเกณฑ์ให้เราหมด แต่พอวันหนึ่งที่ไม่มีพ่อแม่มาคอยเคี่ยวเข็ญ พอวันหนึ่งที่พวกท่านไม่อยู่แล้ว ในวัยแค่เด็กตอนนั้น ผมรู้สึกอิสระแล้ว หลุดจากกรอบนั้นมาแล้ว
“แต่เราไม่มีอะไรกิน ปรากฏว่าชีวิตผมตอนนั้นเป็นเด็กเร่ร่อนเลย ทำงานไม่เป็น ช่วยเหลือตัวเองยังไม่ได้ ฉะนั้นจะหาอาหารใส่ท้องก็ไม่มี ก่อนหน้านั้น พ่อแม่วางรอไว้ให้เรา แต่วันนี้ไม่มีใครทำไว้ให้เรา ผมก็ต้องไปหาไปขอข้าวเขากินจากแม่ค้า ซึ่งแม่ค้าก็ให้กิน แต่ต้องทำงานแลก เราก็ไม่รู้ว่างานคืออะไร และกินข้าวต้องทำงานแลกเหรอ เราทำงานไม่เป็นเพราะพ่อแม่ไม่เคยสอนให้ทำ ก็ตอบว่าไม่ทำ ด้วยสุจริตใจ เขาก็มองว่าเลี้ยงเสียข้าวสุก ไม่รู้จักบุญคุณ เขาก็เลยไล่ตะเพิดว่า ทีหลังไม่ต้องมาขอข้าวเขากินอีก ถ้าไม่ยอมทำงาน ทีนี้เมื่อขอไม่ได้ ก็ไปแย่งข้าวลูกค้ากินในร้าน แม่ค้าเห็นก็ไล่ตะเพิดไปอีก เพราะกลัวว่าเราหนักข้อขึ้น จะขโมยของในร้านเขากิน ก็เลยต้องไปขอทาน ขอเงินไปซื้อข้าวกิน”
เดินยกมือไหว้ปลกๆ ไม่ได้ก็ยืนกดดัน จนเป็นที่หน้ารำคาญ ทั้ง บขส.จังหวัดชุมพร ณ ขณะนั้น
“ก็โดนไล่อีก เพราะขอบ่อย นายท่ารถเขาเลยไล่ตะเพิดอออกไปอีก ก็ต้องไปอยู่กับเพื่อนมากขึ้น ลูกแม่ค้าที่อยู่ใน บขส. ด้วยกัน ชวนกันโดดเรียน ชีวิตโดดเรียนมันก็อยู่ในสายตาคนทั่วไปไม่ได้ ก็เลยต้องไปอยู่ตามร้านเกม ไปหลบนั่งเล่นเกม ครบสูตรเด็กเกเร ปรากฏว่าคนเขาเห็น เขาก็สังเกตว่าทำไมไม่ไปโรงเรียน เขาก็มาทลายร้านเกม ผมก็เป็นตัวซวยอีก ร้านห้ามเข้าอีก”
ไม่ตายก็เหมือนตายทั้งเป็น เมื่อความหิวไม่ปรานีปราศรัย พูดคุยเจรจาด้วยเหตุและผลให้เข้าใจไม่ได้ หนทางที่พึ่งสุดท้ายจึงไม่ต่างไปจากจุดหมายสุดท้ายปลายทางของคนสิ้นลมหายใจในวาระโลกนี้ นั่นก็คือ “วัด”
“ก็ไปอยู่วัด จริงๆ ก่อนอยู่วัด ไปขโมยก่อน เพราะหิว ไปขโมยตามร้านขายของชำ เขาก็จับได้ส่งให้ตำรวจ เขาก็ถามทำไมทำอย่างนี้ พ่อแม่ไปไหน นั่นน่ะสิ พ่อแม่ไปไหน เขาก็ตะลึง เขาก็บอกว่าอย่าทำอย่างนี้อีกนะ เดี๋ยวให้ไปอยู่ในคุก ผมก็บอกว่าดีซิครับ ผมจะได้มีข้าวกิน ตำรวจก็สตันท์ไปอีก พูดเพราะเด็กจริงๆ ไม่มีความรับรู้ คือไม่รู้คุกเป็นอย่างไร แต่คิดว่ายังไงก็ดีกว่าข้างนอกตอนนี้แน่นอน ตำรวจเขาก็จับไปขังในคุก 1 วัน ชั่วโมงแรกๆ ก็สนุกดี หลังๆ ไม่สนุกแล้ว อิสระที่เรามีมันหายไป ก็ขอโทษขอโพย จะไม่เอาอีกแล้วครับ เขาก็ดัดนิสัยถึงเย็นแล้วถึงปล่อย”
ครั้นอยู่วัด บารมีร่มโพธิ์พุทธศาสนาก็มิอาจจะปรับแก้พฤติการณ์ในเวลานั้นให้หายได้เป็นปลิดทิ้ง ชีวิตยังคงดำเนินไปตามแบบแผนที่ห่างไกลจากแสงสว่างสีขาว
“เพราะเราทำอะไรไม่เป็น อย่างที่บอก ไม่ได้ตังใจกลับตัวเป็นคนดี ไปขอข้าววัดกิน ไปขอจริงๆ หลวงพ่อให้ช่วยทำอะไรก็ไม่ทำ เก็บขยะ กวาดลานวัด กวาดใบไม้ ไม่ทำ เราไม่เคยถูกสอนเลย หลวงพ่อก็นิ่งไม่ว่าอะไร พอวันรุ่งขึ้น ผมกับเพื่อนเดินไปหาหลวงพ่อ หลวงพ่อยืนถือบาตรหน้ากุฏิ ยังคิดในใจ หลวงพ่อรู้งานนะวันนี้ แต่พอเดินไปถึงท่านอีก 3 ก้าว ท่านเทข้าวให้หมากิน แล้วก็พูดกับหมาว่า หมานี่นะให้ข้าวกินยังรู้จักฟัง ไม่เหมือนคน พูดเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักฟัง”
“ในเวลานั้นได้แต่อึ้ง”
ดร.หนุ่มเผยความรู้สึกที่ไร้ซึ่งอารมณ์โกรธแค้นแต่อย่างใด เพราะด้วยเบื้องลึกจิตใจหาได้เป็นคนไม่รู้คุณคน เพียงแต่วันวัยและการเติบโตทำไม่เข้าใจในสาส์นที่คนปกติทั่วไปสื่อสาร
“หลวงพ่อคุยกับหมา ไม่คุยกับเรา เราก็เฉยๆ เพราะเราเข้าใจว่าหมาคงหิวเหมือนที่เราหิว ทีนี้พอไม่มีข้าวกินก็เลยไปแย่งข้าวเจ้าที่กิน ตามใต้ต้นโพธิ์ต้นไทร ไปยกมือไหว้ลากิน หลังจากนั้นเดินสายไปตามบ้าน ถ้าวันไหนวันพระก็อย่างกับบุฟเฟต์
“กลางคืนเราก็ออกมาเร่ร่อน ก็บังเอิญไปเจอคน คนเขาก็เรียกไอ้หนูๆ อยากได้เงินกินขนมไหม เราไม่มีเงิน หิว ก็อยากได้ เขาใช้ให้ทำอะไรก็ทำหมด คือเวลานั้นไม่รู้ รู้อย่างเดียวได้เงิน ไม่รู้ว่ามันคืออะไรด้วยซ้ำ ก็ตกกระได เป็นเด็กส่งยา โดนหลอกให้ทำโดยที่ไม่รู้ ก็ทำจนเพื่อนผมโดนจับ ก็เกิดความกลัว กลัวแบบไม่รู้ว่ามันคืออะไรอีกนั่นแหละ รู้แต่ว่าทำแล้วโดนจับ มันต้องเป็นสิ่งไม่ดีสักอย่างแน่ๆ ก็ระวังตัวมากขึ้น ระแวงมากขึ้น ใครจะมาใช้ให้เราทำอะไร ไม่ทำเลย”
แต่ชีวิตก็ยังไม่วายถลำลงสู่ก้นเหว ทำทุกสิ่งอย่างเพียงเพื่อตัวเองอยู่รอด ท้องอิ่ม เพื่อให้พ้นความอ้างว้างยามค่ำ หลีกหนีเสียงสงัดที่กัดเซาะแทงใจ และได้ฝันถึงอีกวันที่ทุกคนในครอบครัวจะได้อยู่กันพร้อมหน้า
“ก็เด็กจริงๆ ปฏิกิริยาเด็กไม่รู้จะทำอย่างไร เรียนรู้จากสิ่งรอบข้าง สถานการณ์ในเวลานั้น ทำอย่างไรก็ได้ให้อยู่รอดได้ในแต่ละวัน ได้กลับมาใช้เวลาแห่งความสุข ความสุขที่สุดในช่วงเด็กเร่ร่อนตอนนั้นคือ การนอนมาก เพราะการนอนมันทำให้ผมฝันเห็นทุกคนกลับมา แล้วผมรู้สึกว่าผมไม่ได้อยู่คนเดียวแล้วนะ แต่พอผมตื่นมา ผมมองหลังคามุ้งแล้วผมยอมรับความจริงไม่ได้ ผมก็ต้องข่มตาหลับต่อไปอีก เพื่อที่จะอยู่กับความฝัน
“คือใครชอบนอน มาถามผมเลย ผมนอนทั้งวันทั้งคืน เพราะไม่อยากรับรู้ความจริง ผมคิดว่าการนอนทำให้หนีความจริงนี้ได้ ปรากฏว่าไม่ได้ สิ่งที่ปลุกขึ้นมาคือความหิว ผมพยายามคิดว่าเราจะชนะความหิวได้ อดทนจะชนะได้ ไม่จริง และก็ทำให้ผมรู้ว่าความหิวนี่แหละคือพลังที่แท้จริงของชีวิตที่ทำให้คนคนหนึ่ง ดิ้นรนอยู่ เราต่างดิ้นรนเพื่อเอาชนะความหิวในตัวตนของเรา
“ทำไมเรามีเงินมากมาย ทำไมยังดิ้นรนอยู่?” ดร.หนุ่มย้อนถาม
“เพราะร่างกายคุณยังหิวอยู่ กินมากเท่าไหร่ สุดท้ายพรุ่งนี้ก็ยังหิวอยู่ดี เลยคิดว่าไอ้ความหิวเนี่ยคือพลังชีวิตเรา ก็คิดว่าผมโชคดีนะที่มีความหิวอยู่ มันทำให้เรามีพลังในการต่อสู้ชีวิต
“จากแต่ก่อนที่ร้องจนไม่มีน้ำตาจะไหลแล้วครับ ร้องไห้ให้กับชีวิตทุกเรื่อง แต่ผมก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตผมดีขึ้น ร้องจนตาบวม เจ็บปวดมาทุกอย่าง แต่เหมือนเดิม สุดท้ายน้ำตามันไม่ได้ช่วยอะไรเลย ผมก็เลยมองว่าผมต้องช่วยเหลือตัวเอง ต้องลุกขึ้นมา ไม่รอโอกาสจากใคร เคยรอพ่อว่าพ่อจะกลับมา แล้วให้ผมดีขึ้น แต่ก็ไม่มาสักที เราก็ต้องลงมือทำด้วยตัวเองในเวลานั้น จนผมปฏิญาณตนเองว่าผมจะไม่ร้องไห้ให้กับชีวิตตัวเองแล้ว ไม่เสียน้ำตาให้กับสิ่งไร้สาระของชีวิต เอาเวลาไปแก้ไขปัญหา ไปสู้ดีกว่า”
ทำไม่ดี ได้ดี มีที่ไหน ทำดีได้ดีสิถึงใจ
เทก 2 คัต 1 บทวัดชีวิตที่ติดลบแต่...“เท่มาก”
“ก่อนจะคิดได้ ทุกวันนี้ผมมองย้อนอดีตไปตลอดว่าเราผิดพลาดอะไรบ้าง มีอะไรที่เราไม่เข้าใจมาบ้าง จนตอบโจทย์เราหมด ผมเรียนรู้ชีวิตตัวเองทั้งหมดจากอดีต ด้วยเหตุและผล เลยเข้าใจหมดทุกอย่าง
“ระยะเวลากว่า 2 ปี น้ำไม่อาบ ฟันไม่แปรง เสื้อผ้าชุดเดียว หลายคนก็มองว่าคงไม่พ้นโจร แต่ชีวิตผมก็ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร อยากทำดีหรือเปล่า แต่เคยทำเลวแล้วมันไม่ได้ดี ชีวิตมันไม่ได้ดีขึ้น เราเคยทำ เคยอยู่ด้านลบมาแล้ว ชีวิตมันมีแต่แย่ลงๆ กว่าเดิม มันก็ไม่หลุดพ้นกงกรรมกงเวียนสักทีหนึ่ง ก็เลยลองหันมาทำดีดู ว่าทำดีมันได้ดีจริงๆ ไหม พอผมเริ่มหันมาทำความดี คนก็เริ่มมองว่าเองทำดีได้ด้วยเหรอ เขาไม่เชื่อว่าเราจะทำดีได้สักแค่ไหน ก็ต้องพิสูจน์ตัวเองไปเรื่อยๆ ว่าทำดีแล้วมันต้องได้ดี”
ดร.หนุ่มเล่าถึงจุดเปลี่ยนหักเหในชีวิตอย่างกระปรี้กระเปร่าคึกคัก ผ่านถ้อยคำปนความรู้สึกน่าอัศจรรย์ใจในความเป็นไปแห่งชีวิต ซึ่งก็จริงอย่างที่เขาว่า ใครจะไปเชื่อ แต่เมื่อสำนึกแห่งดีเกิดจุดใด ก็ได้ดี
ท่ามกลางฟ้าเปิด หลังมืดมนในโลกมืดตัวคนเดียว แม่ที่จากบ้านไปนานถึง 2 ปี ก็รู้ซึ่งความจริงถึงสถานภาพครอบครัว จึงได้เดินทางกลับมาบ้านเพื่อตามลูกๆ กลับ และอบรมพร่ำสอนให้เป็นคนดีอีกครั้ง แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ขุดล้างพฤติการณ์ความเคยชินที่ฝังในช่วงวัยเรียนรู้เติบโต
“ก่อนหน้านั้น แม่ไปทำงานแล้วก็ส่งเงินมาให้ตลอด แต่เงินไม่ถึงผม เพราะพี่สาวผมมีหน้าที่ไปรับเงินที่ บขส. แต่พี่สาวผมก็มีเหตุจำเป็นให้ต้องออกจากบ้านไปอยู่ห่างไกลกันเหมือนกัน ทำให้ผมเองก็ไม่รู้ว่าแม่ส่งเงินมาที่ไหน ส่งมาอย่างไร แล้วคนที่ได้รับเงิน เขาก็ไม่เห็นผมเท่าไหร่นัก เงินตรงนั้นผมก็เลยไม่ได้รับและได้ติดต่อ
“แต่พอแม่รู้แม่ตกใจ สิ้นคำที่เขาบอกว่าบ้านแตกสาแหรกขาดแล้วนะ ท่านก็รีบกลับ มาเพื่อที่จะพาลูกกลับมาให้ได้ เพราะมีคนบอกว่าลูกเกเรทุกคน แม่เลยยอมทิ้งทุกอย่าง ไม่ทำงานแล้ว กลับมาเพื่อทำให้ลูกฉันเป็นคนดีให้ได้”
ดร.หนุ่มย้อนล่วงความหลังด้วยรอยยิ้ม เพราะนั่นนอกจากจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ยังเป็นเรื่องราวของความขลาดเขลาเบาปัญญาที่มองไม่เห็นในเวลานั้น จนเกือบทำให้ปิดตายประตูชีวิต
“ด้วยความเคยตัวสองปี แม่กลับมาดูแล ก็ปลุกแล้วปลุกอีก พูดเท่าไหร่ผมก็ไม่ฟัง ไม่ไปโรงเรียน เถียงตลอด ขึ้นเสียงตะคอก ทุกอย่าง หาข้ออ้างทุกอย่าง ไม่สบาย ปวดหัวตัวร้อน จนวันหนึ่งที่บ้านส้วมเต็ม ก็จะหัวหมอ อ้างไม่ไปโรงเรียนอีกตามเคย แม่บอกไม่ต้อง ให้เราอาบน้ำล้างหน้าแปรงฟันอย่างเดียวพอแล้วไปเรียน
“ทว่าพอกลับมา แม่ก็รอผมเข้านอน แล้วก็จุดเทียนเข้าไปห้องน้ำ กะเทาะปูนฝาส้วมออก แล้วเอากระป๋องสีตักอุจจาระออก ก่อนจะดับเทียนแล้วเอาไปทิ้งห่างจากบ้าน 2-3 เมตร แล้วก็จุดเทียนกลับใหม่ ทำอยู่อย่างนี้ทีละกระป๋อง ในตอนนั้นผมยังหลับไม่สนิทเลยย่องมาดูว่าแม่ทำอะไร เห็นแม่ทำเท่านั้น ผมไม่กล้าออกมา เพราะกลัวแม่ใช้ ก็ได้แต่แอบมอง แม่ยอมทำขนาดนี้เพื่อเรา มันทำให้ผมย้อนมองตัวเอง แล้วที่ผ่านมา ผมทำอะไรเพื่อแม่บ้าง ก็มีแต่เรื่องเลวๆ แล้วเขาไม่เคยสบายใจหรือพูดอะไรกับเราเลย ไม่ว่าจะเปลี่ยนงานมาทำงานรับจ้าง เงินไม่พอกิน ไม่มีเหลือติดตัว ต้องไปเก็บขยะประทังชีวิต”
จากวันนั้นจนวันนี้ ภาพนั้นยังคงฉายซ้ำไปซ้ำมา และลอยติดตาแม้ยามหลับและตื่นปลุกให้ชีวิตต้องพลิกและตั้งใจ สู้ต่อให้ใครจะก่นด่าดูถูกก็ไม่ย่อท้อน้อยใจ
“ก็เริ่มตั้งใจเรียนและช่วยแม่เก็บขยะ แต่ก็ยังไม่เข้าใจ ยังมีความอาย อายเพื่อน เพื่อนล้อ พยายามจะเลี่ยงตอลด แม่ก็จับนั่งรถเข็นขยะเลย ไม่งั้นผมเดินหนีไปอีกทางหนึ่ง แต่หลังๆ มันอด มันไม่มีเงินก็ต้องทำ ซึ่งจริงๆ ขยะไม่ได้ทำร้ายผม คนบอกว่าขยะเน่าเหม็น แต่สำหรับผมมันเหมือนเสี่ยงโชค เวลาผมมองทาง ผมไม่เคยมองไปข้างหน้า มองพื้นอย่างเดียวว่ามีขยะหล่นตรงไหนบ้าง มองถังขยะ ถ้าเปิดถึงขยะมาแล้วมันโล่ง ผมเศร้านะ ชีวิตมันไม่มีความหวัง ไม่มีโชค ตรงกันข้ามคนปกติ ชอบถังขยะโล่ง เป็นโชค เขาจะได้ทิ้งขยะได้ มันหาเลี้ยงเรา แต่สิ่งที่ทำให้ผมอยู่ไม่ได้ คือคนที่มองผมเหมือนขยะไปพร้อมกันด้วย
“เขามองผมเพราะแค่ผมไปเก็บขยะแล้วเนื้อตัวผมมีกลิ่นขยะ หลายคนเก็บขยะชิ้นเดียวก็รีบไปล้างมือ แต่ผมเก็บทั้งวันไม่มีเวลาไปล้างมือ ผมก็ต้องเก็บให้เสร็จแล้วไปล้างมือทีเดียว กลัวมันติด ผมเดินผ่านไป บางคนก็ทำท่าเหม็น รังเกียจ ไล่ตะเพิด เราก็ไม่เข้าใจ”
สิ้นเสียงเล่า ดร.หนุ่มพลันเปลี่ยนสีหน้า ยามที่หวนนึกเหตุการณ์ ณ ร้านก๋วยเตี๋ยวที่เขาทำได้เพียงใส่ถุงกลับบ้านเท่านั้น ห้ามรับประทานที่ร้านโดยเด็ดขาด เพราะกลิ่นตัวเหม็น หรือเสียงเย้ยยันจากคนรอบข้างที่หมิ่นแคลน
“คือมีอยู่วันหนึ่งผมอยากกินก๋วยเตี๋ยวเหมือนคนอื่นๆ แม่บอกเดี๋ยวเก็บให้ได้เท่านี้ๆก่อนนะ หลังจากได้ตามเป้า แม่ก็พาไปเลย แต่ไปถึงก็คิดว่าได้กลิ่นขยะ อาจจะทำให้ลูกค้าเขากินไม่ลงก็ได้ เขาก็ไม่ให้กินในร้าน ให้ใส่ถุงไป คือจริงๆ ในละแวกนั้น เราก็มองว่าสังคมมองเราแย่ แต่มันก็ยังไม่ทำร้ายเรา เท่าคนรอบข้างที่เห็นอยู่กับเราในอดีต
“เรื่องที่ทำร้ายเรามากๆ ที่สุดเลยก็คือ เราเคยเป็นเด็กเร่ร่อนมาก่อน เคยขอทานมาก่อน ชี้หน้าด่าผม มึงลูกไม่มีพ่อ มึงไอ้เด็กขอทาน มึงไอ้เด็กเก็บขยะ แม่มึงไม่มีทางเลี้ยงมึงไปได้ดีหรอก แม่มึงกระจอก เลี้ยงลูกไม่ได้ดีสักคนหนึ่ง นี่คือคำที่ทำร้ายใจเรา ผมรู้สึกโมโหมากในทุกครั้งที่ได้ยิน และอยากจะเข้าไปชกหน้าคนที่พูดตลอด แต่ปรากฏว่าแม่จับมือ บอกว่าอย่าลูก ถ้าลูกไปทำร้ายเขา ลูกก็ไม่ต่างอะไรจากที่เขาว่าลูก เขาดูถูกเราอย่างไร เราตั้งใจเรียนก็พอแล้ว แล้ววันหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ ทั้งหมดก็เป็นเครื่องตอกกลับเขาไปโดยที่ลูกไม่ต้องทำร้ายเขาเลย”
ยิ่งดูถูก ยิ่งต้องทำให้สำเร็จมากเท่านั้น
ต้องสู้กับตัวเองดีกว่า
คือคำพูดที่เตือนสติ เป็นเครื่องตอกย้ำให้ต้องก้าวล่วงให้สำเร็จ แม้สิ้นไร้ไม้ตอกก็มองเห็นลิ่มเสี้ยน ประกอบต่อจนแข็งไว้ ฝ่าฟันอุปสรรค
“เวลานั้นไม่รู้ว่าจะสู้กับคนอื่นได้อย่างไร ด้วยอาชีพอย่างนี้ ก็มีทางเดียว ต้องเรียนๆๆ ตั้งใจเรียน เพื่อเอาการศึกษามาหาให้เราเกิดปัญญา สร้างโอกาสให้กับตัวเอง เพราะผมไปเก็บขยะกับแม่ ไปด้วยกันหรือคนเดียว ขยะมันเท่าเดิม ถ้าจะให้ได้มาก มันต้องแยกทางกัน แต่แม่ก็กลัวว่าเราจะเอาตัวไม่รอด ผมก็เลยอยากจะช่วยแม่ ก็ไปเลือกเรียนสายช่าง เรียนช่างเชื่อม เพราะว่าข้างบ้านมีร้านทำประตูหน้าต่างเหล็กดัด กะว่าจะมาทำใกล้ๆ บ้านนี่แหละในตอนนั้น
“ทีนี้พอไปเรียน ผมมีเป้าหมายในการเรียน รู้ว่าจบมาจะทำอะไร ต่างจากหลายๆ คนที่เรียนเพราะสอบไปไม่ติดบ้าง ก็เลยมาเรียนอันนี้ก่อน หรือมาเรียนเพราะที่บ้านสั่งให้มาเรียน ผลการเรียนผมก็เลยดีกว่าเพื่อน แต่ผมไม่สนใจผลการเรียน ผมสนใจว่าผมจะได้อะไรติดตัวบ้าง
“หลังจากนั้นคุณครูก็เลยถามว่า ถ้าเราตั้งใจเรียนขนาดนี้ทำไม่ไม่ตั้งใจเรียนให้สูงขึ้น เราก็บอกว่าผมจะตั้งใจเรียนไปทำไมครับ ผมแค่อยากไปทำงานแค่นี้ อาจารย์ก็สอนว่าถ้าเรียนสูงขึ้น เวลาไปทำงาน เงินสูงกว่า มั่นคงกว่า ณ ตอนนั้นก็ยังคิดในใจเราจะไปยังไง ครูท่านก็เมตตาให้โควต้าไปเรียนต่อ ก็ไปเรียนต่อที่ต่างจังหวัด ตอนที่เรียนช่าง เราก็ทดสอบฝีมือตัวเองโดยครูหางานมาให้ทำ ทำให้ผมหางานได้ระหว่างเรียนอยู่แล้ว และแม่ก็บอกว่าจะส่งเงินมาให้ แต่จริงๆ เราก็ไม่รู้หรอกว่าปลายทางเราจะเอาตัวรอดได้อย่างไร เพราะแม่บอกส่งให้ 2,000 บาทต่อเดือน แต่ค่าเช่าห้องก็ 1,500 บาทแล้ว เหลือกิน 500 บาท”
แย่งข้าวเจ้าที่ก็ทำมาแล้ว อดข้าว 3-4 มื้อ ก็ผ่านพ้นจนเติบใหญ่ ปัญหาหลักใหญ่ใจความอย่างเงิน จึงไม่อาจจะทำอะไรความคิดตั้งมั่นในใจได้ ยิ่งบวกกับวิชาการเข้าหาคนสร้างสัมพันธไมตรีในตอนขอทาน ผสมเข้ากับความเป็นคนดี ลิขิตฟ้าหรือจะมาขวางทางได้
“ผมใช้วิธีตอนเรียน ไปหาเพื่อน หารุ่นพี่ มีพื้นที่ให้ผมช่วยแชร์ด้วยไหม ขอแค่มีที่นอน ที่อาบน้ำพอ ก็บังเอิญไปเจอรุ่นพี่ที่เขาเช่าบ้าน 2,000 บาท อยู่กัน 4 คน ก็ได้ไปแจมเหลือคนละ 400 ค่าน้ำไฟ 500 เหลือกิน 1,500 บาท ส่งเสียชีวิต แม่ก็ส่งมาให้ทุกเดือนๆ อีกไม่นานก็จะสำเร็จ ปรากฏว่าผ่านไปได้ครึ่งปี เงินไม่เข้า โทร.กลับมาถามแม่ แม่บอกว่าแม่ลืม แต่ผมคิดว่ามันต้องมีอะไร วันรุ่งขึ้นแม่ก็โอนมาแค่ 500 บาท เพื่อให้ผมจ่ายค่าเช่าไปก่อน ผมก็รู้เลยว่าแม่หาเงินไม่ทัน ก็เลยต้องออกไปหางานส่งตัวเองเรียน”
สำนึกแห่งดี เกิดจุดใด ก็ได้ดี
รุ่งอรุณแห่งดอกเตอร์อาจารย์ผู้ส่งต่อ
“ทุกครั้งที่ผมเจอคนเร่รอนมาขอเงิน บอกว่ามาหางานทำนานแล้วไม่ได้สักที ผมรีบให้เลย” ดร.หนุ่มเผยความรู้สึก ก่อนจะร่ายโมงยามชีวิตที่ต่อให้พลิกลุกขึ้นยืนแล้วก็ยังต้องช่วยเหลือคนอื่น
“เพราะผมได้รับโอกาสนั้น หลังจากจบที่สงขลา ผมมาหางานทำที่กรุงเทพฯ ผมไม่มีที่อยู่อาศัย มีแค่บัตรประชาชนกับวุฒิการศึกษา พอจะไปสมัครงานก็ไม่มีใครกล้ารับ เพราะเราไม่มีที่อยู่ที่ กทม. มีใครให้ติดต่อ มีแม่อยู่คนเดียว หลักประกันผมไม่มี หางานเท่าไหร่ก็ไม่ได้
“ที่ผ่านมาได้ ก็เพราะใช้วิธีการไปลองสอบเข้าเรียน เพื่อจะได้มีเพื่อน เนื่องจากเพื่อนส่วนมากก็มีที่พัก เราไปขออยู่ด้วย ก็ได้ที่พัก เวลาสอบสัมภาษณ์กับอาจารย์ ก็บอกขออาจารย์ครับ ผมไม่มีเงินเรียน ต้องทำงาน อาจารย์ช่วยค้ำประกันผมหน่อยได้ไหม ก็ได้โอกาสเหล่านี้ทำให้ชีวิตดีขึ้น วันนี้ผมก็เลยได้กลับมาเป็นอาจารย์เพื่อได้ทดแทนโอกาสที่ผมเคยได้รับ
“ซึ่งจริงๆ ตอนแรกก็ไม่คิดว่าจะเรียนถึงขั้นปริญญาเอก เอาแค่ปริญญาตรีเป็นใบแรกให้แม่ก็ภูมิใจแล้วตอนนั้น ผมคิดตลอด จะมีปริญญาให้แม่ภูมิใจให้ได้ แต่ทว่าวันรับปริญญา ผมไม่มีเงินซื้อกล้องถ่ายรูปคู่กับแม่ ผมไม่มีภาพถ่ายกับแม่เลยสักใบ ไม่มีภาพประทับใจกับแม่ ผมต้องไปวิ่งเข้ากล้องเพื่อน ขอเข้าไปร่วมด้วยเพื่อจะมีภาพวันรับ แต่รูปถ่ายกับแม่ไม่ได้เลย
“ก็ไม่เป็นไร...บอกกับตัวเอง” ดร.หนุ่มกล่าวพลางเว้นวรรค เฉกเช่นวันเวลานั้นที่แม้อะไรๆ ก็ไม่เอื้ออำนวยหมด
แต่คนมันจะสู้ จะทำดี สักวัน ต้องได้รับสิ่งที่ดี
“ก็เรียนใหม่ ปริญญาตรีไม่ได้ถ่ายคู่กับแม่ ไม่เป็นไร เดี๋ยวเรียนปริญญาโทอีกใบ เพื่อที่จะได้มีโอกาสถ่ายคู่กับแม่ แต่ช่วงที่ เรียน ป.โท ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นช่วงที่น้องคนเล็กกำลังอยู่ในวัยเรียนพอดี รวมกับค่าส่งให้แม่ 3,000 บาท เงินเดือน 6,000 บาท ในการเป็นครูของเราทุกเดือน ก็ไม่สามารถเก็บให้มีค่ารถ ค่าที่พัก ในการเดินทางของครอบครัว ไม่อยากจะรบกวนเงินที่ส่งให้แม่ ก็เลยบอกแม่ไปว่าก็รับเหมือนๆ ปริญญาตรี คือเราไม่อยากให้แม่เป็นหนี้ ไม่เป็นหนี้มาตลอด ทุกวันเมื่อก่อนผมต้องวิ่งบอกแม่ให้หลบเจ้าหนี้ตลอด แม่ต้องไปซุกหลังบ้าน ก็บอกท่านไปอย่างนั้น แต่จริงๆ เราไม่มีเงินพอ
“ก็เรียนต่อปริญญาเอก ใบนี้สุดท้ายแล้วเราต้องทำให้ได้ ไม่อย่างนั้นไม่มีโอกาสอีกแล้ว พอขอทุนได้ ก็ตั้งมั่นปณิธานว่าจะต้องเก็บเงินให้ได้ แม้ว่าครั้งนี้จะไปถึงประเทศญี่ปุ่น ก็อดทน ซึ่งมันทำให้รู้ว่า จริงๆ แล้ว วันที่ผมอยู่บ้าน ที่แม่เข็นให้ทำงานบ้าน วันนั้นผมทำอะไรไม่เป็น ทำกับข้าว ล้างจาน ทุกอย่าง ไม่รู้ให้ทำทำไม แต่วันที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง ทำกับข้าวเอง เซฟเงินมากมาย ใครจะรู้ว่าหมูแพ็คหนึ่งทำกินได้เป็นอาทิตย์ แล้วผมก็มีเงินเหลือเก็บให้แม่มางานรับปริญญาแล้วก็มีเงินพอให้น้องมาด้วย”
แม่ยืนอยู่ตรงประตูทางออก แล้วเป็นคนแรกที่ส่งยิ้มให้
แม่ผมมายืนขวางคนเพื่อให้ได้พบเป็นคนแรก
ทั้งหมดทั้งมวลมาจากบุคคลนี้เพียงผู้เดียวและเพื่อผู้เดียว เป็นภาพความในใจของดร.หนุ่มและชื่อเรียกขานตัวเองอีกในนามว่า “ดอกเตอร์จากกองขยะ” อย่างไม่รู้สึกนึกอายใดๆ
“ผมวิ่งไปคุกเข่าต่อหน้า บอกแม่ว่า...แม่ครับ ถ้าไม่มีแม่คนนี้ที่เฆี่ยนตีให้ผมกลับมาเป็นคนดี ถ้าไม่มีแม่คนนี้ที่เก็บขยะส่งให้ผมได้เรียนหนังสือ ถ้าไม่มีแม่คนนี้ที่พูดคำสอนดีๆ ให้ผมตั้งใจเรียน ผมก็คงไม่มีโอกาสมาถึงวันนี้ ฉะนั้นใบปริญญาใบนี้ผมขอมอบให้กับแม่
“แม่เป็นไอดอล เพราะเราเห็นความลำบากของแม่ ความเหนื่อยยาก ความจนของเรา ความเลวร้ายที่เราเจอมันคือแรงผลักดันที่ดีของชีวิต ก็ต้องขอบคุณ ทุกคนที่เจอเชื่อว่าลำบากหมดเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเราต้องเอาความลำบากนั้นเป็นแรงผลักดันชีวิตให้ได้ ผมเชื่อว่าทุกคนทำได้ ขนาดชีวิตติดลบแบบผมยังทำได้
“ถ้าคุณไม่มีเงินคุณก็ต้องมีปัญญา แต่ถ้าวันหนึ่งไม่มีปัญญาก็ต้องมีเงินและเอาเงินไปหาความรู้สร้างธุรกิจ และถ้าไม่มีทั้งสองชนิด คุณต้องมีแรงและใช้แรงในการไปต่อสู่ชีวิต แต่ถ้าหมดแรงต้องมีกำลังใจ
“ชีวิตต้องเดินต่อไป ผมก็เลยอยากจะส่งต่อโอกาสที่เราได้รับส่งต่อคนอื่น ตอนที่ขอทานผมไม่รู้ว่าผมขอใครมาบ้าง ฉะนั้น ผมไม่รู้ว่าผมจะคืนให้ใครคนนั้น แต่ทุกคนที่เคยให้ผมมามันเหมือนผมติดค้าง ผมเลยอยากจะทำอะไรคืนให้กับทุกๆ คนบ้าง”
ขอบคุณข้อมูล : รายการพระอาทิตย์ Live ช่อง News 1
ผู้เรียบเรียง : รัชพล ธนศุทธิสกุล