xs
xsm
sm
md
lg

มนต์เสน่ห์เสียงซอ "กฤษฎาธาร จันทะโก" หนุ่มหน้าหล่อผู้สีซอได้ซึ้งนัก!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เรียกได้ว่า ได้รับเสียงชื่นชมอย่างมากในโลกออนไลน์เลยก็ว่าได้ สำหรับการบรรเลงเพลงด้วยเครื่องดนตรีไทยชนิดสายอย่าง ‘ซอ’ ทั้งการบรรเลงแบบเดี่ยวหรือ กับเครื่องดนตรีสากลประเภทต่างๆ เช่น เปียโน หรือ กีตาร์ ที่แต่ละบทเพลงก็ได้สร้างความประทับใจให้กับผู้ที่ได้ชมคลิปวีดีโอในการบรรเลงเพลงต่างๆ ได้อย่างกินใจ

จากการได้ยินเสียงซอครั้งแรกที่ค่ายลูกเสือที่บรรเลงโดยเพื่อนคนหนึ่ง จุดนี้นี่เองมที่สร้างแรงบันดาลใจเล็กๆ ให้กับเขาได้ฝึกฝนให้เล่นเครื่องดนตรีดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งแม้ว่าทางบ้านจะไม่ค่อยสนับสนุนมากนัก แต่ กฤษฎาธาร จันทะโก หรือ ครูปอย ผู้ซึ่งดำรงเป็น อาจารย์พิเศษ แห่ง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบันนั้น ก็ได้ฝึกปรือมาด้วยตนเอง จนกลายเป็นผู้ถูกพูดถึงมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ได้บรรเลงเพลงผ่านทางเสียงซอ มาจนถึงปัจจุบันได้อย่างในที่สุด

ฟังเสียงซอจากเพื่อน
จึงเกิดรักแรกพบ

“จริงๆ ดนตรีเป็นสิ่งที่หายากสำหรับเด็กต่างจังหวัดครับ แล้วบ้านเราที่พิจิตรก็จะมีแต่ดนตรีไทย ซึ่งตอนที่เล่นแรกๆ ก็ไม่ได้รู้สึกว่าชอบดนตรีเลยครับ แต่เราไปเห็นซอที่ค่ายลูกเสือตอนรอบกองไฟ กับเพื่อนข้างบ้านนี่แหละ ชื่อน้ำฝน เขาก็เอาซอด้วง ที่เป็นซอไม้ไผ่ที่คุณตาเขาทำให้ไปด้วย พอเราได้ยินครั้งแรก มันก็รู้สึกกับซอเลย ตอนนั้นไม่รู้ว่าดนตรีไทยคืออะไร แต่พอเราได้ยินเสียงนี่คือรักและหลงมนต์เสน่ห์ไปเลย ทั้งๆ ที่เราก็ไม่รู้ว่าเพื่อนเล่นเก่งรึเปล่านะ เราชอบตรงเนื้อเสียงของซอ โดยเอกลักษณ์ ความรู้สึกเหมือนกระชากวิญญาณเลย กลับไปบ้านก็นอนฝันว่าเล่นซอเลยครับ

“แล้วสมัยก่อนจะมีการดูถูกกัน ซึ่งเราในตอนนั้นก็ไม่รู้อะไรหรอก แต่เราชอบ แต่สังคมรอบข้างจะไม่เข้าใจ จะว่าบ้าง เช่น เล่นอะไรอ่ะ ทำไมมันเชยจังเลย ประมาณสุภาษิตที่ว่า สีซอให้ควายฟัง เลย แต่ว่าเราจะมองอีกแบบหนึ่งคือ เรามองแบบราชสำนัก เรารู้สึกว่ามันเป็นของที่เลอค่า แต่ว่าเราก็อยากที่จะเล่น ซึ่งแต่ก่อนจะมีทั้งชาวบ้านและราชสำนักเล่น คือดนตรีไทยทุกพัฒนาจากราชสำนัก มันพัฒนาไปเป็นคลาสสิกแล้ว ส่วนตัวเราไม่เคยรู้สึกว่ามันเชยหรือโบราณเลย เราไม่ได้รู้สึกมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แต่มันก็มีคนแววอยู่แล้วล่ะ เราก็คิดในใจ มันเชยยังไงนะ พอเราได้ยินคำนั้น มันก็รู้สึกค้านในใจนะ เรามีความรู้สึกว่า มันก็มีอะไรที่น่าค้นหาสำหรับเรา แต่เรารู้สึกว่า ทำไมคนอื่นเขาไม่เห็นมองแบบเรา

“ที่บ้านก็ไม่ค่อยได้สนับสนุนเท่าไหร่ เพราะท่านอยากให้ทำงานธนาคาร เพราะที่บ้านทำงานนี้หมดเลย ซึ่งท่านอาจจะมีความเชื่อว่า การเป็นนักดนตรีอาจจะไม่มั่นคงขนาดนั้น แต่ว่าทางธนาคารที่คุณพ่อทำงาน เขาจะมีโควตาประมาณว่าสามารถให้ลูกหลานทำงานต่อกันได้ คือที่บ้านพี่น้องสามคน ผมเป็นคนโต แล้วน้องสาวก็เข้าไปทำงานแล้ว แต่พ่อก็จะมีมาหยอดๆ กับเราว่า เออไม่แน่นะ ถ้าพ่อเกษียณ อาจจะมีโควตาต่อกันได้ ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์เรานี่คือติด 0 ตั้งแต่ ป.1 ยัน ม.6 เลย

“อีกอย่าง พ่อผมจะเป็นแนวเล่นกีต้าร์ ชอบร้องเพลง เขาก็จะไม่เข้าใจ แรกสุดเลย เราขอไปเรียน เขาก็ไม่ให้เรียน ท่านบอกว่าถ้าจะเรียนก็ออกเงินเอง เขาก็ไม่ใส่ใจนะ ไม่สนับสนุน เราก็โอเค ก็เก็บเงินค่าขนม ถึงขนาดที่อดข้าวกลางวัน เพื่อที่จะเก็บเงินไปสะสมเพื่อเรียนกับครูที่บ้าน จนได้เรียนมาเรื่อยๆ ต่อมา เราก็อยากได้ซอ เพราะว่าอยากมีเป็นของตัวเอง เราก็ขอเงินพ่อเพื่อจะซื้อซอคันแรก ราคา 900 บาท แต่ก็เหมือนเดิมครับ ไม่ให้ ท่านให้เหตุผลว่า ซื้อมาเดี๋ยวก็เบื่ออีก เราก็ยืมซอครูมาเล่นที่บ้าน แล้วก็เก็บเงินซื้อของครูต่อ จนวันที่เอามาเล่นที่บ้านวันแรก พ่อเดินผ่านมาได้ยินพอดี แล้วท่านก็ถามว่า เล่นเป็นด้วยเหรอ เราก็ครับ เล่นเป็นตั้งนานแล้ว ท่านได้ยินคำตอบเราปุ๊บ ก็ยื่นเงิน 900 บาทมาให้เราเลย (ยิ้ม) เพราะว่าก่อนหน้านั้น ท่านไม่เคยฟังเราเล่นเลย ซึ่งจริงๆ ผมเล่นเป็นตั้งแต่ครั้งแรกแล้ว ได้จับแล้วเล่นได้เลย เหมือนกับพรสวรรค์ของเราเลย จับครั้งแรกก็เล่นเป็นเพลงได้เลย จำได้ว่าเพลงแรกที่เล่นคือเพลงศรีนวล เล่นโดยซออู้ คือเพื่อนคนเดิม เขาเล่นเพลงศรีนวลจากงานรอบกองไฟ

เสียงซอที่บรรเลง
มาผสมยิ่งทำให้เพราะ

“ครั้งแรกที่เรียนคือซออู้ แล้วส่วนตัวเราชอบซอด้วง แล้วพอเราไปเรียนแล้ว กลับกลายว่าเราไปจับซออู้ เพราะว่าเราเป็นคนขี้อายครับ ไม่กล้าบอกอาจารย์ คือเราเป็นคนที่พูดขัดกับใจตัวเอง คือซอด้วงเขาจะเหมือนตัวนำคล้ายๆ ระนาดเอก ส่วนซออู้ก็จะเป็นเหมือนตัวตาม แต่ซอด้วงจะเริ่มอีกแบบนึง คือเพื่อนเล่นซอด้วงในงาน แต่เวลาที่เราเล่นจริง เราจะเล่นซออู้ เราก็เขินไงว่าทำไมไม่ยอมพูด

ตอนนั้นผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่แปลก อาจจะเป็นเพราะว่า ดนตรีฟิวชั่น มันเป็นสิ่งที่แปลก ซึ่งจริงๆ มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกนะครับ เพราะว่าดนตรีลักษณะอย่างงี้มันมีมาตั่งต่สมัยรัชกาลที่ 6 แล้ว ทั้งเครื่องสายผสมเปียโน เครื่องสายผสมขิม หรือเครื่องสายผสมปี่ชวา เพียงแต่ว่า อาจจะมีคนเล่นแต่เราไม่ค่อยเห็น สอง เพลงนี้ มันมีจุดเด่นคือ เหมือนกับคนอกหัก เนื้อหาฟังแล้วเหมือนกระชากวิญญาณ โดยเมโลดี้ของมันเพราะ แล้วคนก็ฟังแล้วอินเยอะ และเราก็พยายามสื่อสารกับคนดูว่า ให้ชูป้ายต่างๆ แบบอารฒณ์ร่วมมันมา สามคือ คนที่เรียบเรียงเพลงให้ผมนี่คือเก่งมาก เป็นน้องนักศึกษาจากดุริยางคศิลป์ มหิดล ซึ่งเหมือนคัฟเวอร์เพลงให้เอามาเป็นแบบของเรา แล้วน้องเขาจะเป็นแนวป็อปอยู่แล้ว ซึ่งทั้งหมดก็ทำให้มันปังไปเลยครับ

คือมันก็ค่อยๆ มาเรื่อยๆ ครับ ตอนแรกเล่นเพลงให้พ่อฟังในวันเกิดพ่อก่อน แต่จริงๆ มีก่อนหน้านั้นอีก คือ เล่นซออู้ แต่ไม่ให้เห็นหน้า เพราะว่าอาย แถมพูดเร็ว แล้วบางทีก็ลิ้นพันกันครับ คือเอากล้องถ่ายให้เห็นแค่กระโหลกซอ ซึ่งยอดเข้าชมประมาณ 400 ไลค์ ก็เยอะนะ แฮปปี้แล้ว นึกไม่ถึงด้วยว่ามีคนชอบ แต่ก็ไม่มีอะไรเลย เล่นแต่ซออู้อย่างเดียว เล่นทุกอย่างเป็นเมโลดี้หมด แต่บางครั้งก็มีร้องด้วย ซึ่งก็จะขำๆ แต่พยายามอย่าซีเรียสอะไรกับมันมาก (หัวเราะเบาๆ) พอผลตอบรับดีขึ้น เราก็ดีใจ แต่เราก็กังวลว่า จะมีคนชอบเหรอ แต่ก็มีคนไลค์ด้วย คลิปต่อมาเราก็เล่นแบบให้พ่อเห็นหน้าด้วยละกัน เล่นให้พอฟังเลย เพลง เพียงในใจ ซึ่งเพลงนี้เมโลดี้มันเพราะ แล้วพ่อจะชอบเพลงในยุคเขา เราก็แท็กให้เขา เพราะไม่รู้ว่าจะเล่นเพลงอะไร เลยเล่นเพลงนี้ ปรากฏว่าได้มา 2000 ไลค์ แล้วก็มีคนติดตามแล้ว แต่ว่าไม่ได้เล่นอีกนะครับ หายไปช่วงหนึ่งก่อน แล้วก็กลับมาเล่นอีกครั้ง เพราะมีหลังไมค์ว่า ทำไมไม่เล่นอีก อยากฟัง เราก็ไปเอาซอใหม่ที่บ้านช่างเจี๊ยบ แล้วก็มีน้องคนนึง ก็ไปชวนว่ามาแจมกัน เอาคาฮองไปตี คลิปนั้นเล่นเพลงแขก ตั้งชื่อเพลงเองว่า Arabian Suite ก็คือเป็นการเอามาเมดเลย์ แต่ว่าเราเรียบเรียงเองด้วย

“อย่างการเล่นเป็นแบนด์ จะต้องมีขิม กับ กีตาร์ ซึ่งผมก็มีหลายๆ กลุ่ม เช่น เล่ยนแบบอนุรักษ์กลุ่มหนึ่ง มีมาเล่นกีตาร์กับขิมกลุ่มนึง แล้วมาเล่นกับเปียโนกลุ่มนึง หรือตอนนี้มาทำโปรเจกต์ร่วมกับ Tiger Drum ที่จะมีแต่กลองที่จัดเต็มเลย คือก็จะให้คนเห็นในมุมมองใหม่ๆ หลายๆด้าน ครับ ว่าซอสามารถเล่นกับอะไรก็ได้ แล้วได้อีกอารมณ์หนึ่งครับ

เพิ่มความหลากหลาย
เพื่อตอบโจทย์ในวงกว้าง

คือมันเพราะทุกคนละครับ แต่อยู่ที่ว่ามันจะไปคลิกโดนคนไหน แล้วมันก็จะมีวิธีการเล่นหลายๆ แบบ เทคนิคใส่เยอะหรือใส่น้อย บางคนก็ชอบเทคนิคเยอะ แต่เราต้องเดาใจเขาว่า เขาชอบแบบไหน บางทีนักดนตรีก็เอาใจตัวเองไม่ได้หรอกครับ ซึ่งผมก็คอยถามคนที่ไม่ใช่นักดนตรี เพื่อที่จะไม่ให้อยู่ในวงแคบเกินไป ซึ่งเราจะคอยถามว่า เราเล่นเป็นยังไงบ้าง เพื่อที่จะได้รู้ว่า เราจะได้คำตอบอีกรูปแบบหนึ่ง แล้วเราต้องเปิดใจนะว่าไม่เห็นจะเป็นยังไง

“อย่างตัวซอในราคาขั้นต้น ก็เริ่มเลยตั้งแต่ 1000 บาท แต่พอมาในระดับกลางแล้ว ก็เริ่มที่ 15000 แต่ถ้าแพงสุดก็เป็นซองา ราคาประมาณ 300000-400000 บาท ครับ เป็นงาช้าง ซึ่งปกติเขาทำจากไม้ แต่ส่วนซอจากงาช้าง ต้องดูด้วยว่าเขาประกอบหรือทั้งแท่งเลย หรือว่าเอาสัดส่วนมาประกอบแล้วดามเหล้กข้างใน ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันไป อย่างคันชักนี่คืองาทั้งแท่งหรือเปล่า โดยเฉพาะคันชักมันจะหายาก เพราะมันต้องยาวกันต่อเนื่องเลย มันต่อไม่ได้ มันต่อยาก ซึ่งงาช้มันต้องยาวขนาดนี้ แล้วความโค้งคือต้องได้ไง แล้วส่วนใหญ่แล้ว ตรงกลางที่ใช้อยู่ มันจะใช้ตรงนี้ จะเป็นไม้ แล้วลำตัวเป็นงาหมดเลย แต่ตรงนี้เขาก็จะมาเสริม ตรงนี้เป็นงา แล้วตัวเป็นงาหมดเลย อย่างซอไม้แก้ว บางตัวก็มีลาย มีแก่น แต่ตัวที่ไม่มีลาย จะเป็นแบบ 100 ต้น จะมีซักต้ถมว่า ทำไมมีการมีซอหลายๆ ตัว จริงๆ มันคือเป็นการหาโทนเสียงที่ต่างกัน ซึ่งแต่ละไม้ก็แตกต่างกัน หรือไม้เดียวกัน แต่ช่างแตกต่างกัน แล้วเสียงต่างกัน แล้ววิธีการขึ้นหนังงูและซอ มันก็ต่างกันไปด้วย อย่างซอบางตัวก็มีการแกะสลักลวดลายให้สวยงาม ซึ่งก็ต้องมีค่าแกะสลักด้วยครับ ซึ่งเสียงก็ต้องเพราะด้วย หรืออย่างซอจากไม้มะเกลือ ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่นิยมนำมาเล่นกัน แต่ผมชอบในดเนศิลปะซะมากกว่า เพราะมันเป็นสุนทรียะ เวลาได้มองมันสวยจังเลย แล้วมันมีลายด้วยนะ

“ผมว่าตอนนี้มีแน่นอนครับ เพราะว่าสถาบันดนตรีมีเยอะขึ้น ทั้งรัฐบาลและเอกชน ตอนนี้สถาบันสอนดนตรีก็มีเยอะแล้ว แล้วเด็กรุ่นใหม่ที่เก่งๆ ก็มีเยอะ ซึ่งคิดว่าจะต้องมีการโกอินเตอร์แน่ๆ เพราะฝีมือเด็กรุ่นใหม่เก่งมาก ซึ่งถึงแม้ว่าส่วนตัวของผมจะไม่ได้รับการสนับสนุนนะครับ ส่วนคนที่สนับสนุนก็ให้เดินต่อไป คือถ้าทำตามผมคือ มุ่งมั่นในสิ่งที่ตัวเองรัก แล้วก็เดินต่อไปครับ


ขอบคุณเนื้อหาและภาพจากรายการพระอาทิตย์ Live ทางช่อง News 1
เรียบเรียง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช

กำลังโหลดความคิดเห็น