คลิกที่นี่เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.“บิ๊กป้อม” เผยกล้องวงจรปิดจับภาพ “ยิ่งลักษณ์” นั่งเบนซ์ผ่านด่านทหารที่สระแก้ว ด้าน “ศรีวราห์” รับ ข้อมูลตรงตำรวจ แต่ไม่รู้ออกนอก ปท.แล้วหรือไม่!
เมื่อวันที่ 8 ก.ย. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงการตรวจสอบเส้นทางหลบหนีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยคดีปล่อยปละละเลยไม่ระงับยับยั้งทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกหมายจับ หลังไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก ทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบกล้องวงจรปิดตลอดเส้นทาง จุดที่กล้องวงจรปิดจับได้คือ ช่วงผ่านด่านทหาร จ.สระแก้วไป แต่จับภาพได้ไม่ถึงสุดด่านชายแดน เบื้องต้นพบยานพาหนะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ใช้หลบหนีเป็นรถเก๋งยี่ห้อเมอร์เซเดส-เบนซ์ ส่วนรายละเอียดต่างๆ จะเรียกผู้ขับรถคันดังกล่าวมาสอบถาม
ด้าน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประวิตรระบุว่ากล้องวงจรปิดจับภาพรถต้องสงสัยพา น.ส.ยิ่งลักษณ์ หลบหนีได้บริเวณช่วงผ่านด่านทหาร จ.สระแก้วว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องการข่าวของความมั่นคง ตอนนี้ทาง พล.อ.ประวิตรยังไม่ได้สั่งการเข้ามาแต่อย่างใด เรื่องนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีข้อมูลดังกล่าว
ขณะที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ไม่ทราบว่า พล.อ.ประวิตรนำหลักฐานอะไรแสดงกับสื่อมวลชนว่า พบรถของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไปด่านชายแดน จ.สระแก้ว แต่จากการสืบสวนมีหลักฐานต้องสงสัยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางไป จ.สระแก้ว แนวทางสืบสวนของตำรวจจึงพุ่งเป้าไปที่ จ.สระแก้วเช่นกัน และได้รายงาน พล.อ.ประวิตรตั้งแต่ต้นแล้ว อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.ศรีวราห์ กล่าวว่า ถึงแม้จะมีหลักฐานบางส่วน แต่ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ออกนอกประเทศแล้วหรือไม่
2.ดีเอสไอเร่งสอบคดีฟอกเงินแบงก์กรุงไทย ยันไม่ได้ตั้งธงสั่งฟ้อง “โอ๊ค พานทองแท้” ขณะที่เจ้าตัวโวย ถูกยัดเยียดความผิด!
เมื่อวันที่ 6 ก.ย. พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความคืบหน้าคดีฟอกเงินเกี่ยวกับการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทยให้กับกลุ่มบริษัท กฤษดามหานคร หลังมีการเผยแพร่เอกสารผ่านสื่อออนไลน์ว่า มีการตั้งธงสั่งให้แจ้งข้อกล่าวหานายพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายนายทักษิณ ชินวัตร ในข้อหาร่วมกันฟอกเงิน
หลังประชุม นายขจรศักดิ์ พุทธานุภาพ อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 3 เผยว่า ที่ประชุมคณะพนักงานสอบสวนสำนวนยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ได้สั่งการให้แต่ละหน่วยงาน เช่น ปปง. อัยการสำนักการสอบสวน และพนักงานสอบสวน กองคดีการเงินการธนาคาร ไปรวบรวมพยานหลักฐานและสอบปากคำเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น เส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยจะเร่งรัดให้เร็วที่สุด เพราะคดีความใกล้จะหมดอายุความในปี 2561
นายขจรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า “ขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องเรียกตัวนายพานทองแท้มาสอบสวนเพิ่มเติม ยืนยันว่า คณะพนักงานสอบสวนไม่ได้มีการตั้งธงในการสั่งฟ้องคดีใครเป็นพิเศษ เพราะการมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งต้องให้คำตอบกับสังคมได้ และมั่นใจว่า คดีนี้ไม่ได้มีการดึงสำนวนให้ล่าช้าจนหมดอายุความอย่างแน่นอน”
ด้านนายพานทองแท้ ชินวัตร ได้โพสต์เฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 8 ก.ย.โดยนำเอกสารมาแฉถึงคนมีอำนาจสั่งกลั่นแกล้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาสาว ในคดีจำนำข้าว และคดีฟอกเงินธนาคารกรุงไทยของตนเอง
พร้อมยกคำกล่าวของมงแต็สกีเยอที่นายทักษิณ ชินวัตร บิดาเพิ่งอ้างถึงเมื่อเร็วๆ นี้ว่า "ไม่มีความเลวร้ายใด ที่จะยิ่งไปกว่าความเลวร้ายที่ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย หรือในนามของกระบวนการยุติธรรม" นายพานทองแท้ ระบุตอนหนึ่งว่า "ขณะนี้ได้มีเอกสารหลุดอีกฉบับหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องของตัวผมโดยตรง ซึ่งเป็นของอดีตรองอธิบดีดีเอสไอ ที่ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมว่า ได้รับคำสั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาเพื่อดำเนินคดีกับพานทองแท้ ทั้งๆ ที่ตนเองได้ชี้แจงข้อเท็จจริงให้ผู้สั่งการทราบแล้วว่า ธุรกรรมของนายพานทองแท้นั้น ไม่ได้มีส่วนใดที่ผิดกฎหมาย จึงไม่สามารถแจ้งข้อกล่าวหาเพื่อดำเนินคดีได้ เป็นเหตุให้ตนเองต้องถูกปลดออกจากตำแหน่งรองอธิบดีฯ ไปนั่งตบยุงที่สำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งได้บรรยายเหตุการณ์ในการสั่งการอย่างไม่ชอบธรรม โดยมีพยานยืนยันซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของดีเอสไอเองอยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย"
นายพานทองแท้ ยังระบุอีกว่า "กระบวนการยุติธรรมของไทยเราทุกวันนี้ บิดเบี้ยวถึงขั้นจะตรวจสอบเรื่องข้าว หัวหน้า คสช.ก็สั่งการกับข้าราชการด้วยตัวเองว่า ไม่ต้องคำนึงกระบวนการยุติธรรม ใครไม่เร่งทำถือว่ามีความผิด จะตรวจสอบคดีแบงค์กรุงไทย ซึ่งมีการกู้เงินนับหมื่นล้าน แทนที่จะไปตรวจสอบองค์กรที่ได้รับผลประโยชน์ก้อนใหญ่ หรือรายชื่อนายทหารนายตำรวจ และบุคคลองค์กรอื่นๆ อีกกว่า 300 ธุรกรรม (รวมถึงมูลนิธิรัฐบุรุษฯ และนายพลเรือคนดัง ก็มีชื่อรับโอนเงินก้อนดังกล่าวด้วย) กลับไม่สนใจจะตรวจสอบ แต่กลับมาสั่งการกับผู้ปฏิบัติแบบเน้นๆ ให้จ้องเอาผิดกับธุรกรรมทางการเงินจำนวน 10 ล้าน ซึ่งเท่ากับ 0.1 % ของจำนวนเงินทั้งหมด เพียงเพราะว่าเป็นธุรกรรมทางการเงินของลูกอดีตนายกรัฐมนตรี ที่ตัวเองตั้งธงเอาไว้แล้วว่า จะต้องยัดเยียดความผิดให้ได้ เรื่องแบบนี้ ถ้าไม่เกิดกับลูกหลานตัวเองบ้าง ผู้มีอำนาจที่สั่งการกันมาเป็นทอดๆ อาจจะยังไม่รู้สึกหรอกครับ แต่ผมเชื่อว่าสักวันหนึ่งเวรกรรมจะตามทัน ถ้าไม่เชื่อใน"กฎแห่งกรรม" ก็เชิญผู้มีอำนาจสั่งการหาเรื่องกันต่อไปเถอะครับ วันไหนกรรมตามสนองลูกหลานตัวเองบ้าง ก็ขออย่าได้โอดครวญแล้วกัน"
3.“พ.ต.ท.พงศ์พร” อุทธรณ์คำสั่งเด้งพ้น ผอ.สำนักพุทธฯ ด้าน สปน.จัดหนัก ให้ลงใต้ ขณะที่ “ไพบูลย์” เตือนย้ายมิชอบ ระวังซ้ำรอย “ถวิล”!
ความคืบหน้ากรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 29 ส.ค. มีมติอนุมัติตามที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เสนอเรื่องที่สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ ขอรับโอน พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมเสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกฯ โดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์แก่ราชการและทดแทนตำแหน่งที่ว่าง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ยืนยันว่า การโยกย้ายดังกล่าวไม่ได้เป็นการสั่งเด้ง แต่เป็นเพราะทำงานส่วนหนึ่งเสร็จแล้ว จึงให้มาช่วยงานใกล้ๆ ตนเพื่อปฏิรูปพระพุทธศาสนา ยืนยันไม่ใช่การลงโทษ ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ก็ยืนยันว่า การย้าย พ.ต.ท.พงศ์พร ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ พ.ต.ทพงศ์พรเข้าไปสอบการทุจริตเงินทอนวัด พร้อมย้ำว่า เจ้าตัวไม่ได้มีความผิดอะไรและไม่มีอะไรเสียหาย เป็นคนทำงานดีมีประสิทธิภาพ
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ย. นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแล พศ.ได้มีบันทึกแต่งตั้งให้นายกนก แสนประเสริฐ รองผู้อำนวยการ พศ.รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ พศ. นอกจากนี้วันเดียวกัน ที่ประชุม ครม.ยังมีมติเห็นชอบขอรับโอนนายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.คนใหม่ แทน พ.ต.ท.พงศ์พร ตามที่นายออมสิน เสนอด้วย
ด้าน พ.ต.ท.พงศ์พร ได้ทำหนังสือในฐานะผู้อำนวยการ พศ.ส่งถึงรัฐมนตรีออมสิน ระบุว่า การแต่งตั้งรักษาราชการแทนตน ทำให้ตนไม่สามารถปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.ได้ ทั้งที่ตนสามารถอยู่ในตำแหน่งได้จนกว่าจะโปรดเกล้าฯ พ.ต.ท.พงศ์พร จึงยืนยันว่าตนจะอยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.จนกว่าจะมีการโปรดเกล้าฯ
เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่เพียง ครม.จะอนุมัติโอนย้าย พ.ต.ท.พงศ์พร พ้นตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.ไปเป็นผู้ตรวจราชการสำนักนายกฯ และให้นายมานัส มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.คนใหม่แทน แต่นายจิรชัย มูลทองโร่ย ปลัดสำนักนายกฯ ยังลงนามคำสั่งสำนักนายกฯ 2 ฉบับเมื่อวันที่ 6 ก.ย. ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ พ.ต.ท.พงศ์พร ทำหนังสือแย้งคำสั่งโอนย้าย โดยนายจิรชัยมีคำสั่งให้ พ.ต.ท.พงศ์พร รักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกฯ ส่วนอีก 1 คำสั่ง เป็นการมอบหมายให้ พ.ต.ท.พงศ์พรรับผิดชอบตรวจราชการในเขตตรวจราชการที่ 8 ซึ่งประกอบด้วย จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา โดยให้มีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย.เป็นต้นไป
ด้านนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พ.ต.ท.พงศ์พร ทำหนังสือแย้งคำสั่งถูกโอนย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการสำนักนายกฯ โดยยืนยันว่า นายกฯ มอบให้ตนกำกับดูแล พศ.แล้ว ดังนั้นถือว่าตนเป็นผู้บังคับบัญชาของ พ.ต.ท.พงศ์พร ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้า พ.ต.ท.พงศ์พรจะฝืนไม่รับคำสั่งผู้บังคับบัญชาได้หรือไม่ นายออมสิน กล่าวว่า ไม่รับคำสั่งผู้บังคับบัญชาคงไม่ได้กระมัง
ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ได้ออกมายืนยันอีกครั้งว่า พ.ต.ท.พงศ์พร ปฏิบัติหน้าที่ได้ดี ไม่มีปัญหา แต่เพื่อความเหมาะสม เห็นควรให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่น และว่า พศ.มีภารกิจช่วยงานด้านพระพุทธศาสนา ในฐานะเลขาธิการมหาเถรสมาคม(มส.) ดังนั้นผู้อำนวยการ พศ.ต้องเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ ร่วมงานกันได้ พร้อมมีหน้าที่ปราบทุจริต ซึ่งที่ผ่านมา พ.ต.ท.พงศ์พร ทำได้ดีแล้ว แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบเป็นการดูจากภายในไปสู่ภายนอก ตรวจสอบตั้งแต่คนใน พ.ศ.ไปถึงไวยาวัจกร ตลอดจนชาวบ้าน
นายวิษณุ ยังกล่าวอีกว่า พศ.มีภารกิจร่วมจัดศาสนพิธีในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับกรมการศาสนา จึงให้นายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.คนใหม่ และตั้งใจให้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมการศาสนาต่อไปจนกว่าจะเสร็จพระราชพิธีด้วย นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ดินอัลไพน์ที่ พศ.และ มส.ต้องร่วมกันแก้ปัญหาให้ผู้เดือดร้อนที่ซื้อที่ดินมาโดยสุจริต ดังนั้นผู้อำนวยการ พศ.จึงต้องมีภาวะผู้นำ ต้องทำงานร่วมกับคณะสงฆ์ ตำรวจ และกรมที่ดินได้อย่างใกล้ชิด
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานเครือข่ายประชาชนปฏิรูป และอดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงการย้าย พ.ต.ท.พงศ์พรไปเป็นผู้ตรวจราชการสำนักนายกฯ และมีคำสั่งแต่งตั้งให้นายกนก แสนประเสริฐ รองผู้อำนวยการ พศ. รักษาราชการแทนว่า คำสั่งดังกล่าวมีปัญหา เพราะอนุมัติให้ผู้อำนวยการ พศ.ไปช่วยราชการที่สำนักปลัดสำนักนายกฯ ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. ทั้งที่ยังไม่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งผลให้ผู้อำนวยการ พศ.ยังทำงานในตำแหน่งเดิมต่อไปได้
นายไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า ตนยังเห็นว่า คำสั่งจากสำนักปลัดสำนักนายกฯ ที่ให้ พ.ต.ท.พงศ์พร รับผิดชอบเขตราชการ 8 นั้น ค่อนข้างรวบรัดรวดเร็วผิดปกติ อีกทั้งยังแย้งกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ให้สัมภาษณ์เหตุผลที่ย้ายผู้อำนวยการ พศ.ว่า เพื่อให้มาทำงานปฏิรูปศาสนา ซึ่งจะมาทำงานใกล้ตัว แต่จากคำสั่ง กลับเป็นการย้ายให้ไปตรวจราชการ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้สังคมตั้งคำถามว่า การย้ายครั้งนี้ช่วยปฏิรูปศาสนาได้อย่างไร และมีสิ่งผิดปกติจากการย้ายครั้งนี้หรือไม่ “ในฐานะที่เคยส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องใช้อำนาจโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง จึงตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบกับการย้ายผู้อำนวยการ พศ.ครั้งนี้ เข้าใจว่า ฝ่ายบริหารมีสิทธิทำได้ แต่ต้องคำนึงถึงกฎระเบียบและต้องมีธรรมาภิบาลด้วย จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขให้ถูกต้อง”
4.ศาล ปค.สูงสุด พิพากษากลับศาล ปค.ชั้นต้น ชี้ ขสมก.มีสิทธิยึดเงินประกัน “เบสท์ริน” 338 ล้าน!
เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีพิพาทระหว่างบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด ผู้ฟ้องคดี และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.ผู้ถูกฟ้องคดี กรณีการจัดซื้อรถยนต์โดยสารปรับอากาศที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ(NGV) เป็นเชื้อเพลิง โดยศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้ ขสมก.ระงับการใช้สิทธิเรียกร้องเงินประกันจากธนาคารไอซีบีซี(ไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด จำนวน 338.9 ล้านบาทเศษ จากกรณีบริษัท เบสท์รินถูกกล่าวหาผิดสัญญาการส่งมอบรถยนต์โดยสารปรับอากาศจำนวน 390 คัน ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว โดยมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของผู้ฟ้องคดี
ทั้งนี้ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า การบอกเลิกสัญญาระหว่างบริษัท เบสท์รินกับ ขสมก.ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงในชั้นนี้ยังไม่อาจรับฟังได้ว่า ขสมก.กระทำผิดสัญญา และเมื่อ ขสมก.บอกเลิกสัญญากับบริษัท เบสท์รินแล้ว ขสมก.ย่อมมีสิทธิริบหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาและเรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันการปฏิบัติงานตามสัญญาของบริษัท เบสท์รินรับผิด ชดใช้เงินตามหนังสือค้ำประกันให้แก่ ขสมก.ได้ เนื่องจากเป็นสิทธิของ ขสมก.ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา และแม้ธนาคารผู้ค้ำประกันจะได้ใช้เงินตามหนังสือค้ำประกันให้แก่ ขสมก.และได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากบริษัท เบสท์รินให้ชดใช้เงินดังกล่าวคืนให้แก่ธนาคารก็ตาม แต่หากต่อมาปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขสมก.เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลย่อมกำหนดคำบังคับให้ ขสมก.ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท เบสท์รินได้ ความเสียหายของบริษัท เบสท์ริน จึงไม่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง
นอกจากนี้ข้อเท็จจริงยังปรากฏอีกว่า ก่อนที่ศาลปกครองชั้นต้นจะมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้แก่บริษัท เบสท์ริน เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารไอซีบีซี(ไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของบริษัท เบสท์ริน ได้ใช้เงินตามหนังสือค้ำประกันให้แก่ ขสมก.ไปแล้วจำนวน 338.9 ล้านบาทเศษ กรณีจึงเห็นได้ชัดเจนว่า ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามคำขอของบริษัท เบสท์ริน ศาลปกครองสูงสุดจึงไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นและให้ยกคำขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราวของบริษัท เบสท์ริน
5.ศาลทหารเลื่อนสอบคำให้การ 19 แกนนำ นปช.คดีขัดคำสั่ง คสช.ไปปีหน้า เหตุจำเลยมาศาลไม่ครบ!
เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ศาลทหารกรุงเทพฯ ได้นัดสอบคำให้การคดีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) แถลงข่าวเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ฉบับที่ 7/2557 ที่ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป ที่อิมพิเรียลลาดพร้าว เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2559
สำหรับคดีนี้ มีจำเลย 19 คน ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช., นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช., นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก, นางธิดา ถาวรเศรษฐ, จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ, นพ.เหวง โตจิราการ, นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ, นายยงยุทธ ติยะไพรัช, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์, นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์, นายสมหวัง อัสราษี, นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ์, นายเกริกมนตรี รุจโสตถิรพัฒน์, นายอารี ไกรนรา, นายสมชาย ใจมุ่ง, นายพรศักดิ์ ศรีละมุล, นายศักดิ์รพี พรหมชาติ และนายนิสิต สินธุไพร
ทั้งนี้ เมื่อถึงเวลาที่ศาลนัด กรมราชทัณฑ์ได้นำตัวนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.ที่อยู่ระหว่างถูกจำคุกในคดีปราศรัยหมิ่นประมาทนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าสั่งฆ่าประชาชน และนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ซึ่งถูกจำคุกในคดีหมิ่นเบื้องสูง จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาศาล โดยทั้งสองมีสีหน้ายิ้มแย้ม ทักทายมวลชนที่มาให้กำลังใจประมาณ 20 คน
ด้านนางธิดา ถาวรเศรษฐ กล่าวว่า การเดินทางมาขึ้นศาลทหารครั้งนี้ เนื่องจากศาลได้เลื่อนนัดสอบคำให้การจากครั้งที่แล้ว เพราะจำเลยมาไม่ครบ 19 คน และว่า คดีนี้ถือว่าเป็นคดีที่มีผู้ถูกกล่าวหามากที่สุดในประวัติศาสตร์ นางธิดา ยืนยันด้วยว่า การร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติ นปช.มีความปรารถนาดีที่ต้องการให้การทำประชามติมีความโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับ และมั่นใจว่าไม่ใช่การชุมนุมทางการเมือง
ต่อมา ตุลาการศาลทหารได้สั่งเลื่อนการสอบคำให้การคดี 19 แกนนำ นปช.ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ไปเป็นวันที่ 7 มี.ค.2561 หลังทนายความได้แจ้งต่อศาลว่า นายศักดิ์รพี พรหมชาติ 1 ในจำเลยมีอาการป่วย ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช.กล่าวว่า นายศักดิ์รพีป่วย ต้องเข้ารับการรักษาตัวด้วยการผ่าตัดที่โรงพยาบาล โดยมีใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐานยื่นต่อศาล และทางศาลใช้ดุลพินิจสั่งเลื่อนสอบคำให้การใหม่ในวันที่ 7 มี.ค.2561 ซึ่งระหว่างนี้ ทางกลุ่ม นปช.จะเตรียมข้อมูลหลักฐานให้มีความพร้อมยิ่งขึ้น
6.“เจ้าสัวบุญชัย” เข้าให้ปากคำดีเอสไอ ยันซื้อคฤหาสน์หรูบนยอดเขาพังงาจากเพื่อน ไม่ได้เจตนารุกป่า!
ความคืบหน้ากรณีเจ้าหน้าที่สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ กรมป่าไม้ ทหารกองทัพภาคที่ 4 ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา และกองกำลังชุดพยัคฆ์ไพร เข้าตรวจค้นบ้านพักตากอากาศ 2 หลัง บนเขาในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าควนโต๊ะหลาและป่าแหลมชำ ต.คลองเคียน อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ชื่อ “บ้านดาวล้อม” มูลค่าไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าเป็นของนักธุรกิจใหญ่ใน จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ย. นายบุญชัย เบญจรงคกุล เจ้าสัวหมื่นล้าน พร้อมทนายความ ได้เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน ผู้อำนวยการกองคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และนายพิเชฏฐ์ ทองศรีนุ่น พนักงานสอบสวนดีเอสไอ เพื่อให้ปากคำหลังมีชื่อเป็นเจ้าของคฤหาสน์ดังกล่าว
มีรายงานว่า การเรียกนายบุญชัยมาให้ปากคำในครั้งนี้ เนื่องจากพนักงานสอบสวนต้องการทราบว่า นายบุญชัยซื้อที่ดินต่อมาจากใคร ในปีใด ราคาเท่าไร เนื่องจากดีเอสไอต้องการสาวให้เห็นเส้นทางเงินว่า จะโยงไปถึงเสี่ย “ธ” นักธุรกิจดังใน จ.ภูเก็ตหรือไม่ เนื่องจากมีชื่อเป็นเจ้าของโฉนดคนแรก นอกจากนี้จะดูว่านายบุญชัยมีเจตนาบุกรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ หรือเป็นเพียงผู้รับซื้อคฤหาสน์ต่ออีกทอด โดยไม่ทราบว่ารุกที่ป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ บ้านดาวล้อมจะต้องถูกรื้อถอน เพราะสร้างบนที่ดินป่าสงวนฯ และออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ
หลังให้ปากคำนานกว่า 3 ชั่วโมง นายบุญชัยให้สัมภาษณ์ว่า มาชี้แจงกับพนักงานสอบสวนดีเอสไอ เพราะได้รับจดหมายเชิญ โดยเจ้าหน้าที่สอบถามเกี่ยวกับเครือข่ายอันดามัน ที่แจ้งว่ามีกลุ่มนายทุนเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จึงเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ มาชี้แจงถึงการได้มาซึ่งที่ดินใน จ.พังงา ว่า ได้มาโดยสุจริต ซื้อมาจากเพื่อนที่ทำโครงการบ้านตากอากาศ บริษัท เคปพังงา รีสอร์ท โดยเป็นเพื่อนนักเรียนสมัยเรียนที่สหรัฐอเมริกา และโครงการดังกล่าวก็ซื้อต่อจากบุคคลในพื้นที่อีกทอดหนึ่ง "ส่วนสภาพที่ดินก่อนและหลังซื้อเป็นอย่างไร รวมถึงราคาซื้อขายตลอดจนขั้นตอนการชำระเงิน ผมได้แจ้งต่อดีเอสไอไปหมดแล้ว และเชื่อว่าทางดีเอสไอน่าจะพอใจในคำตอบที่เตรียมมาอย่างครบถ้วน รวมทั้งสัญญาซื้อขาย ใบอนุญาตก่อสร้าง ที่มาของบริษัทที่ไปไถ่ถอนที่ดินทุกแปลงจากธนาคารกสิกรไทย สำหรับที่ดินดังกล่าวจะต้องถูกเพิกถอนหรือไม่ขอให้เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ผมมีหน้าที่มาแสดงความบริสุทธิ์ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นคนบุกรุกป่า แต่ซื้อต่อมาจากบริษัทพัฒนาที่ดิน"
ด้าน พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน ผู้อำนวยการกองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า หลังสอบปากคำพยานที่มีชื่อเป็นผู้เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับที่ดินดังกล่าวไปแล้ว 2 ปาก ยังต้องดูข้อเท็จจริงให้ครอบคลุมอีกครั้งว่า การออกเอกสารสิทธิ์กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดีเอสไอต้องสอบสวนทุกมิติ "ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุเจตนาในการครอบครองที่ดินอย่างชัดเจนได้ ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เพราะต้องสอบพยานอีกหลายปาก รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ดินและป่าไม้ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่า ในคดีมีพยานทั้งหมดกี่ปาก เพราะเมื่อสอบปากคำไปแล้วเกี่ยวข้องกับใครเพิ่มเติม ก็ต้องขยายผลสอบปากคำประจักษ์พยานรายอื่นต่อไปด้วย ขณะที่การอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศก็ต้องใช้เวลา"
1.“บิ๊กป้อม” เผยกล้องวงจรปิดจับภาพ “ยิ่งลักษณ์” นั่งเบนซ์ผ่านด่านทหารที่สระแก้ว ด้าน “ศรีวราห์” รับ ข้อมูลตรงตำรวจ แต่ไม่รู้ออกนอก ปท.แล้วหรือไม่!
เมื่อวันที่ 8 ก.ย. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงการตรวจสอบเส้นทางหลบหนีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยคดีปล่อยปละละเลยไม่ระงับยับยั้งทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกหมายจับ หลังไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก ทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบกล้องวงจรปิดตลอดเส้นทาง จุดที่กล้องวงจรปิดจับได้คือ ช่วงผ่านด่านทหาร จ.สระแก้วไป แต่จับภาพได้ไม่ถึงสุดด่านชายแดน เบื้องต้นพบยานพาหนะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ใช้หลบหนีเป็นรถเก๋งยี่ห้อเมอร์เซเดส-เบนซ์ ส่วนรายละเอียดต่างๆ จะเรียกผู้ขับรถคันดังกล่าวมาสอบถาม
ด้าน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประวิตรระบุว่ากล้องวงจรปิดจับภาพรถต้องสงสัยพา น.ส.ยิ่งลักษณ์ หลบหนีได้บริเวณช่วงผ่านด่านทหาร จ.สระแก้วว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องการข่าวของความมั่นคง ตอนนี้ทาง พล.อ.ประวิตรยังไม่ได้สั่งการเข้ามาแต่อย่างใด เรื่องนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีข้อมูลดังกล่าว
ขณะที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ไม่ทราบว่า พล.อ.ประวิตรนำหลักฐานอะไรแสดงกับสื่อมวลชนว่า พบรถของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไปด่านชายแดน จ.สระแก้ว แต่จากการสืบสวนมีหลักฐานต้องสงสัยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางไป จ.สระแก้ว แนวทางสืบสวนของตำรวจจึงพุ่งเป้าไปที่ จ.สระแก้วเช่นกัน และได้รายงาน พล.อ.ประวิตรตั้งแต่ต้นแล้ว อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.ศรีวราห์ กล่าวว่า ถึงแม้จะมีหลักฐานบางส่วน แต่ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ออกนอกประเทศแล้วหรือไม่
2.ดีเอสไอเร่งสอบคดีฟอกเงินแบงก์กรุงไทย ยันไม่ได้ตั้งธงสั่งฟ้อง “โอ๊ค พานทองแท้” ขณะที่เจ้าตัวโวย ถูกยัดเยียดความผิด!
เมื่อวันที่ 6 ก.ย. พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความคืบหน้าคดีฟอกเงินเกี่ยวกับการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทยให้กับกลุ่มบริษัท กฤษดามหานคร หลังมีการเผยแพร่เอกสารผ่านสื่อออนไลน์ว่า มีการตั้งธงสั่งให้แจ้งข้อกล่าวหานายพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายนายทักษิณ ชินวัตร ในข้อหาร่วมกันฟอกเงิน
หลังประชุม นายขจรศักดิ์ พุทธานุภาพ อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 3 เผยว่า ที่ประชุมคณะพนักงานสอบสวนสำนวนยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ได้สั่งการให้แต่ละหน่วยงาน เช่น ปปง. อัยการสำนักการสอบสวน และพนักงานสอบสวน กองคดีการเงินการธนาคาร ไปรวบรวมพยานหลักฐานและสอบปากคำเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น เส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยจะเร่งรัดให้เร็วที่สุด เพราะคดีความใกล้จะหมดอายุความในปี 2561
นายขจรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า “ขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องเรียกตัวนายพานทองแท้มาสอบสวนเพิ่มเติม ยืนยันว่า คณะพนักงานสอบสวนไม่ได้มีการตั้งธงในการสั่งฟ้องคดีใครเป็นพิเศษ เพราะการมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งต้องให้คำตอบกับสังคมได้ และมั่นใจว่า คดีนี้ไม่ได้มีการดึงสำนวนให้ล่าช้าจนหมดอายุความอย่างแน่นอน”
ด้านนายพานทองแท้ ชินวัตร ได้โพสต์เฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 8 ก.ย.โดยนำเอกสารมาแฉถึงคนมีอำนาจสั่งกลั่นแกล้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาสาว ในคดีจำนำข้าว และคดีฟอกเงินธนาคารกรุงไทยของตนเอง
พร้อมยกคำกล่าวของมงแต็สกีเยอที่นายทักษิณ ชินวัตร บิดาเพิ่งอ้างถึงเมื่อเร็วๆ นี้ว่า "ไม่มีความเลวร้ายใด ที่จะยิ่งไปกว่าความเลวร้ายที่ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย หรือในนามของกระบวนการยุติธรรม" นายพานทองแท้ ระบุตอนหนึ่งว่า "ขณะนี้ได้มีเอกสารหลุดอีกฉบับหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องของตัวผมโดยตรง ซึ่งเป็นของอดีตรองอธิบดีดีเอสไอ ที่ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมว่า ได้รับคำสั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาเพื่อดำเนินคดีกับพานทองแท้ ทั้งๆ ที่ตนเองได้ชี้แจงข้อเท็จจริงให้ผู้สั่งการทราบแล้วว่า ธุรกรรมของนายพานทองแท้นั้น ไม่ได้มีส่วนใดที่ผิดกฎหมาย จึงไม่สามารถแจ้งข้อกล่าวหาเพื่อดำเนินคดีได้ เป็นเหตุให้ตนเองต้องถูกปลดออกจากตำแหน่งรองอธิบดีฯ ไปนั่งตบยุงที่สำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งได้บรรยายเหตุการณ์ในการสั่งการอย่างไม่ชอบธรรม โดยมีพยานยืนยันซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของดีเอสไอเองอยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย"
นายพานทองแท้ ยังระบุอีกว่า "กระบวนการยุติธรรมของไทยเราทุกวันนี้ บิดเบี้ยวถึงขั้นจะตรวจสอบเรื่องข้าว หัวหน้า คสช.ก็สั่งการกับข้าราชการด้วยตัวเองว่า ไม่ต้องคำนึงกระบวนการยุติธรรม ใครไม่เร่งทำถือว่ามีความผิด จะตรวจสอบคดีแบงค์กรุงไทย ซึ่งมีการกู้เงินนับหมื่นล้าน แทนที่จะไปตรวจสอบองค์กรที่ได้รับผลประโยชน์ก้อนใหญ่ หรือรายชื่อนายทหารนายตำรวจ และบุคคลองค์กรอื่นๆ อีกกว่า 300 ธุรกรรม (รวมถึงมูลนิธิรัฐบุรุษฯ และนายพลเรือคนดัง ก็มีชื่อรับโอนเงินก้อนดังกล่าวด้วย) กลับไม่สนใจจะตรวจสอบ แต่กลับมาสั่งการกับผู้ปฏิบัติแบบเน้นๆ ให้จ้องเอาผิดกับธุรกรรมทางการเงินจำนวน 10 ล้าน ซึ่งเท่ากับ 0.1 % ของจำนวนเงินทั้งหมด เพียงเพราะว่าเป็นธุรกรรมทางการเงินของลูกอดีตนายกรัฐมนตรี ที่ตัวเองตั้งธงเอาไว้แล้วว่า จะต้องยัดเยียดความผิดให้ได้ เรื่องแบบนี้ ถ้าไม่เกิดกับลูกหลานตัวเองบ้าง ผู้มีอำนาจที่สั่งการกันมาเป็นทอดๆ อาจจะยังไม่รู้สึกหรอกครับ แต่ผมเชื่อว่าสักวันหนึ่งเวรกรรมจะตามทัน ถ้าไม่เชื่อใน"กฎแห่งกรรม" ก็เชิญผู้มีอำนาจสั่งการหาเรื่องกันต่อไปเถอะครับ วันไหนกรรมตามสนองลูกหลานตัวเองบ้าง ก็ขออย่าได้โอดครวญแล้วกัน"
3.“พ.ต.ท.พงศ์พร” อุทธรณ์คำสั่งเด้งพ้น ผอ.สำนักพุทธฯ ด้าน สปน.จัดหนัก ให้ลงใต้ ขณะที่ “ไพบูลย์” เตือนย้ายมิชอบ ระวังซ้ำรอย “ถวิล”!
ความคืบหน้ากรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 29 ส.ค. มีมติอนุมัติตามที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เสนอเรื่องที่สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ ขอรับโอน พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมเสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกฯ โดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์แก่ราชการและทดแทนตำแหน่งที่ว่าง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ยืนยันว่า การโยกย้ายดังกล่าวไม่ได้เป็นการสั่งเด้ง แต่เป็นเพราะทำงานส่วนหนึ่งเสร็จแล้ว จึงให้มาช่วยงานใกล้ๆ ตนเพื่อปฏิรูปพระพุทธศาสนา ยืนยันไม่ใช่การลงโทษ ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ก็ยืนยันว่า การย้าย พ.ต.ท.พงศ์พร ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ พ.ต.ทพงศ์พรเข้าไปสอบการทุจริตเงินทอนวัด พร้อมย้ำว่า เจ้าตัวไม่ได้มีความผิดอะไรและไม่มีอะไรเสียหาย เป็นคนทำงานดีมีประสิทธิภาพ
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ย. นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแล พศ.ได้มีบันทึกแต่งตั้งให้นายกนก แสนประเสริฐ รองผู้อำนวยการ พศ.รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ พศ. นอกจากนี้วันเดียวกัน ที่ประชุม ครม.ยังมีมติเห็นชอบขอรับโอนนายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.คนใหม่ แทน พ.ต.ท.พงศ์พร ตามที่นายออมสิน เสนอด้วย
ด้าน พ.ต.ท.พงศ์พร ได้ทำหนังสือในฐานะผู้อำนวยการ พศ.ส่งถึงรัฐมนตรีออมสิน ระบุว่า การแต่งตั้งรักษาราชการแทนตน ทำให้ตนไม่สามารถปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.ได้ ทั้งที่ตนสามารถอยู่ในตำแหน่งได้จนกว่าจะโปรดเกล้าฯ พ.ต.ท.พงศ์พร จึงยืนยันว่าตนจะอยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.จนกว่าจะมีการโปรดเกล้าฯ
เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่เพียง ครม.จะอนุมัติโอนย้าย พ.ต.ท.พงศ์พร พ้นตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.ไปเป็นผู้ตรวจราชการสำนักนายกฯ และให้นายมานัส มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.คนใหม่แทน แต่นายจิรชัย มูลทองโร่ย ปลัดสำนักนายกฯ ยังลงนามคำสั่งสำนักนายกฯ 2 ฉบับเมื่อวันที่ 6 ก.ย. ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ พ.ต.ท.พงศ์พร ทำหนังสือแย้งคำสั่งโอนย้าย โดยนายจิรชัยมีคำสั่งให้ พ.ต.ท.พงศ์พร รักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกฯ ส่วนอีก 1 คำสั่ง เป็นการมอบหมายให้ พ.ต.ท.พงศ์พรรับผิดชอบตรวจราชการในเขตตรวจราชการที่ 8 ซึ่งประกอบด้วย จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา โดยให้มีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย.เป็นต้นไป
ด้านนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พ.ต.ท.พงศ์พร ทำหนังสือแย้งคำสั่งถูกโอนย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการสำนักนายกฯ โดยยืนยันว่า นายกฯ มอบให้ตนกำกับดูแล พศ.แล้ว ดังนั้นถือว่าตนเป็นผู้บังคับบัญชาของ พ.ต.ท.พงศ์พร ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้า พ.ต.ท.พงศ์พรจะฝืนไม่รับคำสั่งผู้บังคับบัญชาได้หรือไม่ นายออมสิน กล่าวว่า ไม่รับคำสั่งผู้บังคับบัญชาคงไม่ได้กระมัง
ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ได้ออกมายืนยันอีกครั้งว่า พ.ต.ท.พงศ์พร ปฏิบัติหน้าที่ได้ดี ไม่มีปัญหา แต่เพื่อความเหมาะสม เห็นควรให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่น และว่า พศ.มีภารกิจช่วยงานด้านพระพุทธศาสนา ในฐานะเลขาธิการมหาเถรสมาคม(มส.) ดังนั้นผู้อำนวยการ พศ.ต้องเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ ร่วมงานกันได้ พร้อมมีหน้าที่ปราบทุจริต ซึ่งที่ผ่านมา พ.ต.ท.พงศ์พร ทำได้ดีแล้ว แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบเป็นการดูจากภายในไปสู่ภายนอก ตรวจสอบตั้งแต่คนใน พ.ศ.ไปถึงไวยาวัจกร ตลอดจนชาวบ้าน
นายวิษณุ ยังกล่าวอีกว่า พศ.มีภารกิจร่วมจัดศาสนพิธีในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับกรมการศาสนา จึงให้นายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.คนใหม่ และตั้งใจให้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมการศาสนาต่อไปจนกว่าจะเสร็จพระราชพิธีด้วย นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ดินอัลไพน์ที่ พศ.และ มส.ต้องร่วมกันแก้ปัญหาให้ผู้เดือดร้อนที่ซื้อที่ดินมาโดยสุจริต ดังนั้นผู้อำนวยการ พศ.จึงต้องมีภาวะผู้นำ ต้องทำงานร่วมกับคณะสงฆ์ ตำรวจ และกรมที่ดินได้อย่างใกล้ชิด
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานเครือข่ายประชาชนปฏิรูป และอดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงการย้าย พ.ต.ท.พงศ์พรไปเป็นผู้ตรวจราชการสำนักนายกฯ และมีคำสั่งแต่งตั้งให้นายกนก แสนประเสริฐ รองผู้อำนวยการ พศ. รักษาราชการแทนว่า คำสั่งดังกล่าวมีปัญหา เพราะอนุมัติให้ผู้อำนวยการ พศ.ไปช่วยราชการที่สำนักปลัดสำนักนายกฯ ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. ทั้งที่ยังไม่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งผลให้ผู้อำนวยการ พศ.ยังทำงานในตำแหน่งเดิมต่อไปได้
นายไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า ตนยังเห็นว่า คำสั่งจากสำนักปลัดสำนักนายกฯ ที่ให้ พ.ต.ท.พงศ์พร รับผิดชอบเขตราชการ 8 นั้น ค่อนข้างรวบรัดรวดเร็วผิดปกติ อีกทั้งยังแย้งกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ให้สัมภาษณ์เหตุผลที่ย้ายผู้อำนวยการ พศ.ว่า เพื่อให้มาทำงานปฏิรูปศาสนา ซึ่งจะมาทำงานใกล้ตัว แต่จากคำสั่ง กลับเป็นการย้ายให้ไปตรวจราชการ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้สังคมตั้งคำถามว่า การย้ายครั้งนี้ช่วยปฏิรูปศาสนาได้อย่างไร และมีสิ่งผิดปกติจากการย้ายครั้งนี้หรือไม่ “ในฐานะที่เคยส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องใช้อำนาจโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง จึงตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบกับการย้ายผู้อำนวยการ พศ.ครั้งนี้ เข้าใจว่า ฝ่ายบริหารมีสิทธิทำได้ แต่ต้องคำนึงถึงกฎระเบียบและต้องมีธรรมาภิบาลด้วย จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขให้ถูกต้อง”
4.ศาล ปค.สูงสุด พิพากษากลับศาล ปค.ชั้นต้น ชี้ ขสมก.มีสิทธิยึดเงินประกัน “เบสท์ริน” 338 ล้าน!
เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีพิพาทระหว่างบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด ผู้ฟ้องคดี และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.ผู้ถูกฟ้องคดี กรณีการจัดซื้อรถยนต์โดยสารปรับอากาศที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ(NGV) เป็นเชื้อเพลิง โดยศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้ ขสมก.ระงับการใช้สิทธิเรียกร้องเงินประกันจากธนาคารไอซีบีซี(ไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด จำนวน 338.9 ล้านบาทเศษ จากกรณีบริษัท เบสท์รินถูกกล่าวหาผิดสัญญาการส่งมอบรถยนต์โดยสารปรับอากาศจำนวน 390 คัน ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว โดยมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของผู้ฟ้องคดี
ทั้งนี้ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า การบอกเลิกสัญญาระหว่างบริษัท เบสท์รินกับ ขสมก.ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงในชั้นนี้ยังไม่อาจรับฟังได้ว่า ขสมก.กระทำผิดสัญญา และเมื่อ ขสมก.บอกเลิกสัญญากับบริษัท เบสท์รินแล้ว ขสมก.ย่อมมีสิทธิริบหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาและเรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันการปฏิบัติงานตามสัญญาของบริษัท เบสท์รินรับผิด ชดใช้เงินตามหนังสือค้ำประกันให้แก่ ขสมก.ได้ เนื่องจากเป็นสิทธิของ ขสมก.ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา และแม้ธนาคารผู้ค้ำประกันจะได้ใช้เงินตามหนังสือค้ำประกันให้แก่ ขสมก.และได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากบริษัท เบสท์รินให้ชดใช้เงินดังกล่าวคืนให้แก่ธนาคารก็ตาม แต่หากต่อมาปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขสมก.เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลย่อมกำหนดคำบังคับให้ ขสมก.ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท เบสท์รินได้ ความเสียหายของบริษัท เบสท์ริน จึงไม่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง
นอกจากนี้ข้อเท็จจริงยังปรากฏอีกว่า ก่อนที่ศาลปกครองชั้นต้นจะมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้แก่บริษัท เบสท์ริน เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารไอซีบีซี(ไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของบริษัท เบสท์ริน ได้ใช้เงินตามหนังสือค้ำประกันให้แก่ ขสมก.ไปแล้วจำนวน 338.9 ล้านบาทเศษ กรณีจึงเห็นได้ชัดเจนว่า ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามคำขอของบริษัท เบสท์ริน ศาลปกครองสูงสุดจึงไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นและให้ยกคำขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราวของบริษัท เบสท์ริน
5.ศาลทหารเลื่อนสอบคำให้การ 19 แกนนำ นปช.คดีขัดคำสั่ง คสช.ไปปีหน้า เหตุจำเลยมาศาลไม่ครบ!
เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ศาลทหารกรุงเทพฯ ได้นัดสอบคำให้การคดีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) แถลงข่าวเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ฉบับที่ 7/2557 ที่ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป ที่อิมพิเรียลลาดพร้าว เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2559
สำหรับคดีนี้ มีจำเลย 19 คน ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช., นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช., นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก, นางธิดา ถาวรเศรษฐ, จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ, นพ.เหวง โตจิราการ, นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ, นายยงยุทธ ติยะไพรัช, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์, นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์, นายสมหวัง อัสราษี, นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ์, นายเกริกมนตรี รุจโสตถิรพัฒน์, นายอารี ไกรนรา, นายสมชาย ใจมุ่ง, นายพรศักดิ์ ศรีละมุล, นายศักดิ์รพี พรหมชาติ และนายนิสิต สินธุไพร
ทั้งนี้ เมื่อถึงเวลาที่ศาลนัด กรมราชทัณฑ์ได้นำตัวนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.ที่อยู่ระหว่างถูกจำคุกในคดีปราศรัยหมิ่นประมาทนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าสั่งฆ่าประชาชน และนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ซึ่งถูกจำคุกในคดีหมิ่นเบื้องสูง จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาศาล โดยทั้งสองมีสีหน้ายิ้มแย้ม ทักทายมวลชนที่มาให้กำลังใจประมาณ 20 คน
ด้านนางธิดา ถาวรเศรษฐ กล่าวว่า การเดินทางมาขึ้นศาลทหารครั้งนี้ เนื่องจากศาลได้เลื่อนนัดสอบคำให้การจากครั้งที่แล้ว เพราะจำเลยมาไม่ครบ 19 คน และว่า คดีนี้ถือว่าเป็นคดีที่มีผู้ถูกกล่าวหามากที่สุดในประวัติศาสตร์ นางธิดา ยืนยันด้วยว่า การร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติ นปช.มีความปรารถนาดีที่ต้องการให้การทำประชามติมีความโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับ และมั่นใจว่าไม่ใช่การชุมนุมทางการเมือง
ต่อมา ตุลาการศาลทหารได้สั่งเลื่อนการสอบคำให้การคดี 19 แกนนำ นปช.ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ไปเป็นวันที่ 7 มี.ค.2561 หลังทนายความได้แจ้งต่อศาลว่า นายศักดิ์รพี พรหมชาติ 1 ในจำเลยมีอาการป่วย ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช.กล่าวว่า นายศักดิ์รพีป่วย ต้องเข้ารับการรักษาตัวด้วยการผ่าตัดที่โรงพยาบาล โดยมีใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐานยื่นต่อศาล และทางศาลใช้ดุลพินิจสั่งเลื่อนสอบคำให้การใหม่ในวันที่ 7 มี.ค.2561 ซึ่งระหว่างนี้ ทางกลุ่ม นปช.จะเตรียมข้อมูลหลักฐานให้มีความพร้อมยิ่งขึ้น
6.“เจ้าสัวบุญชัย” เข้าให้ปากคำดีเอสไอ ยันซื้อคฤหาสน์หรูบนยอดเขาพังงาจากเพื่อน ไม่ได้เจตนารุกป่า!
ความคืบหน้ากรณีเจ้าหน้าที่สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ กรมป่าไม้ ทหารกองทัพภาคที่ 4 ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา และกองกำลังชุดพยัคฆ์ไพร เข้าตรวจค้นบ้านพักตากอากาศ 2 หลัง บนเขาในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าควนโต๊ะหลาและป่าแหลมชำ ต.คลองเคียน อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ชื่อ “บ้านดาวล้อม” มูลค่าไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าเป็นของนักธุรกิจใหญ่ใน จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ย. นายบุญชัย เบญจรงคกุล เจ้าสัวหมื่นล้าน พร้อมทนายความ ได้เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน ผู้อำนวยการกองคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และนายพิเชฏฐ์ ทองศรีนุ่น พนักงานสอบสวนดีเอสไอ เพื่อให้ปากคำหลังมีชื่อเป็นเจ้าของคฤหาสน์ดังกล่าว
มีรายงานว่า การเรียกนายบุญชัยมาให้ปากคำในครั้งนี้ เนื่องจากพนักงานสอบสวนต้องการทราบว่า นายบุญชัยซื้อที่ดินต่อมาจากใคร ในปีใด ราคาเท่าไร เนื่องจากดีเอสไอต้องการสาวให้เห็นเส้นทางเงินว่า จะโยงไปถึงเสี่ย “ธ” นักธุรกิจดังใน จ.ภูเก็ตหรือไม่ เนื่องจากมีชื่อเป็นเจ้าของโฉนดคนแรก นอกจากนี้จะดูว่านายบุญชัยมีเจตนาบุกรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ หรือเป็นเพียงผู้รับซื้อคฤหาสน์ต่ออีกทอด โดยไม่ทราบว่ารุกที่ป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ บ้านดาวล้อมจะต้องถูกรื้อถอน เพราะสร้างบนที่ดินป่าสงวนฯ และออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ
หลังให้ปากคำนานกว่า 3 ชั่วโมง นายบุญชัยให้สัมภาษณ์ว่า มาชี้แจงกับพนักงานสอบสวนดีเอสไอ เพราะได้รับจดหมายเชิญ โดยเจ้าหน้าที่สอบถามเกี่ยวกับเครือข่ายอันดามัน ที่แจ้งว่ามีกลุ่มนายทุนเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จึงเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ มาชี้แจงถึงการได้มาซึ่งที่ดินใน จ.พังงา ว่า ได้มาโดยสุจริต ซื้อมาจากเพื่อนที่ทำโครงการบ้านตากอากาศ บริษัท เคปพังงา รีสอร์ท โดยเป็นเพื่อนนักเรียนสมัยเรียนที่สหรัฐอเมริกา และโครงการดังกล่าวก็ซื้อต่อจากบุคคลในพื้นที่อีกทอดหนึ่ง "ส่วนสภาพที่ดินก่อนและหลังซื้อเป็นอย่างไร รวมถึงราคาซื้อขายตลอดจนขั้นตอนการชำระเงิน ผมได้แจ้งต่อดีเอสไอไปหมดแล้ว และเชื่อว่าทางดีเอสไอน่าจะพอใจในคำตอบที่เตรียมมาอย่างครบถ้วน รวมทั้งสัญญาซื้อขาย ใบอนุญาตก่อสร้าง ที่มาของบริษัทที่ไปไถ่ถอนที่ดินทุกแปลงจากธนาคารกสิกรไทย สำหรับที่ดินดังกล่าวจะต้องถูกเพิกถอนหรือไม่ขอให้เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ผมมีหน้าที่มาแสดงความบริสุทธิ์ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นคนบุกรุกป่า แต่ซื้อต่อมาจากบริษัทพัฒนาที่ดิน"
ด้าน พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน ผู้อำนวยการกองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า หลังสอบปากคำพยานที่มีชื่อเป็นผู้เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับที่ดินดังกล่าวไปแล้ว 2 ปาก ยังต้องดูข้อเท็จจริงให้ครอบคลุมอีกครั้งว่า การออกเอกสารสิทธิ์กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดีเอสไอต้องสอบสวนทุกมิติ "ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุเจตนาในการครอบครองที่ดินอย่างชัดเจนได้ ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เพราะต้องสอบพยานอีกหลายปาก รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ดินและป่าไม้ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่า ในคดีมีพยานทั้งหมดกี่ปาก เพราะเมื่อสอบปากคำไปแล้วเกี่ยวข้องกับใครเพิ่มเติม ก็ต้องขยายผลสอบปากคำประจักษ์พยานรายอื่นต่อไปด้วย ขณะที่การอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศก็ต้องใช้เวลา"