ม.เทคโนโลยีสุรนารี ออกแถลงการณ์เตือนคนแอบอ้างนำ “สารเคลือบเครื่องยนต์” ไปทดสอบ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หลังเจ้าของผลิตภัณฑ์สัมภาษณ์ลงสื่อ ด้านนักจัดรายการรถยนต์เตือน ผลิตภัณฑ์ไม่มีมาตรฐาน ไม่ขึ้นทะเบียน คุณสมบัติเยี่ยมเป็นเรื่องแหกตา เครื่องยนต์รอวันพังด้วยคราบยางเหนียว
รายงานข่าวแจ้งว่า ในโลกโซเชียลได้วิพากษ์วิจารณ์กรณีที่มีผลิตภัณฑ์สารเคลือบเครื่องยนต์ ในรูปแบบขวดคล้ายหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง ที่อ้างว่ามาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา ทำให้เครื่องยนต์ลื่น ทน แรง ป้องกันความเสียหายจากน้ำมันโซลาร์ลงเครื่อง ช่วยรักษาและยืดอายุแทนเทอร์โบ และถ้าใส่เฟืองท้ายจะช่วยเพิ่มความลื่นเหมือนน้ำหนักรถเบาลง โดยพบว่าจำหน่ายในราคาขวดละ 1,500 บาท และมีการรับสมัครตัวแทนจำหน่ายไปทั่วประเทศ กระทั่งเว็บไซต์แห่งหนึ่ง ได้สัมภาษณ์ผู้บริหารผลิตภัณฑ์ ในตอนหนึ่งระบุว่า “ก่อนที่จะออกวางจำหน่ายให้กับผู้บริโภคอย่างเป็นทางการ ผมได้ทดลองใช้กับรถมากกว่าพันคัน โดยเก็บข้อมูลอย่างใกล้ชิด หลังจากได้ทดลองใช้ไปเป็นระยะ จนมั่นใจในผลิตภัณฑ์ พร้อมกับนำไปเข้าห้องแล็บ เพื่อทดสอบที่ ม.สุรนารี พร้อมกับมีใบรับรองว่าผลิตภัณฑ์ของเราได้ผ่านการทดสอบ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์”
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา ออกแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่มีข้อความผู้กล่าวอ้างปรากฏทางสื่อสังคมออนไลน์ ว่า มีการนำผลิตภัณฑ์ช่วยเคลือบป้องกันการสึกหรอ และช่วยเพิ่มความแรงของเครื่องยนต์ มาเข้าห้องแล็ปเพื่อทดสอบที่ ม.สุรนารี พร้อมกับมีใบรับรองว่าผลิตภัณฑ์ได้รับการทดสอบนั้น ขอชี้แจงว่า ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีภารกิจหลักในการบริการห้องปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยทุกสาขาวิชา งานวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนบัณฑิตศึกษาและคณาจารย์ การวิจัยและการทดสอบขั้นสูง โดยร่วมมือกับเทคโนธานี ในการให้บริการผ่านหน่วยบริการห้องปฏิบัติการ (Laboratory Service Unite หรือ LSU) ภายใต้ระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 เพื่อให้บริการวิเคราะห์และทดสอบจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ข้อความดังกล่าวทำให้เข้าใจได้ว่า มีการออกใบรับรองผลิตภัณฑ์ว่าได้ผ่านการทดสอบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จากการตรวจสอบเบื้องต้น ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคยให้บริการวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวอย่างน้ำมันเครื่องให้กับนักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย แต่ไม่ปรากฎว่ามีผู้ประกอบการภายนอกรายใดนำผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างข้างต้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ต่อการกล้าวอ้างเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ และขอให้ผู้กระทำการยุติคำกล่าวอ้างดังกล่าว มิเช่นนั้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ด้านเฟซบุ๊ก “วรพล สิงห์เขียวพงษ์” ของ นายวรพล สิงห์เขียวพงษ์ นักจัดรายการวิทยุเกี่ยวกับรถยนต์ ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ที่กล่องบรรจุภัณฑ์ไร้ระบุมาตรฐานหรือการขึ้นทะเบียนใดๆ มีแต่แอบอ้างว่า แรงขึ้น อัตราเร่งดีขึ้น ประหยัดขึ้น สึกหรอน้อยลงนั้นเป็นไปไม่ได้ เมื่อเทียบกับกากน้ำมันที่กรอกขาย อีกทั้งเครื่องยนต์อาจจะรอวันพังด้วยคราบยางเหนียว อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจับแยกสารแล้วพบว่าห่วย เตรียมเผยแพร่ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เรียกตรวจสอบมาตรฐาน และการจดทะเบียนพบว่าไม่มี สัปดาห์หน้าเตรียมทยอยทดสอบอย่างมีมาตรฐาน คงเดาผลได้ว่าเป็นอย่างไร แต่สุดท้ายก็คงหนี