เกิดเป็นกระแสแชร์และส่งต่อในโลกออนไลน์ชนิดล้นหลามนับล้านๆ วิว สำหรับคลิป “สาวนักศึกษายืนฟ้อนร้องหมอลำ” จนใครๆ ต่างยกย่องและชมชอบในการสืบสานวัฒนธรรม
“อ๋อมแอ๋ม" หรือ นางสาวละมัย แสงทอง นักศึกษาชั้นที่ปี 4 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไม่ใช่เพียงเพิ่งจะเริ่มทำเป็นครั้งแรก และทำเพราะความสนุกสร้างกระแส แต่ทว่าทุกสิ่งอย่างเริ่มต้นผ่านคืนเดือนปี จากความชอบสู่ความรัก ก่อนจะพลิกฟื้นรากเหง้าสายเลือดจนแน่วแน่มั่งคง
และนี่ก็คือเรื่องราวเยาวชนวัยรุ่น--หมอลำสาว-- เน็ตไอดอลคนรุ่นใหม่ ที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญต่อไปในอนาคตและสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทยและชาวอีสานบ้านเฮา...
มนต์แคนหมอลำ
จุดเริ่มผู้สาวนุ่งซิ่น
“เริ่มแรกเลย แต่ก่อนหนูก็ไม่ได้ชอบหมอลำ แม้ว่าจะมีโอกาสได้สัมผัสในช่วงอายุประมาณ 14-15 ปี ที่ไปเรียนได้จากอาจารย์ที่เป็นผู้ชักชวนเข้าวงการ ร้องเพลงเป็นนักร้อง แต่จุดเริ่มต้นของหนูนั้นรักชอบทางด้านร้องเพลง เพลงลูกทุ่งบ้านๆ ถามว่าทำไมถึงชอบลูกทุ่ง ทั้งๆ ที่เป็นเด็กสมัยใหม่ เพราะว่าคุณพ่อคุณแม่ท่านชอบฟังเพลงลูกทุ่ง เราก็เลยซึมซับมาและได้รับอิทธิพลมาจากการที่ท่านจะเปิดทั้งขับรถไปรับ-ส่ง เปิดตอนอยู่ที่บ้าน ก่อนที่ท่านจะเสีย (ยิ้ม)
“เพลงที่ท่านชอบเปิดในยุคนั้นที่พอจำความได้ เป็นเพลงของพี่ต่าย อรทัย อัลบัมแรกเลย อัลบัมดอกหญ้าในป่าปูน เราก็ชอบก็ร้องหัดเองเรื่อยมา จนได้เริ่มประกวดตอนอยู่ ป.3 จากนั้นก็ประกวดเรื่อยมา ฝึกมาเรื่อยๆ ซ้อมเอง แล้วก็ได้คุณครูที่โรงเรียนสอนร้องบ้าง เพราะเป็นตัวแทนของโรงเรียนก็จะไปร้องงานมหกรรมต่างๆ แต่ไม่เคยได้รางวัลชนะเลิศ จนกระทั่งอายุ 14-15 ปี ช่วงเรียน ม.ต้น ก็ไปประกวดร้องเพลงงานลอยกระทงของจังหวัดอีกตามเคย แต่ครั้งนี้แตกต่างออกไป เพราะอาจารย์ลุน ลองซอง
“ท่านนำนักร้องมาประกวดด้วยเหมือนกัน ท่านก็เห็นแวว ก็เลยมาชักชวน เขาบอกว่าเสียงหนูเป็นเสียงที่แปลกไม่เหมือนใคร เป็นเสียงแหบ ใหญ่ๆ ฟังแล้วมีสำเนียงเสน่ห์ถึงอารมณ์ ก็เลยเกิดการทาบทามติดต่อกันและได้เซ็นสัญญากับค่าย ลองซองศิลป์อินคอนเสิร์ต มีผลงานเพลงชื่อว่า เซาหลายใจเด้ออ้าย แล้วก็เดินสายอยู่ 3 ปี จึงยกเลิกสัญญาเนื่องจากเรียนหนักขึ้น ในช่วงมัธยมปลาย บทบาทในการเป็นนักร้องก็ห่างไป ยิ่งเรื่องฟ้อน เรื่องหมอลำ ที่พ่อครูเพลงให้ไปศึกษากับแม่ครูกองมี มาลัยทอง ความสนใจยิ่งหายไปเลย เพราะ ณ เวลานั้นมีความรู้สึกแบบวัยรุ่นทั่วไป หมอลำเป็นสิ่งที่เชย สิ่งที่ล้าสมัย
“แต่แล้วพอมาเรียนมหา'ลัยชั้นปี 3 ปีที่ผ่านมา อยู่ๆ ก็รู้สึกคิดถึงแม่ครูกองมี ก็เลยเดินทางไปหาไปเยี่ยมคุณแม่ เพราะไม่ได้ติดต่อเลยตั้งแต่ตอนนั้น ทีนี้คุณแม่ก็เลยถามว่า “ยังจำหมอลำที่แม่เคยสอนได้บ่” คุณแม่ก็เลยให้ลุงหมอแคนมาเป่าแคนให้ แล้วก็ลองทบทวนดูหน่อย แต่พอได้ยินเสียงแคนดังขึ้นมา ปรากฏว่าจำได้หมด กลับมาโดยอัตโนมัติโดยที่เราก็สงสัยในตัวเองอยู่เหมือนกันว่าเพราะเหตุใด (ยิ้ม)
“ด้วยความประหลาดใจนั้น ในระหว่างที่ซ้อมๆ ให้แม่ครูท่านฟังก็เลยอัดคลิปวิดีโอแรกไปโพสต์ลงเฟซบุ๊กของตัวเอง ผลปรากฏว่าในคืนแรก ทะลุ 2 แสนวิว ผ่านไปอีกเดือนทะลุถึง 2 ล้านวิว คนแชร์ คนไลค์เยอะแยะไปหมด หมอลำก็เปลี่ยนทุกสิ่งอย่าง ก็เลยเกิดความรู้สึกว่าศิลปวัฒนธรรมอีสาน การแสดงอีสานที่เรียกว่าหมอลำ มันมีคุณค่า หนูก็เลยเปลี่ยนทัศนคติใหม่ เปลี่ยนความคิดของตัวเองจากที่เคยบอกว่ามันล้าสมัย มันเชย หันมาตั้งใจจะอนุรักษ์ไว้ ก็เลยไปให้คุณแม่สอน ขอเป็นผู้อนุรักษ์อีกครั้งหนึ่ง”
จากสาวเมืองอุบลคนรุ่นใหม่ ด้วยวันวัย 21 ปี เรียนปี 4 คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ สาขานิเทศศาสตร์ เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ ไม่ใช่ศิลปะฟ้อนร้องหมอลำจึงเชื่อมโยงต่อถึงกัน
“เฮ็ดสิ่งที่ดี
เป็นหยังสิต้องอาย”
“ตอนแรกๆ คนก็มองว่าเราแปลกและแตกต่างจากคนอื่นๆ กล้าได้ไง ไม่อายเหรอ (หัวเราะ) แต่หนูคิดเสมอว่า “เฮ็ดสิ่งที่ดี เป็นหยังกะต้องอาย” ตั้งแต่ตอนนั้นก็ทำ ตั้งมั่นเป็นอุดมการณ์ชิน หลังๆ เขาก็เริ่มได้ลองได้เห็นมาทำแบบเราที่เห็นจากคลิปแรกที่เราลงไปบ้าง เห็นจากที่ทางมหาวิทยาลัยครูอาจารย์ท่านก็ทราบว่าเรามีความสามารถตรงนี้ ทางมหา'ลัยมีหมอแคนอยู่แล้วเป็นรุ่นพี่คณะดนตรี เขาก็เลยอยากจะให้มีงานร่วมกันเวลามีงานของมหาวิทยาลัยเขาก็จะเรียกไป ก็กลายเป็นทีมอนุรักษ์โดยปริยาย คือเราไม่ว่าจะเป็นการร้องหมอลำหรือการแต่งกาย นุ่งผ้าถุง นอกจากเราจะอนุรักษ์เราก็ผสมผสานร่วมสมัยด้วย
“วัฒนธรรมอีสานอยู่ในสายเลือด แต่ด้วยค่านิยม ด้วยยุคสมัยทำให้เราลืมไป หลงไป อย่างเราในตอนเด็กๆ แต่พอเราได้ยินได้ฟัง มันคือสายเลือดเรา พ่อแม่ญาติพี่น้อง คุณปู่คุณย่า ไม่มีใครมาทางด้านนี้เลย ไม่มีใครร้องลำเป็นสักคน มีเราคนเดียวและคนแรกด้วย คนอื่นๆ ก็น่าจะเหมือนกัน แล้วพอได้ลองสัมผัสมันก็จะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งอย่าง ทั้งเรื่องความคิด มุมมองและการใช้ชีวิต ตอนนี้นอกจากหมอลำก็ยังมีเพลงของตัวเองอีกหนึ่งเพลงที่ทำเอง ร้องเอง ลงทุนเองประกอบร้านกาแฟที่ร้าน “คำฮัก กาแฟโบราณ” อยู่ที่ถนนอุบล-ตระการ เส้นสหกรณ์ออมทรัพย์
“คือทั้งหมดทั้งมวลตอนนี้ศิลปะหรือมรดกของสังคม ยิ่งเป็นของรากเหง้าต้นกำเนิดเราอีสาน เราอยากเป็นจุดจุดหนึ่งที่ทำให้สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ เพราะว่าตอนนี้สังคมของเยาวชนอย่างโลกโซเชียล เราก็รู้ๆ ว่าเปลี่ยนไปในทิศทางไหน มันทำให้เยาวชนรุ่นใหม่หลงใหลไปในวัฒนธรรมอื่นสิ่งอื่นเหล่านั้น ก็อยากจะเป็นจุดจุดหนึ่งที่อนุรักษ์ไว้แล้วก็สืบสานให้เขาเหล่านั้น ได้มองเห็นแง่งามความงามที่ดีของเรา อย่าอายในวัฒนธรรมของเรา ก็รู้สึกภูมิใจมาก เราสามารถเป็นตัวอย่างให้กับคนอื่นๆ ได้ ไม่ได้คิดว่าจะทำเพื่อสร้างกระแสของตัวเอง รับงานเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เราไม่รับงานการแสดงงานเลี้ยง งานแต่ง เพราะหนูตั้งใจจะเป็นตัวอย่าง เป็นแรงบันดาลใจกระตุ้นให้วัยรุ่นคิดนึกย้อนถึงคุณค่าวัฒนธรรมของบ้านเรา จะไปโชว์เฉพาะงานโชว์ศิลปวัฒนธรรมเท่านั้น
“ก็ยอมรับเลยค่ะว่าก็ท้อในช่วงแรกๆ ทั้งเรื่องมุมมองที่คนอื่นคิดและเรื่องการฝึกฝน ซึ่งในตอนที่ฝึกที่เรียนจะใช้โทรศัพท์บันทึกเสียงของแม่ครู ท่านก็จะร้องออกมาแล้วให้เรามาแกะเนื้อว่าท่อนนี้ร้องยังไง การร้องต้องร้องทีละท่อนให้ได้ก่อน ใช้ระยะเวลาเป็นเดือนๆ (ยิ้ม) ท้อมาก...ทำอย่างไรก็ร้องไม่ได้ เพราะว่าภาษาอีสานบางคำ เป็นคำที่เจาะลึกลงไป เป็นภาษาโบราณที่ไม่ค่อยได้ยินกัน เช่น กลอนเดินดงชมป่า ท่อนเดียว เดือนหนึ่งเต็มๆ คือยากมาก การร้องหมอลำ มันไม่ง่ายเหมือนร้องเพลง มันมีทั้งสังวาส สังวาสคือท่วงทำนอง สำเนียง มันจะต่างจากร้องเพลง ร้องเพลงเราร้องแบบไหนก็ได้ ร้องตามใจเราก็ได้ ตามความถนัดเรา แต่ว่าหมอลำเขาจะมีท่วงทำนองสังวาสกำหนดเอาไว้ เหมือนลำเต้ยจะเป็นอีกทำนองหนึ่ง ลำกลอน ลำล่อง ก็จะมีอีกท่วงทำนองหนึ่ง
“เมื่อเสร็จขั้นตอนของการท่องเนื้อ ในการสื่อความหมาย หมอลำยังแตกต่างจากเพลง เพลงจะให้ความบันเทิง คำสอนในมุมมุมหนึ่ง แต่หมอลำส่วนมากจะเล่าวิถีชีวิตของคนอีสาน บ่งบอกถึงความงดงามศิลปะอีสาน เป็นศาสตร์ที่ต่างจากเพลง นอกจากให้ความบันเทิง ยังเป็นคำสอนสอดแทรกคติสอนใจ เราก็ต้องแบ่งเวลาเพราะต้องเรียนไปด้วย ก็จะซ้อมทุกวัน เวลาไหนว่างก็เอามาเปิดแล้วร้องตาม เพราะเรารัก นี่คือคำตอบของคำถามที่หลายๆ คนถามกันมาก ทำไมต้องทำ ไม่มีเหตุผลที่ต้องมาทำ
“แม้ว่าสิ่งที่หนูทำวันนี้คนยังไม่เห็นหรือคิดว่าเอาหน้า เอากระแส ก็ไม่เสียใจ เพราะว่ารัก แต่ก็หวังว่ามันจะเป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิต ต่อสังคม ต่อเยาวชนรุ่นหลัง คือในความตั้งใจไม่อยากให้ศิลปะอีสานสูญหายไปกับกาลเวลา อย่าหลงลืมความเป็นรากเหง้าของตัวเอง ให้มีความรู้สึกภูมิใจในตัวเอง เราจะซาบซึ้งในสิ่งที่บรรพบุรุษเราได้เสียสละความยากและเหนื่อยล้ากระทั่งชีวิตเพื่อไว้ให้เราเป็นคนเต็มคน”
สิเฮ็ดจั๋งได๋ในทุกทาง
เพื่อสืบสานตำนานบรรพบุรุษ
“ทิศทางในอนาคต ก็ตั้งใจจะทำไปจนถึงที่สุด ถ้าเกิดวันหนึ่งเราเติบโตขึ้นแล้ว พอมีศักยภาพในการที่จะช่วยขับเคลื่อนวัฒนธรรมสู่สากล ก็อยากจะทำเป็นทูตวัฒนธรรมในความตั้งใจ อยากจะทำให้วัฒนธรรมเผยแพร่ออกไปแล้วเป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาคไหนๆ รวมถึงต่างชาติ ณ ตอนนี้ ที่คิดและตั้งเป้าหมายไว้ ในส่วนของการอนุรักษ์วัฒนธรรม อีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของการต่อยอดความรู้ เพราะยังไม่ได้ศึกษาแก่นแท้ๆ ของหมอลำเลย กำลังเป็นผู้ศึกษา ความรู้ความสามารถยังไม่ถ่องแท้ ก็ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมอีก ตอนนี้่ก็มีโอกาสไปเรียนระยะสั้นศึกษากับแม่ครู บ้านเย็น รากแก่น ด้วย
“ก็อยากจะฝากจากใจจริงๆ ยิ่งเราแตกต่างในทางที่ดี เรายิ่งมีคุณค่า ยิ่งทำให้สังคมเห็นว่าสิ่งที่เราทำเป็นคุณค่า มีความหมาย ไม่อยากให้อายในการทำดี อยากให้เปลี่ยนทัศนคติ แล้วจะรู้สึกรักและเข้าใจตัวเอง ไม่เสียหาย มีแต่ได้คุณค่า เชื่อว่ามีวัยรุ่นหลายล้านคนที่อยากทำและเป็นในสิ่งเหล่านี้ ก็ขอให้ศึกษาและตั้งใจแน่วแน่ ให้รู้สึกว่าเราภูมิใจในตัวเอง พึงระลึกถึงมรดกของพ่อแม่ปู่ย่าตายายที่รักเรา สิ่งเหล่านี้นอกจากมีประโยชน์แล้วยังมีคุณค่ามากมายมหาศาลเป็นแก่นแบบแผนของชีวิตเราได้มากมาย”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : อ๋อมแอ๋ม ละมัย แสงทอง
“อ๋อมแอ๋ม" หรือ นางสาวละมัย แสงทอง นักศึกษาชั้นที่ปี 4 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไม่ใช่เพียงเพิ่งจะเริ่มทำเป็นครั้งแรก และทำเพราะความสนุกสร้างกระแส แต่ทว่าทุกสิ่งอย่างเริ่มต้นผ่านคืนเดือนปี จากความชอบสู่ความรัก ก่อนจะพลิกฟื้นรากเหง้าสายเลือดจนแน่วแน่มั่งคง
และนี่ก็คือเรื่องราวเยาวชนวัยรุ่น--หมอลำสาว-- เน็ตไอดอลคนรุ่นใหม่ ที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญต่อไปในอนาคตและสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทยและชาวอีสานบ้านเฮา...
มนต์แคนหมอลำ
จุดเริ่มผู้สาวนุ่งซิ่น
“เริ่มแรกเลย แต่ก่อนหนูก็ไม่ได้ชอบหมอลำ แม้ว่าจะมีโอกาสได้สัมผัสในช่วงอายุประมาณ 14-15 ปี ที่ไปเรียนได้จากอาจารย์ที่เป็นผู้ชักชวนเข้าวงการ ร้องเพลงเป็นนักร้อง แต่จุดเริ่มต้นของหนูนั้นรักชอบทางด้านร้องเพลง เพลงลูกทุ่งบ้านๆ ถามว่าทำไมถึงชอบลูกทุ่ง ทั้งๆ ที่เป็นเด็กสมัยใหม่ เพราะว่าคุณพ่อคุณแม่ท่านชอบฟังเพลงลูกทุ่ง เราก็เลยซึมซับมาและได้รับอิทธิพลมาจากการที่ท่านจะเปิดทั้งขับรถไปรับ-ส่ง เปิดตอนอยู่ที่บ้าน ก่อนที่ท่านจะเสีย (ยิ้ม)
“เพลงที่ท่านชอบเปิดในยุคนั้นที่พอจำความได้ เป็นเพลงของพี่ต่าย อรทัย อัลบัมแรกเลย อัลบัมดอกหญ้าในป่าปูน เราก็ชอบก็ร้องหัดเองเรื่อยมา จนได้เริ่มประกวดตอนอยู่ ป.3 จากนั้นก็ประกวดเรื่อยมา ฝึกมาเรื่อยๆ ซ้อมเอง แล้วก็ได้คุณครูที่โรงเรียนสอนร้องบ้าง เพราะเป็นตัวแทนของโรงเรียนก็จะไปร้องงานมหกรรมต่างๆ แต่ไม่เคยได้รางวัลชนะเลิศ จนกระทั่งอายุ 14-15 ปี ช่วงเรียน ม.ต้น ก็ไปประกวดร้องเพลงงานลอยกระทงของจังหวัดอีกตามเคย แต่ครั้งนี้แตกต่างออกไป เพราะอาจารย์ลุน ลองซอง
“ท่านนำนักร้องมาประกวดด้วยเหมือนกัน ท่านก็เห็นแวว ก็เลยมาชักชวน เขาบอกว่าเสียงหนูเป็นเสียงที่แปลกไม่เหมือนใคร เป็นเสียงแหบ ใหญ่ๆ ฟังแล้วมีสำเนียงเสน่ห์ถึงอารมณ์ ก็เลยเกิดการทาบทามติดต่อกันและได้เซ็นสัญญากับค่าย ลองซองศิลป์อินคอนเสิร์ต มีผลงานเพลงชื่อว่า เซาหลายใจเด้ออ้าย แล้วก็เดินสายอยู่ 3 ปี จึงยกเลิกสัญญาเนื่องจากเรียนหนักขึ้น ในช่วงมัธยมปลาย บทบาทในการเป็นนักร้องก็ห่างไป ยิ่งเรื่องฟ้อน เรื่องหมอลำ ที่พ่อครูเพลงให้ไปศึกษากับแม่ครูกองมี มาลัยทอง ความสนใจยิ่งหายไปเลย เพราะ ณ เวลานั้นมีความรู้สึกแบบวัยรุ่นทั่วไป หมอลำเป็นสิ่งที่เชย สิ่งที่ล้าสมัย
“แต่แล้วพอมาเรียนมหา'ลัยชั้นปี 3 ปีที่ผ่านมา อยู่ๆ ก็รู้สึกคิดถึงแม่ครูกองมี ก็เลยเดินทางไปหาไปเยี่ยมคุณแม่ เพราะไม่ได้ติดต่อเลยตั้งแต่ตอนนั้น ทีนี้คุณแม่ก็เลยถามว่า “ยังจำหมอลำที่แม่เคยสอนได้บ่” คุณแม่ก็เลยให้ลุงหมอแคนมาเป่าแคนให้ แล้วก็ลองทบทวนดูหน่อย แต่พอได้ยินเสียงแคนดังขึ้นมา ปรากฏว่าจำได้หมด กลับมาโดยอัตโนมัติโดยที่เราก็สงสัยในตัวเองอยู่เหมือนกันว่าเพราะเหตุใด (ยิ้ม)
“ด้วยความประหลาดใจนั้น ในระหว่างที่ซ้อมๆ ให้แม่ครูท่านฟังก็เลยอัดคลิปวิดีโอแรกไปโพสต์ลงเฟซบุ๊กของตัวเอง ผลปรากฏว่าในคืนแรก ทะลุ 2 แสนวิว ผ่านไปอีกเดือนทะลุถึง 2 ล้านวิว คนแชร์ คนไลค์เยอะแยะไปหมด หมอลำก็เปลี่ยนทุกสิ่งอย่าง ก็เลยเกิดความรู้สึกว่าศิลปวัฒนธรรมอีสาน การแสดงอีสานที่เรียกว่าหมอลำ มันมีคุณค่า หนูก็เลยเปลี่ยนทัศนคติใหม่ เปลี่ยนความคิดของตัวเองจากที่เคยบอกว่ามันล้าสมัย มันเชย หันมาตั้งใจจะอนุรักษ์ไว้ ก็เลยไปให้คุณแม่สอน ขอเป็นผู้อนุรักษ์อีกครั้งหนึ่ง”
จากสาวเมืองอุบลคนรุ่นใหม่ ด้วยวันวัย 21 ปี เรียนปี 4 คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ สาขานิเทศศาสตร์ เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ ไม่ใช่ศิลปะฟ้อนร้องหมอลำจึงเชื่อมโยงต่อถึงกัน
“เฮ็ดสิ่งที่ดี
เป็นหยังสิต้องอาย”
“ตอนแรกๆ คนก็มองว่าเราแปลกและแตกต่างจากคนอื่นๆ กล้าได้ไง ไม่อายเหรอ (หัวเราะ) แต่หนูคิดเสมอว่า “เฮ็ดสิ่งที่ดี เป็นหยังกะต้องอาย” ตั้งแต่ตอนนั้นก็ทำ ตั้งมั่นเป็นอุดมการณ์ชิน หลังๆ เขาก็เริ่มได้ลองได้เห็นมาทำแบบเราที่เห็นจากคลิปแรกที่เราลงไปบ้าง เห็นจากที่ทางมหาวิทยาลัยครูอาจารย์ท่านก็ทราบว่าเรามีความสามารถตรงนี้ ทางมหา'ลัยมีหมอแคนอยู่แล้วเป็นรุ่นพี่คณะดนตรี เขาก็เลยอยากจะให้มีงานร่วมกันเวลามีงานของมหาวิทยาลัยเขาก็จะเรียกไป ก็กลายเป็นทีมอนุรักษ์โดยปริยาย คือเราไม่ว่าจะเป็นการร้องหมอลำหรือการแต่งกาย นุ่งผ้าถุง นอกจากเราจะอนุรักษ์เราก็ผสมผสานร่วมสมัยด้วย
“วัฒนธรรมอีสานอยู่ในสายเลือด แต่ด้วยค่านิยม ด้วยยุคสมัยทำให้เราลืมไป หลงไป อย่างเราในตอนเด็กๆ แต่พอเราได้ยินได้ฟัง มันคือสายเลือดเรา พ่อแม่ญาติพี่น้อง คุณปู่คุณย่า ไม่มีใครมาทางด้านนี้เลย ไม่มีใครร้องลำเป็นสักคน มีเราคนเดียวและคนแรกด้วย คนอื่นๆ ก็น่าจะเหมือนกัน แล้วพอได้ลองสัมผัสมันก็จะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งอย่าง ทั้งเรื่องความคิด มุมมองและการใช้ชีวิต ตอนนี้นอกจากหมอลำก็ยังมีเพลงของตัวเองอีกหนึ่งเพลงที่ทำเอง ร้องเอง ลงทุนเองประกอบร้านกาแฟที่ร้าน “คำฮัก กาแฟโบราณ” อยู่ที่ถนนอุบล-ตระการ เส้นสหกรณ์ออมทรัพย์
“คือทั้งหมดทั้งมวลตอนนี้ศิลปะหรือมรดกของสังคม ยิ่งเป็นของรากเหง้าต้นกำเนิดเราอีสาน เราอยากเป็นจุดจุดหนึ่งที่ทำให้สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ เพราะว่าตอนนี้สังคมของเยาวชนอย่างโลกโซเชียล เราก็รู้ๆ ว่าเปลี่ยนไปในทิศทางไหน มันทำให้เยาวชนรุ่นใหม่หลงใหลไปในวัฒนธรรมอื่นสิ่งอื่นเหล่านั้น ก็อยากจะเป็นจุดจุดหนึ่งที่อนุรักษ์ไว้แล้วก็สืบสานให้เขาเหล่านั้น ได้มองเห็นแง่งามความงามที่ดีของเรา อย่าอายในวัฒนธรรมของเรา ก็รู้สึกภูมิใจมาก เราสามารถเป็นตัวอย่างให้กับคนอื่นๆ ได้ ไม่ได้คิดว่าจะทำเพื่อสร้างกระแสของตัวเอง รับงานเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เราไม่รับงานการแสดงงานเลี้ยง งานแต่ง เพราะหนูตั้งใจจะเป็นตัวอย่าง เป็นแรงบันดาลใจกระตุ้นให้วัยรุ่นคิดนึกย้อนถึงคุณค่าวัฒนธรรมของบ้านเรา จะไปโชว์เฉพาะงานโชว์ศิลปวัฒนธรรมเท่านั้น
“ก็ยอมรับเลยค่ะว่าก็ท้อในช่วงแรกๆ ทั้งเรื่องมุมมองที่คนอื่นคิดและเรื่องการฝึกฝน ซึ่งในตอนที่ฝึกที่เรียนจะใช้โทรศัพท์บันทึกเสียงของแม่ครู ท่านก็จะร้องออกมาแล้วให้เรามาแกะเนื้อว่าท่อนนี้ร้องยังไง การร้องต้องร้องทีละท่อนให้ได้ก่อน ใช้ระยะเวลาเป็นเดือนๆ (ยิ้ม) ท้อมาก...ทำอย่างไรก็ร้องไม่ได้ เพราะว่าภาษาอีสานบางคำ เป็นคำที่เจาะลึกลงไป เป็นภาษาโบราณที่ไม่ค่อยได้ยินกัน เช่น กลอนเดินดงชมป่า ท่อนเดียว เดือนหนึ่งเต็มๆ คือยากมาก การร้องหมอลำ มันไม่ง่ายเหมือนร้องเพลง มันมีทั้งสังวาส สังวาสคือท่วงทำนอง สำเนียง มันจะต่างจากร้องเพลง ร้องเพลงเราร้องแบบไหนก็ได้ ร้องตามใจเราก็ได้ ตามความถนัดเรา แต่ว่าหมอลำเขาจะมีท่วงทำนองสังวาสกำหนดเอาไว้ เหมือนลำเต้ยจะเป็นอีกทำนองหนึ่ง ลำกลอน ลำล่อง ก็จะมีอีกท่วงทำนองหนึ่ง
“เมื่อเสร็จขั้นตอนของการท่องเนื้อ ในการสื่อความหมาย หมอลำยังแตกต่างจากเพลง เพลงจะให้ความบันเทิง คำสอนในมุมมุมหนึ่ง แต่หมอลำส่วนมากจะเล่าวิถีชีวิตของคนอีสาน บ่งบอกถึงความงดงามศิลปะอีสาน เป็นศาสตร์ที่ต่างจากเพลง นอกจากให้ความบันเทิง ยังเป็นคำสอนสอดแทรกคติสอนใจ เราก็ต้องแบ่งเวลาเพราะต้องเรียนไปด้วย ก็จะซ้อมทุกวัน เวลาไหนว่างก็เอามาเปิดแล้วร้องตาม เพราะเรารัก นี่คือคำตอบของคำถามที่หลายๆ คนถามกันมาก ทำไมต้องทำ ไม่มีเหตุผลที่ต้องมาทำ
“แม้ว่าสิ่งที่หนูทำวันนี้คนยังไม่เห็นหรือคิดว่าเอาหน้า เอากระแส ก็ไม่เสียใจ เพราะว่ารัก แต่ก็หวังว่ามันจะเป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิต ต่อสังคม ต่อเยาวชนรุ่นหลัง คือในความตั้งใจไม่อยากให้ศิลปะอีสานสูญหายไปกับกาลเวลา อย่าหลงลืมความเป็นรากเหง้าของตัวเอง ให้มีความรู้สึกภูมิใจในตัวเอง เราจะซาบซึ้งในสิ่งที่บรรพบุรุษเราได้เสียสละความยากและเหนื่อยล้ากระทั่งชีวิตเพื่อไว้ให้เราเป็นคนเต็มคน”
สิเฮ็ดจั๋งได๋ในทุกทาง
เพื่อสืบสานตำนานบรรพบุรุษ
“ทิศทางในอนาคต ก็ตั้งใจจะทำไปจนถึงที่สุด ถ้าเกิดวันหนึ่งเราเติบโตขึ้นแล้ว พอมีศักยภาพในการที่จะช่วยขับเคลื่อนวัฒนธรรมสู่สากล ก็อยากจะทำเป็นทูตวัฒนธรรมในความตั้งใจ อยากจะทำให้วัฒนธรรมเผยแพร่ออกไปแล้วเป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาคไหนๆ รวมถึงต่างชาติ ณ ตอนนี้ ที่คิดและตั้งเป้าหมายไว้ ในส่วนของการอนุรักษ์วัฒนธรรม อีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของการต่อยอดความรู้ เพราะยังไม่ได้ศึกษาแก่นแท้ๆ ของหมอลำเลย กำลังเป็นผู้ศึกษา ความรู้ความสามารถยังไม่ถ่องแท้ ก็ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมอีก ตอนนี้่ก็มีโอกาสไปเรียนระยะสั้นศึกษากับแม่ครู บ้านเย็น รากแก่น ด้วย
“ก็อยากจะฝากจากใจจริงๆ ยิ่งเราแตกต่างในทางที่ดี เรายิ่งมีคุณค่า ยิ่งทำให้สังคมเห็นว่าสิ่งที่เราทำเป็นคุณค่า มีความหมาย ไม่อยากให้อายในการทำดี อยากให้เปลี่ยนทัศนคติ แล้วจะรู้สึกรักและเข้าใจตัวเอง ไม่เสียหาย มีแต่ได้คุณค่า เชื่อว่ามีวัยรุ่นหลายล้านคนที่อยากทำและเป็นในสิ่งเหล่านี้ ก็ขอให้ศึกษาและตั้งใจแน่วแน่ ให้รู้สึกว่าเราภูมิใจในตัวเอง พึงระลึกถึงมรดกของพ่อแม่ปู่ย่าตายายที่รักเรา สิ่งเหล่านี้นอกจากมีประโยชน์แล้วยังมีคุณค่ามากมายมหาศาลเป็นแก่นแบบแผนของชีวิตเราได้มากมาย”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : อ๋อมแอ๋ม ละมัย แสงทอง