กลายเป็นกระแสที่ต้องแชร์และติดตามนับครึ่งค่อนประเทศในช่วงเดือนที่ผ่านมากระทั่งถึงเวลานี้ สำหรับเสียงร้องอันทรงพลังและกินใจของเด็กหนุ่มวัยเพียง 15 ปี “ศิริพงษ์ ศรีสุขา” หรือ “น้องแนท” ที่หอบหิ้วความมุ่งมั่นผสานลงกับความสามารถ จาก อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี สู่แชมป์การประกวดร้องเพลงเวทีใหญ่ระดับประเทศด้วยแนวเสียงที่เหมือนมากๆ กับศิลปินระดับตำนานเพลงเพื่อชีวิตรุ่นที่ 3 ปู-พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
และบรรทัดถัดจากนี้คือ คำบอกเล่าที่กลั่นออกมาจากประสบการณ์ที่หล่อหลอมเด็กน้อยคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นมาอย่างมีลำดับขั้น และเปี่ยมด้วยแรงฝันบันดาลใจ...

ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง
โน้ตกำเนิดดาวรุ่งแห่งเพลงเพื่อชีวิต
“ผมผูกพันทางด้านนี้ตั้งแต่เด็กๆ จำความได้ แม่ก็มักจะชอบเล่นกีตาร์แล้วให้ผมร้องเพลง คือร้องเล่นๆ ในครอบครัว เป็นเพลงแนวเพื่อชีวิต ผมก็อาจจะซึมซับและชอบมาโดยไม่รู้ตัว”
เจ้าของรางวัลแชมป์การประกวดร้องเพลง เดอะวอยซ์ คิดส์ ซีซันล่าสุดและศิลปินเด็กดาวรุ่งพุ่งแรงที่มากด้วยฝีไม้ลายมือคนหนึ่งในเวลานี้ กล่าวเปิดเผยเมโลดี้ชีวิตของตนบนสายทางศิลปิน
“จากนั้นคุณแม่คงเห็นว่าเราชอบ เพราะเวลาเราร้องเล่นด้วยกัน เรามีความสุขมาก (ยิ้ม) คุณแม่เลยซื้อกีตาร์ให้พร้อมกับแผ่นซีดีสอนการเล่น เนื่องจากคุณแม่เองก็เล่นกีตาร์ไม่ค่อยเก่งมาก แม่ก็คงไม่คิดว่าเราจะมาถึงขั้นนี้ อาจจะคิดให้เล่นแทนเขาแล้วเขามาร้องมั่ง เพราะตอนนั้นท่านยังคิดอยากให้ผมโตขึ้นไปเป็นนายร้อยอยู่เลย
“ผมก็หัดเล่นสนุกๆ ตามประสาเด็ก ยังไม่คิดฝันว่าจะอยากเป็นศิลปินทางด้านนี้”
ทว่า…ระยะเวลาประมาณเดือนสองเดือนในระหว่างที่หัดเล่นได้เพลงสองเพลงเท่านั้น จุดเปลี่ยนอันเสมือนฟ้าสั่งมา ก็นำพาแนทให้ค่อยๆ เบนความสนใจสู่ถนนสายดนตรี แทนกระบี่และดาวบั้งบนบ่า
“แรกๆ ที่หัดเล่นคนเดียวว่างตอนไหนก็หยิบมาเล่น แต่พอไปเห็นเพื่อนเล่นกีตาร์ เวลาที่ว่างมันก็ค่อยๆ มากขึ้นเอง (ยิ้ม) คือเราอยากเล่นมากขึ้นๆ เพราะเรามีเพื่อนที่จะเล่น มันก็ค่อยๆ เปลี่ยนความรู้สึกโดยไม่รู้ตัวอีก ทีนี้จากที่มีเพื่อนหัดเล่นด้วย พอเล่นเป็นสักพัก เพื่อนไปเรียนกับครู ก็เลยไปเรียนกับครูกับเพื่อนด้วย
“ก็เริ่มจะจริงจัง ช่วงประมาณ ป.4-5”
ศิลปินเด็กใหม่แห่งวงการเผย ซึ่งคำว่าจริงจังในที่นี้คือ วันทั้งวัน วันจดจ่ออยู่กับจังหวะและทำนอง ทั้งคอนเสิร์ตและไลฟ์สด รวมไปถึงคลิปที่สอนทริกเทคนิคในการเล่นกีตาร์

“อันนี้ต้องขอบพระคุณคุณแม่ เพราะท่านสนับสนุนโดยการซื้อแท็บเล็ตให้ ผมก็เลยได้เปิดศึกษาตามยูทิวบ์แล้วก็มาเล่นมาซ้อม จนตอน ป.6 คุณแม่เพิ่งจะมารู้ว่าผมร้องเพลงเล่นกีตาร์ได้เพราะงานประกวดของโรงเรียนแล้วมีคนถ่ายคลิปไปลง คุณแม่ก็เลยสนับสนุนมากขึ้นอีก”
ส่งผลให้ฝีไม้ลายมือพัฒนาหลังจากคลิปนั้นก็มีอีกคลิปหนึ่งที่รุ่นพี่ถ่ายขณะที่กำลังเล่นเพลง “แค่นั้น” ของ “ปู-พงษ์สิทธิ์ คำภีร์” ลงเฟซบุ๊ก จนรายการ “ดันดารา” เชิญไปออกรายการ
“ยังไงก็ดี ถึงแม้ว่าคุณแม่ท่านจะสนับสนุนให้ผมในทางดนตรี แต่ในด้านการเรียนหนังสือ ท่านก็ยังอยากจะให้เรียนจบเป็นนายร้อยอยู่ คือให้ทำควบคู่กัน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่แม่ได้แยกทางกับพ่อ แม่ก็เปลี่ยนความคิดว่าชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน ดังนั้น ก็เลยเปิดใจแล้วก็สนับสนุนผมเต็มที่ เห็นผมชอบทางนี้ก็เลยสนับสนุนผมทางนี้
“หลังจากผ่านเรื่องนั้น คุณแม่ก็เป็นคนพาผมไปลองเล่นดนตรีกลางคืน เป็นร้านในตัวจังหวัดอุดรธานี ชื่อร้าน ‘คีตกวี ดนตรี 4 ภาค’ ก็ได้เล่นช่วงตอน 3 ทุ่มครึ่ง ร่วมกับพี่ๆ ในวงที่ร้าน ความรู้สึกในตอนนั้นตื่นเต้นมาก (ยิ้ม) คนที่มาฟังเพลงปรบมือ แล้วก็ให้ทิปด้วย ก็ได้ประสบการณ์ที่ดีมาก ทำให้รู้ว่าต้องใช้สมาธิและก็ต้องซ้อมเป็นอย่างมาก”
หลังเลิกเรียน 4 โมงเย็นปุ๊บ กลับถึงบ้าน ระหว่างที่ทำงานบ้านกับการบ้าน ได้จังหวะว่างๆ ก็จะหยิบเอากีตาร์ขึ้นมาเล่นบ้าง จนประมาณทุ่มสองทุ่ม ก็อาบน้ำเตรียมตัวเพื่อไปเล่นดนตรี เล่นจบก็กลับมานอน เพราะต้องรีบตื่นตั้งแต่ ตี 3-4 เพื่อให้ทันรถตู้รับ-ส่งตอนตี 5 ไปโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลถึง 50 กว่ากิโลเมตร

“ถ้าถามว่าท้อไหม ไม่ท้อ ที่ไม่ท้อ เพราะทุกครั้งที่ได้ร้องเพลง ไม่ว่าจะเป็นเพลงอกหัก เพลงความรักหรือเพลงที่มีความสุข เพลงที่ทำให้คิดถึงคุณพ่อคุณแม่ คิดถึงบ้าน แล้วเราก็มีความสุข และถ้าเราร้องเพลงแล้วทำให้คนฟังมีความสุข เราก็มีความสุข คุณแม่จะพูดสอนบ่อยๆ คุณแม่เป็นครู ทำเพื่อคนอื่น ช่วยเด็ก มันก็ซึมซับมา ให้เราทำตรงนี้ได้ส่วนหนึ่ง
“อีกส่วนหนึ่งเกิดจากบทเพลงเพื่อชีวิต นอกจากความสุขยังทำให้คนคิดได้ด้วย เพราะเพลงเพื่อชีวิตมันมีแง่คิดมุมมอง สอนการใช้ชีวิต การวางตัว อย่าประมาท แล้วก็สอนเราเรื่องความรัก พอเราได้อุดมการณ์แล้วมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงไป ก็ทำให้เราเป็นคนที่มุงมั่น พอเราคิดอะไรเราก็ต้องทำ ทำให้ได้ ผมถึงไม่ท้อ”

“ทุ่มเท คิดแล้วทำ”
ท่อนฮุกชีวิต พลิกจากดินสู่ดาว
เมื่อคิดได้ดังนั้น ความฝันก็ค่อยๆ ขยับเข้าใกล้ความสำเร็จตามลำดับ
“คือตอนนั้นหลังจากได้เล่นที่ร้านแรกช่วง ม.1 ปลายๆ เทอม ขึ้น ม.2 ผมย้ายมาอยู่หอพักใกล้กับโรงเรียน ก็เลยได้มีโอกาสไปดูพวกพี่ๆ ในวงเขาไปเล่นต่อที่ร้าน นครเพลง (ชื่อเดิม) ผมแค่ตั้งใจจะไปดู ไปหาเขาเฉยๆ บังเอิญเขาเชิญให้ขึ้นไปแจม พอเล่นเสร็จ ทางร้านเขาก็เลยติดต่อให้ไปเล่นด้วยเลย ทีนี้เราก็รู้จักคนเยอะขึ้น ก็ได้รู้จักรุ่นพี่ที่โรงเรียน และพอดีมีงานหนึ่งเชิญไปเล่น ก็เลยชวนพี่ๆ ที่รู้จักกันไปเล่น เพราะเพื่อนผมที่แต่เดิมเล่นกันสองคน เป็นโฟล์กซอง เขาเลิกเล่นไป ผมก็เลยชวนพี่ๆ ที่โรงเรียนมาเล่นด้วยกัน งานวันนั้นก็เลยเป็นงานเกิดขึ้นของวง เพราะพิธีกรเขาถามว่าพวกเราวงอะไร”
นั่นจึงเป็นจุดกำเนิดของวง “FerbS” หรือ “ฟรึบ” ที่แม้ไม่มีความหมาย เป็นเพียงคำอุทานตกใจของวัยรุ่นกลุ่มหนึ่ง ทว่าเสียงอุทานเพียงไม่กี่ตัวอักษรนี้ กลับก่อเกิดพลังบางอย่างจนมีแฟนคลับติดตามตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้นไปจนคนหนุ่มสาวที่ได้ยินได้ฟัง
“คืออาจจะเพราะว่าเราฝันแล้วเราก็อยากทำให้มันเต็มที่ ก็เลยไปตรงใจ มีคนชอบ อีกส่วนหนึ่งก็เพราะว่าผมได้ไปออกรายการ จันทร์พันดาว, ร้องสู้ฝัน เพราะอยากได้ประสบการณ์ ดังนั้น แม้ว่าชื่อวงมันเป็นคำที่ไม่มีความหมาย เป็นคำอุทาน แต่เป็นคำอุทานที่ใช้ได้สองทาง ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกทางไหน ผมก็เลือกมาเส้นทางสายนี้ ขึ้นอยู่กับตัวเอง ถ้าตัวเองคิดดี ทำดี ก็อยู่ได้แล้ว”
ความมุ่งมั่นนี้เองที่ทำให้สามารถเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้อีกหลากหลาย ทั้งขลุ่ยและเปียโน ขณะที่อีกหนึ่งช่วงตอนชีวิตที่สำคัญของเด็กหนุ่มจากอุดรธานีผู้นี้ก็คือ การเรียบเรียงทำนองเพลง “สายน้ำแห่งตำนาน” อันเป็นเพลงถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งได้รับการชมมากกว่า 1 ล้านวิว ตั้งแต่ยังไม่ได้เข้าประกวดรายการเดอะวอยซ์ คิดส์
“คือจริงๆ ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รางวัลด้วยซ้ำ ไม่คิดว่าเทปแรกของเราจะมีคนเข้ามาดูเยอะขนาดนี้เลย แรกๆ บอกตามตรงไม่คิดที่จะมาสมัครด้วยซ้ำ แต่การที่เราเล่นดนตรีกลางคืน เราตามแนวเขาตลอด คุณแม่ท่านก็คงจะทราบ ท่านเลยให้ผมมาลองที่รายการเดอะวอยซ์ คิดส์ ถ้ามาตรงนี้มันได้เป็นแนวของเราและมีโอกาสที่เราจะได้ค้นหาทางของตัวเองจากการแนะแนวของพี่โค้ช

“มาตรงนี้ก็ได้ประสบการณ์ แม้ว่าจะไม่ง่ายเลย มีอุปสรรคมากมาย ทั้งการที่เราจะต้องเรียนด้วยและต้องเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ที่เคยซ้อมก็อย่างที่บอก ที่หนักก็หนักขึ้นไปอีกขั้น เพราะจากอุดรฯ มากรุงเทพฯ แต่ที่หนักกว่านั้นคือช่วงนั้นคุณแม่ประสบอุบัติเหตุ ก็แอบใจหายเหมือนกัน เพราะคุณแม่จะบอกตลอดว่า ต้องเลี้ยงดูคนในครอบครัว ครอบครัวต้องช่วยกัน ก็ต้องตั้งสติ พอคุณแม่อาการดีขึ้น เราก็กลับมาทำหน้าที่เราให้เต็มที่
และผลแห่งความเต็มที่นี่เอง คือเคล็ดลับที่ทำให้การแสดงในทุกๆ รอบจะกลายเป็นที่สนใจมีผู้ติดตามชมเชียร์หลักล้านและสามารถคว้าแชมป์รายการเดอะวอยซ์ คิดส์ ด้วยคะแนนที่สูงกว่าทุกซีซันที่ผ่านมา
“คือพอได้ยินอย่างนี้แล้วหลายคนอาจจะคิดว่าเราทำได้อย่างไร ผมไม่ใช่เทพหรือเด็กเก่งมหัศจรรย์อย่างที่ใครเขากล่าวกัน แต่ผมก็ขอกราบขอบคุณที่รักและสนับสนุนผมที่เป็นเด็กบ้านนอกคนหนึ่งเข้ามาเรียนหนังสือในเมือง แต่ผมไม่ลืมว่าตัวเองมาจากไหน ถ้าเรามุ่งมั่น เราขยัน ท้ายที่สุดถ้าความฝันนั้นมันอาจจะยังไม่เป็นรูปร่าง เราก็ต้องทำมันมันถึงจะเป็นรูปร่างได้ ก็ต้องคิดแล้วต้องทำ”

เราคือผู้กำหนด ตำนานแห่งชีวิตตน
บทส่งท้ายทายาทเพลงเพื่อชีวิต
“ก็สำเร็จพอสมควรถ้าถามเรื่องความสำเร็จในตอนนี้ที่ผมรู้สึก คือครึ่งหนึ่งได้ประสบการณ์แล้วก็ได้มีแนวทางเป็นของตัวเอง อีกครึ่งความสำเร็จก็คือมีผลงานเพลงออกมาให้ได้รับฟัง หลังเซ็นสัญญาเร็วๆ นี้ก็น่าจะมีเพลงออกมาให้ได้ยินได้ฟังตามที่ฝัน”
ศิลปินหนุ่มน้อยเปิดเผยถึงทิศทางในอนาคตบนเส้นทางถนนสายดนตรี ซึ่งปัจจุบันยังคงเคี่ยวกรำเพื่อตามเป้าอีกครึ่งทางโดยคงไว้ซึ่งอุดมการณ์เฉกเช่นเดิม
“ส่วนเรื่องแนวเพลงก็คงจะเป็นแนวเพลงเพื่อชีวิตเหมือนเดิมที่ชอบ เพราะเพลงเพื่อชีวิตก็อย่างที่บอกไป มันมีแง่คิดมุมมอง นอกจากความสุข ทำให้คนคิดได้ ทำให้มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต ก็อยากจะทำแนวนี้แม้ว่ามันจะดังหรือไม่ดังไม่รู้”

แต่ที่รู้ๆ สิ่งหนึ่งที่จะได้คือ “ชีวิต” ที่เป็นชีวิต
ชีวิตที่เป็นตัวของ “ตัวเอง” เลือกเดิน และทำได้ “ถ้าได้ทำ”...
“ก็ขอฝากผลงานเพลงสายน้ำแห่งตำนานที่ครูผมเป็นคนแต่งเนื้อร้องให้และผลงานใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น และก็เป็นกำลังใจให้สำหรับคนที่กำลังตามฝัน เราทุกคนสามารถมาถึงจุดฝันได้ ขอเพียงถ่อมตน เป็นคนดี ขยัน มุ่งมั่น ให้เราคิดแล้วก็ลงมือทำ”

เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ศิริพงษ์ ศรีสุขา
และบรรทัดถัดจากนี้คือ คำบอกเล่าที่กลั่นออกมาจากประสบการณ์ที่หล่อหลอมเด็กน้อยคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นมาอย่างมีลำดับขั้น และเปี่ยมด้วยแรงฝันบันดาลใจ...
ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง
โน้ตกำเนิดดาวรุ่งแห่งเพลงเพื่อชีวิต
“ผมผูกพันทางด้านนี้ตั้งแต่เด็กๆ จำความได้ แม่ก็มักจะชอบเล่นกีตาร์แล้วให้ผมร้องเพลง คือร้องเล่นๆ ในครอบครัว เป็นเพลงแนวเพื่อชีวิต ผมก็อาจจะซึมซับและชอบมาโดยไม่รู้ตัว”
เจ้าของรางวัลแชมป์การประกวดร้องเพลง เดอะวอยซ์ คิดส์ ซีซันล่าสุดและศิลปินเด็กดาวรุ่งพุ่งแรงที่มากด้วยฝีไม้ลายมือคนหนึ่งในเวลานี้ กล่าวเปิดเผยเมโลดี้ชีวิตของตนบนสายทางศิลปิน
“จากนั้นคุณแม่คงเห็นว่าเราชอบ เพราะเวลาเราร้องเล่นด้วยกัน เรามีความสุขมาก (ยิ้ม) คุณแม่เลยซื้อกีตาร์ให้พร้อมกับแผ่นซีดีสอนการเล่น เนื่องจากคุณแม่เองก็เล่นกีตาร์ไม่ค่อยเก่งมาก แม่ก็คงไม่คิดว่าเราจะมาถึงขั้นนี้ อาจจะคิดให้เล่นแทนเขาแล้วเขามาร้องมั่ง เพราะตอนนั้นท่านยังคิดอยากให้ผมโตขึ้นไปเป็นนายร้อยอยู่เลย
“ผมก็หัดเล่นสนุกๆ ตามประสาเด็ก ยังไม่คิดฝันว่าจะอยากเป็นศิลปินทางด้านนี้”
ทว่า…ระยะเวลาประมาณเดือนสองเดือนในระหว่างที่หัดเล่นได้เพลงสองเพลงเท่านั้น จุดเปลี่ยนอันเสมือนฟ้าสั่งมา ก็นำพาแนทให้ค่อยๆ เบนความสนใจสู่ถนนสายดนตรี แทนกระบี่และดาวบั้งบนบ่า
“แรกๆ ที่หัดเล่นคนเดียวว่างตอนไหนก็หยิบมาเล่น แต่พอไปเห็นเพื่อนเล่นกีตาร์ เวลาที่ว่างมันก็ค่อยๆ มากขึ้นเอง (ยิ้ม) คือเราอยากเล่นมากขึ้นๆ เพราะเรามีเพื่อนที่จะเล่น มันก็ค่อยๆ เปลี่ยนความรู้สึกโดยไม่รู้ตัวอีก ทีนี้จากที่มีเพื่อนหัดเล่นด้วย พอเล่นเป็นสักพัก เพื่อนไปเรียนกับครู ก็เลยไปเรียนกับครูกับเพื่อนด้วย
“ก็เริ่มจะจริงจัง ช่วงประมาณ ป.4-5”
ศิลปินเด็กใหม่แห่งวงการเผย ซึ่งคำว่าจริงจังในที่นี้คือ วันทั้งวัน วันจดจ่ออยู่กับจังหวะและทำนอง ทั้งคอนเสิร์ตและไลฟ์สด รวมไปถึงคลิปที่สอนทริกเทคนิคในการเล่นกีตาร์
“อันนี้ต้องขอบพระคุณคุณแม่ เพราะท่านสนับสนุนโดยการซื้อแท็บเล็ตให้ ผมก็เลยได้เปิดศึกษาตามยูทิวบ์แล้วก็มาเล่นมาซ้อม จนตอน ป.6 คุณแม่เพิ่งจะมารู้ว่าผมร้องเพลงเล่นกีตาร์ได้เพราะงานประกวดของโรงเรียนแล้วมีคนถ่ายคลิปไปลง คุณแม่ก็เลยสนับสนุนมากขึ้นอีก”
ส่งผลให้ฝีไม้ลายมือพัฒนาหลังจากคลิปนั้นก็มีอีกคลิปหนึ่งที่รุ่นพี่ถ่ายขณะที่กำลังเล่นเพลง “แค่นั้น” ของ “ปู-พงษ์สิทธิ์ คำภีร์” ลงเฟซบุ๊ก จนรายการ “ดันดารา” เชิญไปออกรายการ
“ยังไงก็ดี ถึงแม้ว่าคุณแม่ท่านจะสนับสนุนให้ผมในทางดนตรี แต่ในด้านการเรียนหนังสือ ท่านก็ยังอยากจะให้เรียนจบเป็นนายร้อยอยู่ คือให้ทำควบคู่กัน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่แม่ได้แยกทางกับพ่อ แม่ก็เปลี่ยนความคิดว่าชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน ดังนั้น ก็เลยเปิดใจแล้วก็สนับสนุนผมเต็มที่ เห็นผมชอบทางนี้ก็เลยสนับสนุนผมทางนี้
“หลังจากผ่านเรื่องนั้น คุณแม่ก็เป็นคนพาผมไปลองเล่นดนตรีกลางคืน เป็นร้านในตัวจังหวัดอุดรธานี ชื่อร้าน ‘คีตกวี ดนตรี 4 ภาค’ ก็ได้เล่นช่วงตอน 3 ทุ่มครึ่ง ร่วมกับพี่ๆ ในวงที่ร้าน ความรู้สึกในตอนนั้นตื่นเต้นมาก (ยิ้ม) คนที่มาฟังเพลงปรบมือ แล้วก็ให้ทิปด้วย ก็ได้ประสบการณ์ที่ดีมาก ทำให้รู้ว่าต้องใช้สมาธิและก็ต้องซ้อมเป็นอย่างมาก”
หลังเลิกเรียน 4 โมงเย็นปุ๊บ กลับถึงบ้าน ระหว่างที่ทำงานบ้านกับการบ้าน ได้จังหวะว่างๆ ก็จะหยิบเอากีตาร์ขึ้นมาเล่นบ้าง จนประมาณทุ่มสองทุ่ม ก็อาบน้ำเตรียมตัวเพื่อไปเล่นดนตรี เล่นจบก็กลับมานอน เพราะต้องรีบตื่นตั้งแต่ ตี 3-4 เพื่อให้ทันรถตู้รับ-ส่งตอนตี 5 ไปโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลถึง 50 กว่ากิโลเมตร
“ถ้าถามว่าท้อไหม ไม่ท้อ ที่ไม่ท้อ เพราะทุกครั้งที่ได้ร้องเพลง ไม่ว่าจะเป็นเพลงอกหัก เพลงความรักหรือเพลงที่มีความสุข เพลงที่ทำให้คิดถึงคุณพ่อคุณแม่ คิดถึงบ้าน แล้วเราก็มีความสุข และถ้าเราร้องเพลงแล้วทำให้คนฟังมีความสุข เราก็มีความสุข คุณแม่จะพูดสอนบ่อยๆ คุณแม่เป็นครู ทำเพื่อคนอื่น ช่วยเด็ก มันก็ซึมซับมา ให้เราทำตรงนี้ได้ส่วนหนึ่ง
“อีกส่วนหนึ่งเกิดจากบทเพลงเพื่อชีวิต นอกจากความสุขยังทำให้คนคิดได้ด้วย เพราะเพลงเพื่อชีวิตมันมีแง่คิดมุมมอง สอนการใช้ชีวิต การวางตัว อย่าประมาท แล้วก็สอนเราเรื่องความรัก พอเราได้อุดมการณ์แล้วมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงไป ก็ทำให้เราเป็นคนที่มุงมั่น พอเราคิดอะไรเราก็ต้องทำ ทำให้ได้ ผมถึงไม่ท้อ”
“ทุ่มเท คิดแล้วทำ”
ท่อนฮุกชีวิต พลิกจากดินสู่ดาว
เมื่อคิดได้ดังนั้น ความฝันก็ค่อยๆ ขยับเข้าใกล้ความสำเร็จตามลำดับ
“คือตอนนั้นหลังจากได้เล่นที่ร้านแรกช่วง ม.1 ปลายๆ เทอม ขึ้น ม.2 ผมย้ายมาอยู่หอพักใกล้กับโรงเรียน ก็เลยได้มีโอกาสไปดูพวกพี่ๆ ในวงเขาไปเล่นต่อที่ร้าน นครเพลง (ชื่อเดิม) ผมแค่ตั้งใจจะไปดู ไปหาเขาเฉยๆ บังเอิญเขาเชิญให้ขึ้นไปแจม พอเล่นเสร็จ ทางร้านเขาก็เลยติดต่อให้ไปเล่นด้วยเลย ทีนี้เราก็รู้จักคนเยอะขึ้น ก็ได้รู้จักรุ่นพี่ที่โรงเรียน และพอดีมีงานหนึ่งเชิญไปเล่น ก็เลยชวนพี่ๆ ที่รู้จักกันไปเล่น เพราะเพื่อนผมที่แต่เดิมเล่นกันสองคน เป็นโฟล์กซอง เขาเลิกเล่นไป ผมก็เลยชวนพี่ๆ ที่โรงเรียนมาเล่นด้วยกัน งานวันนั้นก็เลยเป็นงานเกิดขึ้นของวง เพราะพิธีกรเขาถามว่าพวกเราวงอะไร”
นั่นจึงเป็นจุดกำเนิดของวง “FerbS” หรือ “ฟรึบ” ที่แม้ไม่มีความหมาย เป็นเพียงคำอุทานตกใจของวัยรุ่นกลุ่มหนึ่ง ทว่าเสียงอุทานเพียงไม่กี่ตัวอักษรนี้ กลับก่อเกิดพลังบางอย่างจนมีแฟนคลับติดตามตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้นไปจนคนหนุ่มสาวที่ได้ยินได้ฟัง
“คืออาจจะเพราะว่าเราฝันแล้วเราก็อยากทำให้มันเต็มที่ ก็เลยไปตรงใจ มีคนชอบ อีกส่วนหนึ่งก็เพราะว่าผมได้ไปออกรายการ จันทร์พันดาว, ร้องสู้ฝัน เพราะอยากได้ประสบการณ์ ดังนั้น แม้ว่าชื่อวงมันเป็นคำที่ไม่มีความหมาย เป็นคำอุทาน แต่เป็นคำอุทานที่ใช้ได้สองทาง ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกทางไหน ผมก็เลือกมาเส้นทางสายนี้ ขึ้นอยู่กับตัวเอง ถ้าตัวเองคิดดี ทำดี ก็อยู่ได้แล้ว”
ความมุ่งมั่นนี้เองที่ทำให้สามารถเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้อีกหลากหลาย ทั้งขลุ่ยและเปียโน ขณะที่อีกหนึ่งช่วงตอนชีวิตที่สำคัญของเด็กหนุ่มจากอุดรธานีผู้นี้ก็คือ การเรียบเรียงทำนองเพลง “สายน้ำแห่งตำนาน” อันเป็นเพลงถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งได้รับการชมมากกว่า 1 ล้านวิว ตั้งแต่ยังไม่ได้เข้าประกวดรายการเดอะวอยซ์ คิดส์
“คือจริงๆ ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รางวัลด้วยซ้ำ ไม่คิดว่าเทปแรกของเราจะมีคนเข้ามาดูเยอะขนาดนี้เลย แรกๆ บอกตามตรงไม่คิดที่จะมาสมัครด้วยซ้ำ แต่การที่เราเล่นดนตรีกลางคืน เราตามแนวเขาตลอด คุณแม่ท่านก็คงจะทราบ ท่านเลยให้ผมมาลองที่รายการเดอะวอยซ์ คิดส์ ถ้ามาตรงนี้มันได้เป็นแนวของเราและมีโอกาสที่เราจะได้ค้นหาทางของตัวเองจากการแนะแนวของพี่โค้ช
“มาตรงนี้ก็ได้ประสบการณ์ แม้ว่าจะไม่ง่ายเลย มีอุปสรรคมากมาย ทั้งการที่เราจะต้องเรียนด้วยและต้องเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ที่เคยซ้อมก็อย่างที่บอก ที่หนักก็หนักขึ้นไปอีกขั้น เพราะจากอุดรฯ มากรุงเทพฯ แต่ที่หนักกว่านั้นคือช่วงนั้นคุณแม่ประสบอุบัติเหตุ ก็แอบใจหายเหมือนกัน เพราะคุณแม่จะบอกตลอดว่า ต้องเลี้ยงดูคนในครอบครัว ครอบครัวต้องช่วยกัน ก็ต้องตั้งสติ พอคุณแม่อาการดีขึ้น เราก็กลับมาทำหน้าที่เราให้เต็มที่
และผลแห่งความเต็มที่นี่เอง คือเคล็ดลับที่ทำให้การแสดงในทุกๆ รอบจะกลายเป็นที่สนใจมีผู้ติดตามชมเชียร์หลักล้านและสามารถคว้าแชมป์รายการเดอะวอยซ์ คิดส์ ด้วยคะแนนที่สูงกว่าทุกซีซันที่ผ่านมา
“คือพอได้ยินอย่างนี้แล้วหลายคนอาจจะคิดว่าเราทำได้อย่างไร ผมไม่ใช่เทพหรือเด็กเก่งมหัศจรรย์อย่างที่ใครเขากล่าวกัน แต่ผมก็ขอกราบขอบคุณที่รักและสนับสนุนผมที่เป็นเด็กบ้านนอกคนหนึ่งเข้ามาเรียนหนังสือในเมือง แต่ผมไม่ลืมว่าตัวเองมาจากไหน ถ้าเรามุ่งมั่น เราขยัน ท้ายที่สุดถ้าความฝันนั้นมันอาจจะยังไม่เป็นรูปร่าง เราก็ต้องทำมันมันถึงจะเป็นรูปร่างได้ ก็ต้องคิดแล้วต้องทำ”
เราคือผู้กำหนด ตำนานแห่งชีวิตตน
บทส่งท้ายทายาทเพลงเพื่อชีวิต
“ก็สำเร็จพอสมควรถ้าถามเรื่องความสำเร็จในตอนนี้ที่ผมรู้สึก คือครึ่งหนึ่งได้ประสบการณ์แล้วก็ได้มีแนวทางเป็นของตัวเอง อีกครึ่งความสำเร็จก็คือมีผลงานเพลงออกมาให้ได้รับฟัง หลังเซ็นสัญญาเร็วๆ นี้ก็น่าจะมีเพลงออกมาให้ได้ยินได้ฟังตามที่ฝัน”
ศิลปินหนุ่มน้อยเปิดเผยถึงทิศทางในอนาคตบนเส้นทางถนนสายดนตรี ซึ่งปัจจุบันยังคงเคี่ยวกรำเพื่อตามเป้าอีกครึ่งทางโดยคงไว้ซึ่งอุดมการณ์เฉกเช่นเดิม
“ส่วนเรื่องแนวเพลงก็คงจะเป็นแนวเพลงเพื่อชีวิตเหมือนเดิมที่ชอบ เพราะเพลงเพื่อชีวิตก็อย่างที่บอกไป มันมีแง่คิดมุมมอง นอกจากความสุข ทำให้คนคิดได้ ทำให้มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต ก็อยากจะทำแนวนี้แม้ว่ามันจะดังหรือไม่ดังไม่รู้”
แต่ที่รู้ๆ สิ่งหนึ่งที่จะได้คือ “ชีวิต” ที่เป็นชีวิต
ชีวิตที่เป็นตัวของ “ตัวเอง” เลือกเดิน และทำได้ “ถ้าได้ทำ”...
“ก็ขอฝากผลงานเพลงสายน้ำแห่งตำนานที่ครูผมเป็นคนแต่งเนื้อร้องให้และผลงานใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น และก็เป็นกำลังใจให้สำหรับคนที่กำลังตามฝัน เราทุกคนสามารถมาถึงจุดฝันได้ ขอเพียงถ่อมตน เป็นคนดี ขยัน มุ่งมั่น ให้เราคิดแล้วก็ลงมือทำ”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ศิริพงษ์ ศรีสุขา