xs
xsm
sm
md
lg

“ยุทธิยง” เหยื่อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ สื่อมวลชนไม่ใช่อาชีพของคนบาป!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


จากกรณีการทำรายการสภากาแฟ เรื่อง “เรือนจำ..อาหารผู้มีกรรม คนบาปยังแบ่งกิน” มีการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง NEWS1 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2559 ทำให้มีการออกหมายจับ นายยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที และชาวบ้านผู้ร่วมรายการ คนทำสื่อ และนักวิชาการ มีมุมมองกันอย่างไร
นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์
นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ สื่อมวลชนอาวุโส กรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ให้ความเห็นถึงกรณีตำรวจอ่างทอง ออกหมายจับสื่อมวลชนซึ่งทำหน้าพิธีกร รายการสภากาแฟ ว่า “เหตุที่เกิดขึ้นกับยุทธิยง ในวงการสื่อสารมวลชนเรียกว่า เป็นกระบวนการยุติธรรมอันอำมหิต ซึ่งการทำหน้าที่สื่อ จะเจอข้อหาหมิ่นประมาทถือเป็นเรื่องปกติ ก็ต้องไปจบลงที่ศาล วิชาชีพสื่อมวลชนไม่ใช่อาชีพของคนบาป เขาไม่ใช่อาชญากร

“เราได้ทำหน้าที่อันสุจริต เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและราชการ และข่าวสารที่คุณยุทธิยง นำเสนอมีผลต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ กรณี คุณยุทธิยง เราได้เห็นว่า มีการเพิ่มข้อหาให้หนักขึ้นกับคนทำงานด้านสื่อ โดยเจ้าหน้าที่มิได้แสวงหาข้อเท็จจริง เพื่อไปออกหมายจับต่อศาล คุณยุทธิยง เป็นพิธีกร และชาวบ้านผู้ร่วมรายการ ไม่ได้นำรายการไปเผยแพร่ในระบบคอมพิวเตอร์ เขาจัดรายการโทรทัศน์เท่านั้นเอง แต่กลับใส่ข้อหาผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เพิ่มข้อหาให้กับเขาและผู้ร่วมรายการ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ มาตรา 200 (ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่การยุติธรรม) คุณยุทธิยง เป็นพิธีกรซักถามค้นหาความจริงที่เขามาร้องทุกข์ ให้ผู้ร่วมรายการเล่าความจริงที่เขารับรู้ หน้าที่ของเขาทำหน้าที่แค่นั้น เป็นหน้าที่เขา ทำมาเกือบ 30 ปีแล้ว” แต่นี้เหตุการณ์กลับกลายเป็นว่า ถูกใส่ข้อหาอันเกินจริง ทั้งพิธีกรและแขกชาวบ้านที่เป็นผู้มาร่วมรายการ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่มีเจตนาร้ายต่อผู้ถูกกล่าวหา”

ด้าน พ.ต.อ.วิรุต ศิริสวัสดิบุตร อดีตที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการปฏิรูปตำรวจ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คอลัมนิสต์ เสียงประชาชน นสพ.ไทยโพสต์ ให้ความเห็นว่า “ปัญหาตำรวจสอบสวนยัดข้อหาประชาชน ทั้งผู้ดำเนินรายการ และแขกที่มาออกรายการ กรณี คุณยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที พิธีกรผู้ดำเนินรายการ “สภากาแฟ” ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดอาญากฎหมายคอมพิวเตอร์นำความเท็จเข้าสู่ระบบนั้น ประเด็นที่ 1 ถามว่า การสอบสวนมีพยานหลักฐานอะไร ยืนยันว่า ข้อมูลหรือข่าวสารนั้นเป็นความเท็จ? ประเด็นที่ 2 ต้องถามกลับว่า เจ้าหน้าที่ได้สอบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงหรือยัง ว่า คุณยุทธิยง เป็นพิธีกรรู้หรือไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นความเท็จอย่างแน่ชัด และยังเจตนานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เรื่องนี้ยังไม่ได้หาข้อเท็จจริง เห็นเขาทำหน้าที่จัดรายการโทรทัศน์ ก็เข้าใจเอาเองว่าเขาเผยแพร่ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์”
พ.ต.อ.วิรุต ศิริสวัสดิบุตร
พ.ต.อ.วิรุต ศิริสวัสดิบุตร ยังกล่าวอีกว่า “จากปัญหาในลักษณะนี้ซึ่งเกิดขึ้นมากมายในประเทศไทย งานสอบสวนคดีอาญา จึงควรได้รับการปฏิรูปโดยแยกออกจากตำรวจแห่งชาติ สร้างหลักประกันความสุจริตและประสิทธิภาพให้ดำเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมาย ตำรวจไม่ควรแจ้งข้อหากับประชาชนง่ายๆ โดยปราศจากพยานหลักฐานแน่ชัดว่ากระทำความผิดทางอาญา ซึ่งส่งผลให้สุจริตชนต้องได้รับความเดือดร้อนเสียหายทั้งชื่อเสียงและเวลากันมากมาย ถือหมายไปจับกลางคืน วันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุดยาว นอกจากนั้น ยังทำให้ผู้คนไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือการปกครองโดยกฎหมายอย่างร้ายแรงในปัจจุบัน”

กรณีของ นายยุทธิยง ถือว่าปัจจุบันนี้มีบางคนใช้กฎหมายคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการแจ้งความต่อตำรวจกล่าวหาบุคคลที่ร้องเรียน หรือเปิดเผยเปิดโปงการทุจริตประพฤติมิชอบ รวมทั้งการกระทำผิดกฎหมายต่างๆ ว่า กระทำความผิดอาญานำความเท็จเข้าสู่ระบบ ซึ่งบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ต้องการป้องกันการนำสิ่งที่สังคมและตนเองรู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จ หรือสร้างข้อมูลเท็จที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกถึงห้าปี

“ตำรวจผู้ทำหน้าที่พนักงานสอบสวนที่จะแจ้งข้อหานี้ต่อประชาชนผู้ถูกกล่าวหาต้องรวบรวมพยานหลักฐานที่รับฟังได้ ว่า สิ่งที่อ้างว่าถูกนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์เป็นความเท็จนั้น ความจริงที่พิสูจน์ได้เป็นอย่างไร บุคคลนั้นรู้หรือไม่ว่าเป็นข้อมูลเท็จ แต่ยังนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยวิธีใด? ตำรวจผู้ทำหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องตระหนักในเรื่องนี้”
นาชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี
ด้าน นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ ว่า “กรณีนี้ไม่สามารถนำเอา พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาดำเนินคดีได้ เพราะมิได้มีการเอาเนื้อหาไปเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งในมาตรา 14 (1) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2560 ซึ่งได้แก้ไขใหม่ก็ชัดเจนว่าตำรวจฟ้องไม่ได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค. นี้ เมื่อ พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ก็สามารถให้ทางทนายไปยื่นให้ถอนฟ้องตามมาตรา 14 (1) ได้เลยครับ”
กำลังโหลดความคิดเห็น