จากนักเรียนผู้พิการทางสายตา ณ โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ ที่มีโอกาสทั้งเข้าเฝ้าฯ และรับเสด็จ, ถูกรับเลือกให้ร้องเพลงร่วมกัน ไปจนถึงเป็นนิสิตที่ถูกเลือกให้ถวายพวงมาลัยถึงฝีพระหัตถ์ จนกระทั่งได้รับพระราชทานปริญญาบัตร จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จนนำความซาบซึ้งมาสู่เธอคนนั้น กลายเป็นอีกหนึ่งแรงใจให้กับตนเองฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ให้ผ่านพ้นไปได้ จากการดำรงชีวิตจนกระทั่งปัจจุบัน
มาจนวันนี้ “ศิริณี อักษรมี” บุคคลที่กล่าวถึงในข้างต้นนั้น ปัจจุบันยังคงสืบสานปณิธานที่พระองค์ท่านได้ทรงวางไว้ ทั้งการดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมสตรีตาบอดในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในอาสาสมัครของโรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ และด้วยประสบการณ์จากการใช้ชีวิตของเธอเอง ศิริณีก็พร้อมที่จะนำการใช้ชีวิตที่เคยประสบมานั้น ได้ถ่ายทอดให้กับผู้พิการทางสายตารุ่นหลังจากเธอ ได้เรียนรู้จากผู้ที่เคยผ่านมาก่อน และสามารถประยุกต์ให้ใช้ได้เพื่อออกไปสู่สังคมภายนอก และอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นอย่างมีความสุขต่อไป ดั่งบทเพลง ‘ยิ้มสู้’ ที่เธอและใครหลายคนได้ยึดถือในการใช้ชีวิต
จะสบความสุขสันต์สำคัญที่ใจ
สุขและทุกข์อย่างไรเพราะใจตนเอง
ด้วยความที่ ศิริณี มีปัญหาทางสายตามาตั้งแต่เยาว์วัย ประจวบกับทางมารดาที่มีอาชีพเป็นครู เล็งเห็นแล้วว่า หนทางเดียวที่จะให้บุตรสาวคนโตของเธอดำรงชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ได้ นั่นคือ การให้การศึกษาให้กับเธอ นั่นจึงทำให้ศิริณีได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ ที่ตั้งอยู่ริมถนนราชวิถี ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการเสด็จพระราชดำเนินของในหลวง รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์เวลาเสด็จฯ ไปในที่ต่างๆ ซึ่งความทรงจำของเธอกับในหลวง ร.9 ก็เริ่มมาจากตรงนั้น...
“เราเป็นศิษย์เก่าที่นี่เลย แล้วพื้นที่เกือบทุกตาราง เราเหยียบเกือบครบเลย ตั้งแต่ 2503 ถึง 2515 เพราะว่าเรามาเรียนระดับอนุบาลที่นี่ จนถึงระดับ มศ.3 ตอนที่เราอยู่ในโรงเรียนนี้ ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่จะเป็นประเภทที่ว่า ตาบอดเหมือนมืดสนิท แต่เราเห็นบ้างนิดหน่อย ลางๆ มองเห็นสิ่งใหญ่ๆ และพอจำแนกสีได้ แต่จำหน้าคนไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาอยู่ตรงนี้เราอยู่กันเหมือนพี่น้อง ประกอบกับว่าแม่เราเป็นครู และท่านก็สอนว่า เราก็มีภาษีที่ดีกว่าคนอื่นนะ ที่ยังพอเห็นบ้าง แต่คนอื่นมองไม่เห็นเลย เพราะฉะนั้นถ้ามีอะไรก็ช่วยเหลือเพื่อนด้วยกันเอง และด้วยการที่เป็นนักเรียนหญิง ก็รู้สึกว่าได้ใช้ชีวิตระหว่างพี่น้องคนตาบอด ถ้าเรียกในสมัยนี้ ก็จะเป็นคำว่าจิตอาสา อย่างเวลาที่ผู้หญิงที่เขาอยากจะแต่งตัว เขาก็จะผัดหน้าผัดอะไร คนตาบอดตาเขาจะลึกลงไป เวลาที่เขาผัดหน้า ก็จะเกลี่ยไม่ทั่ว เขาก็จะมาถามว่า ผัดหน้าเท่ากันหรือยัง แล้วคนตาบอดก็อยากสวยเหมือนกันนะ ซึ่งถ้าผัดไม่เท่ากัน เราก็ต้องเกลี่ยให้ตาลึก แล้วเราก็สงสัยว่าทำไมเพื่อนเราตาลึกจัง บางทีก็นึกตกใจเหมือนกันว่าตาเราไม่เหมือนเขา เขาก็ไม่เหมือนเรา
“แล้วเมื่อก่อนมันไม่มีโซเชียล ไม่มีอะไร การสนทนาในตอนเด็กๆ จำได้ว่า เราเข้ามาเรียนที่นี่ เมื่อ 30 พฤษภาคม 2503 ตอนนั้นอายุ 7 ขวบ คือเด็กสมัยก่อนที่เข้ามา เขาจะวัดน้ำหนักส่วนสูง แล้วเราจำได้ว่าหนัก 19 สูง 119 อยู่ที่ประมาณข้อศอกของคนโตๆ แล้วเวลาที่เข้ามา เราก็จะคุยเรื่องพี่น้องของบ้านแต่ละคน เพราะฉะนั้นเวลาคุย เพื่อนๆ แต่ละคนก็จะจำชื่อของบุคคลแต่ละคนในครอบครัวได้ เพราะว่าไม่มีเรื่องอื่นคุย และจะถามว่าความเป็นอยู่ของบ้านแต่ละคนเป็นอย่างไร แล้วเรื่องที่เราคุยกันและไม่รู้เบื่อเลย คุยกันรุ่นต่อรุ่นมาเนี่ย คือหลังจากที่เราเข้าโรงเรียนมาได้ 2 อาทิตย์ จำได้ว่า มีโอกาสออกไปรับเสด็จ คือโรงเรียนอยู่ตรงเส้นราชวิถีใช่มั้ยคะ แล้ววังสวนจิตรก็อยู่ทางนี้ คือก่อนที่ท่านจะเสด็จฯ มาที่นี่ เข้าใจว่า ท่านเพิ่งจะทรงกลับมาจากเมืองนอก แล้ววันที่รับเสด็จก็จะพานักเรียนไปเข้าแถวรับเสด็จ เราก็รู้สึกตื่นเต้นนะ ซึ่งถึงแม้ว่าคุณครูจะบอกเราในภายหลังว่า พระองค์ท่านจะเสด็จฯ มาแล้วนะ ถนนก็จะเงียบ แล้วเวลาที่จะเสด็จฯ ผ่าน ก็จะมีเสียงมอเตอร์ไซค์นะ แล้วเราจำได้ว่า เสียงมอเตอร์ไซค์ของท่านจะไม่เหมือนกับคันอื่นๆ และสะท้อนเข้าไปข้างในจนเรารู้สึกว่าดีใจเหลือเกิน แล้วด้วยความที่เรามองเห็นนิดหน่อย ก็จะเห็นรถยนต์เหมือนสีงาช้างแล่นผ่านไป พวกเราก็ถูกสอนว่า ให้เปล่งเสียงว่า ‘ทรงพระเจริญ’ แล้วพอเข้ามาในโรงเรียน เพื่อนๆ ก็จะเล่าถึงในหลวง ร.9 และพระราชวงศ์ทุกพระองค์ แล้วต่อมา เดือนสิงหาคมของปีนั้น ก็จะได้รับเป็นอาหารพระราชทาน มีเค้ก มีไอศกรีม จำได้ว่าผู้ปกครองโรงเรียนจะเป็นเหล่าซิสเตอร์ เขามาดูแลพวกเราเป็นฝ่ายปกครองเลย ก็จะเรียกนักเรียนจำนวนหนึ่งค่ะ พอดีตัวเองก็เป็นหนึ่งในนักเรียนที่ได้รับเลือกไปด้วย ซึ่งก่อนที่จะเข้าแถวรับอาหารพระราชทาน ก็ต้องมีการถ่ายรูป จำได้ว่าเป็นเค้กชั้นๆ สูงมากเลย ใหญ่ขึ้นมาแล้วเป็นยอดแหลมๆ แล้วก็มีข้าวหน้าเป็ดมาด้วย แล้วพอมาถึงวันที่ 5 ธันวา ก็มีพระราชทานมาให้ที่โรงเรียนทุกครั้ง ซึ่งในเวลาที่เราคุยกัน เราก็จะคุยเรื่องในหลวง ร.9 และ เรื่องพระราชวงศ์
“ทีนี้ พอเราเริ่มเข้าโรงเรียนเมื่อปี 2503 อยู่มาจนถึง 2506 แต่ช่วงนั้น เวลาที่พระองค์ท่านเสด็จฯ ไปไหน เราก็มีโอกาสที่จะไปรับเสด็จที่หน้าโรงเรียนทุกครั้ง พอปี 2506 เป็นข่าวดีที่มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย เขาก็ให้ครูมาประกาศหน้าแถวว่า ในวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ วันที่ 31 ธันวาคม 2506 เย็นวันนั้นพวกเราจะได้เข้าไปเลี้ยงอาหารในวัง แล้วพระองค์ท่านพระราชทานเลี้ยงคนพิการทุกประเภท เช่น คนตาบอด หูหนวก แขนขา และผู้พิการทางสมอง ซึ่งรู้สึกว่าประมาณ 2 อาทิตย์นะ คุณครูก็ให้เข้าแถวใต้ตึกตรงนี้นะคะ แล้วก็มีการฝึกซ้อมพูดภาษาราชาศัพท์ ในคำที่จำเป็น เช่นคำว่าขอบคุณ ผู้หญิงจะต้องซ้อมว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณ เพคะ ส่วนผู้ชายก็บอกว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณพระพุทธเจ้าข้า ในการที่ได้รับอะไร แล้วเราก็จะมีถูกสอนให้ซ้อม เช่นว่า ผู้หญิงก็จะฝึกให้มีการถอนสายบัว ส่วนผู้ชายก็จะเป็นการถวายคำนับ ก็ฝึกอยู่ 2 อาทิตย์ จนวันนั้นมาถึง ตอนนั้นก็น่าจะอายุประมาณ 10 ขวบ พอเข้าไป ของที่พระราชทานเลี้ยง ไม่ใช่อาหารหนัก แต่จะเป็นอาหารว่าง จำได้ว่าเป็นซุปสาคู ที่ได้ทานในวันนั้น จนทุกวันนี้ยังไม่ได้รับประทานอะไรที่อร่อยอีกเลย เป็นซุปสาคูที่มีเนื้อไก่และอร่อยมาก จากนั้นได้ทานขนมปั้นสิบ ซึ่งเป็นแบบสด ที่ทานครั้งแรกเหมือนกัน แล้วจะรับประทานกับผัก ซึ่งด้วยความที่มองเห็นอยู่บ้าง ก็จะมีนางสนองพระโอษฎ์ ที่มาช่วยดูแลเสิร์ฟตามโต๊ะ แล้วเวลาที่สมเด็จเสด็จฯ เดินตามโต๊ะ จำได้เลยว่า พอเราได้รับประทานอาหาร ก็จะมีการแจกสลากเล็กๆ แล้วเวลาที่ท่านทรงมอบให้ ท่านก็จะเอ่ยว่า สลากจ้ะ พอเราเปิดมา เด็กเล็กๆ ก็จะได้กระปุกออมสินรูปกระต่าย เพราะว่าปีนั้นเป็นปีเถาะ ครบ 3 รอบ อย่างพวกโตๆ ก็จะได้วิทยุ ได้เสื้อกันหนาว แล้วเรายังจำได้ว่า เจ้าฟ้าทั้ง 2 พระองค์ ยังทรงพระเยาว์ที่ทรงมากับพระพี่เลี้ยง ก็มายื่นขนมให้
“ทีนี้ก็มีสุภาพสตรีท่านหนึ่ง พาไปไหนซักที่ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นพระที่นั่ง คือปีแรกๆ เข้าใจว่าเป็นโรงเรียนสวนจิตรลดา จะนั่งตรงหน้าหอประชุมตรงโรงเรียนสวนจิตร แล้วพอรับประทานอาหารเสร็จ พวกเราก็จะได้ไปนั่งตรงใต้ตึก เป็นอาคารที่มีเวที ทีนี้คนอื่นไปกันหมดแล้ว แต่มีสุภาพสตรีท่านหนึ่ง ใส่ชุดสีบานเย็นอมม่วงๆ หน่อย ซึ่งถึงแม้ว่าไม่มีแสงไฟสว่างแต่ก็ยังเห็นชัดอยู่ ก็มาพาเดินไป สุภาพสตรีท่านนั้นก็บอกกับเราว่า ขณะนี้ในหลวง ร.9 กำลังทรงแซกโซโฟนอยู่ เพราะมั้ยจ๊ะ เราก็เลยตอบไปว่าเพราะค่ะ คือเราได้นั่งพับเพียบกับพื้น แต่เราสังเกตว่า ในระยะไกลๆ ก็จะมีเสียงดนตรี พระบรมวงศานุวงศ์เช่น สมเด็จพระเทพฯ ทรงขับร้องเพลงเมื่อโสมส่อง แล้วฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงร้องเพลงที่ทำนองคล้ายเพลงจิงเกอร์เบลแต่เป็นเพลงไทย แล้วคนตาบอดก็ขึ้นไปร้องเพลงยิ้มสู้ พอเราไปนั่งตรงข้างหลังประธานมูลนิธิ เราก็เรียกท่านว่า คุณหญิงสมานใจ แพทยากุล แต่ตอนนั้นเรียกว่าคุณหญิงดำรงในสมัยนั้น ซึ่งข้างหน้าเราเป็นโซฟาตัวเดี่ยวนะคะ ที่สำหรับนั่งคนเดียว ก็ได้ยินเสียงที่คล้ายๆ เหมือน ในหลวง ร.9 ทรงแซกโซโฟน "เพราะมั้ยจ๊ะ" คือหันเห็นพระพักตร์แล้วมีเสียงว่า คุณหญิงร้องเพลงสิจ๊ะ แล้วก็ได้ยินเสียงเพิ่มอีกว่า “ข้าพระพุทธเจ้าร้องไม่เก่ง ต้องให้นักเรียนตาบอดสิถึงร้องเก่ง” จึงได้รู้ว่า สุภาพสตรีที่อยู่ในชุดสีบานเย็น คือสมเด็จ เพราะคุณหญิงท่านใช้คำราชาศัพท์ด้วย พอพวกเรากลับมาโรงเรียนนี่คือ ไม่ยอมนอนกันเลย มาถึงที่พักประมาณทุ่มกว่า แต่ละคนก็ประทับใจกันมาก ตอนนั้นยังเป็นเด็กอยู่ ก็ได้นั่งอยู่ข้างหลัง ทีนี้พอกลับมาปุ๊บ อะไรที่สัมผัส เราจะกลับมาดมกัน จนแบบไม่อยากซักเสื้อตัวนั้นเลย (หัวเราะ) แล้วแต่ละคนก็เอามาอวดกันว่า ของฉันก็มี
ตั้งหน้าชื่นเอาไว้ย้อมใจด้วยเพลง
ไยนึกกลัวหวาดเกรงยิ้มสู้
จากการที่ได้เป็นหนึ่งในนักเรียนที่ได้รับเสด็จเกือบทุกครั้ง และนำความซาบซึ้งใจมาให้แก่ศิริณีแทบทุกครั้ง จนกระทั่งในวันขึ้นปีใหม่ 2511 เธอได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนนักเรียนผู้พิการในวันนั้น ให้ร่วมร้องเพลงร่วมกับวงดนตรี อ.ส. ที่มีในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงดนตรีร่วมกับวง ซึ่งนับว่านำความปลาบปลื้มใจมาให้ตัวเธออีกครั้ง ที่ได้ร่วมแสดงให้ผู้เข้าร่วมได้ชม ถึงแม้ว่าตัวเธอเองนั้นจะไม่สามารถสัมผัสด้วยการมองเห็นก็ตามที
“หลังจากนั้น 4 ปีให้หลัง ปี 2511 พระองค์ท่านทรงเปลี่ยนวัน จากปี 2506 ถึง 2509 แล้วพอมาปี 2511 ท่านถึงมาเปลี่ยนเป็น 1 มกราคม ซึ่งเราในตอนนั้นเป็นนักเรียนอยู่ชั้น ป.7 พอเราไปรับเสด็จเสร็จเรียบร้อย พระองค์ท่านก็พระราชทานเลี้ยงค่อนข้างหนักแล้ว คือเหมือนมีออกร้าน มีก๋วยเตี๋ยว มีบะหมี่ มีข้าวหน้าเป็ด พอรับประทานเสร็จ ขณะที่สมเด็จท่านทรงพระดำเนินไปที่โต๊ะต่างๆ และมีพระราชปฏิสัณฐาน แล้วบางทีก็นั่งบนผืนหญ้า ตอนเวลาที่เราทานเสร็จแล้ว ก็นั่งพับเพียบด้วยกัน แล้วในหลวง ร.9 ก็ทรงแซกโซโฟน ทีนี้หลังจากที่รับประทานเลี้ยงแล้ว คุณครูก็มาเลือกตัวแล้วว่า เราก็ควรมีการแสดงอะไรบ้าง ซึ่งทุกปีที่ผ่านมาเขาก็เลือกแสดงเป็นหมู่ พอเป็นผู้หญิง ก็ให้เราขึ้นไปแล้วกัน ซึ่งตอนแรกก็เกือบไม่ได้ขึ้นไปแล้วนะ เพราะว่าเราเป็นสิวหัวช้างที่หน้า (หัวเราะ) คือถ้าสิวขึ้นไม่สวยแน่เลย แต่ในที่สุดเขาก็พาขึ้นไป
“พอไปปุ๊บ ผู้ชายก็คือ คุณประทิน สิทธิชัย ซึ่งเขายังใส่กางเกงขาสั้นอยู่ คือเราอยู่ ป.7 คุณประทินน่าจะอยู่ ม.ศ. 2 มั้ง ผู้ชายร้องเพลง แสงเทียน แต่เราจะร้องเพลงพรปีใหม่ ซึ่งพอขึ้นไป คุณครูก็สอนไว้ว่า ต่อหน้าที่ประทับ ผู้หญิงก็ต้องถอนสายบัว แล้วพอขึ้นไป บางคนก็บอกว่า ในหลวง ร.9 ทรงเปียโนบ้าง หรือ ทรงแซกโซโฟนบ้าง แต่ตอนที่เราขึ้นไป ก็เห็นทั้งเปียโนและแซ็กโซโฟนด้วย เราก็มีความลังเลว่าจะถวายบังคมใครดี และด้วยความที่เต่ละคนก็ใส่เสื้อนอกด้วย แถมสีเนื้อที่เราเห็นก็ขาวเหลืองเท่ากันเลย เราก็เลยตัดสินใจว่า เอาตรงกลางๆ เลยละกัน ไม่ได้เจาะจงใคร เพราะเราไม่เห็นว่าถวายบังคมใคร แต่ข้างล่าง คุณครูก็อธิบายว่า ไปถอนสายบัวกับ อ.แมนรัตน์ (ศรีกรานนท์) ซึ่งอยู่ตรงเปียโน แล้วพอขึ้นไปนี่คือตกใจนะ เพราะว่าเราก็ไม่ได้เป็นนักร้องประจำของวง อ.ส. นักดนตรีก็จะไม่ทราบว่าเราจะร้องคีย์ไหน แล้วนักดนตรีในวงก็จะให้เราขึ้นก่อน แต่จำได้ว่า เราเพิ่งรับประทานอาหารกำลังอิ่มๆ แล้วกลายเป็นว่า เราขึ้นเสียงสูง แต่ไม่หลงนะ เราร้องจนกระทั่งจบเลย
“ความรู้สึกในตอนนั้นก็คือตื่นเต้นด้วย เพราะว่าเขาพาไปที่ไมโครโฟนที่ยืน ก็ไม่ทราบนะว่ามีการถ่ายรูปด้วย พอร้องเสร็จ ถอนสายบัวเสร็จ ก็เดินลงมาข้างล่าง ก็คงคิดว่า เราคงร้องไม่ได้เรื่องละมั้ง จนผ่านมา อ. เรณู เดือนดาว ท่านไปฟังคอนเสิร์ตที่เกี่ยวกับเพลงพระราชนิพนธ์ แล้วก็ได้หนังสือเล่มหนึ่งมา คล้ายๆ สูจิบัตร พอเปิดอ่าน ก็รู้สึกว่า นี่มันลูกศิษย์เรานี่หว่า แล้วเอามาให้ ซึ่งเรามาธุระที่โรงเรียนพอดี ก็เลยคิดว่าเป็นบุญที่เราได้รูปนี้ไว้ แล้วอาจารย์ท่านก็บอกเราว่า ครูได้ของดีมา ซึ่งคิดว่าเป็นรูปเราแน่ๆ ก็เอามาให้ดู ซึ่งถ้าใครๆ ดู ก็คิดว่าใช่ แต่ไม่ได้ไปตามดูว่าคืออะไร ซึ่งความประทับใจของคนตาบอดก็จะเป็นลักษณะนี้ ประทับใจแต่ไม่มีรูปเก็บ แต่พอได้หนังสือรูปนั้นมา เมื่อเขายืนยันแล้ว ก็เอาไปให้ช่างถ่ายภาพถ่ายเก็บอีกที
“ช่วงที่ร้อง นี่คือตกใจมาก จนกระทั่งถอนสายบัวก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร แต่เรามีความแน่ใจตรงว่า จะต้องมีหนึ่งองค์ในวง คือในหลวง ร.9 แต่ก็ตกใจตรงที่พระองค์ท่านก็ไม่ได้ขึ้นดนตรีให้ ก็ให้เราขึ้นเอง พอเราได้คีย์ไหน ดนตรีก็ตามเรา เพราะว่าเราไม่ได้ซ้อมมากับวง แต่ด้วยความที่เรายังเป็นเด็ก ก็อาจจะเป็นปลื้มนิดๆ แต่ก็มีแอบกลัว เพราะเพื่อนๆ เขาล้อว่า ศิริณีเสียงอิ่มจัด เราก็รู้สึกว่า ประหม่า และทำได้ไม่ดี ซึ่งพอรูปออกมา 10 ปีให้หลัง เหมือนกับเราได้ของมีค่ามา”
ยามปวงมารมาพาลลบหลู่
ยิ้มละมัยใจสู้หมู่มวลเภทภัย
เมื่อศิริณีจบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ไป ในโลกของความเป็นจริงภายนอก นับว่าเป็นโจทย์หลักที่เธอต้องแก้ไขและผ่านมันไปให้ได้ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของเธอ แต่ด้วยแรงใจที่เธอมีอย่างล้นเหลือ และด้วยการฝึกฝนให้ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ในช่วงที่เธอได้รับจากการเป็นนักเรียนประจำจากสถานศึกษาแห่งดังกล่าว ก็ทำให้ศิริณีสามารถอยู่ร่วมเป็นหนึ่งในสังคมได้อย่างไม่มีปัญหา
“คือตอนที่เราเรียนที่นี่ เราก็รู้สึกว่าความลำบากจะไม่มีนะ แต่พอเราออกไปเรียนข้างนอก ในช่วง ม.ศ. 4 ถึง 5 เนี่ย เราเริ่มไปเรียนกับนักเรียนปกติ เราก็รู้สึกว่า มันก็เจอกับปัญหาและอุปสรรค แต่ก็ยังรู้สึกว่าไม่ท้อถอยเท่าไหร่ แต่พอเราสอบได้ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ยิ่งเข้าไปตรงนั้น เราก็รู้สึกว่า ถ้าเราเรียนจบไปนะ ก็จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระองค์ท่าน และอีกอย่าง สมเด็จพระเทพฯ ก็เป็นรุ่นพี่ในมหา'ลัย 1 ปี แล้วเราก็เลือกเอกประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับพระองค์ท่าน เราก็รู้สึกว่า กับในหลวง ร.9 จะได้พบก็ตอนรับพระราชทานปริญญา แต่กับสมเด็จพระเทพฯ นั้น เราก็จะได้พบก่อนจากการที่เรียนด้วยกัน แต่ตอนที่ได้ถวายพวงมาลัย หลังจากที่เข้ามาเป็นนิสิตได้ 2 อาทิตย์ ซึ่งเวลาที่เข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่านนั้น มันอาจจะมีความผิดพลาดบ้าง ความเปิ่นบ้าง แต่พระองค์ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่มันก็เป็นแนวทางที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในภายภาคหน้าได้ เราก็มีแอบหวังไว้ตรงนั้น ซึ่งในช่วงเรียนมหา'ลัย เราก็ได้ใกล้ชิดกับสมเด็จพระเทพฯ ซะเยอะ“
“จนกระทั่งวันที่พระราชทานรับปริญญาบัตร คือตอนนั้นรู้สึกว่า ถ้าเราเดินขึ้นไปคนเดียวเหมือนกับนิสิตคนอื่นๆ ซึ่งที่จริงเราลองซ้อมเหมือนกับคนปกติแล้วนะ แล้วก็ทำได้นะ แต่เรารู้สึกว่า หากเป็นวันจริง ไฟอาจจะสว่าง แล้วถ้าเราไม่ขอคนนำเราขึ้นไป เราจะทำอะไรพลาดมั้ย เราก็เลยไปบอกอาจารย์ว่า ขอให้ใครก็ได้มาเป็นผู้นำทางให้เราหน่อย อาจารย์คงคิดว่า ให้มีใครนำพาไปถึงจุดที่ก่อนจะไปที่หน้าพระพักตร์ แล้วจุดสุดท้าย เขาถึงปล่อยให้เดินไปคนเดียว ซึ่งในขณะที่เดินไปคู่กันนั้น ในหลวง ร.9 ก็ทรงเห็นแล้วว่าเป็นคนตาบอด เพราะจะเป็นการนำพาคนตาบอดนะต้องเกาะแขน แล้วพอเราถอนสายบัวเสร็จ ก็จะต้องเอางานใช่มั้ยคะ ซึ่งพอเรายื่นมือไปปุ๊บ ก็ได้ใบปริญญาแล้ว เรายังไม่ได้เอางานครบทุกขั้นตอนเลย เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นรูปรับปริญญา ก็จะรู้ว่า เรารับผิดขั้นตอนตามที่อาจารย์เขาบอก ซึ่งอาจารย์จะบอกขั้นตอนต่างๆ แต่ของเรานี่คือ พระองค์ท่านทรงยื่นพระหัตถ์มาให้เลย แต่ในใจเราตอนนั้นคือ สงสัยรับผิด หรือว่าจะปล่อยแล้วรับใหม่ดี แต่ความคิดอีกด้านคือ พระองค์ท่านทรงตั้งใจที่จะมอบให้เราอย่างนี้แหละ ถึงจะผิดก็ตาม ซึ่งถ้าปล่อยแล้วหล่นไป ก็คงจะเป็นเรื่อง (หัวเราะเบาๆ) ถึงอย่างนั้น พระองค์ท่านทรงให้มาแล้ว เราก็ต้องรับไว้ด้วยความภาคภูมิใจ ฉะนั้น 3 ครั้ง ที่เราได้เข้าเฝ้าฯ ฝรั่งยังมาถามเราเลยว่า ทำไมยูถึงได้ยืนใกล้ๆ พระองค์ท่านเสมอ ซึ่งเกิดมาก็ไม่เคยเห็นเหมือนกัน (ยิ้ม)
“ตอนที่เราเป็นนักเรียน เวลาเราทำผิดอะไรเขาก็ให้อภัยใช่มั้ยคะ คือมีคุณครู มีผู้ใหญ่คอยดูแล แต่พอเราเรียนจบมาปุ๊บ ไปทำงานข้างนอก คือเราเริ่มทำงานที่ธนาคารไทยทนุ ตั้งแต่ปี 2521 แล้วในการทำงาน เราก็ต้องเจออุปสรรคหลายอย่าง อย่างเราทำงานเป็นโอเปอเรเตอร์ เราก็ต้องเรียนรู้กับเครื่องโทรศัพท์ที่เราไม่คุ้นเคย ต้องเจอกับคนที่เข้าใจและไม่เข้าใจคนตาบอด อาจจะเจอการล้อเลียนบ้างหลายอย่าง แล้วก็การทำงานนี้ บางครั้งเราไม่ได้เห็นหน้ากัน คือบางครั้งคนอื่นอาจจะรับสายไว้ตรงนั้น แต่เรามารับช่วงต่อบ้าง อาจจะถูกเขาต่อว่า เราก็ต้องขอโทษ ซึ่งมันเป็นอุปสรรคในการทำงานเยอะแยะไปหมด ซึ่งจิตใจเราก็ต้องมั่นคง แล้วพอมาทำงานได้ 3 ปี เราก็ได้ทำงานช่วยเหลือสังคม ซึ่งเราก็ถูกสอนอีกว่า เมื่อเราได้พัฒนามาถึงจุดหนึ่งแล้ว เราควรจะมีโอกาสได้ช่วยรุ่นน้องคนอื่นๆ ที่ยังขาดโอกาสและน้อยกว่าเรา ซึ่งในการช่วยของเราคือ เราร่วมมือในการตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวกับคนตาบอดขึ้นมา ตอนนั้นปี 2524 เป็นปีคนพิการสากล เราถูกเลือกไปเป็นตัวแทนประเทศไทยให้ไปประชุมที่มาเลเซีย เขาก็สั่งกลับมาว่า ให้รวบรวมผู้หญิงตาบอด ก็เลยเป็นที่มางานสังคมในช่วงนั้น
จะสบความสุขสันต์สำคัญที่ใจ
เฝ้าแต่ยิ้มสู้ไปด้วยใจชื่นบาน
ในปัจจุบัน ด้วยประสบการณ์ชีวิตที่เพิ่มขึ้น บวกกับการผ่านอุปสรรคขวากหนามมาได้ทุกรูปแบบ นั่นจึงทำให้ศิริณีสามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างเต็มภาคภูมิและไม่น้อยหน้าคนปกติทั่วไป ซึ่งถึงแม้ว่าอายุในการดำรงอาชีพจะหมดไปด้วยการกำหนดเวลาก็ตามที แต่ด้วยต้นแบบของเธอนั้นได้เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับใครหลายๆ คนนั่นเอง จึงทำให้ศิริณี เลือกที่จะสานต่อเจตนารมณ์ของในหลวง ร.9 ด้วยการเป็นอาสาสมัครของโรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ เพื่อให้ความตั้งใจของพระองค์ท่านได้เดินทางต่อสืบไปอย่างมั่นคงด้วยอุดมการณ์
“ตอนที่เราเริ่มสมาคมนั้น ก็เริ่มมาจากการเป็นชมรมก่อน แล้วเราก็เริ่มด้วยวัฒนธรรม ด้วยบรรยากาศของประเทศไทย ซึ่งขนาดอยู่ในบ้านก็ยังถูกกีดกัน พอออกมาข้างนอก ก็ต้องพยายาม เหมือนกับบางทีก็ต้องเอาตัวเราไปเป็นประชาสัมพันธ์ คือเราไม่ได้อวดว่าเราเก่งหรืออะไร เพียงแต่ให้ข้างนอกได้รู้ว่า บางทีคนตาบอดก็มีความสามารถมากกว่าที่ใครคิด แต่บางทีเราก็ต้องเอาความตาบอดของเราไปแสดง เพราะว่าบางทีพ่อแม่ของคนตาบอดบางคนก็ยังไม่เชื่อ เราไปเยี่ยมคนตาบอดตามบ้าน แล้วพอเขาออกมาเพื่อจะมีการฟื้นฟู แต่พ่อแม่มาตามเอากลับไปก็มี ในขณะที่เราประชุมกัน บางครั้งก็คือ เขาอาจจะคิดว่า เหมือนพาลูกเขาไปหลอกหรือเปล่า ซึ่งให้ไปเจออุปสรรคหลายๆ อย่าง แต่เดี๋ยวนี้ ด้วยการข่าวหลายๆ อย่างที่ดีขึ้น กว้างขึ้น แต่ปัญหาที่ว่ามาทุกวันนี้ก็ยังเจออยู่นะ ที่บางคนถูกห้ามแล้วเก็บไว้ในบ้าน ยังมีอยู่ คือถึงแม้ว่าเราตั้งชมรมเป็นสตรีตาบอดก็จริง แต่เราก็ไม่ได้แยกจากผู้ชายนะ เราก็เชิญมาร่วมทำกิจกรรมอยู่เสมอ อย่าง อ.วิริยะ (นามศิริพงศ์พันธุ์) ที่เป็นนักกฎหมาย นี่ก็เป็นเพื่อนกันตั้งแต่เด็กๆ หรืออย่าง อ.มณเฑียร (บุญตัน) ที่ทำงานทางด้านรัฐสภา แต่ด้านผู้หญิง เราจะเป็นหน่วยสนับสนุน ว่ายังมีปัญหาอะไรบ้าง เราก็ส่งเสริมซึ่งกันและกัน อันนี้คือหน้าที่หลักที่ทำมาจนถึงทุกวันนี้
“คือปัญหาที่พบคือ อย่างที่บอกยังเก็บไว้ในบ้าน และไม่ให้ออกไปไหน คือปกติในมุมของพ่อแม่ เขาจะคิดด้วยความรัก แล้วมันจะมี 2 ประเภทของลูกที่พิการ คือ รักแบบที่เก็บไว้เลี้ยงดูอย่างไข่ในหิน กับ เลี้ยงดูไม่ส่งเสริมและพัฒนา คือจะใช้ให้ทำอะไรในบ้านก็รู้สึกสงสาร หรืออีกอย่าง มานั่งคิดอย่างเดียวว่า เป็นเวรกรรมอะไรของเราที่เกิดมามีลูกพิการ จะกลายไปเป็นทางอคติ ปล่อยปละละเลย แต่ถ้ามีคนจะเอาไปฟื้นฟู ก็จะมีความคิดว่า ไม่อยากให้คนรู้ว่าตัวเองมีลูกพิการ ซึ่งเราก็ต้องคอยประชาสัมพันธ์ด้วยว่า การเลี้ยงลูกที่พิการ ไม่ว่าจะเป็นประเภทอะไรก็ตาม ต้องเลี้ยงให้เป็นและเลี้ยงให้ถูกทาง ซึ่งตัวเราถือว่าโชคดีที่แม่เป็นครู และเป็นคนใจแข็ง ใจแข็งที่ว่าคือ ไม่สงสารลูกจนเกินไป ซึ่งตอนที่เรายังเด็กๆ ก็สงสัยว่า ทำไมแม่เราดุจัง แล้วเวลาที่น้องๆ เราถูบ้าน เราก็ต้องทำด้วย ซึ่งแม่เราก็ใช้ให้ถูบ้านนะ แล้วก็ให้ไปทำครัวด้วย ซึ่งแม่ก็สอนให้ใช้มีดด้วย แต่ก็ต้องระวังนะ ซึ่งเราก็ถือว่าเป็นความใจกล้าของท่าน ซึ่งขณะที่เรามีลูกเอง เราก็สอนเขาว่าอย่าเล่น แล้วเราก็คิดด้วยว่า เราจะกล้าปล่อยลูกเราเหมือนที่แม่ปล่อยเรามั้ย แล้วพอแม่ปล่อยให้เราช่วยเหลือตัวเองได้ในงานบ้านแล้ว จนพอถึงขั้นตารักษาไม่ได้แล้ว ก็เลยถูกส่งมาเรียนที่นี่ ซึ่งตอนแรกคุณยายเราก็ว่าแม่เหมือนกันนะว่า แกมีลูกตาบอดคนเดียว ทำไมเลี้ยงไม่ได้ ต้องไปให้คนอื่นเลี้ยง ซึ่งยายจะรักหลาน แต่แม่รักลูก รักเป็น และเลี้ยงเป็น แม่ก็บอกว่า ลูกทำไมจะไม่รัก แต่ถ้าไม่ส่งเสริมให้เขามีการศึกษา แล้วเราจะเลี้ยงเขาได้ตลอดชีวิตมั้ย แล้วถ้าแม่เสียไปแล้ว ใครจะดูแลเขาต่อ ซึ่งพอเราคิดขึ้นมามันก็จริงตามที่เขาบอกเลย ทุกวันนี้ทั้งตัวเองและพี่ๆ คนตาบอดหลายๆ คน ที่เขาเรียนหนังสือ เขามีงานทำ ได้เป็นที่พึ่งของครอบครัวทั้งนั้นเลย”
“ตอนที่เกษียณอายุ ตอนปี 2556 ตัวเองอยู่บ้านประมาณ 2 ปีครึ่ง แต่ช่วงเวลานั้นก็ยังออกมาช่วยองค์กรอื่นๆ อยู่นะ เพราะว่าได้รับเชิญให้เป็นเหรัญญิกในองค์กรอื่นๆ บ้าง แต่การที่เราออกมามันจะเป็นงานที่เราไม่ได้เงินเดือนไงในช่วงหนึ่ง แต่พอเรามาคิดอีกแบบจากเพื่อนรุ่นน้อง เขาก็จะบอกเราว่า “พี่ศิ เหมือนเป็นทูตของคนตาบอดเลย” เราเลยมาย้อนความคิดที่ว่า มิสคอฟิลด์ที่ท่านก่อตั้งโรงเรียนเนี้ย ท่านจะสอนเรื่องบุคลิกภาพของคนตาบอด ว่าจะมีค่าอย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อเราทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ แล้วประโยชน์ตรงนั้นคืออะไร ถ้าเราออกไปทำงาน เราก็ต้องทำตัวให้อยู่ในระเบียบของที่ทำงาน ไม่อู้งาน ไปทำงานเช้า กลับตรงเวลา หรือแม้กระทั่งการแต่งกาย หรือเพื่อนร่วมงาน ก็ต้องเป็นที่พึ่งของเขาได้ อย่าไปเป็นภาระ คือท่านสอนทุกอย่าง เพราะฉะนั้นคือได้ใช้ แล้วตอนที่สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ มาที่โรงเรียน แล้วพระองค์ท่านมีพระราชดำรัสคำหนึ่งว่า ถึงแม้ว่าจะเกษียณอายุแล้ว แต่ถ้ายังมีกำลังพอที่จะช่วยงาน ก็ต้องช่วยกันต่อไป คืออย่าหยุด แล้วพอหลังจากพักมา 2 ปีครึ่ง เราก็กลับมาทำงานหลังจากเกษียณเมื่อไม่นานนี้เอง เพราะว่าเขาให้มาช่วยดูในเรื่องอาสาสมัครตรงนี้ คือเราอายุ 65 แล้ว ก็ผ่านอะไรมาพอสมควร แล้วพอมาอยู่ฝ่ายนี้ รุ่นน้องที่โตขึ้นมา เขาต้องไปเรียนกับนักเรียนข้างนอก หรือในโรงเรียนนี้ก็ดี ซึ่งเขาก็ถามประสบการณ์จากเราว่าแต่ก่อนเป็นอย่างไร ในฐานะคนเก่า เราก็จะเล่าเรื่องเก่าๆ หรือประสบการณ์ที่เราไปเรียนและทำงานจากข้างนอกมา เราก็เล่าประสบการณ์ตรงนี้ให้พวกเขาฟัง ขณะเดียวกัน การที่เราเรียนร่วมกับคนตาดีที่เรามาช่วยอ่านหนังสือ ในตอนที่เป็นอาสาสมัคร อาจจะไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างอย่างในตอนนี้ เราจะเรียกคนอ่านหนังสือว่าคนบอกหนังสือ คือเราจะมีประสบการณ์ให้น้องอาสาสมัคร หรือคนที่ไม่เข้าใจคนตาบอด เราก็จะเป็นตัวกลางและอธิบายได้ เพราะว่าตัวแหม่มเองก็บอกว่า เวลาที่คนตาบอดไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ก็เหมือนกับเป็นทูตของคนตาบอดไปในตัวด้วย คือเราจะต้องเป็นภาพลักษณ์ด้วย ถ้าเราทำไม่ดี โอกาสของรุ่นน้องก็จะหายตามไปด้วย แต่ถ้าเราทำดี ก็จะมีการสืบทอดต่อ
“คือโดยปกติเราก็อยู่ในความมืดอยู่แล้วนะ แต่ทั้งพระมหากรุณาธิคุณ หรือ พระเมตตาต่างๆ ที่พระองค์ท่านทรงมีให้ มันทำให้ชีวิตเกิดความสว่างขึ้นมา ซึ่งความสว่างนี้มันไม่ได้แบบมาจากดวงไฟนะ เพราะถ้ามาจากสิ่งนี้ มันก็จะรู้สึกร้อน และได้แค่แป๊บเดียว แต่อีกทางหนึ่ง ในชีวิตของเราก็ต้องการความเย็นเข้ามา เหมือนกับเพลงสายฝนนะ คือท่านเป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตนะ เป็นทั้งความสว่างและความชุ่มชื้นร่มเย็น แล้วแต่ที่ว่าเราจะอยู่ในสภาวะแบบไหน อีกแง่หนึ่ง ก็ถือว่าเป็นกำลังใจ เพราะว่าถ้าเกิดเรามีอุปสรรคแล้วนึกถึงพระองค์ท่าน ถ้าเราเจออุปสรรคแค่นี้ แต่พระองค์ท่านนี่คือไม่มีเวลาที่จะทรงพักผ่อนอย่างที่เราได้พักนะ บางทีเราได้กลับบ้านไป อย่างน้อยก็ได้เอนหลัง ซึ่งพระองค์ท่านไม่ทรงมีโอกาสได้ทำแบบเรา คือตลอดพระชนมชีพของพระองค์ท่านนี่คือทรงทำมามาก เมื่อเทียบกับเราที่เป็นแค่ช่วงหนึ่งของชีวิตทั้งครอบครัวและเพื่อนฝูง แค่ตรงนี้ทำไมเราจะอดทนไม่ได้ ซึ่งขณะที่เราจะท้อ เราก็สามารถฮึดขึ้นมาได้เยอะทีเดียว คือพระองค์เป็นทั้งพลังกาย พลังใจ ให้กับเรา
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย และศิริณี อักษรมี
มาจนวันนี้ “ศิริณี อักษรมี” บุคคลที่กล่าวถึงในข้างต้นนั้น ปัจจุบันยังคงสืบสานปณิธานที่พระองค์ท่านได้ทรงวางไว้ ทั้งการดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมสตรีตาบอดในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในอาสาสมัครของโรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ และด้วยประสบการณ์จากการใช้ชีวิตของเธอเอง ศิริณีก็พร้อมที่จะนำการใช้ชีวิตที่เคยประสบมานั้น ได้ถ่ายทอดให้กับผู้พิการทางสายตารุ่นหลังจากเธอ ได้เรียนรู้จากผู้ที่เคยผ่านมาก่อน และสามารถประยุกต์ให้ใช้ได้เพื่อออกไปสู่สังคมภายนอก และอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นอย่างมีความสุขต่อไป ดั่งบทเพลง ‘ยิ้มสู้’ ที่เธอและใครหลายคนได้ยึดถือในการใช้ชีวิต
จะสบความสุขสันต์สำคัญที่ใจ
สุขและทุกข์อย่างไรเพราะใจตนเอง
ด้วยความที่ ศิริณี มีปัญหาทางสายตามาตั้งแต่เยาว์วัย ประจวบกับทางมารดาที่มีอาชีพเป็นครู เล็งเห็นแล้วว่า หนทางเดียวที่จะให้บุตรสาวคนโตของเธอดำรงชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ได้ นั่นคือ การให้การศึกษาให้กับเธอ นั่นจึงทำให้ศิริณีได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ ที่ตั้งอยู่ริมถนนราชวิถี ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการเสด็จพระราชดำเนินของในหลวง รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์เวลาเสด็จฯ ไปในที่ต่างๆ ซึ่งความทรงจำของเธอกับในหลวง ร.9 ก็เริ่มมาจากตรงนั้น...
“เราเป็นศิษย์เก่าที่นี่เลย แล้วพื้นที่เกือบทุกตาราง เราเหยียบเกือบครบเลย ตั้งแต่ 2503 ถึง 2515 เพราะว่าเรามาเรียนระดับอนุบาลที่นี่ จนถึงระดับ มศ.3 ตอนที่เราอยู่ในโรงเรียนนี้ ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่จะเป็นประเภทที่ว่า ตาบอดเหมือนมืดสนิท แต่เราเห็นบ้างนิดหน่อย ลางๆ มองเห็นสิ่งใหญ่ๆ และพอจำแนกสีได้ แต่จำหน้าคนไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาอยู่ตรงนี้เราอยู่กันเหมือนพี่น้อง ประกอบกับว่าแม่เราเป็นครู และท่านก็สอนว่า เราก็มีภาษีที่ดีกว่าคนอื่นนะ ที่ยังพอเห็นบ้าง แต่คนอื่นมองไม่เห็นเลย เพราะฉะนั้นถ้ามีอะไรก็ช่วยเหลือเพื่อนด้วยกันเอง และด้วยการที่เป็นนักเรียนหญิง ก็รู้สึกว่าได้ใช้ชีวิตระหว่างพี่น้องคนตาบอด ถ้าเรียกในสมัยนี้ ก็จะเป็นคำว่าจิตอาสา อย่างเวลาที่ผู้หญิงที่เขาอยากจะแต่งตัว เขาก็จะผัดหน้าผัดอะไร คนตาบอดตาเขาจะลึกลงไป เวลาที่เขาผัดหน้า ก็จะเกลี่ยไม่ทั่ว เขาก็จะมาถามว่า ผัดหน้าเท่ากันหรือยัง แล้วคนตาบอดก็อยากสวยเหมือนกันนะ ซึ่งถ้าผัดไม่เท่ากัน เราก็ต้องเกลี่ยให้ตาลึก แล้วเราก็สงสัยว่าทำไมเพื่อนเราตาลึกจัง บางทีก็นึกตกใจเหมือนกันว่าตาเราไม่เหมือนเขา เขาก็ไม่เหมือนเรา
“แล้วเมื่อก่อนมันไม่มีโซเชียล ไม่มีอะไร การสนทนาในตอนเด็กๆ จำได้ว่า เราเข้ามาเรียนที่นี่ เมื่อ 30 พฤษภาคม 2503 ตอนนั้นอายุ 7 ขวบ คือเด็กสมัยก่อนที่เข้ามา เขาจะวัดน้ำหนักส่วนสูง แล้วเราจำได้ว่าหนัก 19 สูง 119 อยู่ที่ประมาณข้อศอกของคนโตๆ แล้วเวลาที่เข้ามา เราก็จะคุยเรื่องพี่น้องของบ้านแต่ละคน เพราะฉะนั้นเวลาคุย เพื่อนๆ แต่ละคนก็จะจำชื่อของบุคคลแต่ละคนในครอบครัวได้ เพราะว่าไม่มีเรื่องอื่นคุย และจะถามว่าความเป็นอยู่ของบ้านแต่ละคนเป็นอย่างไร แล้วเรื่องที่เราคุยกันและไม่รู้เบื่อเลย คุยกันรุ่นต่อรุ่นมาเนี่ย คือหลังจากที่เราเข้าโรงเรียนมาได้ 2 อาทิตย์ จำได้ว่า มีโอกาสออกไปรับเสด็จ คือโรงเรียนอยู่ตรงเส้นราชวิถีใช่มั้ยคะ แล้ววังสวนจิตรก็อยู่ทางนี้ คือก่อนที่ท่านจะเสด็จฯ มาที่นี่ เข้าใจว่า ท่านเพิ่งจะทรงกลับมาจากเมืองนอก แล้ววันที่รับเสด็จก็จะพานักเรียนไปเข้าแถวรับเสด็จ เราก็รู้สึกตื่นเต้นนะ ซึ่งถึงแม้ว่าคุณครูจะบอกเราในภายหลังว่า พระองค์ท่านจะเสด็จฯ มาแล้วนะ ถนนก็จะเงียบ แล้วเวลาที่จะเสด็จฯ ผ่าน ก็จะมีเสียงมอเตอร์ไซค์นะ แล้วเราจำได้ว่า เสียงมอเตอร์ไซค์ของท่านจะไม่เหมือนกับคันอื่นๆ และสะท้อนเข้าไปข้างในจนเรารู้สึกว่าดีใจเหลือเกิน แล้วด้วยความที่เรามองเห็นนิดหน่อย ก็จะเห็นรถยนต์เหมือนสีงาช้างแล่นผ่านไป พวกเราก็ถูกสอนว่า ให้เปล่งเสียงว่า ‘ทรงพระเจริญ’ แล้วพอเข้ามาในโรงเรียน เพื่อนๆ ก็จะเล่าถึงในหลวง ร.9 และพระราชวงศ์ทุกพระองค์ แล้วต่อมา เดือนสิงหาคมของปีนั้น ก็จะได้รับเป็นอาหารพระราชทาน มีเค้ก มีไอศกรีม จำได้ว่าผู้ปกครองโรงเรียนจะเป็นเหล่าซิสเตอร์ เขามาดูแลพวกเราเป็นฝ่ายปกครองเลย ก็จะเรียกนักเรียนจำนวนหนึ่งค่ะ พอดีตัวเองก็เป็นหนึ่งในนักเรียนที่ได้รับเลือกไปด้วย ซึ่งก่อนที่จะเข้าแถวรับอาหารพระราชทาน ก็ต้องมีการถ่ายรูป จำได้ว่าเป็นเค้กชั้นๆ สูงมากเลย ใหญ่ขึ้นมาแล้วเป็นยอดแหลมๆ แล้วก็มีข้าวหน้าเป็ดมาด้วย แล้วพอมาถึงวันที่ 5 ธันวา ก็มีพระราชทานมาให้ที่โรงเรียนทุกครั้ง ซึ่งในเวลาที่เราคุยกัน เราก็จะคุยเรื่องในหลวง ร.9 และ เรื่องพระราชวงศ์
“ทีนี้ พอเราเริ่มเข้าโรงเรียนเมื่อปี 2503 อยู่มาจนถึง 2506 แต่ช่วงนั้น เวลาที่พระองค์ท่านเสด็จฯ ไปไหน เราก็มีโอกาสที่จะไปรับเสด็จที่หน้าโรงเรียนทุกครั้ง พอปี 2506 เป็นข่าวดีที่มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย เขาก็ให้ครูมาประกาศหน้าแถวว่า ในวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ วันที่ 31 ธันวาคม 2506 เย็นวันนั้นพวกเราจะได้เข้าไปเลี้ยงอาหารในวัง แล้วพระองค์ท่านพระราชทานเลี้ยงคนพิการทุกประเภท เช่น คนตาบอด หูหนวก แขนขา และผู้พิการทางสมอง ซึ่งรู้สึกว่าประมาณ 2 อาทิตย์นะ คุณครูก็ให้เข้าแถวใต้ตึกตรงนี้นะคะ แล้วก็มีการฝึกซ้อมพูดภาษาราชาศัพท์ ในคำที่จำเป็น เช่นคำว่าขอบคุณ ผู้หญิงจะต้องซ้อมว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณ เพคะ ส่วนผู้ชายก็บอกว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณพระพุทธเจ้าข้า ในการที่ได้รับอะไร แล้วเราก็จะมีถูกสอนให้ซ้อม เช่นว่า ผู้หญิงก็จะฝึกให้มีการถอนสายบัว ส่วนผู้ชายก็จะเป็นการถวายคำนับ ก็ฝึกอยู่ 2 อาทิตย์ จนวันนั้นมาถึง ตอนนั้นก็น่าจะอายุประมาณ 10 ขวบ พอเข้าไป ของที่พระราชทานเลี้ยง ไม่ใช่อาหารหนัก แต่จะเป็นอาหารว่าง จำได้ว่าเป็นซุปสาคู ที่ได้ทานในวันนั้น จนทุกวันนี้ยังไม่ได้รับประทานอะไรที่อร่อยอีกเลย เป็นซุปสาคูที่มีเนื้อไก่และอร่อยมาก จากนั้นได้ทานขนมปั้นสิบ ซึ่งเป็นแบบสด ที่ทานครั้งแรกเหมือนกัน แล้วจะรับประทานกับผัก ซึ่งด้วยความที่มองเห็นอยู่บ้าง ก็จะมีนางสนองพระโอษฎ์ ที่มาช่วยดูแลเสิร์ฟตามโต๊ะ แล้วเวลาที่สมเด็จเสด็จฯ เดินตามโต๊ะ จำได้เลยว่า พอเราได้รับประทานอาหาร ก็จะมีการแจกสลากเล็กๆ แล้วเวลาที่ท่านทรงมอบให้ ท่านก็จะเอ่ยว่า สลากจ้ะ พอเราเปิดมา เด็กเล็กๆ ก็จะได้กระปุกออมสินรูปกระต่าย เพราะว่าปีนั้นเป็นปีเถาะ ครบ 3 รอบ อย่างพวกโตๆ ก็จะได้วิทยุ ได้เสื้อกันหนาว แล้วเรายังจำได้ว่า เจ้าฟ้าทั้ง 2 พระองค์ ยังทรงพระเยาว์ที่ทรงมากับพระพี่เลี้ยง ก็มายื่นขนมให้
“ทีนี้ก็มีสุภาพสตรีท่านหนึ่ง พาไปไหนซักที่ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นพระที่นั่ง คือปีแรกๆ เข้าใจว่าเป็นโรงเรียนสวนจิตรลดา จะนั่งตรงหน้าหอประชุมตรงโรงเรียนสวนจิตร แล้วพอรับประทานอาหารเสร็จ พวกเราก็จะได้ไปนั่งตรงใต้ตึก เป็นอาคารที่มีเวที ทีนี้คนอื่นไปกันหมดแล้ว แต่มีสุภาพสตรีท่านหนึ่ง ใส่ชุดสีบานเย็นอมม่วงๆ หน่อย ซึ่งถึงแม้ว่าไม่มีแสงไฟสว่างแต่ก็ยังเห็นชัดอยู่ ก็มาพาเดินไป สุภาพสตรีท่านนั้นก็บอกกับเราว่า ขณะนี้ในหลวง ร.9 กำลังทรงแซกโซโฟนอยู่ เพราะมั้ยจ๊ะ เราก็เลยตอบไปว่าเพราะค่ะ คือเราได้นั่งพับเพียบกับพื้น แต่เราสังเกตว่า ในระยะไกลๆ ก็จะมีเสียงดนตรี พระบรมวงศานุวงศ์เช่น สมเด็จพระเทพฯ ทรงขับร้องเพลงเมื่อโสมส่อง แล้วฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงร้องเพลงที่ทำนองคล้ายเพลงจิงเกอร์เบลแต่เป็นเพลงไทย แล้วคนตาบอดก็ขึ้นไปร้องเพลงยิ้มสู้ พอเราไปนั่งตรงข้างหลังประธานมูลนิธิ เราก็เรียกท่านว่า คุณหญิงสมานใจ แพทยากุล แต่ตอนนั้นเรียกว่าคุณหญิงดำรงในสมัยนั้น ซึ่งข้างหน้าเราเป็นโซฟาตัวเดี่ยวนะคะ ที่สำหรับนั่งคนเดียว ก็ได้ยินเสียงที่คล้ายๆ เหมือน ในหลวง ร.9 ทรงแซกโซโฟน "เพราะมั้ยจ๊ะ" คือหันเห็นพระพักตร์แล้วมีเสียงว่า คุณหญิงร้องเพลงสิจ๊ะ แล้วก็ได้ยินเสียงเพิ่มอีกว่า “ข้าพระพุทธเจ้าร้องไม่เก่ง ต้องให้นักเรียนตาบอดสิถึงร้องเก่ง” จึงได้รู้ว่า สุภาพสตรีที่อยู่ในชุดสีบานเย็น คือสมเด็จ เพราะคุณหญิงท่านใช้คำราชาศัพท์ด้วย พอพวกเรากลับมาโรงเรียนนี่คือ ไม่ยอมนอนกันเลย มาถึงที่พักประมาณทุ่มกว่า แต่ละคนก็ประทับใจกันมาก ตอนนั้นยังเป็นเด็กอยู่ ก็ได้นั่งอยู่ข้างหลัง ทีนี้พอกลับมาปุ๊บ อะไรที่สัมผัส เราจะกลับมาดมกัน จนแบบไม่อยากซักเสื้อตัวนั้นเลย (หัวเราะ) แล้วแต่ละคนก็เอามาอวดกันว่า ของฉันก็มี
ตั้งหน้าชื่นเอาไว้ย้อมใจด้วยเพลง
ไยนึกกลัวหวาดเกรงยิ้มสู้
จากการที่ได้เป็นหนึ่งในนักเรียนที่ได้รับเสด็จเกือบทุกครั้ง และนำความซาบซึ้งใจมาให้แก่ศิริณีแทบทุกครั้ง จนกระทั่งในวันขึ้นปีใหม่ 2511 เธอได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนนักเรียนผู้พิการในวันนั้น ให้ร่วมร้องเพลงร่วมกับวงดนตรี อ.ส. ที่มีในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงดนตรีร่วมกับวง ซึ่งนับว่านำความปลาบปลื้มใจมาให้ตัวเธออีกครั้ง ที่ได้ร่วมแสดงให้ผู้เข้าร่วมได้ชม ถึงแม้ว่าตัวเธอเองนั้นจะไม่สามารถสัมผัสด้วยการมองเห็นก็ตามที
“หลังจากนั้น 4 ปีให้หลัง ปี 2511 พระองค์ท่านทรงเปลี่ยนวัน จากปี 2506 ถึง 2509 แล้วพอมาปี 2511 ท่านถึงมาเปลี่ยนเป็น 1 มกราคม ซึ่งเราในตอนนั้นเป็นนักเรียนอยู่ชั้น ป.7 พอเราไปรับเสด็จเสร็จเรียบร้อย พระองค์ท่านก็พระราชทานเลี้ยงค่อนข้างหนักแล้ว คือเหมือนมีออกร้าน มีก๋วยเตี๋ยว มีบะหมี่ มีข้าวหน้าเป็ด พอรับประทานเสร็จ ขณะที่สมเด็จท่านทรงพระดำเนินไปที่โต๊ะต่างๆ และมีพระราชปฏิสัณฐาน แล้วบางทีก็นั่งบนผืนหญ้า ตอนเวลาที่เราทานเสร็จแล้ว ก็นั่งพับเพียบด้วยกัน แล้วในหลวง ร.9 ก็ทรงแซกโซโฟน ทีนี้หลังจากที่รับประทานเลี้ยงแล้ว คุณครูก็มาเลือกตัวแล้วว่า เราก็ควรมีการแสดงอะไรบ้าง ซึ่งทุกปีที่ผ่านมาเขาก็เลือกแสดงเป็นหมู่ พอเป็นผู้หญิง ก็ให้เราขึ้นไปแล้วกัน ซึ่งตอนแรกก็เกือบไม่ได้ขึ้นไปแล้วนะ เพราะว่าเราเป็นสิวหัวช้างที่หน้า (หัวเราะ) คือถ้าสิวขึ้นไม่สวยแน่เลย แต่ในที่สุดเขาก็พาขึ้นไป
“พอไปปุ๊บ ผู้ชายก็คือ คุณประทิน สิทธิชัย ซึ่งเขายังใส่กางเกงขาสั้นอยู่ คือเราอยู่ ป.7 คุณประทินน่าจะอยู่ ม.ศ. 2 มั้ง ผู้ชายร้องเพลง แสงเทียน แต่เราจะร้องเพลงพรปีใหม่ ซึ่งพอขึ้นไป คุณครูก็สอนไว้ว่า ต่อหน้าที่ประทับ ผู้หญิงก็ต้องถอนสายบัว แล้วพอขึ้นไป บางคนก็บอกว่า ในหลวง ร.9 ทรงเปียโนบ้าง หรือ ทรงแซกโซโฟนบ้าง แต่ตอนที่เราขึ้นไป ก็เห็นทั้งเปียโนและแซ็กโซโฟนด้วย เราก็มีความลังเลว่าจะถวายบังคมใครดี และด้วยความที่เต่ละคนก็ใส่เสื้อนอกด้วย แถมสีเนื้อที่เราเห็นก็ขาวเหลืองเท่ากันเลย เราก็เลยตัดสินใจว่า เอาตรงกลางๆ เลยละกัน ไม่ได้เจาะจงใคร เพราะเราไม่เห็นว่าถวายบังคมใคร แต่ข้างล่าง คุณครูก็อธิบายว่า ไปถอนสายบัวกับ อ.แมนรัตน์ (ศรีกรานนท์) ซึ่งอยู่ตรงเปียโน แล้วพอขึ้นไปนี่คือตกใจนะ เพราะว่าเราก็ไม่ได้เป็นนักร้องประจำของวง อ.ส. นักดนตรีก็จะไม่ทราบว่าเราจะร้องคีย์ไหน แล้วนักดนตรีในวงก็จะให้เราขึ้นก่อน แต่จำได้ว่า เราเพิ่งรับประทานอาหารกำลังอิ่มๆ แล้วกลายเป็นว่า เราขึ้นเสียงสูง แต่ไม่หลงนะ เราร้องจนกระทั่งจบเลย
“ความรู้สึกในตอนนั้นก็คือตื่นเต้นด้วย เพราะว่าเขาพาไปที่ไมโครโฟนที่ยืน ก็ไม่ทราบนะว่ามีการถ่ายรูปด้วย พอร้องเสร็จ ถอนสายบัวเสร็จ ก็เดินลงมาข้างล่าง ก็คงคิดว่า เราคงร้องไม่ได้เรื่องละมั้ง จนผ่านมา อ. เรณู เดือนดาว ท่านไปฟังคอนเสิร์ตที่เกี่ยวกับเพลงพระราชนิพนธ์ แล้วก็ได้หนังสือเล่มหนึ่งมา คล้ายๆ สูจิบัตร พอเปิดอ่าน ก็รู้สึกว่า นี่มันลูกศิษย์เรานี่หว่า แล้วเอามาให้ ซึ่งเรามาธุระที่โรงเรียนพอดี ก็เลยคิดว่าเป็นบุญที่เราได้รูปนี้ไว้ แล้วอาจารย์ท่านก็บอกเราว่า ครูได้ของดีมา ซึ่งคิดว่าเป็นรูปเราแน่ๆ ก็เอามาให้ดู ซึ่งถ้าใครๆ ดู ก็คิดว่าใช่ แต่ไม่ได้ไปตามดูว่าคืออะไร ซึ่งความประทับใจของคนตาบอดก็จะเป็นลักษณะนี้ ประทับใจแต่ไม่มีรูปเก็บ แต่พอได้หนังสือรูปนั้นมา เมื่อเขายืนยันแล้ว ก็เอาไปให้ช่างถ่ายภาพถ่ายเก็บอีกที
“ช่วงที่ร้อง นี่คือตกใจมาก จนกระทั่งถอนสายบัวก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร แต่เรามีความแน่ใจตรงว่า จะต้องมีหนึ่งองค์ในวง คือในหลวง ร.9 แต่ก็ตกใจตรงที่พระองค์ท่านก็ไม่ได้ขึ้นดนตรีให้ ก็ให้เราขึ้นเอง พอเราได้คีย์ไหน ดนตรีก็ตามเรา เพราะว่าเราไม่ได้ซ้อมมากับวง แต่ด้วยความที่เรายังเป็นเด็ก ก็อาจจะเป็นปลื้มนิดๆ แต่ก็มีแอบกลัว เพราะเพื่อนๆ เขาล้อว่า ศิริณีเสียงอิ่มจัด เราก็รู้สึกว่า ประหม่า และทำได้ไม่ดี ซึ่งพอรูปออกมา 10 ปีให้หลัง เหมือนกับเราได้ของมีค่ามา”
ยามปวงมารมาพาลลบหลู่
ยิ้มละมัยใจสู้หมู่มวลเภทภัย
เมื่อศิริณีจบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ไป ในโลกของความเป็นจริงภายนอก นับว่าเป็นโจทย์หลักที่เธอต้องแก้ไขและผ่านมันไปให้ได้ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของเธอ แต่ด้วยแรงใจที่เธอมีอย่างล้นเหลือ และด้วยการฝึกฝนให้ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ในช่วงที่เธอได้รับจากการเป็นนักเรียนประจำจากสถานศึกษาแห่งดังกล่าว ก็ทำให้ศิริณีสามารถอยู่ร่วมเป็นหนึ่งในสังคมได้อย่างไม่มีปัญหา
“คือตอนที่เราเรียนที่นี่ เราก็รู้สึกว่าความลำบากจะไม่มีนะ แต่พอเราออกไปเรียนข้างนอก ในช่วง ม.ศ. 4 ถึง 5 เนี่ย เราเริ่มไปเรียนกับนักเรียนปกติ เราก็รู้สึกว่า มันก็เจอกับปัญหาและอุปสรรค แต่ก็ยังรู้สึกว่าไม่ท้อถอยเท่าไหร่ แต่พอเราสอบได้ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ยิ่งเข้าไปตรงนั้น เราก็รู้สึกว่า ถ้าเราเรียนจบไปนะ ก็จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระองค์ท่าน และอีกอย่าง สมเด็จพระเทพฯ ก็เป็นรุ่นพี่ในมหา'ลัย 1 ปี แล้วเราก็เลือกเอกประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับพระองค์ท่าน เราก็รู้สึกว่า กับในหลวง ร.9 จะได้พบก็ตอนรับพระราชทานปริญญา แต่กับสมเด็จพระเทพฯ นั้น เราก็จะได้พบก่อนจากการที่เรียนด้วยกัน แต่ตอนที่ได้ถวายพวงมาลัย หลังจากที่เข้ามาเป็นนิสิตได้ 2 อาทิตย์ ซึ่งเวลาที่เข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่านนั้น มันอาจจะมีความผิดพลาดบ้าง ความเปิ่นบ้าง แต่พระองค์ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่มันก็เป็นแนวทางที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในภายภาคหน้าได้ เราก็มีแอบหวังไว้ตรงนั้น ซึ่งในช่วงเรียนมหา'ลัย เราก็ได้ใกล้ชิดกับสมเด็จพระเทพฯ ซะเยอะ“
“จนกระทั่งวันที่พระราชทานรับปริญญาบัตร คือตอนนั้นรู้สึกว่า ถ้าเราเดินขึ้นไปคนเดียวเหมือนกับนิสิตคนอื่นๆ ซึ่งที่จริงเราลองซ้อมเหมือนกับคนปกติแล้วนะ แล้วก็ทำได้นะ แต่เรารู้สึกว่า หากเป็นวันจริง ไฟอาจจะสว่าง แล้วถ้าเราไม่ขอคนนำเราขึ้นไป เราจะทำอะไรพลาดมั้ย เราก็เลยไปบอกอาจารย์ว่า ขอให้ใครก็ได้มาเป็นผู้นำทางให้เราหน่อย อาจารย์คงคิดว่า ให้มีใครนำพาไปถึงจุดที่ก่อนจะไปที่หน้าพระพักตร์ แล้วจุดสุดท้าย เขาถึงปล่อยให้เดินไปคนเดียว ซึ่งในขณะที่เดินไปคู่กันนั้น ในหลวง ร.9 ก็ทรงเห็นแล้วว่าเป็นคนตาบอด เพราะจะเป็นการนำพาคนตาบอดนะต้องเกาะแขน แล้วพอเราถอนสายบัวเสร็จ ก็จะต้องเอางานใช่มั้ยคะ ซึ่งพอเรายื่นมือไปปุ๊บ ก็ได้ใบปริญญาแล้ว เรายังไม่ได้เอางานครบทุกขั้นตอนเลย เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นรูปรับปริญญา ก็จะรู้ว่า เรารับผิดขั้นตอนตามที่อาจารย์เขาบอก ซึ่งอาจารย์จะบอกขั้นตอนต่างๆ แต่ของเรานี่คือ พระองค์ท่านทรงยื่นพระหัตถ์มาให้เลย แต่ในใจเราตอนนั้นคือ สงสัยรับผิด หรือว่าจะปล่อยแล้วรับใหม่ดี แต่ความคิดอีกด้านคือ พระองค์ท่านทรงตั้งใจที่จะมอบให้เราอย่างนี้แหละ ถึงจะผิดก็ตาม ซึ่งถ้าปล่อยแล้วหล่นไป ก็คงจะเป็นเรื่อง (หัวเราะเบาๆ) ถึงอย่างนั้น พระองค์ท่านทรงให้มาแล้ว เราก็ต้องรับไว้ด้วยความภาคภูมิใจ ฉะนั้น 3 ครั้ง ที่เราได้เข้าเฝ้าฯ ฝรั่งยังมาถามเราเลยว่า ทำไมยูถึงได้ยืนใกล้ๆ พระองค์ท่านเสมอ ซึ่งเกิดมาก็ไม่เคยเห็นเหมือนกัน (ยิ้ม)
“ตอนที่เราเป็นนักเรียน เวลาเราทำผิดอะไรเขาก็ให้อภัยใช่มั้ยคะ คือมีคุณครู มีผู้ใหญ่คอยดูแล แต่พอเราเรียนจบมาปุ๊บ ไปทำงานข้างนอก คือเราเริ่มทำงานที่ธนาคารไทยทนุ ตั้งแต่ปี 2521 แล้วในการทำงาน เราก็ต้องเจออุปสรรคหลายอย่าง อย่างเราทำงานเป็นโอเปอเรเตอร์ เราก็ต้องเรียนรู้กับเครื่องโทรศัพท์ที่เราไม่คุ้นเคย ต้องเจอกับคนที่เข้าใจและไม่เข้าใจคนตาบอด อาจจะเจอการล้อเลียนบ้างหลายอย่าง แล้วก็การทำงานนี้ บางครั้งเราไม่ได้เห็นหน้ากัน คือบางครั้งคนอื่นอาจจะรับสายไว้ตรงนั้น แต่เรามารับช่วงต่อบ้าง อาจจะถูกเขาต่อว่า เราก็ต้องขอโทษ ซึ่งมันเป็นอุปสรรคในการทำงานเยอะแยะไปหมด ซึ่งจิตใจเราก็ต้องมั่นคง แล้วพอมาทำงานได้ 3 ปี เราก็ได้ทำงานช่วยเหลือสังคม ซึ่งเราก็ถูกสอนอีกว่า เมื่อเราได้พัฒนามาถึงจุดหนึ่งแล้ว เราควรจะมีโอกาสได้ช่วยรุ่นน้องคนอื่นๆ ที่ยังขาดโอกาสและน้อยกว่าเรา ซึ่งในการช่วยของเราคือ เราร่วมมือในการตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวกับคนตาบอดขึ้นมา ตอนนั้นปี 2524 เป็นปีคนพิการสากล เราถูกเลือกไปเป็นตัวแทนประเทศไทยให้ไปประชุมที่มาเลเซีย เขาก็สั่งกลับมาว่า ให้รวบรวมผู้หญิงตาบอด ก็เลยเป็นที่มางานสังคมในช่วงนั้น
จะสบความสุขสันต์สำคัญที่ใจ
เฝ้าแต่ยิ้มสู้ไปด้วยใจชื่นบาน
ในปัจจุบัน ด้วยประสบการณ์ชีวิตที่เพิ่มขึ้น บวกกับการผ่านอุปสรรคขวากหนามมาได้ทุกรูปแบบ นั่นจึงทำให้ศิริณีสามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างเต็มภาคภูมิและไม่น้อยหน้าคนปกติทั่วไป ซึ่งถึงแม้ว่าอายุในการดำรงอาชีพจะหมดไปด้วยการกำหนดเวลาก็ตามที แต่ด้วยต้นแบบของเธอนั้นได้เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับใครหลายๆ คนนั่นเอง จึงทำให้ศิริณี เลือกที่จะสานต่อเจตนารมณ์ของในหลวง ร.9 ด้วยการเป็นอาสาสมัครของโรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ เพื่อให้ความตั้งใจของพระองค์ท่านได้เดินทางต่อสืบไปอย่างมั่นคงด้วยอุดมการณ์
“ตอนที่เราเริ่มสมาคมนั้น ก็เริ่มมาจากการเป็นชมรมก่อน แล้วเราก็เริ่มด้วยวัฒนธรรม ด้วยบรรยากาศของประเทศไทย ซึ่งขนาดอยู่ในบ้านก็ยังถูกกีดกัน พอออกมาข้างนอก ก็ต้องพยายาม เหมือนกับบางทีก็ต้องเอาตัวเราไปเป็นประชาสัมพันธ์ คือเราไม่ได้อวดว่าเราเก่งหรืออะไร เพียงแต่ให้ข้างนอกได้รู้ว่า บางทีคนตาบอดก็มีความสามารถมากกว่าที่ใครคิด แต่บางทีเราก็ต้องเอาความตาบอดของเราไปแสดง เพราะว่าบางทีพ่อแม่ของคนตาบอดบางคนก็ยังไม่เชื่อ เราไปเยี่ยมคนตาบอดตามบ้าน แล้วพอเขาออกมาเพื่อจะมีการฟื้นฟู แต่พ่อแม่มาตามเอากลับไปก็มี ในขณะที่เราประชุมกัน บางครั้งก็คือ เขาอาจจะคิดว่า เหมือนพาลูกเขาไปหลอกหรือเปล่า ซึ่งให้ไปเจออุปสรรคหลายๆ อย่าง แต่เดี๋ยวนี้ ด้วยการข่าวหลายๆ อย่างที่ดีขึ้น กว้างขึ้น แต่ปัญหาที่ว่ามาทุกวันนี้ก็ยังเจออยู่นะ ที่บางคนถูกห้ามแล้วเก็บไว้ในบ้าน ยังมีอยู่ คือถึงแม้ว่าเราตั้งชมรมเป็นสตรีตาบอดก็จริง แต่เราก็ไม่ได้แยกจากผู้ชายนะ เราก็เชิญมาร่วมทำกิจกรรมอยู่เสมอ อย่าง อ.วิริยะ (นามศิริพงศ์พันธุ์) ที่เป็นนักกฎหมาย นี่ก็เป็นเพื่อนกันตั้งแต่เด็กๆ หรืออย่าง อ.มณเฑียร (บุญตัน) ที่ทำงานทางด้านรัฐสภา แต่ด้านผู้หญิง เราจะเป็นหน่วยสนับสนุน ว่ายังมีปัญหาอะไรบ้าง เราก็ส่งเสริมซึ่งกันและกัน อันนี้คือหน้าที่หลักที่ทำมาจนถึงทุกวันนี้
“คือปัญหาที่พบคือ อย่างที่บอกยังเก็บไว้ในบ้าน และไม่ให้ออกไปไหน คือปกติในมุมของพ่อแม่ เขาจะคิดด้วยความรัก แล้วมันจะมี 2 ประเภทของลูกที่พิการ คือ รักแบบที่เก็บไว้เลี้ยงดูอย่างไข่ในหิน กับ เลี้ยงดูไม่ส่งเสริมและพัฒนา คือจะใช้ให้ทำอะไรในบ้านก็รู้สึกสงสาร หรืออีกอย่าง มานั่งคิดอย่างเดียวว่า เป็นเวรกรรมอะไรของเราที่เกิดมามีลูกพิการ จะกลายไปเป็นทางอคติ ปล่อยปละละเลย แต่ถ้ามีคนจะเอาไปฟื้นฟู ก็จะมีความคิดว่า ไม่อยากให้คนรู้ว่าตัวเองมีลูกพิการ ซึ่งเราก็ต้องคอยประชาสัมพันธ์ด้วยว่า การเลี้ยงลูกที่พิการ ไม่ว่าจะเป็นประเภทอะไรก็ตาม ต้องเลี้ยงให้เป็นและเลี้ยงให้ถูกทาง ซึ่งตัวเราถือว่าโชคดีที่แม่เป็นครู และเป็นคนใจแข็ง ใจแข็งที่ว่าคือ ไม่สงสารลูกจนเกินไป ซึ่งตอนที่เรายังเด็กๆ ก็สงสัยว่า ทำไมแม่เราดุจัง แล้วเวลาที่น้องๆ เราถูบ้าน เราก็ต้องทำด้วย ซึ่งแม่เราก็ใช้ให้ถูบ้านนะ แล้วก็ให้ไปทำครัวด้วย ซึ่งแม่ก็สอนให้ใช้มีดด้วย แต่ก็ต้องระวังนะ ซึ่งเราก็ถือว่าเป็นความใจกล้าของท่าน ซึ่งขณะที่เรามีลูกเอง เราก็สอนเขาว่าอย่าเล่น แล้วเราก็คิดด้วยว่า เราจะกล้าปล่อยลูกเราเหมือนที่แม่ปล่อยเรามั้ย แล้วพอแม่ปล่อยให้เราช่วยเหลือตัวเองได้ในงานบ้านแล้ว จนพอถึงขั้นตารักษาไม่ได้แล้ว ก็เลยถูกส่งมาเรียนที่นี่ ซึ่งตอนแรกคุณยายเราก็ว่าแม่เหมือนกันนะว่า แกมีลูกตาบอดคนเดียว ทำไมเลี้ยงไม่ได้ ต้องไปให้คนอื่นเลี้ยง ซึ่งยายจะรักหลาน แต่แม่รักลูก รักเป็น และเลี้ยงเป็น แม่ก็บอกว่า ลูกทำไมจะไม่รัก แต่ถ้าไม่ส่งเสริมให้เขามีการศึกษา แล้วเราจะเลี้ยงเขาได้ตลอดชีวิตมั้ย แล้วถ้าแม่เสียไปแล้ว ใครจะดูแลเขาต่อ ซึ่งพอเราคิดขึ้นมามันก็จริงตามที่เขาบอกเลย ทุกวันนี้ทั้งตัวเองและพี่ๆ คนตาบอดหลายๆ คน ที่เขาเรียนหนังสือ เขามีงานทำ ได้เป็นที่พึ่งของครอบครัวทั้งนั้นเลย”
“ตอนที่เกษียณอายุ ตอนปี 2556 ตัวเองอยู่บ้านประมาณ 2 ปีครึ่ง แต่ช่วงเวลานั้นก็ยังออกมาช่วยองค์กรอื่นๆ อยู่นะ เพราะว่าได้รับเชิญให้เป็นเหรัญญิกในองค์กรอื่นๆ บ้าง แต่การที่เราออกมามันจะเป็นงานที่เราไม่ได้เงินเดือนไงในช่วงหนึ่ง แต่พอเรามาคิดอีกแบบจากเพื่อนรุ่นน้อง เขาก็จะบอกเราว่า “พี่ศิ เหมือนเป็นทูตของคนตาบอดเลย” เราเลยมาย้อนความคิดที่ว่า มิสคอฟิลด์ที่ท่านก่อตั้งโรงเรียนเนี้ย ท่านจะสอนเรื่องบุคลิกภาพของคนตาบอด ว่าจะมีค่าอย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อเราทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ แล้วประโยชน์ตรงนั้นคืออะไร ถ้าเราออกไปทำงาน เราก็ต้องทำตัวให้อยู่ในระเบียบของที่ทำงาน ไม่อู้งาน ไปทำงานเช้า กลับตรงเวลา หรือแม้กระทั่งการแต่งกาย หรือเพื่อนร่วมงาน ก็ต้องเป็นที่พึ่งของเขาได้ อย่าไปเป็นภาระ คือท่านสอนทุกอย่าง เพราะฉะนั้นคือได้ใช้ แล้วตอนที่สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ มาที่โรงเรียน แล้วพระองค์ท่านมีพระราชดำรัสคำหนึ่งว่า ถึงแม้ว่าจะเกษียณอายุแล้ว แต่ถ้ายังมีกำลังพอที่จะช่วยงาน ก็ต้องช่วยกันต่อไป คืออย่าหยุด แล้วพอหลังจากพักมา 2 ปีครึ่ง เราก็กลับมาทำงานหลังจากเกษียณเมื่อไม่นานนี้เอง เพราะว่าเขาให้มาช่วยดูในเรื่องอาสาสมัครตรงนี้ คือเราอายุ 65 แล้ว ก็ผ่านอะไรมาพอสมควร แล้วพอมาอยู่ฝ่ายนี้ รุ่นน้องที่โตขึ้นมา เขาต้องไปเรียนกับนักเรียนข้างนอก หรือในโรงเรียนนี้ก็ดี ซึ่งเขาก็ถามประสบการณ์จากเราว่าแต่ก่อนเป็นอย่างไร ในฐานะคนเก่า เราก็จะเล่าเรื่องเก่าๆ หรือประสบการณ์ที่เราไปเรียนและทำงานจากข้างนอกมา เราก็เล่าประสบการณ์ตรงนี้ให้พวกเขาฟัง ขณะเดียวกัน การที่เราเรียนร่วมกับคนตาดีที่เรามาช่วยอ่านหนังสือ ในตอนที่เป็นอาสาสมัคร อาจจะไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างอย่างในตอนนี้ เราจะเรียกคนอ่านหนังสือว่าคนบอกหนังสือ คือเราจะมีประสบการณ์ให้น้องอาสาสมัคร หรือคนที่ไม่เข้าใจคนตาบอด เราก็จะเป็นตัวกลางและอธิบายได้ เพราะว่าตัวแหม่มเองก็บอกว่า เวลาที่คนตาบอดไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ก็เหมือนกับเป็นทูตของคนตาบอดไปในตัวด้วย คือเราจะต้องเป็นภาพลักษณ์ด้วย ถ้าเราทำไม่ดี โอกาสของรุ่นน้องก็จะหายตามไปด้วย แต่ถ้าเราทำดี ก็จะมีการสืบทอดต่อ
“คือโดยปกติเราก็อยู่ในความมืดอยู่แล้วนะ แต่ทั้งพระมหากรุณาธิคุณ หรือ พระเมตตาต่างๆ ที่พระองค์ท่านทรงมีให้ มันทำให้ชีวิตเกิดความสว่างขึ้นมา ซึ่งความสว่างนี้มันไม่ได้แบบมาจากดวงไฟนะ เพราะถ้ามาจากสิ่งนี้ มันก็จะรู้สึกร้อน และได้แค่แป๊บเดียว แต่อีกทางหนึ่ง ในชีวิตของเราก็ต้องการความเย็นเข้ามา เหมือนกับเพลงสายฝนนะ คือท่านเป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตนะ เป็นทั้งความสว่างและความชุ่มชื้นร่มเย็น แล้วแต่ที่ว่าเราจะอยู่ในสภาวะแบบไหน อีกแง่หนึ่ง ก็ถือว่าเป็นกำลังใจ เพราะว่าถ้าเกิดเรามีอุปสรรคแล้วนึกถึงพระองค์ท่าน ถ้าเราเจออุปสรรคแค่นี้ แต่พระองค์ท่านนี่คือไม่มีเวลาที่จะทรงพักผ่อนอย่างที่เราได้พักนะ บางทีเราได้กลับบ้านไป อย่างน้อยก็ได้เอนหลัง ซึ่งพระองค์ท่านไม่ทรงมีโอกาสได้ทำแบบเรา คือตลอดพระชนมชีพของพระองค์ท่านนี่คือทรงทำมามาก เมื่อเทียบกับเราที่เป็นแค่ช่วงหนึ่งของชีวิตทั้งครอบครัวและเพื่อนฝูง แค่ตรงนี้ทำไมเราจะอดทนไม่ได้ ซึ่งขณะที่เราจะท้อ เราก็สามารถฮึดขึ้นมาได้เยอะทีเดียว คือพระองค์เป็นทั้งพลังกาย พลังใจ ให้กับเรา
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : สันติ เต๊ะเปีย และศิริณี อักษรมี