กลายเป็นกระแสแชร์และส่งต่อถึงความภาคภูมิใจ สำหรับวัยรุ่น 27 ปี “ดำ-วีระศักดิ์ แป้นพ่วง” หนุ่มชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าของธุรกิจปล่อยเช่าเรือบังคับในตลาดน้ำ 4 ภาค ผู้สร้างสรรค์รถยนต์ไฟฟ้าศักยภาพระดับสากลเพื่อเป็นต้นแบบฐานในการสร้างรถยนต์แบรนด์ไทยในอนาคตถวายตอบแทนพระบารมีอันล้นพ้นในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทำให้มีวันนี้
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ความตั้งใจไม่เปล่าศูนย์ แม้ราคาค่างวดรายจ่ายมีจำนวนมาก กระนั้นความมุมานะไม่เคยลดละ ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่า เมืองไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก ถ้าตั้งใจทำจริง
• จุดเริ่มต้นไอเดีย
มันคือความรักความชอบที่มีตั้งแต่เด็กๆ ชอบเรื่องเกี่ยวกับพลังงาน เรื่องของไฟฟ้า ทำให้มีความสนใจและมุ่งที่จะเรียนศึกษาเรื่องไฟฟ้ากำลังวุฒิ ปวส. จากวิทยาลัยสารพัดช่าง จังหวัดสุพรรณบุรี จากนั้น ด้วยความที่เป็นคนไม่ชอบเสียงเครื่องยนต์ ไม่ชอบกลิ่นของท่อไอเสียที่ทั้งเหม็นและร้อน มันต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง ก็เลยทำโปรเจกต์สอบเป็นการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ส่งอาจารย์ ช่วงราวๆ 9-10 ปีแล้ว ตอนนี้อายุ 27 ปี เราก็กลับมาคิดย้อนความฝันของเรา ปัจจุบันก็เลยมีโอกาสเริ่มทำได้ประมาณ 5 เดือนครับ
แล้วไอเดียจุดเริ่มอีกอย่างหนึ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพราะตอนแรก ผมเริ่มทำคันนี้ เริ่มทำด้วยตัวเอง เริ่มจากวัสดุอุปกรณ์ที่มีกำลังที่จะทำเองได้ พอมาสักระยะหนึ่ง มีบริษัทพี่ใจดีคนหนึ่งดึงผมเข้าไปเพื่อช่วยสานต่อ เขาอยากทำให้สำเร็จ ก็ช่วยค่าใช้จ่ายทั้งก่อนหน้านี้ที่ผมลงทุนไป ทีนี้พอเริ่มมาได้จนถึงปัจจุบันเมื่อเดือนที่แล้วบริษัทพี่เขามีปัญหาเลยหยุดโครงการตัวนี้ และด้วยความที่ทำมาแล้ว เลยอยากจะได้โครงการนี้มาทำต่อ พอจะทำต่อ เงินที่ต้องทำต่อมันใช้ในปริมาณที่มาก ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่าถ้าผมจะทำต่อด้วยตัวเองคงจะนานมาก ก็เลยนึกไปถึงพระองค์ท่านว่า เวลาท่านทำอะไรท่านจะเผื่อแพร่ให้กับทุกๆ คนเพื่อให้นำแนวทางต่างๆ ที่ท่านได้ทดลองหรือว่าทำ แล้วก็แจกจ่ายความรู้ต่างๆ ที่ดี ให้กับทุกๆ คน ผมก็เลยเปิดเผยเรื่องราว
• ก็เลยกลายเป็นรถไฟฟ้าที่จะนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาและสานต่อให้คนไทยได้เรียนรู้
ครับ…เพราะในเมื่อผมทำคนเดียวไม่สำเร็จ ผมก็เลยรวบรวมคนที่อยากจะเห็นผลงานสำเร็จให้เข้ามาช่วยกันสนับสนุน หลังจากนั้นแล้วผมก็จะนำรถคันนั้นถวายพระองค์ท่าน เพื่อเอาข้อมูลทุกๆ อย่างให้ทุกๆ คนได้สัมผัส ได้เห็นถึงรถที่สร้างขึ้นมาด้วยฝีมือคนไทยจริงๆ เพราะที่ผมเห็นในตอนนี้และปัจจุบัน ไม่มีใครจะสร้างแล้วก็ทดสอบทดลองแล้วเอาข้อมูลที่เป็นจริงมาแจกจ่ายและมาให้ความรู้กับทุกๆ คน ยังไม่มี อยากจะเป็นจุดจุดนั้น ซึ่งรายละเอียดพวกใช้แบตเตอรี่อะไร ชนิดอะไร รูปแบบโครงสร้าง ความเร็วได้เท่าไหร่ รับน้ำหนักได้เท่าไหร่ รายละเอียดเจาะลึกยังไม่มี
• มาตรฐาน สเปก ของรถยนต์ไฟฟ้าที่เรากำลังอยากทำให้เกิดการเผยแพร่และเรียนรู้เป็นอย่างไร
จริงๆ ต้องบอกก่อนว่าคันนี้จะต้องได้รับการพัฒนาแล้วก็ปรับปรุงระบบต่างๆ ก่อน แต่เบื้องต้นของคันนี้ที่กำลังเริ่มได้บทสรุปออกมา คือโครงสร้างจะต้องสร้างด้วยอะลูมิเนียม จึงจะมีน้ำหนักเบา ต้องใช้มอเตอร์ที่ขนาด 25 / 50 กิโลวัตต์ เพื่อจะฉุดลากน้ำหนักตัวรถไม่เกิน 1 ตัน ในตอนนี้ที่คิดคำนวณน้ำหนักไว้ที่เสถียรที่สุด น้ำหนักต้องไม่เกิน 1 ตัน ความสูงรถต้องไม่เกิน 1 เมตร 30 เซนติเมตร ความกว้างจะต้องไม่เกิน 2 เมตร 70 เซนติเมตร ใช้มอเตอร์ที่กำลังไฟอยู่ที่ 144 โวลต์
ส่วนแบตเตอรี่จะไม่ใช้แบตเตอรี่แห้งหรือแบตเตอรี่ตะกั่ว เพราะแบตเตอรี่ตระกูลพวกนี้จะมีน้ำหนักมาก บวกกับให้กำลังไฟที่ไม่สูง และมีอายุการใช้งานที่สั้นมาก สเปกแบตเตอรี่จึงควรเป็น แบตเตอรี่ ลิเทียมไอออนฟอสเฟต แล้วไม่ใช่ แบตเตอรี่ ลิเทียมพอลิเมอร์ เพราะส่วนตัวจากที่ทดสอบแบตเตอรี่ชนิดนี้จะให้กำลังได้ดีจริงๆ แต่ว่าเกิดความร้อนได้เร็วและเกิดการระเบิดได้ง่ายมากกว่า และใช้แบตเตอรี่ที่กำลัง 144 โวลต์ 300 แอมป์ คอนโทรลเลอร์จะอยู่ที่ 180 โวลต์ 50 กิโลวัตต์
จากการคำนวณทั้งหมดคันนี้ถ้าไม่ผิดพลาดจะใช้ความเร็วอยู่ที่ 140-170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถใช้งานได้ระยะทางประมาณ 240 กิโลเมตรขึ้นไป แต่ตอนนี้ยังไม่ทันเสร็จ ต้องดันทำให้จบก่อนถึงจะดันพัฒนาได้ต่อ สเต็ปที่ผมพูดถึงก็คือ ขั้นตอนการเริ่มต้นนี้ที่กำลังทำ
• สามารถเทียบชั้นกับนวัตกรรมรถประเภทนี้เท่าเมืองนอกได้ไหม
คือถ้าให้ยกตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้าที่ดีเป็นแบบไหน มาตรฐานแบบไหน ผมขอยกตัวอย่างรถที่นำเข้าจากจีนแล้วกัน เนื่องจากน่าจะเห็นภาพชัดเจน โดย 90 เปอร์เซ็นต์ของรถที่นำเข้าจากจีนยังคงใช้เป็นแบตเตอรี่ตะกั่วหรือไม่ก็แบตเตอรี่แห้ง ซึ่งมีความแรงดันต่ำ คือรถจะวิ่งได้ช้าหรือเร็วมากน้อยเท่าไหร่ หัวใจสำคัญคือเรื่องแบตเตอรี่แล้วมันก็ไม่ระเบิดด้วย อัตราความเสี่ยงก็จะน้อยกว่า ซึ่งเป็นมาตรฐานเบื้องต้นอยู่แล้ว
• ส่วนตัวรู้สึกอย่างไรกับความนิยมรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเราที่ยังน้อยอยู่
เพราะมันใช้ได้ยากลำบากและมีโอกาสใช้งานที่น้อย เนื่องจากทำความเร็วมาตรฐานอยู่ที่ 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พีคสุดที่ 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับรถซิตี้คาร์ในขณะนี้ที่มีการผลิตและนำเข้ามา ซึ่งอันนี้เราคิดว่าเราจะพัฒนาได้มากกว่าแน่นอน อีกส่วนก็เรื่องของรูปลักษณ์ คันนี้ทำไมถึงเลือกเป็นทรงสปอร์ตซูเปอร์คาร์ หนึ่งในความเห็นส่วนตัวคือผมมองว่าหลายคนส่วนใหญ่ ทุกคนมักจะชอบดีไซน์มากกว่า และสอง จะมุ่งประเด็นไปที่ออกแบบเป็นซิตี้คาร์ก็ได้ แต่จุดสนใจพูดง่ายๆ อยากให้มันสามารถเป็นรถที่ใช้งานได้ ไม่ใช่แค่รถบ้านธรรมดา แต่สามารถทำเป็นรถที่เอาไว้ขับได้ระดับนั้น อยากให้ใช้งานได้ครอบคลุมที่สุด เพราะอยากเป็นต้นแบบแห่งการพัฒนาอย่างที่บอก ถ้าทำรถทรงสปอร์ตได้ซิตี้คาร์ยังไงก็ได้อยู่แล้ว
ตรงนี้ผมก็ไปดูความรู้เพิ่มเติมจากโลกออนไลน์ จากโซเชียลเน็ตเวิร์ก จากเว็บไซต์ยูทิวบ์ เว็บไซต์กูเกิล ทุกช่องทางที่คิดว่าจะมีข้อมูลเหล่านี้ ก็จะไปดูตัวอย่าง ดูแบบ ดูวิธี เพื่อเสริมตัวเอง เริ่มต้นตั้งแต่การเลือกมอเตอร์ต้องเลือกแบบไหน ใช้อะไร เหมาะกับการออกแบบแบบไหนมากที่สุด แบตเตอรี่จะวางแบบไหน ใช้แรงดันเท่าไหร่ ปลอดภัยไม่ปลอดภัย ระบายความร้อนยังไง ก็มีหลายเรื่อง แล้วเรื่องการอออกแบบ หนึ่งที่ผมคิดคือรถจะต้องตัดอากาศให้ได้มากที่สุด มีความเป็นแอร์โรบอดี้ ไม่ต้านอากาศ เราก็เอามาเปลี่ยนปรับ ประยุกต์ใช้กับตัวรถเรา เพื่อจะได้เป็นต้นแบบสำหรับคนที่อยากจะลงมือทำด้วยตัวเอง ก็จะมีฐานความรู้เบื้องต้นที่เป็นคนไทย แล้วก็ที่จะยอมเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ให้ได้รู้ได้เห็น ให้มาสัมผัสตัวจริงได้ ให้มาดูรายละเอียดได้ ความหวังส่วนตัวก็คิดว่าวันหนึ่งบ้านเราจะมีรถของเรา แบรนด์ของเราใช้เอง
• อุปกรณ์ตอนแรกใช้อะไรยังไง เตรียมยังไงหลังจากเริ่มไอเดียจะสร้างคันนี้
รถไฟฟ้าที่จะสร้างได้หัวใจหลักๆ อุปกรณ์หลักๆ จะมีมอเตอร์ก่อนเลยครับ แล้วก็กล่องคอนโทรลเลอร์เพื่อควบคุมมอเตอร์ แบตเตอรี่ BMS เพื่อควบคุมแบตเตอรี่ ตัวชาร์จ หลักๆ มีแค่นี้ หลังจากนี้ก็จะเป็นเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างตัวถังรถแล้วก็บอดี้ รวมถึงอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ซึ่งคันนี้อยู่ในขั้นตอนกำลังจะทดสอบ กำลังจะแพ็กแบตเตอรี่ รอรวบรวมเงินสั่งซื้อแบตเตอรี่และก็ถอดโมบอดี้ จุดยึด จุดรับ หลักๆ มีเท่านี้และก็จะมีเพิ่มเติมเป็นระบบแอร์ ก็เสร็จทดสอบจบงาน
รถคันนี้ถ้าเทียบกับคันเก่าที่เคยทำแล้วเป็นสามล้อทำความเร็วเดิม 110 คันนี้ วิ่งได้ระยะทาง 100 กิโลเมตร คันนี้ความเร็วก็จะอยู่ที่ 170 กิโลเมตร วิ่งได้ระยะทางถึง 240 กิโลเมตรต่อครั้ง ราคาก็ต่างกันเยอะ คันแรกสามล้อต้นทุนหยาบๆ ไม่ลงรายละเอียดเดิมอยู่ที่ 3 แสน 9 หมื่น บาท คันนี้ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 1 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น 1 ล้านบาท เป็นทำแล้วทิ้ง ทำเสีย ทำแบบทดลองผิดถูก ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าทำเป๊ะๆ ทำโดยที่เรารู้หมดทุกอย่างแล้ว อาจจะอยู่ที่ประมาณสัก 7-8 แสนบาท ราคาก็ถูกกว่าที่จะนำเข้าแน่นอน แล้วถูกกว่ารถยนต์ธรรมดาปกติที่ใช้ ก็ตั้งใจให้เป็นอย่างนั้นให้ได้
• เห็นว่ามีแง่มุมเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยใช่ไหม?
ถ้าถามว่าความมหัศจรรย์รถยนต์ไฟฟ้า ไม่สร้างมลพิษ ไม่เปลืองน้ำมัน ไม่แพง อันนี้ก็เป็นวงกว้างพอสมควร หลักๆ ที่จะสัมผัสได้เลย อัตราการแซงเครื่อง จำเป็นต้องรอรอบ แต่มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถที่จะเรียกกำลังจากแบตเตอรี่จึงไม่จำเป็นต้องรอรอบ รอบขึ้นติดเท่าเราทันที
ส่วนในอนาคต คาดการณ์ว่าในเรื่องความปลอดภัยก็จะยิ่งมีมากขึ้นแน่นอน ระบบไฟฟ้าไปคอนโทรลระบบไฟฟ้าเลย ไม่ใช่ระบบไฟฟ้าไปคอนโทรลระบบเครื่อง แบบรถ Tesla สามารถปล่อยให้ขับอัตโนมัติด้วยความเสถียรมากกว่าเครื่องยนต์ จึงมั่นใจว่าอนาคตน่าจะต้องดีขึ้นไปกว่านี้แน่นอน จากที่ในปัจจุบันเท่ากัน
• ส่วนตัววางแผนคาดการณ์ว่าเราคนไทยจะได้เห็นความสำเร็จชิ้นนี้เมื่อไหร่บ้างไหม
ถ้าไม่มีอะไรคลาดเคลื่อนจากแผนที่วางไว้ ก็น่าจะเร็วๆ นี้ เพราะเบื้องต้นตอนนี้ก็มีผู้ใหญ่ใจดีจากตลาดน้ำ 4 ภาค ยื่นมือเข้ามาช่วยแล้ว หลังจากที่ปิดการช่วยเหลือไปในตอนแรกๆ ที่เปิดเผยเรื่องราว เพราะมีบางกระแสที่ตอบรับไม่ดี เลยขอทำเองดีกว่า แต่หลังจากทำเสร็จแล้ว คันนี้ในอนาคต เรื่องการพัฒนาอาจจะยืดออกไป ไม่แน่ใจเรื่องเวลา แต่ถ้าสำเร็จจะนำความรู้เหล่านี้เผยแพร่แล้วยังไม่พอ จะเอาความสามารถของตัวเองทำให้เกิดรถที่เป็นแบรนด์ไทยจริงๆ ในราคาที่ถูกที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพราะเรามีวันนี้ได้ก็เพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน พระองค์ท่านไม่ทรงเคยหยุดเพื่อคนไทย ไม่ทรงเคยยอมแพ้ และมอบความรู้ให้เราตลอดเวลา ทำให้เราได้เรียนรู้และฝันเป็นจริง พอถึง ณ วันนี้ เราก็อยากจะเผยแพร่ในสิ่งที่เราได้รับกลับมา เราก็มองอย่างนั้น ตรงนี้เป็นแรงผลักดันที่ใหญ่หลวง ก็เป็นส่วนหนึ่งให้เราจะทำได้ เราแค่เหนื่อยแล้วพรุ่งนี้เราก็หายเหนื่อย ทำใหม่ก็ได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อีกส่วนหนึ่งที่อยากจะสะท้อนคือเรื่องของแรงผลักดัน ถ้าเราตั้งใจจะทำ เราต้องลงมือทำ มันต้องสำเร็จ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงไหน ผมมั่นใจว่าสำเร็จแน่นอน ถ้าพายามจริงๆ แล้วทำได้ คนไทยทุกคนจริงๆ แล้วเก่ง อาจจะขาดแรงบันดาลใจมากกว่า แต่ขอให้อย่าท้อ เราทำได้ครับ
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : เฟซบุ๊ก วีระศักดิ์ แป้นพ่วง
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ความตั้งใจไม่เปล่าศูนย์ แม้ราคาค่างวดรายจ่ายมีจำนวนมาก กระนั้นความมุมานะไม่เคยลดละ ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่า เมืองไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก ถ้าตั้งใจทำจริง
• จุดเริ่มต้นไอเดีย
มันคือความรักความชอบที่มีตั้งแต่เด็กๆ ชอบเรื่องเกี่ยวกับพลังงาน เรื่องของไฟฟ้า ทำให้มีความสนใจและมุ่งที่จะเรียนศึกษาเรื่องไฟฟ้ากำลังวุฒิ ปวส. จากวิทยาลัยสารพัดช่าง จังหวัดสุพรรณบุรี จากนั้น ด้วยความที่เป็นคนไม่ชอบเสียงเครื่องยนต์ ไม่ชอบกลิ่นของท่อไอเสียที่ทั้งเหม็นและร้อน มันต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง ก็เลยทำโปรเจกต์สอบเป็นการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ส่งอาจารย์ ช่วงราวๆ 9-10 ปีแล้ว ตอนนี้อายุ 27 ปี เราก็กลับมาคิดย้อนความฝันของเรา ปัจจุบันก็เลยมีโอกาสเริ่มทำได้ประมาณ 5 เดือนครับ
แล้วไอเดียจุดเริ่มอีกอย่างหนึ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพราะตอนแรก ผมเริ่มทำคันนี้ เริ่มทำด้วยตัวเอง เริ่มจากวัสดุอุปกรณ์ที่มีกำลังที่จะทำเองได้ พอมาสักระยะหนึ่ง มีบริษัทพี่ใจดีคนหนึ่งดึงผมเข้าไปเพื่อช่วยสานต่อ เขาอยากทำให้สำเร็จ ก็ช่วยค่าใช้จ่ายทั้งก่อนหน้านี้ที่ผมลงทุนไป ทีนี้พอเริ่มมาได้จนถึงปัจจุบันเมื่อเดือนที่แล้วบริษัทพี่เขามีปัญหาเลยหยุดโครงการตัวนี้ และด้วยความที่ทำมาแล้ว เลยอยากจะได้โครงการนี้มาทำต่อ พอจะทำต่อ เงินที่ต้องทำต่อมันใช้ในปริมาณที่มาก ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่าถ้าผมจะทำต่อด้วยตัวเองคงจะนานมาก ก็เลยนึกไปถึงพระองค์ท่านว่า เวลาท่านทำอะไรท่านจะเผื่อแพร่ให้กับทุกๆ คนเพื่อให้นำแนวทางต่างๆ ที่ท่านได้ทดลองหรือว่าทำ แล้วก็แจกจ่ายความรู้ต่างๆ ที่ดี ให้กับทุกๆ คน ผมก็เลยเปิดเผยเรื่องราว
• ก็เลยกลายเป็นรถไฟฟ้าที่จะนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาและสานต่อให้คนไทยได้เรียนรู้
ครับ…เพราะในเมื่อผมทำคนเดียวไม่สำเร็จ ผมก็เลยรวบรวมคนที่อยากจะเห็นผลงานสำเร็จให้เข้ามาช่วยกันสนับสนุน หลังจากนั้นแล้วผมก็จะนำรถคันนั้นถวายพระองค์ท่าน เพื่อเอาข้อมูลทุกๆ อย่างให้ทุกๆ คนได้สัมผัส ได้เห็นถึงรถที่สร้างขึ้นมาด้วยฝีมือคนไทยจริงๆ เพราะที่ผมเห็นในตอนนี้และปัจจุบัน ไม่มีใครจะสร้างแล้วก็ทดสอบทดลองแล้วเอาข้อมูลที่เป็นจริงมาแจกจ่ายและมาให้ความรู้กับทุกๆ คน ยังไม่มี อยากจะเป็นจุดจุดนั้น ซึ่งรายละเอียดพวกใช้แบตเตอรี่อะไร ชนิดอะไร รูปแบบโครงสร้าง ความเร็วได้เท่าไหร่ รับน้ำหนักได้เท่าไหร่ รายละเอียดเจาะลึกยังไม่มี
• มาตรฐาน สเปก ของรถยนต์ไฟฟ้าที่เรากำลังอยากทำให้เกิดการเผยแพร่และเรียนรู้เป็นอย่างไร
จริงๆ ต้องบอกก่อนว่าคันนี้จะต้องได้รับการพัฒนาแล้วก็ปรับปรุงระบบต่างๆ ก่อน แต่เบื้องต้นของคันนี้ที่กำลังเริ่มได้บทสรุปออกมา คือโครงสร้างจะต้องสร้างด้วยอะลูมิเนียม จึงจะมีน้ำหนักเบา ต้องใช้มอเตอร์ที่ขนาด 25 / 50 กิโลวัตต์ เพื่อจะฉุดลากน้ำหนักตัวรถไม่เกิน 1 ตัน ในตอนนี้ที่คิดคำนวณน้ำหนักไว้ที่เสถียรที่สุด น้ำหนักต้องไม่เกิน 1 ตัน ความสูงรถต้องไม่เกิน 1 เมตร 30 เซนติเมตร ความกว้างจะต้องไม่เกิน 2 เมตร 70 เซนติเมตร ใช้มอเตอร์ที่กำลังไฟอยู่ที่ 144 โวลต์
ส่วนแบตเตอรี่จะไม่ใช้แบตเตอรี่แห้งหรือแบตเตอรี่ตะกั่ว เพราะแบตเตอรี่ตระกูลพวกนี้จะมีน้ำหนักมาก บวกกับให้กำลังไฟที่ไม่สูง และมีอายุการใช้งานที่สั้นมาก สเปกแบตเตอรี่จึงควรเป็น แบตเตอรี่ ลิเทียมไอออนฟอสเฟต แล้วไม่ใช่ แบตเตอรี่ ลิเทียมพอลิเมอร์ เพราะส่วนตัวจากที่ทดสอบแบตเตอรี่ชนิดนี้จะให้กำลังได้ดีจริงๆ แต่ว่าเกิดความร้อนได้เร็วและเกิดการระเบิดได้ง่ายมากกว่า และใช้แบตเตอรี่ที่กำลัง 144 โวลต์ 300 แอมป์ คอนโทรลเลอร์จะอยู่ที่ 180 โวลต์ 50 กิโลวัตต์
จากการคำนวณทั้งหมดคันนี้ถ้าไม่ผิดพลาดจะใช้ความเร็วอยู่ที่ 140-170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถใช้งานได้ระยะทางประมาณ 240 กิโลเมตรขึ้นไป แต่ตอนนี้ยังไม่ทันเสร็จ ต้องดันทำให้จบก่อนถึงจะดันพัฒนาได้ต่อ สเต็ปที่ผมพูดถึงก็คือ ขั้นตอนการเริ่มต้นนี้ที่กำลังทำ
• สามารถเทียบชั้นกับนวัตกรรมรถประเภทนี้เท่าเมืองนอกได้ไหม
คือถ้าให้ยกตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้าที่ดีเป็นแบบไหน มาตรฐานแบบไหน ผมขอยกตัวอย่างรถที่นำเข้าจากจีนแล้วกัน เนื่องจากน่าจะเห็นภาพชัดเจน โดย 90 เปอร์เซ็นต์ของรถที่นำเข้าจากจีนยังคงใช้เป็นแบตเตอรี่ตะกั่วหรือไม่ก็แบตเตอรี่แห้ง ซึ่งมีความแรงดันต่ำ คือรถจะวิ่งได้ช้าหรือเร็วมากน้อยเท่าไหร่ หัวใจสำคัญคือเรื่องแบตเตอรี่แล้วมันก็ไม่ระเบิดด้วย อัตราความเสี่ยงก็จะน้อยกว่า ซึ่งเป็นมาตรฐานเบื้องต้นอยู่แล้ว
• ส่วนตัวรู้สึกอย่างไรกับความนิยมรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเราที่ยังน้อยอยู่
เพราะมันใช้ได้ยากลำบากและมีโอกาสใช้งานที่น้อย เนื่องจากทำความเร็วมาตรฐานอยู่ที่ 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พีคสุดที่ 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับรถซิตี้คาร์ในขณะนี้ที่มีการผลิตและนำเข้ามา ซึ่งอันนี้เราคิดว่าเราจะพัฒนาได้มากกว่าแน่นอน อีกส่วนก็เรื่องของรูปลักษณ์ คันนี้ทำไมถึงเลือกเป็นทรงสปอร์ตซูเปอร์คาร์ หนึ่งในความเห็นส่วนตัวคือผมมองว่าหลายคนส่วนใหญ่ ทุกคนมักจะชอบดีไซน์มากกว่า และสอง จะมุ่งประเด็นไปที่ออกแบบเป็นซิตี้คาร์ก็ได้ แต่จุดสนใจพูดง่ายๆ อยากให้มันสามารถเป็นรถที่ใช้งานได้ ไม่ใช่แค่รถบ้านธรรมดา แต่สามารถทำเป็นรถที่เอาไว้ขับได้ระดับนั้น อยากให้ใช้งานได้ครอบคลุมที่สุด เพราะอยากเป็นต้นแบบแห่งการพัฒนาอย่างที่บอก ถ้าทำรถทรงสปอร์ตได้ซิตี้คาร์ยังไงก็ได้อยู่แล้ว
ตรงนี้ผมก็ไปดูความรู้เพิ่มเติมจากโลกออนไลน์ จากโซเชียลเน็ตเวิร์ก จากเว็บไซต์ยูทิวบ์ เว็บไซต์กูเกิล ทุกช่องทางที่คิดว่าจะมีข้อมูลเหล่านี้ ก็จะไปดูตัวอย่าง ดูแบบ ดูวิธี เพื่อเสริมตัวเอง เริ่มต้นตั้งแต่การเลือกมอเตอร์ต้องเลือกแบบไหน ใช้อะไร เหมาะกับการออกแบบแบบไหนมากที่สุด แบตเตอรี่จะวางแบบไหน ใช้แรงดันเท่าไหร่ ปลอดภัยไม่ปลอดภัย ระบายความร้อนยังไง ก็มีหลายเรื่อง แล้วเรื่องการอออกแบบ หนึ่งที่ผมคิดคือรถจะต้องตัดอากาศให้ได้มากที่สุด มีความเป็นแอร์โรบอดี้ ไม่ต้านอากาศ เราก็เอามาเปลี่ยนปรับ ประยุกต์ใช้กับตัวรถเรา เพื่อจะได้เป็นต้นแบบสำหรับคนที่อยากจะลงมือทำด้วยตัวเอง ก็จะมีฐานความรู้เบื้องต้นที่เป็นคนไทย แล้วก็ที่จะยอมเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ให้ได้รู้ได้เห็น ให้มาสัมผัสตัวจริงได้ ให้มาดูรายละเอียดได้ ความหวังส่วนตัวก็คิดว่าวันหนึ่งบ้านเราจะมีรถของเรา แบรนด์ของเราใช้เอง
• อุปกรณ์ตอนแรกใช้อะไรยังไง เตรียมยังไงหลังจากเริ่มไอเดียจะสร้างคันนี้
รถไฟฟ้าที่จะสร้างได้หัวใจหลักๆ อุปกรณ์หลักๆ จะมีมอเตอร์ก่อนเลยครับ แล้วก็กล่องคอนโทรลเลอร์เพื่อควบคุมมอเตอร์ แบตเตอรี่ BMS เพื่อควบคุมแบตเตอรี่ ตัวชาร์จ หลักๆ มีแค่นี้ หลังจากนี้ก็จะเป็นเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างตัวถังรถแล้วก็บอดี้ รวมถึงอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ซึ่งคันนี้อยู่ในขั้นตอนกำลังจะทดสอบ กำลังจะแพ็กแบตเตอรี่ รอรวบรวมเงินสั่งซื้อแบตเตอรี่และก็ถอดโมบอดี้ จุดยึด จุดรับ หลักๆ มีเท่านี้และก็จะมีเพิ่มเติมเป็นระบบแอร์ ก็เสร็จทดสอบจบงาน
รถคันนี้ถ้าเทียบกับคันเก่าที่เคยทำแล้วเป็นสามล้อทำความเร็วเดิม 110 คันนี้ วิ่งได้ระยะทาง 100 กิโลเมตร คันนี้ความเร็วก็จะอยู่ที่ 170 กิโลเมตร วิ่งได้ระยะทางถึง 240 กิโลเมตรต่อครั้ง ราคาก็ต่างกันเยอะ คันแรกสามล้อต้นทุนหยาบๆ ไม่ลงรายละเอียดเดิมอยู่ที่ 3 แสน 9 หมื่น บาท คันนี้ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 1 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น 1 ล้านบาท เป็นทำแล้วทิ้ง ทำเสีย ทำแบบทดลองผิดถูก ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าทำเป๊ะๆ ทำโดยที่เรารู้หมดทุกอย่างแล้ว อาจจะอยู่ที่ประมาณสัก 7-8 แสนบาท ราคาก็ถูกกว่าที่จะนำเข้าแน่นอน แล้วถูกกว่ารถยนต์ธรรมดาปกติที่ใช้ ก็ตั้งใจให้เป็นอย่างนั้นให้ได้
• เห็นว่ามีแง่มุมเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยใช่ไหม?
ถ้าถามว่าความมหัศจรรย์รถยนต์ไฟฟ้า ไม่สร้างมลพิษ ไม่เปลืองน้ำมัน ไม่แพง อันนี้ก็เป็นวงกว้างพอสมควร หลักๆ ที่จะสัมผัสได้เลย อัตราการแซงเครื่อง จำเป็นต้องรอรอบ แต่มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถที่จะเรียกกำลังจากแบตเตอรี่จึงไม่จำเป็นต้องรอรอบ รอบขึ้นติดเท่าเราทันที
ส่วนในอนาคต คาดการณ์ว่าในเรื่องความปลอดภัยก็จะยิ่งมีมากขึ้นแน่นอน ระบบไฟฟ้าไปคอนโทรลระบบไฟฟ้าเลย ไม่ใช่ระบบไฟฟ้าไปคอนโทรลระบบเครื่อง แบบรถ Tesla สามารถปล่อยให้ขับอัตโนมัติด้วยความเสถียรมากกว่าเครื่องยนต์ จึงมั่นใจว่าอนาคตน่าจะต้องดีขึ้นไปกว่านี้แน่นอน จากที่ในปัจจุบันเท่ากัน
• ส่วนตัววางแผนคาดการณ์ว่าเราคนไทยจะได้เห็นความสำเร็จชิ้นนี้เมื่อไหร่บ้างไหม
ถ้าไม่มีอะไรคลาดเคลื่อนจากแผนที่วางไว้ ก็น่าจะเร็วๆ นี้ เพราะเบื้องต้นตอนนี้ก็มีผู้ใหญ่ใจดีจากตลาดน้ำ 4 ภาค ยื่นมือเข้ามาช่วยแล้ว หลังจากที่ปิดการช่วยเหลือไปในตอนแรกๆ ที่เปิดเผยเรื่องราว เพราะมีบางกระแสที่ตอบรับไม่ดี เลยขอทำเองดีกว่า แต่หลังจากทำเสร็จแล้ว คันนี้ในอนาคต เรื่องการพัฒนาอาจจะยืดออกไป ไม่แน่ใจเรื่องเวลา แต่ถ้าสำเร็จจะนำความรู้เหล่านี้เผยแพร่แล้วยังไม่พอ จะเอาความสามารถของตัวเองทำให้เกิดรถที่เป็นแบรนด์ไทยจริงๆ ในราคาที่ถูกที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพราะเรามีวันนี้ได้ก็เพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน พระองค์ท่านไม่ทรงเคยหยุดเพื่อคนไทย ไม่ทรงเคยยอมแพ้ และมอบความรู้ให้เราตลอดเวลา ทำให้เราได้เรียนรู้และฝันเป็นจริง พอถึง ณ วันนี้ เราก็อยากจะเผยแพร่ในสิ่งที่เราได้รับกลับมา เราก็มองอย่างนั้น ตรงนี้เป็นแรงผลักดันที่ใหญ่หลวง ก็เป็นส่วนหนึ่งให้เราจะทำได้ เราแค่เหนื่อยแล้วพรุ่งนี้เราก็หายเหนื่อย ทำใหม่ก็ได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อีกส่วนหนึ่งที่อยากจะสะท้อนคือเรื่องของแรงผลักดัน ถ้าเราตั้งใจจะทำ เราต้องลงมือทำ มันต้องสำเร็จ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงไหน ผมมั่นใจว่าสำเร็จแน่นอน ถ้าพายามจริงๆ แล้วทำได้ คนไทยทุกคนจริงๆ แล้วเก่ง อาจจะขาดแรงบันดาลใจมากกว่า แต่ขอให้อย่าท้อ เราทำได้ครับ
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : เฟซบุ๊ก วีระศักดิ์ แป้นพ่วง