สาวน้อยหน้าเก๋คนนี้ถูกเพ่งเล็งมาตั้งแต่เยาว์วัย สืบเนื่องมาจากการที่มีชื่อเล่นว่า “ออกแบบ” และนั่นจึงทำให้กลายเป็นคนที่ถูกให้ความสนใจมาตั้งแต่นั้น จนทำให้ช่วงชีวิตของเธอต้องรับมือกับความไม่สบายใจและความไม่เข้าใจมาตั้งแต่สมัยเรียนประถมข้ามไปจนถึงมัธยมศึกษา แต่เธอก็สามารถผ่านวิกฤตเหล่านั้นมาได้ด้วยดี ซึ่งนั่นก็ถือได้ว่า เธอมีความอดทนและเติบโตกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันเสียด้วยซ้ำ

มาจนวันนี้ ด้วยความสูงถึง 176 เซนติเมตร ประกอบกับมีใบหน้าที่แตกต่างจากคนอื่น นั่นจึงทำให้ “ออกแบบ-ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง” ได้ก้าวเข้าสู่วงการนางแบบมาตั้งแต่ยังเรียนชั้น ม.5 และถือได้ว่า กว่า 4 ปีที่เข้ามาสู่เส้นทางนี้ เธอเป็นที่ยอมรับทั้งในและนอกประเทศ จากผลงานการถ่ายแบบ และเดินแบบของเธอ และขณะเดียวกัน ออกแบบก็เคยผ่านงานแสดงมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นโฆษณา, มิวสิกวิดีโอ และภาพยนตร์สั้น
แต่ผลงานที่เธอถูกพูดถึงในด้านการแสดง ก็น่าจะเป็น จากผลงานภาพยนตร์สั้นเรื่อง “Thankyou For Sharing” ที่ทำให้เธอเริ่มเป็นที่รู้จักวงกว้างมากขึ้น และด้วยผลงานการแสดงในภาพยนตร์เรื่อง “ฉลาดเกมส์โกง” ของค่ายจีทีเอช นี่เอง ก็หลายๆ คนได้พิสูจน์ถึงผลงานการแสดงครั้งแรกอย่างเป็นทางการของเธอด้วยว่า ผู้ชมจะออกแบบในตัวละครของ ‘ลิน’ ตามแบบฉบับอย่างที่ตนเองเข้าใจว่าอย่างไร

ชื่อเล่นว่า “ออกแบบ”
แต่ชีวิตก็ไม่เล่นตาม
ณ ครอบครัว ‘จึงเจริญสุขยิ่ง’ เมื่อปี 2539 ด้วยความที่บิดาได้รับงานเขียนแบบมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ ครอบครัวนี้ได้ถือกำเนิดบุตรสาวคนสุดท้องในปีเดียวกัน ชื่อเล่นของเด็กหญิงตัวน้อยที่เพิ่งถือกำเนิดมา จึงมีชื่อว่า ‘ออกแบบ’ เพื่อให้คล้องจองกับพี่ๆ ทั้งสองก่อนหน้านี้ คือ ‘ออมสิน’ และ ‘อนึ่ง’ อีกด้านหนึ่งเพื่อระลึกถึงช่วงเวลาในการทำงานหนักของบิดาด้วยเช่นกัน
“สำหรับชื่อเล่นของหนูนั้น มันเริ่มจากที่พี่สาวคนโต ชื่อ ออมสิน เพราะว่าคุณแม่ถูกสลากออมสิน ต่อมา พี่ชายคนกลาง เกิดปี 2536 ซึ่งจะมีคำพูดว่า “อนึ่ง เช่น” ซึ่งคุณพ่อจะได้ยินจากทางวิทยุ แล้วประโยคที่ว่าก็จะได้ยินบ่อยมาก ประมาณว่าเป็นการยกตัวอย่าง พี่คนกลางก็เลยชื่ออนึ่ง แล้วหนูก็เกิดปี 2539 ซึ่งเป็นยุคที่ภาวะเศรษฐกิจบ้านเราเริ่มสั่นคลอน แล้วคุณพ่อทำงานเป็นวิศวกร ซึ่งก็จะรับงานเขียนแบบด้วย แต่คุณพ่อจะเรียกว่าออกแบบตลอดเวลา แล้วช่วงนั้นจะมีงานเขียนแบบเข้ามาเรื่อยๆ จนแทบไม่รู้สึกว่ากระทบกับเศรษฐกิจมาก มีพอกิน พอใช้ พออยู่ได้ พอคลอดเรามาก็ชื่อว่า ออกแบบ ซึ่งตอนแรกเป็นชื่อตอนคลอดว่า ด.ญ.ออกแบบ ก่อน จนพระขอเปลี่ยนเป็น ด.ญ.ชุติมณฑน์ แล้วชื่อเล่นเป็น ออกแบบ แทน

ถึงแม้ว่า ออกแบบ จะเป็นที่รักในครอบครัว แต่ในชีวิตนอกบ้านกลับเป็นตรงกันข้าม เนื่องด้วยเพื่อนๆ ของเธอนั้น คิดว่าเธออยากเป็นที่สนใจ นั่นจึงเป็นการโดนตั้งแง่จากผู้คนรอบข้างที่ไม่ใช่ครอบครัวมาตั้งแต่เรียนประถม จนถึงช่วงมัธยมศึกษา แต่นั่นเธอก็หาได้หวั่นไหวกับปัญหาที่เกิดขึ้นไม่
“หนูเคยคิดกังวลชื่อเล่นของตัวเองด้วย น่าจะเริ่มตั้งแต่ช่วง ป.1 เพราะจะมีเพื่อนชอบว่าเราว่า ตั้งชื่อเองหรือเปล่า เพราะว่าชื่อเล่นแปลกมาก แล้วเรารู้สึกไม่ชอบชื่อตัวเองเลย อยากเปลี่ยนชื่อ (เน้นเสียง) อยากชื่อเล่นปกติ เช่น พลอย บ้าง ซึ่งถามว่าเป็นจุดเด่นมั้ย ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นจุดเด่น แต่ถือว่าเป็นจุดด้อยของตัวเองด้วยซ้ำ เหมือนคนอื่นคิดว่าเราตั้งชื่อเอง แต่มองในแง่หนึ่ง เหมือนกับเราก็โดนเพ่งเล็งมาตั้งแต่นั้น ซึ่งก็มีความกดดันอยู่นิดนึงนะคะ เอาจริงๆ สังคมเพื่อนในวัยเด็ก มันก็เป็นไปตามประสาเด็กนี่แหละค่ะ จะเป็นแบบว่า เด็กจะพูดอะไรก็ได้ ทำอะไรก็ได้ ซึ่งผลลัพธ์ที่เราได้มา เหมือนกับเราเสียใจกับชื่อเราเอง ซึ่งเราจะรับฟังจากเพื่อนมา แต่เราก็ไม่ได้เล่าให้ที่บ้านฟังนะ และเราก็ไม่ได้ตอบโต้กลับ เป็นแค่ปกติ อยู่นิ่งๆ ซึ่งมันก็ผ่านมาได้เรื่อยๆ จากการที่เราเติบโตมาเรื่อยๆ จากการที่เรารับรู้และเรียนรู้กับมัน เราไม่ได้มีผลตอบรับอะไรกับเขา
“จนมาถึงช่วงมัธยมก็ยังมีบ้าง เพราะว่าเราเจอคนแปลกใหม่ เข้าอีกสังคมหนึ่ง คือช่วงประถมเราอยู่โรงเรียนสหศึกษา แต่พอช่วงมัธยม เราเรียนที่โรงเรียนสตรีวิทยา ซึ่งเป็นหญิงล้วนแล้วสังคมของโรงเรียนลักษณะนี้มันก็เหวี่ยงๆ หน่อย มีรักในโรงเรียน ซึ่งจะมีความมันในชีวิตเยอะมาก แล้วพี่คนโตของเราเคยอยู่โรงเรียนนี้ แล้วมีเพื่อนที่อยู่ที่นี่ เพื่อนพี่เราจะแบบว่า นี่น้องออมสินเหรอ ซึ่งตอนที่เราเข้ามาแรกๆ ก็จะเป็นเด็กที่รุ่นพี่เทกแคร์ แถมชื่อออกแบบ เพื่อนๆ ก็จะแบบ “ไม่ชอบอีนี่เลย สนิทรุ่นพี่” ซึ่งเราก็ไม่ได้รู้จักรุ่นพี่ที่ว่านี้เท่าไหร่ แต่เขารู้จักพี่สาวเรา ก็เลยมาดูแลเรา ซึ่งเราก็ทำอะไรไม่ได้ แล้วเราก็ไม่ได้ตอบโต้ใครอยู่แล้ว

“ด้วยช่วงวัยที่เราโตขึ้น ก็ทำให้ปัญหาที่พบเจอ ก็ดรามาขึ้นพอสมควร หนูว่ามันหนักขึ้น เพราะว่ามันเป็นโรงเรียนหญิงล้วนด้วยแหละ อย่างช่วงที่เราเรียนประถมที่โรงเรียนสหศึกษา เราก็จะมีเพื่อนผู้ชายที่อยู่โรงเรียนชายล้วน แล้วพอเจอเพื่อน ซึ่งเป็นเพื่อนอีกคนนึง แล้วไปเจอไปคุย กลายเป็นว่ามีปัญหาที่คิดว่าไม่น่าใช่ปัญหา แต่มันก็เป็นเรื่องราวใหญ่โตที่ไร้สาระจนได้ ซึ่งเราก็ไม่มีอะไร เราก็เคยแก้ปัญหาด้วยว่า เข้าไปพูดคุยเคลียร์ตรงๆ ว่าไม่ได้ทำ ไม่ได้มีอะไรนะ ก็มี แต่อยู่ที่ว่า เขาจะเข้าใจมั้ย ซึ่งเราก็ถือว่าพูดไปแล้ว ซึ่งเราก็ไม่ใช่ในแนวว่า จับกลุ่มไปตบกัน แต่เราจะเป็นสายที่มานั่งเคลียร์ที่โต๊ะในโรงอาหาร แต่อยู่ที่ว่าเขาจะรับฟังเรามั้ย เขาจะเชื่อเรามั้ย
“ส่วนเหตุการณ์ที่คิดว่าน่าจะแรงสุด ก็น่าจะเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ว่า เหมือนแฟนเพื่อนไปบอกว่า เราไปว่าเพื่อน ซึ่งไม่ไช่เพื่อนสนิทนะ แล้วเราก็ไม่ได้พูดด้วย แล้วเพื่อนเราที่อยู่ชายล้วน ก็อยู่ด้วยกันตรงนั้น มันก็ยืนยันว่าไม่ได้พูด ซึ่งพอเปิดเทอมมา เพื่อนคนนั้นก็ด่าเรากลางสนามตอนเข้าแถวเลยว่า “เกลียดอีออกแบบ” เหมือนในหนังเลย ซึ่งเรางงมาก จนตอนหลังเราก็โทรศัพท์เคลียร์กับเพื่อนคนนั้นที่โต๊ะอาหาร เข้าไปคุย แต่เหมือนเขาก็ไม่เชื่อ แล้วเราก็ทำอะไรไม่ได้ที่ว่าจะให้เขาเชื่อ ซึ่งเขาก็ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นั้น แล้วเรารู้อยู่แล้วว่าเราทำอะไร หนูก็ถือว่า หนูได้ทำในสิ่งที่เราทำไปแล้ว ได้ทำในสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นแล้วก็จบ”

เข้าสู่วงการนางแบบ
ทำให้วุฒิภาวะโตขึ้น
จากการใช้ชีวิตดั่งเด็กวัยรุ่นวัยมัธยมศึกษาทั่วไป ที่ยังค้นหาความสนใจของตนเองในแต่ละคนว่าสนใจและชอบอะไร ซึ่งออกแบบก็เป็นหนึ่งในวัยว้าวุ่นนั่นเช่นกันที่ยังเป็นเช่นนั้น แต่การที่รุ่นพี่ศิษย์เก่าคนหนึ่งได้มาเยี่ยมสถานศึกษาในวันกิจกรรมของโรงเรียน และเห็นเธอกำลังทำกิจกรรมปกติอยู่ รุ่นพี่คนนั้น จึงชวนเธอให้เข้าสู่วงการนางแบบ และนั่น คือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของเธอ...
“ช่วง ม.4 เราก็เข้าเรียนสายวิทย์-คณิต แล้ว ม.5 มันจะมีงานโรงเรียนคือ 111 ปี สตรีวิทยา เราได้มีโอกาสไปทำงานเป็นแบ็กสเตจ ตอนนั้นเรายังหา passion ของตัวเองยังไม่ได้ ที่บ้านก็บอกว่า เรียนสายวิทย์-คณิตไปสิ ดีกว่านะ แต่จริงๆ ที่เราเข้าเพราะว่าเราไม่ชอบภาษา คือเลือกที่เรียนหนักมากกว่า คือยอมรับตรงๆ ว่าเราโง่ภาษามาตั้งแต่เด็ก เราไม่ชอบภาษาอังกฤษเลย เราเลือกเรียนเพื่อที่จะไม่ต้องเรียนภาษาอังกฤษเสริม เลยหนี แต่เราโชคดีที่คะแนนฟิสิกส์ เราโอเค คือเราเอาตัวรอดในวิชาเหล่านี้ได้เยอะมาก หนูเลยเรียนสายนี้ แล้วอย่างที่บอก เราลองทำงานนี้ที่โรงเรียน ไปเจอพี่คนหนึ่ง ชื่อพี่ต็อบบี้ เหมือนเขาคุยกันในเรื่องวงการแฟชั่น นางแบบ แล้วเขาก็เห็นเรานั่งหน้าเหนื่อยๆ อยู่ เขาก็เดินมาชวนว่า อยากเข้าวงการมั้ย ให้ลองมาทำงานนางแบบ เขาเลยแนะนำหนูให้กับโมเดลลิ่ง จำได้ว่าวันนั้นบอกคุณแม่ไป แล้วแม่ก็แซวๆ ว่า โดนหลอกไปขายรึเปล่า (หัวเราะเบาๆ) เพราะว่าช่วงนั้นเหมือนเด็กโดนหลอกไปขายเยอะ แล้วแม่เป็นห่วงมาก แล้วแม่ก็ไปด้วยตลอด

“พอเราได้เข้ามาสู่วงการนางแบบ หนูว่าหนูเห็นสังคมผู้ใหญ่มากกว่า สิ่งที่เราเห็นคือโลกของความเป็นจริง อย่างที่เล่าตอนแรก เราอยู่ในสังคมครอบครัว สังคมเพื่อน สังคมโรงเรียน มันจะเป็นตัวของมัน มันจะมีความคิดในระบบระเบียบของมัน ของความเละเทะในนั้นด้วย (ยิ้ม) แต่พอมาสู่โลกของความเป็นจริง ระเบียบของสังคมมันก็จะมีก้าวหนึ่ง ทั้งการเข้าสังคม การพูดจา การวางตัว มารยาท ที่เราต้องค่อยๆ ปรับตัวเองเข้าไปอีกในระดับที่ลึกกว่า เหมือนเรียนรู้สังคมของโลกความเป็นจริง ที่ผู้ใหญ่เขาเป็นจริงๆ เรารู้จักถึงความเหนื่อยที่ผู้ใหญ่เขาทำ

“เพราะถ้าถามว่า ตอนเราเข้ามาแรกๆ เราจะเป็นเด็กที่น่ารักเลยมั้ย ไหว้ผู้ใหญ่ หนูว่ามันไม่ใช่ทุกคนนะ เพราะว่าด้วยนิสัยของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน อย่างเราเองก็จะเป็นคนที่พูดตรง แล้วบางคนก็จะคิดว่าเราเป็นเด็กเหวี่ยง แต่จริงๆ คือไม่ใช่ เราง้องแง้งมาก (หัวเราะ) เราก็โง่ๆ บ้าๆ ของเราไป แต่เราก็ไม่ได้สนิทกับทุกคน เราก็ต้องวางตัวใหม่ ก็เท่ากับว่า เราต้องพัฒนามันมากขึ้น และเราโตขึ้นไปอีกระดับหนึ่งด้วย ซึ่งพอโตขึ้น เราก็จะนิ่งขึ้น แต่ช่วงวัยนั้นมันคือ ม.5 แล้วพอเรานิ่งขึ้น ก็จะรู้สึกแบบว่า “ออกแบบเปลี่ยนไป” มันจะมีความรู้สึกนี้ คือเราก็โตขึ้นโดยที่ไม่เนียน เหมือนเราเจอโลกมาแล้วโลกข้างนอกมันเหนื่อยนะ แต่พวกแกทำอะไรกันอยู่ เราจะรู้สึกอย่างงั้น แล้วพอเรานิ่งขึ้น เพื่อนกลุ่มที่สนิทก็ทักว่า แกเปลี่ยนไปนะ ซึ่งจริงๆ เราไม่อยากใช้คำว่าลืมนะ คือเราข้ามไปเลยมากกว่า ไม่ได้สัมผัสความเป็นวัยรุ่น ที่เพื่อนเราได้สัมผัสกัน แต่กลายเป็นที่เราเหนื่อยจากสิ่งที่เราทำมา จนเรามีโลกส่วนตัวมากขึ้น แต่ว่ากับกลุ่มเพื่อนที่สนิทมากๆ ก็จะเข้าใจเราว่า ทำไมแกมีเหตุผลเพราะอะไร เขาก็จะเข้าใจเรา แต่ต่อมาพอเพื่อนๆโตขึ้น แล้วมาถึงจุดที่เราไปถึงก่อน แล้วเขามองกลับไป เขาก็เข้าใจหนูหมดเลยนะ ว่าเพราะอะไร แต่ ณ เวลานั้น พวกเขายังไม่เข้าใจไง เพราะเขาไม่เคยเจอมาก่อน
“เราเข้ามาสู่วงการนางแบบ แบบขั้นบันได จริงๆ แล้วเป็นโอกาสที่ผู้ใหญ่ได้เห็นผลงานของเรา มันทำให้เราได้ก้าวกับเป็นอีกก้าวกระโดด เลยทำให้มาอยู่จุดนี้ถือว่าเร็ว แล้วก็ได้เปิดโอกาสตัวเองมากขึ้น ซึ่งการทำงาน มันเป็นไปตั้งแต่ เราเริ่มฟิตติ้ง ทำมาตั้งแต่คนที่ไม่เห็นผลงานเรา ทำตั้งแต่ ได้เงินวันละ 500 บาท ทำทั้งวัน เปลี่ยนชุดประมาณ 60 ชุด จนค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นเรตในปัจจุบัน คือเราเจออะไรมาเยอะมาก เราผ่านงานทุกอย่าง เราเจอคนหลายกลุ่ม ผ่านทีมงานทั้งเมืองไทยและต่างชาติ ซึ่งทุกงานก็ทำให้เราโตขึ้น และผลงานเรามากขึ้น และคนมองเรามากขึ้น เพราะภาพลักษณ์เรากว้างขึ้น”

ศิลปะในความคิด
ครีเอทีฟในการจัดงาน
จนกระทั่งได้เข้ามาสู่วัยอุดมศึกษา ด้วยสถานะนิสิตสาขานิทรรศการศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสาขาเกี่ยวกับการจัดแสดงงานศิลปะและนิทรรศการต่างๆ ซึ่งนับว่าช่วยเปิดโลกแห่งการสร้างสรรค์ให้กับเธอได้อย่างเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และกลายเป็นตัวตนของออกแบบไปในทางหนึ่งด้วยเช่นกัน
“หนูว่ามันเปิดโลกในเรื่องความคิดของหนูมาก เพราะว่าสิ่งที่หนูเรียนคือ ครีเอทีฟ ดีไซน์ เป็น Exhibition Design ซึ่งตอนที่เราเรียน แรกๆ อาจารย์เขาก็จะให้เราคิดเอง ทำเอง แล้วค่อยๆให้กรอบในหัวข้อในการทำงานมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ได้รับ ค่อนข้างทำให้โลกความคิดเราพุ่ง ในเรื่องของแรงจูงใจ ในการทำงาน หรือว่าการกระทำต่างๆ ว่าเราจะทำอะไรก็ได้ หนูรู้สึกว่า มันมาร่วมกับปัจจุบันที่เราเป็น ในเรื่องของการฟังเพลง การใช้ชีวิต อะไรอย่างงี้ด้วย

“อีกอย่าง มันทำให้ความคิดเราเป็นระบบด้วยนะ ในเรื่องของการทำงาน เราจัดการชีวิตได้มากขึ้น คือมันค่อยๆ มาเสริมเรา จากการที่ว่า เมื่อก่อนเราแค่จัดตารางเวลาเรียน แล้วมาเสริมในการทำงานว่า เราเรียนด้วยทำงานไปด้วย ซึ่งจริงๆ หนูไม่ค่อยกำหนดความคิดตัวเองเท่าไหร่ ว่าเราจะสนใจด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น คือเราเคยคิดว่าตัวเองเป็นคน Minimal แต่พอได้ทำงานจริงๆ ก็ไม่ได้ตามที่เราคิด เพราะฉะนั้น เราไม่ควรไปกำหนดความคิดว่าให้เป็นสิ่งนั้น ส่วนเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เราชอบในด้านการเอาหลายๆ สิ่งมาผสมผสานกัน อย่างเช่นเรื่องชุด มันก็คือการ mix & match เสื้อผ้า แต่ว่างานที่หนูทำคือการออกแบบนิทรรศการ เราจะเอาสิ่งใดมาใส่ในนิทรรศการก็ได้ แล้วให้มันดูดีและตอบโจทย์ลูกค้าที่สุด แล้วตอบสนองกับหัวข้อของนิทรรศการ และเนื้อเรื่องของมันมากที่สุด ซึ่งความสนุกมันอยู่ที่เราจะทำยังไงให้ผู้คนมีความสุข กับการที่สนใจ และได้รับความรู้จากนิทรรศการให้ได้มากที่สุด แล้วคือยังไง มันก็จะมีขั้นตอนของมันในเรื่อง
“แล้วการที่เราเรียน Pre-Thesis มาว่า คุณต้องมีข้อมูลของเขาก่อนนะ ประวัติความเป็นมา ว่าข้อมูลเขามีอะไรบ้าง ตัวเสริมข้อมูลมีอะไรบ้าง แล้วหาว่า เราจะใช้ทฤษฎีอะไรมาใช้ในงาน ซึ่งจะทำให้งานออกมาแนวไหน เราเลือกอะไรบ้าง อันนี้ อาจารย์ก็จะช่วยดูแลเราใช่มั้ยคะ แล้วพอผ่านพวกนี้มา ก็ลงลึกถึงเรื่องการหาสถานที่ แล้วก็จัดหาว่าข้างในจะมีห้องกี่ห้อง ซึ่งมันค่อนข้างเป็นระบบมากเลยนะ แล้วมันก็หนักด้วย หนูว่ามันสนุกว่าจะคิดยังไงต่อ คือมันทำได้หลายอย่างมาก มันจะเอาอะไรก็ได้มาทำในนั้น ว่าจัดให้มันสวยยังไงก็ได้ ซึ่งสนุกนะ หนูว่าหนูได้อะไรหลายๆ อย่างจากทางที่เรียนนะ”

ก้าวสู่งานแสดง
เปิดโลกแห่งความท้าทาย
เมื่อมีประสบการณ์ทางงานนางแบบมาพอสมควรแล้ว ในด้านการแสดงก็เป็นลำดับขั้นตอนต่อมาในวงการ ออกแบบก็ได้รับการทาบทามให้มาลองมีประสบการณ์ในด้านดังกล่าวด้วยเช่นกัน จากการเริ่มต้นด้วยงานมิวสิกวิดีโอ ไปจนถึงงานโฆษณา และงานภาพยนตร์สั้นตามลำดับ ซึ่งออกแบบก็ยอมรับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ยากลำบากและถือว่าท้าทายตัวเองไปด้วยในเวลาเดียวกัน
“หนูได้เริ่มเล่นมิวสิกวิดีโอ ซึ่งมันก็เหมือนการแสดง แต่ว่ายังไม่สุด เรารู้สึกยังงั้น เพราะว่ามันไม่ลองเทก มันไม่เหมือนหนังที่เราได้เล่น คือกล้องตัวเดียวกันนี่แหละ แต่สิ่งที่เราได้รับคือ เวลาสั้นมากในการเล่น สมมติเราร้องไห้ไป 2 นาที เขาตัดไปใช้แค่ 10 วินาที คือตัดเหลือแค่อารมณ์ที่เขาวางไว้หรือภาพซีนที่เขาให้มันเป็น ซึ่งเราจะเล่นไม่ได้เต็มที่หรือสุดกับมัน มีอารมณ์แบบกั๊กๆ อยู่ หรืออย่างโฆษณา เราจะรู้สึกว่ามีความโอเวอร์แอกติ้ง จะเป็นแบบดีดนิ้วปุ๊บ (ทำท่าประกอบ) คนรู้เข้าใจภายใน 3 วินาที การแสดงคือจะตีตลาดเพื่อผลทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งตอนแรกๆ เราก็ยังไม่เข้าใจ ว่าทำไมต้องทำแบบนี้ นี่คือการแสดงที่ดีแล้วเหรอ ซึ่งหนูก็ไม่รู้ว่าการแสดงที่ดีคืออะไรนะ แต่แค่คิดว่าอันนี้คือดีแล้วใช่มั้ย กับการที่ผู้กำกับเขาบอกว่าผ่าน กับการที่เราเล่นแบบนี้ แต่เราก็เล่นตามที่พี่ๆ บอกมาตลอด เพราะว่าไม่เคยเรียนแอกติ้งมา หนูว่าติดภาพด้วย เพราะว่าหลายๆ เอ็มวีที่เราได้ดู มันค่อนข้างร้อยเรียงเรื่องราวให้เราชมเสร็จสิ้นแล้ว แต่พอเรามาเป็นคนแสดงแทน แล้วเรารู้เบื้องหลังของเขา ทำให้เราแบบไม่ใช่อยู่ในหัว คืออาจจะไม่ใช่ในความคิดที่เราคิดมา แต่ว่าก็ไม่ใช่ทั้งหมด
“พอขยับมาหนังสั้นแล้ว ชิ้นนี้ทำให้เราเข้าใจในตัวเอ็มวีมากขึ้น ทำให้เราย้อนกลับไปมองมากขึ้น เพราะว่าตัวของการทำงานกับหนังสั้น คือหนังสั้นเป็นเรื่องราวที่เสร็จมาแล้ว แล้วเราได้เห็นแล้วว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เราได้เห็นตัวละครว่า เขามีนิสัยอะไรยังไง เราได้คุยกับผู้กำกับ และกำหนดทิศทางว่าจะไปในทางไหนด้วยกันยังไง ซึ่งมันเลยทำให้เราอิน และเรานำประสบการณ์ที่ทั้งดีและไม่ดีจากเมื่อก่อน กลับมาใช้ในตัวเรื่องด้วย ซึ่งถ้ามีการสัมผัสได้ ก็คิดว่ามันใกล้เคียงกัน เราเลยเอามาบิลท์เพิ่มในการเล่นตอนนั้น ก็ทำให้เรารู้สึกรักในการแสดงมากขึ้น และผลตอบรับที่เราได้รับ ก็ถือว่าค่อนข้างดี ดีมาก หนูภูมิใจกับมันมาก ก็จะมีคนเริ่มมาประมาณว่า “ออกแบบไง ที่เล่นหนังสั้นน่ะ” ซึ่งแรกๆ เราก็ยังไม่ชินแหละ แต่เราเชื่อว่าก็จะผ่านไปได้ เพราะมันก็คือคนที่ดูผลงานเราและเขาชอบว่ามันดีนะ หนูก็แค่รู้สึกว่า มันเหมือนมีคนมองเราตลอดเวลา แต่สักพักก็จะผ่านไปได้ เพราะทุกคนก็ผ่านมาได้เหมือนกัน

หลังจากที่เริ่มถูกพูดถึงในวงกว้างจากผลงานดังกล่าว และช่วงเวลาก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ออกแบบได้รับการติดต่อให้มารับการแสดงอย่างเป็นทางการครั้งแรก ซึ่งนับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งในวงการของเธอ พร้อมกันนั้น ก็มีการติดต่อให้ไปแสดงหนังเช่นเดียวกัน แต่ออกแบบก็ยอมที่ปฏิเสธเรื่องหลังไป และรอคอยการติดต่อกลับมา จนในที่สุดก็ได้รับการติดต่อเช่นเดิม และจุดเริ่มต้นของการแสดงอย่างเป็นทางการ ก็นับจากตรงนั้น...
“ก่อนหน้านั้น พี่บาส (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ - ผู้กำกับภาพยนตร์) ทักไลน์เรามาช่วงประมาณเดือนเมษายนปีก่อน ทักว่ามีหนังเรื่องนึง อยากให้เล่น แต่อย่าเพิ่งไปเล่นกับใครนะ ซึ่งช่วงเดียวกัน ก็มีคนติดต่อออกแบบด้วย 2 เรื่อง แต่ก็ไม่ได้รับเล่น เพราะคิดว่าพี่บาสคงไม่น่าลืมเรามั้ง (หัวเราะ) ซึ่งถ้าลืม เราก็แค่เสียดาย ช่างมัน แต่ปรากฏว่า พี่บาสไม่ลืมจริงๆ แล้วก็เรียกไปแคสต์ เราแคสต์อยู่ประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพราะว่ามันมี 3 ซีนที่ต้องเล่น เป็นซีนใหญ่ เขาก็บอกให้เราอ่านว่าตัวละครเป็นแบบไหน เราก็อ่าน แล้วพบว่ามันเป็นประมาณนี้นะ พอเล่นให้พี่เขาดู เขาก็ดูชอบนะ แต่วันนั้นคือคนแคสต์เยอะมาก (เน้นเสียง) เยอะจนเราคิดไปเองว่า เราไม่ได้มีพื้นฐานการแสดง แค่ได้มาแคสต์ก็ดีแล้ว เลยไม่ได้หวังอะไร ปรากฏว่าเข้ารอบแรก ความรู้สึกตอนนั้นคือ “เหรอวะ” (หัวเราะ) ไม่ได้ตื่นเต้นแต่จะเป็นแบบจริงเหรอ แล้วพอเราไปแคสต์รอบ 2 เราก็ไม่รู้ว่าคนแคสต์กี่คน แต่เราไปแอบถาม ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเขาพูดจริงหรือเปล่า ซึ่งพี่เขาก็บอกว่า มี 4 คน แต่พอเหมือนเราแคสต์รอบ 2 เสร็จ เราก็คิดอีกว่า เข้ารอบสองได้ก็เก่งแล้ว ก็กลับบ้านไป พอเวลาผ่านไป 2 อาทิตย์ ผู้จัดการหนูโทร.มาบอกว่า ‘ออกแบบ ได้เล่นหนังพี่บาสนะ’ เราก็คิดไปก่อนเลยว่า หลอกกันเล่นหรือเปล่า (หัวเราะอีกครั้ง) ซึ่งเราโทร.เช็กกับพี่เขา 5 รอบ โทร.หาแล้ววาง แล้วโทร.อีกที แบบ ‘ใช่เหรอวะ’ ประมาณนี้

“ด้วยความที่ว่า หนูมีเวลาที่สั้นมาก เขาก็มีเวิร์กชอปทั้งซีนให้ ซึ่งหนูก็จะไม่มีพื้นฐานเรื่องการแสดงเลย แต่ว่าจะมีเรื่องแอกติ้งโค้ชในซีนเวิร์กชอป เขาก็เริ่มเหมือนทำพื้นฐานให้เราก่อน ในระยะเวลานึง แล้วค่อยเข้าซีน เพื่อให้เราค่อยๆ ปรับตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะว่าหนูค่อนข้างหลุด อย่างสายตาเวลาที่เล่นหนัง มันจะต้องนิ่ง แต่เรายังไม่นิ่ง ซึ่งมันจะเข้ากล้อง เขาก็ฝึกให้ เช่นทฤษฎียิงธนู ที่จะเป็นแบบว่าให้มองตรงไป ซึ่งเราก็ฝึกมาเรื่อยๆ แต่ว่ามันก็ยังไม่ดีพอสำหรับการเป็นนักแสดง ซึ่งพอเมื่อเราได้เข้าซีนกับเพื่อนๆ มันทำให้เรารู้สึกว่าเป็นตัวถ่วงให้กับเพื่อนหรือเปล่า ซึ่งก็จะมีอยู่วันหนึ่งที่เรารู้สึกอย่างงั้นจริงๆ จะเรียกว่าวัน Bad Day แต่เพื่อนๆเขาก็จะบอกว่า ทุกคนก็จะมีวันแบบนี้แหละ เพราะฉะนั้นแกไม่ต้องคิดเลยว่าแกจะเป็นตัวถ่วงนะ ซึ่งถึงแม้ว่าเพื่อนทั้ง 3 คน จะเคยผ่านงานแสดงมาก่อนก็ตาม แต่เขาก็บอกว่าเขาก็สามารถเป็นตัวถ่วงให้ได้ด้วยเหมือนกัน ซึ่งหนูว่ามันเป็นคำปลอบใจที่ดี และก็เป็นความจริงที่เขาพูดแล้วให้เราคิดได้ว่า แล้วทำไมถึงต้องมานั่งคิดอย่างงี้ด้วย ซึ่งพอยิ่งคิดแบบนี้ มันทำให้เรากดตัวเองว่ายิ่งเล่นไม่ได้ ซึ่งคำพูดที่เพื่อนบอกมา กลับทำให้เราดีขึ้น และก็ทำให้เราเล่นได้ดีขึ้นด้วย เพราะว่าเราไม่กังวล แต่ก็มีร้องไห้แง จนอาจารย์มาถามว่าเป็นอะไรเลย จนแบบเจมส์ (ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ) และนน (ชานน สันตินธรกุล) ต้องมาปลอบเลย

“จุดที่ยากที่สุด ถ้าในตัวของด้านแอกติ้ง ด้วยความที่เราไม่เคยมีพื้นฐาน ทำให้คงตัวละครได้ไม่ดี คือทุกครั้งที่ไปเล่น เราควรเป็น ‘รินลดา นิลเทพ’ ตลอด แต่บางครั้งหนูก็หลุดเป็นตัวเอง ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งที่ควรจะเป็น มันทำให้เวลาของการทำงานลดลงโดยไร้ค่า แต่ว่าแอกติ้งโค้ช ก็เข้ามาช่วยเรา ซึ่งก็มีบางคนที่หลุดบ้าง ก็มี แต่มันจะหลุดแล้วดี หรือ หลุดแล้วเป็นตัวเองมากเกินไป ซึ่งโค้ชก็ค่อยๆ ตบลงมา ก็ผ่านมาได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องซีนที่ยากที่สุด คือซีนที่ไปถ่ายที่ซิดนีย์ เพราะด้วยเรื่องของเวลาที่เร่งรัด ทั้งเวลาจริง และเวลาในหนัง ในการทำงานของตัวละครด้วยค่ะ มันบีบจนทุกคนกดดัน แต่ด้วยทีมงานที่นั่น ซึ่งเราใช้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ที่เป็นทีมฮอลลีวูด เขาค่อนข้างเก่ง และกดดันในการทำงานเหมือนกัน ซึ่งค่อนข้างเป๊ะมาก เลยมีเครียดกับซีนพวกนั้นมาก
“หลังจากที่ปิดกล้อง หนูว่าได้อะไรมาเยอะมาก ในเนื้อเรื่องเราสนิทกับพ่อ แล้วตัวลินสนิทกับพ่อ แต่ตัวออกแบบสนิทกับแม่ (ยิ้ม) หนูได้การสนิทกับพ่อ จากการที่หนูสนิทกับป๊าเอก (ธเนศ วรากุลนุเคราะห์) ตอนนี้หนูเลยกล้าเล่นกับคุณพ่อมากขึ้น เพราะว่าคุณพ่อเขาจะสนิทกับพี่ 2 คน เพราะทำงานด้วยกัน นั่งเขียนงานทำงานด้วยกัน แต่หนูจะอยู่กับคุณแม่ตลอดเวลา เราก็เลยกล้าที่ไปคุยไปปรึกษากับคุณพ่อมากขึ้น เหมือนได้รับมาจากตัวลินด้วย ส่วนการทำงาน หนูว่ามันได้อยู่แล้วละ คือทุกคนได้มาหมดเลย เพราะเป็นหนังเรื่องแรกของทุกคนเหมือนกัน เราได้รู้เรื่องเกี่ยวกับการทำงานหนัง เกี่ยวกับเบื้องหลังเกือบทั้งหมด ว่ามันเป็นอะไร มันควรจะทำยังไง ซึ่งถ้าเราไปเล่นอีกเรื่องนึง เราควรทำตัวยังไง มันคือการที่นำตรงนี้ไปใช้ในอนาคตต่อได้”

ภาพรวมแย่แน่
หากยังมี “การโกง” เกิดขึ้น
ขึ้นชื่อว่า ‘การโกง’ หรือ ‘การทุจริต’ เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อยู่ในสังคมทุกระดับ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน แต่หากพูดถึงการโกงดังกล่าว แน่นอนว่าจะต้องมีสารพัดวิธีของการทุจริตเกิดขึ้นอยู่เสมอ และปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่หยั่งลึกฝังรากจนยากจะแก้ไขในสังคมไทย ซึ่งออกแบบก็ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างน่าสนใจว่า...
“หนูว่าเรื่องนี้มันก็มีทั้งผิดและมุมมองคนด้วยนะ คือเรื่องผิด มันผิดเรื่องศีลธรรม แล้วในมุมมองคน คือ อย่างเด็ก เขามองการโกงข้อสอบ เพื่อให้ได้เกรดให้พ่อแม่ อันนี้ก็จะโยงไปที่วัฒนธรรมการเรียนของไทย ที่เด็กเรียนหนักมากๆ จนกระทั่งเด็กไม่รับรู้แล้วว่า เนื้อหาจากสิ่งที่เรียนคืออะไร รับรู้แค่ว่าต้องเอาเกรด 4 ให้ได้ ซึ่งอันนี้หนูว่ามันผิดเหมือนกัน คือเราถูกสอนมาผิด ยัดความรู้จนเขาไม่ได้มองว่าความรู้คืออะไร รับรู้แค่ว่าเกรดที่ได้คืออะไร อันนี้มันน่าสนใจนะ หนูไม่รู้ว่าการโกงที่เกิดขึ้นมันทำให้ผู้ใหญ่หลายคนคิดหรือเปล่าว่า สิ่งที่กำลังเป็นปัญหากับตัวความคิดของเด็กๆ หลายๆคนในปัจจุบัน มันสะท้อนอะไรให้เขาเห็นบ้าง ว่าระบบการศึกษาที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก เขาเครียดมากแค่ไหน แล้วคุณควรปรับการเรียนการสอนมั้ย เพราะที่เป็นอยู่เป็นการกดดันตัวเด็กมาก อย่างตัวหนูเองก็เคยผ่านมาก่อน เรียนสายวิทย์คณิต เรียนพิเศษเยอะมาก เรียนตั้งแต่ 8 โมงเช้ายัน 2 ทุ่ม เรียนเป็นบ้าเป็นหลังเลย ซึ่งเราอัดอย่างงั้นเพื่อแข่งขัน แข่งขันเพื่อความคาดหวังที่บ้าน แล้วหลายคนก็ไม่ใช่ตัวของตัวเองด้วย ว่าอยากเป็นแพทย์ทั้งที่ตัวเองอยากจะเป็นมั้ย แล้วอะไรที่เขามีความสุขมากกว่า แล้วเขาทำแล้วเขาดีกว่า

“หนูว่ามันสะท้อนถึงความเครียด ถึงความกดดันในทุกวัย ในที่ผ่านมา แล้วก็สะท้อนถึงความคิดที่แบบ คุณได้ตัวเลขที่คุณต้องการ แต่คุณไม่ได้ความรู้กลับไป ซึ่งสิ่งที่เขาทำ เขารู้นะ แต่ที่หลายคนทำ จนกลายเป็น คุณทำได้ ผมก็ทำได้ ฉันก็ทำได้ มันจะเป็นอย่างงี้ แบบเพื่อนทำได้ ทำไมเราไม่ทำบ้าง มันเหมือนกับการชักจูงและปลูกฝังในทางที่ผิดๆ มากกว่า อันนี้ถือว่าอันตรายในสังคม และอนาคตมากเลยนะและสามารถประยุกต์ไปเป็นแบบอื่นได้ และคิดว่าระบบการศึกษาจะพังได้ เพราะความรู้ที่เด็กได้มาจะน้อย แล้วถ้าไปประกอบอาชีพ เขาเหล่านั้นอาจจะได้ความรู้ไม่เท่าแพทย์ยุคก่อนหน้านี้ที่เขาฝึกฝนอย่างจริงจังกับตำราหรือข้อมูลที่เขาได้รับ และจิตใจคนก็จะถูกกดต่ำลง แล้วคนก็จะมองแค่ผลลัพธ์ในปลายทาง ไม่ได้มองว่าในระหว่างทางนั้นเป็นยังไงบ้าง
“ค่อนข้างยากเหมือนกันนะ เพราะวัฒนธรรมนี้มันเกิดขึ้นมาตั้งนาน มันไม่ได้เกิดแค่รุ่นเรา มันเกิดมาตั้งนานแล้ว ซึ่งหนูคิดว่ามันควรจะเริ่มเปลี่ยนจากการเรียนการสอน การปลูกฝังเรื่องเกรด เรื่องคะแนน หรือผลลัพธ์ที่ได้รับ หนูว่ามันจะช่วยให้เด็กกดดันน้อยลง แล้วก็จะมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นในการเรียน หรือว่าในการที่จะรับรู้ ความรู้ มากกว่าที่จะมานั่งหาหนทางว่าทำยังไงให้เกรดเราดี ส่วนนอกจากนี้ เราไม่อยากไปดูที่บางคนว่าทำอะไร ไม่ทำอะไร คือแค่รู้สึกว่า เขารู้ตัวของเขาเองว่าเขาทำอะไรอยู่ อยู่ที่ว่า ผลลัพธ์ที่เขาได้รับ เขาภูมิใจกับมันมั้ย คุ้มค่ามั้ย เขาได้อะไรจากการเดินทางจากตรงนั้น หรือจงใจที่จะมองข้ามไป โดยที่ไม่มองกลับมาเลย หนูว่าตรงนี้เป็นจุดบอดที่คนไม่เคยกลับมาดู ไม่เคยคิดว่า ผลระยะยาวจากการกระทำตรงนี้ มันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งมันเป็นจุดพลาดของชีวิตเลยก็ได้”
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร
ขอขอบคุณ : ร้าน 1 of A Kind ถ. พระราม 9 ซ. 48 02-7183260, 087-4496666
มาจนวันนี้ ด้วยความสูงถึง 176 เซนติเมตร ประกอบกับมีใบหน้าที่แตกต่างจากคนอื่น นั่นจึงทำให้ “ออกแบบ-ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง” ได้ก้าวเข้าสู่วงการนางแบบมาตั้งแต่ยังเรียนชั้น ม.5 และถือได้ว่า กว่า 4 ปีที่เข้ามาสู่เส้นทางนี้ เธอเป็นที่ยอมรับทั้งในและนอกประเทศ จากผลงานการถ่ายแบบ และเดินแบบของเธอ และขณะเดียวกัน ออกแบบก็เคยผ่านงานแสดงมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นโฆษณา, มิวสิกวิดีโอ และภาพยนตร์สั้น
แต่ผลงานที่เธอถูกพูดถึงในด้านการแสดง ก็น่าจะเป็น จากผลงานภาพยนตร์สั้นเรื่อง “Thankyou For Sharing” ที่ทำให้เธอเริ่มเป็นที่รู้จักวงกว้างมากขึ้น และด้วยผลงานการแสดงในภาพยนตร์เรื่อง “ฉลาดเกมส์โกง” ของค่ายจีทีเอช นี่เอง ก็หลายๆ คนได้พิสูจน์ถึงผลงานการแสดงครั้งแรกอย่างเป็นทางการของเธอด้วยว่า ผู้ชมจะออกแบบในตัวละครของ ‘ลิน’ ตามแบบฉบับอย่างที่ตนเองเข้าใจว่าอย่างไร
ชื่อเล่นว่า “ออกแบบ”
แต่ชีวิตก็ไม่เล่นตาม
ณ ครอบครัว ‘จึงเจริญสุขยิ่ง’ เมื่อปี 2539 ด้วยความที่บิดาได้รับงานเขียนแบบมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ ครอบครัวนี้ได้ถือกำเนิดบุตรสาวคนสุดท้องในปีเดียวกัน ชื่อเล่นของเด็กหญิงตัวน้อยที่เพิ่งถือกำเนิดมา จึงมีชื่อว่า ‘ออกแบบ’ เพื่อให้คล้องจองกับพี่ๆ ทั้งสองก่อนหน้านี้ คือ ‘ออมสิน’ และ ‘อนึ่ง’ อีกด้านหนึ่งเพื่อระลึกถึงช่วงเวลาในการทำงานหนักของบิดาด้วยเช่นกัน
“สำหรับชื่อเล่นของหนูนั้น มันเริ่มจากที่พี่สาวคนโต ชื่อ ออมสิน เพราะว่าคุณแม่ถูกสลากออมสิน ต่อมา พี่ชายคนกลาง เกิดปี 2536 ซึ่งจะมีคำพูดว่า “อนึ่ง เช่น” ซึ่งคุณพ่อจะได้ยินจากทางวิทยุ แล้วประโยคที่ว่าก็จะได้ยินบ่อยมาก ประมาณว่าเป็นการยกตัวอย่าง พี่คนกลางก็เลยชื่ออนึ่ง แล้วหนูก็เกิดปี 2539 ซึ่งเป็นยุคที่ภาวะเศรษฐกิจบ้านเราเริ่มสั่นคลอน แล้วคุณพ่อทำงานเป็นวิศวกร ซึ่งก็จะรับงานเขียนแบบด้วย แต่คุณพ่อจะเรียกว่าออกแบบตลอดเวลา แล้วช่วงนั้นจะมีงานเขียนแบบเข้ามาเรื่อยๆ จนแทบไม่รู้สึกว่ากระทบกับเศรษฐกิจมาก มีพอกิน พอใช้ พออยู่ได้ พอคลอดเรามาก็ชื่อว่า ออกแบบ ซึ่งตอนแรกเป็นชื่อตอนคลอดว่า ด.ญ.ออกแบบ ก่อน จนพระขอเปลี่ยนเป็น ด.ญ.ชุติมณฑน์ แล้วชื่อเล่นเป็น ออกแบบ แทน
ถึงแม้ว่า ออกแบบ จะเป็นที่รักในครอบครัว แต่ในชีวิตนอกบ้านกลับเป็นตรงกันข้าม เนื่องด้วยเพื่อนๆ ของเธอนั้น คิดว่าเธออยากเป็นที่สนใจ นั่นจึงเป็นการโดนตั้งแง่จากผู้คนรอบข้างที่ไม่ใช่ครอบครัวมาตั้งแต่เรียนประถม จนถึงช่วงมัธยมศึกษา แต่นั่นเธอก็หาได้หวั่นไหวกับปัญหาที่เกิดขึ้นไม่
“หนูเคยคิดกังวลชื่อเล่นของตัวเองด้วย น่าจะเริ่มตั้งแต่ช่วง ป.1 เพราะจะมีเพื่อนชอบว่าเราว่า ตั้งชื่อเองหรือเปล่า เพราะว่าชื่อเล่นแปลกมาก แล้วเรารู้สึกไม่ชอบชื่อตัวเองเลย อยากเปลี่ยนชื่อ (เน้นเสียง) อยากชื่อเล่นปกติ เช่น พลอย บ้าง ซึ่งถามว่าเป็นจุดเด่นมั้ย ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นจุดเด่น แต่ถือว่าเป็นจุดด้อยของตัวเองด้วยซ้ำ เหมือนคนอื่นคิดว่าเราตั้งชื่อเอง แต่มองในแง่หนึ่ง เหมือนกับเราก็โดนเพ่งเล็งมาตั้งแต่นั้น ซึ่งก็มีความกดดันอยู่นิดนึงนะคะ เอาจริงๆ สังคมเพื่อนในวัยเด็ก มันก็เป็นไปตามประสาเด็กนี่แหละค่ะ จะเป็นแบบว่า เด็กจะพูดอะไรก็ได้ ทำอะไรก็ได้ ซึ่งผลลัพธ์ที่เราได้มา เหมือนกับเราเสียใจกับชื่อเราเอง ซึ่งเราจะรับฟังจากเพื่อนมา แต่เราก็ไม่ได้เล่าให้ที่บ้านฟังนะ และเราก็ไม่ได้ตอบโต้กลับ เป็นแค่ปกติ อยู่นิ่งๆ ซึ่งมันก็ผ่านมาได้เรื่อยๆ จากการที่เราเติบโตมาเรื่อยๆ จากการที่เรารับรู้และเรียนรู้กับมัน เราไม่ได้มีผลตอบรับอะไรกับเขา
“จนมาถึงช่วงมัธยมก็ยังมีบ้าง เพราะว่าเราเจอคนแปลกใหม่ เข้าอีกสังคมหนึ่ง คือช่วงประถมเราอยู่โรงเรียนสหศึกษา แต่พอช่วงมัธยม เราเรียนที่โรงเรียนสตรีวิทยา ซึ่งเป็นหญิงล้วนแล้วสังคมของโรงเรียนลักษณะนี้มันก็เหวี่ยงๆ หน่อย มีรักในโรงเรียน ซึ่งจะมีความมันในชีวิตเยอะมาก แล้วพี่คนโตของเราเคยอยู่โรงเรียนนี้ แล้วมีเพื่อนที่อยู่ที่นี่ เพื่อนพี่เราจะแบบว่า นี่น้องออมสินเหรอ ซึ่งตอนที่เราเข้ามาแรกๆ ก็จะเป็นเด็กที่รุ่นพี่เทกแคร์ แถมชื่อออกแบบ เพื่อนๆ ก็จะแบบ “ไม่ชอบอีนี่เลย สนิทรุ่นพี่” ซึ่งเราก็ไม่ได้รู้จักรุ่นพี่ที่ว่านี้เท่าไหร่ แต่เขารู้จักพี่สาวเรา ก็เลยมาดูแลเรา ซึ่งเราก็ทำอะไรไม่ได้ แล้วเราก็ไม่ได้ตอบโต้ใครอยู่แล้ว
“ด้วยช่วงวัยที่เราโตขึ้น ก็ทำให้ปัญหาที่พบเจอ ก็ดรามาขึ้นพอสมควร หนูว่ามันหนักขึ้น เพราะว่ามันเป็นโรงเรียนหญิงล้วนด้วยแหละ อย่างช่วงที่เราเรียนประถมที่โรงเรียนสหศึกษา เราก็จะมีเพื่อนผู้ชายที่อยู่โรงเรียนชายล้วน แล้วพอเจอเพื่อน ซึ่งเป็นเพื่อนอีกคนนึง แล้วไปเจอไปคุย กลายเป็นว่ามีปัญหาที่คิดว่าไม่น่าใช่ปัญหา แต่มันก็เป็นเรื่องราวใหญ่โตที่ไร้สาระจนได้ ซึ่งเราก็ไม่มีอะไร เราก็เคยแก้ปัญหาด้วยว่า เข้าไปพูดคุยเคลียร์ตรงๆ ว่าไม่ได้ทำ ไม่ได้มีอะไรนะ ก็มี แต่อยู่ที่ว่า เขาจะเข้าใจมั้ย ซึ่งเราก็ถือว่าพูดไปแล้ว ซึ่งเราก็ไม่ใช่ในแนวว่า จับกลุ่มไปตบกัน แต่เราจะเป็นสายที่มานั่งเคลียร์ที่โต๊ะในโรงอาหาร แต่อยู่ที่ว่าเขาจะรับฟังเรามั้ย เขาจะเชื่อเรามั้ย
“ส่วนเหตุการณ์ที่คิดว่าน่าจะแรงสุด ก็น่าจะเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ว่า เหมือนแฟนเพื่อนไปบอกว่า เราไปว่าเพื่อน ซึ่งไม่ไช่เพื่อนสนิทนะ แล้วเราก็ไม่ได้พูดด้วย แล้วเพื่อนเราที่อยู่ชายล้วน ก็อยู่ด้วยกันตรงนั้น มันก็ยืนยันว่าไม่ได้พูด ซึ่งพอเปิดเทอมมา เพื่อนคนนั้นก็ด่าเรากลางสนามตอนเข้าแถวเลยว่า “เกลียดอีออกแบบ” เหมือนในหนังเลย ซึ่งเรางงมาก จนตอนหลังเราก็โทรศัพท์เคลียร์กับเพื่อนคนนั้นที่โต๊ะอาหาร เข้าไปคุย แต่เหมือนเขาก็ไม่เชื่อ แล้วเราก็ทำอะไรไม่ได้ที่ว่าจะให้เขาเชื่อ ซึ่งเขาก็ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นั้น แล้วเรารู้อยู่แล้วว่าเราทำอะไร หนูก็ถือว่า หนูได้ทำในสิ่งที่เราทำไปแล้ว ได้ทำในสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นแล้วก็จบ”
เข้าสู่วงการนางแบบ
ทำให้วุฒิภาวะโตขึ้น
จากการใช้ชีวิตดั่งเด็กวัยรุ่นวัยมัธยมศึกษาทั่วไป ที่ยังค้นหาความสนใจของตนเองในแต่ละคนว่าสนใจและชอบอะไร ซึ่งออกแบบก็เป็นหนึ่งในวัยว้าวุ่นนั่นเช่นกันที่ยังเป็นเช่นนั้น แต่การที่รุ่นพี่ศิษย์เก่าคนหนึ่งได้มาเยี่ยมสถานศึกษาในวันกิจกรรมของโรงเรียน และเห็นเธอกำลังทำกิจกรรมปกติอยู่ รุ่นพี่คนนั้น จึงชวนเธอให้เข้าสู่วงการนางแบบ และนั่น คือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของเธอ...
“ช่วง ม.4 เราก็เข้าเรียนสายวิทย์-คณิต แล้ว ม.5 มันจะมีงานโรงเรียนคือ 111 ปี สตรีวิทยา เราได้มีโอกาสไปทำงานเป็นแบ็กสเตจ ตอนนั้นเรายังหา passion ของตัวเองยังไม่ได้ ที่บ้านก็บอกว่า เรียนสายวิทย์-คณิตไปสิ ดีกว่านะ แต่จริงๆ ที่เราเข้าเพราะว่าเราไม่ชอบภาษา คือเลือกที่เรียนหนักมากกว่า คือยอมรับตรงๆ ว่าเราโง่ภาษามาตั้งแต่เด็ก เราไม่ชอบภาษาอังกฤษเลย เราเลือกเรียนเพื่อที่จะไม่ต้องเรียนภาษาอังกฤษเสริม เลยหนี แต่เราโชคดีที่คะแนนฟิสิกส์ เราโอเค คือเราเอาตัวรอดในวิชาเหล่านี้ได้เยอะมาก หนูเลยเรียนสายนี้ แล้วอย่างที่บอก เราลองทำงานนี้ที่โรงเรียน ไปเจอพี่คนหนึ่ง ชื่อพี่ต็อบบี้ เหมือนเขาคุยกันในเรื่องวงการแฟชั่น นางแบบ แล้วเขาก็เห็นเรานั่งหน้าเหนื่อยๆ อยู่ เขาก็เดินมาชวนว่า อยากเข้าวงการมั้ย ให้ลองมาทำงานนางแบบ เขาเลยแนะนำหนูให้กับโมเดลลิ่ง จำได้ว่าวันนั้นบอกคุณแม่ไป แล้วแม่ก็แซวๆ ว่า โดนหลอกไปขายรึเปล่า (หัวเราะเบาๆ) เพราะว่าช่วงนั้นเหมือนเด็กโดนหลอกไปขายเยอะ แล้วแม่เป็นห่วงมาก แล้วแม่ก็ไปด้วยตลอด
“พอเราได้เข้ามาสู่วงการนางแบบ หนูว่าหนูเห็นสังคมผู้ใหญ่มากกว่า สิ่งที่เราเห็นคือโลกของความเป็นจริง อย่างที่เล่าตอนแรก เราอยู่ในสังคมครอบครัว สังคมเพื่อน สังคมโรงเรียน มันจะเป็นตัวของมัน มันจะมีความคิดในระบบระเบียบของมัน ของความเละเทะในนั้นด้วย (ยิ้ม) แต่พอมาสู่โลกของความเป็นจริง ระเบียบของสังคมมันก็จะมีก้าวหนึ่ง ทั้งการเข้าสังคม การพูดจา การวางตัว มารยาท ที่เราต้องค่อยๆ ปรับตัวเองเข้าไปอีกในระดับที่ลึกกว่า เหมือนเรียนรู้สังคมของโลกความเป็นจริง ที่ผู้ใหญ่เขาเป็นจริงๆ เรารู้จักถึงความเหนื่อยที่ผู้ใหญ่เขาทำ
“เพราะถ้าถามว่า ตอนเราเข้ามาแรกๆ เราจะเป็นเด็กที่น่ารักเลยมั้ย ไหว้ผู้ใหญ่ หนูว่ามันไม่ใช่ทุกคนนะ เพราะว่าด้วยนิสัยของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน อย่างเราเองก็จะเป็นคนที่พูดตรง แล้วบางคนก็จะคิดว่าเราเป็นเด็กเหวี่ยง แต่จริงๆ คือไม่ใช่ เราง้องแง้งมาก (หัวเราะ) เราก็โง่ๆ บ้าๆ ของเราไป แต่เราก็ไม่ได้สนิทกับทุกคน เราก็ต้องวางตัวใหม่ ก็เท่ากับว่า เราต้องพัฒนามันมากขึ้น และเราโตขึ้นไปอีกระดับหนึ่งด้วย ซึ่งพอโตขึ้น เราก็จะนิ่งขึ้น แต่ช่วงวัยนั้นมันคือ ม.5 แล้วพอเรานิ่งขึ้น ก็จะรู้สึกแบบว่า “ออกแบบเปลี่ยนไป” มันจะมีความรู้สึกนี้ คือเราก็โตขึ้นโดยที่ไม่เนียน เหมือนเราเจอโลกมาแล้วโลกข้างนอกมันเหนื่อยนะ แต่พวกแกทำอะไรกันอยู่ เราจะรู้สึกอย่างงั้น แล้วพอเรานิ่งขึ้น เพื่อนกลุ่มที่สนิทก็ทักว่า แกเปลี่ยนไปนะ ซึ่งจริงๆ เราไม่อยากใช้คำว่าลืมนะ คือเราข้ามไปเลยมากกว่า ไม่ได้สัมผัสความเป็นวัยรุ่น ที่เพื่อนเราได้สัมผัสกัน แต่กลายเป็นที่เราเหนื่อยจากสิ่งที่เราทำมา จนเรามีโลกส่วนตัวมากขึ้น แต่ว่ากับกลุ่มเพื่อนที่สนิทมากๆ ก็จะเข้าใจเราว่า ทำไมแกมีเหตุผลเพราะอะไร เขาก็จะเข้าใจเรา แต่ต่อมาพอเพื่อนๆโตขึ้น แล้วมาถึงจุดที่เราไปถึงก่อน แล้วเขามองกลับไป เขาก็เข้าใจหนูหมดเลยนะ ว่าเพราะอะไร แต่ ณ เวลานั้น พวกเขายังไม่เข้าใจไง เพราะเขาไม่เคยเจอมาก่อน
“เราเข้ามาสู่วงการนางแบบ แบบขั้นบันได จริงๆ แล้วเป็นโอกาสที่ผู้ใหญ่ได้เห็นผลงานของเรา มันทำให้เราได้ก้าวกับเป็นอีกก้าวกระโดด เลยทำให้มาอยู่จุดนี้ถือว่าเร็ว แล้วก็ได้เปิดโอกาสตัวเองมากขึ้น ซึ่งการทำงาน มันเป็นไปตั้งแต่ เราเริ่มฟิตติ้ง ทำมาตั้งแต่คนที่ไม่เห็นผลงานเรา ทำตั้งแต่ ได้เงินวันละ 500 บาท ทำทั้งวัน เปลี่ยนชุดประมาณ 60 ชุด จนค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นเรตในปัจจุบัน คือเราเจออะไรมาเยอะมาก เราผ่านงานทุกอย่าง เราเจอคนหลายกลุ่ม ผ่านทีมงานทั้งเมืองไทยและต่างชาติ ซึ่งทุกงานก็ทำให้เราโตขึ้น และผลงานเรามากขึ้น และคนมองเรามากขึ้น เพราะภาพลักษณ์เรากว้างขึ้น”
ศิลปะในความคิด
ครีเอทีฟในการจัดงาน
จนกระทั่งได้เข้ามาสู่วัยอุดมศึกษา ด้วยสถานะนิสิตสาขานิทรรศการศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสาขาเกี่ยวกับการจัดแสดงงานศิลปะและนิทรรศการต่างๆ ซึ่งนับว่าช่วยเปิดโลกแห่งการสร้างสรรค์ให้กับเธอได้อย่างเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และกลายเป็นตัวตนของออกแบบไปในทางหนึ่งด้วยเช่นกัน
“หนูว่ามันเปิดโลกในเรื่องความคิดของหนูมาก เพราะว่าสิ่งที่หนูเรียนคือ ครีเอทีฟ ดีไซน์ เป็น Exhibition Design ซึ่งตอนที่เราเรียน แรกๆ อาจารย์เขาก็จะให้เราคิดเอง ทำเอง แล้วค่อยๆให้กรอบในหัวข้อในการทำงานมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ได้รับ ค่อนข้างทำให้โลกความคิดเราพุ่ง ในเรื่องของแรงจูงใจ ในการทำงาน หรือว่าการกระทำต่างๆ ว่าเราจะทำอะไรก็ได้ หนูรู้สึกว่า มันมาร่วมกับปัจจุบันที่เราเป็น ในเรื่องของการฟังเพลง การใช้ชีวิต อะไรอย่างงี้ด้วย
“อีกอย่าง มันทำให้ความคิดเราเป็นระบบด้วยนะ ในเรื่องของการทำงาน เราจัดการชีวิตได้มากขึ้น คือมันค่อยๆ มาเสริมเรา จากการที่ว่า เมื่อก่อนเราแค่จัดตารางเวลาเรียน แล้วมาเสริมในการทำงานว่า เราเรียนด้วยทำงานไปด้วย ซึ่งจริงๆ หนูไม่ค่อยกำหนดความคิดตัวเองเท่าไหร่ ว่าเราจะสนใจด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น คือเราเคยคิดว่าตัวเองเป็นคน Minimal แต่พอได้ทำงานจริงๆ ก็ไม่ได้ตามที่เราคิด เพราะฉะนั้น เราไม่ควรไปกำหนดความคิดว่าให้เป็นสิ่งนั้น ส่วนเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เราชอบในด้านการเอาหลายๆ สิ่งมาผสมผสานกัน อย่างเช่นเรื่องชุด มันก็คือการ mix & match เสื้อผ้า แต่ว่างานที่หนูทำคือการออกแบบนิทรรศการ เราจะเอาสิ่งใดมาใส่ในนิทรรศการก็ได้ แล้วให้มันดูดีและตอบโจทย์ลูกค้าที่สุด แล้วตอบสนองกับหัวข้อของนิทรรศการ และเนื้อเรื่องของมันมากที่สุด ซึ่งความสนุกมันอยู่ที่เราจะทำยังไงให้ผู้คนมีความสุข กับการที่สนใจ และได้รับความรู้จากนิทรรศการให้ได้มากที่สุด แล้วคือยังไง มันก็จะมีขั้นตอนของมันในเรื่อง
“แล้วการที่เราเรียน Pre-Thesis มาว่า คุณต้องมีข้อมูลของเขาก่อนนะ ประวัติความเป็นมา ว่าข้อมูลเขามีอะไรบ้าง ตัวเสริมข้อมูลมีอะไรบ้าง แล้วหาว่า เราจะใช้ทฤษฎีอะไรมาใช้ในงาน ซึ่งจะทำให้งานออกมาแนวไหน เราเลือกอะไรบ้าง อันนี้ อาจารย์ก็จะช่วยดูแลเราใช่มั้ยคะ แล้วพอผ่านพวกนี้มา ก็ลงลึกถึงเรื่องการหาสถานที่ แล้วก็จัดหาว่าข้างในจะมีห้องกี่ห้อง ซึ่งมันค่อนข้างเป็นระบบมากเลยนะ แล้วมันก็หนักด้วย หนูว่ามันสนุกว่าจะคิดยังไงต่อ คือมันทำได้หลายอย่างมาก มันจะเอาอะไรก็ได้มาทำในนั้น ว่าจัดให้มันสวยยังไงก็ได้ ซึ่งสนุกนะ หนูว่าหนูได้อะไรหลายๆ อย่างจากทางที่เรียนนะ”
ก้าวสู่งานแสดง
เปิดโลกแห่งความท้าทาย
เมื่อมีประสบการณ์ทางงานนางแบบมาพอสมควรแล้ว ในด้านการแสดงก็เป็นลำดับขั้นตอนต่อมาในวงการ ออกแบบก็ได้รับการทาบทามให้มาลองมีประสบการณ์ในด้านดังกล่าวด้วยเช่นกัน จากการเริ่มต้นด้วยงานมิวสิกวิดีโอ ไปจนถึงงานโฆษณา และงานภาพยนตร์สั้นตามลำดับ ซึ่งออกแบบก็ยอมรับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ยากลำบากและถือว่าท้าทายตัวเองไปด้วยในเวลาเดียวกัน
“หนูได้เริ่มเล่นมิวสิกวิดีโอ ซึ่งมันก็เหมือนการแสดง แต่ว่ายังไม่สุด เรารู้สึกยังงั้น เพราะว่ามันไม่ลองเทก มันไม่เหมือนหนังที่เราได้เล่น คือกล้องตัวเดียวกันนี่แหละ แต่สิ่งที่เราได้รับคือ เวลาสั้นมากในการเล่น สมมติเราร้องไห้ไป 2 นาที เขาตัดไปใช้แค่ 10 วินาที คือตัดเหลือแค่อารมณ์ที่เขาวางไว้หรือภาพซีนที่เขาให้มันเป็น ซึ่งเราจะเล่นไม่ได้เต็มที่หรือสุดกับมัน มีอารมณ์แบบกั๊กๆ อยู่ หรืออย่างโฆษณา เราจะรู้สึกว่ามีความโอเวอร์แอกติ้ง จะเป็นแบบดีดนิ้วปุ๊บ (ทำท่าประกอบ) คนรู้เข้าใจภายใน 3 วินาที การแสดงคือจะตีตลาดเพื่อผลทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งตอนแรกๆ เราก็ยังไม่เข้าใจ ว่าทำไมต้องทำแบบนี้ นี่คือการแสดงที่ดีแล้วเหรอ ซึ่งหนูก็ไม่รู้ว่าการแสดงที่ดีคืออะไรนะ แต่แค่คิดว่าอันนี้คือดีแล้วใช่มั้ย กับการที่ผู้กำกับเขาบอกว่าผ่าน กับการที่เราเล่นแบบนี้ แต่เราก็เล่นตามที่พี่ๆ บอกมาตลอด เพราะว่าไม่เคยเรียนแอกติ้งมา หนูว่าติดภาพด้วย เพราะว่าหลายๆ เอ็มวีที่เราได้ดู มันค่อนข้างร้อยเรียงเรื่องราวให้เราชมเสร็จสิ้นแล้ว แต่พอเรามาเป็นคนแสดงแทน แล้วเรารู้เบื้องหลังของเขา ทำให้เราแบบไม่ใช่อยู่ในหัว คืออาจจะไม่ใช่ในความคิดที่เราคิดมา แต่ว่าก็ไม่ใช่ทั้งหมด
“พอขยับมาหนังสั้นแล้ว ชิ้นนี้ทำให้เราเข้าใจในตัวเอ็มวีมากขึ้น ทำให้เราย้อนกลับไปมองมากขึ้น เพราะว่าตัวของการทำงานกับหนังสั้น คือหนังสั้นเป็นเรื่องราวที่เสร็จมาแล้ว แล้วเราได้เห็นแล้วว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เราได้เห็นตัวละครว่า เขามีนิสัยอะไรยังไง เราได้คุยกับผู้กำกับ และกำหนดทิศทางว่าจะไปในทางไหนด้วยกันยังไง ซึ่งมันเลยทำให้เราอิน และเรานำประสบการณ์ที่ทั้งดีและไม่ดีจากเมื่อก่อน กลับมาใช้ในตัวเรื่องด้วย ซึ่งถ้ามีการสัมผัสได้ ก็คิดว่ามันใกล้เคียงกัน เราเลยเอามาบิลท์เพิ่มในการเล่นตอนนั้น ก็ทำให้เรารู้สึกรักในการแสดงมากขึ้น และผลตอบรับที่เราได้รับ ก็ถือว่าค่อนข้างดี ดีมาก หนูภูมิใจกับมันมาก ก็จะมีคนเริ่มมาประมาณว่า “ออกแบบไง ที่เล่นหนังสั้นน่ะ” ซึ่งแรกๆ เราก็ยังไม่ชินแหละ แต่เราเชื่อว่าก็จะผ่านไปได้ เพราะมันก็คือคนที่ดูผลงานเราและเขาชอบว่ามันดีนะ หนูก็แค่รู้สึกว่า มันเหมือนมีคนมองเราตลอดเวลา แต่สักพักก็จะผ่านไปได้ เพราะทุกคนก็ผ่านมาได้เหมือนกัน
หลังจากที่เริ่มถูกพูดถึงในวงกว้างจากผลงานดังกล่าว และช่วงเวลาก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ออกแบบได้รับการติดต่อให้มารับการแสดงอย่างเป็นทางการครั้งแรก ซึ่งนับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งในวงการของเธอ พร้อมกันนั้น ก็มีการติดต่อให้ไปแสดงหนังเช่นเดียวกัน แต่ออกแบบก็ยอมที่ปฏิเสธเรื่องหลังไป และรอคอยการติดต่อกลับมา จนในที่สุดก็ได้รับการติดต่อเช่นเดิม และจุดเริ่มต้นของการแสดงอย่างเป็นทางการ ก็นับจากตรงนั้น...
“ก่อนหน้านั้น พี่บาส (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ - ผู้กำกับภาพยนตร์) ทักไลน์เรามาช่วงประมาณเดือนเมษายนปีก่อน ทักว่ามีหนังเรื่องนึง อยากให้เล่น แต่อย่าเพิ่งไปเล่นกับใครนะ ซึ่งช่วงเดียวกัน ก็มีคนติดต่อออกแบบด้วย 2 เรื่อง แต่ก็ไม่ได้รับเล่น เพราะคิดว่าพี่บาสคงไม่น่าลืมเรามั้ง (หัวเราะ) ซึ่งถ้าลืม เราก็แค่เสียดาย ช่างมัน แต่ปรากฏว่า พี่บาสไม่ลืมจริงๆ แล้วก็เรียกไปแคสต์ เราแคสต์อยู่ประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพราะว่ามันมี 3 ซีนที่ต้องเล่น เป็นซีนใหญ่ เขาก็บอกให้เราอ่านว่าตัวละครเป็นแบบไหน เราก็อ่าน แล้วพบว่ามันเป็นประมาณนี้นะ พอเล่นให้พี่เขาดู เขาก็ดูชอบนะ แต่วันนั้นคือคนแคสต์เยอะมาก (เน้นเสียง) เยอะจนเราคิดไปเองว่า เราไม่ได้มีพื้นฐานการแสดง แค่ได้มาแคสต์ก็ดีแล้ว เลยไม่ได้หวังอะไร ปรากฏว่าเข้ารอบแรก ความรู้สึกตอนนั้นคือ “เหรอวะ” (หัวเราะ) ไม่ได้ตื่นเต้นแต่จะเป็นแบบจริงเหรอ แล้วพอเราไปแคสต์รอบ 2 เราก็ไม่รู้ว่าคนแคสต์กี่คน แต่เราไปแอบถาม ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเขาพูดจริงหรือเปล่า ซึ่งพี่เขาก็บอกว่า มี 4 คน แต่พอเหมือนเราแคสต์รอบ 2 เสร็จ เราก็คิดอีกว่า เข้ารอบสองได้ก็เก่งแล้ว ก็กลับบ้านไป พอเวลาผ่านไป 2 อาทิตย์ ผู้จัดการหนูโทร.มาบอกว่า ‘ออกแบบ ได้เล่นหนังพี่บาสนะ’ เราก็คิดไปก่อนเลยว่า หลอกกันเล่นหรือเปล่า (หัวเราะอีกครั้ง) ซึ่งเราโทร.เช็กกับพี่เขา 5 รอบ โทร.หาแล้ววาง แล้วโทร.อีกที แบบ ‘ใช่เหรอวะ’ ประมาณนี้
“ด้วยความที่ว่า หนูมีเวลาที่สั้นมาก เขาก็มีเวิร์กชอปทั้งซีนให้ ซึ่งหนูก็จะไม่มีพื้นฐานเรื่องการแสดงเลย แต่ว่าจะมีเรื่องแอกติ้งโค้ชในซีนเวิร์กชอป เขาก็เริ่มเหมือนทำพื้นฐานให้เราก่อน ในระยะเวลานึง แล้วค่อยเข้าซีน เพื่อให้เราค่อยๆ ปรับตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะว่าหนูค่อนข้างหลุด อย่างสายตาเวลาที่เล่นหนัง มันจะต้องนิ่ง แต่เรายังไม่นิ่ง ซึ่งมันจะเข้ากล้อง เขาก็ฝึกให้ เช่นทฤษฎียิงธนู ที่จะเป็นแบบว่าให้มองตรงไป ซึ่งเราก็ฝึกมาเรื่อยๆ แต่ว่ามันก็ยังไม่ดีพอสำหรับการเป็นนักแสดง ซึ่งพอเมื่อเราได้เข้าซีนกับเพื่อนๆ มันทำให้เรารู้สึกว่าเป็นตัวถ่วงให้กับเพื่อนหรือเปล่า ซึ่งก็จะมีอยู่วันหนึ่งที่เรารู้สึกอย่างงั้นจริงๆ จะเรียกว่าวัน Bad Day แต่เพื่อนๆเขาก็จะบอกว่า ทุกคนก็จะมีวันแบบนี้แหละ เพราะฉะนั้นแกไม่ต้องคิดเลยว่าแกจะเป็นตัวถ่วงนะ ซึ่งถึงแม้ว่าเพื่อนทั้ง 3 คน จะเคยผ่านงานแสดงมาก่อนก็ตาม แต่เขาก็บอกว่าเขาก็สามารถเป็นตัวถ่วงให้ได้ด้วยเหมือนกัน ซึ่งหนูว่ามันเป็นคำปลอบใจที่ดี และก็เป็นความจริงที่เขาพูดแล้วให้เราคิดได้ว่า แล้วทำไมถึงต้องมานั่งคิดอย่างงี้ด้วย ซึ่งพอยิ่งคิดแบบนี้ มันทำให้เรากดตัวเองว่ายิ่งเล่นไม่ได้ ซึ่งคำพูดที่เพื่อนบอกมา กลับทำให้เราดีขึ้น และก็ทำให้เราเล่นได้ดีขึ้นด้วย เพราะว่าเราไม่กังวล แต่ก็มีร้องไห้แง จนอาจารย์มาถามว่าเป็นอะไรเลย จนแบบเจมส์ (ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ) และนน (ชานน สันตินธรกุล) ต้องมาปลอบเลย
“จุดที่ยากที่สุด ถ้าในตัวของด้านแอกติ้ง ด้วยความที่เราไม่เคยมีพื้นฐาน ทำให้คงตัวละครได้ไม่ดี คือทุกครั้งที่ไปเล่น เราควรเป็น ‘รินลดา นิลเทพ’ ตลอด แต่บางครั้งหนูก็หลุดเป็นตัวเอง ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งที่ควรจะเป็น มันทำให้เวลาของการทำงานลดลงโดยไร้ค่า แต่ว่าแอกติ้งโค้ช ก็เข้ามาช่วยเรา ซึ่งก็มีบางคนที่หลุดบ้าง ก็มี แต่มันจะหลุดแล้วดี หรือ หลุดแล้วเป็นตัวเองมากเกินไป ซึ่งโค้ชก็ค่อยๆ ตบลงมา ก็ผ่านมาได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องซีนที่ยากที่สุด คือซีนที่ไปถ่ายที่ซิดนีย์ เพราะด้วยเรื่องของเวลาที่เร่งรัด ทั้งเวลาจริง และเวลาในหนัง ในการทำงานของตัวละครด้วยค่ะ มันบีบจนทุกคนกดดัน แต่ด้วยทีมงานที่นั่น ซึ่งเราใช้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ที่เป็นทีมฮอลลีวูด เขาค่อนข้างเก่ง และกดดันในการทำงานเหมือนกัน ซึ่งค่อนข้างเป๊ะมาก เลยมีเครียดกับซีนพวกนั้นมาก
“หลังจากที่ปิดกล้อง หนูว่าได้อะไรมาเยอะมาก ในเนื้อเรื่องเราสนิทกับพ่อ แล้วตัวลินสนิทกับพ่อ แต่ตัวออกแบบสนิทกับแม่ (ยิ้ม) หนูได้การสนิทกับพ่อ จากการที่หนูสนิทกับป๊าเอก (ธเนศ วรากุลนุเคราะห์) ตอนนี้หนูเลยกล้าเล่นกับคุณพ่อมากขึ้น เพราะว่าคุณพ่อเขาจะสนิทกับพี่ 2 คน เพราะทำงานด้วยกัน นั่งเขียนงานทำงานด้วยกัน แต่หนูจะอยู่กับคุณแม่ตลอดเวลา เราก็เลยกล้าที่ไปคุยไปปรึกษากับคุณพ่อมากขึ้น เหมือนได้รับมาจากตัวลินด้วย ส่วนการทำงาน หนูว่ามันได้อยู่แล้วละ คือทุกคนได้มาหมดเลย เพราะเป็นหนังเรื่องแรกของทุกคนเหมือนกัน เราได้รู้เรื่องเกี่ยวกับการทำงานหนัง เกี่ยวกับเบื้องหลังเกือบทั้งหมด ว่ามันเป็นอะไร มันควรจะทำยังไง ซึ่งถ้าเราไปเล่นอีกเรื่องนึง เราควรทำตัวยังไง มันคือการที่นำตรงนี้ไปใช้ในอนาคตต่อได้”
ภาพรวมแย่แน่
หากยังมี “การโกง” เกิดขึ้น
ขึ้นชื่อว่า ‘การโกง’ หรือ ‘การทุจริต’ เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อยู่ในสังคมทุกระดับ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน แต่หากพูดถึงการโกงดังกล่าว แน่นอนว่าจะต้องมีสารพัดวิธีของการทุจริตเกิดขึ้นอยู่เสมอ และปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่หยั่งลึกฝังรากจนยากจะแก้ไขในสังคมไทย ซึ่งออกแบบก็ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างน่าสนใจว่า...
“หนูว่าเรื่องนี้มันก็มีทั้งผิดและมุมมองคนด้วยนะ คือเรื่องผิด มันผิดเรื่องศีลธรรม แล้วในมุมมองคน คือ อย่างเด็ก เขามองการโกงข้อสอบ เพื่อให้ได้เกรดให้พ่อแม่ อันนี้ก็จะโยงไปที่วัฒนธรรมการเรียนของไทย ที่เด็กเรียนหนักมากๆ จนกระทั่งเด็กไม่รับรู้แล้วว่า เนื้อหาจากสิ่งที่เรียนคืออะไร รับรู้แค่ว่าต้องเอาเกรด 4 ให้ได้ ซึ่งอันนี้หนูว่ามันผิดเหมือนกัน คือเราถูกสอนมาผิด ยัดความรู้จนเขาไม่ได้มองว่าความรู้คืออะไร รับรู้แค่ว่าเกรดที่ได้คืออะไร อันนี้มันน่าสนใจนะ หนูไม่รู้ว่าการโกงที่เกิดขึ้นมันทำให้ผู้ใหญ่หลายคนคิดหรือเปล่าว่า สิ่งที่กำลังเป็นปัญหากับตัวความคิดของเด็กๆ หลายๆคนในปัจจุบัน มันสะท้อนอะไรให้เขาเห็นบ้าง ว่าระบบการศึกษาที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก เขาเครียดมากแค่ไหน แล้วคุณควรปรับการเรียนการสอนมั้ย เพราะที่เป็นอยู่เป็นการกดดันตัวเด็กมาก อย่างตัวหนูเองก็เคยผ่านมาก่อน เรียนสายวิทย์คณิต เรียนพิเศษเยอะมาก เรียนตั้งแต่ 8 โมงเช้ายัน 2 ทุ่ม เรียนเป็นบ้าเป็นหลังเลย ซึ่งเราอัดอย่างงั้นเพื่อแข่งขัน แข่งขันเพื่อความคาดหวังที่บ้าน แล้วหลายคนก็ไม่ใช่ตัวของตัวเองด้วย ว่าอยากเป็นแพทย์ทั้งที่ตัวเองอยากจะเป็นมั้ย แล้วอะไรที่เขามีความสุขมากกว่า แล้วเขาทำแล้วเขาดีกว่า
“หนูว่ามันสะท้อนถึงความเครียด ถึงความกดดันในทุกวัย ในที่ผ่านมา แล้วก็สะท้อนถึงความคิดที่แบบ คุณได้ตัวเลขที่คุณต้องการ แต่คุณไม่ได้ความรู้กลับไป ซึ่งสิ่งที่เขาทำ เขารู้นะ แต่ที่หลายคนทำ จนกลายเป็น คุณทำได้ ผมก็ทำได้ ฉันก็ทำได้ มันจะเป็นอย่างงี้ แบบเพื่อนทำได้ ทำไมเราไม่ทำบ้าง มันเหมือนกับการชักจูงและปลูกฝังในทางที่ผิดๆ มากกว่า อันนี้ถือว่าอันตรายในสังคม และอนาคตมากเลยนะและสามารถประยุกต์ไปเป็นแบบอื่นได้ และคิดว่าระบบการศึกษาจะพังได้ เพราะความรู้ที่เด็กได้มาจะน้อย แล้วถ้าไปประกอบอาชีพ เขาเหล่านั้นอาจจะได้ความรู้ไม่เท่าแพทย์ยุคก่อนหน้านี้ที่เขาฝึกฝนอย่างจริงจังกับตำราหรือข้อมูลที่เขาได้รับ และจิตใจคนก็จะถูกกดต่ำลง แล้วคนก็จะมองแค่ผลลัพธ์ในปลายทาง ไม่ได้มองว่าในระหว่างทางนั้นเป็นยังไงบ้าง
“ค่อนข้างยากเหมือนกันนะ เพราะวัฒนธรรมนี้มันเกิดขึ้นมาตั้งนาน มันไม่ได้เกิดแค่รุ่นเรา มันเกิดมาตั้งนานแล้ว ซึ่งหนูคิดว่ามันควรจะเริ่มเปลี่ยนจากการเรียนการสอน การปลูกฝังเรื่องเกรด เรื่องคะแนน หรือผลลัพธ์ที่ได้รับ หนูว่ามันจะช่วยให้เด็กกดดันน้อยลง แล้วก็จะมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นในการเรียน หรือว่าในการที่จะรับรู้ ความรู้ มากกว่าที่จะมานั่งหาหนทางว่าทำยังไงให้เกรดเราดี ส่วนนอกจากนี้ เราไม่อยากไปดูที่บางคนว่าทำอะไร ไม่ทำอะไร คือแค่รู้สึกว่า เขารู้ตัวของเขาเองว่าเขาทำอะไรอยู่ อยู่ที่ว่า ผลลัพธ์ที่เขาได้รับ เขาภูมิใจกับมันมั้ย คุ้มค่ามั้ย เขาได้อะไรจากการเดินทางจากตรงนั้น หรือจงใจที่จะมองข้ามไป โดยที่ไม่มองกลับมาเลย หนูว่าตรงนี้เป็นจุดบอดที่คนไม่เคยกลับมาดู ไม่เคยคิดว่า ผลระยะยาวจากการกระทำตรงนี้ มันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งมันเป็นจุดพลาดของชีวิตเลยก็ได้”
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร
ขอขอบคุณ : ร้าน 1 of A Kind ถ. พระราม 9 ซ. 48 02-7183260, 087-4496666