การได้เล่นดนตรีร่วมกับพระองค์ท่านคือการประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตนักดนตรีและในฐานะประชาชน “อาจารย์วิรัช อยู่ถาวร” นักดนตรีอาชีพ อดีตวงสตริงร็อกซิลเวอร์แซนด์ ผู้เรียบเรียงประพันธ์ดนตรีและบทเพลงยอดฮิตของทุกยุคทุกสมัย เป็นปรมาจารย์ครูบาของคนดนตรีมีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย
ตลอดระยะเวลากว่าครึ่งชีวิตในวันวัย 74 ปี ชีวิตอีกด้านหนึ่งน้อยคนนักที่จะรู้ว่าเขาคือหนึ่งในขุนพลคนดนตรี ที่ได้ร่วมเล่นต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ร่วมแบ่งเบาผ่อนคลายความเครียดให้กับพ่อหลวงรัชกาลที่ 9
และในหน้าที่ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ “อาจารย์วิรัช อยู่ถาวร” ได้บันทึกเมโลดี้แห่งความทรงจำอันมีคุณค่ามากมายที่เกี่ยวกับพระองค์ท่าน ซึ่งเล่ากี่ครั้ง ก็ซึ้งใจทุกครา...
• อยากให้อาจารย์ช่วยเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการได้สนองงานพระองค์ท่านครับ
ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2522 ราวๆ 38 ปีที่แล้ว หลังจากผมเริ่มเล่นดนตรีอาชีพกับวงซิลเวอร์แซนด์ วงดนตรีสตริงวงแรกๆ ยุคเริ่มต้นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2506 - 2521 ผมได้เรียนรู้เรื่องศาสตร์ดนตรีเพิ่มเติม จากกีตาร์ ออกไปอีกหลากหลายแขนง ทั้งทรอมโบน คอร์เน็ต เปียโน ออร์แกน ฯลฯ เพราะต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่เคลื่อนไป ก็ทำให้มีโอกาสได้ทำงานเรียบเรียงเสียงประสาน งานเขียนเพลง เขียนดนตรี ทีนี้ตอนนั้นช่อง 3 ทุกวันอาทิตย์เลยนะ เขาจะมีรายการสด ระดมทุนหาเงินบริจาคช่วยเหลือ มีผู้หลักผู้ใหญ่ มีคนดังๆ มาร่วมร้องเพลงเพื่อรับบริจาค ผมก็ได้ไปร่วมเล่น คือพูดง่ายๆ ว่ารับจ๊อบ พอเสร็จแล้วกลางคืนเราก็ไปเล่นดนตรีในวงของเรา ก็เล่นไปเรื่อยๆ ในตำแหน่งมือทรอมโบน แล้วก็อย่างที่บอก เราเรียนเสริมเพิ่มเติมเรื่อยๆ จากนักดนตรี เราก็ขยับมาช่วยเรียบเรียงดนตรีบ้าง เรียบเรียงเสียงประสานบ้าง
ก่อนที่ทางช่องจะมีนโยบายเป็นที่แรกเลยว่า ละครของช่อง 3 ทุกเรื่องจะต้องมีเพลงไตเติลของละครเป็นเพลงใหม่ที่แต่งสำหรับเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะ ไม่ใช่ไปหยิบเพลงในตลาดไปใช้ เขาก็ให้โอกาสผมแต่งเพลง เรื่องแรกคือเรื่อง ‘จิตไม่ว่าง’ เป็นละครเสียดสีสังคม แล้วบังเอิญปีนั้น สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยมีการจัดรายการเมขลาเป็นปีแรก มอบรางวัลให้นักแสดงและดนตรีประกอบ เราก็ได้เลย จากนั้นมาก็ให้ผมเป็นคนจัดการหมด ก็แต่งเองบ้าง แจกจ่ายคนอื่นบ้าง เพลงที่เป็นที่รู้จักก็เช่นเพลง “แต่ปางก่อน”, “ปริศนา”, “สัญญาใจ” (เพลงประกอบละครเรื่องแม่นาคพระโขนง)
ยุคนั้น องค์กรการกุศลและมูลนิธิต่างๆ นิยมจัดรายการดนตรีการกุศลถ่ายทอดสดผ่านทางช่อง 3 เพื่อขอรับบริจาคเงิน หนึ่งในนั้นคือชมรมรวมใจภักดิ์ ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็นองค์ประธาน จุดนี้ทำให้ผมมีโอกาสเข้าไปถวายงานด้านดนตรีให้กับพระบรมวงศานุวงศ์ และเมื่อชมรมรวมใจภักดิ์ จัดรายการการกุศล ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงจุฬาภรณฯ หรือทูลกระหม่อมเล็กก็จะทรงขับร้องเพลงในรายการด้วย ท่านก็โปรดเรื่องร้องเพลงอยู่แล้ว ผมในฐานะผู้ควบคุมวง ก็ไปถวายการซ้อมให้กับท่าน ท่านจะร้องเพลงอะไร เราก็จะจัดวงไป เป็นวงเล็กๆ ไป เครื่องดนตรี 4-5 ชิ้น เพื่อจะได้ทราบว่าจะทรงเพลงอะไร จะใช้โน้ตไหน คีย์อะไร แล้วกลับมาเรียบเรียงเสียงประสานให้กับวงใหญ่ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีของเราที่ทูลกระหม่อมเล็กทรงโปรดวงของเรา ถึงขนาดออกจากวง “สามสมร” ที่เป็นพระสหายท่านวงเดิมที่พระองค์ท่านขับร้องอยู่ ด้วยความที่เราเล่นเป็นอาชีพ เสียงอะไรเราจะเชี่ยวชาญกว่า ท่านก็โปรด จากนั้น เวลาท่านจะไปร้องเพลงที่ไหน ก็จะหอบหิ้วเราไปแทน ก็ไปเล่นตามพระองค์ท่านเรื่อยมา ไม่ว่าท่านจะไปร้องที่ไหน
ครั้งแรกคือที่ภาคใต้ มีโอกาสได้ตามเสด็จฯ แปรพระราชฐานตามภาคต่างๆ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพราะในช่วงนั้นเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปยังภาคต่างๆ เป็นประจำ เพื่อเยี่ยมราษฎรและดูแลความคืบหน้าของโครงการส่วนพระองค์ เมื่อจบพระราชภารกิจ ก่อนจะเสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ พระองค์จะพระราชทานงานเลี้ยงแก่ข้าราชการ ทหารและตำรวจที่มาถวายงานเป็นเดือนๆ ถ้าทูลกระหม่อมเล็กจะทรงขับร้องเพลงและรับสั่งให้เราไปเล่นดนตรีถวาย ผมก็เดินทางไปเล่นทุกครั้งไป
พูดง่ายๆ ว่าเดินสายตามทูลกระหม่อมเล็กท่านไป เวลาในวังมีงานอะไร ก็จะให้วงพวกเราเข้าไปเล่น ไม่ว่าจะที่กรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ทั้งงานสำคัญๆ อย่างงานเฉลิมพระชนมพรรษาฯ งานฉลองราชาภิเษก หรืองานส่วนพระองค์ เช่น งานต้อนรับพระราชอาคันตุกะ งานปีใหม่ ผมก็ไปถวายการรับใช้ตกปีหนึ่งๆ ก็ราวๆ 3-4 ครั้งแล้วแต่งาน ซึ่งพวกเราทั้ง 6 คนก็พูดตรงกัน เรานี้มีบุญนะ ทุกคนก็มีความรู้สึกเหมือนกัน ได้มาเล่นถวาย มีบุญที่ได้ใกล้ชิดแบบนี้ ทุกคนก็มีความรู้สึกเหมือนกันตรงกัน ยิ่งหลังจากนั้นได้ร่วมเล่นกับพระองค์ท่านฯ นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตของนักดนตรี
• ทราบมาว่าพระองค์ท่านก็มีวงประจำของพระองค์ท่านคือวง อ.ส.วันศุกร์ แล้วอาจารย์เข้าไปร่วมเล่นกับพระองค์ท่านได้อย่างไรครับ
คือแรกๆ เราไปเล่นบนเวทีตอนพระองค์ท่านเสวยอยู่ เราก็เล่น ร้องถวายบรรเลงบ้างร้องบ้าง พอพระองค์ท่านเสวยเสร็จ พักอิริยาบถเรียบร้อย พวกผมเล่นเสร็จ เก็บข้าวของเพื่อรับเสด็จเพราะถึงคิวพระองค์ท่านมาเล่นกับวง อ.ส.วันศุกร์ ของท่าน ท่านก็จะเล่นทุกงาน ไม่ว่างานไหนท่านก็จะพกเอาวง อ.ส.วันศุกร์ มาเล่นด้วย นั่นคือหน้าที่หลักๆ ของวงเรา
กระทั่งงานหมั้นทูลกระหม่อมเล็กมีการเลี้ยงฉลองที่พระตำหนักในสวนจิตรลดา เราก็ไปเล่นถวายพระองค์ท่านก็เหมือนเดิม เรามีหน้าที่เล่นก็เล่นไป พระองค์ท่านก็เสวย แต่ครั้งนี้เป็นห้องเล็กๆ แขกไม่เยอะนัก ได้ใกล้ชิดพระองค์ท่านที่สุดแล้ว และก็ที่สุดจริงๆ เพราะหลังจากพระองค์ท่านเสวยเสร็จแล้ว พระองค์ท่านก็หายไปสักครู่หนึ่ง เราก็สังเกตเห็นแล้วว่าเป็นปกติ เข้าห้องสรง
แต่ปรากฏว่าท่านมาปรากฏอีกที ท่านนำแซกโซโฟนเป่าเดินออกมาในขณะที่เราเล่น ท่านเป่าออกมาเลย ใส่มาเลย เรารู้สึกว่าเสียงแซกโซโฟนของพระองค์ท่านเราประทับใจมาก เพราะเสียงไม่เหมือนแซกโซโฟนของนักดนตรีอื่นๆ ที่เราเคยได้ยิน ความเด็ดขาดของน้ำเสียงพุ่งออกมาเลย เสียงพุ่งออกมา เด็ดขาดมาก ผมน้ำตาไหลเลย นั่นคือครั้งแรกที่ท่านทรงร่วมกับเรา เรา โอ้โหมาก…อะไรกันเนี่ย เรามีบุญขนาดนี้ พระองค์ท่านมาเล่นกับเรา มีความภูมิใจที่สุด ผมคิดว่าการที่ได้ร่วมเล่นกับพระองค์ท่านเป็นความสำเร็จในชีวิตนักดนตรีของผมมากที่สุดแล้ว
จากนั้นมา พอมีงานแบบนี้ พอวง อ.ส.วันศุกร์ ขึ้นเล่น จากที่เราหมดหน้าที่แล้ว แต่เราก็สังเกตว่าวง อ.ส.วันศุกร์ ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ เป็นหมอบ้าง เป็นข้าราชการบ้าง บางคนก็ติดงาน หรือไม่ก็เจ็บป่วย คืออายุก็เยอะๆ กันแล้ว เครื่องดนตรีก็ไม่ค่อยครบ แซกโซโฟนมีแค่ 2 เครื่อง หนึ่งในนั้นคือพระองค์ท่าน เราก็เลยบอกกับเพื่อนวงไปช่วยเล่นให้พระองค์ท่านดีกว่า พอเราเก็บของเราเสร็จ หลังจากเปียโนถวาย ก็พกเอาทรอมโบนไปด้วย ก็เอาขึ้นไปเป่า เพื่อนก็เอาไปช่วยกัน
• พระองค์ท่านรับสั่งอย่างไรบ้างหรือไม่ หลังจากเข้ามาร่วมเล่นกับทางวง อ.ส.วันศุกร์
พระองค์ท่านไม่ได้ตรัสอะไร ท่านรับสั่งว่า “พวกนี้เขามาช่วยราชการ” คือท่านพูดกับวง อ.ส.วันศุกร์ เหมือนกับวง อ.ส.วันศุกร์ เป็นวงประจำของท่านอยู่ ก็เหมือนกับเป็นการอยู่ในหน้าที่ เราไม่ใช่ เราอยู่ข้างนอก เป็นคนนอก แต่มีครั้งหนึ่งแรกๆ พวกโน้ตเพลงแจ๊ส จะมีบางช่วงที่เครื่องดนตรีเล่นอิมโพรไวส์ แซกโซโฟนพระองค์ท่านอิมโพรไวส์ ส่วนทรัมเป็ตก็อาจารย์หม่อม (พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช) ท่านก็เล่น พอมาทรอมโบนก็อาจารย์หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ซึ่งปกติจะเป็นหน้าที่เขา เขาก็ยุให้เราเล่นแทน เราก็โซโลเลย พระองค์ท่านก็หันมามอง เพราะเสียงมันไม่คุ้น คงแปลกหู วินาทีนั้นก็เสียววาบเหมือนกัน แต่เราก็ระมัดระวังเรื่องความถูกต้องของดนตรีอยู่แล้ว ก็ผ่านไปได้
แต่ที่เสียววาบกว่านั้นคือ หลังจากที่ร่วมเล่นกับพระองค์ท่านมีการผิดพลาดทางด้านเทคนิค คือเคยไปเล่นถวายที่ใต้ ก็จะมีคนร้องถวายเพลงพระราชนิพนธ์ เราก็มีโน้ตเพลงหนังสือพระราชนิพนธ์ เราก็เล่น ทีนี้คนร้องเขาร้องอีกคีย์หนึ่ง ไม่ใช่คีย์ตามโน้ตหนังสือ โน้ตคีย์ C แต่เขาร้องคีย์ F ฉะนั้นอันไหนเขา คีย์ C เราก็ต้องคีย์ F และถ้าโน้ตต่อไปเป็น F ก็ต้องเปลี่ยนเป็น Bb ต้องทด มันก็ไม่ทัน คอร์ดก็ผิดๆ ถูกๆ ไป ท่านก็เดินมาหาแล้วบอกว่า “เป็นไง…งงคอร์ดหรือ” แล้วพระองค์ท่านก็มาเล่นเครื่องเฟนเดอร์โหลด เปียโนไฟฟ้าตัวนั้น ซึ่งหลังจากหายตระหนก ก็เอากลับมาปิดทองเก็บไว้เลยตัวนั้น
ประทับใจสุดคือพระเมตตาของพระองค์ท่าน บางครั้งท่านไม่ต้องแสดงอะไร ไม่ต้องรับสั่งอะไร แต่เราก็สามารถสังเกตได้จากแววพระเนตร คือมันมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมจำได้ติดตา ท่านเสด็จฯ ไปที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่พระราชวังบางปะอิน ก็จะมีงานเลี้ยงอย่างนี้ ผมตอนนั้นตามเสด็จทูลกระหม่อมเล็กบ่อยมาก เพราะทรงร้องเพลง บันทึกเสียง มีงานเป็นเทปซีดี ผมทำดนตรีถวายท่านตลอด แม้แต่ไปบันทึกต่างประเทศ ไปประเทศญี่ปุ่นก็ไปตลอด ทุกครั้งที่มีงานเกี่ยวกับด้านดนตรีต้องให้ผมไปถวายอยู่แล้ว แล้วเวลาที่พระองค์ท่านไป ทูลกระหม่อมเล็กก็จะไปด้วย ก็ตามเสด็จขบวนเสด็จเลย ไปที่บางปะอิน ผมไปปุ๊บ พอในหลวงเสด็จฯ เข้ามาเพื่อจะประทับในงาน เราก็ต้องไปยืนรับเสด็จก่อน ท่านมองมาที่ผมเพราะเห็นว่าผมไป
คือตอนนั้นเราถวายเล่นกับท่านหลายครั้งแล้วจนคุ้นหน้ากันแล้ว พอเห็นหน้าผมท่านไม่ต้องอะไร ท่านเลิกพระขนงแล้วก็ยิ้มน้อยๆ คือเราตีความได้ว่า มาเหมือนกันหรือ ฉะนั้น สายพระเนตรท่าน ท่านมีพระเมตตาให้เรามาก และรวมไปถึงประชาชนพสกนิกรทุกคน สีหน้าแววตาที่มองไปยังประชาชนของท่านก็รูปแบบเดียวกัน ท่านมีพระเมตตาจริงๆ ทุกคน ไม่ใช่แค่เราเท่านั้น ก็จะเห็นเรื่องเล่าหลายๆ เรื่อง ตาสีตาสา พูดไม่ถูกบ้างผิดบ้าง จะเห็นว่าท่านล้อแซวประชาชนของพระองค์ท่าน ก็แสดงถึงความเมตตา ไม่ถือพระองค์
อีกครั้งก็ที่สวนจิตรลดา เราเล่นๆ ดนตรีอยู่ ก็มีแขกของสมเด็จฯ เป็นฝรั่งจะมาร้องเพลง The Sound of Music เราก็ไม่ค่อยได้เล่นเพลงนี้เท่าไหร่ รู้จักแต่ไม่ค่อยได้เล่น ฝรั่งก็มาร้อง เราก็เล่นเปียโน ในหลวงท่านก็ทรงแซกโซโฟน ทีนี้พอถึงท่อนที่สอง เราจำไม่ได้ว่าท่อนต่อๆ ไปเป็นอย่างไร ผมก็พาเขาเข้ารกพง คนร้องก็เงอะงะๆ หันมาหาเรา ในหลวงก็ทรงชี้มาทางผม แล้วตรัสว่า “คนนี้เขาพาเราผิด” แล้วพระองค์ท่านพระพักตร์แบบหน้าตายตามลักษณะพระอารมณ์ขันพระองค์ท่านอยู่แล้ว แต่เราก็ยังเสียววาบอยู่ดี แต่พอเล่นเสร็จ พระองค์ท่านก็หันมาตรัสว่า ‘ขอบใจนะ’ ซึ่งเป็นปกติประจำทุกครั้งที่เล่นเสร็จ ท่านจะตรัสว่า ‘ขอบใจนะ’ หรือไม่ก็ชักชวนคุยเรื่องดนตรี ท่านหม่อมประพันธ์ สนิทวงศ์ ที่ว่าเล่นทรอมโบน พอพระองค์ท่านเสด็จกลับแล้ว ยังพูดในกลุ่มเลยว่า ในหลวงมาขอบใจ ไปซื้อล็อตเตอรี่เลย แต่จะตีเป็นเลขอะไร เพราะมันคือความมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่หาอะไรเปรียบไม่ได้บนโลกนี้
เหนืออื่นใด นักดนตรีฝรั่งระดับโลกแทบทุกคนต่างเห็นพ้อง “ถ้าพระองค์ท่านไม่ได้เป็นกษัตริย์ พระองค์ท่านสามารถเป็นผู้นำวงดนตรีระดับโลกเลย” เพราะพระองค์ท่านจดจำโน้ตได้ทุกเพลง แล้วก็คุณภาพเสียงในการเล่นของพระองค์ท่านอย่างที่บอก พระองค์ท่านเคยเล่นกับวงที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศทุกครั้งที่วงนั้นๆ เข้ามาเล่นถวาย ท่านก็ทรงด้วย ทุกคนยอมรับหมดเลย เบนนี่ กู๊ดแมน นักเป่าแซกโซโฟนระดับโลกฉายาราชาสวิงแจ๊ส วงบิ๊กๆ ระดับโลก ท่านสามารถร่วมได้ทุกวงโดยที่ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเลย ฝรั่งก็ชมเปาะ
อีกเรื่องที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพ คือเรื่องการแต่งเพลง ความเป็นนักแต่งเพลง ท่านเป็นนักแต่งเพลงที่เข้าใจดนตรีทุกประเภท ท่านแต่งเพลงลักษณะแจ๊สออกมาก็เป็นแจ๊ส ละตินก็ฟังออกมาเป็นละติน อย่างเช่น เพลงพระมหามงคล เพลงหนึ่งมีสองจังหวะ มีแทงโก้ กับกัวราช่า เป็นแนวออกมาดนตรีจากละตินอเมริกาเลย ที่ท่านแต่งให้วงสุนทราภรณ์ เพราะครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นพระครูพระองค์ท่าน เพลงมาร์ชท่านสง่างามเหมือนกับนักแต่งเพลงมาร์ชระดับโลกจริงๆ เพลงสไตล์ฮาวาย ‘เพลงเกาะในฝัน’ หรือแนวคลาสสิกอย่างเช่นเพลง ‘Kinari Suite’ ที่ใช้ประกอบบัลเลต์ ดนตรีออกมาก็คือเป็นดนตรีจากนครแห่งเสียงดนตรีประเทศเวียนนาเลย
คือนอกจากทำให้เหมือนได้ กลิ่นอายอะไรต่างๆ ลึกซึ้งและถึงต้นตอ แนวเพลงบลูส์ บลูส์โน้ตนั้นอยู่ในดนตรีแจ๊สอยู่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของดนตรีแจ๊ส คือเมื่อก่อนนี้เพลงไทยเรามักจะใช้โน้ตกันอยู่ 5 ตัว ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า วนเวียนใน 5 ตัวนี้ เรียงลำดับสูงต่ำกันไป ทีนี้ เนื่องจากพระองค์ท่านใช้ชีวิตในวัยเยาว์ที่ต่างประเทศ เกิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พระองค์ท่านจึงอาจจะคุ้นเคยโดยเฉพาะตอนที่ประสูติ ซึ่งผมเข้าใจว่าท่านคงซึมซับอะไรมาจากอเมริกา เพราะเพลงบลูส์มันเกิดในอเมริกา เวลาท่านมาแต่งเพลงก็เลยจะมีพวกโน้ตบลูส์ติดมาเยอะ เช่นยามเย็น ดนตรีขึ้นต้นบลูส์โน้ตแล้ว ในบลูส์จริงๆ เลยก็คือเพลงชะตาชีวิตอันนั้นทั้งโน้ตบลูส์โน้ต ทั้งฟอร์มของเพลงนั้นคือบลูส์ชัดๆ ฉะนั้น เพลงนี้เวลาไปเล่นกับเพลงบลูส์ที่ไหน ไปเล่นกับเขาได้หมดเลย เข้าได้หมด เพราะอยู่ในฟอร์มของบลูส์เป๊ะๆ ซึ่งไม่ใช่จะแต่งกันง่ายๆ
เพลงบลูส์มันจะมีกรอบของมันอยู่ ถ้ามันอยู่ในกรอบเพลงบลูส์อะไรก็เล่นอย่างนี้ด้วยกันได้หมด แล้วบลูส์โน้ตที่ในหูคนไทยไม่เคยได้ยิน สเกลดนตรีไทยไม่มีโน้ตพวกนี้ คนแต่งเพลงก็ไม่เคยใช้โน้ตพวกนี้ พอพระองค์ท่านมาแต่งปุ๊บคนก็แปลกใจ โน้ตอะไร ขนาดครูเอื้อยังบอกเลยว่า โน้ตมันทะแม่งๆ นะพะย่ะค่ะ ก็บลูส์โน้ตเนี่ยล่ะ ท่านก็บอกว่า เคยรับสั่งว่าก็แม้แต่คนที่เป็นครูท่านอีกคน พระเจนดุริยางค์ ท่านเป็นนักดนตรีคลาสสิกจ๋าเลย บลูส์โน้ตไม่รับ แต่ท่านก็เคยเล่าว่าเคยรับสั่งให้อาจารย์พระเจนฯ ว่า มันเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศเขาแล้วนะ อะไรที่ได้รับการยอมรับ เราก็เอามาใช้ได้ ก็ทรงมีเกลี้ยกล่อม
• แล้วในส่วนของอาจารย์พระองค์ท่านทรงมีเสริมเพิ่มเติมความสามารถของเราบ้างหรือไม่
สำหรับผม พระองค์ก็ทรงสอนและแนะนำบ้าง แต่ด้วยความที่ผมเป็นนักดนตรีรุ่นใหม่ในสมัยนั้น เล่นเพลงฝรั่งก็รู้จักกับบลูส์ เราก็จะรู้จักเพลงพวกนี้อยู่แล้ว แต่เรารู้ว่าเพลงพระองค์ท่านยาก เนื่องจากผมเคยผ่านการประกวด ซึ่งผู้จัดประกวดก็ต้องบังคับว่าต้องมีเพลงพระราชนิพนธ์หนึ่งเพลง เราก็รู้แล้วว่ามันยากแค่ไหน เพราะเมื่อเป็นโน้ตที่แตกต่าง คอร์ดที่เล่นก็ต้องไม่ใช่คอร์ดธรรมดา แม้เราจะเคยฟัง เคยเล่นวงดนตรีสากลแต่พอมาเล่นแนวนี้ เจอคอร์ด G7#9 คอร์ด 13 โอ้โห…เราไม่เคยเล่น ก็ยาก แต่พระองค์ท่านสบายเลย
นั่นคือพระอัจฉริยภาพพระองค์ท่าน ทีนี้ เมื่อนำมารวมกับภาษาสำบัดสำนวนของพระองค์ท่าน เป็นกลอน กวี ลึกซึ้งและโรแมนติกมาก เพลงที่ท่านทรงแต่งเองทั้งเนื้อร้องและดนตรีเป็นภาษาอังกฤษ ที่มีเพียง 5 เพลงเท่านั้น จะเห็นว่า 5 เพลงนั้นเป็นเพลงยุคเดียวกันหมดเลย เรียงกันเลย มีเพลง Still on my mind (ในดวงใจนิรันดร์) , No Moon (ไร้จันทร์) ,Dream island (เกาะในฝัน) ,Echo (แว่ว) และเพลง Old Fashioned Melody (เตือนใจ)
จะเห็นว่าเราก็พอเดายุคสมัยได้ สมัยนั้นท่านคงอินเลิฟ เพราะเพลงท่านโรแมนติกมาก อย่าง “ในดวงใจนิรันดร์” หรือ “ไร้จันทร์” ฟังเหมือนมันเป็นคืนที่มืดมัว หรือเปล่า เพราะไม่มีแสงจันทร์ แต่ในเนื้อเพลงไม่มีแสงจันทร์ ไม่มีดวงดาวไม่เป็นไร เพราะฉันมีดวงตาของเธออยู่แล้ว คือเรื่องอัจฉริยภาพเป็นที่ตระหนักดีอยู่แล้ว อย่าง ดุค เอลลิงตัน มาร์คัส มิลเลอร์ เป็นหัวหน้าวงที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งในความรู้สึกของผมท่านเทียบได้เลย
แต่เรื่องที่เราระลึกถึงพระองค์ท่านตลอดเวลาจนกระทั่งมาถึง ณ ตอนนี้ คือเรื่องความมีพระเมตตาของพระองค์ท่าน ผมจำภาพได้ติดตาทุกภาพที่ท่านมีรับสั่งกับเรา มาพูดเล่นๆ กับเรา แหย่เราเล่นบ้าง ความรู้สึกนั้น หากใครนึกไม่ออก ให้ลองดูภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ท่านมีความสุขมากเวลาทรงดนตรี เวลาที่ท่านทรงดนตรีถือว่าเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดของพระองค์ ท่านประทับที่พระราชวังไกลกังวล พระองค์ท่านทรงเป่าแซกโซโฟน แล้วก็พานักดนตรีเป่าตามเดินลุยทะเล นั่นแหละ ท่านเป็นคนสนุก วิญญาณของท่านก็คือนักดนตรีเลย
• จากที่อาจารย์วิรัชได้ติดตามถวายงาน มีเรื่องไหนที่ประทับใจมากเป็นพิเศษไหมครับ
ที่จังหวัดเชียงใหม่ วันนั้นเป็นงานเลี้ยงส่วนพระองค์เล็กๆ ที่จัดบนเขาที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ก่อนเสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ ช่วงกลางคืน บนเขาลมจะแรง และมีน้ำค้างลงหนา พระองค์ท่านก็รับสั่งบอกให้ข้าราชบริพารว่าให้เอาร่มมากางให้เปียโนหน่อย ท่านกลัวว่าน้ำค้างมันจะลง เครื่องเปียโนจะเสีย แล้วท่านก็รับสั่งว่าเอามากางให้เปียโนนะ ไม่ได้กางให้คน คนน่ะมีผมอยู่แล้ว กางให้เครื่องดนตรี แต่ทีนี้ ร่มที่กางมันเป็นกระบอกเหล็กแล้วเอาร่มสวมลงไปเฉยๆ เวลาลมพัดมันก็ดึงขึ้นมาจากกระบอก ผมก็กลัวว่าก้านจะล้มใส่ เพราะพระองค์ท่านประทับอยู่ตรงใกล้ๆ จังหวะที่ลมพัดเสย ผมก็เลยจับก้านร่มแล้วจับส่งไปข้างหลัง ลมพัดก็ช่วยให้แรงไป ร่มก็ปลิวลงเนิน แล้วท่านก็มาเก็บกระดาษโน้ตให้ ทั้งๆ ที่จะให้ใครเก็บก็ได้
แต่มันมีช็อตหนึ่งที่ผมไม่เคยเล่าที่ไหน เป็นสิ่งที่ซาบซึ้งที่สุด วันนั้นเป็นวันปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คืนวันที่ 31 ธันวาคม เราก็ไปเล่นถวายพระองค์ท่านในพระบรมมหาราชวัง เป็นงานกลางแจ้งเหมือนเคย แขกเหรื่อก็คือคนทำงานในวัง ไม่มีคนอื่น นอกจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พอถึงเที่ยงคืนปุ๊บ ข้าราชบริพารก็จัดพระเก้าอี้ให้พระองค์ท่านประทับนั่ง แล้วทุกคนก็นั่งคุกเข่าเรียงกันมากราบพระบาทอวยพรปีใหม่ ผมก็นั่งหันหลังให้ท่าน ท่านอยู่ข้างหลังเล่นเปียโนบรรเลงเพลงพรปีใหม่วนไปเรื่อยๆ
ทีนี้ระหว่างนั้น ผมก็เล่นเพลงพรปีใหม่ของพระองค์ท่าน ถ้าผมนั่งมันจะเท่ากับพระองค์ท่าน ผมก็คิดว่าไม่สมควร เพราะอยู่ไม่ไกลกันนัก ผมก็เอาเก้าอี้เปียโนออก แล้วผมก็นั่งคุกเข่าเล่น เหมือนลิงเล่น ก็เล่นจนกระทั่งข้าราชบริพารคนสุดท้ายกราบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็ยังไม่รู้เพราะหันหลังเล่น พระองค์ท่านก็คงหันมาเห็นว่ามันเหมือนลิงเล่นอะไรสักอย่าง ท่านก็ยกเก้าอี้มาให้เรานั่ง อันนี้คือที่จำไม่ลืม
แม้วันนี้ที่ไม่มีพระองค์ท่านแล้ว แต่สิ่งที่พระองค์ท่านทำไว้ให้ประชาชนพี่น้องชาวไทยยังคงดำเนินอยู่ ก็มีหลายคนพยายามที่จะเอาเพลงของท่านไปทำแนวของตัวเอง พูดง่ายๆ ผมก็มีแนวของผมอยู่ ผมอยากเล่นแนวนี้ ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงคอร์ดบ้างอะไรบ้าง แต่ในความรู้สึกผมและอีกหลายคน เห็นตรงกันว่าเราน่าจะรักษาต้นแบบของพระองค์ท่านเอาไว้ ไม่ควรที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะท่านอุตส่าห์ทำมาแล้ว ใส่คอร์ดมาด้วยพระองค์เอง วางทุกอย่าง เป็นเพลงที่เพราะมากๆ ไม่น่าจะไปเปลี่ยนแปลง เพลงอื่นๆ ตันฉบับที่เราชอบ เรายังอยากเล่นให้เหมือน ผมก็อยากให้รักษา ไม่อยากให้มันผิดเพี้ยนไป เพราะว่ามันเป็นเพลงที่ดีอยู่แล้ว มีคุณค่า ควรจะเอาเป็นต้นแบบศึกษา แล้วเอาไปต่อยอด เอาไปแตกแขนงเอาเอง อย่างที่พระองค์ท่านเป็นต้นแบบ ทรงทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง แล้วเราที่เป็นประชาชน ดูแล้วไปแตกแขนงตามความถนัดของเรา ดนตรีก็เหมือนกัน
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ปัญญาพัฒน์ เข็มราช
ตลอดระยะเวลากว่าครึ่งชีวิตในวันวัย 74 ปี ชีวิตอีกด้านหนึ่งน้อยคนนักที่จะรู้ว่าเขาคือหนึ่งในขุนพลคนดนตรี ที่ได้ร่วมเล่นต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ร่วมแบ่งเบาผ่อนคลายความเครียดให้กับพ่อหลวงรัชกาลที่ 9
และในหน้าที่ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ “อาจารย์วิรัช อยู่ถาวร” ได้บันทึกเมโลดี้แห่งความทรงจำอันมีคุณค่ามากมายที่เกี่ยวกับพระองค์ท่าน ซึ่งเล่ากี่ครั้ง ก็ซึ้งใจทุกครา...
• อยากให้อาจารย์ช่วยเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการได้สนองงานพระองค์ท่านครับ
ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2522 ราวๆ 38 ปีที่แล้ว หลังจากผมเริ่มเล่นดนตรีอาชีพกับวงซิลเวอร์แซนด์ วงดนตรีสตริงวงแรกๆ ยุคเริ่มต้นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2506 - 2521 ผมได้เรียนรู้เรื่องศาสตร์ดนตรีเพิ่มเติม จากกีตาร์ ออกไปอีกหลากหลายแขนง ทั้งทรอมโบน คอร์เน็ต เปียโน ออร์แกน ฯลฯ เพราะต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่เคลื่อนไป ก็ทำให้มีโอกาสได้ทำงานเรียบเรียงเสียงประสาน งานเขียนเพลง เขียนดนตรี ทีนี้ตอนนั้นช่อง 3 ทุกวันอาทิตย์เลยนะ เขาจะมีรายการสด ระดมทุนหาเงินบริจาคช่วยเหลือ มีผู้หลักผู้ใหญ่ มีคนดังๆ มาร่วมร้องเพลงเพื่อรับบริจาค ผมก็ได้ไปร่วมเล่น คือพูดง่ายๆ ว่ารับจ๊อบ พอเสร็จแล้วกลางคืนเราก็ไปเล่นดนตรีในวงของเรา ก็เล่นไปเรื่อยๆ ในตำแหน่งมือทรอมโบน แล้วก็อย่างที่บอก เราเรียนเสริมเพิ่มเติมเรื่อยๆ จากนักดนตรี เราก็ขยับมาช่วยเรียบเรียงดนตรีบ้าง เรียบเรียงเสียงประสานบ้าง
ก่อนที่ทางช่องจะมีนโยบายเป็นที่แรกเลยว่า ละครของช่อง 3 ทุกเรื่องจะต้องมีเพลงไตเติลของละครเป็นเพลงใหม่ที่แต่งสำหรับเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะ ไม่ใช่ไปหยิบเพลงในตลาดไปใช้ เขาก็ให้โอกาสผมแต่งเพลง เรื่องแรกคือเรื่อง ‘จิตไม่ว่าง’ เป็นละครเสียดสีสังคม แล้วบังเอิญปีนั้น สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยมีการจัดรายการเมขลาเป็นปีแรก มอบรางวัลให้นักแสดงและดนตรีประกอบ เราก็ได้เลย จากนั้นมาก็ให้ผมเป็นคนจัดการหมด ก็แต่งเองบ้าง แจกจ่ายคนอื่นบ้าง เพลงที่เป็นที่รู้จักก็เช่นเพลง “แต่ปางก่อน”, “ปริศนา”, “สัญญาใจ” (เพลงประกอบละครเรื่องแม่นาคพระโขนง)
ยุคนั้น องค์กรการกุศลและมูลนิธิต่างๆ นิยมจัดรายการดนตรีการกุศลถ่ายทอดสดผ่านทางช่อง 3 เพื่อขอรับบริจาคเงิน หนึ่งในนั้นคือชมรมรวมใจภักดิ์ ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็นองค์ประธาน จุดนี้ทำให้ผมมีโอกาสเข้าไปถวายงานด้านดนตรีให้กับพระบรมวงศานุวงศ์ และเมื่อชมรมรวมใจภักดิ์ จัดรายการการกุศล ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงจุฬาภรณฯ หรือทูลกระหม่อมเล็กก็จะทรงขับร้องเพลงในรายการด้วย ท่านก็โปรดเรื่องร้องเพลงอยู่แล้ว ผมในฐานะผู้ควบคุมวง ก็ไปถวายการซ้อมให้กับท่าน ท่านจะร้องเพลงอะไร เราก็จะจัดวงไป เป็นวงเล็กๆ ไป เครื่องดนตรี 4-5 ชิ้น เพื่อจะได้ทราบว่าจะทรงเพลงอะไร จะใช้โน้ตไหน คีย์อะไร แล้วกลับมาเรียบเรียงเสียงประสานให้กับวงใหญ่ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีของเราที่ทูลกระหม่อมเล็กทรงโปรดวงของเรา ถึงขนาดออกจากวง “สามสมร” ที่เป็นพระสหายท่านวงเดิมที่พระองค์ท่านขับร้องอยู่ ด้วยความที่เราเล่นเป็นอาชีพ เสียงอะไรเราจะเชี่ยวชาญกว่า ท่านก็โปรด จากนั้น เวลาท่านจะไปร้องเพลงที่ไหน ก็จะหอบหิ้วเราไปแทน ก็ไปเล่นตามพระองค์ท่านเรื่อยมา ไม่ว่าท่านจะไปร้องที่ไหน
ครั้งแรกคือที่ภาคใต้ มีโอกาสได้ตามเสด็จฯ แปรพระราชฐานตามภาคต่างๆ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพราะในช่วงนั้นเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปยังภาคต่างๆ เป็นประจำ เพื่อเยี่ยมราษฎรและดูแลความคืบหน้าของโครงการส่วนพระองค์ เมื่อจบพระราชภารกิจ ก่อนจะเสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ พระองค์จะพระราชทานงานเลี้ยงแก่ข้าราชการ ทหารและตำรวจที่มาถวายงานเป็นเดือนๆ ถ้าทูลกระหม่อมเล็กจะทรงขับร้องเพลงและรับสั่งให้เราไปเล่นดนตรีถวาย ผมก็เดินทางไปเล่นทุกครั้งไป
พูดง่ายๆ ว่าเดินสายตามทูลกระหม่อมเล็กท่านไป เวลาในวังมีงานอะไร ก็จะให้วงพวกเราเข้าไปเล่น ไม่ว่าจะที่กรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ทั้งงานสำคัญๆ อย่างงานเฉลิมพระชนมพรรษาฯ งานฉลองราชาภิเษก หรืองานส่วนพระองค์ เช่น งานต้อนรับพระราชอาคันตุกะ งานปีใหม่ ผมก็ไปถวายการรับใช้ตกปีหนึ่งๆ ก็ราวๆ 3-4 ครั้งแล้วแต่งาน ซึ่งพวกเราทั้ง 6 คนก็พูดตรงกัน เรานี้มีบุญนะ ทุกคนก็มีความรู้สึกเหมือนกัน ได้มาเล่นถวาย มีบุญที่ได้ใกล้ชิดแบบนี้ ทุกคนก็มีความรู้สึกเหมือนกันตรงกัน ยิ่งหลังจากนั้นได้ร่วมเล่นกับพระองค์ท่านฯ นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตของนักดนตรี
• ทราบมาว่าพระองค์ท่านก็มีวงประจำของพระองค์ท่านคือวง อ.ส.วันศุกร์ แล้วอาจารย์เข้าไปร่วมเล่นกับพระองค์ท่านได้อย่างไรครับ
คือแรกๆ เราไปเล่นบนเวทีตอนพระองค์ท่านเสวยอยู่ เราก็เล่น ร้องถวายบรรเลงบ้างร้องบ้าง พอพระองค์ท่านเสวยเสร็จ พักอิริยาบถเรียบร้อย พวกผมเล่นเสร็จ เก็บข้าวของเพื่อรับเสด็จเพราะถึงคิวพระองค์ท่านมาเล่นกับวง อ.ส.วันศุกร์ ของท่าน ท่านก็จะเล่นทุกงาน ไม่ว่างานไหนท่านก็จะพกเอาวง อ.ส.วันศุกร์ มาเล่นด้วย นั่นคือหน้าที่หลักๆ ของวงเรา
กระทั่งงานหมั้นทูลกระหม่อมเล็กมีการเลี้ยงฉลองที่พระตำหนักในสวนจิตรลดา เราก็ไปเล่นถวายพระองค์ท่านก็เหมือนเดิม เรามีหน้าที่เล่นก็เล่นไป พระองค์ท่านก็เสวย แต่ครั้งนี้เป็นห้องเล็กๆ แขกไม่เยอะนัก ได้ใกล้ชิดพระองค์ท่านที่สุดแล้ว และก็ที่สุดจริงๆ เพราะหลังจากพระองค์ท่านเสวยเสร็จแล้ว พระองค์ท่านก็หายไปสักครู่หนึ่ง เราก็สังเกตเห็นแล้วว่าเป็นปกติ เข้าห้องสรง
แต่ปรากฏว่าท่านมาปรากฏอีกที ท่านนำแซกโซโฟนเป่าเดินออกมาในขณะที่เราเล่น ท่านเป่าออกมาเลย ใส่มาเลย เรารู้สึกว่าเสียงแซกโซโฟนของพระองค์ท่านเราประทับใจมาก เพราะเสียงไม่เหมือนแซกโซโฟนของนักดนตรีอื่นๆ ที่เราเคยได้ยิน ความเด็ดขาดของน้ำเสียงพุ่งออกมาเลย เสียงพุ่งออกมา เด็ดขาดมาก ผมน้ำตาไหลเลย นั่นคือครั้งแรกที่ท่านทรงร่วมกับเรา เรา โอ้โหมาก…อะไรกันเนี่ย เรามีบุญขนาดนี้ พระองค์ท่านมาเล่นกับเรา มีความภูมิใจที่สุด ผมคิดว่าการที่ได้ร่วมเล่นกับพระองค์ท่านเป็นความสำเร็จในชีวิตนักดนตรีของผมมากที่สุดแล้ว
จากนั้นมา พอมีงานแบบนี้ พอวง อ.ส.วันศุกร์ ขึ้นเล่น จากที่เราหมดหน้าที่แล้ว แต่เราก็สังเกตว่าวง อ.ส.วันศุกร์ ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ เป็นหมอบ้าง เป็นข้าราชการบ้าง บางคนก็ติดงาน หรือไม่ก็เจ็บป่วย คืออายุก็เยอะๆ กันแล้ว เครื่องดนตรีก็ไม่ค่อยครบ แซกโซโฟนมีแค่ 2 เครื่อง หนึ่งในนั้นคือพระองค์ท่าน เราก็เลยบอกกับเพื่อนวงไปช่วยเล่นให้พระองค์ท่านดีกว่า พอเราเก็บของเราเสร็จ หลังจากเปียโนถวาย ก็พกเอาทรอมโบนไปด้วย ก็เอาขึ้นไปเป่า เพื่อนก็เอาไปช่วยกัน
• พระองค์ท่านรับสั่งอย่างไรบ้างหรือไม่ หลังจากเข้ามาร่วมเล่นกับทางวง อ.ส.วันศุกร์
พระองค์ท่านไม่ได้ตรัสอะไร ท่านรับสั่งว่า “พวกนี้เขามาช่วยราชการ” คือท่านพูดกับวง อ.ส.วันศุกร์ เหมือนกับวง อ.ส.วันศุกร์ เป็นวงประจำของท่านอยู่ ก็เหมือนกับเป็นการอยู่ในหน้าที่ เราไม่ใช่ เราอยู่ข้างนอก เป็นคนนอก แต่มีครั้งหนึ่งแรกๆ พวกโน้ตเพลงแจ๊ส จะมีบางช่วงที่เครื่องดนตรีเล่นอิมโพรไวส์ แซกโซโฟนพระองค์ท่านอิมโพรไวส์ ส่วนทรัมเป็ตก็อาจารย์หม่อม (พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช) ท่านก็เล่น พอมาทรอมโบนก็อาจารย์หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ซึ่งปกติจะเป็นหน้าที่เขา เขาก็ยุให้เราเล่นแทน เราก็โซโลเลย พระองค์ท่านก็หันมามอง เพราะเสียงมันไม่คุ้น คงแปลกหู วินาทีนั้นก็เสียววาบเหมือนกัน แต่เราก็ระมัดระวังเรื่องความถูกต้องของดนตรีอยู่แล้ว ก็ผ่านไปได้
แต่ที่เสียววาบกว่านั้นคือ หลังจากที่ร่วมเล่นกับพระองค์ท่านมีการผิดพลาดทางด้านเทคนิค คือเคยไปเล่นถวายที่ใต้ ก็จะมีคนร้องถวายเพลงพระราชนิพนธ์ เราก็มีโน้ตเพลงหนังสือพระราชนิพนธ์ เราก็เล่น ทีนี้คนร้องเขาร้องอีกคีย์หนึ่ง ไม่ใช่คีย์ตามโน้ตหนังสือ โน้ตคีย์ C แต่เขาร้องคีย์ F ฉะนั้นอันไหนเขา คีย์ C เราก็ต้องคีย์ F และถ้าโน้ตต่อไปเป็น F ก็ต้องเปลี่ยนเป็น Bb ต้องทด มันก็ไม่ทัน คอร์ดก็ผิดๆ ถูกๆ ไป ท่านก็เดินมาหาแล้วบอกว่า “เป็นไง…งงคอร์ดหรือ” แล้วพระองค์ท่านก็มาเล่นเครื่องเฟนเดอร์โหลด เปียโนไฟฟ้าตัวนั้น ซึ่งหลังจากหายตระหนก ก็เอากลับมาปิดทองเก็บไว้เลยตัวนั้น
ประทับใจสุดคือพระเมตตาของพระองค์ท่าน บางครั้งท่านไม่ต้องแสดงอะไร ไม่ต้องรับสั่งอะไร แต่เราก็สามารถสังเกตได้จากแววพระเนตร คือมันมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมจำได้ติดตา ท่านเสด็จฯ ไปที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่พระราชวังบางปะอิน ก็จะมีงานเลี้ยงอย่างนี้ ผมตอนนั้นตามเสด็จทูลกระหม่อมเล็กบ่อยมาก เพราะทรงร้องเพลง บันทึกเสียง มีงานเป็นเทปซีดี ผมทำดนตรีถวายท่านตลอด แม้แต่ไปบันทึกต่างประเทศ ไปประเทศญี่ปุ่นก็ไปตลอด ทุกครั้งที่มีงานเกี่ยวกับด้านดนตรีต้องให้ผมไปถวายอยู่แล้ว แล้วเวลาที่พระองค์ท่านไป ทูลกระหม่อมเล็กก็จะไปด้วย ก็ตามเสด็จขบวนเสด็จเลย ไปที่บางปะอิน ผมไปปุ๊บ พอในหลวงเสด็จฯ เข้ามาเพื่อจะประทับในงาน เราก็ต้องไปยืนรับเสด็จก่อน ท่านมองมาที่ผมเพราะเห็นว่าผมไป
คือตอนนั้นเราถวายเล่นกับท่านหลายครั้งแล้วจนคุ้นหน้ากันแล้ว พอเห็นหน้าผมท่านไม่ต้องอะไร ท่านเลิกพระขนงแล้วก็ยิ้มน้อยๆ คือเราตีความได้ว่า มาเหมือนกันหรือ ฉะนั้น สายพระเนตรท่าน ท่านมีพระเมตตาให้เรามาก และรวมไปถึงประชาชนพสกนิกรทุกคน สีหน้าแววตาที่มองไปยังประชาชนของท่านก็รูปแบบเดียวกัน ท่านมีพระเมตตาจริงๆ ทุกคน ไม่ใช่แค่เราเท่านั้น ก็จะเห็นเรื่องเล่าหลายๆ เรื่อง ตาสีตาสา พูดไม่ถูกบ้างผิดบ้าง จะเห็นว่าท่านล้อแซวประชาชนของพระองค์ท่าน ก็แสดงถึงความเมตตา ไม่ถือพระองค์
อีกครั้งก็ที่สวนจิตรลดา เราเล่นๆ ดนตรีอยู่ ก็มีแขกของสมเด็จฯ เป็นฝรั่งจะมาร้องเพลง The Sound of Music เราก็ไม่ค่อยได้เล่นเพลงนี้เท่าไหร่ รู้จักแต่ไม่ค่อยได้เล่น ฝรั่งก็มาร้อง เราก็เล่นเปียโน ในหลวงท่านก็ทรงแซกโซโฟน ทีนี้พอถึงท่อนที่สอง เราจำไม่ได้ว่าท่อนต่อๆ ไปเป็นอย่างไร ผมก็พาเขาเข้ารกพง คนร้องก็เงอะงะๆ หันมาหาเรา ในหลวงก็ทรงชี้มาทางผม แล้วตรัสว่า “คนนี้เขาพาเราผิด” แล้วพระองค์ท่านพระพักตร์แบบหน้าตายตามลักษณะพระอารมณ์ขันพระองค์ท่านอยู่แล้ว แต่เราก็ยังเสียววาบอยู่ดี แต่พอเล่นเสร็จ พระองค์ท่านก็หันมาตรัสว่า ‘ขอบใจนะ’ ซึ่งเป็นปกติประจำทุกครั้งที่เล่นเสร็จ ท่านจะตรัสว่า ‘ขอบใจนะ’ หรือไม่ก็ชักชวนคุยเรื่องดนตรี ท่านหม่อมประพันธ์ สนิทวงศ์ ที่ว่าเล่นทรอมโบน พอพระองค์ท่านเสด็จกลับแล้ว ยังพูดในกลุ่มเลยว่า ในหลวงมาขอบใจ ไปซื้อล็อตเตอรี่เลย แต่จะตีเป็นเลขอะไร เพราะมันคือความมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่หาอะไรเปรียบไม่ได้บนโลกนี้
เหนืออื่นใด นักดนตรีฝรั่งระดับโลกแทบทุกคนต่างเห็นพ้อง “ถ้าพระองค์ท่านไม่ได้เป็นกษัตริย์ พระองค์ท่านสามารถเป็นผู้นำวงดนตรีระดับโลกเลย” เพราะพระองค์ท่านจดจำโน้ตได้ทุกเพลง แล้วก็คุณภาพเสียงในการเล่นของพระองค์ท่านอย่างที่บอก พระองค์ท่านเคยเล่นกับวงที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศทุกครั้งที่วงนั้นๆ เข้ามาเล่นถวาย ท่านก็ทรงด้วย ทุกคนยอมรับหมดเลย เบนนี่ กู๊ดแมน นักเป่าแซกโซโฟนระดับโลกฉายาราชาสวิงแจ๊ส วงบิ๊กๆ ระดับโลก ท่านสามารถร่วมได้ทุกวงโดยที่ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเลย ฝรั่งก็ชมเปาะ
อีกเรื่องที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพ คือเรื่องการแต่งเพลง ความเป็นนักแต่งเพลง ท่านเป็นนักแต่งเพลงที่เข้าใจดนตรีทุกประเภท ท่านแต่งเพลงลักษณะแจ๊สออกมาก็เป็นแจ๊ส ละตินก็ฟังออกมาเป็นละติน อย่างเช่น เพลงพระมหามงคล เพลงหนึ่งมีสองจังหวะ มีแทงโก้ กับกัวราช่า เป็นแนวออกมาดนตรีจากละตินอเมริกาเลย ที่ท่านแต่งให้วงสุนทราภรณ์ เพราะครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นพระครูพระองค์ท่าน เพลงมาร์ชท่านสง่างามเหมือนกับนักแต่งเพลงมาร์ชระดับโลกจริงๆ เพลงสไตล์ฮาวาย ‘เพลงเกาะในฝัน’ หรือแนวคลาสสิกอย่างเช่นเพลง ‘Kinari Suite’ ที่ใช้ประกอบบัลเลต์ ดนตรีออกมาก็คือเป็นดนตรีจากนครแห่งเสียงดนตรีประเทศเวียนนาเลย
คือนอกจากทำให้เหมือนได้ กลิ่นอายอะไรต่างๆ ลึกซึ้งและถึงต้นตอ แนวเพลงบลูส์ บลูส์โน้ตนั้นอยู่ในดนตรีแจ๊สอยู่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของดนตรีแจ๊ส คือเมื่อก่อนนี้เพลงไทยเรามักจะใช้โน้ตกันอยู่ 5 ตัว ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า วนเวียนใน 5 ตัวนี้ เรียงลำดับสูงต่ำกันไป ทีนี้ เนื่องจากพระองค์ท่านใช้ชีวิตในวัยเยาว์ที่ต่างประเทศ เกิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พระองค์ท่านจึงอาจจะคุ้นเคยโดยเฉพาะตอนที่ประสูติ ซึ่งผมเข้าใจว่าท่านคงซึมซับอะไรมาจากอเมริกา เพราะเพลงบลูส์มันเกิดในอเมริกา เวลาท่านมาแต่งเพลงก็เลยจะมีพวกโน้ตบลูส์ติดมาเยอะ เช่นยามเย็น ดนตรีขึ้นต้นบลูส์โน้ตแล้ว ในบลูส์จริงๆ เลยก็คือเพลงชะตาชีวิตอันนั้นทั้งโน้ตบลูส์โน้ต ทั้งฟอร์มของเพลงนั้นคือบลูส์ชัดๆ ฉะนั้น เพลงนี้เวลาไปเล่นกับเพลงบลูส์ที่ไหน ไปเล่นกับเขาได้หมดเลย เข้าได้หมด เพราะอยู่ในฟอร์มของบลูส์เป๊ะๆ ซึ่งไม่ใช่จะแต่งกันง่ายๆ
เพลงบลูส์มันจะมีกรอบของมันอยู่ ถ้ามันอยู่ในกรอบเพลงบลูส์อะไรก็เล่นอย่างนี้ด้วยกันได้หมด แล้วบลูส์โน้ตที่ในหูคนไทยไม่เคยได้ยิน สเกลดนตรีไทยไม่มีโน้ตพวกนี้ คนแต่งเพลงก็ไม่เคยใช้โน้ตพวกนี้ พอพระองค์ท่านมาแต่งปุ๊บคนก็แปลกใจ โน้ตอะไร ขนาดครูเอื้อยังบอกเลยว่า โน้ตมันทะแม่งๆ นะพะย่ะค่ะ ก็บลูส์โน้ตเนี่ยล่ะ ท่านก็บอกว่า เคยรับสั่งว่าก็แม้แต่คนที่เป็นครูท่านอีกคน พระเจนดุริยางค์ ท่านเป็นนักดนตรีคลาสสิกจ๋าเลย บลูส์โน้ตไม่รับ แต่ท่านก็เคยเล่าว่าเคยรับสั่งให้อาจารย์พระเจนฯ ว่า มันเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศเขาแล้วนะ อะไรที่ได้รับการยอมรับ เราก็เอามาใช้ได้ ก็ทรงมีเกลี้ยกล่อม
• แล้วในส่วนของอาจารย์พระองค์ท่านทรงมีเสริมเพิ่มเติมความสามารถของเราบ้างหรือไม่
สำหรับผม พระองค์ก็ทรงสอนและแนะนำบ้าง แต่ด้วยความที่ผมเป็นนักดนตรีรุ่นใหม่ในสมัยนั้น เล่นเพลงฝรั่งก็รู้จักกับบลูส์ เราก็จะรู้จักเพลงพวกนี้อยู่แล้ว แต่เรารู้ว่าเพลงพระองค์ท่านยาก เนื่องจากผมเคยผ่านการประกวด ซึ่งผู้จัดประกวดก็ต้องบังคับว่าต้องมีเพลงพระราชนิพนธ์หนึ่งเพลง เราก็รู้แล้วว่ามันยากแค่ไหน เพราะเมื่อเป็นโน้ตที่แตกต่าง คอร์ดที่เล่นก็ต้องไม่ใช่คอร์ดธรรมดา แม้เราจะเคยฟัง เคยเล่นวงดนตรีสากลแต่พอมาเล่นแนวนี้ เจอคอร์ด G7#9 คอร์ด 13 โอ้โห…เราไม่เคยเล่น ก็ยาก แต่พระองค์ท่านสบายเลย
นั่นคือพระอัจฉริยภาพพระองค์ท่าน ทีนี้ เมื่อนำมารวมกับภาษาสำบัดสำนวนของพระองค์ท่าน เป็นกลอน กวี ลึกซึ้งและโรแมนติกมาก เพลงที่ท่านทรงแต่งเองทั้งเนื้อร้องและดนตรีเป็นภาษาอังกฤษ ที่มีเพียง 5 เพลงเท่านั้น จะเห็นว่า 5 เพลงนั้นเป็นเพลงยุคเดียวกันหมดเลย เรียงกันเลย มีเพลง Still on my mind (ในดวงใจนิรันดร์) , No Moon (ไร้จันทร์) ,Dream island (เกาะในฝัน) ,Echo (แว่ว) และเพลง Old Fashioned Melody (เตือนใจ)
จะเห็นว่าเราก็พอเดายุคสมัยได้ สมัยนั้นท่านคงอินเลิฟ เพราะเพลงท่านโรแมนติกมาก อย่าง “ในดวงใจนิรันดร์” หรือ “ไร้จันทร์” ฟังเหมือนมันเป็นคืนที่มืดมัว หรือเปล่า เพราะไม่มีแสงจันทร์ แต่ในเนื้อเพลงไม่มีแสงจันทร์ ไม่มีดวงดาวไม่เป็นไร เพราะฉันมีดวงตาของเธออยู่แล้ว คือเรื่องอัจฉริยภาพเป็นที่ตระหนักดีอยู่แล้ว อย่าง ดุค เอลลิงตัน มาร์คัส มิลเลอร์ เป็นหัวหน้าวงที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งในความรู้สึกของผมท่านเทียบได้เลย
แต่เรื่องที่เราระลึกถึงพระองค์ท่านตลอดเวลาจนกระทั่งมาถึง ณ ตอนนี้ คือเรื่องความมีพระเมตตาของพระองค์ท่าน ผมจำภาพได้ติดตาทุกภาพที่ท่านมีรับสั่งกับเรา มาพูดเล่นๆ กับเรา แหย่เราเล่นบ้าง ความรู้สึกนั้น หากใครนึกไม่ออก ให้ลองดูภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ท่านมีความสุขมากเวลาทรงดนตรี เวลาที่ท่านทรงดนตรีถือว่าเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดของพระองค์ ท่านประทับที่พระราชวังไกลกังวล พระองค์ท่านทรงเป่าแซกโซโฟน แล้วก็พานักดนตรีเป่าตามเดินลุยทะเล นั่นแหละ ท่านเป็นคนสนุก วิญญาณของท่านก็คือนักดนตรีเลย
• จากที่อาจารย์วิรัชได้ติดตามถวายงาน มีเรื่องไหนที่ประทับใจมากเป็นพิเศษไหมครับ
ที่จังหวัดเชียงใหม่ วันนั้นเป็นงานเลี้ยงส่วนพระองค์เล็กๆ ที่จัดบนเขาที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ก่อนเสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ ช่วงกลางคืน บนเขาลมจะแรง และมีน้ำค้างลงหนา พระองค์ท่านก็รับสั่งบอกให้ข้าราชบริพารว่าให้เอาร่มมากางให้เปียโนหน่อย ท่านกลัวว่าน้ำค้างมันจะลง เครื่องเปียโนจะเสีย แล้วท่านก็รับสั่งว่าเอามากางให้เปียโนนะ ไม่ได้กางให้คน คนน่ะมีผมอยู่แล้ว กางให้เครื่องดนตรี แต่ทีนี้ ร่มที่กางมันเป็นกระบอกเหล็กแล้วเอาร่มสวมลงไปเฉยๆ เวลาลมพัดมันก็ดึงขึ้นมาจากกระบอก ผมก็กลัวว่าก้านจะล้มใส่ เพราะพระองค์ท่านประทับอยู่ตรงใกล้ๆ จังหวะที่ลมพัดเสย ผมก็เลยจับก้านร่มแล้วจับส่งไปข้างหลัง ลมพัดก็ช่วยให้แรงไป ร่มก็ปลิวลงเนิน แล้วท่านก็มาเก็บกระดาษโน้ตให้ ทั้งๆ ที่จะให้ใครเก็บก็ได้
แต่มันมีช็อตหนึ่งที่ผมไม่เคยเล่าที่ไหน เป็นสิ่งที่ซาบซึ้งที่สุด วันนั้นเป็นวันปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คืนวันที่ 31 ธันวาคม เราก็ไปเล่นถวายพระองค์ท่านในพระบรมมหาราชวัง เป็นงานกลางแจ้งเหมือนเคย แขกเหรื่อก็คือคนทำงานในวัง ไม่มีคนอื่น นอกจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พอถึงเที่ยงคืนปุ๊บ ข้าราชบริพารก็จัดพระเก้าอี้ให้พระองค์ท่านประทับนั่ง แล้วทุกคนก็นั่งคุกเข่าเรียงกันมากราบพระบาทอวยพรปีใหม่ ผมก็นั่งหันหลังให้ท่าน ท่านอยู่ข้างหลังเล่นเปียโนบรรเลงเพลงพรปีใหม่วนไปเรื่อยๆ
ทีนี้ระหว่างนั้น ผมก็เล่นเพลงพรปีใหม่ของพระองค์ท่าน ถ้าผมนั่งมันจะเท่ากับพระองค์ท่าน ผมก็คิดว่าไม่สมควร เพราะอยู่ไม่ไกลกันนัก ผมก็เอาเก้าอี้เปียโนออก แล้วผมก็นั่งคุกเข่าเล่น เหมือนลิงเล่น ก็เล่นจนกระทั่งข้าราชบริพารคนสุดท้ายกราบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็ยังไม่รู้เพราะหันหลังเล่น พระองค์ท่านก็คงหันมาเห็นว่ามันเหมือนลิงเล่นอะไรสักอย่าง ท่านก็ยกเก้าอี้มาให้เรานั่ง อันนี้คือที่จำไม่ลืม
แม้วันนี้ที่ไม่มีพระองค์ท่านแล้ว แต่สิ่งที่พระองค์ท่านทำไว้ให้ประชาชนพี่น้องชาวไทยยังคงดำเนินอยู่ ก็มีหลายคนพยายามที่จะเอาเพลงของท่านไปทำแนวของตัวเอง พูดง่ายๆ ผมก็มีแนวของผมอยู่ ผมอยากเล่นแนวนี้ ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงคอร์ดบ้างอะไรบ้าง แต่ในความรู้สึกผมและอีกหลายคน เห็นตรงกันว่าเราน่าจะรักษาต้นแบบของพระองค์ท่านเอาไว้ ไม่ควรที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะท่านอุตส่าห์ทำมาแล้ว ใส่คอร์ดมาด้วยพระองค์เอง วางทุกอย่าง เป็นเพลงที่เพราะมากๆ ไม่น่าจะไปเปลี่ยนแปลง เพลงอื่นๆ ตันฉบับที่เราชอบ เรายังอยากเล่นให้เหมือน ผมก็อยากให้รักษา ไม่อยากให้มันผิดเพี้ยนไป เพราะว่ามันเป็นเพลงที่ดีอยู่แล้ว มีคุณค่า ควรจะเอาเป็นต้นแบบศึกษา แล้วเอาไปต่อยอด เอาไปแตกแขนงเอาเอง อย่างที่พระองค์ท่านเป็นต้นแบบ ทรงทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง แล้วเราที่เป็นประชาชน ดูแล้วไปแตกแขนงตามความถนัดของเรา ดนตรีก็เหมือนกัน
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ปัญญาพัฒน์ เข็มราช