“ก้าวคนละก้าว” เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักโครงการวิ่งของศิลปินนักร้องชื่อดังแห่งยุคบ้านเรา ตูน บอดี้สแลม หรือ อาทิวราห์ คงมาลัย ที่กลายเป็นปรากฏการณ์สะท้อนให้เห็นถึงพลังพี่น้องประชาชนคนไทยที่ร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนยอดบริจาคสูงถึง 70 ล้านบาท ในระยะเวลาเพียง 10 วันเท่านั้น

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลแสดงให้เห็นถึงการก้าวคนละก้าว การก่อเกิดความสำเร็จเช่นนี้จึงไม่ใช่เพียงใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่ยังมีคนรอบข้างกายร่วมกันปลุกปั้นสานถักทอ เป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้โครงการที่ยิ่งใหญ่ลุล่วงประจักษ์สู่สายตา
และหนึ่งในใครคนนั้นก็คือ “อิทธิพล สมุทรทอง” หรือ “พี่ป๊อก” ชายผู้วิ่งข้างกายซุปเปอร์สตาร์ตลอดระยะทาง 400 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นักวิ่งมาราธอนตัวยงคนหนึ่งที่คร่ำหวอดในวงการทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า 30 ปี หัวเรือใหญ่ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กกรุ๊ป “42.195 K Club…เราจะไปมาราธอนด้วยกัน” เฟซบุ๊กกรุ๊ป “แบ่งปัน” และผู้จัดการบริษัทขายประกันชื่อดังเมืองไทย ที่เกิดขึ้นได้เพราะการให้ จนกลายเป็นที่ยกย่องในเรื่องการวิ่งและการทำงาน เป็นต้นแบบอย่างใครหลายคนเอาเยี่ยงอย่างมาปรับใช้ดำเนินชีวิต เอาเป็นแรงบันดาลใจขับเคลื่อน
และนี่คือเรื่องราวของเขา ที่อาจจะไม่หมดไส้หมดพุงจุดเริ่มต้น หากแต่คือก้าวต่อไป ก้าวที่คนละก้าวร่วมกันสานถักทอ “การแบ่งปัน” บทนำเริ่มเรื่องสู่เนื้อหา “การส่งต่อ” จากศูนย์ หนึ่ง สอง สาม ไปจนถึงเก้า เก้าคนละเก้าด้วยกัน

นักวิ่งธรรมดาผู้ร่วมสร้างโครงการที่ยิ่งใหญ่ ‘ก้าวคนละก้าว’
ชายผู้อยู่เคียงกายตูนบอดี้สแลม
“เป็นเรื่องที่เราก็ยังไม่รู้เหมือนกันนะ ว่าทำไมพี่ตูนถึงเลือกพี่ป๊อกมาช่วยโครงการนี้ เพราะนักวิ่งคนอื่นๆ ก็มีเยอะแยะ นับแค่ที่สวนลุมพินี เราก็แค่นักวิ่งธรรมดาๆ คนหนึ่งเท่านั้น เคยเจอะเจอกันก็บางครั้งบางคราวผิวเผิน”
ชายหนุ่มรุ่นใหญ่วัยหลัก 50 กล่าวเล่าเรื่องราวก่อนที่จะเกิดโครงการก้าวคนละก้าวที่กลายเป็นปรากฏการณ์อันยิ่งใหญ่โครงการหนึ่งที่เกิดขึ้นจากแรงผลักขับเคลื่อนสองขา ซึ่งทั้งนับจากยอดบริจาคมหาศาลจากประชาชนทั่วประเทศที่สูงราว 70 ล้านบาท การก่อร่างแรงบันดาลใจ การปลุกให้ตื่นรู้ตระหนักถึงการให้ การช่วยเหลือพี่น้องผองไทย อย่างขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมกล่าวส่งต่อกันและกัน
“เท่าที่ผมเกี่ยวข้องกับพี่ตูน พี่ตูนลงปกหนังสือ a day magazine ข้างหน้าเป็นพี่ตูน ข้างในเป็นนักวิ่งหลายคนซึ่งหนึ่งในนั้นมีที่เป็นนักวิ่งที่เก็บป้ายเบอร์วิ่งมากที่สุดในไทยซึ่งคือผม และผมก็เคยมีคลิปอันหนึ่ง วิ่งกับป๊อก จ๊อกดูหญิง ก็ไปถ่ายพี่ตูน อันนั้นที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นก็เจอหน้าในสนาม ทักทาย ขอลายเซ็น แต่คงจำผมไม่ได้หรอกเพราะคนเยอะ
“กระทั่งช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมี เฟซบุ๊กมีฟีเจอร์ใหม่ ซึ่งผมก่อตั้งกลุ่ม 42.195 K Club…เราจะไปมาราธอนด้วยกัน เราก็ถามสามชิกเขาว่า เราจากจะฟัง Live ใครให้โหวต เพื่อนๆ ก็โหวตๆ สุดท้ายอันดับหนึ่งคือพี่ตูน อันดับสองคือคุณปู ไปรยา ผมรู้อยู่แล้วว่าเพื่อนๆ คิดว่าเราไม่สามารถจะไป Live เฟซบุ๊กพี่ตูนได้อยู่แล้ว เพราะเขาระดับศิลปินดัง คิวก็เยอะ ปรากฏว่าหมอเมย์ พญ.สมิตดา สังขะโพธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู แอดมินอีกคนหนึ่งเขารักษาให้กับพี่ตูน ผมก็เลยปรึกษาว่าเอาอย่างไรดี โทรไปหาพี่โทน ผู้จัดการพี่ตูนไหม หมอเมย์ก็บอกไม่ต้องโทรหาพี่ตูนเลย โทรไปพี่ตูนรับสายทราบจุดประสงค์ เขาก็บอกว่ามาเลย”
อิทธิพลเผยด้วยรอยยิ้มเต็มดวงหน้า แม้จะไม่ล่วงรู้การกระเถิบชิดพบปะที่คนอื่นมองจากภายนอก ทั้งในเรื่องการเป็นนักวิ่งคนหนึ่งที่คร่ำวอดในวงการจนเชี่ยวชาญ ทั้งในเรื่องการก่อตั้งกลุ่มเพจเฟซบุ๊กชมรมวิ่งที่ใหญ่ที่ในประเทศ เรื่องของการแบ่งปันช่วยเหลือในกลุ่ม “แบ่งปัน” เพจกรุ๊ปนักวิ่ง เหล่านี้อาจจะเป็นเครื่องผูกหลอมรวมผู้ที่มี “ความเชื่อ” เดียวกัน ไม่เว้นกระทั่งศิลปินนักร้องเบอร์ต้นของเมืองไทย ตูน บอดี้สแลม หรือ อาทิวราห์ คงมาลัย
“ก็เลยกลายเป็นครั้งแรกที่ไป Live เฟซบุ๊กที่แกรมมี่ พี่ตูนออกกำลังกายเสร็จก็ขอ 20 นาทีนะ เพื่อนๆ จะได้รู้ว่ามา Live (ยิ้ม) วันนั้นคือวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งพี่ตูนก็เปรยๆ เรื่องที่จะทำโครงการวิ่งเพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลบางสะพาน เราก็ทำกรุ๊ป Whatsapp แล้วหลังจากนั้นพี่ตูนก็ส่งข้อความการวิ่งไปอยู่บางสะพานมาว่า ผมอยากหาเงินให้โรงพยาบาลบางสะพานเนื่องจากมีแฟนๆ คลับ เพื่อนๆ พี่น้องบอกว่าที่โรงพยาบาลบางสะพานขาดแคลนเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งพอพี่ตูนเข้าไปดู ก็ได้ไปรู้จักอาจารย์เชิดชาย คุณหมอผู้อำนวยการ ท่านก็บอกว่าเดี๋ยวปีหน้าจะได้ตึก แต่ในตึกไม่มีเครื่องมือ พี่ตูนเลยอยากจะช่วยเหลือ นั้นเท่าที่ผมทราบถึงต้นเหตุที่เกิดโครงการนี้ ซึ่งจริงๆ ถ้าบริจาคเงินตัวเองได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาเหล่านี้มันก็ยังจะเกิดขึ้น ทว่าหากเราช่วยคนละนิด คนละไม้คนละมือ ที่จริงช่วยกันคนละ 10บาท หรือ 1 บาท พี่น้องปะชาชนก็สามารถระดมเงินช่วยให้กับโรงพยาบาลนี้ได้

“หลังจากนั้นวันที่ 16 ตุลาคม พี่ตูนบอกว่าต้นเดือนธันวาคมผมตั้งใจจะวิ่งไป 400 กิโลเมตร ตั้งแต่กรุงเทพฯ ไปอำเภอบางสะพาน ตั้งใจจะนำเงินไปบริจาคแล้วระหว่างทางก็จะแวะบริจาคเงินส่วนตัวให้กับโรงเรียนต่างๆ ไปในตัว อยากจะหาเงินให้ได้มากที่สุดเพื่อทำบุญถวายเป็นพระราชกุศลให้ในหลวงของพวกเราครับ โดยไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายมากเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กรที่จะได้รับ อยากชวนคุยปรึกษาเรื่องความเป็นไปได้และวางแผนให้เกิดขึ้นจริงให้ได้
“อยากเป็นตัวจุดประกายให้คนไทยลุกขึ้นมาทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ แค่ก้าวเล็กๆ ก้าวไม่หยุดทุกวัน แม้เป้าหมายจะดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าลงมือทำคนละเล็กคนละน้อย ก้าวคนละก้าว เป้าหมายก็จะสำเร็จลง”
นักวิ่งรุ่นใหญ่เผยถึงคำที่ทำให้กระโดดก้าวเข้าร่วมโครงการโดยไม่ลังเล
“เพราะนอกจากพี่ตูนจะเห็นถึงการแก้ไขปัญหานี้จริงๆ การที่จะวิ่ง 400 กิโลเมตร มันไม่ใช่เรื่องที่อยู่ดีๆ จะทำได้ถ้าคิดแบบผู้ใหญ่ แต่พี่ตูนจะบอกเสมอๆ ทั้งเวลาต่างๆ และตอนเล่นคอนเสิร์ตว่า “อยากเป็นวัยรุ่นตลอดเวลา” ทำอะไรก็สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก ยิ่งถ้ามองย้อนกลับไปอีกมุมการเป็นวัยรุ่น เป็นเด็ก คือเป็นช่วงที่เรามองโลกต่างๆ ในแง่ดี คิดดี ทำดี และศิลปินระดับนี้ 10 วัน ต้องแคนเซิลงานต่างๆ เพื่อวิ่งรับบริจาค เพื่อจุดประกายอย่างชื่อโครงการ ก้าวคนละก้าว ผมก็ตกลงอย่างไม่ต้องคิด ก่อนที่พี่ตูนจะบอกว่าพี่ป๊อกช่วยผมหน่อย
“ทีนี้หลังจากนั้นเราก็เลยกลายเป็น 3 คน พี่ตูน ผม หมอเมย์ สร้างกรุ๊ปคุยปรึกษาหารือเราจะทำอย่างไรกันดี ก็มีหลากข้อเสนอ จัดแข่ง จัดวิ่ง วิ่ง 3-10 กิโลเมตร จัดวิ่ง 21 กิโลเมตร วิ่งไปบางสะพานเสร็จมีคอนเสิร์ต มีอะไร รูปแบบนั้น ผมก็เลยบอกพี่ตูนว่า “พี่ตูนจัดวิ่งไม่คุ้ม” อันนั้นเป็นความเห็นต่างผมเลย เพราะว่าถ้าจัดจะมีค่าใช้จ่ายทั้งค่าเหรียญ ค่าเสื้อ ค่าอะไรต่ออีกอะไรซึ่งหลายแสนบาทเลย พี่ตูนก็เปิดกว้างรับฟัง
“ในที่สุดพี่ตูนจะวิ่ง 400 กิโลเมตร เริ่มเซ็ตทีม นัดประชุมครั้งแรกทันที บังเอิญหมอเมย์ไม่ว่างติดงานที่โรงพยาบาล ก็เลยต้องไปหาหมอเมย์ สถานที่นัดประชุมครั้งแรกจึงเป็นสตาร์บัคแทนห้องประชุมที่ตึกแกรมมี่ ก็ประชุมกันทั้งหมอเมย์ ผม พี่ตูน และออกแกไนซ์เซอร์โครงการนี้คือพี่โอ๊ต พี่เบลเป็นครีเอทีฟ พี่ตู้ พี่ดาส เป็นทีมกล้อง แล้วก็จะมีทีมออนไลน์เป็นแอดมินเพจบอดี้สแลมเป็นพี่ชล นั้นคือจุดเริ่ม
“จากนั้นถัดมาก็เป็นผม รับหน้าที่ทำเส้นทาง ผมก็อาศัยAppวิ่งทำ ไปลงตรงไหน 10 กิโลเมตร เพราะแผนพี่ตูนคือวิ่ง 10 กิโลเมตร แล้วพักครึ่งชั่วโมง ในแต่ละวันผมก็ทำ 10 กิโลเมตรแล้วพักๆๆ ไปเรื่อยๆ จนถึงบางสะพาน เสร็จส่งรูทให้ปริ๊นออกมาพี่โอ๊ตไปทำต่อ เขาก็ไปถ่ายรูปต่อตรงนี้จะพักตรงนั้น บางที 10 กิโลเมตรเป็นข้างทาง เขาก็ขยับไป 300 เมตร เป็นไปที่ปั้มน้ำมัน ที่ๆ มีอะไรรองรับ ก็ค่อยๆ เป็นรูปเป็นร่างขึ้น ไปลงพื้นที่จริงๆ กัน สำรวจเส้นทาง ทำเรื่องภาพ ถ่ายโปรโมท การที่วิ่งคนเดียวอาจจะคนรู้คนเดียว พี่ตูนก็ไปเชิญบรรดา Celeb น้าแอ๊ด คาราบาว พี่วู้ดดี้ พี่กะละแมร์ พอเขามาวิ่งเขาก็จะได้พากลุ่มคน พาเพื่อนเข้ามาร่วมรู้จักโครงโรงการนี้มากขึ้น เลยกลายเป็นกระจายไปมากขึ้นหมอเมย์ก็แนะนำทำตารางคอร์สการรับประทาน กำหนดว่าต้องทานอาหารทุกๆ ต้องกินน้ำขนาดนี้ ต้องกินเจลขนาดนี้ พี่ตูนน่ารักมากก็ทำตามหมด พี่เบลก็คิดโครงการจะใช้ชื่อว่าอะไร ซึ่งทั้งหมดก็ออกมาเป็นโครงการก้าวคนละก้าว เพราะจากคนหนึ่งคนจึงเกิดการส่งต่อร่วมด้วยช่วยกัน”
“ผมก็แค่นักวิ่งธรรมดา”
นักวิ่งรุ่นใหญ่กล่าวถ่อมตนย้ำอีกครั้งเมื่อเล่าถึงตรงนี้ นั้นเพราะหลังจากการวิ่งครั้งนี้ชายผู้จุดประกาย นักวิ่งที่อ่อนทั้งคุณวุฒิวัยวุฒิผู้นี้เพิ่มเติมบทเรียนและเปิดมุมมองความคิด อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นให้ได้ตระหนัก
“ที่จริงวิ่งกับพี่ตูนสิ่งที่รู้อย่างเดียวคือเราช่วยสนับสนุนการวิ่ง ถามว่าพี่ตูนเป็นคนอย่างไร เป็นคนน่ารักครับ เห็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เจอข้างนอกสวัสดีทักทายอ่อนน้อมถ่อมตน ลับหลังก็เป็นอย่างนั้นเหมือนเดิม เป็นคนแบบที่รักเด็ก เอาใจใส่คนอื่น เป็นคนให้เกียรติคน ถ้าคนสังเกตกลายเป็นว่าตั้งแต่วันแรก ผมมาวิ่งข้างหน้า ทั้งๆ ที่จริงๆ ไม่ใช่ แผนที่วางไว้คือ มีรถตำรวจนำเพื่อกันทาง มีพี่ตูนแล้วก็มี Celeb ที่เชิญมา ผมจะอยู่หลังสุดหน้ารถเซอร์วิส ในรถจะมีหมอนั่งอยู่ แต่วันแรกที่ไปสวนกุหลาบ พี่ตูนบอกว่าให้มาอยู่ข้างหน้า
“จากแผนที่อยู่หลังสุดกลายเป็นผมต้องไปอยู่หน้าตั้งแต่วันแรก เริ่มส่งน้ำให้ดื่ม วิ่งรับน้ำจากรถ วันแรกขลุกขลักเล็กน้อยตั้งแต่หน้าโรงเรียนสวนกุหลาบพี่ตูนให้ไปยืนถ่ายรูปด้านหน้ากลายเป็นผมไปปรากฏตัวด้านหน้า เพื่อนๆ ยังแซว ป๊อกไปอยู่หน้าสุดทำไม มันต้องเป็นพี่ก้อย เป็นคนอื่น แต่ถ้ารู้นิสัยไม่ได้ชอบอะไรอย่างนี้อยู่แล้ว แต่พี่ตูนให้เกียรติ กลายเป็นว่าไปยืนข้าง

“ข้อที่สองผมร้องไห้ทุกวัน สิ่งที่เข้ามากระทบเนี่ย มันกระทบใจมาก ในด้านดี ผมเห็นเด็กตัวเล็กๆ เอากระป๋องออมสินยื่นให้ กระป๋องออมสินไม่ใช่บาทสองบาท หนักทีเดียว คือไม่ว่าวันนี้จะถูกพ่อแม่บอกหรืออะไรก็ตาม เขายืนรอเพื่อจะยืนมอบให้พี่ตูนรับแว๊ปเดียว พี่ตูนก็รับแล้วถ่ายรูปไว้ บอกพี่ป๊อกทีมงานเก็บไว้ให้ด้วยนะ เด็กตัวเล็กๆ คนหนึ่งศรัทธาโครงการนี้ เอาเงินมาให้ ไม่ว่าเด็กจะเห็นจากไหนใครบอกแต่มันจุดประกายแล้ว นอกจากนี้ยังมีป้าคนหนึ่งใส่ผ้าถุงเป็นชาวบ้านยืนรอส่งเงินช่วยบริจาค เพียงเพราะส่ง sms ไม่เป็น มีเด็กนักเรียนถือเหรียญ 5 บาทยื่นให้ นั้นเป็นค่าขนมเขากึ่งนึ่งแล้วนะ มีผู้ใช้แรงงาน ยื่นธนบัตรแบงค์พัน ซึ่งโหย…ผมขนลุกเลย เพราะค่าแรงเขาผมว่าไม่เกิน 500 บาทต่อวัน น้ำตาผมไหลเองอัตโนมัติด้วยความตื้นตันใจ
“อันนั้นคือสิ่งที่จากประสบการณ์ยังไม่เคยเห็น” อิทธิพลเผยก่อนจะกล่าวเสริม
“คือแทนที่ผมจะเหมือนกับเป็นผู้ให้ แต่กลายเป็นว่าเราเป็นผู้รับ รับพลังงานดีๆ ในการวิ่งวันที่ 7-8 มีน้อคนหนึ่งเขาวิ่งกระท่อนกระแท่นด้วยรูปร่างที่น้ำหนักเยอะตะโกนมาจากข้างทาง “พี่ตูน พี่ป๊อก ครับ ขอบคุณนะครับที่มาช่วยโรงพยาบาลที่ผมเกิด” ผมอึ้งร้องไห้เลยเหมือนกัน ผมแค่ทำเรื่องวิ่ง ผมมาวิ่งเป็นเพื่อนพี่ตูน แต่ว่าสิ่งที่ได้รับเนี่ยมันเป็นผลกระทบด้านบวกที่ว่าคนรักพี่ตูนมีแต่พลังงานดีๆ ส่งมา ผมบอกว่าข้อนี้มันเป็นของแถมที่ดีมาก ได้เห็นชีวิตศิลปินคนหนึ่งที่เป็นตอนที่เขาเหนื่อยที่สุดชีวิต คนเราพอมันเหนื่อยมันแสดงออกมาหมด พี่ตูนก็แสดงออกมา ตลอดทางไม่มีหงุดหงิดสักครั้งเดียว โดนชนล้มก็ไม่เป็นไร คือทีมเราจะมีการวิ่งกันพี่ตูนอยู่แล้วสลับพลัดเปลี่ยนกัน แต่พี่ตูนบอกว่าไม่เป็นไร ปล่อยไปตามธรรมชาติเลย เพราะบางทีเขาเจอเขารอเราครั้งเดียวในชีวิต
“ให้เป็นธรรมชาติเลย เพราะเขาอาจจะเจอเราครั้งเดียวในชีวิต ฉะนั้นถามว่าเสียผมดายไหม 10 วัน เสียดายความเหนื่อยล้าไหม…ไม่ เสียดายเงิน…ไม่ ไม่เสียอะไรเลยตั้งแต่ตอนแรกที่ร่วมประชุมแล้วรู้ว่าบัญชีเปิดวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่เป็นคนแรกๆ ที่พี่ตูนบอกเป้ายอด 5 ล้านบาท ผมร่วมสมทบห้าหมื่นบาท หนึ่งเปอร์เซ็นต์ ที่เล่าไม่ได้ว่าจะเก่งหรือดี แต่ต้องการสนับสนุนโครงการนี้ เพราะมีหลายๆ คน ตั้งข้อสงสัยว่าพี่ป๊อกพี่ถูกจ้างมาหรือเปล่า ทำไมเราดูตั้งใจมากเลย ทั้งคอยบริการน้ำดื่ม คอยคอนโทรลสิ่งรอบข้าง อำนวยความสะดวกความปลอดภัย เราเป็นนักวิ่ง เราเคยขาพลิก แต่พี่ตูนจะขาพลิกไม่ได้ เขาจะตกหลุมไม่ได้ เขาจะอะไรไม่ได้ พี่ไม่อยู่มีนักกีฬาคนอื่นต่อให้เลย ผมไม่โกรธนะ ผมบอกไม่ได้จ้างหรอก แต่เพราะจะหาแบบนี้ให้คนมาเมคทำแบบนี้ไม่ได้
“แล้วพอเราเป็นคนในเราก็จะเห็นพัฒนาการ เห็นการเติบโต แนวคิด เรารู้สึกว่าเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง เป็นศิลปินคนหนึ่งที่มาทำโครงการนี้ เป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วม เป็นการกระตุ้น ส่วนตัวผมชอบแล้วบังเอิญเราอยู่ในขบวนด้วย แล้วเราจะหาโมเม้นท์แบบนี้ไม่ได้แล้ว ยิ่งภาพเวลาคนมายื่นส่งเงินบริจาคเป็นภาพที่ผมว่าไม่เคยเห็น ส่วนตัวผมว่ามีไหม ผมว่าไม่มีนี้ มันยิ่งใหญ่มาก เป็นธารน้ำใจ เป็นเส้นทางที่ส่งเปลี่ยนแปลงให้ทำต่อไป อย่างที่พี่ตูนบอกว่าหลังการจบครั้งนี้อาจจะไม่ใช่แค่จบ เพียงอาจจะจบแค่บทนำ และเป็นก้าวต่อของเนื้อเรื่อง”

จุดเริ่มต้นปฐมบทน่องเหล็กจิตอาสา
เมื่อเคยได้ ต้องส่งต่อ
• จากเส้นทางการช่วยเหลือเชื่อว่าจุดเริ่มต้นการมีจิตใจใฝ่อาสาเกิดจากประสบการณ์ชีวิตที่เคยผ่านและได้รับมา
ใช่ครับ…ก็หลายๆ อย่างที่หลอมรวมเรามา เริ่มจากที่บ้านคุณพ่อคุณแม่ท่านก็เป็นแบบอย่าง คุณพ่อท่านเป็นข้าราชการ แม่เป็นแม่ค้าธรรมดา ไม่ได้มีความรู้มากมาย แต่อยากให้การศึกษาที่ดีที่สุด ท่านอดทนให้เราได้มาศึกษาที่กรุงเทพฯ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ให้ก็เป็นแบบอย่างที่สื่อให้รู้จักการเสียสละแบ่งปัน ตอนเรียนจบทำงานที่องค์การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดนก็ยิ่งทำให้เรารับรู้ถึงคุณค่าของการให้ กระทั่งมาทำงานที่ AIA ขายประกัน ตอนเริ่มต้นนั่งทำงานที่ AIA ผมนั่งอยู่หลังห้อง ข้างหน้าห้องเป็นคนเก่ง เขาก็เล่าให้ฟัง แล้วก็พูดว่าวันนี้ เขาคนนั้นในอดีตก็นั่งอยู่หลังห้องเหมือนกัน วันนี้เราต้องส่งต่อแบบนี้ไปรุ่นถัดไป
6 ปีถัดมาผมเป็นประธานห้องนั้น คือคุณประสบความสำเร็จแล้ว คุณไม่ได้อยู่เฉยๆ คุณต้องมาส่งต่อ มีนิทานเรื่องหนึ่งเล่าประจำ มีนักศึกษาหนุ่มคนหนึ่งกำลังเดินทางไปสอบวันสุดท้ายของเขาเพื่อจะจบการศึกษาชั้นระดับปริญญาตรี ก็ รีบมากก็ขับรถออกไปนอกเมืองเพราะมหาวิทยาลัยอยู่ไกล ระหว่างที่ขับรถไปเรื่อยๆ ปรากกฎว่าสิ่งที่ไม่คาดคิดคือเขาลืมเติมน้ำมัน ขับๆ ไป น้ำมันหมดก็เลยจอดชิดข้างทาง ซึ่งตรงทางนั้นเป็นทางลัด คนไม่ค่อยมีผ่านสัญจร จอดปั๊บรถคันแรกผ่านไป รถคันที่สองผ่านไป คันที่สามนักศึกษาหนุ่มเริ่มโบก แต่คันที่ผ่านเขาก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร เขาก็ไม่จอดรับ กระทั่งคันที่ 4 โบกก็ไม่จอด ทว่าคันที่ 5 ยังไม่ทันที่นักศึกษาหนุ่มจะทำอะไรเลย รถคันนั้นแวะมาจอดข้างทาง นักศึกษาหนุ่มเดินไปหา เขาเปิดประตูรถถามว่าเป็นอะไร นักศึกษาหนุ่มบอกว่าพี่ครับน้ำมันหมด ทันทีที่ได้ยินนั้นชายคนเดินนั้นไปเปิดท้ายรถแล้วก็หยิบกระป๋องน้ำมันมาให้ นักศึกษาหนุ่มยังแปลกใจ คิดว่าเอ๊ะ…ทำไมมีกระป๋องน้ำมันอยู่ท้ายรถ แต่ก็รับกระป๋องน้ำมันเดินมาที่รถตัวเอง จังหวะกำลังเติมน้ำมัน อยู่ๆ ปรากกฎว่าผู้ชายคนนั้นทำท่าเหมือนจะไป นักศึกษาหนุ่มรีบบอกพี่ครับอย่าพึ่งไป ผมยังไม่ได้ขอบคุณพี่เลย และยังไม่รู้แม้กระทั่งชื่อพี่เลย ผมจะขอบคุณพี่อย่างไรดี คนที่ขับรถตอบว่าถ้าอยากขอบคุณผม คุณแค่ส่งต่อถังน้ำมัน นี้ให้กับคนอื่น เพราะผมก็ได้รับจากคนอื่นมาเหมือนกัน

ผมชอบนิทานเรื่องนี้มากและก็นำมาเป็นคติประจำใจซึ่งเราก็มาทำในวงการวิ่งนี้แหล่ะ ก็ใช้ไอเดียเรื่องการส่งต่อถังน้ำมัน เกิดเป็นกรุ๊ป 42.195 K Club…เราจะไปมาราธอนด้วยกัน จากปกติไม่ชอบเฟซบุ๊ค เพราะเวลาไปขายประกัน คนมักจะเล่นเฟซบุ๊กแล้วไม่ฟังเรา (หัวเราะ) จนกระทั่งวันนึ่งไปที่กรมพัฒนาที่ดิน พี่ป๊อกพี่ต้องมีเฟซบุ๊ก เราก็ถามทำไม พี่จะได้เอาไว้ตอบผมไง ก็ยังสงสัยตอบได้อย่างไร เขาก็อธิบายว่ามันมีแมสเซสข้อความ เราก็ให้เขาช่วยทำให้หน่อย ถัดมากลายเป็นว่าหลังจากนั้นไปวิ่ง NorthFace 50 กิโลเมตร เพื่อนต่างชาติ you have a facebook เราก็เออๆ มี กลายเป็นแอดๆ เพื่อนส่วนใหญ่จะเป็นต่างชาติ ก็ได้ความรู้เรื่องวิ่งต่างๆ มาจากเพื่อนต่างชาติในตอนแรก นั้นทำให้เราคิดว่าทำไมเราไม่ทำกรุ๊ปแบบนี้เพื่อแบ่งปันกำลังใจคนอื่นๆ ที่เก่งๆ กว่าเราเยอะแยะเลยมาเข้ากรุ๊ป
• จากนั้นก็เกิดการขยายต่อกรุ๊ปกลุ่ม ‘แบ่งปัน’ แตกยอดต่อขึ้น
ครับ คือตอนนั้นหลังจากตั้งกลุ่ม ผมวิ่งอยู่ที่สวนรถไฟ จำได้เลยว่าเพื่อนในชมรม ผมมีกางเกงตัวนี้ไม่ได้ใส่ ก็ให้เพื่อนพี่น้อง ก็เริ่มเห็นภาพลางๆ แต่ก็ยังไม่ได้อะไร แค่มีเหลือไม่ได้ใช้ก็ให้กัน แต่หลังจากนั้นเราชอบรองเท้าก็เลยมาทำเพจ แชร์แบ่งปั่นวิธีเลือกซื้อ สอนวิธีการซื้อ เพื่อนๆ น้องๆ ก็บอกว่าไม่ต้องสอน ซื้อมาให้เลยได้ไหม (หัวเราะ) เราก็ได้ ถ้าอย่างนั้นอยากได้รุ่นไหน สีไหน บอก เดี๋ยวซื้อแล้วส่งไปให้ที่บ้านแล้วค่อยเก็บตังค์ นานเข้าๆ ผู้นำเข้ารายใหม่บอกว่าพี่ป๊อกพี่ขายอย่างนี้ไมได้ 500 บาทกำไรมันน้อยไป ไม่ได้ แต่เราไม่คิดถึงตรงนั้น ก็บอกคนที่ซื้อรองเท้าคุณจงภูมิใจเถอะเพราะตังค์ที่ได้ผมเอาไปส่งต่อเพื่อบัฟ เพื่อสร้างกำลังใจให้คนอื่น ดังนั้นมันคือนี้คือที่มาที่ทำให้กลายเป็นคอมมูนิวตี้การแบ่งปั่นเกิดขึ้น และหลังจากนั้นระหว่างที่ซื้อขายอุปกรณ์ มีน้องคนหนึ่งอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ถ่ายรูปคนขากระเผลก กางเกงเก่าๆ เสื้อผ้าเก่าๆ คนให้กันมากมาย ทั้งกางเกงทั้งเสื้อ สุดท้ายผู้ชายคนนี้ตอนบริจาคของไปช่วยเขาบอกว่าพี่ๆ ผมไม่เอา ผมเอาแค่ตัวเดียวเพราะผมอยากได้แค่ตัวเดียว มันเลยกลายเป็นความสวยงามของการแบ่งปัน
คือไม่ใช่แค่พวกเราแล้ว แต่หมายถึงคนอื่นๆ พี่น้องคนอื่นๆ กรุ๊ปก็กลายเป็นที่รู้จักหลังจากออกสื่อช่องไทยพีบีเอส ก่อนที่ a day HUMAN RUN จัดงานครั้งแรกเราไปรวมอยู่ในหนังสือของเขา เราเลยขอบูทเขาเล็กๆ บูทหนึ่งเพื่อจะได้ประมูลสิ่งของนำเงินสมทบโรงพยาบาลรามาธิบดีได้เงิน 140,000 บาท
• คือหล่อหลอมรวมเป็น ‘อิทธิพล สมุทรทอง’ นักวิ่งมาราทอนอีกตำแหน่งหนึ่ง ที่ใครๆ ต่างยกย่องอย่าง ณ วันนี้
มาราธอนแรกในชีวิตของตัวเอง คือ ปีพ.ศ.2530 วิ่งที่สะพานลอยฟ้าเฉลิมพระเกียรติ ครั้งนั้น พี่พีระ ค้อสุวรรณดี พาไปนอนบ้านเขา เพราะมันไกลมาก ค่ารถตู้ก็ไม่เสียเพราะเขาออกให้ ถัดมาเสื้อชมรม 120 บาทก็ไม่มีสตางค์ เขาออกให้ นั้นทำให้ผมได้เริ่มวิ่ง วันนี้เติบโตมาทำการทำงานมีรายได้แล้ว การที่คนบางคนจะออกกำลังกายแล้วเราให้ของ ให้เขาได้เริ่ม แต่ผมไม่อยากให้เรียกว่าไอดอลหรือว่า Celeb เป็นเพื่อนเป็นพี่กันดีกว่า เพราะสิ่งที่ทำ ที่สร้างก่อให้เกิดการส่งต่อ ไม่ได้ทำเพื่อหวังผลประโยชน์แม้แต่น้อย อย่างบัฟ (Buff) ผ้าเอนกประสงค์ผ้าที่ไว้ใช้โพกหัว ปิดหน้า ปิดตา ไว้ปิดจมูก ไว้เช็ดเหงื่อ ผ้าสารพัดประโยชน์ ใครที่ผ่านมาราธอนแรกในชีวิต เราจะแจกบัฟ
คนถามว่าพี่ป๊อกเอาเงินมาจากไหนค่าบัฟ ทำงานกันทุกคนมีอยู่แล้ว เชื่อซิ เดือนหนึ่งไม่เกิน 10,000 บาทหรอก ปัจจุบันแจกบัฟไปแล้วเกินกว่า 2,000 ผืน ก็คือการส่งต่อถังน้ำมัน ปัจจุบันวิ่งมาราธอนแรกตัวอย่างเมื่อวานที่จังหวัดเชียงใหม่ พึ่งกลับมา ถ้าวิ่งผ่านมาลงชื่อที่กรุ๊ป พี่ป๊อกส่งไปฟรี ยินดีกับคุณ… กับมาราธอนแรกในชีวิต ดั้งนั้นกลุ่มเรา พอคนได้บัพไปฟรี เขาก็จะตอบเรากลับมาพีป๊อกๆๆ อยากได้อะไรต่อ จากการที่ให้บัพผมฟรี เราก็บอกว่าเราไม่ต้องการอะไรเลย เพียงแต่ว่าคุณไปขวนใครอีกคนมาวิ่งกับเรา มันก็เหมือน MLM ระบบขายตรงหลายชั้นไหม ไม่ได้ต้องการอะไรเลย พูดแล้วมันเหมือนหล่อ ไม่ต้องการอะไรเลย แต่เพียงแค่ไปพาใครบางคนมาออกกำลังกาย เชื่อไหมปัจจุบันกรุ๊ปขยายตัวด้วยสุขภาพ

บางคนก็เลยเกิดคำถามว่าทำไมต้องให้ พี่ให้มากกว่าที่ได้รับ จริงๆ มันไม่ได้ผิดปกติจากการเป็นตัวเรา พี่ไม่ได้เฟค ถ้าเฟคคนก็จะรู้ เราก็ทำตามปกติเหมือนเดิม พี่ตูนเขาใช้คำว่าธรรมชาติจัดสรร ครั้งแรกได้ยินยังงง แต่พอวันนี้รู้เลยว่าจริง ที่จริงเพราะนึกง่ายๆ ทำไมเราถึงได้มาอยู่กับพี่ตูน เขานักวิ่งซุปเปอร์สตาร์ระดับประเทศ เรานักวิ่งธรรมดา หมอเมย์ทำไมถึงได้มาจับเรื่องนี้ ทุกอย่างมันธรรมชาติจัดสรรหมด เราได้มามีรายการตัวเองชื่อ ฟิตไปด้วยกัน เขาถามว่าแปลกอะไรไหม ไม่แปลกเลย พี่ป๊อกลำบากไหม ไม่เลย เพราะทุกๆ อย่างรายการฟิตไปด้วยกันคือกรายการวิ่ง ก็ไปชวนเพื่อนที่แข็งแรง เพื่อนที่อ้วนแล้วผอมมาสัมภาษณ์ ดังนั้นพี่ทำทุกวันนี้เหมือนเป็นงานอดิเรก เอางานประจำได้เงินแล้วมาโยนในงานอดิเรกก็ไม่เห็นลำบากอะไร
ไม่ได้ผิดปกติจากที่ทำอยู่ เพราะเราวิ่งอยู่แล้ว ทุกอย่างมันก็จะมาต่อๆ กันเอง ได้ส่งต่อแรงบันดาลใจ ใครบางคนเข้ามาแล้วก็เกิดการเปลี่ยนแปลง ใครบางคนเข้ามาในสังคมวิ่ง ถูกอะไรบางอย่างสัมผัสแล้วเขาก็ไปส่งต่อ pay it forward พี่เคยได้รับมา แล้วพี่ก็มาแบ่งปันต่อ ที่จริงไอ้ที่พี่ได้รับมามันนิดเดียว นิดเดียวจริงๆ แต่มันคือเรื่องที่อยู่ในหัว มันคือ MENTAL เป็นเหมือนความคิดรวบยอดว่าไม่แปลกอะไรเราเคยได้รับมา ก็ส่งต่อ อันนี้ที่คนอื่นพูดว่าพี่ให้มากกว่าที่รับอีก แต่จังหวะนั้นสิ่งที่เขาหยิบยื่นให้มันอาจเป็นมูลค่าที่มาก เป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องการ ณ ขณะนั้น อย่างค่ารถอย่างไปมาราธอนแรกที่พี่ พีระ ออกให้ อย่างมากไม่กิน 200 แต่มันคือสิ่งที่ประทับใจเราไง ทั้งๆ ที่พี่พีระเป็นพนักงานเดินเช็คของธนาคารกรุงเทพ สาขาราชวัตร ซึ่งเขาหยิบยื่นให้เรา ทั้งหมดมันก็ถูกหล่อหลอมเรามา แล้วอีกอย่างเราอยู่บริษัท บริษัทสอนให้ส่งต่อๆๆ แบ่งปัน เก่งแล้วต้องมาบอกเพื่อนนะ ซึ่งการให้ยิ่งให้ก็ยิ่งได้มาก กลายเป็นว่าส่งต่อ ก็เหมือน Sharing ใครจะคิดอย่างไรก็ตาม แต่เราคิดว่าเป็นการให้ แล้วพอทำปุ๊บกรุ๊ปก็ค่อยๆ เพิ่ม จาก 800 คน ปัจจุบันคร่าวๆ 54,000 คน น่าจะเป็นกรุ๊ปวิ่งที่ใหญ่ที่สุดแล้ว และมีหลายคนที่มีความสามารถ มีความรู้ มีน้ำใจที่แบ่งปันกันทั้งนั้น
• เป็นเพียงเรื่องที่ส่งต่อแค่นั้นสำหรับความรู้สึกส่วนตัวเรา
เป็นเรื่องที่ส่งต่อไปแค่นั้นเอง เราแค่ได้มา คือเราคิดว่าไอ้ที่เราได้ในจังหวะนั้นมันมากแล้ว และเราได้รับมาแบบนี้ ถ้ามีโอกาสเราก็ส่งต่อ ตอนนี้เราอาจจะส่งได้มากตามกำลังที่เรามีกำลังมากขึ้นให้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนเราก็มีเหลือของเราสำรอง ไม่ได้เป็นคนรำรวย อย่างในปัจจุบันสตางค์ไม่ได้มีมาก ยังต้องทำงาน แต่ถามว่าไอ้ส่วนที่ให้มาเนี่ย ถามว่าจัดสันแบ่งบั่นได้ไหมมันได้ ฉะนั้นในการวิ่งเราก็สร้างวัฒนธรรมแบบนี้ในกรุ๊ปเราใครจะมาพูดไม่ดี ใครจะมาเขาจะรู้ว่าแอดมินจะโทนอย่างไร ถ้าสงสัยเข้าไปดูในกรุ๊ปจะเห็นว่ามีรูปหนึ่งที่ผมไปนอนในลู่วิ่งแล้วก็บอกว่าหมอบอกว่าในแต่ละวันต้องอยู่บนลู่วิ่งหนึ่งชั่วโมง ปะๆ ไปเอาหมอมานอนกัน รูปนั้น 8,000 ไลค์ รูปในกลุ่มสมัยก่อนที่คุณปู ไปรยา มาเขียนว่า “ฉันจบแล้ว” ทุกคนคิดคุณปูจริงหรือ 3,500 ไลค์ ดีใจใหญ่ แต่ปัจจุบันพอไม่ใช่แค่ทำเพื่อเป้าหมายเรา 8,000 ก็มี ล่าสุด 10,000 ไลค์ คือรูปพี่ป๊อกกับพี่ตูน เขียนว่านี้คือบทสุดท้ายของโครงการคนละก้าว แต่มันอาจจะเป็นการปิดของคำนำก็ได้ เพราะมันจะคือบทต่อไป ทั้งหมดทั้งมวลก็เริ่มจากการส่งต่อ การให้ อย่างที่พี่ตูนกล่าว การจบของวันนี้มันอาจจะไม่ใช่เรื่องจบก็ได้ มันอาจจะแค่จบคำนำ เพราะเนื้อหาอาจจะกำลังเริ่มต้น

หนึ่งพลัง สองขา ต่อเติมกายยาชีวิต
บทส่งท้ายยอดนักวิ่งตัวจริง
“วิ่งกับพี่ตูนมันคือทำความสุขของคนอื่น วันนี้มาทำให้ผู้ชายคนนี้ปลอดภัยสุด วันนี้มาทำให้ความสามารถที่มีบรรลุผล มันเปลี่ยนไปแล้ว อยากจะทำความเร็ว อยากจะเร็วขึ้น ไม่มีแล้ว”
อิทธิพล กล่าวถึงเป้าหมายเส้นทางในการวิ่งของตัวเองที่เปลี่ยนแปลงไป
“ความรู้สึกการวิ่งมาราธอนตอนนี้มันเหมือนกับคือแค่ใส่รองเท้าแล้วออกไปซ้อมแล้ว เพราะปัจจุบันอย่างใกล้ๆ ที่จะถึงจะไปวิ่ง 100 กิโลเมตรที่ฮ่องกง บอกพี่ตูนขอบคุณที่ชวนผมมารายการนี้ ถามว่าเพราอะไร เพราะเมื่อปีที่แล้วตอนที่ผมไปร่วมรายการการแข่งขันที่ Ultra Trail Du Mont Blanc (UTMB) รายการวิ่งเทรล วิ่งในป่าวิ่ง 170 กิโลเมตร จากประเทศฝรั่งเศสไปประเทศสวิสแล้วย้อนกลับมาประเทศอิตาลี บนเทือกเขา รายการนี้เหมือนโอลิมปิคของสายเทรล ไม่ใช่อยู่ๆ คุณมาจากจ่ายเงินค่าสมัครแล้ววิ่งได้เลย มีคนเป็นหมื่นๆ คนทั่วโลกในแต่ละปี ที่เขาเหล่านั้นต้องมีคะแนน 9 คะแนน ที่มาจากการไปแข่ง 100 กิโลเมตร จากสนามที่เขากำหนด หนึ่งสนามเขาจะให้เรา 3 คะแนน เรามี 9 คนไทย และเราต้องมีเงิน 12,000 บาท เพื่อส่งใบสมัครว่าฉันอยากไปแข่งของคุณนะ คนหมื่นคนแต่มีที่ให้วิ่งแค่ 1,800 ทำอย่างไง ก็สุ่มอีก เราโชคดีเป็นหนึ่งในนั้นที่ได้ไป แต่ความสุขตอนที่อยู่หน้าเส้นสตาร์ทนั้นมันเป็นความสุขอย่างหนึ่ง แต่การมาวิ่งกับพี่ตูนมันมีความสุขอีกแบบหนึ่ง เป็นความสุขที่ตื้นตัน ที่มีความหมายเหนือความยิ่งใหญ่นั้น
“เป้าหมายของการวิ่งจึงเป็นแนวการออกค้นหาประสบการณ์ มันเป็นการทำเพื่อคนอื่น”
อิทธิพลเผยความรู้สึก ที่ยิ่งตอกย้ำเส้นทางการวิ่งของตัวเองยิ่งขึ้นและย้ำวิถีการส่งต่อให้นอกจากเกิดการเปลี่ยนแปลงแต่ยังขยายแชร์สู่กันและกัน ไม่ใช่จำนวนป้ายสะสมกว่า 300 ใบที่เป็นเครื่องวัด
“เราเป็นเพียงส่วนประกอบเล็กๆ ส่วนหนึ่งของเรื่องวิ่ง ถ้าวันนี้ในขณะที่เรายังวิ่ง ใครบางคนยังอยากต้องการบัฟ พี่ป๊อกอย่าเลิกแจกบัฟนะ หนูเพิ่งเริ่มวิ่ง 10 กิโลเมตร แต่วันหนึ่งหนูจะวิ่งมาราธอนให้ได้ ดังนั้นการวิ่งของเราคือการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่วนรวม กลายเป็นว่าไม่ได้วิ่งเพื่อตัวเองแล้ว เป็นวิ่งเพื่อคนอื่น นอกนั้นคือการเก็บประสบการณ์ความสุขตัวเอง อย่าง ฮ่องกง 100 กิโลเมตรที่ยังไม่ได้ไปในปีหน้า เดือนกุมภาพันธ์ที่จะไปประเทศนิวซีแลนด์ 100 กิโลเมตรกับหมอเมย์ แล้วก็ที่โตเกียวมาราธอน”
“ก็จะวิ่งไปเรื่อยๆ เพราะเราอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันเขาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง บางคนมาวิ่งลดความอ้วน เพื่อความสุข เพื่อไปเที่ยว บางคนไปวิ่งเพราะอกหัก อย่างเซียนวิ่งเทรลประเทศไทยวิ่งเพราะอกหัก หรือมีน้องคนหนึ่งแมสเซสมา หนูถูกแฟนทิ้ง หนูจะมาวิ่ง แมสเซจพี่ส่วนใหญ่เยอะมาก ได้ตอบแมสเซจคนนี้ปั๊บจำได้แล้ว ถัดมาเวลาน้องคนนี้เมื่อไหร่ก็ตามที่เขาแมสเซจมา ไม่ว่าจะยุ่งแค่ไหนจะกดตอบคนนี้ก่อน เพราะต้องการให้กำลังใจ
“วันหนึ่งตอนที่จะวิ่งมาราธอน เขาบอกเราว่าพี่ป๊อกค่ะ หนูจะวิ่งมาราธอนแรกพรุ่งนี้ เราก็ให้กำลังใจ พี่ป๊อกรอวันที่จะประสบความสำเร็จนะ รอวันพรุ่งนี้ ถ้าเป็นไปได้พี่จะรอหน้าเสนชัย เพราะเราไปด้วย สุดท้ายเขาทำได้น้ำหนักลดลงไป 16 กิโลกรัมแล้วก็ล่าสุดรวมทั้งหมด 21 กิโลกรัม สุดท้ายคนเหล่านี้จะไปส่งต่อแรงบันดาลใจ ส่งต่อกำลังใจให้คนอื่นต่อไป เพราะเขาได้รู้ถึง pay it forward เช่นเดียวกับเรา มันเกิดการส่งต่อให้ขยายช่วย หนึ่งคนที่สุขภาพดีขึ้น จะมีคนอีก 5 คนที่มีความสุข เพราะตัวเขาสุขภาพดี สามี ภรรยา เขา พ่อ แม่เขา ครอบครัวอบอุ่นก็เกิดความสุข มันไม่ใช่แค่เขา มันก็จะกลายเป็นสังคมสุขภาพดี ขยายวงออกไป ดังนั้นการที่ใครบางคนออกมาวิ่งหาใช่ ชวนเขาคนเดียวไม่ มันคือการที่ทำให้เขาและคนรอบข้างเขาแข็งแรง บัฟคือกิมมิคชนิดหนึ่ง แต่วันนี้คือประสบความสำเร็จวันนี้ถ้าคุณวิ่งมาราธอนได้ แปลว่าคุณไม่ใช่คนธรรมดาแล้ว คุณไม่ได้ออกกำลังกายธรรมดาแล้ว คุณต้องตั้งใจพอสมควรในการทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ของราคาไม่ถึง 100 บาท แต่สามารถสร้างให้คนสุขภาพดีละชวนให้คนอื่นออกกำลังกายได้”
และท่ามกลางเม็ดเหงื่อที่หลั่งริน สายตาที่จับจ้องอย่างมุ่งมั่น กว่า 400 กิโลเมตร นอกจากก่อให้เกิดการช่วยเหลือส่งต่อ เหนือสิ่งอื่นใดคือการปลุกกระแสความเชื่อมั่นของใครสักคนหนึ่งให้กล้าที่จะลุกขึ้นมาเผชิญปัญหาและก้าวไปด้วยกัน
“เพราะว่ามาราธอนไม่ใช่ทุกคนจะวิ่งกันได้ ต้องตั้งใจฝึกซ้อมอดทน มีเป้าหมาย ระยะทาง 42 กิโลเมตรบนขาเรา ถ้าวันนี้คุณผ่านระยะนี้ได้ ชีวิตนี้คุณผ่านได้ทุกอย่างแล้ว ถ้าเขาทำได้แล้วชีวิตเขาเปลี่ยน คนรอบข้างเขาเปลี่ยน เขามีรอบยิ้ม ก็แฮปปี้แล้ว เราต้องการแค่นี้ “pay it forward” คือความหมายของการวิ่งของผมในวันนี้”

เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : พลภัทร วรรณดี
ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลแสดงให้เห็นถึงการก้าวคนละก้าว การก่อเกิดความสำเร็จเช่นนี้จึงไม่ใช่เพียงใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่ยังมีคนรอบข้างกายร่วมกันปลุกปั้นสานถักทอ เป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้โครงการที่ยิ่งใหญ่ลุล่วงประจักษ์สู่สายตา
และหนึ่งในใครคนนั้นก็คือ “อิทธิพล สมุทรทอง” หรือ “พี่ป๊อก” ชายผู้วิ่งข้างกายซุปเปอร์สตาร์ตลอดระยะทาง 400 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นักวิ่งมาราธอนตัวยงคนหนึ่งที่คร่ำหวอดในวงการทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า 30 ปี หัวเรือใหญ่ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กกรุ๊ป “42.195 K Club…เราจะไปมาราธอนด้วยกัน” เฟซบุ๊กกรุ๊ป “แบ่งปัน” และผู้จัดการบริษัทขายประกันชื่อดังเมืองไทย ที่เกิดขึ้นได้เพราะการให้ จนกลายเป็นที่ยกย่องในเรื่องการวิ่งและการทำงาน เป็นต้นแบบอย่างใครหลายคนเอาเยี่ยงอย่างมาปรับใช้ดำเนินชีวิต เอาเป็นแรงบันดาลใจขับเคลื่อน
และนี่คือเรื่องราวของเขา ที่อาจจะไม่หมดไส้หมดพุงจุดเริ่มต้น หากแต่คือก้าวต่อไป ก้าวที่คนละก้าวร่วมกันสานถักทอ “การแบ่งปัน” บทนำเริ่มเรื่องสู่เนื้อหา “การส่งต่อ” จากศูนย์ หนึ่ง สอง สาม ไปจนถึงเก้า เก้าคนละเก้าด้วยกัน
นักวิ่งธรรมดาผู้ร่วมสร้างโครงการที่ยิ่งใหญ่ ‘ก้าวคนละก้าว’
ชายผู้อยู่เคียงกายตูนบอดี้สแลม
“เป็นเรื่องที่เราก็ยังไม่รู้เหมือนกันนะ ว่าทำไมพี่ตูนถึงเลือกพี่ป๊อกมาช่วยโครงการนี้ เพราะนักวิ่งคนอื่นๆ ก็มีเยอะแยะ นับแค่ที่สวนลุมพินี เราก็แค่นักวิ่งธรรมดาๆ คนหนึ่งเท่านั้น เคยเจอะเจอกันก็บางครั้งบางคราวผิวเผิน”
ชายหนุ่มรุ่นใหญ่วัยหลัก 50 กล่าวเล่าเรื่องราวก่อนที่จะเกิดโครงการก้าวคนละก้าวที่กลายเป็นปรากฏการณ์อันยิ่งใหญ่โครงการหนึ่งที่เกิดขึ้นจากแรงผลักขับเคลื่อนสองขา ซึ่งทั้งนับจากยอดบริจาคมหาศาลจากประชาชนทั่วประเทศที่สูงราว 70 ล้านบาท การก่อร่างแรงบันดาลใจ การปลุกให้ตื่นรู้ตระหนักถึงการให้ การช่วยเหลือพี่น้องผองไทย อย่างขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมกล่าวส่งต่อกันและกัน
“เท่าที่ผมเกี่ยวข้องกับพี่ตูน พี่ตูนลงปกหนังสือ a day magazine ข้างหน้าเป็นพี่ตูน ข้างในเป็นนักวิ่งหลายคนซึ่งหนึ่งในนั้นมีที่เป็นนักวิ่งที่เก็บป้ายเบอร์วิ่งมากที่สุดในไทยซึ่งคือผม และผมก็เคยมีคลิปอันหนึ่ง วิ่งกับป๊อก จ๊อกดูหญิง ก็ไปถ่ายพี่ตูน อันนั้นที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นก็เจอหน้าในสนาม ทักทาย ขอลายเซ็น แต่คงจำผมไม่ได้หรอกเพราะคนเยอะ
“กระทั่งช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมี เฟซบุ๊กมีฟีเจอร์ใหม่ ซึ่งผมก่อตั้งกลุ่ม 42.195 K Club…เราจะไปมาราธอนด้วยกัน เราก็ถามสามชิกเขาว่า เราจากจะฟัง Live ใครให้โหวต เพื่อนๆ ก็โหวตๆ สุดท้ายอันดับหนึ่งคือพี่ตูน อันดับสองคือคุณปู ไปรยา ผมรู้อยู่แล้วว่าเพื่อนๆ คิดว่าเราไม่สามารถจะไป Live เฟซบุ๊กพี่ตูนได้อยู่แล้ว เพราะเขาระดับศิลปินดัง คิวก็เยอะ ปรากฏว่าหมอเมย์ พญ.สมิตดา สังขะโพธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู แอดมินอีกคนหนึ่งเขารักษาให้กับพี่ตูน ผมก็เลยปรึกษาว่าเอาอย่างไรดี โทรไปหาพี่โทน ผู้จัดการพี่ตูนไหม หมอเมย์ก็บอกไม่ต้องโทรหาพี่ตูนเลย โทรไปพี่ตูนรับสายทราบจุดประสงค์ เขาก็บอกว่ามาเลย”
อิทธิพลเผยด้วยรอยยิ้มเต็มดวงหน้า แม้จะไม่ล่วงรู้การกระเถิบชิดพบปะที่คนอื่นมองจากภายนอก ทั้งในเรื่องการเป็นนักวิ่งคนหนึ่งที่คร่ำวอดในวงการจนเชี่ยวชาญ ทั้งในเรื่องการก่อตั้งกลุ่มเพจเฟซบุ๊กชมรมวิ่งที่ใหญ่ที่ในประเทศ เรื่องของการแบ่งปันช่วยเหลือในกลุ่ม “แบ่งปัน” เพจกรุ๊ปนักวิ่ง เหล่านี้อาจจะเป็นเครื่องผูกหลอมรวมผู้ที่มี “ความเชื่อ” เดียวกัน ไม่เว้นกระทั่งศิลปินนักร้องเบอร์ต้นของเมืองไทย ตูน บอดี้สแลม หรือ อาทิวราห์ คงมาลัย
“ก็เลยกลายเป็นครั้งแรกที่ไป Live เฟซบุ๊กที่แกรมมี่ พี่ตูนออกกำลังกายเสร็จก็ขอ 20 นาทีนะ เพื่อนๆ จะได้รู้ว่ามา Live (ยิ้ม) วันนั้นคือวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งพี่ตูนก็เปรยๆ เรื่องที่จะทำโครงการวิ่งเพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลบางสะพาน เราก็ทำกรุ๊ป Whatsapp แล้วหลังจากนั้นพี่ตูนก็ส่งข้อความการวิ่งไปอยู่บางสะพานมาว่า ผมอยากหาเงินให้โรงพยาบาลบางสะพานเนื่องจากมีแฟนๆ คลับ เพื่อนๆ พี่น้องบอกว่าที่โรงพยาบาลบางสะพานขาดแคลนเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งพอพี่ตูนเข้าไปดู ก็ได้ไปรู้จักอาจารย์เชิดชาย คุณหมอผู้อำนวยการ ท่านก็บอกว่าเดี๋ยวปีหน้าจะได้ตึก แต่ในตึกไม่มีเครื่องมือ พี่ตูนเลยอยากจะช่วยเหลือ นั้นเท่าที่ผมทราบถึงต้นเหตุที่เกิดโครงการนี้ ซึ่งจริงๆ ถ้าบริจาคเงินตัวเองได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาเหล่านี้มันก็ยังจะเกิดขึ้น ทว่าหากเราช่วยคนละนิด คนละไม้คนละมือ ที่จริงช่วยกันคนละ 10บาท หรือ 1 บาท พี่น้องปะชาชนก็สามารถระดมเงินช่วยให้กับโรงพยาบาลนี้ได้
“หลังจากนั้นวันที่ 16 ตุลาคม พี่ตูนบอกว่าต้นเดือนธันวาคมผมตั้งใจจะวิ่งไป 400 กิโลเมตร ตั้งแต่กรุงเทพฯ ไปอำเภอบางสะพาน ตั้งใจจะนำเงินไปบริจาคแล้วระหว่างทางก็จะแวะบริจาคเงินส่วนตัวให้กับโรงเรียนต่างๆ ไปในตัว อยากจะหาเงินให้ได้มากที่สุดเพื่อทำบุญถวายเป็นพระราชกุศลให้ในหลวงของพวกเราครับ โดยไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายมากเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กรที่จะได้รับ อยากชวนคุยปรึกษาเรื่องความเป็นไปได้และวางแผนให้เกิดขึ้นจริงให้ได้
“อยากเป็นตัวจุดประกายให้คนไทยลุกขึ้นมาทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ แค่ก้าวเล็กๆ ก้าวไม่หยุดทุกวัน แม้เป้าหมายจะดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าลงมือทำคนละเล็กคนละน้อย ก้าวคนละก้าว เป้าหมายก็จะสำเร็จลง”
นักวิ่งรุ่นใหญ่เผยถึงคำที่ทำให้กระโดดก้าวเข้าร่วมโครงการโดยไม่ลังเล
“เพราะนอกจากพี่ตูนจะเห็นถึงการแก้ไขปัญหานี้จริงๆ การที่จะวิ่ง 400 กิโลเมตร มันไม่ใช่เรื่องที่อยู่ดีๆ จะทำได้ถ้าคิดแบบผู้ใหญ่ แต่พี่ตูนจะบอกเสมอๆ ทั้งเวลาต่างๆ และตอนเล่นคอนเสิร์ตว่า “อยากเป็นวัยรุ่นตลอดเวลา” ทำอะไรก็สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก ยิ่งถ้ามองย้อนกลับไปอีกมุมการเป็นวัยรุ่น เป็นเด็ก คือเป็นช่วงที่เรามองโลกต่างๆ ในแง่ดี คิดดี ทำดี และศิลปินระดับนี้ 10 วัน ต้องแคนเซิลงานต่างๆ เพื่อวิ่งรับบริจาค เพื่อจุดประกายอย่างชื่อโครงการ ก้าวคนละก้าว ผมก็ตกลงอย่างไม่ต้องคิด ก่อนที่พี่ตูนจะบอกว่าพี่ป๊อกช่วยผมหน่อย
“ทีนี้หลังจากนั้นเราก็เลยกลายเป็น 3 คน พี่ตูน ผม หมอเมย์ สร้างกรุ๊ปคุยปรึกษาหารือเราจะทำอย่างไรกันดี ก็มีหลากข้อเสนอ จัดแข่ง จัดวิ่ง วิ่ง 3-10 กิโลเมตร จัดวิ่ง 21 กิโลเมตร วิ่งไปบางสะพานเสร็จมีคอนเสิร์ต มีอะไร รูปแบบนั้น ผมก็เลยบอกพี่ตูนว่า “พี่ตูนจัดวิ่งไม่คุ้ม” อันนั้นเป็นความเห็นต่างผมเลย เพราะว่าถ้าจัดจะมีค่าใช้จ่ายทั้งค่าเหรียญ ค่าเสื้อ ค่าอะไรต่ออีกอะไรซึ่งหลายแสนบาทเลย พี่ตูนก็เปิดกว้างรับฟัง
“ในที่สุดพี่ตูนจะวิ่ง 400 กิโลเมตร เริ่มเซ็ตทีม นัดประชุมครั้งแรกทันที บังเอิญหมอเมย์ไม่ว่างติดงานที่โรงพยาบาล ก็เลยต้องไปหาหมอเมย์ สถานที่นัดประชุมครั้งแรกจึงเป็นสตาร์บัคแทนห้องประชุมที่ตึกแกรมมี่ ก็ประชุมกันทั้งหมอเมย์ ผม พี่ตูน และออกแกไนซ์เซอร์โครงการนี้คือพี่โอ๊ต พี่เบลเป็นครีเอทีฟ พี่ตู้ พี่ดาส เป็นทีมกล้อง แล้วก็จะมีทีมออนไลน์เป็นแอดมินเพจบอดี้สแลมเป็นพี่ชล นั้นคือจุดเริ่ม
“จากนั้นถัดมาก็เป็นผม รับหน้าที่ทำเส้นทาง ผมก็อาศัยAppวิ่งทำ ไปลงตรงไหน 10 กิโลเมตร เพราะแผนพี่ตูนคือวิ่ง 10 กิโลเมตร แล้วพักครึ่งชั่วโมง ในแต่ละวันผมก็ทำ 10 กิโลเมตรแล้วพักๆๆ ไปเรื่อยๆ จนถึงบางสะพาน เสร็จส่งรูทให้ปริ๊นออกมาพี่โอ๊ตไปทำต่อ เขาก็ไปถ่ายรูปต่อตรงนี้จะพักตรงนั้น บางที 10 กิโลเมตรเป็นข้างทาง เขาก็ขยับไป 300 เมตร เป็นไปที่ปั้มน้ำมัน ที่ๆ มีอะไรรองรับ ก็ค่อยๆ เป็นรูปเป็นร่างขึ้น ไปลงพื้นที่จริงๆ กัน สำรวจเส้นทาง ทำเรื่องภาพ ถ่ายโปรโมท การที่วิ่งคนเดียวอาจจะคนรู้คนเดียว พี่ตูนก็ไปเชิญบรรดา Celeb น้าแอ๊ด คาราบาว พี่วู้ดดี้ พี่กะละแมร์ พอเขามาวิ่งเขาก็จะได้พากลุ่มคน พาเพื่อนเข้ามาร่วมรู้จักโครงโรงการนี้มากขึ้น เลยกลายเป็นกระจายไปมากขึ้นหมอเมย์ก็แนะนำทำตารางคอร์สการรับประทาน กำหนดว่าต้องทานอาหารทุกๆ ต้องกินน้ำขนาดนี้ ต้องกินเจลขนาดนี้ พี่ตูนน่ารักมากก็ทำตามหมด พี่เบลก็คิดโครงการจะใช้ชื่อว่าอะไร ซึ่งทั้งหมดก็ออกมาเป็นโครงการก้าวคนละก้าว เพราะจากคนหนึ่งคนจึงเกิดการส่งต่อร่วมด้วยช่วยกัน”
“ผมก็แค่นักวิ่งธรรมดา”
นักวิ่งรุ่นใหญ่กล่าวถ่อมตนย้ำอีกครั้งเมื่อเล่าถึงตรงนี้ นั้นเพราะหลังจากการวิ่งครั้งนี้ชายผู้จุดประกาย นักวิ่งที่อ่อนทั้งคุณวุฒิวัยวุฒิผู้นี้เพิ่มเติมบทเรียนและเปิดมุมมองความคิด อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นให้ได้ตระหนัก
“ที่จริงวิ่งกับพี่ตูนสิ่งที่รู้อย่างเดียวคือเราช่วยสนับสนุนการวิ่ง ถามว่าพี่ตูนเป็นคนอย่างไร เป็นคนน่ารักครับ เห็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เจอข้างนอกสวัสดีทักทายอ่อนน้อมถ่อมตน ลับหลังก็เป็นอย่างนั้นเหมือนเดิม เป็นคนแบบที่รักเด็ก เอาใจใส่คนอื่น เป็นคนให้เกียรติคน ถ้าคนสังเกตกลายเป็นว่าตั้งแต่วันแรก ผมมาวิ่งข้างหน้า ทั้งๆ ที่จริงๆ ไม่ใช่ แผนที่วางไว้คือ มีรถตำรวจนำเพื่อกันทาง มีพี่ตูนแล้วก็มี Celeb ที่เชิญมา ผมจะอยู่หลังสุดหน้ารถเซอร์วิส ในรถจะมีหมอนั่งอยู่ แต่วันแรกที่ไปสวนกุหลาบ พี่ตูนบอกว่าให้มาอยู่ข้างหน้า
“จากแผนที่อยู่หลังสุดกลายเป็นผมต้องไปอยู่หน้าตั้งแต่วันแรก เริ่มส่งน้ำให้ดื่ม วิ่งรับน้ำจากรถ วันแรกขลุกขลักเล็กน้อยตั้งแต่หน้าโรงเรียนสวนกุหลาบพี่ตูนให้ไปยืนถ่ายรูปด้านหน้ากลายเป็นผมไปปรากฏตัวด้านหน้า เพื่อนๆ ยังแซว ป๊อกไปอยู่หน้าสุดทำไม มันต้องเป็นพี่ก้อย เป็นคนอื่น แต่ถ้ารู้นิสัยไม่ได้ชอบอะไรอย่างนี้อยู่แล้ว แต่พี่ตูนให้เกียรติ กลายเป็นว่าไปยืนข้าง
“ข้อที่สองผมร้องไห้ทุกวัน สิ่งที่เข้ามากระทบเนี่ย มันกระทบใจมาก ในด้านดี ผมเห็นเด็กตัวเล็กๆ เอากระป๋องออมสินยื่นให้ กระป๋องออมสินไม่ใช่บาทสองบาท หนักทีเดียว คือไม่ว่าวันนี้จะถูกพ่อแม่บอกหรืออะไรก็ตาม เขายืนรอเพื่อจะยืนมอบให้พี่ตูนรับแว๊ปเดียว พี่ตูนก็รับแล้วถ่ายรูปไว้ บอกพี่ป๊อกทีมงานเก็บไว้ให้ด้วยนะ เด็กตัวเล็กๆ คนหนึ่งศรัทธาโครงการนี้ เอาเงินมาให้ ไม่ว่าเด็กจะเห็นจากไหนใครบอกแต่มันจุดประกายแล้ว นอกจากนี้ยังมีป้าคนหนึ่งใส่ผ้าถุงเป็นชาวบ้านยืนรอส่งเงินช่วยบริจาค เพียงเพราะส่ง sms ไม่เป็น มีเด็กนักเรียนถือเหรียญ 5 บาทยื่นให้ นั้นเป็นค่าขนมเขากึ่งนึ่งแล้วนะ มีผู้ใช้แรงงาน ยื่นธนบัตรแบงค์พัน ซึ่งโหย…ผมขนลุกเลย เพราะค่าแรงเขาผมว่าไม่เกิน 500 บาทต่อวัน น้ำตาผมไหลเองอัตโนมัติด้วยความตื้นตันใจ
“อันนั้นคือสิ่งที่จากประสบการณ์ยังไม่เคยเห็น” อิทธิพลเผยก่อนจะกล่าวเสริม
“คือแทนที่ผมจะเหมือนกับเป็นผู้ให้ แต่กลายเป็นว่าเราเป็นผู้รับ รับพลังงานดีๆ ในการวิ่งวันที่ 7-8 มีน้อคนหนึ่งเขาวิ่งกระท่อนกระแท่นด้วยรูปร่างที่น้ำหนักเยอะตะโกนมาจากข้างทาง “พี่ตูน พี่ป๊อก ครับ ขอบคุณนะครับที่มาช่วยโรงพยาบาลที่ผมเกิด” ผมอึ้งร้องไห้เลยเหมือนกัน ผมแค่ทำเรื่องวิ่ง ผมมาวิ่งเป็นเพื่อนพี่ตูน แต่ว่าสิ่งที่ได้รับเนี่ยมันเป็นผลกระทบด้านบวกที่ว่าคนรักพี่ตูนมีแต่พลังงานดีๆ ส่งมา ผมบอกว่าข้อนี้มันเป็นของแถมที่ดีมาก ได้เห็นชีวิตศิลปินคนหนึ่งที่เป็นตอนที่เขาเหนื่อยที่สุดชีวิต คนเราพอมันเหนื่อยมันแสดงออกมาหมด พี่ตูนก็แสดงออกมา ตลอดทางไม่มีหงุดหงิดสักครั้งเดียว โดนชนล้มก็ไม่เป็นไร คือทีมเราจะมีการวิ่งกันพี่ตูนอยู่แล้วสลับพลัดเปลี่ยนกัน แต่พี่ตูนบอกว่าไม่เป็นไร ปล่อยไปตามธรรมชาติเลย เพราะบางทีเขาเจอเขารอเราครั้งเดียวในชีวิต
“ให้เป็นธรรมชาติเลย เพราะเขาอาจจะเจอเราครั้งเดียวในชีวิต ฉะนั้นถามว่าเสียผมดายไหม 10 วัน เสียดายความเหนื่อยล้าไหม…ไม่ เสียดายเงิน…ไม่ ไม่เสียอะไรเลยตั้งแต่ตอนแรกที่ร่วมประชุมแล้วรู้ว่าบัญชีเปิดวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่เป็นคนแรกๆ ที่พี่ตูนบอกเป้ายอด 5 ล้านบาท ผมร่วมสมทบห้าหมื่นบาท หนึ่งเปอร์เซ็นต์ ที่เล่าไม่ได้ว่าจะเก่งหรือดี แต่ต้องการสนับสนุนโครงการนี้ เพราะมีหลายๆ คน ตั้งข้อสงสัยว่าพี่ป๊อกพี่ถูกจ้างมาหรือเปล่า ทำไมเราดูตั้งใจมากเลย ทั้งคอยบริการน้ำดื่ม คอยคอนโทรลสิ่งรอบข้าง อำนวยความสะดวกความปลอดภัย เราเป็นนักวิ่ง เราเคยขาพลิก แต่พี่ตูนจะขาพลิกไม่ได้ เขาจะตกหลุมไม่ได้ เขาจะอะไรไม่ได้ พี่ไม่อยู่มีนักกีฬาคนอื่นต่อให้เลย ผมไม่โกรธนะ ผมบอกไม่ได้จ้างหรอก แต่เพราะจะหาแบบนี้ให้คนมาเมคทำแบบนี้ไม่ได้
“แล้วพอเราเป็นคนในเราก็จะเห็นพัฒนาการ เห็นการเติบโต แนวคิด เรารู้สึกว่าเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง เป็นศิลปินคนหนึ่งที่มาทำโครงการนี้ เป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วม เป็นการกระตุ้น ส่วนตัวผมชอบแล้วบังเอิญเราอยู่ในขบวนด้วย แล้วเราจะหาโมเม้นท์แบบนี้ไม่ได้แล้ว ยิ่งภาพเวลาคนมายื่นส่งเงินบริจาคเป็นภาพที่ผมว่าไม่เคยเห็น ส่วนตัวผมว่ามีไหม ผมว่าไม่มีนี้ มันยิ่งใหญ่มาก เป็นธารน้ำใจ เป็นเส้นทางที่ส่งเปลี่ยนแปลงให้ทำต่อไป อย่างที่พี่ตูนบอกว่าหลังการจบครั้งนี้อาจจะไม่ใช่แค่จบ เพียงอาจจะจบแค่บทนำ และเป็นก้าวต่อของเนื้อเรื่อง”
จุดเริ่มต้นปฐมบทน่องเหล็กจิตอาสา
เมื่อเคยได้ ต้องส่งต่อ
• จากเส้นทางการช่วยเหลือเชื่อว่าจุดเริ่มต้นการมีจิตใจใฝ่อาสาเกิดจากประสบการณ์ชีวิตที่เคยผ่านและได้รับมา
ใช่ครับ…ก็หลายๆ อย่างที่หลอมรวมเรามา เริ่มจากที่บ้านคุณพ่อคุณแม่ท่านก็เป็นแบบอย่าง คุณพ่อท่านเป็นข้าราชการ แม่เป็นแม่ค้าธรรมดา ไม่ได้มีความรู้มากมาย แต่อยากให้การศึกษาที่ดีที่สุด ท่านอดทนให้เราได้มาศึกษาที่กรุงเทพฯ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ให้ก็เป็นแบบอย่างที่สื่อให้รู้จักการเสียสละแบ่งปัน ตอนเรียนจบทำงานที่องค์การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดนก็ยิ่งทำให้เรารับรู้ถึงคุณค่าของการให้ กระทั่งมาทำงานที่ AIA ขายประกัน ตอนเริ่มต้นนั่งทำงานที่ AIA ผมนั่งอยู่หลังห้อง ข้างหน้าห้องเป็นคนเก่ง เขาก็เล่าให้ฟัง แล้วก็พูดว่าวันนี้ เขาคนนั้นในอดีตก็นั่งอยู่หลังห้องเหมือนกัน วันนี้เราต้องส่งต่อแบบนี้ไปรุ่นถัดไป
6 ปีถัดมาผมเป็นประธานห้องนั้น คือคุณประสบความสำเร็จแล้ว คุณไม่ได้อยู่เฉยๆ คุณต้องมาส่งต่อ มีนิทานเรื่องหนึ่งเล่าประจำ มีนักศึกษาหนุ่มคนหนึ่งกำลังเดินทางไปสอบวันสุดท้ายของเขาเพื่อจะจบการศึกษาชั้นระดับปริญญาตรี ก็ รีบมากก็ขับรถออกไปนอกเมืองเพราะมหาวิทยาลัยอยู่ไกล ระหว่างที่ขับรถไปเรื่อยๆ ปรากกฎว่าสิ่งที่ไม่คาดคิดคือเขาลืมเติมน้ำมัน ขับๆ ไป น้ำมันหมดก็เลยจอดชิดข้างทาง ซึ่งตรงทางนั้นเป็นทางลัด คนไม่ค่อยมีผ่านสัญจร จอดปั๊บรถคันแรกผ่านไป รถคันที่สองผ่านไป คันที่สามนักศึกษาหนุ่มเริ่มโบก แต่คันที่ผ่านเขาก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร เขาก็ไม่จอดรับ กระทั่งคันที่ 4 โบกก็ไม่จอด ทว่าคันที่ 5 ยังไม่ทันที่นักศึกษาหนุ่มจะทำอะไรเลย รถคันนั้นแวะมาจอดข้างทาง นักศึกษาหนุ่มเดินไปหา เขาเปิดประตูรถถามว่าเป็นอะไร นักศึกษาหนุ่มบอกว่าพี่ครับน้ำมันหมด ทันทีที่ได้ยินนั้นชายคนเดินนั้นไปเปิดท้ายรถแล้วก็หยิบกระป๋องน้ำมันมาให้ นักศึกษาหนุ่มยังแปลกใจ คิดว่าเอ๊ะ…ทำไมมีกระป๋องน้ำมันอยู่ท้ายรถ แต่ก็รับกระป๋องน้ำมันเดินมาที่รถตัวเอง จังหวะกำลังเติมน้ำมัน อยู่ๆ ปรากกฎว่าผู้ชายคนนั้นทำท่าเหมือนจะไป นักศึกษาหนุ่มรีบบอกพี่ครับอย่าพึ่งไป ผมยังไม่ได้ขอบคุณพี่เลย และยังไม่รู้แม้กระทั่งชื่อพี่เลย ผมจะขอบคุณพี่อย่างไรดี คนที่ขับรถตอบว่าถ้าอยากขอบคุณผม คุณแค่ส่งต่อถังน้ำมัน นี้ให้กับคนอื่น เพราะผมก็ได้รับจากคนอื่นมาเหมือนกัน
ผมชอบนิทานเรื่องนี้มากและก็นำมาเป็นคติประจำใจซึ่งเราก็มาทำในวงการวิ่งนี้แหล่ะ ก็ใช้ไอเดียเรื่องการส่งต่อถังน้ำมัน เกิดเป็นกรุ๊ป 42.195 K Club…เราจะไปมาราธอนด้วยกัน จากปกติไม่ชอบเฟซบุ๊ค เพราะเวลาไปขายประกัน คนมักจะเล่นเฟซบุ๊กแล้วไม่ฟังเรา (หัวเราะ) จนกระทั่งวันนึ่งไปที่กรมพัฒนาที่ดิน พี่ป๊อกพี่ต้องมีเฟซบุ๊ก เราก็ถามทำไม พี่จะได้เอาไว้ตอบผมไง ก็ยังสงสัยตอบได้อย่างไร เขาก็อธิบายว่ามันมีแมสเซสข้อความ เราก็ให้เขาช่วยทำให้หน่อย ถัดมากลายเป็นว่าหลังจากนั้นไปวิ่ง NorthFace 50 กิโลเมตร เพื่อนต่างชาติ you have a facebook เราก็เออๆ มี กลายเป็นแอดๆ เพื่อนส่วนใหญ่จะเป็นต่างชาติ ก็ได้ความรู้เรื่องวิ่งต่างๆ มาจากเพื่อนต่างชาติในตอนแรก นั้นทำให้เราคิดว่าทำไมเราไม่ทำกรุ๊ปแบบนี้เพื่อแบ่งปันกำลังใจคนอื่นๆ ที่เก่งๆ กว่าเราเยอะแยะเลยมาเข้ากรุ๊ป
• จากนั้นก็เกิดการขยายต่อกรุ๊ปกลุ่ม ‘แบ่งปัน’ แตกยอดต่อขึ้น
ครับ คือตอนนั้นหลังจากตั้งกลุ่ม ผมวิ่งอยู่ที่สวนรถไฟ จำได้เลยว่าเพื่อนในชมรม ผมมีกางเกงตัวนี้ไม่ได้ใส่ ก็ให้เพื่อนพี่น้อง ก็เริ่มเห็นภาพลางๆ แต่ก็ยังไม่ได้อะไร แค่มีเหลือไม่ได้ใช้ก็ให้กัน แต่หลังจากนั้นเราชอบรองเท้าก็เลยมาทำเพจ แชร์แบ่งปั่นวิธีเลือกซื้อ สอนวิธีการซื้อ เพื่อนๆ น้องๆ ก็บอกว่าไม่ต้องสอน ซื้อมาให้เลยได้ไหม (หัวเราะ) เราก็ได้ ถ้าอย่างนั้นอยากได้รุ่นไหน สีไหน บอก เดี๋ยวซื้อแล้วส่งไปให้ที่บ้านแล้วค่อยเก็บตังค์ นานเข้าๆ ผู้นำเข้ารายใหม่บอกว่าพี่ป๊อกพี่ขายอย่างนี้ไมได้ 500 บาทกำไรมันน้อยไป ไม่ได้ แต่เราไม่คิดถึงตรงนั้น ก็บอกคนที่ซื้อรองเท้าคุณจงภูมิใจเถอะเพราะตังค์ที่ได้ผมเอาไปส่งต่อเพื่อบัฟ เพื่อสร้างกำลังใจให้คนอื่น ดังนั้นมันคือนี้คือที่มาที่ทำให้กลายเป็นคอมมูนิวตี้การแบ่งปั่นเกิดขึ้น และหลังจากนั้นระหว่างที่ซื้อขายอุปกรณ์ มีน้องคนหนึ่งอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ถ่ายรูปคนขากระเผลก กางเกงเก่าๆ เสื้อผ้าเก่าๆ คนให้กันมากมาย ทั้งกางเกงทั้งเสื้อ สุดท้ายผู้ชายคนนี้ตอนบริจาคของไปช่วยเขาบอกว่าพี่ๆ ผมไม่เอา ผมเอาแค่ตัวเดียวเพราะผมอยากได้แค่ตัวเดียว มันเลยกลายเป็นความสวยงามของการแบ่งปัน
คือไม่ใช่แค่พวกเราแล้ว แต่หมายถึงคนอื่นๆ พี่น้องคนอื่นๆ กรุ๊ปก็กลายเป็นที่รู้จักหลังจากออกสื่อช่องไทยพีบีเอส ก่อนที่ a day HUMAN RUN จัดงานครั้งแรกเราไปรวมอยู่ในหนังสือของเขา เราเลยขอบูทเขาเล็กๆ บูทหนึ่งเพื่อจะได้ประมูลสิ่งของนำเงินสมทบโรงพยาบาลรามาธิบดีได้เงิน 140,000 บาท
• คือหล่อหลอมรวมเป็น ‘อิทธิพล สมุทรทอง’ นักวิ่งมาราทอนอีกตำแหน่งหนึ่ง ที่ใครๆ ต่างยกย่องอย่าง ณ วันนี้
มาราธอนแรกในชีวิตของตัวเอง คือ ปีพ.ศ.2530 วิ่งที่สะพานลอยฟ้าเฉลิมพระเกียรติ ครั้งนั้น พี่พีระ ค้อสุวรรณดี พาไปนอนบ้านเขา เพราะมันไกลมาก ค่ารถตู้ก็ไม่เสียเพราะเขาออกให้ ถัดมาเสื้อชมรม 120 บาทก็ไม่มีสตางค์ เขาออกให้ นั้นทำให้ผมได้เริ่มวิ่ง วันนี้เติบโตมาทำการทำงานมีรายได้แล้ว การที่คนบางคนจะออกกำลังกายแล้วเราให้ของ ให้เขาได้เริ่ม แต่ผมไม่อยากให้เรียกว่าไอดอลหรือว่า Celeb เป็นเพื่อนเป็นพี่กันดีกว่า เพราะสิ่งที่ทำ ที่สร้างก่อให้เกิดการส่งต่อ ไม่ได้ทำเพื่อหวังผลประโยชน์แม้แต่น้อย อย่างบัฟ (Buff) ผ้าเอนกประสงค์ผ้าที่ไว้ใช้โพกหัว ปิดหน้า ปิดตา ไว้ปิดจมูก ไว้เช็ดเหงื่อ ผ้าสารพัดประโยชน์ ใครที่ผ่านมาราธอนแรกในชีวิต เราจะแจกบัฟ
คนถามว่าพี่ป๊อกเอาเงินมาจากไหนค่าบัฟ ทำงานกันทุกคนมีอยู่แล้ว เชื่อซิ เดือนหนึ่งไม่เกิน 10,000 บาทหรอก ปัจจุบันแจกบัฟไปแล้วเกินกว่า 2,000 ผืน ก็คือการส่งต่อถังน้ำมัน ปัจจุบันวิ่งมาราธอนแรกตัวอย่างเมื่อวานที่จังหวัดเชียงใหม่ พึ่งกลับมา ถ้าวิ่งผ่านมาลงชื่อที่กรุ๊ป พี่ป๊อกส่งไปฟรี ยินดีกับคุณ… กับมาราธอนแรกในชีวิต ดั้งนั้นกลุ่มเรา พอคนได้บัพไปฟรี เขาก็จะตอบเรากลับมาพีป๊อกๆๆ อยากได้อะไรต่อ จากการที่ให้บัพผมฟรี เราก็บอกว่าเราไม่ต้องการอะไรเลย เพียงแต่ว่าคุณไปขวนใครอีกคนมาวิ่งกับเรา มันก็เหมือน MLM ระบบขายตรงหลายชั้นไหม ไม่ได้ต้องการอะไรเลย พูดแล้วมันเหมือนหล่อ ไม่ต้องการอะไรเลย แต่เพียงแค่ไปพาใครบางคนมาออกกำลังกาย เชื่อไหมปัจจุบันกรุ๊ปขยายตัวด้วยสุขภาพ
บางคนก็เลยเกิดคำถามว่าทำไมต้องให้ พี่ให้มากกว่าที่ได้รับ จริงๆ มันไม่ได้ผิดปกติจากการเป็นตัวเรา พี่ไม่ได้เฟค ถ้าเฟคคนก็จะรู้ เราก็ทำตามปกติเหมือนเดิม พี่ตูนเขาใช้คำว่าธรรมชาติจัดสรร ครั้งแรกได้ยินยังงง แต่พอวันนี้รู้เลยว่าจริง ที่จริงเพราะนึกง่ายๆ ทำไมเราถึงได้มาอยู่กับพี่ตูน เขานักวิ่งซุปเปอร์สตาร์ระดับประเทศ เรานักวิ่งธรรมดา หมอเมย์ทำไมถึงได้มาจับเรื่องนี้ ทุกอย่างมันธรรมชาติจัดสรรหมด เราได้มามีรายการตัวเองชื่อ ฟิตไปด้วยกัน เขาถามว่าแปลกอะไรไหม ไม่แปลกเลย พี่ป๊อกลำบากไหม ไม่เลย เพราะทุกๆ อย่างรายการฟิตไปด้วยกันคือกรายการวิ่ง ก็ไปชวนเพื่อนที่แข็งแรง เพื่อนที่อ้วนแล้วผอมมาสัมภาษณ์ ดังนั้นพี่ทำทุกวันนี้เหมือนเป็นงานอดิเรก เอางานประจำได้เงินแล้วมาโยนในงานอดิเรกก็ไม่เห็นลำบากอะไร
ไม่ได้ผิดปกติจากที่ทำอยู่ เพราะเราวิ่งอยู่แล้ว ทุกอย่างมันก็จะมาต่อๆ กันเอง ได้ส่งต่อแรงบันดาลใจ ใครบางคนเข้ามาแล้วก็เกิดการเปลี่ยนแปลง ใครบางคนเข้ามาในสังคมวิ่ง ถูกอะไรบางอย่างสัมผัสแล้วเขาก็ไปส่งต่อ pay it forward พี่เคยได้รับมา แล้วพี่ก็มาแบ่งปันต่อ ที่จริงไอ้ที่พี่ได้รับมามันนิดเดียว นิดเดียวจริงๆ แต่มันคือเรื่องที่อยู่ในหัว มันคือ MENTAL เป็นเหมือนความคิดรวบยอดว่าไม่แปลกอะไรเราเคยได้รับมา ก็ส่งต่อ อันนี้ที่คนอื่นพูดว่าพี่ให้มากกว่าที่รับอีก แต่จังหวะนั้นสิ่งที่เขาหยิบยื่นให้มันอาจเป็นมูลค่าที่มาก เป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องการ ณ ขณะนั้น อย่างค่ารถอย่างไปมาราธอนแรกที่พี่ พีระ ออกให้ อย่างมากไม่กิน 200 แต่มันคือสิ่งที่ประทับใจเราไง ทั้งๆ ที่พี่พีระเป็นพนักงานเดินเช็คของธนาคารกรุงเทพ สาขาราชวัตร ซึ่งเขาหยิบยื่นให้เรา ทั้งหมดมันก็ถูกหล่อหลอมเรามา แล้วอีกอย่างเราอยู่บริษัท บริษัทสอนให้ส่งต่อๆๆ แบ่งปัน เก่งแล้วต้องมาบอกเพื่อนนะ ซึ่งการให้ยิ่งให้ก็ยิ่งได้มาก กลายเป็นว่าส่งต่อ ก็เหมือน Sharing ใครจะคิดอย่างไรก็ตาม แต่เราคิดว่าเป็นการให้ แล้วพอทำปุ๊บกรุ๊ปก็ค่อยๆ เพิ่ม จาก 800 คน ปัจจุบันคร่าวๆ 54,000 คน น่าจะเป็นกรุ๊ปวิ่งที่ใหญ่ที่สุดแล้ว และมีหลายคนที่มีความสามารถ มีความรู้ มีน้ำใจที่แบ่งปันกันทั้งนั้น
• เป็นเพียงเรื่องที่ส่งต่อแค่นั้นสำหรับความรู้สึกส่วนตัวเรา
เป็นเรื่องที่ส่งต่อไปแค่นั้นเอง เราแค่ได้มา คือเราคิดว่าไอ้ที่เราได้ในจังหวะนั้นมันมากแล้ว และเราได้รับมาแบบนี้ ถ้ามีโอกาสเราก็ส่งต่อ ตอนนี้เราอาจจะส่งได้มากตามกำลังที่เรามีกำลังมากขึ้นให้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนเราก็มีเหลือของเราสำรอง ไม่ได้เป็นคนรำรวย อย่างในปัจจุบันสตางค์ไม่ได้มีมาก ยังต้องทำงาน แต่ถามว่าไอ้ส่วนที่ให้มาเนี่ย ถามว่าจัดสันแบ่งบั่นได้ไหมมันได้ ฉะนั้นในการวิ่งเราก็สร้างวัฒนธรรมแบบนี้ในกรุ๊ปเราใครจะมาพูดไม่ดี ใครจะมาเขาจะรู้ว่าแอดมินจะโทนอย่างไร ถ้าสงสัยเข้าไปดูในกรุ๊ปจะเห็นว่ามีรูปหนึ่งที่ผมไปนอนในลู่วิ่งแล้วก็บอกว่าหมอบอกว่าในแต่ละวันต้องอยู่บนลู่วิ่งหนึ่งชั่วโมง ปะๆ ไปเอาหมอมานอนกัน รูปนั้น 8,000 ไลค์ รูปในกลุ่มสมัยก่อนที่คุณปู ไปรยา มาเขียนว่า “ฉันจบแล้ว” ทุกคนคิดคุณปูจริงหรือ 3,500 ไลค์ ดีใจใหญ่ แต่ปัจจุบันพอไม่ใช่แค่ทำเพื่อเป้าหมายเรา 8,000 ก็มี ล่าสุด 10,000 ไลค์ คือรูปพี่ป๊อกกับพี่ตูน เขียนว่านี้คือบทสุดท้ายของโครงการคนละก้าว แต่มันอาจจะเป็นการปิดของคำนำก็ได้ เพราะมันจะคือบทต่อไป ทั้งหมดทั้งมวลก็เริ่มจากการส่งต่อ การให้ อย่างที่พี่ตูนกล่าว การจบของวันนี้มันอาจจะไม่ใช่เรื่องจบก็ได้ มันอาจจะแค่จบคำนำ เพราะเนื้อหาอาจจะกำลังเริ่มต้น
หนึ่งพลัง สองขา ต่อเติมกายยาชีวิต
บทส่งท้ายยอดนักวิ่งตัวจริง
“วิ่งกับพี่ตูนมันคือทำความสุขของคนอื่น วันนี้มาทำให้ผู้ชายคนนี้ปลอดภัยสุด วันนี้มาทำให้ความสามารถที่มีบรรลุผล มันเปลี่ยนไปแล้ว อยากจะทำความเร็ว อยากจะเร็วขึ้น ไม่มีแล้ว”
อิทธิพล กล่าวถึงเป้าหมายเส้นทางในการวิ่งของตัวเองที่เปลี่ยนแปลงไป
“ความรู้สึกการวิ่งมาราธอนตอนนี้มันเหมือนกับคือแค่ใส่รองเท้าแล้วออกไปซ้อมแล้ว เพราะปัจจุบันอย่างใกล้ๆ ที่จะถึงจะไปวิ่ง 100 กิโลเมตรที่ฮ่องกง บอกพี่ตูนขอบคุณที่ชวนผมมารายการนี้ ถามว่าเพราอะไร เพราะเมื่อปีที่แล้วตอนที่ผมไปร่วมรายการการแข่งขันที่ Ultra Trail Du Mont Blanc (UTMB) รายการวิ่งเทรล วิ่งในป่าวิ่ง 170 กิโลเมตร จากประเทศฝรั่งเศสไปประเทศสวิสแล้วย้อนกลับมาประเทศอิตาลี บนเทือกเขา รายการนี้เหมือนโอลิมปิคของสายเทรล ไม่ใช่อยู่ๆ คุณมาจากจ่ายเงินค่าสมัครแล้ววิ่งได้เลย มีคนเป็นหมื่นๆ คนทั่วโลกในแต่ละปี ที่เขาเหล่านั้นต้องมีคะแนน 9 คะแนน ที่มาจากการไปแข่ง 100 กิโลเมตร จากสนามที่เขากำหนด หนึ่งสนามเขาจะให้เรา 3 คะแนน เรามี 9 คนไทย และเราต้องมีเงิน 12,000 บาท เพื่อส่งใบสมัครว่าฉันอยากไปแข่งของคุณนะ คนหมื่นคนแต่มีที่ให้วิ่งแค่ 1,800 ทำอย่างไง ก็สุ่มอีก เราโชคดีเป็นหนึ่งในนั้นที่ได้ไป แต่ความสุขตอนที่อยู่หน้าเส้นสตาร์ทนั้นมันเป็นความสุขอย่างหนึ่ง แต่การมาวิ่งกับพี่ตูนมันมีความสุขอีกแบบหนึ่ง เป็นความสุขที่ตื้นตัน ที่มีความหมายเหนือความยิ่งใหญ่นั้น
“เป้าหมายของการวิ่งจึงเป็นแนวการออกค้นหาประสบการณ์ มันเป็นการทำเพื่อคนอื่น”
อิทธิพลเผยความรู้สึก ที่ยิ่งตอกย้ำเส้นทางการวิ่งของตัวเองยิ่งขึ้นและย้ำวิถีการส่งต่อให้นอกจากเกิดการเปลี่ยนแปลงแต่ยังขยายแชร์สู่กันและกัน ไม่ใช่จำนวนป้ายสะสมกว่า 300 ใบที่เป็นเครื่องวัด
“เราเป็นเพียงส่วนประกอบเล็กๆ ส่วนหนึ่งของเรื่องวิ่ง ถ้าวันนี้ในขณะที่เรายังวิ่ง ใครบางคนยังอยากต้องการบัฟ พี่ป๊อกอย่าเลิกแจกบัฟนะ หนูเพิ่งเริ่มวิ่ง 10 กิโลเมตร แต่วันหนึ่งหนูจะวิ่งมาราธอนให้ได้ ดังนั้นการวิ่งของเราคือการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่วนรวม กลายเป็นว่าไม่ได้วิ่งเพื่อตัวเองแล้ว เป็นวิ่งเพื่อคนอื่น นอกนั้นคือการเก็บประสบการณ์ความสุขตัวเอง อย่าง ฮ่องกง 100 กิโลเมตรที่ยังไม่ได้ไปในปีหน้า เดือนกุมภาพันธ์ที่จะไปประเทศนิวซีแลนด์ 100 กิโลเมตรกับหมอเมย์ แล้วก็ที่โตเกียวมาราธอน”
“ก็จะวิ่งไปเรื่อยๆ เพราะเราอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันเขาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง บางคนมาวิ่งลดความอ้วน เพื่อความสุข เพื่อไปเที่ยว บางคนไปวิ่งเพราะอกหัก อย่างเซียนวิ่งเทรลประเทศไทยวิ่งเพราะอกหัก หรือมีน้องคนหนึ่งแมสเซสมา หนูถูกแฟนทิ้ง หนูจะมาวิ่ง แมสเซจพี่ส่วนใหญ่เยอะมาก ได้ตอบแมสเซจคนนี้ปั๊บจำได้แล้ว ถัดมาเวลาน้องคนนี้เมื่อไหร่ก็ตามที่เขาแมสเซจมา ไม่ว่าจะยุ่งแค่ไหนจะกดตอบคนนี้ก่อน เพราะต้องการให้กำลังใจ
“วันหนึ่งตอนที่จะวิ่งมาราธอน เขาบอกเราว่าพี่ป๊อกค่ะ หนูจะวิ่งมาราธอนแรกพรุ่งนี้ เราก็ให้กำลังใจ พี่ป๊อกรอวันที่จะประสบความสำเร็จนะ รอวันพรุ่งนี้ ถ้าเป็นไปได้พี่จะรอหน้าเสนชัย เพราะเราไปด้วย สุดท้ายเขาทำได้น้ำหนักลดลงไป 16 กิโลกรัมแล้วก็ล่าสุดรวมทั้งหมด 21 กิโลกรัม สุดท้ายคนเหล่านี้จะไปส่งต่อแรงบันดาลใจ ส่งต่อกำลังใจให้คนอื่นต่อไป เพราะเขาได้รู้ถึง pay it forward เช่นเดียวกับเรา มันเกิดการส่งต่อให้ขยายช่วย หนึ่งคนที่สุขภาพดีขึ้น จะมีคนอีก 5 คนที่มีความสุข เพราะตัวเขาสุขภาพดี สามี ภรรยา เขา พ่อ แม่เขา ครอบครัวอบอุ่นก็เกิดความสุข มันไม่ใช่แค่เขา มันก็จะกลายเป็นสังคมสุขภาพดี ขยายวงออกไป ดังนั้นการที่ใครบางคนออกมาวิ่งหาใช่ ชวนเขาคนเดียวไม่ มันคือการที่ทำให้เขาและคนรอบข้างเขาแข็งแรง บัฟคือกิมมิคชนิดหนึ่ง แต่วันนี้คือประสบความสำเร็จวันนี้ถ้าคุณวิ่งมาราธอนได้ แปลว่าคุณไม่ใช่คนธรรมดาแล้ว คุณไม่ได้ออกกำลังกายธรรมดาแล้ว คุณต้องตั้งใจพอสมควรในการทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ของราคาไม่ถึง 100 บาท แต่สามารถสร้างให้คนสุขภาพดีละชวนให้คนอื่นออกกำลังกายได้”
และท่ามกลางเม็ดเหงื่อที่หลั่งริน สายตาที่จับจ้องอย่างมุ่งมั่น กว่า 400 กิโลเมตร นอกจากก่อให้เกิดการช่วยเหลือส่งต่อ เหนือสิ่งอื่นใดคือการปลุกกระแสความเชื่อมั่นของใครสักคนหนึ่งให้กล้าที่จะลุกขึ้นมาเผชิญปัญหาและก้าวไปด้วยกัน
“เพราะว่ามาราธอนไม่ใช่ทุกคนจะวิ่งกันได้ ต้องตั้งใจฝึกซ้อมอดทน มีเป้าหมาย ระยะทาง 42 กิโลเมตรบนขาเรา ถ้าวันนี้คุณผ่านระยะนี้ได้ ชีวิตนี้คุณผ่านได้ทุกอย่างแล้ว ถ้าเขาทำได้แล้วชีวิตเขาเปลี่ยน คนรอบข้างเขาเปลี่ยน เขามีรอบยิ้ม ก็แฮปปี้แล้ว เราต้องการแค่นี้ “pay it forward” คือความหมายของการวิ่งของผมในวันนี้”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : พลภัทร วรรณดี