เป็นนักเขียนการ์ตูนมา 20 กว่าปี ใช่ว่าอยู่ดีๆ ก็วางทิ้งดินสอปากกาและหน้ากระดาษ หากแต่คาดการณ์แล้วว่าอนาคตของสื่อชนิดนี้คงยากจะไปรอด จึงตัดสินใจ “ทุบหม้อข้าว” เริ่มต้นทางสายใหม่ ด้วยการปลุกปั้นธุรกิจ “ข้าวเม่ามิกซ์” ที่ทำอะไรไม่เป็นเลยในตอนแรก แต่ปัจจุบันขายได้เป็นล้าน!!
จากวิวัฒนาการทางการอ่านของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ “ชูเกียรติ เบญจวรรณ” หรือ “กาย เบญจวรรณ” นักเขียนการ์ตูนผู้ผ่านงานในวงการทุกรูปแบบมาตลอด 20 กว่าปี ต้องหันหลังให้กับสิ่งที่ตนเองรักอย่างจำใจ โดยเริ่มต้นชีวิตใหม่ ด้วยการทำธุรกิจของกินเล่นอย่าง ‘ข้าวเม่ามิกซ์’ ที่เริ่มต้นอย่างทุลักทุเล ถึงขนาดโดนตั้งฉายาว่า “ป๋าเทพ (โพธิ์งาม) แห่งวงการการ์ตูน” เพราะมองยังไงก็ไม่เห็นทางรุ่ง
แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่เต็มเปี่ยม บวกกับอุปนิสัยที่ไม่ย่อท้อ ก่อให้เกิดผลลัพธ์เป็น “ข้าวเม่ามิกซ์” ที่ฮอตฮิตมากขึ้นทุกวัน จากการทำธุรกิจมาแค่ปีกว่าๆ จากเงิน 5 พันบาทก้อนสุดท้าย เขาใส่ไอเดียและความทุ่มเท จนต่อยอดเป็นเงิน 1 ล้านในระยะเวลา 7 เดือน!!
ชีวิตนักเขียนการ์ตูน
ผ่านการสร้างงานมา 20 กว่าปี
“คือชีวิตเราค่อนข้างจะบุกบั่น ก็ต้องย้อนตั้งแต่เริ่มต้นเลย เราเป็นคนสุพรรณ เข้ามากรุงเทพฯ มาแบบความรู้ไม่มีเลย เริ่มมาจากศูนย์ แม่ให้เงินมา 800 บาท ใฝ่ฝันที่จะเป็นนักเขียนการ์ตูน ก็เริ่มมาทำงาน เช่น ขายของที่สวนจตุจักร ไปขายรองเท้า คือทำยังไงก็ได้ให้ใกล้เคียงการเขียนการ์ตูนที่สุด ในระหว่างนั้นเราก็ฝึกตัวเอง แล้วก็นำไปเสนอที่ต่างๆ ด้วย และไปเสนอที่เดียวที่อยากเขียนคือขายหัวเราะ เราไปสมัครที่นั่นประมาณ 30-40 ครั้ง ตั้งแต่เราอายุ 18-19 เลย แต่ก็ไม่ติด
“จากนั้นเราก็มาสมัครอีกที่หนึ่ง คือ ที่ตลาดตลก สมัครครั้งแรกติด แต่เขาก็ไม่เอา เราก็ไปสมัครอีก 30 กว่ารอบ ถึงจะได้เป็นนักเขียนการ์ตูน พอได้เขียนการ์ตูนสมใจ ตอนแรกก็เขียนการ์ตูนตลกก่อน ต่อมาจึงเขียนการ์ตูนเงียบ ซึ่งตอนนั้นเมืองไทยยังไม่มีแนวนี้ เป็นแนวการ์ตูนที่สื่อด้วยภาพอย่างเดียว แต่เขาไม่อยากได้ เราก็ย้ายบริษัทเพื่อที่จะได้เขียนการ์ตูนเงียบโดยเฉพาะ แล้วการ์ตูนชุดนี้ก็ได้รับความนิยมมาก เราเป็นคนแรกๆ เลยที่ได้รวมเล่ม ขายได้หมื่นกว่าเล่มซึ่งถือว่าขายดีมากๆ ก็เลยเริ่มมีชื่อเสียง
“แต่ชีวิตเราก็ยังขึ้นๆ ลงๆ เพราะเราทำฟรีแลนซ์ ก็ทำมาเรื่อยๆ พอถึงช่วงหนึ่ง ตกงานอยู่สักพัก เราก็ได้ไปทำที่ BBOYD ของพี่บอย โกสิยพงษ์ ที่นี่จะทำเป็นแอนิเมชัน เราก็อยู่ฝ่ายสตอรี่บอร์ด ช่วยเขาออกแบบคาแรกเตอร์ ซึ่งอาจจะไม่เด่น แต่ก็สนุกดี มีเงินเดือน จะเข้าออฟฟิศอาทิตย์ละครั้ง ก็ทำๆ ไป จนรู้สึกว่าหลังๆ เริ่มที่จะไม่สนุกแล้ว เพราะเรารู้สึกว่ามันไม่ใช่ตัวเอง จนไปเจอบริษัทแห่งหนึ่งที่ใกล้ๆ บ้าน เขาทำแนวหนังสือเรียน เราก็สนใจ หาเบอร์ติดต่อ แล้วก็โทร.ไปที่บริษัทที่ตู้โทรศัพท์หน้าบริษัทเขา ถามว่าสนใจที่จะเอาการ์ตูนมั้ย เขาก็ไม่เอา เราก็บอกว่า ลองดูผลงานเราก่อนมั้ย ถ้าไม่เอาจะรู้ได้ยังไง ก็ตื๊อๆ จนเขาบอกให้เอางานเข้ามา
“เราก็ขึ้นไปที่บริษัท พรีเซนต์งานตัวเองเลย อยากทำ เขาก็จ้างชั่วคราวก่อน เราก็ทำหนังสือ กึ่งคำคมกึ่งแบบเรียน ทำไป ก็เสนอนั่นนี่ จนเขาทำวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ คือเอาเรื่องนี้มาทำเป็นการ์ตูน ปรากฏว่าเล่มนี้ขายดีมาก จนเราสามารถเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทนี้ ได้ทำหนังสือเองอะไรเอง แต่ต่อมาก็มีปัญหา คือไม่ได้ทำ ก็ออกมาเป็นฟรีแลนซ์เอง หลังๆ ก็จะทำเป็นทุกรูปแบบ เริ่มตั้งแต่การจัดหน้า คือทำทุกอย่างที่หนังสือจะทำได้ ตั้งแต่คิดโปรเจกต์เลย นำเสนองานไปที่ต่างๆ ช่วงนั้นชีวิตเหมือนลุ่มๆ ดอนๆ บางเดือนก็ได้เงินเป็นแสน แต่บางเดือนก็ว่างงานนานเลยก็มี แต่เราก็ทำอาชีพนี้มาตลอด 20 กว่าปี จนมีครอบครัวก็ยังทำอยู่ และดึงแฟนมาทำงานด้วย คอยเป็นคนติดต่องานให้เรา ก็ไปเข้าออกบริษัทหลายๆ ที่
“คือการเขียนงานการ์ตูนของเรามันไม่มีสูงสุดนะ อย่างตอนที่หนังสือเราขายดี ก็มีถูกเชิญไปพูดในที่ต่างๆ ไปนั่งกับนักเขียนรุ่นใหญ่ จนเรารู้สึกว่าตรงนั้นสูงสุดแล้ว แต่พอเวลาต่อมา ด้วยการที่การเขียนการ์ตูนมันต้องได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง พอกระแสซา คนก็ล้ม คือมันไม่มีอะไรแน่นอน มีขึ้นหลายช่วง แต่ก็มีลงหลายช่วงเหมือนกัน ช่วงขึ้นก็ดี แต่พอช่วงขาลง แม้แต่จะทำคลอดลูกคนโต ยังไม่มีเงินเลย ต้องไปขอยืมเงินเพื่อนมาจ่ายค่าทำคลอด อย่างที่บอกว่าเราไม่มีจุดใดจุดหนึ่ง แต่ไม่มีนิ่ง ไม่เหมือนกับที่ญี่ปุ่น ซึ่งถ้าดัง ก็ค้างฟ้า แต่ของเรา พอดังก็ต้องสร้างงานใหม่เลย เช่น ตอนที่ทำวรรณคดี ตอนนั้นมีสื่อมีอะไรเยอะ หนังสือติดอันดับขายดี แต่พอหมดกระแส บริษัทก็รวยไป เราก็ต้องเดินหน้าทำงานต่อ
“แต่เราไม่เคยท้อกับอาชีพนี้นะ ต่อให้เราจะย่ำแย่แค่ไหนก็ตาม เราคิดว่ายังไงมันต้องได้ ด้วยความมีใจรัก ขนาดที่ว่าเงินที่จ่ายค่าทำคลอดยังไม่มี แต่เราก็มองว่ายังไงก็ต้องทำให้ได้ พรุ่งนี้มันต้องดีกว่านี้ แล้วเราก็ผ่านพ้นมาได้ จนกระทั่ง 2 ปีก่อน เรารู้สึกว่ามันตันแล้ว ทั้งๆ ที่ 20 กว่าปีก่อนหน้านี้ เราไม่เคยคิดว่าเราจะจบอาชีพนี้ ไม่เคยมองอาชีพอื่น ไม่เคยเลย ยังเชื่อมั่นว่าจะต้องรอด ตกแค่ไหน ยังไงก็ต้องดีขึ้น”
วิวัฒนาการทำพิษ
ต้องหาธุรกิจให้ไปต่อ
“2 ปีก่อนหน้านี้ เรามองว่า วงการหนังสือจะต้องถึงทางตันจริงๆ แต่ไม่ใช่ที่เรา เพราะเราคิดว่าเราแก้ปัญหาได้ แต่มันตันที่วงการว่า มันไม่น่าจะรอด บริษัทหนังสือเริ่มปิด เด็กเริ่มไม่อ่านหนังสือ หันมาเล่นมือถือ คือช่วงนั้นเหมือนเพิ่งเริ่ม แต่เราเริ่มมองแล้วว่ามันไม่น่าจะรอด แล้วมีช่วงหนึ่งที่เราไม่สบาย ทุกคนทำงานไม่ได้ เพราะมันเป็นอาชีพที่สืบทอดไม่ได้ มันอยู่ที่ความสามารถของคน เราก็เริ่มมองหาอะไรทำ ขณะนั้นเรามีสัญญากับบริษัทหนึ่ง เดือนละ 60,000 บาท ที่เราต้องทำงานให้เขา แต่อยู่ๆ เขาก็ยกเลิกไปเลย แล้วเงินเก็บเราก็ไม่มีเลย
“และที่ทำให้เราเชื่อมั่นว่ามันถึงทางตันของวงการแล้ว ก็คือ ขนาดมีบริษัทที่เขียนการ์ตูนแบบออนไลน์ เขาติดต่อมาว่าสนใจงานมาเขียนการ์ตูนมั้ย เราจะมีรายได้จากยอดวิว เราจะมีรายได้เยอะ แต่เรามองแล้วว่า เราน่าจะพอตรงนี้แล้ว อิ่มตัว เราต้องทำเพื่อครอบครัวแล้ว มันไม่ใช่เพื่อความฝัน คือมองไปไกลแล้ว อย่างที่บอกว่า การเขียนการ์ตูนมันสืบทอดไม่ได้ ฉะนั้น เราต้องหาอะไรที่มันสืบทอดได้ ตอนนี้เรายังมีเรี่ยวแรงที่จะไปทางอื่นที่จะสามารถเลี้ยงครอบครัว เราก็ตัดสินใจหักดิบเลย ไม่เป็นนักเขียนการ์ตูนแล้ว คือคิดอย่างเดียวว่าขายของกิน เพราะว่าโลกเปลี่ยนแค่ไหน คนก็ต้องกิน ตอนนั้นเลยหันมาเริ่มทำธุรกิจ
“เรารู้อย่างเดียวว่า เราอยากขายของกิน แต่ปัญหาของเรามีเยอะแยะมาก หนึ่ง ไม่มีหน้าร้าน สอง ไม่มีความรู้ สาม ไม่มีเงินทุน พูดง่ายๆ เราไม่มีอะไรที่จะเป็นพ่อค้าได้เลย ขนาดเพื่อนในวงการยังเอาไปแซวเลยว่า เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าเราเป็นนักเขียนการ์ตูน แล้วมาทำอะไรที่มันไม่ถนัดเลย มันจะเป็นไปได้ไง จนโดนตั้งฉายาว่า “ป๋าเทพแห่งวงการนักเขียนการ์ตูน” เพราะเขามองว่าเจ๊งแน่นอน ทั้งๆ ที่เรายังไม่ได้ทำอะไรเจ๊ง แต่มันอยู่ที่ตัวเรา หากเราทำสำเร็จ เขาก็จะเงียบไปเอง ถ้าเราทำไม่สำเร็จ มันก็สมควรแล้วตามที่เขาว่า ก็ตั้งหน้าตั้งตามทำ ค่อยๆ ทำ
“แต่อย่างที่บอกว่าเราเริ่มต้นก่อน รู้อย่างเดียวว่าเราอยากทำของกิน แต่ไม่รู้จะทำอะไร จนวันหนึ่งมีคนเอาข้าวเม่าหมี่มาฝาก เราก็ลองกิน เฮ้ย มันอร่อยดี แล้วมันเป็นของที่หายาก ข้าวเม่าหมี่คือ ข้าวเม่าที่ใส่น้ำหมี่กรอบ เหมือนกับเราเอาน้ำหมี่กรอบสีเหลืองๆ สีแดงๆ มาใส่ในข้าวเม่า เรากินแล้ว เออ มันอร่อยดี เราเลยคิดว่าถ้าทำอันนี้ขายมันจะดีมั้ย เราก็เลยลองหัดทำก่อน แล้วไปเสนอตามร้านทั่วไป ตามที่ต่างๆ ว่าสนใจมั้ย แต่ก็โดนปฏิเสธ ขายไม่ได้ เพราะเด็กๆ เขาไม่กิน แล้วผู้ใหญ่ก็ไม่ได้มาซื้อขนมกินบ่อยๆ เราก็เลยคิดว่า ของมันอร่อย แล้วทำไมเราไม่ทำให้มันแตกต่างจากที่มีอยู่ เราก็เลยมานั่งทำกัน
“แต่ตอนนั้นทุนไม่มีแล้ว คือใช้เงินเก็บหมดแล้ว เราก็เลยเอาโน้ตบุ๊กตัวสุดท้ายที่ทำงาน เอาไปจำนำ ได้เงินมา 5,000 บาท เพื่อเอามาใช้ในบ้านและซื้อข้าวเม่าทีละขีดสองขีด เพื่อหัดทำ แต่มันไม่มีสูตร เพราะว่ายังไม่มีใครทำมาก่อน เราก็เลยไปหาสูตรที่เขาทำพวกป็อปคอร์นว่าทำยังไง ก็ลองทำอยู่เป็นเดือน คือมันยากกว่าป็อปคอร์นตรงที่ว่าป็อปคอร์นมันแข็ง แต่ของเรามันเบาแบบข้าวเกรียบ คนๆ ไปก็แตก เละ กว่าจะได้ จนในที่สุดมันสำเร็จออกมา ในระหว่างที่ผลิตไปเนี่ย เราก็ยังใช้อาชีพของตัวเองให้เป็นประโยชน์ อย่างที่บอกไปว่าตอนที่เราเริ่มใหม่ๆ เราไม่มีอะไรเลย แต่เราจะใช้การ์ตูนในการเขียนงาน เพราะว่าเราเป็นอย่างเดียว สิ่งเดียวที่เป็นคือการ์ตูน เราจะใช้สิ่งนี้ในการขายขนม ระหว่างนี้เราก็ใช้การ์ตูนเล่าเรื่องราวของตัวเองว่า เราทำอะไร แล้วคนก็เริ่มตามแล้ว แต่เราจะไม่เล่าตรงๆ ว่าจะขายขนมนะ จนคนเริ่มสนใจ คนก็เริ่มเข้ามาว่าอยากลองชิม
“คือพอเราทำสำเร็จ เราประกาศขายตรง เดือนแรก ออเดอร์เข้ามาประมาณ 30,000 เพราะความสนใจ เนื่องจากเราทำของแปลกใหม่ ไม่ได้เลียนแบบใคร ก็คิดทำใหม่ คนก็เลยอยากกิน ตามเรื่องราวว่ามันคืออะไร เดือนแรกมีทั้งสำเร็จและล้มเหลว ที่สำเร็จคือทุกคนกินแล้วอร่อย มีความแปลกใหม่ที่ไม่เคยกินมาก่อน แต่ที่ไม่สำเร็จคือมันยังไม่กรอบ เพราะว่าเราเอาข้าวเม่ามาแล้วเอาน้ำหมี่กรอบใส่เลย พอมันไม่กรอบ เราก็ไปหาวิธีว่าทำยังไง มีคนบอกเราว่าต้องอบ ซึ่งพอเรามาอบ เราก็ไม่มีทุนอีก พอได้เงินมาก็เอามาใช้ เพราะเดือนหนึ่งค่าใช้จ่ายก็ประมาณ 30,000-40,000 อยู่แล้ว
“เราก็เลยประยุกต์จากของที่มีอยู่ ใช้หม้อข้าวใบใหญ่ๆ ที่มีอยู่ในบ้าน เอามาอบ วิธีทำคือ เอาข้าวเม่าที่อบมาใส่ แล้วเขย่าๆ ซึ่งตอนแรกๆ นี่ แขนไหม้หมดเลย เพราะมันไม่ทันใจ จนในที่สุดก็ได้ความกรอบอร่อยขึ้น จนเวลาต่อมา คนดังก็มาช่วยสนับสนุนเรา ในฐานะที่สู้ชีวิต เพราะอย่างที่บอกไปว่าเราทุบหม้อข้าวตัวเองแล้ว จะต้องรอดในสิ่งที่เราเลือกใหม่ ยังไงก็ต้องเอาให้รอด จนสุดท้าย เริ่มมีคนสนใจ เริ่มสนับสนุน มีคนดังกินเยอะ แล้วก็มีการบอกต่อ”
ถ้าถอยก็ตาย
สู้เข้าไปเพื่อครอบครัว
“ถ้าถอยก็ตาย ตอนที่ทำธุรกิจแรกๆ ก็เหมือนหมาจนตรอกจริงๆ ถ้าไม่ทำ ลูก 3 คนจะกินอะไร เส้นทางการ์ตูนมันไม่ได้ล้มที่เรา อย่างเมื่อก่อน เราจะล้มกี่ครั้ง เราก็ลุกขึ้นมาได้ แต่นี่คือความจริง เราไปต่อไม่ได้แล้ว หรือถ้าไปต่อ ก็ไม่น่าจะไกลกว่านี้แล้ว เด็กรุ่นใหม่ก็ขึ้นมาเรื่อยๆ ถ้ายังทำต่อ ก็ไปไม่ได้ ถ้าเส้นใหญ่ไม่สู้ ก็ไปไม่ไหวเหมือนกัน
“อีกอย่าง มันอาจจะเป็นที่นิสัยเราหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ คือเรามีนิสัยแบบนี้อยู่แล้ว เวลาจะทำอะไร ก็จะทำให้สุดๆ แล้วเราจะเป็นคนที่คิดหนักมาก เราจะวางแผน บางคนก็จะถามเราว่าฟลุกหรือเปล่า เราจะบอกเลยว่าเราไม่ได้ฟลุก เราบอกทุกคนเลยว่าจะประสบความสำเร็จให้ได้ในสักวัน ตอนที่เราย่ำแย่ แฟนเราบอกว่าปิดเทอมจะพาลูกไปขายลูกชิ้นหน้าวัด แต่เราบอกว่าถ้าเราขาย กำไรเต็มที่ได้แค่วันละ 100 - 200 บาท เราจะทำให้ได้มากกว่านั้น เดี๋ยวเราจะทำตรงนี้ให้ได้ไกล และเลี้ยงครอบครัวให้ได้ ถ้าเราจะทำ ต้องกระจายให้ไกล ก็โอเค มาลุยกัน
“เราโชคดีที่มีครอบครัวดี พอเราบอกว่าเราจะทำอะไร จะสนับสนุนเต็มที่ ลูกเราทั้งหมด เชื่อมั่นเรามากเลยนะ อย่างแฟนเรา พอเราบอกว่าจะทำ ไม่เคยมีค้าน เขาเชื่อมั่น และช่วยกันเต็มที่ คือทุกคนลุยไปทางเดียวกัน มีจุดมุ่งหมาย คิดเป็นสเต็ปว่าจะทำอะไร ทำยังไง ทุกๆ วันเราจะนั่งคิดตลอด ตื่นตีสามตีสี่ เราก็จะนั่งคิดว่า วันนี้จะทำอะไร จะขายอะไรยังไง วางแผนทุกวัน
“แน่นอนว่า ความเชื่อมั่นไม่ได้มีมาตั้งแต่เกิดแน่นอน อย่างช่วงที่เราตกสุดๆ ความเชื่อมั่นเราไม่มีหรอก คือไปทางไหนล่ะ ไม่รู้อนาคตเลย คนอื่นจะอร่อยเหมือนเรามั้ย แต่เราก็ต้องสร้างเองว่ามันอร่อย และจะทำยังไงให้เข้าถึงทุกคน เราจะพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้ตัวเองตลอด พูดแบบนี้กับตัวเองทุกวัน ต้องทำได้ อย่างตัวนี้ (ชี้ไปที่ซองขนม) ก็ถือว่าย่ำแย่เหมือนกัน เพราะหลังจากที่ได้ทุนจากคุณตันมา ก็เจอปัญหาเรื่องซอง เอาไปขายต่างจังหวัดก็ไม่เหมาะ เขาบอกว่าซองมันดูสมัยใหม่และดูดีเกินไป แต่พอเราเอาไปลงคู่กัน เราก็ไปเจอบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เขาดังอยู่แล้ว ของเราสู้ไม่ได้เลย เพราะว่าคนไทยจะชอบกินของที่เคยชินมา อันนี้คืออะไร ฉันไม่อยากลอง เราดันไปขายราคาเท่ากัน ก็ต้องมาคิดทบทวนอีกรอบว่า จะทำยังไง ไปหาใคร ไปถามคนนั้นคนนี้ว่า เขาขายขนมกันยังไง คือเดินดุ่มๆ ไปถามเลยว่าจะทำยังไง
“ก็ได้คำแนะนำมาส่วนหนึ่ง แต่จริงๆ ปัญหาทุกอย่างที่แต่ละคนเจอไม่เหมือนกัน เราต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเอง คือตอนแรก เราจะใช้ตัวแทนจำหน่ายขาย เพราะมีคนติดต่อขอเป็นตัวแทน เราก็รู้สึกว่าถ้าเราใช้ตัวแทน เขาจะมีเปอร์เซ็นต์ แต่เรารู้สึกว่า เราไม่อยากให้ไปบังคับคนซื้อ ถ้าเราใช้วิธีนั้น เขาจะต้องใช้วิธีให้ขายของเราให้ได้ เพื่อที่จะให้ได้ยอดตามเป้า เราก็บอกเขาตรงๆ ว่าจะไม่ให้ตรงนี้ เราอยากให้รู้สึกว่าคนที่ซื้อขนมเรา เขาอยากกินเอง เรารู้สึกว่าอยากสร้างแบรนด์ที่ให้มันอยู่ยืนนานหน่อย พอไม่ทำแบบมีตัวแทน เราก็ตัดสินใจลุยเอง นำขนมไปเสนอเลย”
ไม่หวั่นไหว
แม้มีของเลียนแบบ
“คือตอนนี้เริ่มมีคนเลียนแบบแล้ว แล้วสิ่งที่เราไม่ชอบที่สุด คือคนไทยเลียนแบบแล้วก๊อปเกรดต่ำ คือไม่ได้เลียนแบบพัฒนา สมมติว่า ถ้ามีชาอะไรดัง ก็ตามมากันเต็มเลย แล้วมันดึงให้แบรนด์ดั้งเดิมตายไปด้วย หรืออย่างคอนเฟล็กซ์ที่มันเริ่มกันมา จากนั้นไม่นานก็เกิดกันเต็มเลย แล้วเลียนแบบนี่คือทำอะไรก็ได้ เจ้าแรกอาจจะทำดี แบบตั้งใจทำจากบ้านหรืออะไรก็แล้วแต่ พอทำดัง ไอ้คนหลังๆ เขาแค่ฉกฉวยผลประโยชน์ แล้วพอคนกินไม่อร่อย ก็พลอยดึงสินค้านี้ลงไป
“อย่างของเราทำมา กว่าจะได้สูตรต่างๆ แต่เจ้าอื่นกลับใส่สูตรสำเร็จง่ายๆ เราเลยกลัวตรงนี้ เราไม่กลัวกับคนที่เลียนแบบแล้วพัฒนา แล้วเรามาแข่งตรงคุณภาพ สินค้าจะโตไปด้วยกัน คือถ้ามีคู่แข่ง สินค้าจะพัฒนาไปเรื่อย แต่ถ้าแข่งแบบประเทศไทย ตายแน่นอน เหมือนแข่งกับดอกเห็ด จนสุดท้ายแล้ว ของแท้คืออะไร คือถ้าจะทำก็ทำให้มันดีไปเลย เราอยากบอกคนไทยตรงนี้ว่าถ้าอยากประสบความสำเร็จ ให้เอาโจทย์หรือหัวใจของเขามา คุณก็ลองคิด เช่น เราทำข้าวเม่า เราก็ลองจากสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำ ของที่คนดูถูกว่ามันขายไม่ได้ ของโบราณ แล้วเราทำสำเร็จ
“ประเทศไทยก็มีของดีตั้งเยอะ ทำไมเราไม่ทำ แล้วเราก็พัฒนาไปเรื่อยๆ กลายเป็นว่าสินค้าเราพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าใครทำอะไร คุณก็เลียนแบบตลอด ทำไมไม่ทำอะไรที่ดีๆ แล้วสร้างสรรค์ เอามาช่วยกัน เช่น คนนี้มีข้าวเม่า อีกคนมีกล้วยแขก มาพัฒนาจนต่างชาติรู้ ต่อไปต่างชาติมา ของกินไทยจะพัฒนาแค่ไหน ดีกว่าทำของที่แห่ตาม แล้วหวังเงินแค่ไม่เท่าไหร่ ซ้ำร้ายกว่านั้นคือดึงธุรกิจนั้นให้ตกต่ำลง เพื่ออะไร คือกลัวพวกฉาบฉวย หรือปลิงที่เกาะแล้วสินค้านั้นมันตายไป
ไม่ท้อถอยและมุ่งมั่น
จึงสำเร็จดั่งที่หวัง
“คนที่รู้จัก เขาก็บอกว่าน่าจะมาจากตัวเรา เหมือนกับสาหร่ายก็ต้องเถ้าแก่น้อย หรือชาเขียวก็คือคุณตัน และถ้าเป็นข้าวเม่า ชื่อเราก็มีอยู่ในนั้น ส่วนปัจจัยที่ทำให้ไปได้ อยู่ได้ คิดว่าน่าจะมาจากตัวเราที่เป็นคนไม่ยอมแพ้ มุ่งมั่นทำ ยังไงก็ได้ ให้มันไปได้เรื่อยๆ ส่วนอีกอย่าง เราว่าของมันดีพอ ถ้าของไม่ดี ต่อให้นำเสนอยังไงก็ไม่ดัง อย่างสาหร่ายของมันดี แม้ไม่โฆษณาก็ไปได้
“อย่างไรก็ตาม ของบางอย่างมันเป็นของดี แต่คนไทยมักจะมีอะไรที่ปิดกั้น เช่น พอบอกว่าเป็นของไทยก็จะโดนอคติทันที ถ้าวันหนึ่ง เราทลายกำแพงนี้ได้ เราว่าสู้ได้ แต่ตอนนี้คนไทยยังมีอคติอยู่ ให้เลือกระหว่างมันฝรั่งกับข้าวเม่า มันมีความต่างกันเลย แต่อย่างที่บอก ถ้าเราทลายกำแพงนี้ไปได้ เราสู้กับขนมแบบต่างๆ ได้สนุกเลยแหละ
“ยกตัวอย่างง่ายๆ ร้านอาหารไทยกับร้านอาหารต่างชาติ ถ้าราคาพอกัน เขาก็ไม่เข้า อย่างญี่ปุ่นที่สร้างชาติได้ เพราะเขาอ่านแต่การ์ตูนญี่ปุ่น เขาถึงมาสู้การ์ตูนฝรั่งได้สบาย ไม่แน่ว่าวันหนึ่ง เราอาจจะทลายกำแพงนี้ก็ได้ ตราบใดที่เราไม่ท้อ ทำไปตามสเต็ปของเรา เราก็ทำให้ได้ในจุดที่เราอยู่ คือถ้าเราไปจุดที่พัฒนาได้ขนาดนั้น มันก็โอเค แต่ถ้ายังไม่ได้ ก็มาในจุดที่ไกลเกินฝันขนาดนี้แล้ว ก็โอเคเหมือนกัน เพราะอย่างที่บอก นับจากปัจจุบันเริ่มต้น แค่นี้เราภูมิใจมากแล้ว จากคนที่ไม่มีอะไร ประตูนี่ปิดสนิท แล้วไม่รู้ว่าจะขายได้หรือเปล่า
“มาวันนี้ เราได้คุยกับนักธุรกิจหลายท่าน ที่ทำธุรกิจด้วยกัน เรากลายเป็นนักธุรกิจไปแล้ว ต่างจาก 2 ปีก่อนที่เราเป็นนักเขียนการ์ตูน แต่มาวันนี้ เราได้พบคุณตัน ได้เจอนักธุรกิจระดับ ดร.ที่เขามาคุยเรื่องธุรกิจกับเรา เราภูมิใจแล้ว ให้เราคิดแล้วเราตั้งใจทำ วันหนึ่งเรามาถึงตรงนี้ได้ก็โอเคแล้ว วันนี้เราภูมิใจแล้วว่าแค่เราไม่ท้อ มีความพยายาม ได้คิดได้ทำ มันต้องรอด
“เราจะบอกกับน้องทุกคนว่า เราอย่าไปมองอะไรที่มันไม่มี เช่น ผมไม่มีนั่น ผมไม่มีนี่ มันจะเป็นข้อแม้ที่เราไม่ได้ทำ ให้เราดูว่าเรามีอะไร หาสิ่งที่เรามี เราเป็นนักเขียนการ์ตูนมา 20 กว่าปี เราก็สามารถเอาทักษะด้านการ์ตูนมาเล่าเรื่องราวของเราให้คนอ่านสนใจได้ ใช้สื่อจากสิ่งที่ตัวเองมี คือใช้สิ่งที่ตัวเองมีให้เกิดประโยชน์ที่สุด อย่าไปทิ้งมัน เพราะหลายคนมองที่เราสำเร็จวันนี้ เขาบอกอยากทำบ้าง แต่ไม่มีจุดเด่น ก็ไม่ใช่สิ อย่างตอนแรกเราจะขายของโดยใช้การ์ตูน เราโดนด่าเลยนะ นักเขียนการ์ตูนจะมาขายขนม แต่พอมาวันนี้ ทุกคนมาบอกว่าเพราะเราเป็นนักเขียนการ์ตูนจึงขายขนมได้ มันไม่ใช่ ผมอยากให้มองว่าทุกคนมีหมดแหละ แต่เราจะนำมันมาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ เท่านั้นเอง
“อีกอย่าง เราเป็นคนที่ชอบเจอความท้าทายเยอะๆ เมื่อก่อนตอนเป็นนักเขียนการ์ตูน หัวต้องคิด พอมาเป็นพ่อค้า ก็คิดว่าหมดสนุกแล้ว เพราะว่าทำของขาย จบแล้ว แต่พอมาทำจริงๆ แล้วก็รู้สึกว่ามันมีอะไรให้คิดเยอะ ตอนนี้เราต้องมาคำนวณหลักสตางค์ ต้องคิดตรงนั้น วางแผนตรงนี้ ขายยังไง อะไรยังไง คือรู้สึกว่า มันมีความท้าทายสมองเราเยอะ ถ้าเรามองให้สนุก มันก็จะสนุกกับชีวิต
“เราเกิดมาชาติหนึ่ง ถ้าคิดว่าทำไม่ได้ ก็ทำไม่ได้ เพราะคุณไปสะกดจิตตัวเองก่อนแล้ว คุณต้องคิดว่าคุณทำได้ คือคนเรา คุณเขียนวงกลมไป 10 วง ทั้งวัน มันก็ต้องกลมเองแหละ พอเรามาทำตรงนี้ เราได้อะไรเยอะ แล้วได้ความภูมิใจที่ว่า ต่อไปเราน่าจะทำได้ ทุกคนมองว่าใครก็ทำได้ แค่มีความพยายาม ทุกคนก็ทำได้ เราถึงมองว่ามันให้อะไรหลายอย่าง ครอบครัวก็มีความสุข เพราะเราก็ยังทำงานที่บ้านได้ เราอยู่กับลูกมาตั้งแต่เขาเกิด จนตอนนี้ ก็ยังอยู่ด้วยกัน ก็รู้สึกว่า มันให้อะไรเยอะ มันบอกไม่ถูกนะ ได้ทุกอย่าง คืออาจจะยังไม่สำเร็จสุดๆ แต่พอมองย้อนไป เราก็ภูมิใจตัวเองที่มาได้ถึงขนาดนี้”
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ศิวกร เสนสอน
จากวิวัฒนาการทางการอ่านของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ “ชูเกียรติ เบญจวรรณ” หรือ “กาย เบญจวรรณ” นักเขียนการ์ตูนผู้ผ่านงานในวงการทุกรูปแบบมาตลอด 20 กว่าปี ต้องหันหลังให้กับสิ่งที่ตนเองรักอย่างจำใจ โดยเริ่มต้นชีวิตใหม่ ด้วยการทำธุรกิจของกินเล่นอย่าง ‘ข้าวเม่ามิกซ์’ ที่เริ่มต้นอย่างทุลักทุเล ถึงขนาดโดนตั้งฉายาว่า “ป๋าเทพ (โพธิ์งาม) แห่งวงการการ์ตูน” เพราะมองยังไงก็ไม่เห็นทางรุ่ง
แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่เต็มเปี่ยม บวกกับอุปนิสัยที่ไม่ย่อท้อ ก่อให้เกิดผลลัพธ์เป็น “ข้าวเม่ามิกซ์” ที่ฮอตฮิตมากขึ้นทุกวัน จากการทำธุรกิจมาแค่ปีกว่าๆ จากเงิน 5 พันบาทก้อนสุดท้าย เขาใส่ไอเดียและความทุ่มเท จนต่อยอดเป็นเงิน 1 ล้านในระยะเวลา 7 เดือน!!
ชีวิตนักเขียนการ์ตูน
ผ่านการสร้างงานมา 20 กว่าปี
“คือชีวิตเราค่อนข้างจะบุกบั่น ก็ต้องย้อนตั้งแต่เริ่มต้นเลย เราเป็นคนสุพรรณ เข้ามากรุงเทพฯ มาแบบความรู้ไม่มีเลย เริ่มมาจากศูนย์ แม่ให้เงินมา 800 บาท ใฝ่ฝันที่จะเป็นนักเขียนการ์ตูน ก็เริ่มมาทำงาน เช่น ขายของที่สวนจตุจักร ไปขายรองเท้า คือทำยังไงก็ได้ให้ใกล้เคียงการเขียนการ์ตูนที่สุด ในระหว่างนั้นเราก็ฝึกตัวเอง แล้วก็นำไปเสนอที่ต่างๆ ด้วย และไปเสนอที่เดียวที่อยากเขียนคือขายหัวเราะ เราไปสมัครที่นั่นประมาณ 30-40 ครั้ง ตั้งแต่เราอายุ 18-19 เลย แต่ก็ไม่ติด
“จากนั้นเราก็มาสมัครอีกที่หนึ่ง คือ ที่ตลาดตลก สมัครครั้งแรกติด แต่เขาก็ไม่เอา เราก็ไปสมัครอีก 30 กว่ารอบ ถึงจะได้เป็นนักเขียนการ์ตูน พอได้เขียนการ์ตูนสมใจ ตอนแรกก็เขียนการ์ตูนตลกก่อน ต่อมาจึงเขียนการ์ตูนเงียบ ซึ่งตอนนั้นเมืองไทยยังไม่มีแนวนี้ เป็นแนวการ์ตูนที่สื่อด้วยภาพอย่างเดียว แต่เขาไม่อยากได้ เราก็ย้ายบริษัทเพื่อที่จะได้เขียนการ์ตูนเงียบโดยเฉพาะ แล้วการ์ตูนชุดนี้ก็ได้รับความนิยมมาก เราเป็นคนแรกๆ เลยที่ได้รวมเล่ม ขายได้หมื่นกว่าเล่มซึ่งถือว่าขายดีมากๆ ก็เลยเริ่มมีชื่อเสียง
“แต่ชีวิตเราก็ยังขึ้นๆ ลงๆ เพราะเราทำฟรีแลนซ์ ก็ทำมาเรื่อยๆ พอถึงช่วงหนึ่ง ตกงานอยู่สักพัก เราก็ได้ไปทำที่ BBOYD ของพี่บอย โกสิยพงษ์ ที่นี่จะทำเป็นแอนิเมชัน เราก็อยู่ฝ่ายสตอรี่บอร์ด ช่วยเขาออกแบบคาแรกเตอร์ ซึ่งอาจจะไม่เด่น แต่ก็สนุกดี มีเงินเดือน จะเข้าออฟฟิศอาทิตย์ละครั้ง ก็ทำๆ ไป จนรู้สึกว่าหลังๆ เริ่มที่จะไม่สนุกแล้ว เพราะเรารู้สึกว่ามันไม่ใช่ตัวเอง จนไปเจอบริษัทแห่งหนึ่งที่ใกล้ๆ บ้าน เขาทำแนวหนังสือเรียน เราก็สนใจ หาเบอร์ติดต่อ แล้วก็โทร.ไปที่บริษัทที่ตู้โทรศัพท์หน้าบริษัทเขา ถามว่าสนใจที่จะเอาการ์ตูนมั้ย เขาก็ไม่เอา เราก็บอกว่า ลองดูผลงานเราก่อนมั้ย ถ้าไม่เอาจะรู้ได้ยังไง ก็ตื๊อๆ จนเขาบอกให้เอางานเข้ามา
“เราก็ขึ้นไปที่บริษัท พรีเซนต์งานตัวเองเลย อยากทำ เขาก็จ้างชั่วคราวก่อน เราก็ทำหนังสือ กึ่งคำคมกึ่งแบบเรียน ทำไป ก็เสนอนั่นนี่ จนเขาทำวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ คือเอาเรื่องนี้มาทำเป็นการ์ตูน ปรากฏว่าเล่มนี้ขายดีมาก จนเราสามารถเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทนี้ ได้ทำหนังสือเองอะไรเอง แต่ต่อมาก็มีปัญหา คือไม่ได้ทำ ก็ออกมาเป็นฟรีแลนซ์เอง หลังๆ ก็จะทำเป็นทุกรูปแบบ เริ่มตั้งแต่การจัดหน้า คือทำทุกอย่างที่หนังสือจะทำได้ ตั้งแต่คิดโปรเจกต์เลย นำเสนองานไปที่ต่างๆ ช่วงนั้นชีวิตเหมือนลุ่มๆ ดอนๆ บางเดือนก็ได้เงินเป็นแสน แต่บางเดือนก็ว่างงานนานเลยก็มี แต่เราก็ทำอาชีพนี้มาตลอด 20 กว่าปี จนมีครอบครัวก็ยังทำอยู่ และดึงแฟนมาทำงานด้วย คอยเป็นคนติดต่องานให้เรา ก็ไปเข้าออกบริษัทหลายๆ ที่
“คือการเขียนงานการ์ตูนของเรามันไม่มีสูงสุดนะ อย่างตอนที่หนังสือเราขายดี ก็มีถูกเชิญไปพูดในที่ต่างๆ ไปนั่งกับนักเขียนรุ่นใหญ่ จนเรารู้สึกว่าตรงนั้นสูงสุดแล้ว แต่พอเวลาต่อมา ด้วยการที่การเขียนการ์ตูนมันต้องได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง พอกระแสซา คนก็ล้ม คือมันไม่มีอะไรแน่นอน มีขึ้นหลายช่วง แต่ก็มีลงหลายช่วงเหมือนกัน ช่วงขึ้นก็ดี แต่พอช่วงขาลง แม้แต่จะทำคลอดลูกคนโต ยังไม่มีเงินเลย ต้องไปขอยืมเงินเพื่อนมาจ่ายค่าทำคลอด อย่างที่บอกว่าเราไม่มีจุดใดจุดหนึ่ง แต่ไม่มีนิ่ง ไม่เหมือนกับที่ญี่ปุ่น ซึ่งถ้าดัง ก็ค้างฟ้า แต่ของเรา พอดังก็ต้องสร้างงานใหม่เลย เช่น ตอนที่ทำวรรณคดี ตอนนั้นมีสื่อมีอะไรเยอะ หนังสือติดอันดับขายดี แต่พอหมดกระแส บริษัทก็รวยไป เราก็ต้องเดินหน้าทำงานต่อ
“แต่เราไม่เคยท้อกับอาชีพนี้นะ ต่อให้เราจะย่ำแย่แค่ไหนก็ตาม เราคิดว่ายังไงมันต้องได้ ด้วยความมีใจรัก ขนาดที่ว่าเงินที่จ่ายค่าทำคลอดยังไม่มี แต่เราก็มองว่ายังไงก็ต้องทำให้ได้ พรุ่งนี้มันต้องดีกว่านี้ แล้วเราก็ผ่านพ้นมาได้ จนกระทั่ง 2 ปีก่อน เรารู้สึกว่ามันตันแล้ว ทั้งๆ ที่ 20 กว่าปีก่อนหน้านี้ เราไม่เคยคิดว่าเราจะจบอาชีพนี้ ไม่เคยมองอาชีพอื่น ไม่เคยเลย ยังเชื่อมั่นว่าจะต้องรอด ตกแค่ไหน ยังไงก็ต้องดีขึ้น”
วิวัฒนาการทำพิษ
ต้องหาธุรกิจให้ไปต่อ
“2 ปีก่อนหน้านี้ เรามองว่า วงการหนังสือจะต้องถึงทางตันจริงๆ แต่ไม่ใช่ที่เรา เพราะเราคิดว่าเราแก้ปัญหาได้ แต่มันตันที่วงการว่า มันไม่น่าจะรอด บริษัทหนังสือเริ่มปิด เด็กเริ่มไม่อ่านหนังสือ หันมาเล่นมือถือ คือช่วงนั้นเหมือนเพิ่งเริ่ม แต่เราเริ่มมองแล้วว่ามันไม่น่าจะรอด แล้วมีช่วงหนึ่งที่เราไม่สบาย ทุกคนทำงานไม่ได้ เพราะมันเป็นอาชีพที่สืบทอดไม่ได้ มันอยู่ที่ความสามารถของคน เราก็เริ่มมองหาอะไรทำ ขณะนั้นเรามีสัญญากับบริษัทหนึ่ง เดือนละ 60,000 บาท ที่เราต้องทำงานให้เขา แต่อยู่ๆ เขาก็ยกเลิกไปเลย แล้วเงินเก็บเราก็ไม่มีเลย
“และที่ทำให้เราเชื่อมั่นว่ามันถึงทางตันของวงการแล้ว ก็คือ ขนาดมีบริษัทที่เขียนการ์ตูนแบบออนไลน์ เขาติดต่อมาว่าสนใจงานมาเขียนการ์ตูนมั้ย เราจะมีรายได้จากยอดวิว เราจะมีรายได้เยอะ แต่เรามองแล้วว่า เราน่าจะพอตรงนี้แล้ว อิ่มตัว เราต้องทำเพื่อครอบครัวแล้ว มันไม่ใช่เพื่อความฝัน คือมองไปไกลแล้ว อย่างที่บอกว่า การเขียนการ์ตูนมันสืบทอดไม่ได้ ฉะนั้น เราต้องหาอะไรที่มันสืบทอดได้ ตอนนี้เรายังมีเรี่ยวแรงที่จะไปทางอื่นที่จะสามารถเลี้ยงครอบครัว เราก็ตัดสินใจหักดิบเลย ไม่เป็นนักเขียนการ์ตูนแล้ว คือคิดอย่างเดียวว่าขายของกิน เพราะว่าโลกเปลี่ยนแค่ไหน คนก็ต้องกิน ตอนนั้นเลยหันมาเริ่มทำธุรกิจ
“เรารู้อย่างเดียวว่า เราอยากขายของกิน แต่ปัญหาของเรามีเยอะแยะมาก หนึ่ง ไม่มีหน้าร้าน สอง ไม่มีความรู้ สาม ไม่มีเงินทุน พูดง่ายๆ เราไม่มีอะไรที่จะเป็นพ่อค้าได้เลย ขนาดเพื่อนในวงการยังเอาไปแซวเลยว่า เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าเราเป็นนักเขียนการ์ตูน แล้วมาทำอะไรที่มันไม่ถนัดเลย มันจะเป็นไปได้ไง จนโดนตั้งฉายาว่า “ป๋าเทพแห่งวงการนักเขียนการ์ตูน” เพราะเขามองว่าเจ๊งแน่นอน ทั้งๆ ที่เรายังไม่ได้ทำอะไรเจ๊ง แต่มันอยู่ที่ตัวเรา หากเราทำสำเร็จ เขาก็จะเงียบไปเอง ถ้าเราทำไม่สำเร็จ มันก็สมควรแล้วตามที่เขาว่า ก็ตั้งหน้าตั้งตามทำ ค่อยๆ ทำ
“แต่อย่างที่บอกว่าเราเริ่มต้นก่อน รู้อย่างเดียวว่าเราอยากทำของกิน แต่ไม่รู้จะทำอะไร จนวันหนึ่งมีคนเอาข้าวเม่าหมี่มาฝาก เราก็ลองกิน เฮ้ย มันอร่อยดี แล้วมันเป็นของที่หายาก ข้าวเม่าหมี่คือ ข้าวเม่าที่ใส่น้ำหมี่กรอบ เหมือนกับเราเอาน้ำหมี่กรอบสีเหลืองๆ สีแดงๆ มาใส่ในข้าวเม่า เรากินแล้ว เออ มันอร่อยดี เราเลยคิดว่าถ้าทำอันนี้ขายมันจะดีมั้ย เราก็เลยลองหัดทำก่อน แล้วไปเสนอตามร้านทั่วไป ตามที่ต่างๆ ว่าสนใจมั้ย แต่ก็โดนปฏิเสธ ขายไม่ได้ เพราะเด็กๆ เขาไม่กิน แล้วผู้ใหญ่ก็ไม่ได้มาซื้อขนมกินบ่อยๆ เราก็เลยคิดว่า ของมันอร่อย แล้วทำไมเราไม่ทำให้มันแตกต่างจากที่มีอยู่ เราก็เลยมานั่งทำกัน
“แต่ตอนนั้นทุนไม่มีแล้ว คือใช้เงินเก็บหมดแล้ว เราก็เลยเอาโน้ตบุ๊กตัวสุดท้ายที่ทำงาน เอาไปจำนำ ได้เงินมา 5,000 บาท เพื่อเอามาใช้ในบ้านและซื้อข้าวเม่าทีละขีดสองขีด เพื่อหัดทำ แต่มันไม่มีสูตร เพราะว่ายังไม่มีใครทำมาก่อน เราก็เลยไปหาสูตรที่เขาทำพวกป็อปคอร์นว่าทำยังไง ก็ลองทำอยู่เป็นเดือน คือมันยากกว่าป็อปคอร์นตรงที่ว่าป็อปคอร์นมันแข็ง แต่ของเรามันเบาแบบข้าวเกรียบ คนๆ ไปก็แตก เละ กว่าจะได้ จนในที่สุดมันสำเร็จออกมา ในระหว่างที่ผลิตไปเนี่ย เราก็ยังใช้อาชีพของตัวเองให้เป็นประโยชน์ อย่างที่บอกไปว่าตอนที่เราเริ่มใหม่ๆ เราไม่มีอะไรเลย แต่เราจะใช้การ์ตูนในการเขียนงาน เพราะว่าเราเป็นอย่างเดียว สิ่งเดียวที่เป็นคือการ์ตูน เราจะใช้สิ่งนี้ในการขายขนม ระหว่างนี้เราก็ใช้การ์ตูนเล่าเรื่องราวของตัวเองว่า เราทำอะไร แล้วคนก็เริ่มตามแล้ว แต่เราจะไม่เล่าตรงๆ ว่าจะขายขนมนะ จนคนเริ่มสนใจ คนก็เริ่มเข้ามาว่าอยากลองชิม
“คือพอเราทำสำเร็จ เราประกาศขายตรง เดือนแรก ออเดอร์เข้ามาประมาณ 30,000 เพราะความสนใจ เนื่องจากเราทำของแปลกใหม่ ไม่ได้เลียนแบบใคร ก็คิดทำใหม่ คนก็เลยอยากกิน ตามเรื่องราวว่ามันคืออะไร เดือนแรกมีทั้งสำเร็จและล้มเหลว ที่สำเร็จคือทุกคนกินแล้วอร่อย มีความแปลกใหม่ที่ไม่เคยกินมาก่อน แต่ที่ไม่สำเร็จคือมันยังไม่กรอบ เพราะว่าเราเอาข้าวเม่ามาแล้วเอาน้ำหมี่กรอบใส่เลย พอมันไม่กรอบ เราก็ไปหาวิธีว่าทำยังไง มีคนบอกเราว่าต้องอบ ซึ่งพอเรามาอบ เราก็ไม่มีทุนอีก พอได้เงินมาก็เอามาใช้ เพราะเดือนหนึ่งค่าใช้จ่ายก็ประมาณ 30,000-40,000 อยู่แล้ว
“เราก็เลยประยุกต์จากของที่มีอยู่ ใช้หม้อข้าวใบใหญ่ๆ ที่มีอยู่ในบ้าน เอามาอบ วิธีทำคือ เอาข้าวเม่าที่อบมาใส่ แล้วเขย่าๆ ซึ่งตอนแรกๆ นี่ แขนไหม้หมดเลย เพราะมันไม่ทันใจ จนในที่สุดก็ได้ความกรอบอร่อยขึ้น จนเวลาต่อมา คนดังก็มาช่วยสนับสนุนเรา ในฐานะที่สู้ชีวิต เพราะอย่างที่บอกไปว่าเราทุบหม้อข้าวตัวเองแล้ว จะต้องรอดในสิ่งที่เราเลือกใหม่ ยังไงก็ต้องเอาให้รอด จนสุดท้าย เริ่มมีคนสนใจ เริ่มสนับสนุน มีคนดังกินเยอะ แล้วก็มีการบอกต่อ”
ถ้าถอยก็ตาย
สู้เข้าไปเพื่อครอบครัว
“ถ้าถอยก็ตาย ตอนที่ทำธุรกิจแรกๆ ก็เหมือนหมาจนตรอกจริงๆ ถ้าไม่ทำ ลูก 3 คนจะกินอะไร เส้นทางการ์ตูนมันไม่ได้ล้มที่เรา อย่างเมื่อก่อน เราจะล้มกี่ครั้ง เราก็ลุกขึ้นมาได้ แต่นี่คือความจริง เราไปต่อไม่ได้แล้ว หรือถ้าไปต่อ ก็ไม่น่าจะไกลกว่านี้แล้ว เด็กรุ่นใหม่ก็ขึ้นมาเรื่อยๆ ถ้ายังทำต่อ ก็ไปไม่ได้ ถ้าเส้นใหญ่ไม่สู้ ก็ไปไม่ไหวเหมือนกัน
“อีกอย่าง มันอาจจะเป็นที่นิสัยเราหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ คือเรามีนิสัยแบบนี้อยู่แล้ว เวลาจะทำอะไร ก็จะทำให้สุดๆ แล้วเราจะเป็นคนที่คิดหนักมาก เราจะวางแผน บางคนก็จะถามเราว่าฟลุกหรือเปล่า เราจะบอกเลยว่าเราไม่ได้ฟลุก เราบอกทุกคนเลยว่าจะประสบความสำเร็จให้ได้ในสักวัน ตอนที่เราย่ำแย่ แฟนเราบอกว่าปิดเทอมจะพาลูกไปขายลูกชิ้นหน้าวัด แต่เราบอกว่าถ้าเราขาย กำไรเต็มที่ได้แค่วันละ 100 - 200 บาท เราจะทำให้ได้มากกว่านั้น เดี๋ยวเราจะทำตรงนี้ให้ได้ไกล และเลี้ยงครอบครัวให้ได้ ถ้าเราจะทำ ต้องกระจายให้ไกล ก็โอเค มาลุยกัน
“เราโชคดีที่มีครอบครัวดี พอเราบอกว่าเราจะทำอะไร จะสนับสนุนเต็มที่ ลูกเราทั้งหมด เชื่อมั่นเรามากเลยนะ อย่างแฟนเรา พอเราบอกว่าจะทำ ไม่เคยมีค้าน เขาเชื่อมั่น และช่วยกันเต็มที่ คือทุกคนลุยไปทางเดียวกัน มีจุดมุ่งหมาย คิดเป็นสเต็ปว่าจะทำอะไร ทำยังไง ทุกๆ วันเราจะนั่งคิดตลอด ตื่นตีสามตีสี่ เราก็จะนั่งคิดว่า วันนี้จะทำอะไร จะขายอะไรยังไง วางแผนทุกวัน
“แน่นอนว่า ความเชื่อมั่นไม่ได้มีมาตั้งแต่เกิดแน่นอน อย่างช่วงที่เราตกสุดๆ ความเชื่อมั่นเราไม่มีหรอก คือไปทางไหนล่ะ ไม่รู้อนาคตเลย คนอื่นจะอร่อยเหมือนเรามั้ย แต่เราก็ต้องสร้างเองว่ามันอร่อย และจะทำยังไงให้เข้าถึงทุกคน เราจะพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้ตัวเองตลอด พูดแบบนี้กับตัวเองทุกวัน ต้องทำได้ อย่างตัวนี้ (ชี้ไปที่ซองขนม) ก็ถือว่าย่ำแย่เหมือนกัน เพราะหลังจากที่ได้ทุนจากคุณตันมา ก็เจอปัญหาเรื่องซอง เอาไปขายต่างจังหวัดก็ไม่เหมาะ เขาบอกว่าซองมันดูสมัยใหม่และดูดีเกินไป แต่พอเราเอาไปลงคู่กัน เราก็ไปเจอบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เขาดังอยู่แล้ว ของเราสู้ไม่ได้เลย เพราะว่าคนไทยจะชอบกินของที่เคยชินมา อันนี้คืออะไร ฉันไม่อยากลอง เราดันไปขายราคาเท่ากัน ก็ต้องมาคิดทบทวนอีกรอบว่า จะทำยังไง ไปหาใคร ไปถามคนนั้นคนนี้ว่า เขาขายขนมกันยังไง คือเดินดุ่มๆ ไปถามเลยว่าจะทำยังไง
“ก็ได้คำแนะนำมาส่วนหนึ่ง แต่จริงๆ ปัญหาทุกอย่างที่แต่ละคนเจอไม่เหมือนกัน เราต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเอง คือตอนแรก เราจะใช้ตัวแทนจำหน่ายขาย เพราะมีคนติดต่อขอเป็นตัวแทน เราก็รู้สึกว่าถ้าเราใช้ตัวแทน เขาจะมีเปอร์เซ็นต์ แต่เรารู้สึกว่า เราไม่อยากให้ไปบังคับคนซื้อ ถ้าเราใช้วิธีนั้น เขาจะต้องใช้วิธีให้ขายของเราให้ได้ เพื่อที่จะให้ได้ยอดตามเป้า เราก็บอกเขาตรงๆ ว่าจะไม่ให้ตรงนี้ เราอยากให้รู้สึกว่าคนที่ซื้อขนมเรา เขาอยากกินเอง เรารู้สึกว่าอยากสร้างแบรนด์ที่ให้มันอยู่ยืนนานหน่อย พอไม่ทำแบบมีตัวแทน เราก็ตัดสินใจลุยเอง นำขนมไปเสนอเลย”
ไม่หวั่นไหว
แม้มีของเลียนแบบ
“คือตอนนี้เริ่มมีคนเลียนแบบแล้ว แล้วสิ่งที่เราไม่ชอบที่สุด คือคนไทยเลียนแบบแล้วก๊อปเกรดต่ำ คือไม่ได้เลียนแบบพัฒนา สมมติว่า ถ้ามีชาอะไรดัง ก็ตามมากันเต็มเลย แล้วมันดึงให้แบรนด์ดั้งเดิมตายไปด้วย หรืออย่างคอนเฟล็กซ์ที่มันเริ่มกันมา จากนั้นไม่นานก็เกิดกันเต็มเลย แล้วเลียนแบบนี่คือทำอะไรก็ได้ เจ้าแรกอาจจะทำดี แบบตั้งใจทำจากบ้านหรืออะไรก็แล้วแต่ พอทำดัง ไอ้คนหลังๆ เขาแค่ฉกฉวยผลประโยชน์ แล้วพอคนกินไม่อร่อย ก็พลอยดึงสินค้านี้ลงไป
“อย่างของเราทำมา กว่าจะได้สูตรต่างๆ แต่เจ้าอื่นกลับใส่สูตรสำเร็จง่ายๆ เราเลยกลัวตรงนี้ เราไม่กลัวกับคนที่เลียนแบบแล้วพัฒนา แล้วเรามาแข่งตรงคุณภาพ สินค้าจะโตไปด้วยกัน คือถ้ามีคู่แข่ง สินค้าจะพัฒนาไปเรื่อย แต่ถ้าแข่งแบบประเทศไทย ตายแน่นอน เหมือนแข่งกับดอกเห็ด จนสุดท้ายแล้ว ของแท้คืออะไร คือถ้าจะทำก็ทำให้มันดีไปเลย เราอยากบอกคนไทยตรงนี้ว่าถ้าอยากประสบความสำเร็จ ให้เอาโจทย์หรือหัวใจของเขามา คุณก็ลองคิด เช่น เราทำข้าวเม่า เราก็ลองจากสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำ ของที่คนดูถูกว่ามันขายไม่ได้ ของโบราณ แล้วเราทำสำเร็จ
“ประเทศไทยก็มีของดีตั้งเยอะ ทำไมเราไม่ทำ แล้วเราก็พัฒนาไปเรื่อยๆ กลายเป็นว่าสินค้าเราพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าใครทำอะไร คุณก็เลียนแบบตลอด ทำไมไม่ทำอะไรที่ดีๆ แล้วสร้างสรรค์ เอามาช่วยกัน เช่น คนนี้มีข้าวเม่า อีกคนมีกล้วยแขก มาพัฒนาจนต่างชาติรู้ ต่อไปต่างชาติมา ของกินไทยจะพัฒนาแค่ไหน ดีกว่าทำของที่แห่ตาม แล้วหวังเงินแค่ไม่เท่าไหร่ ซ้ำร้ายกว่านั้นคือดึงธุรกิจนั้นให้ตกต่ำลง เพื่ออะไร คือกลัวพวกฉาบฉวย หรือปลิงที่เกาะแล้วสินค้านั้นมันตายไป
ไม่ท้อถอยและมุ่งมั่น
จึงสำเร็จดั่งที่หวัง
“คนที่รู้จัก เขาก็บอกว่าน่าจะมาจากตัวเรา เหมือนกับสาหร่ายก็ต้องเถ้าแก่น้อย หรือชาเขียวก็คือคุณตัน และถ้าเป็นข้าวเม่า ชื่อเราก็มีอยู่ในนั้น ส่วนปัจจัยที่ทำให้ไปได้ อยู่ได้ คิดว่าน่าจะมาจากตัวเราที่เป็นคนไม่ยอมแพ้ มุ่งมั่นทำ ยังไงก็ได้ ให้มันไปได้เรื่อยๆ ส่วนอีกอย่าง เราว่าของมันดีพอ ถ้าของไม่ดี ต่อให้นำเสนอยังไงก็ไม่ดัง อย่างสาหร่ายของมันดี แม้ไม่โฆษณาก็ไปได้
“อย่างไรก็ตาม ของบางอย่างมันเป็นของดี แต่คนไทยมักจะมีอะไรที่ปิดกั้น เช่น พอบอกว่าเป็นของไทยก็จะโดนอคติทันที ถ้าวันหนึ่ง เราทลายกำแพงนี้ได้ เราว่าสู้ได้ แต่ตอนนี้คนไทยยังมีอคติอยู่ ให้เลือกระหว่างมันฝรั่งกับข้าวเม่า มันมีความต่างกันเลย แต่อย่างที่บอก ถ้าเราทลายกำแพงนี้ไปได้ เราสู้กับขนมแบบต่างๆ ได้สนุกเลยแหละ
“ยกตัวอย่างง่ายๆ ร้านอาหารไทยกับร้านอาหารต่างชาติ ถ้าราคาพอกัน เขาก็ไม่เข้า อย่างญี่ปุ่นที่สร้างชาติได้ เพราะเขาอ่านแต่การ์ตูนญี่ปุ่น เขาถึงมาสู้การ์ตูนฝรั่งได้สบาย ไม่แน่ว่าวันหนึ่ง เราอาจจะทลายกำแพงนี้ก็ได้ ตราบใดที่เราไม่ท้อ ทำไปตามสเต็ปของเรา เราก็ทำให้ได้ในจุดที่เราอยู่ คือถ้าเราไปจุดที่พัฒนาได้ขนาดนั้น มันก็โอเค แต่ถ้ายังไม่ได้ ก็มาในจุดที่ไกลเกินฝันขนาดนี้แล้ว ก็โอเคเหมือนกัน เพราะอย่างที่บอก นับจากปัจจุบันเริ่มต้น แค่นี้เราภูมิใจมากแล้ว จากคนที่ไม่มีอะไร ประตูนี่ปิดสนิท แล้วไม่รู้ว่าจะขายได้หรือเปล่า
“มาวันนี้ เราได้คุยกับนักธุรกิจหลายท่าน ที่ทำธุรกิจด้วยกัน เรากลายเป็นนักธุรกิจไปแล้ว ต่างจาก 2 ปีก่อนที่เราเป็นนักเขียนการ์ตูน แต่มาวันนี้ เราได้พบคุณตัน ได้เจอนักธุรกิจระดับ ดร.ที่เขามาคุยเรื่องธุรกิจกับเรา เราภูมิใจแล้ว ให้เราคิดแล้วเราตั้งใจทำ วันหนึ่งเรามาถึงตรงนี้ได้ก็โอเคแล้ว วันนี้เราภูมิใจแล้วว่าแค่เราไม่ท้อ มีความพยายาม ได้คิดได้ทำ มันต้องรอด
“เราจะบอกกับน้องทุกคนว่า เราอย่าไปมองอะไรที่มันไม่มี เช่น ผมไม่มีนั่น ผมไม่มีนี่ มันจะเป็นข้อแม้ที่เราไม่ได้ทำ ให้เราดูว่าเรามีอะไร หาสิ่งที่เรามี เราเป็นนักเขียนการ์ตูนมา 20 กว่าปี เราก็สามารถเอาทักษะด้านการ์ตูนมาเล่าเรื่องราวของเราให้คนอ่านสนใจได้ ใช้สื่อจากสิ่งที่ตัวเองมี คือใช้สิ่งที่ตัวเองมีให้เกิดประโยชน์ที่สุด อย่าไปทิ้งมัน เพราะหลายคนมองที่เราสำเร็จวันนี้ เขาบอกอยากทำบ้าง แต่ไม่มีจุดเด่น ก็ไม่ใช่สิ อย่างตอนแรกเราจะขายของโดยใช้การ์ตูน เราโดนด่าเลยนะ นักเขียนการ์ตูนจะมาขายขนม แต่พอมาวันนี้ ทุกคนมาบอกว่าเพราะเราเป็นนักเขียนการ์ตูนจึงขายขนมได้ มันไม่ใช่ ผมอยากให้มองว่าทุกคนมีหมดแหละ แต่เราจะนำมันมาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ เท่านั้นเอง
“อีกอย่าง เราเป็นคนที่ชอบเจอความท้าทายเยอะๆ เมื่อก่อนตอนเป็นนักเขียนการ์ตูน หัวต้องคิด พอมาเป็นพ่อค้า ก็คิดว่าหมดสนุกแล้ว เพราะว่าทำของขาย จบแล้ว แต่พอมาทำจริงๆ แล้วก็รู้สึกว่ามันมีอะไรให้คิดเยอะ ตอนนี้เราต้องมาคำนวณหลักสตางค์ ต้องคิดตรงนั้น วางแผนตรงนี้ ขายยังไง อะไรยังไง คือรู้สึกว่า มันมีความท้าทายสมองเราเยอะ ถ้าเรามองให้สนุก มันก็จะสนุกกับชีวิต
“เราเกิดมาชาติหนึ่ง ถ้าคิดว่าทำไม่ได้ ก็ทำไม่ได้ เพราะคุณไปสะกดจิตตัวเองก่อนแล้ว คุณต้องคิดว่าคุณทำได้ คือคนเรา คุณเขียนวงกลมไป 10 วง ทั้งวัน มันก็ต้องกลมเองแหละ พอเรามาทำตรงนี้ เราได้อะไรเยอะ แล้วได้ความภูมิใจที่ว่า ต่อไปเราน่าจะทำได้ ทุกคนมองว่าใครก็ทำได้ แค่มีความพยายาม ทุกคนก็ทำได้ เราถึงมองว่ามันให้อะไรหลายอย่าง ครอบครัวก็มีความสุข เพราะเราก็ยังทำงานที่บ้านได้ เราอยู่กับลูกมาตั้งแต่เขาเกิด จนตอนนี้ ก็ยังอยู่ด้วยกัน ก็รู้สึกว่า มันให้อะไรเยอะ มันบอกไม่ถูกนะ ได้ทุกอย่าง คืออาจจะยังไม่สำเร็จสุดๆ แต่พอมองย้อนไป เราก็ภูมิใจตัวเองที่มาได้ถึงขนาดนี้”
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ศิวกร เสนสอน