ถ้าไม่มีดราม่า คนไทยหลายคนก็อาจไม่รู้จักกับคนชาติเดียวกันที่เจ๋งเป้งถึงเพียงนี้ “โกมล ปัญญาโสภณเลิศ” เจ้าของตำแหน่งอันดับ 3 แห่งการแข่งครอสเวิร์ดหรือเกมต่อคำภาษาอังกฤษระดับโลก เราพาไปทำความรู้จักและถอดปมที่มาที่ของดราม่าที่เกือบจะทำให้คนไทยเก่งๆ คนหนึ่งเสียขวัญกำลังใจ!
เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์แง่ลบที่ถูกพูดถึงทั่วโลกเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ สำหรับกรณี มือวางอันดับ 3 ของโลกการเล่นต่อศัพท์ครอสเวิร์ด หรือ “สแครบเบิ้ล” โดยสมาคม WESPA ทั้งๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษไม่คล่อง ต้องพึ่งการแปล Google Translate ก่อนจะกลายเป็นเสียงชื่นชม เมื่อเรื่องราวความจริงถูกเปิดเผย
นั่นเพราะ "โกมล ปัญญาโสภณเลิศ" เป็นชื่อที่คนในวงการต่อศัพท์เล่นคำรู้จักกันดี ทั้งจากฝีไม้ลายมือความรู้ที่สั่งสมบนกระดานศัพท์ตั้งแต่อายุ 14 ที่หัดเล่นก็คว้าแชมป์รายการถ้วยเล็กใหญ่ระดับจังหวัด ระดับประเทศ เทิร์นโปรไขว้อักษรกับต่างชาติ จนล่าสุดในตำแหน่งมือวางอันดับ 3 ของโลก และประสบการณ์ที่ในขณะอีกด้านหนึ่งของชีวิตก็ทำงานเก็บเกี่ยวสร้างเนื้อสร้างตัว จนกลายเป็นโปรแกรมเมอร์เว็บไซต์ชื่อดัง Priceza และเจ้าของแอปพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนของตัวเอง นาม Komon P. ได้อย่างภาคภูมิ...
• ต้นตอของปมกระแสการเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้อย่างไร
เกิดจากการเข้าใจผิด คือทาง Daily Mail (สำนักข่าวของอังกฤษ) เขาลงว่าผมเหมือนพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ไม่คล่อง หลังจากจบการแข่งขัน จู่ๆ นักข่าวคนที่ทำข่าวเขาก็ติดต่อเข้ามาทางเฟซบุ๊กบอกว่าอยากจะขอสัมภาษณ์ ขอเบอร์โทรศัพท์ติดต่อประสานงาน แต่เราไม่ได้ให้ เพราะเราไม่รู้จักเขา เราลองเช็คโปรไฟล์เขา ก็ไม่รู้ว่าสังกัดที่ไหนอย่างไร ก็เลยบอกปัดขอเป็นพิมพ์ตอบทางอีเมล์แทน นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่เขาคงคิดว่าเราหลีกเลี่ยง เราพูดไม่ได้หรือเปล่า แต่นอกจากเรื่องนั้น ผมเห็นว่าเป็นเรื่องของความชัดเจนด้วย พิมพ์ตอบจะได้บอกรายละเอียดของเทคนิคอะไรต่างๆ ได้หมด
แต่พอเราพิมพ์ตอบไป เราใช้ภาษาพูดธรรมดาในการสื่อสาร เขาเห็นอย่างนั้นก็คิดว่าเราใช้ Google Translate แปล พอลงข่าวอย่างนั้นก็ถามเขาว่าทำไมลงอย่างนั้น เขาก็ตกใจเหมือนกัน เขาบอกว่าคุณไม่ได้ใช้หรอกเหรอ (ยิ้ม) คือเขาอนุมานไปเองเนื่องจากก่อนหน้านี้เคยให้สัมภาษณ์กับ AFP ในงานแข่งแบรนด์คิงคัพ 2016 ช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งตอนสัมภาษณ์ เขามาในช่วงการระหว่างการแข่งขัน เขาอยากคุยกับเรา แต่ด้วยความที่เรากำลังพักเบรกเพื่อที่จะแข่งต่อ ก็ถามว่าอันนี้สัมภาษณ์เป็นภาษาอะไร เขาบอกภาษาอังกฤษก็ได้ ไทยก็ได้ ด้วยความที่เรามักง่ายด้วย จะได้ไม่สบายๆ ไม่ต้องเสียเวลาคิด เก็บแรงไว้แข่ง ก็เลยให้สัมภาษณ์เป็นภาษาไทย ประเด็นมันเลยเกิดตอนประสานงานกับทางทีมงาน เขาอาจจะเห็นตอนคุยเป็นภาษาอังกฤษเราต้องมีนึกมีคิดอะไรก่อนพูด เขาก็เลยลงว่าเราไม่คล่องภาษาอังกฤษ
• ก็เลยเกิดเป็นนำเสนอในรูปแบบข่าวที่บอกว่า เราไม่เก่งภาษาแต่สามารถเล่นได้ระดับขนาดนี้
ส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเขาจงใจจะทำให้เราดูฉลาดหรือเปล่า เพราะอย่างตอนที่อธิบายไปกับทาง Daily Mail เขาก็เหมือนเข้าใจ เขาบอกว่าจริงๆ เขาลงอย่างนั้นเพราะเหตุผลหนึ่งคืออยากทำให้ผมดูฉลาด ดูว่าผมไม่รู้ภาษาอังกฤษแต่ดันทำอันดับโลกได้ถึงที่ 3 ทำให้ฝรั่งมองคุณฉลาดมากๆ ถ้าลงอย่างนี้
• มีทางเป็นไปได้ไหม ถ้าเราไม่คล่องภาษาอย่างที่สื่อเมืองนอกออก การเล่นเกมครอสเวิร์ดจะมาถึงได้ในระดับแข่งขันโลก
เป็นไปได้ครับในทางทฤษฏี เพราะเกมมันก็มีเหมือนสูตรการเล่น หรือรวมไปถึงสูตรการท่องสูตร แต่ส่วนตัวรู้สึกว่ายากมากที่จะทำได้ในระดับนี้ ถ้าแค่เล่นๆ พอได้ เพราะว่าถ้าเราไม่รู้หลักไวยากรณ์ รู้ความหมาย อย่างเช่นคำว่า Tank แปลว่าอะไร ลงไปก็จะไม่รู้เลยว่าสามารถเติม คำนามเอกพจน์ เป็นพหูพจน์ ได้หรือเปล่า เติม ed เติม ing ได้ไหม แต่ถ้าเรา เราเข้าใจ คำว่า Tank มันเป็น Noun Verb หรือเป็น Adj. คือเบื้องต้นกลายเป็นว่าเราต้องรู้ความหมายของมัน เพื่อให้เล่นได้มีประสิทธิภาพ
• รูปแบบการเล่นครอสเวิร์ดก็ส่งผลในเรื่องทักษะภาษาอังกฤษ
จะมาควบคู่กัน ยุคนั้นที่เล่นแทบจะทุกโรงเรียน อาจารย์ภาษาอังกฤษจึงนิยมนำมาให้เด็กเล่นเพื่อพัฒนาทักษะและทำให้เปิดทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ ง่ายๆ ยกตัวอย่างผม เริ่มแรกเดิมที ผมไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษเลย แต่หลังจากเล่นแล้วชอบก็ศึกษา จากไม่ถูกโฉลกกับภาษาอังกฤษ ก็พัฒนาต่อยอดอ่านออก เขียนได้ พูดได้ แต่เรื่องพูดเราก็ไม่ได้ใช้อังกฤษสื่อสารเป็นภาษาแม่และใช้ในทุกวันของชีวิตอยู่แล้ว เวลาจะพูดสื่อสาร เราก็ต้องทิ้งช่วงเวลาคิดเรียบเรียง นิยามคำว่าคล่องของเขาอาจจะต้องการลื่นไหลด้วย สวยด้วย ก็พอเข้าใจได้ แรกๆ ที่ลงไปก็ไม่ค่อยชอบเหมือนกัน แต่ก็พอรับได้
• จากเกมกลายเป็นมนต์เสน่ห์ที่ทำให้หลงรักภาษา อยากทราบว่าเริ่มครอสเวิร์ดต้นเล่นตั้งแต่เมื่อไหร่
รู้จักเกมนี้ช่วงอยู่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ประมาณมัธยมต้น ม.2 หลังจากเล่นเกมทางวิชาคณิต คือจริงๆ แล้ว ก่อนหน้านี้ผมถนัดและชอบทางเลขมากกว่า อย่างตอน ม.1 เล่มเกมชื่อ 24 เป็นการนำเลข 4 ตัว มา บวก-ลบ-คูณ-หาร แล้วใครได้คำตอบผลลัพธ์ 24 ก่อนกัน ก็ไปแข่งจนได้ชนะเลิศระดับประเทศ ทีนี้พอแข่งได้ก็เริ่มกลายเป็นที่รู้จักของอาจารย์ ท่านก็เลยเอาเกมใหม่ๆ มาแนะนำเรา ตอนนั้นก็มีอีกเกมหนึ่ง ชื่อ A-math ซึ่งเป็นเกมกระดานหน้าตาคล้ายๆ อย่างครอสเวิร์ด แต่ว่าแทนที่ด้วยตัวเลข เวลาเล่นก็จะต่อเป็นสมการคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร อันนี้ก็ชอบก็สนุก มีจัดแข่งก็ไปแข่ง แต่ทีนี้ปี 2541-42 บริษัทเกมที่เขาทำ A-math เขาก็ทำครอสเวิร์ดด้วย ก็จัดงานพร้อมกัน แล้วตอนนั้น ครอสเวิร์ดเขาเป็นการแข่งระดับนานาชาติพอดี ดูแล้วยิ่งใหญ่ เราไปเห็น ก็รู้สึกดูโก้กว่าเกมที่เราเล่น (หัวเราะ) ก็เลยลองมาหัดเล่น
เพราะอย่างหนึ่ง รู้สึกว่าถ้าเราเล่น A-math ได้ ซึ่งเป็นการต่อเหมือนกัน แต่จากตัวเลขก็เปลี่ยนมาเป็นตัวอักษร เราก็เอาลอจิกมาใช้บ้าง ก็ท่องศัพท์เก็บสะสมไปเรื่อยๆ เริ่มจากอักษรสองตัวอักษร AA, AB, AD, AE และอื่นๆ แล้วก็ค่อยๆ ศึกษาเทคนิคจากแฮนด์บุ๊คของสมาคมครอสเวิร์ดบ้าง เพราะทั้งสองอย่างต้องควบคู่กัน
• การเล่นครอสเวิร์ดนี้ มีกลวิธีในการเล่นอย่างไร
การเล่นครอสเวิร์ด เริ่มแรก ใครได้เริ่มเล่นก่อน ก็เหมือนจับได้ไพ่ใบใหญ่ ใครที่หยิบพยัญชนะได้ใกล้ตัว A มากที่สุด แต่มันจะมีตัว blank ตัวที่ว่างๆ สามารถแทนอะไรก็ได้ อันนี้ถ้าจับได้จะได้เล่นก่อนทันที พอรู้ลำดับการเล่นหลังจากนั้นก็จั่วตัวอักษร 7 ตัว จากในถุง ซึ่งในถุงจะมีตัวอักษร A-Z ต่างๆ คละเคล้าจำนวนซ้ำแตกต่างกันทั้งหมด 100 ตัว โดยแต่ละตัวจะมีค่าคะแนนกำกับข้างๆ 1-2-3-4-5 (แต้มเยอะจะมีจำนวนน้อยตามความยากง่ายของพยัญชนะที่ใช้) เพื่อนับหลังจากเรียงประโยคคำ
ในส่วนของเรื่องการนับคะแนน หลังจากนำตัวอักษรมาเรียงเป็นคำให้ผ่านช่องตรงกลางเปิดเกม (จะวางรูปแบบแนวใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการวางหมากของเราเพื่อจะนำไปสู่คำอื่นๆ แต่ที่นิยมจะเล่นโดยเปิดให้ช่องพิเศษอยู่เหนือหรือใต้พยัญชนะทำให้ได้แต้มยาก) ทีนี้บนกระดาษจะมีช่องพิเศษเป็นคะแนนเพิ่มอีก 4 ช่องสี สีฟ้าความหมายคือตัวอักษรใดในพยางค์มาตกที่ช่องนี้จะได้คูณสอง ถ้าเป็นสีน้ำเงินก็จะเป็นคูณสามตัวอักษร ส่วนสีชมพูจะเป็นเวิร์ด คือทั้งคำถ้าตกจะคูณสอง สมมุติคำว่า Bug อักษร g ของเราตกช่องนี้พอดี คะแนนเบี้ยทั้ง B-U-G ก็จะคูณสอง สีแดงก็เช่นเดียวกันกับสีขมพูแต่ค่าคะแนนจะมากกว่าคือคูณสาม สุดท้ายใครลงเสร็จก็จั่วจับใหม่เท่าจำนวนที่ลง
• และนับแต้มจากผลรวมที่ทำได้ใครได้สูงสุดเป็นฝ่ายชนะ
ถูกต้อง ผลัดกันจนในถุงหมดไม่มีให้จับ ก็จะเหลือเล่นกันตามเท่าที่มีแต่ละฝ่าย และพอฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเล่นหมดก่อน ก็จะได้แต้มบวกพิเศษจากตัวอักษรของอีกฝั่งที่เล่นไม่หมดคูณสอง แล้วก็มาดูว่าจังหวะนั้นคะแนนแต่ละคนทำได้เท่าไหร่ ใครมากกว่าก็ชนะ ซึ่งเทคนิคการเล่นก็มีหลากหลายนอกจากอย่างเรื่องการลงเปิดเกม ก็มีการทำแลคบาลานซ์ตัวอักษร คือพยายามทำให้ตัวเล่นยากออกไปก่อน พอเหลือตัวง่ายๆ เราสามารถจะทำบิงโก ซึ่งอันนี้เป็นทีเด็ดของเกมเลยก็ว่าได้ เป็นการลง 7 ตัวอักษรบนแป้นทีเดียว อาจจะไปผสมบนกระดานก็ได้หรือลงเดี่ยวๆ ก็ได้ เราก็จะได้แต้มบวก 50 คะแนน การจะลงคำอย่างนั้นได้ จะต้องเก็บตัวอักษรและวางแผนการลงที่ใช้ระยะเวลา
• ทั้งการวางแผน และการจดจำ ดูเหมือนจะสำคัญมากๆ
ใช่ครับ แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเล่นเพื่ออะไร ยกตัวอย่างทุกวันนี้ คำที่ใช้จะนำมาจากดิกชั่นนารีโลก มีอ้างอิงว่าคำนี้มีความหมายจริง ไม่ใช่ทึกทักมาเอง ดังนั้นจากที่เล่นแล้วท่องศัพท์อย่างเดียว พอมันเป็นคำจริงๆ ที่สามารถเอามาใช้ได้จริงๆ ในชีวิตประจำวัน เราก็ท่องและจดจำความหมายด้วย อีกอย่างคือ พอเราเล่นได้ แข่งเริ่มชนะ หลังๆ ประมาณเกือบปี เราได้รางวัล ได้ถ้วย จากงานเล็กๆ ระดับจังหวัดจัดในกรุงเทพฯ หรือระดับประเทศไทย เราก็ได้ เรารู้สึกว่ามันไม่ใช่ว่าเราเล่นเกมนี้เก่งอย่างเดียวแล้วภาษาอังกฤษโง่ มันก็ดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เราก็อยากเก่งภาษาอังกฤษเพิ่มด้วย การเรียนก็เลยต้องศึกษา ทำความเข้าใจกับไวยากรณ์ ก็ไปอ่านนวนิยายภาษาอังกฤษ ส่วนตัวชอบอ่านแนวสืบสวน โดยเฉพาะผลงานของ “อกาธา คริสตี้” และ “เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์” เพื่อเสริมเรื่องของหลักภาษา ดูแกรมมาที่เขาใช้ ทำให้เรามีแรงผลักดันให้เรียนเข้าใจมากขึ้น ก็พัฒนาไปด้วยกัน
• คิดไหมว่าการเล่นจะพัฒนาและต่อยอดจนกลายมาเป็นมืออันดับต้นเมืองไทย มือวางอันดับที่ 3 ของโลก
ต้องบอกก่อนว่า ผมไม่ได้เป็นคนที่เก่งที่สุดของประเทศ คือมันจะมีงานที่เรียกว่าชิงแชมป์โลกงานหนึ่ง ใครได้เรียกว่าแชมป์โลกเลย ก็มีคนอื่นที่ได้แชมป์โลกไปแล้วตั้ง 2 คน คือปีใน 2003 เราก็ไปด้วย ผมได้อันดับที่ 6 แล้วปีนั้นคนไทยเข้าชิงกันเอง แต่ของผมอันนี้เป็นลำดับ Ranking คือวัดมาตลอดเก็บมาเรื่อยๆ
แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้คิด ขอให้แค่เข้าใจก็พอ ทำข้อสอบได้ อ่านเขียนพูดตามมาตรฐานที่เรียนของบ้านเรา (ยิ้ม) แต่พอภาษาดีขึ้น เราทำได้มากขึ้น ช่วง ม.4 ได้แชมป์ระดับประเทศ งานแบรนด์คิงคัพ โอกาสเราก็เปิดมากขึ้น คือตอนนั้นถ้าไม่เปลี่ยนเพิ่มเกณฑ์โควต้าก่อน ก็ได้เรียนวิศวะจุฬาฯ ตามที่ตั้งใจ เพราะตอนนั้นเกมครอสเวิร์ดถูกบรรจุให้เป็นกีฬามหาวิทยาลัยด้วย เราได้แชมป์ระดับนี้เราสามารถเข้าเรียนได้เลย แต่ด้วยความชะล่าใจ เขาเปลี่ยนกฎปีสุดท้าย ต้องเอาคะแนนฟิสิกส์กับคณิตศาสตร์อย่างละ 60 คะแนน ถึงจะยื่นโควต้าได้ ซึ่งคนธรรมดาก็ยากอยู่แล้ว เราไม่ได้สนใจเท่าไรด้วย ก็สรุปเอนทรานซ์วิศวะติดทุกที่ ยกเว้นจุฬาฯ แต่อยากเรียนที่จุฬาฯ เพราะใกล้บ้านดี ก็เลยเลือกเรียนวิทยาศาสตร์ไป แต่พอเรียนจริงๆ ก็เริ่มรู้สึกไม่แฮปปี้กับสายวิทย์ ก็เลยซิ่ว แล้วก็เอนทรานซ์ใหม่ ได้นิเทศฯ ของจุฬาฯ
• หมากรุกยังต้องคิด ครอสเวิร์ดก็เหมือนกันว่าอย่างนั้น
(หัวเราะ) คิดแน่นอนครับ ครอสเวิร์ดมันไม่ใช่เกมที่ใครรู้คำศัพท์มากกว่าก็จะชนะกันไป จริงๆ ในแต่ละเทิร์น เรามีทางเลือกได้มากมาย เรียงคำได้หลากหลาย ในแต่ละทางเลือกที่เราเลือกลง ก็จะส่งผลที่ตามมาแตกต่างกันไป ต้องคำนวณความน่าจะเป็นตลอดว่าโอกาสที่จะโดนคู่ต่อสู้ทำแต้มกลับมามีเท่าไหร่ เป็นต้น หรืออย่างเช่น ระหว่างเล่นอยู่ เรามีตัว ACIPZ เราสามารถลง CAPIZ ได้ แต่เราอาจจะเลือกลงแค่ CAPI ไปก่อน เก็บตัว Z ไว้ เพราะว่าในเกม 1 ชุด มีตัว Z แค่ตัวเดียว แล้ว CAPI ก็เติมอะไรต่อท้ายไม่ได้เลย ยกเว้นตัว Z อันนี้ก็ค่อนข้างคอนเฟิร์มว่าเราจะได้ลงต่อท้ายแน่ๆ ในเทิร์นหน้า โดยสร้างเป็นอีกคำที่ประกอบด้วยตัว Z อย่างเช่น ZEBRA แล้วไปต่อกับ CAPIZ ก็จะได้แต้มหนักจากทั้ง 2 คำเลย เป็นการสร้างความได้เปรียบให้ตัวเองจากตัวอักษรที่เรามีในขณะนั้น อันนี้ในส่วนของเกมการแข่งขัน
ส่วนในเรื่องชีวิตเราก็เช่นกัน ตอนนั้นหลังจากเราเล่นเรื่อยๆ ไม่ได้คิดว่าจะมาถึงขึ้นนี้ ก็ค่อยๆ ไต่เต้า จากแชมป์ประเทศที่เล่าไปช่วง ม.4 เราแข่งกับระดับนานาชาติครั้งแรกก็ช่วง ม.5 เพราะลงรุ่นนักเรียนไม่ได้แล้ว ลงรุ่น Open ก็โชคดีได้ที่ 10 ดีใจ ณ ตอนนั้น เพราะว่าความเขี้ยวมันต่างกัน ทั้งเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร แล้วอายุรุ่นใหญ่กว่า เขาก็ผ่านประสบการณ์ ความรู้ศัพท์มากกว่า เราก็คิดว่าเราสู้ได้ เราเป็นหนึ่งมา นี่ก็สอนอีกเรื่องให้กับชีวิต อย่าชะล่าใจ หลังๆ ความคิดก็มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง อันไหนสำคัญกว่า เราก็ต้องทำให้เต็มที่
ก็ทำให้เรามีการจัดการมากขึ้นทำตรงนี้ควบคู่กับเรียน มีแข่งก็ไปแข่งเรื่อยๆ ช่วงมหาวิทยาลัยก็เริ่มข้ามไปต่างประเทศ เพราะว่าทางสมาคมเขามีจัดแข่งชิงตั๋ว ก็ได้ไป 2 ครั้ง ไปแข่งที่อเมริกา ได้ติดที่ 6 บ้าง ที่ 8 บ้าง ก็สะสมมาเรื่อยๆ อันดับและรายการที่ไปแข่งก็ถ้าไล่ๆ มีที่ 41 ปี 2002 National Scrabble Championship at San Diego : USA อันดับ 6 ปี 2003 World Scrabble Championship ที่ Kuala Lumpur : Malaysia อันดับ 6 ปี 2004 National Scrabble Championship ที่ New Orleans : USA
อันดับ 8 ปี 2005 National Scrabble Championship ที่ Reno : USA อันดับ 18 ปี 2007 World Scrabble Championship ที่ Mumbai : India อันดับ 5 ปี 2009 World Scrabble Championship ที่ Johor Bahru : Malaysia อันดับ 7 ปี 2011 World Scrabble Championship ที่ Warsaw : Poland อันดับ 2 ปี 2013 World Scrabble Championship ที่ Prague : Czech อันดับ 4 : 2015 World Scrabble Championship ที่ Perth : Australia และอันดับ 3 ปี 2016 Cape Town International Scrabble Tournament at Cape Town : South Africa
อันนี้คือที่ทุกวันนี้ไปเอง ออกเองหมด ไม่มีสปอนเซอร์ ดังนั้น เวลาไปผมก็ต้องติดต่อเอง ประสานงานเอง ฉะนั้น เขาจะบอกว่าเราสื่อสารไม่รู้เรื่องก็ไม่ได้ ไม่มีทาง ผมเดินทางไปคนเดียวคงไม่รอดไปถึงปลายทางได้ถึงวันนี้ และโดยงานปัจจุบัน ผมทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ให้เว็บ Priceza ซึ่งเป็นเว็บเปรียบเทียบราคาของออนไลน์ทั่วโลก โดยผมดูในส่วนของแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ แล้วก็ทำแอปพลิเคชั่นส่วนตัวต่างๆ เกมต่างๆ ของสมาร์ทโฟน ทั้ง Android และ iOS เองด้วย ชื่อ komon P. แน่นอนว่าภาษาโปรแกรมเป็นอังกฤษ ถ้าไม่ได้ ก็ไม่มีทางทำงานตรงนี้ได้
• และเรียกได้ว่ามีวันนี้ก็เพราะครอสเวิร์ด เกมๆ หนึ่งก็มีส่วนในการผลักดันก่อเป็นประโยชน์
เกมตรงนี้ก็มีประโยชน์ มีการวางแผน สนุก ถ้างานอดิเรกของคุณเป็นเกม เล่นเกมอะไรต่างๆ ถ้าเป็นเกมอื่นเล่นไปแล้วพอจบแล้วก็อาจจะแล้วกัน แต่ว่าถ้าครอสเวิร์ดมันยังสามารถต่อยอดได้ ต่อไปเป็นทักษะ ความสามารถ หรือการแข่งขัน สร้างชื่อ สร้างอาชีพอย่างแชมป์โลก ไนเจล ริชาร์ด ที่สามารถเล่นจะเป็นอาชีพ ซึ่งน้อยคนนักที่จะทำได้
• แม้ว่าจะมีการเข้าใจผิดจนนำมาสู่เรื่องราวความเข้าใจต่อครอสเวิร์ดว่าไม่ต้องมีความรู้ทางภาษา แค่จดจำก็เล่นได้ดีได้
ส่วนความรู้สึกแรก จริงๆ ก็โกรธ แต่ว่าสื่อฝรั่งเขาเราก็ไม่ได้แคร์เท่าไหร่ เพราะเขาไม่ได้รู้จักตัวตนเรา แต่มันสะเทือนตรงที่สื่อไทยแปลมาตรงหมดเลย เครียดมากตอนข่าวออกใหม่ๆ แต่ว่าวันต่อมาก็มีข่าวมาแก้ให้เต็มไปหมด ก็ดีใจที่ทุกคนหลังจากข่าวออกไปมีหลายคนที่เชื่อมั่นในตัวเรา พอเห็นข่าวออกไปว่าพูดอังกฤษไม่ได้ แต่ก็มีคนเชื่อว่าไม่น่าจะใช่ ดูแล้วจะเป็นไปได้ไง ก็ขอขอบพระคุณทุกกำลังใจและความศรัทธาเชื่อมั่น มีคนเข้ามาชื่นชมมาก คนไทยสามารถไปแข่งได้ที่ 3 ณ จุดนี้ถ้าถามความรู้สึกส่วนตัวที่ 3 ก็พอใจแล้ว แต่เป็นไปได้ก็อยากจะได้ตำแหน่งแชมป์โลกสักครั้งเหมือนกัน อันนี้ก็คงพยายามพัฒนาฝีมือไปเรื่อยๆ สิ้นเดือนหน้ามีการแข่งขัน World Scrabble Championship ที่ประเทศฝรั่งเศส เป็นงานชิงแชมป์โลกของปีนี้ ก็พยามทำให้เต็มที่ครับ
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช
เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์แง่ลบที่ถูกพูดถึงทั่วโลกเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ สำหรับกรณี มือวางอันดับ 3 ของโลกการเล่นต่อศัพท์ครอสเวิร์ด หรือ “สแครบเบิ้ล” โดยสมาคม WESPA ทั้งๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษไม่คล่อง ต้องพึ่งการแปล Google Translate ก่อนจะกลายเป็นเสียงชื่นชม เมื่อเรื่องราวความจริงถูกเปิดเผย
นั่นเพราะ "โกมล ปัญญาโสภณเลิศ" เป็นชื่อที่คนในวงการต่อศัพท์เล่นคำรู้จักกันดี ทั้งจากฝีไม้ลายมือความรู้ที่สั่งสมบนกระดานศัพท์ตั้งแต่อายุ 14 ที่หัดเล่นก็คว้าแชมป์รายการถ้วยเล็กใหญ่ระดับจังหวัด ระดับประเทศ เทิร์นโปรไขว้อักษรกับต่างชาติ จนล่าสุดในตำแหน่งมือวางอันดับ 3 ของโลก และประสบการณ์ที่ในขณะอีกด้านหนึ่งของชีวิตก็ทำงานเก็บเกี่ยวสร้างเนื้อสร้างตัว จนกลายเป็นโปรแกรมเมอร์เว็บไซต์ชื่อดัง Priceza และเจ้าของแอปพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนของตัวเอง นาม Komon P. ได้อย่างภาคภูมิ...
• ต้นตอของปมกระแสการเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้อย่างไร
เกิดจากการเข้าใจผิด คือทาง Daily Mail (สำนักข่าวของอังกฤษ) เขาลงว่าผมเหมือนพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ไม่คล่อง หลังจากจบการแข่งขัน จู่ๆ นักข่าวคนที่ทำข่าวเขาก็ติดต่อเข้ามาทางเฟซบุ๊กบอกว่าอยากจะขอสัมภาษณ์ ขอเบอร์โทรศัพท์ติดต่อประสานงาน แต่เราไม่ได้ให้ เพราะเราไม่รู้จักเขา เราลองเช็คโปรไฟล์เขา ก็ไม่รู้ว่าสังกัดที่ไหนอย่างไร ก็เลยบอกปัดขอเป็นพิมพ์ตอบทางอีเมล์แทน นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่เขาคงคิดว่าเราหลีกเลี่ยง เราพูดไม่ได้หรือเปล่า แต่นอกจากเรื่องนั้น ผมเห็นว่าเป็นเรื่องของความชัดเจนด้วย พิมพ์ตอบจะได้บอกรายละเอียดของเทคนิคอะไรต่างๆ ได้หมด
แต่พอเราพิมพ์ตอบไป เราใช้ภาษาพูดธรรมดาในการสื่อสาร เขาเห็นอย่างนั้นก็คิดว่าเราใช้ Google Translate แปล พอลงข่าวอย่างนั้นก็ถามเขาว่าทำไมลงอย่างนั้น เขาก็ตกใจเหมือนกัน เขาบอกว่าคุณไม่ได้ใช้หรอกเหรอ (ยิ้ม) คือเขาอนุมานไปเองเนื่องจากก่อนหน้านี้เคยให้สัมภาษณ์กับ AFP ในงานแข่งแบรนด์คิงคัพ 2016 ช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งตอนสัมภาษณ์ เขามาในช่วงการระหว่างการแข่งขัน เขาอยากคุยกับเรา แต่ด้วยความที่เรากำลังพักเบรกเพื่อที่จะแข่งต่อ ก็ถามว่าอันนี้สัมภาษณ์เป็นภาษาอะไร เขาบอกภาษาอังกฤษก็ได้ ไทยก็ได้ ด้วยความที่เรามักง่ายด้วย จะได้ไม่สบายๆ ไม่ต้องเสียเวลาคิด เก็บแรงไว้แข่ง ก็เลยให้สัมภาษณ์เป็นภาษาไทย ประเด็นมันเลยเกิดตอนประสานงานกับทางทีมงาน เขาอาจจะเห็นตอนคุยเป็นภาษาอังกฤษเราต้องมีนึกมีคิดอะไรก่อนพูด เขาก็เลยลงว่าเราไม่คล่องภาษาอังกฤษ
• ก็เลยเกิดเป็นนำเสนอในรูปแบบข่าวที่บอกว่า เราไม่เก่งภาษาแต่สามารถเล่นได้ระดับขนาดนี้
ส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเขาจงใจจะทำให้เราดูฉลาดหรือเปล่า เพราะอย่างตอนที่อธิบายไปกับทาง Daily Mail เขาก็เหมือนเข้าใจ เขาบอกว่าจริงๆ เขาลงอย่างนั้นเพราะเหตุผลหนึ่งคืออยากทำให้ผมดูฉลาด ดูว่าผมไม่รู้ภาษาอังกฤษแต่ดันทำอันดับโลกได้ถึงที่ 3 ทำให้ฝรั่งมองคุณฉลาดมากๆ ถ้าลงอย่างนี้
• มีทางเป็นไปได้ไหม ถ้าเราไม่คล่องภาษาอย่างที่สื่อเมืองนอกออก การเล่นเกมครอสเวิร์ดจะมาถึงได้ในระดับแข่งขันโลก
เป็นไปได้ครับในทางทฤษฏี เพราะเกมมันก็มีเหมือนสูตรการเล่น หรือรวมไปถึงสูตรการท่องสูตร แต่ส่วนตัวรู้สึกว่ายากมากที่จะทำได้ในระดับนี้ ถ้าแค่เล่นๆ พอได้ เพราะว่าถ้าเราไม่รู้หลักไวยากรณ์ รู้ความหมาย อย่างเช่นคำว่า Tank แปลว่าอะไร ลงไปก็จะไม่รู้เลยว่าสามารถเติม คำนามเอกพจน์ เป็นพหูพจน์ ได้หรือเปล่า เติม ed เติม ing ได้ไหม แต่ถ้าเรา เราเข้าใจ คำว่า Tank มันเป็น Noun Verb หรือเป็น Adj. คือเบื้องต้นกลายเป็นว่าเราต้องรู้ความหมายของมัน เพื่อให้เล่นได้มีประสิทธิภาพ
• รูปแบบการเล่นครอสเวิร์ดก็ส่งผลในเรื่องทักษะภาษาอังกฤษ
จะมาควบคู่กัน ยุคนั้นที่เล่นแทบจะทุกโรงเรียน อาจารย์ภาษาอังกฤษจึงนิยมนำมาให้เด็กเล่นเพื่อพัฒนาทักษะและทำให้เปิดทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ ง่ายๆ ยกตัวอย่างผม เริ่มแรกเดิมที ผมไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษเลย แต่หลังจากเล่นแล้วชอบก็ศึกษา จากไม่ถูกโฉลกกับภาษาอังกฤษ ก็พัฒนาต่อยอดอ่านออก เขียนได้ พูดได้ แต่เรื่องพูดเราก็ไม่ได้ใช้อังกฤษสื่อสารเป็นภาษาแม่และใช้ในทุกวันของชีวิตอยู่แล้ว เวลาจะพูดสื่อสาร เราก็ต้องทิ้งช่วงเวลาคิดเรียบเรียง นิยามคำว่าคล่องของเขาอาจจะต้องการลื่นไหลด้วย สวยด้วย ก็พอเข้าใจได้ แรกๆ ที่ลงไปก็ไม่ค่อยชอบเหมือนกัน แต่ก็พอรับได้
• จากเกมกลายเป็นมนต์เสน่ห์ที่ทำให้หลงรักภาษา อยากทราบว่าเริ่มครอสเวิร์ดต้นเล่นตั้งแต่เมื่อไหร่
รู้จักเกมนี้ช่วงอยู่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ประมาณมัธยมต้น ม.2 หลังจากเล่นเกมทางวิชาคณิต คือจริงๆ แล้ว ก่อนหน้านี้ผมถนัดและชอบทางเลขมากกว่า อย่างตอน ม.1 เล่มเกมชื่อ 24 เป็นการนำเลข 4 ตัว มา บวก-ลบ-คูณ-หาร แล้วใครได้คำตอบผลลัพธ์ 24 ก่อนกัน ก็ไปแข่งจนได้ชนะเลิศระดับประเทศ ทีนี้พอแข่งได้ก็เริ่มกลายเป็นที่รู้จักของอาจารย์ ท่านก็เลยเอาเกมใหม่ๆ มาแนะนำเรา ตอนนั้นก็มีอีกเกมหนึ่ง ชื่อ A-math ซึ่งเป็นเกมกระดานหน้าตาคล้ายๆ อย่างครอสเวิร์ด แต่ว่าแทนที่ด้วยตัวเลข เวลาเล่นก็จะต่อเป็นสมการคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร อันนี้ก็ชอบก็สนุก มีจัดแข่งก็ไปแข่ง แต่ทีนี้ปี 2541-42 บริษัทเกมที่เขาทำ A-math เขาก็ทำครอสเวิร์ดด้วย ก็จัดงานพร้อมกัน แล้วตอนนั้น ครอสเวิร์ดเขาเป็นการแข่งระดับนานาชาติพอดี ดูแล้วยิ่งใหญ่ เราไปเห็น ก็รู้สึกดูโก้กว่าเกมที่เราเล่น (หัวเราะ) ก็เลยลองมาหัดเล่น
เพราะอย่างหนึ่ง รู้สึกว่าถ้าเราเล่น A-math ได้ ซึ่งเป็นการต่อเหมือนกัน แต่จากตัวเลขก็เปลี่ยนมาเป็นตัวอักษร เราก็เอาลอจิกมาใช้บ้าง ก็ท่องศัพท์เก็บสะสมไปเรื่อยๆ เริ่มจากอักษรสองตัวอักษร AA, AB, AD, AE และอื่นๆ แล้วก็ค่อยๆ ศึกษาเทคนิคจากแฮนด์บุ๊คของสมาคมครอสเวิร์ดบ้าง เพราะทั้งสองอย่างต้องควบคู่กัน
• การเล่นครอสเวิร์ดนี้ มีกลวิธีในการเล่นอย่างไร
การเล่นครอสเวิร์ด เริ่มแรก ใครได้เริ่มเล่นก่อน ก็เหมือนจับได้ไพ่ใบใหญ่ ใครที่หยิบพยัญชนะได้ใกล้ตัว A มากที่สุด แต่มันจะมีตัว blank ตัวที่ว่างๆ สามารถแทนอะไรก็ได้ อันนี้ถ้าจับได้จะได้เล่นก่อนทันที พอรู้ลำดับการเล่นหลังจากนั้นก็จั่วตัวอักษร 7 ตัว จากในถุง ซึ่งในถุงจะมีตัวอักษร A-Z ต่างๆ คละเคล้าจำนวนซ้ำแตกต่างกันทั้งหมด 100 ตัว โดยแต่ละตัวจะมีค่าคะแนนกำกับข้างๆ 1-2-3-4-5 (แต้มเยอะจะมีจำนวนน้อยตามความยากง่ายของพยัญชนะที่ใช้) เพื่อนับหลังจากเรียงประโยคคำ
ในส่วนของเรื่องการนับคะแนน หลังจากนำตัวอักษรมาเรียงเป็นคำให้ผ่านช่องตรงกลางเปิดเกม (จะวางรูปแบบแนวใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการวางหมากของเราเพื่อจะนำไปสู่คำอื่นๆ แต่ที่นิยมจะเล่นโดยเปิดให้ช่องพิเศษอยู่เหนือหรือใต้พยัญชนะทำให้ได้แต้มยาก) ทีนี้บนกระดาษจะมีช่องพิเศษเป็นคะแนนเพิ่มอีก 4 ช่องสี สีฟ้าความหมายคือตัวอักษรใดในพยางค์มาตกที่ช่องนี้จะได้คูณสอง ถ้าเป็นสีน้ำเงินก็จะเป็นคูณสามตัวอักษร ส่วนสีชมพูจะเป็นเวิร์ด คือทั้งคำถ้าตกจะคูณสอง สมมุติคำว่า Bug อักษร g ของเราตกช่องนี้พอดี คะแนนเบี้ยทั้ง B-U-G ก็จะคูณสอง สีแดงก็เช่นเดียวกันกับสีขมพูแต่ค่าคะแนนจะมากกว่าคือคูณสาม สุดท้ายใครลงเสร็จก็จั่วจับใหม่เท่าจำนวนที่ลง
• และนับแต้มจากผลรวมที่ทำได้ใครได้สูงสุดเป็นฝ่ายชนะ
ถูกต้อง ผลัดกันจนในถุงหมดไม่มีให้จับ ก็จะเหลือเล่นกันตามเท่าที่มีแต่ละฝ่าย และพอฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเล่นหมดก่อน ก็จะได้แต้มบวกพิเศษจากตัวอักษรของอีกฝั่งที่เล่นไม่หมดคูณสอง แล้วก็มาดูว่าจังหวะนั้นคะแนนแต่ละคนทำได้เท่าไหร่ ใครมากกว่าก็ชนะ ซึ่งเทคนิคการเล่นก็มีหลากหลายนอกจากอย่างเรื่องการลงเปิดเกม ก็มีการทำแลคบาลานซ์ตัวอักษร คือพยายามทำให้ตัวเล่นยากออกไปก่อน พอเหลือตัวง่ายๆ เราสามารถจะทำบิงโก ซึ่งอันนี้เป็นทีเด็ดของเกมเลยก็ว่าได้ เป็นการลง 7 ตัวอักษรบนแป้นทีเดียว อาจจะไปผสมบนกระดานก็ได้หรือลงเดี่ยวๆ ก็ได้ เราก็จะได้แต้มบวก 50 คะแนน การจะลงคำอย่างนั้นได้ จะต้องเก็บตัวอักษรและวางแผนการลงที่ใช้ระยะเวลา
• ทั้งการวางแผน และการจดจำ ดูเหมือนจะสำคัญมากๆ
ใช่ครับ แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเล่นเพื่ออะไร ยกตัวอย่างทุกวันนี้ คำที่ใช้จะนำมาจากดิกชั่นนารีโลก มีอ้างอิงว่าคำนี้มีความหมายจริง ไม่ใช่ทึกทักมาเอง ดังนั้นจากที่เล่นแล้วท่องศัพท์อย่างเดียว พอมันเป็นคำจริงๆ ที่สามารถเอามาใช้ได้จริงๆ ในชีวิตประจำวัน เราก็ท่องและจดจำความหมายด้วย อีกอย่างคือ พอเราเล่นได้ แข่งเริ่มชนะ หลังๆ ประมาณเกือบปี เราได้รางวัล ได้ถ้วย จากงานเล็กๆ ระดับจังหวัดจัดในกรุงเทพฯ หรือระดับประเทศไทย เราก็ได้ เรารู้สึกว่ามันไม่ใช่ว่าเราเล่นเกมนี้เก่งอย่างเดียวแล้วภาษาอังกฤษโง่ มันก็ดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เราก็อยากเก่งภาษาอังกฤษเพิ่มด้วย การเรียนก็เลยต้องศึกษา ทำความเข้าใจกับไวยากรณ์ ก็ไปอ่านนวนิยายภาษาอังกฤษ ส่วนตัวชอบอ่านแนวสืบสวน โดยเฉพาะผลงานของ “อกาธา คริสตี้” และ “เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์” เพื่อเสริมเรื่องของหลักภาษา ดูแกรมมาที่เขาใช้ ทำให้เรามีแรงผลักดันให้เรียนเข้าใจมากขึ้น ก็พัฒนาไปด้วยกัน
• คิดไหมว่าการเล่นจะพัฒนาและต่อยอดจนกลายมาเป็นมืออันดับต้นเมืองไทย มือวางอันดับที่ 3 ของโลก
ต้องบอกก่อนว่า ผมไม่ได้เป็นคนที่เก่งที่สุดของประเทศ คือมันจะมีงานที่เรียกว่าชิงแชมป์โลกงานหนึ่ง ใครได้เรียกว่าแชมป์โลกเลย ก็มีคนอื่นที่ได้แชมป์โลกไปแล้วตั้ง 2 คน คือปีใน 2003 เราก็ไปด้วย ผมได้อันดับที่ 6 แล้วปีนั้นคนไทยเข้าชิงกันเอง แต่ของผมอันนี้เป็นลำดับ Ranking คือวัดมาตลอดเก็บมาเรื่อยๆ
แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้คิด ขอให้แค่เข้าใจก็พอ ทำข้อสอบได้ อ่านเขียนพูดตามมาตรฐานที่เรียนของบ้านเรา (ยิ้ม) แต่พอภาษาดีขึ้น เราทำได้มากขึ้น ช่วง ม.4 ได้แชมป์ระดับประเทศ งานแบรนด์คิงคัพ โอกาสเราก็เปิดมากขึ้น คือตอนนั้นถ้าไม่เปลี่ยนเพิ่มเกณฑ์โควต้าก่อน ก็ได้เรียนวิศวะจุฬาฯ ตามที่ตั้งใจ เพราะตอนนั้นเกมครอสเวิร์ดถูกบรรจุให้เป็นกีฬามหาวิทยาลัยด้วย เราได้แชมป์ระดับนี้เราสามารถเข้าเรียนได้เลย แต่ด้วยความชะล่าใจ เขาเปลี่ยนกฎปีสุดท้าย ต้องเอาคะแนนฟิสิกส์กับคณิตศาสตร์อย่างละ 60 คะแนน ถึงจะยื่นโควต้าได้ ซึ่งคนธรรมดาก็ยากอยู่แล้ว เราไม่ได้สนใจเท่าไรด้วย ก็สรุปเอนทรานซ์วิศวะติดทุกที่ ยกเว้นจุฬาฯ แต่อยากเรียนที่จุฬาฯ เพราะใกล้บ้านดี ก็เลยเลือกเรียนวิทยาศาสตร์ไป แต่พอเรียนจริงๆ ก็เริ่มรู้สึกไม่แฮปปี้กับสายวิทย์ ก็เลยซิ่ว แล้วก็เอนทรานซ์ใหม่ ได้นิเทศฯ ของจุฬาฯ
• หมากรุกยังต้องคิด ครอสเวิร์ดก็เหมือนกันว่าอย่างนั้น
(หัวเราะ) คิดแน่นอนครับ ครอสเวิร์ดมันไม่ใช่เกมที่ใครรู้คำศัพท์มากกว่าก็จะชนะกันไป จริงๆ ในแต่ละเทิร์น เรามีทางเลือกได้มากมาย เรียงคำได้หลากหลาย ในแต่ละทางเลือกที่เราเลือกลง ก็จะส่งผลที่ตามมาแตกต่างกันไป ต้องคำนวณความน่าจะเป็นตลอดว่าโอกาสที่จะโดนคู่ต่อสู้ทำแต้มกลับมามีเท่าไหร่ เป็นต้น หรืออย่างเช่น ระหว่างเล่นอยู่ เรามีตัว ACIPZ เราสามารถลง CAPIZ ได้ แต่เราอาจจะเลือกลงแค่ CAPI ไปก่อน เก็บตัว Z ไว้ เพราะว่าในเกม 1 ชุด มีตัว Z แค่ตัวเดียว แล้ว CAPI ก็เติมอะไรต่อท้ายไม่ได้เลย ยกเว้นตัว Z อันนี้ก็ค่อนข้างคอนเฟิร์มว่าเราจะได้ลงต่อท้ายแน่ๆ ในเทิร์นหน้า โดยสร้างเป็นอีกคำที่ประกอบด้วยตัว Z อย่างเช่น ZEBRA แล้วไปต่อกับ CAPIZ ก็จะได้แต้มหนักจากทั้ง 2 คำเลย เป็นการสร้างความได้เปรียบให้ตัวเองจากตัวอักษรที่เรามีในขณะนั้น อันนี้ในส่วนของเกมการแข่งขัน
ส่วนในเรื่องชีวิตเราก็เช่นกัน ตอนนั้นหลังจากเราเล่นเรื่อยๆ ไม่ได้คิดว่าจะมาถึงขึ้นนี้ ก็ค่อยๆ ไต่เต้า จากแชมป์ประเทศที่เล่าไปช่วง ม.4 เราแข่งกับระดับนานาชาติครั้งแรกก็ช่วง ม.5 เพราะลงรุ่นนักเรียนไม่ได้แล้ว ลงรุ่น Open ก็โชคดีได้ที่ 10 ดีใจ ณ ตอนนั้น เพราะว่าความเขี้ยวมันต่างกัน ทั้งเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร แล้วอายุรุ่นใหญ่กว่า เขาก็ผ่านประสบการณ์ ความรู้ศัพท์มากกว่า เราก็คิดว่าเราสู้ได้ เราเป็นหนึ่งมา นี่ก็สอนอีกเรื่องให้กับชีวิต อย่าชะล่าใจ หลังๆ ความคิดก็มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง อันไหนสำคัญกว่า เราก็ต้องทำให้เต็มที่
ก็ทำให้เรามีการจัดการมากขึ้นทำตรงนี้ควบคู่กับเรียน มีแข่งก็ไปแข่งเรื่อยๆ ช่วงมหาวิทยาลัยก็เริ่มข้ามไปต่างประเทศ เพราะว่าทางสมาคมเขามีจัดแข่งชิงตั๋ว ก็ได้ไป 2 ครั้ง ไปแข่งที่อเมริกา ได้ติดที่ 6 บ้าง ที่ 8 บ้าง ก็สะสมมาเรื่อยๆ อันดับและรายการที่ไปแข่งก็ถ้าไล่ๆ มีที่ 41 ปี 2002 National Scrabble Championship at San Diego : USA อันดับ 6 ปี 2003 World Scrabble Championship ที่ Kuala Lumpur : Malaysia อันดับ 6 ปี 2004 National Scrabble Championship ที่ New Orleans : USA
อันดับ 8 ปี 2005 National Scrabble Championship ที่ Reno : USA อันดับ 18 ปี 2007 World Scrabble Championship ที่ Mumbai : India อันดับ 5 ปี 2009 World Scrabble Championship ที่ Johor Bahru : Malaysia อันดับ 7 ปี 2011 World Scrabble Championship ที่ Warsaw : Poland อันดับ 2 ปี 2013 World Scrabble Championship ที่ Prague : Czech อันดับ 4 : 2015 World Scrabble Championship ที่ Perth : Australia และอันดับ 3 ปี 2016 Cape Town International Scrabble Tournament at Cape Town : South Africa
อันนี้คือที่ทุกวันนี้ไปเอง ออกเองหมด ไม่มีสปอนเซอร์ ดังนั้น เวลาไปผมก็ต้องติดต่อเอง ประสานงานเอง ฉะนั้น เขาจะบอกว่าเราสื่อสารไม่รู้เรื่องก็ไม่ได้ ไม่มีทาง ผมเดินทางไปคนเดียวคงไม่รอดไปถึงปลายทางได้ถึงวันนี้ และโดยงานปัจจุบัน ผมทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ให้เว็บ Priceza ซึ่งเป็นเว็บเปรียบเทียบราคาของออนไลน์ทั่วโลก โดยผมดูในส่วนของแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ แล้วก็ทำแอปพลิเคชั่นส่วนตัวต่างๆ เกมต่างๆ ของสมาร์ทโฟน ทั้ง Android และ iOS เองด้วย ชื่อ komon P. แน่นอนว่าภาษาโปรแกรมเป็นอังกฤษ ถ้าไม่ได้ ก็ไม่มีทางทำงานตรงนี้ได้
• และเรียกได้ว่ามีวันนี้ก็เพราะครอสเวิร์ด เกมๆ หนึ่งก็มีส่วนในการผลักดันก่อเป็นประโยชน์
เกมตรงนี้ก็มีประโยชน์ มีการวางแผน สนุก ถ้างานอดิเรกของคุณเป็นเกม เล่นเกมอะไรต่างๆ ถ้าเป็นเกมอื่นเล่นไปแล้วพอจบแล้วก็อาจจะแล้วกัน แต่ว่าถ้าครอสเวิร์ดมันยังสามารถต่อยอดได้ ต่อไปเป็นทักษะ ความสามารถ หรือการแข่งขัน สร้างชื่อ สร้างอาชีพอย่างแชมป์โลก ไนเจล ริชาร์ด ที่สามารถเล่นจะเป็นอาชีพ ซึ่งน้อยคนนักที่จะทำได้
• แม้ว่าจะมีการเข้าใจผิดจนนำมาสู่เรื่องราวความเข้าใจต่อครอสเวิร์ดว่าไม่ต้องมีความรู้ทางภาษา แค่จดจำก็เล่นได้ดีได้
ส่วนความรู้สึกแรก จริงๆ ก็โกรธ แต่ว่าสื่อฝรั่งเขาเราก็ไม่ได้แคร์เท่าไหร่ เพราะเขาไม่ได้รู้จักตัวตนเรา แต่มันสะเทือนตรงที่สื่อไทยแปลมาตรงหมดเลย เครียดมากตอนข่าวออกใหม่ๆ แต่ว่าวันต่อมาก็มีข่าวมาแก้ให้เต็มไปหมด ก็ดีใจที่ทุกคนหลังจากข่าวออกไปมีหลายคนที่เชื่อมั่นในตัวเรา พอเห็นข่าวออกไปว่าพูดอังกฤษไม่ได้ แต่ก็มีคนเชื่อว่าไม่น่าจะใช่ ดูแล้วจะเป็นไปได้ไง ก็ขอขอบพระคุณทุกกำลังใจและความศรัทธาเชื่อมั่น มีคนเข้ามาชื่นชมมาก คนไทยสามารถไปแข่งได้ที่ 3 ณ จุดนี้ถ้าถามความรู้สึกส่วนตัวที่ 3 ก็พอใจแล้ว แต่เป็นไปได้ก็อยากจะได้ตำแหน่งแชมป์โลกสักครั้งเหมือนกัน อันนี้ก็คงพยายามพัฒนาฝีมือไปเรื่อยๆ สิ้นเดือนหน้ามีการแข่งขัน World Scrabble Championship ที่ประเทศฝรั่งเศส เป็นงานชิงแชมป์โลกของปีนี้ ก็พยามทำให้เต็มที่ครับ
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช