สวมชุดแอร์โฮสเตสนานถึง 7 ปี สุดท้ายกลับหันหลังให้งานสุดหรู ก้าวสู่วิถีเกษตรกร “เปิ้ล-พภัสสรณ์ จิรวราพันธ์” อดีตนางฟ้าแห่ง Japan Airlines เธอมีเหตุผลอย่างไรในการปลดชุดสุดสวยที่หญิงสาวจำนวนมากอยากสวมใส่?
ช่วงหลังๆ กระแสหนึ่งซึ่งกำลังก่อตัวหนาแน่นขึ้นทุกขณะในวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ คือการลาออกจากการงานประจำเพื่อไปทำสิ่งที่ตัวเองรัก นอกจากกิจการส่วนตัว โลกแบบหนึ่งที่ได้รับการเอ่ยถึงในฐานะท็อปไฟว์เส้นทางที่หลายคนใฝ่ฝัน คือการกลับไปอยู่กับธรรมชาติ ทำการเกษตรหล่อเลี้ยงชีวิต หลายต่อหลายคนประสบความสำเร็จจนได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่าง ขณะที่อีกหลายคนกำลังเริ่มต้นและพิสูจน์ความตั้งใจของตนเอง เช่นเดียวกับ “เปิ้ล-พภัสสรณ์ จิรวราพันธ์” สาวสวยที่เคยเป็นแอร์โฮสเตสนานถึง 7 ปี
จากวันนั้นถึงวันนี้ นับแต่ที่ลาออกจากงาน ก็ผ่านไปแล้ว 3 ปีที่เธอสามารถพูดได้เต็มปากว่าเป็นเกษตรกรเต็มตัว นอกจากสวนผักสวนพืช ยังมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่แปรรูปจากธรรมชาติในชื่อแบรนด์ OganicSpace Thailland รวมทั้งแบรนด์เสื้อผ้า wear me natural ที่จำหน่ายตามบูทงานต่างๆ และทางอินสตาแกรม อย่างไรก็ตาม เธอแง้มๆ ให้เราฟังเบื้องต้นว่า มันไม่ง่ายแต่อย่างใด สามปีที่ผ่าน ก็เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นบนเส้นทางสายนี้เท่านั้น...
• เส้นทางชีวิต ก่อนเบนเข็มทิศสู่วิถีเกษตร
เปิ้ลจบมาทางด้านบริหารธุรกิจ พอเรียนจบ เปิ้ลเลือกงานสายการโรงแรม และทำงานที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล (Mandarin Oriental Hotel) ประมาณปีกว่าๆ จากนั้นจึงได้ไปสอบแอร์โฮสเตสเพราะอยากใช้ภาษาที่เรียนมา ปรากฏสอบผ่าน ได้เป็นแอร์โฮสเตส สายการบินเจแปนแอร์ไลน์ เปิ้ลเป็นแอร์โฮสเตสได้ประมาณ 7 ปี ก็มีปัญหาสุขภาพ เพราะเราต้องยืนเป็นเวลานาน ทำให้ปวดหลัง จึงลาออกมาทำงานออฟฟิศ แต่ก็ต้องเจอปัญหาสุขภาพอีก เป็นออฟฟิศซินโดรม อีกอย่างคือรู้สึกเบื่อๆ และคิดว่าอยากจะทำอะไรเป็นของตัวเอง ยิ่งตอนทำงานออฟฟิศจะเบื่อมากเป็นพิเศษ เพราะมันหนักกว่าตอนเป็นแอร์โฮสเตสอีกนะคะ เราต้องนั่งทำงานหน้าคอมพ์ฯ ทั้งวัน ทำงานหนักเพราะส่วนตัวเราก็เป็นคนบ้างาน
เมื่อมีปัญหาสุขภาพ เราจึงต้องชั่งใจกับการที่เราได้เงินมาก็จริง แต่ก็ต้องไปโรงพยาบาลทุกเดือน จึงอยากลาออก หันมาสนใจสุขภาพเราดีกว่า แล้วพอเราเลือกในด้านสุขภาพแล้ว เราก็เลยถามว่าตัวเองว่าชอบอะไร ก็ได้คำตอบว่าชอบธรรมชาติ พอตอบตัวเองได้ เราก็เริ่มมองหาทางเลือกว่าอะไรที่จะช่วยและไม่ทำลายสุขภาพบ้าง ก็ไปสนใจเรื่องการปลูกผัก และไปเรียนเกี่ยวกับการปลูกผักที่ Organic Way ของป้าหน่อยแถวๆ ราษฎร์บูรณะ ตอนนั้นเราก็ยังทำงานออฟฟิศอยู่นะคะ
พอเราเลือกสุขภาพ เราก็ต้องจริงจังกับชีวิตมากขึ้น ทั้งเรื่องอาหารการกิน เรื่องของใช้ต่างๆ เริ่มทำสวนหลังบ้านด้วยการดัดแปลงพื้นที่เล็กๆ ให้เป็นที่ปลูกผักกินเองก่อน หลังจากนั้นก็ศึกษาเกี่ยวกับการเกษตรมากขึ้น ศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงด้วย และประจวบกับคุณแม่มีที่ทางอยู่ที่บ้านหมอ จังหวัดสระบุรีหลายไร่ เราก็เลยตัดสินใจว่าจะมาทำจริงๆ จังๆ อีกอย่าง ต้องบอกว่าจุดที่เราเปลี่ยนจริงจัง เพราะเราได้ไปเข้าโครงการคนกล้าคืนถิ่น เป็นโครงการที่ให้คนที่มีที่ทางมาเข้าศึกษาหลักสูตร มีปราชญ์ชาวบ้านมาให้คำแนะนำ
พอได้อบรมจริงจังแล้ว เราก็เริ่มทำ จากเล็กๆ 2 ไร่ก่อน เพราะเราอยากรู้ว่าตัวเองทำได้ไหม ก็เริ่มด้วยการปลูกข้าวโพด พอทำข้าวโพดได้เก็บได้กินแล้ว เราก็ไถข้าวโพดหมักดินเพื่อปลูกข้าวต่อ ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวไร่เหลืองดง ข้าวพันธุ์พื้นบ้านตามคอนเซ็ปต์ที่เปิ้ลอยากปลูกอะไรที่เป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้านไว้ เราก็จึงปลูกข้าวชนิดนี้แล้วมันก็เหมาะกับพื้นที่ของเราด้วย เพราะปีที่แล้วแล้งมาก เราเลยต้องปลูกข้าวชนิดนี้เพราะข้าวชนิดนี้ใช้น้ำน้อย
• พื้นฐานครอบครัวเราเป็นอย่างไร ทำการเกษตรมาก่อนหรือเปล่าคะ
ที่บ้านเปิ้ลทำเกี่ยวกับสมุนไพรมาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วค่ะ คือนำเข้าสมุนไพรจีน ส่งออกสมุนไพรไทยต่างๆ ประมาณว่าซื้อมาขายไป และด้วยเหตุนั้น คุณพ่อจึงมีความรู้เรื่องสมุนไพร แม้ว่าท่านจะไม่ได้ปลูกเอง และท่านก็สามารถให้ความรู้เราได้ อีกอย่าง ที่บ้านจะมีหนังสือเกี่ยวกับสมุนไพรและการเกษตรเยอะมาก หรืออย่างทางบ้านคุณแม่ คุณตาคุณยายก็จะมีบ้านสวนที่สระบุรีด้วย ตอนเด็กๆ ปิดเทอม เราก็ชอบไปวิ่งเล่นในสวน ได้อยู่กับธรรมชาติ โดยส่วนตัว เปิ้ลชอบความเรียบง่าย ชอบความเป็นธรรมชาติอยู่แล้วด้วย เราคงซึมซับสิ่งนี้มาจากพื้นฐานครอบครัว
• พูดถึงวันที่ลาออกจากกงาน เรามีการวางแผนอะไรก่อนหรือเปล่า
เปิ้ลว่าอันนี้น่าจะเป็นกันทุกคนเลยนะคะ สำหรับใครที่ลาออกจากงานวันแรกมันจะรู้สึกเคว้งคว้าง เพราะตอนแรกที่เปิ้ลออกมา เปิ้ลยังจับทางอะไรไม่ถูกเลยนะคะ เรายังไม่รู้ว่าเราจะทำอะไร เปิ้ลใช้เวลาหนึ่งเดือนเต็มๆ ที่นั่งทบทวนตัวเอง แล้วก็นั่งจดรายละเอียดไปเป็นข้อๆ เลยว่าเราชอบอะไร จนได้รู้ว่าตัวเองชอบธรรมชาติและอยากจะปลูกพืชผัก แต่จริงๆ มันก็จะมีบางส่วนอยู่แล้วที่ทำให้เรารู้ว่าเราออกไปเพื่ออะไร ซึ่งเปิ้ลรู้ตัวเองว่าเราจะมาทางนี้ แต่เรายังไม่รู้ว่าเราจะไปทำเกษตรแนวไหนดี แต่เรารู้อยู่แล้วว่าเราจะออกมาทำด้านของธรรมชาติ ด้านเกษตร แต่ไม่รู้ว่าอะไรที่ชอบที่สุด ก็เลยต้องไปศึกษา
ส่วนตัวเปิ้ลไม่ได้วางแผนก่อนออกจากงานเลยนะคะ เปิ้ลว่าน่าจะเหมือนมนุษย์เงินเดือนทั่วๆ ไปเลยนะคะคือหลายคนมองว่ามันยากที่เราจะออกจากพื้นที่เดิมๆ แต่พอมันต้องใช้ความเด็ดเดี่ยว ซึ่งพอรู้ตัวเองแล้วหลังจากนั้นเปิ้ลใช้เวลาประมาณหนึ่งปีเพื่อไปเรียนรู้ ตั้งแต่ไปเรียนการปลูกข้าวอินทรีย์ที่มูลนิธิข้าวขวัญของอาจารย์เดชา ไปเรียนกับคุณโจน จันใด ที่จังหวัดเชียงใหม่ ฝึกทำบ้านดิน ปลูกผักออแกนิก หรือไปเรียนเรื่องการทำข้าวของเครื่องใช้ ทำโยเกิร์ตและอื่นๆ อีกมากมายค่ะ
เปิ้ลคิดว่าเราต้องมีจุดที่เรารัก ก่อนออกจากงาน ต้องถามตัวเองก่อนว่าเรารักและชอบที่จะทำอะไร แล้วพอรู้ตัวแล้วตัดสินใจแล้วปุ๊บ เราต้องลงไปเรียนรู้กับสิ่งสิ่งนั้น เรียนเพื่อให้ได้ความรู้ เพื่อให้มีความมั่นใจมากขึ้น รู้ให้มันจริงมากขึ้น ขั้นตอนต่อไปคือการลงมือทำ เปิ้ลว่าการที่เราลงมือทำ เรายังไม่รู้หรอกว่ามันจะสำเร็จ ดีหรือไม่ดี แต่อย่างน้อยพอเราได้ศึกษาแล้วลงมือทำไปด้วย มันก็จะเป็นการพัฒนาเพื่อจะได้แก้ไขต่อไป
มันมีช่วงที่เราตั้งคำถามกับตัวเองนะคะว่าชีวิตเราต้องการอะไร จริงๆ แล้วความฝันในชีวิตของเราคืออะไร เราเลยต้องตัดสินใจว่าชีวิตที่เราเหลืออยู่นี่แหละ ฉันจะทำในสิ่งที่ฉันตั้งใจจะทำ อย่างตอนอยู่ออฟฟิศก็เคยคุยกับเพื่อนๆ นะคะว่าเราอยากปลูกข้าว เพื่อนๆ ก็ขำว่าเราเป็นถึงผู้จัดการคุมร้านทั่วประเทศ มีลูกน้องเยอะมาก แต่ทำไมจะไปทางนั้นล่ะ อะไรทำนองนี้ค่ะ ตอนเปิ้ลทำงานออฟฟิศ เปิ้ลก็ใฝ่ฝันนะคะว่าอยากมีสวนของตัวเอง อยากมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นยี่ห้อของตัวเอง
• แล้วทางบ้านหรือคนรอบข้างล่ะคะว่าอย่างไรที่เราลาออกในวันนั้น
เปิ้ลโชคดีนะคะที่ทางบ้านเข้าใจว่าเรื่องสุขภาพต้องมาก่อน มันต้องสำคัญกว่า แต่ที่บ้านเขาก็คาดหวังเหมือนกับพ่อแม่ทั่วไปที่เขาอยากให้เป็นเจ้าคนนายคน ซึ่งเราก็ทำสำเร็จนะคะ เพราะก่อนหน้านี้ หลังจากลาออกจากแอร์โฮสเตส เราก็มาเป็นผู้จัดการ ต้องดูแลลูกน้อง 100-200 คนเหมือนกัน
จริงๆ เรามีความฝันว่าอยากจะเป็นเกษตรกรอยู่แล้วนะคะ ซึ่งที่เปิ้ลออกมาทำตรงนี้ได้ จะบอกว่าเราก็มีเงินเก็บอยู่แล้วพอสมควร เพราะเราต้องคำนวณดูด้วยว่าถ้าเราทำไปแล้ว ถ้าเราไม่มีรายได้เข้ามาเราจะได้ใช้เงินเก็บเลี้ยงตัวเราไปก่อน ตรงนี้เปิ้ลแนะนำนะคะว่าคนทำงานออฟฟิศจริงๆ ทำแบบเปิ้ลได้นะคะ แต่แค่ลองเอาวันหยุดมาทบทวนตัวเองว่าอะไรเป็นสิ่งที่คุณรัก คุณถนัด ส่วนมากเปิ้ลว่า 90 เปอร์เซ็นต์เลยจะบอกว่า เฮ้ย เรายังไม่เจอเลยว่าชีวิตนี้เรารักเราชอบอะไร ซึ่งเปิ้ลจะแนะนำให้จดรายละเอียดเป็นข้อๆ ดูว่าอะไรคือสิ่งที่คุณรักสัก 10 ข้อ ไปทบทวนดู ลองทำทีละอัน แล้วลองสังเกตดูว่าอะไรที่คุณอยู่กับมันได้ทั้งวันโดยไม่เบื่อ อยู่กับมันแล้วเวลาผ่านไปเร็วมากๆ คุณมีความสุขกับมัน นั่นแหละคือสิ่งที่คุณรักและเป็นก็สิ่งที่คุณควรจะทำ ส่วนตัวเปิ้ลกล้าที่จะตัดสินใจแบบนั้น เพราะเราจดสิ่งที่เราชอบดูแล้วว่ามันใช่ค่ะ
• แล้วตอนนี้เราทำอะไรอยู่บ้าง มีผลิตภัณฑ์อะไรบ้างคะ
ตอนนี้เปิ้ลทำอยู่ทั้งหมด 3 อย่างค่ะ เรื่องเกษตรที่เราปลูก ก็เริ่มจากทำที่สวนหลังบ้านให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เปิ้ลเริ่มจากปลูกข้าวโพด ปลูกข้าว แต่ตอนนี้ในเรื่องของการเป็นเกษตรกร เรายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นอยู่ อยู่ในขั้นพอกินอยู่ จะเป็นการเอาสิ่งที่ปลูกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากกว่า ส่วนสิ่งที่เราปลูกยังไม่มีจำหน่าย เรายังอยู่ในขั้นตอนการเป็นเกษตรกรเล็กๆ ที่ปลูกกินเองตามแนวพระราชดำริก่อน แต่ว่าก็มีแผนที่จะปลูกขยายมากขึ้นเหมือนกันนะคะ
อย่างที่สองเปิ้ลมีแบรนด์ OganicSpace Thailland อันนี้จะเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ เช่น สบู่ออแกนิกที่ทำจากเกล็ดน้ำมันซึ่งน้ำมันเราก็จะใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอกสกัดเย็น น้ำมันละหุ่ง โดยเอาผลิตผลที่ปลูกอยู่หลังบ้านอย่างตำลึง มะเฟือง มาเป็นส่วนประกอบในการทำสบู่ ซึ่งการปลูกพืชของเราก็จะไปเชื่อมโยง แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยค่ะอันนี้เปิดตัวที่งาน organic and natural expo Thailand ซึ่งตอนนี้สบู่ของเราก็จะมีขายทางเพจเฟซบุ๊ก Organic Space Thailand และบูทงาน organic and natural expo Thailand ค่ะ เป็นการเปิดตัวสบู่ครั้งแรกเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม ตอนนี้เปิ้ลก็เริ่มมีกลุ่มเครือข่ายแม่บ้านจังหวัดสระบุรีด้วย ซึ่งเขาจะปลูกมะกรูดกันเยอะ เราเลยคิดว่ามันสามารถเอามาแปรรูปได้ ก็มีการรวมกลุ่มเรื่องของผลิตภัณฑ์มากขึ้น แล้วก็เอาความรู้ที่เรามีมาทำอย่างแชมพูสมุนไพรทำอะไรต่างๆ
อย่างที่สาม เปิ้ลมีแบรนด์เสื้อผ้าชื่อว่า wear me natural ซึ่งอันนี้เปิ้ลจะทำงานร่วมกับวิสาหกิจชุมชนที่ภาคเหนือ ซึ่งเราก็ไปอยู่กับชาวบ้านเลย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเรื่องสีธรรมชาติ แล้วเราก็ออกแบบให้งานเขาตัดเย็บ ย้อมแล้วก็ส่งมาให้ทางเราจำหน่าย ในส่วนของเสื้อผ้า เปิ้ลจะไปตั้งบูทขายตามงานต่างๆ เองแล้วก็มีขายทางอินสตาแกรม อย่างเสื้อผ้า นอกจากจะขายคนไทยแล้วก็เริ่มต่อยอดพัฒนาไปคนต่างชาติ ตอนนี้ก็มีคนญี่ปุ่นเข้ามาคุยบ้างแล้ว แต่เป็นญี่ปุ่นที่อยู่ในเมืองไทยที่เขาอยากให้คนญี่ปุ่นได้ใช้
เปิ้ลจะเริ่มพัฒนาแล้วช่วยเหลือกันเป็นกลุ่ม ซึ่งเราจะแตกผลิตภัณฑ์ไปเรื่อยๆ ซึ่งงานของเปิ้ลจะมีสแกนว่า เป็นธรรมชาติ ผสมผสานกับการให้ และรวมไปถึงการรวมกลุ่ม เพราะมันสำคัญนะคะ เราไม่ได้ก้าวไปคนเดียว เราต้องดึงคนนั้นคนนี้ให้พัฒนาไปด้วยกันและเขาก็มีชีวิตที่ดีขึ้นอะไรทำนองนี้ค่ะ (ยิ้ม)
• มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้างหรือเปล่า และเรารับมือหรือแก้ไขอย่างไร
ตอนที่ออกจากงานมาช่วงแรกๆ เปิ้ลต้องใช้เวลาหาข้อมูลเหมือนกันว่าเราต้องไปเรียนที่ไหน ต้องทำยังไง ต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด เพราะเราไม่เคยทำมาก่อน แต่ทุกอย่างมันต้องมีขั้นตอน มีจุดเริ่มต้น มีการเรียนรู้และการลงมือทำ ซึ่งเรามองว่ามันไม่ยากนะคะ มันเรียนรู้กันได้ อาจจะใช้เวลามากน้อยต่างกัน แต่ก็ทำได้
มีบางช่วงเหมือนกันที่เปิ้ลท้อ ประมาณว่ามันใช่เหรอ เปิ้ลท้อเยอะมากนะคะกว่าจะมาถึงจุดนี้ แต่เปิ้ลจะใช้วิธีถอยหลังกลับมาก้าวหนึ่งแล้วเดินก้าวไปข้างหน้าต่อสองก้าว แต่ตอนนี้ก็ไม่ได้บอกว่าตัวเองประสบความสำเร็จนะคะ แต่มันต้องลองเดินไปในทางที่ใช่ว่าสิ่งนี้แหละที่ฉันจะใช้ชีวิตกับมันตลอดทั้งชีวิต แล้วมันต้องไปถึงให้ได้ เราต้องมีความอดทน ความพยายาม ต้องใช้จุดนั้นเยอะๆ อีกอย่างต้องมีปัญญา บางคนไม่มีเงิน ไม่มีทุน แต่ถ้ามีปัญญาและความอดทน นั่นแหละคุณก็จะไปถึงจุดหมายได้
• แล้วนานไหมกว่าที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะลงตัว ตอนนี้อยู่ในจุดที่เราพอใจแล้วหรือยัง
เปิ้ลว่าเรายังไม่ถึงกับจุดที่ประสบความสำเร็จนะคะ ปัจจุบันเปิ้ลก็ยังไปเรียน ไปหาความรู้ ไปศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเกษตรต่างๆ อีกนะคะ เพราะความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ล่าสุดก็เพิ่งกลับมาจากระยอง ไปเรียนทำปุ๋ย ทำไบโอดีเซล 5 วัน เปิ้ลมองว่าถึงเรารู้อยู่แล้วก็ต้องเรียนนะ เพราะว่ามันจะมีความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เราจะต้องทำเองเป็นทุกอย่างเพื่อจะได้ลดต้นทุนด้วย
เปิ้ลเริ่มทำตรงนี้เข้าปีที่ 3 แล้ว เปิ้ลจะบอกว่าขั้นตอนในชีวิตเราต้องค่อยๆ ก้าว ไม่ใช่อยากจะก้าวเร็วๆ ก้าวกระโดดเลยมันไม่ใช่ ทุกอย่างในชีวิตมันต้องเป็นแบบเดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ อย่างที่ในหลวงท่านสอน เราต้องทำทีละอย่าง ไม่ใช่ว่าลาออกจากงานแล้วมาทำแป๊บๆ แล้วอยากจะประสบความสำเร็จเลย อยากจะทำทุกอย่างให้ก้าวไปไวๆ ซึ่งเปิ้ลมองว่ามันทำไม่ได้ เราต้องมีความรู้ มีความชำนาญมากๆ ก่อน เราจะได้แตกแขนงไปได้ เปิ้ลอยากบอกทุกคนว่าอย่าทำทีเดียว อย่าใจร้อน ต้องค่อยๆ เดินแล้วเราจะเดินอย่างมั่นคง สำหรับเปิ้ลตอนนี้ถือว่าพออยู่ได้นะคะ เรายังยู่ในขั้นพื้นฐานที่กำลังจะพัฒนา มันเป็นจุดที่สมดุลแล้วนะคะ ไม่มากไม่น้อยเกินไป แล้วชีวิตก็มีรายได้ มีกลุ่มเพื่อนๆ มีเครือข่าย
• ชีวิตเปลี่ยนไปไหม หลังจากเข้าสู่อาชีพเกษตรกรแบบเต็มตัว
เปลี่ยนนะคะ (ตอบเร็ว) จะบอกว่าเมื่อก่อน เสื้อผ้าเต็มตู้เลยนะคะแต่ก็ยังรู้สึกว่าเราขาด แต่พอเดี๋ยวนี้ เรามาใช้ชีวิตแบบนี้ เรารู้เลยว่าแค่นี้มันก็อยู่ได้ รู้สึกว่าตัวเองได้ใช้ชีวิตที่สมดุลมากขึ้น พูดตามจริงมีผู้หญิงหลายคนที่เขาอยากเป็นแอร์โฮสเตส ต่างกันกับเราได้เป็นแล้วกลับอยากเป็นเกษตรกร แต่เปิ้ลก็เห็นคนรุ่นใหม่หันมาใช้ชีวิตแบบเกษตรกรมากขึ้นนะคะ แปลว่ามันต้องมีอะไรที่ดีสิ
แต่ก่อนชีวิตเปิ้ลมันเป็นความสุขฉาบฉวย เราได้เงินมาเยอะก็จริง พอได้เงินมาเปิ้ลก็เหมือนผู้หญิงทั่วไปที่ชอบชอปปิ้ง ซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนม ซื้อกระเป๋า ซื้อรองเท้า ไปกินร้านอาหารเก๋ๆ ซึ่งปัจจัยหลักของเราตอนนั้นจะอยู่ที่ตัวเงิน พอไม่มีเงินก็ทุกข์ แต่พอเราเปลี่ยนมาทำด้านเกษตร ชีวิตเราก็เปลี่ยนไป
ทุกวันนี้เราจะใช้เวลาอยู่กับตัวเอง อยู่กับครอบครัว เดินไปสวน เห็นต้นไม้ใบหญ้า เห็นผีเสื้อ แล้วเราสามารถทำอะไรที่เราอยากทานได้เองโดยที่ปลอดภัยและก็ดีกับสุขภาพเราจริงๆ เรากินข้าวนอกบ้านน้อยลง ไม่ต้องไปซื้อผักตามซูเปอร์มาร์เกต เราซื้อน้อยลง เราลดรายจ่าย แต่ก่อนเปิ้ลกินข้าวนอกบ้านเกือบทุกสัปดาห์เลย แต่ตอนนี้นับครั้งได้เลย น่าจะเดือนละครั้งได้ แล้วเราก็มีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย เพราะว่าผักผลไม้ที่เราปลูก เป็นออแกนิก หรืออย่างเสื้อผ้าก็ชอปปิ้งน้อยลงมาก 6 เดือนจะซื้อเสื้อผ้าสีธรรมชาติที เพราะเปิ้ลจะซื้อเสื้อที่เป็นลินินกับฝ้ายเท่านั้น คือทุกอย่างเราหันมาทางสุขภาพมากขึ้นเลยค่ะ ความต้องการที่อยากจะได้อะไรต่างๆ ก็ลดลง เราหันกลับมาพอเพียง พึ่งพาตัวเองมากขึ้น เปลี่ยนหมดเลย วิถีชีวิต ความคิดเราเปลี่ยนหมด แต่อันนี้ก็ต้องค่อยๆ ปรับนะคะ ไม่ใช่แบบสุดโต่งไปเลยทีเดียว
อีกอย่างที่สำคัญคือการให้ อย่างข้างบ้านตอนที่เปิ้ลทำงานเป็นแอร์ฯ เราไม่เคยคุยกันเลยนะคะ พอเรามาทำเกษตรปลูกผัก เอาผักไปแบ่งปันเขา เขาก็เอานู่นเอานี่มาแบ่งปันเราบ้าง และเปิ้ลก็ได้เอาความรู้ที่เปิ้ลได้มา เอาไปสอนคนพิการ สอนเด็กนักเรียนแถวจังหวัดสระบุรีที่เขาไม่มีโอกาสได้รู้ ทั้งการปลูกผัก การทำอาหารต่างๆ อย่างน้ำเต้าหู้ โยเกิร์ต อะไรทำนองนี้ค่ะ คืออันนี้มันเหมือนกับเป็นวิชาชีวิตจริงๆ ที่เราต้องใช้และเราเอาไปแบ่งปันคนอื่นโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
• ถ้าพูดถึงรายได้เราได้คุ้มค่ากับที่ลาออกหรือเปล่า รายได้พอวัดจากตอนทำงานประจำแล้วต่างกันมากน้อยแค่ไหนคะ
เปิ้ลจะบอกว่ารู้แบบนี้ลาออกตั้งนานแล้ว (หัวเราะ) เปิ้ลว่าก่อนหน้านี้ เราเสียเวลาชีวิตไปกับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเราเลย เราใช้เวลากับการหาเงินมากเกิน โดยไม่รู้ว่านั่นมันคือความสุขแล้วหรือยัง แต่ก่อนที่เปิ้ลทำงานประจำ เปิ้ลยอมรับว่าได้เงินเยอะแต่เราไม่มีเวลาและไม่รู้ว่าชีวิตมันใช่หรือเปล่า แต่ที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ เงินอาจจะน้อยลง แต่ได้ใช้ชีวิตที่เรารัก ได้ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ได้เพื่อน ได้น้ำใจ ได้มิตรภาพ ได้ทำประโยชน์ให้สังคม
จริงๆ เรื่องรายได้มันได้น้อยกว่านะคะ แต่มันก็ไม่ได้ถึงกับน่าเกลียดนะคะ คือมันอาจจะได้น้อยลงมานิดหนึ่ง แต่เรามีเวลาให้ชีวิตมากขึ้น ไม่ต้องไปทำงานจันทร์ถึงศุกร์ เราสามารถจัดเวลาแต่ละอย่างของเราได้เอง เปิ้ลมองว่าเงินไม่ใช่ความสุขทุกอย่าง ตำแหน่ง หน้าที่การงาน ชื่อเสียง มันก็ไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป ความพอเพียงมันเท่ากับธรรมะ พอเรามีธรรมะ เริ่มมีความต้องการน้อยลง เริ่มเข้าใจชีวิตอย่างแท้จริงมากขึ้น มันจะมีความสุขจริงๆ ในชีวิต ซึ่งในสังคมเมืองตอนนี้มันหลงไปคนละทิศละทางเลย เข้าใจว่ามันมีความเจริญทางด้านวัตถุ แต่พอเราได้มาใช้ชีวิตแบบนี้ เราต้องมองอีกด้านหนึ่งเลยค่ะ ลองหรือยัง ลองใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายดูก่อน อย่างทุกอาทิตย์ต้องไปกินข้าว กินเหล้ากับเพื่อน ลองกลับไปบ้านแล้วทำกับข้าวกินเองหรือลองปลูกผักง่ายๆ ที่คุณต้องซื้อทุกวัน อย่างเช่น กะเพรา ตะไคร้ ใบมะกรูด ลองสิ่งที่มันเล็กๆ ดูก่อนแล้วชีวิตมันจะเริ่มปรับ เริ่มเห็นมากขึ้นว่าจริงๆ แล้วเงินเป็นสิ่งจำเป็น แต่มันไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต
ทุกวันนี้เปิ้ลไม่คิดว่าตัวเองคิดผิดเลยนะคะ แล้วก็ไม่คิดว่าจะกลับไปด้วย คิดว่าตัวเองมาถูกทางแล้ว เพราะที่ทำอยู่ทุกวันนี้มันใช่ ชีวิตมันใช่อย่างที่ควรจะเป็น ชีวิตเราได้เป็นชีวิตที่แท้จริง
• ในฐานะที่เป็นเกษตรกร ตอนนี้เราคิดอย่างไรกับอาชีพนี้บ้างคะ
งานเกษตรต้องบอกก่อนว่าเหนื่อยไหม ตอบเลยว่าเหนื่อย ร้อนไหม ตอบเลยว่าร้อน แต่ในความเหนื่อยกับความร้อน ถ้ามันเป็นสิ่งที่เรารัก มันจะไม่รู้สึกแบบนั้นค่ะ ส่วนตัวเปิ้ลจะไม่มองว่าเราทำแล้วเราจะต้องได้เงินเท่าไหร่หรือเราอยากทำแล้วเราต้องรวยกับสิ่งที่เราอยากทำ เพราะถ้าคุณยึดคำว่ารวยเป็นอันดับแรก คุณไม่มีความสุขแน่ๆ เพราะที่เปิ้ลทำทั้งหมด เปิ้ลมีความสุขนะคะ ไม่เคยคิดว่ามันเป็นงานหนัก สิ่งที่เราทำคือเราชอบทั้งหมด เพราะยิ่งทำ เราก็ยิ่งต่อยอดได้เยอะขึ้น
อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่สำคัญ ไม่ได้ต่ำไปกว่าอาชีพอื่น จริงๆ คุณต้องขอบคุณเกษตรกรด้วยซ้ำ ต้องมองว่าเขามีบุญคุณด้วยซ้ำ ไม่เชื่อคุณลองมาปลูกข้าวดูสิ กว่าจะได้แต่ละเม็ด มันยากมาก คุณลองไม่มีข้าวกิน ไม่มีผัก ไม่มีผลไม้กินดูสิ ชีวิตคุณอยู่ได้ไหม ต้องคิดแบบนี้ คือโอเค คุณไม่มีสตาร์บัคส์กิน คุณอยู่ได้ แต่ถ้าคุณไม่มีข้าว ไม่มีผัก ไม่มีผลไม้กิน คุณอยู่ได้ไหม แล้วแบบนี้คุณคิดว่าเกษตรสำคัญหรือเปล่า ฉะนั้น ต้องปรับเรื่องของมุมมองใหม่
คำว่าเกษตรกรสมัยนี้ ไม่ใช่แค่คนปลูกนะคะ เพราะเกษตรสมัยนี้เขามีความสามารถนำผลิตภัณฑ์มาแปรรูปแล้วก็ทำสิ่งดีๆ ให้เราได้กินได้ใช้ด้วย คนสมัยนี้ เด็กๆ สมัยนี้ก็คิดตรงกันข้ามแล้วนะคะ ซึ่งมีหลายคนก็อยากจะทำแบบนี้มาทำอะไรของตัวเองมากขึ้น มาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่มากขึ้น เขาไม่อยากทำงานออฟฟิศแล้ว
เปิ้ลว่าเราต้องก้าวทันโลกแล้วนะคะ เปลี่ยนมุมมองความคิดเดิมๆ ทิ้งซะ ลองมองดูว่าทำไมผู้คนหันมาใช้ชีวิตในแบบนี้มากขึ้น เพราะบางคนเขาเบื่อระบบทุนนิยม เขาเบื่อระบบในออฟฟิศ ตื่นเช้ามาตี 5 ฝ่ารถติด 2 ชั่วโมงเพื่อไปทำงานให้ทัน มันไม่ใช่อีกแล้วนะ (หัวเราะ) เพราะฉะนั้น เราต้องหาสิ่งที่เรารักจริงๆ ได้แล้ว อย่างน้อยเสาร์อาทิตย์ก็มีนะ ไม่จำเป็นต้องมาเป็นเกษตรกรเต็มตัวก็ได้ อย่างบางคนก็เอาวันหยุดมาทำดูก่อน เปิ้ลจะบอกว่ามันต้องเริ่มอย่างใดอย่างหนึ่งในชีวิตที่เราสนใจ ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเปิ้ลก็ได้
• อยากให้การเกษตรในประเทศเปลี่ยนหรือเป็นไปในทางไหนบ้าง เพราะว่าสมัยนี้ที่เห็นๆ กันอยู่ว่ายังมีเกษตรกรหลายรายขาดทุนอยู่เยอะมาก
เปิ้ลมองว่าเกษตรกรที่เขาทำขาดทุน เพราะเขาทำเคมี เพราะต้องมีค่าปุ๋ย ค่ายา แต่ถ้าหันกลับมาเป็นวิถีเกษตรอินทรีย์ซึ่งคุณจะทำเหมือนกับรุ่นปู่ย่าตายายที่เราเคยทำมา คือถ้าคุณมีวัวควาย คุณก็สามารถเอาขี้วัวขี้ควายมาทำปุ๋ยได้ สามารถปรับปรุงพื้นดินโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำ ต้องบอกว่าที่เขาขาดทุนมาจากอะไร ขาดทุนมาจากราคาเท่าเดิมแต่ต้องใช้ต้นทุนมากขึ้น ฉะนั้น ต้องลดต้นทุน หันมาทำเป็นเกษตรอินทรีย์ ทำปุ๋ยเอง หมักปุ๋ยเอง ทั้งปุ๋ยหมักแห้ง ปุ๋ยหมักน้ำ ทำเองอย่าไปซื้อ นี่มันคือปัญหาของเกษตรกรไทยทั่วประเทศเลยนะคะว่าทำแล้วจน เพราะต้องไปเสียค่ายา ค่าปุ๋ย ต้องลองปรับ ซึ่งมันก็ยาก เพราะเท่าที่เปิ้ลเคยลงพื้นที่ก็ยังมีคนทำเคมีกันเยอะอยู่ คือเขามีระบบหนี้อยู่ด้วย อันนี้ต้องยอมรับ คือเกษตรกรติดหนี้อยู่แล้ว ถ้าให้เขาเปลี่ยนมาทำแบบใหม่ เขาก็กลัวว่าจะได้ผลผลิตน้อย เงินน้อยลง แต่ตรงนี้เปิ้ลว่าเราต้องกล้าที่จะลองปรับดู เพราะว่ามันต้นทุนน้อยลง แต่ขายได้มากขึ้นจริงๆ เพราะสมัยนี้คนสนใจมากขึ้นด้วย แล้วราคาก็ขายได้สูงขึ้น
ความเข้าใจของเปิ้ลคือเกษตรกรที่ดีต้องควบคุมในเรื่องของการผลิตและธรรมชาติคู่กันได้ แล้วต้องเลี้ยงตัวเองได้ด้วย เหมือนใช้เกษตรอินทรีย์มันได้ผลผลิตจริง แต่มันต้องมีรายจ่ายและรายรับที่สมดุล ไม่อย่างนั้นทำไปยิ่งยากจน มันไม่ใช่
อีกอย่างเกษตรที่ดีต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าทำยังไงก็ทำอย่างนั้นตลอดมันจะไม่มีความก้าวหน้าและเกษตรกรเมืองไทย ต้องรู้จักนำผลผลิตมาแปรรูป ไม่อย่างนั้น เราปลูกผักมาเอาผักไปขายได้ 10 บาท 20 บาท แบบนั้นอาจจะอยู่ไม่ไหว เราต้องมีการพัฒนาเอามาแปรรูปให้เข้ากับความต้องการในยุคนี้ด้วย อย่างทำข้าวเราอาจจะแปรรูปมาทำชาข้าว มันจะได้เพิ่มในเรื่องของผลผลิต เพิ่มมูลค่าของสินค้าได้
• ในอนาคต เราวางแผนกับงานด้านการเกษตรอย่างไรต่อไปบ้างคะ
ในอนาคต เปิ้ลอยากปลูกป่า 3 อย่าง คือมีป่าไว้กิน ป่าไว้ใช้ ป่าที่เป็นป่าไม้เศรษฐกิจ แล้วอีกอย่างที่ตั้งใจ ถ้ามีที่ มีสวนที่ปรับปรุงแล้ว เปิ้ลจะปลูกเป็นไม้ 77 จังหวัดอยู่ในพื้นที่ มีป้ายกำกับว่าจังหวัดอะไร เพื่อเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้คนมาศึกษา จะให้เป็นศูนย์รวมต้นไม้ประจำจังหวัด
ส่วนเรื่องผลิตภัณฑ์ก็จะต่อยอดไปเรื่อยๆ ปีนี้ เปิ้ลคิดอยากทำหลายอย่าง อย่างข้าวที่เราปลูกได้ กำลังคิดอยู่ว่าเราจะเอาทำผงพอกหน้า หรือไม่ก็ใส่ในสบู่ และเราวางแผนว่าจะปลูกชาออแกนิก คือจะบอกว่าที่บ้านเปิ้ลจะมีล็อกหนึ่งที่เปิ้ลจัดสรรไว้เพื่อปลูกเสมุนไพร มีรางจืด ใบเตย ใบหม่อน ต้นหม่อน ใบย่านาง ที่เราคิดจะเอามาทำชาขายค่ะ
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook : pretty ple, Facebook : wear me natural และ Facebook : Organicspace Thailand
ช่วงหลังๆ กระแสหนึ่งซึ่งกำลังก่อตัวหนาแน่นขึ้นทุกขณะในวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ คือการลาออกจากการงานประจำเพื่อไปทำสิ่งที่ตัวเองรัก นอกจากกิจการส่วนตัว โลกแบบหนึ่งที่ได้รับการเอ่ยถึงในฐานะท็อปไฟว์เส้นทางที่หลายคนใฝ่ฝัน คือการกลับไปอยู่กับธรรมชาติ ทำการเกษตรหล่อเลี้ยงชีวิต หลายต่อหลายคนประสบความสำเร็จจนได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่าง ขณะที่อีกหลายคนกำลังเริ่มต้นและพิสูจน์ความตั้งใจของตนเอง เช่นเดียวกับ “เปิ้ล-พภัสสรณ์ จิรวราพันธ์” สาวสวยที่เคยเป็นแอร์โฮสเตสนานถึง 7 ปี
จากวันนั้นถึงวันนี้ นับแต่ที่ลาออกจากงาน ก็ผ่านไปแล้ว 3 ปีที่เธอสามารถพูดได้เต็มปากว่าเป็นเกษตรกรเต็มตัว นอกจากสวนผักสวนพืช ยังมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่แปรรูปจากธรรมชาติในชื่อแบรนด์ OganicSpace Thailland รวมทั้งแบรนด์เสื้อผ้า wear me natural ที่จำหน่ายตามบูทงานต่างๆ และทางอินสตาแกรม อย่างไรก็ตาม เธอแง้มๆ ให้เราฟังเบื้องต้นว่า มันไม่ง่ายแต่อย่างใด สามปีที่ผ่าน ก็เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นบนเส้นทางสายนี้เท่านั้น...
• เส้นทางชีวิต ก่อนเบนเข็มทิศสู่วิถีเกษตร
เปิ้ลจบมาทางด้านบริหารธุรกิจ พอเรียนจบ เปิ้ลเลือกงานสายการโรงแรม และทำงานที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล (Mandarin Oriental Hotel) ประมาณปีกว่าๆ จากนั้นจึงได้ไปสอบแอร์โฮสเตสเพราะอยากใช้ภาษาที่เรียนมา ปรากฏสอบผ่าน ได้เป็นแอร์โฮสเตส สายการบินเจแปนแอร์ไลน์ เปิ้ลเป็นแอร์โฮสเตสได้ประมาณ 7 ปี ก็มีปัญหาสุขภาพ เพราะเราต้องยืนเป็นเวลานาน ทำให้ปวดหลัง จึงลาออกมาทำงานออฟฟิศ แต่ก็ต้องเจอปัญหาสุขภาพอีก เป็นออฟฟิศซินโดรม อีกอย่างคือรู้สึกเบื่อๆ และคิดว่าอยากจะทำอะไรเป็นของตัวเอง ยิ่งตอนทำงานออฟฟิศจะเบื่อมากเป็นพิเศษ เพราะมันหนักกว่าตอนเป็นแอร์โฮสเตสอีกนะคะ เราต้องนั่งทำงานหน้าคอมพ์ฯ ทั้งวัน ทำงานหนักเพราะส่วนตัวเราก็เป็นคนบ้างาน
เมื่อมีปัญหาสุขภาพ เราจึงต้องชั่งใจกับการที่เราได้เงินมาก็จริง แต่ก็ต้องไปโรงพยาบาลทุกเดือน จึงอยากลาออก หันมาสนใจสุขภาพเราดีกว่า แล้วพอเราเลือกในด้านสุขภาพแล้ว เราก็เลยถามว่าตัวเองว่าชอบอะไร ก็ได้คำตอบว่าชอบธรรมชาติ พอตอบตัวเองได้ เราก็เริ่มมองหาทางเลือกว่าอะไรที่จะช่วยและไม่ทำลายสุขภาพบ้าง ก็ไปสนใจเรื่องการปลูกผัก และไปเรียนเกี่ยวกับการปลูกผักที่ Organic Way ของป้าหน่อยแถวๆ ราษฎร์บูรณะ ตอนนั้นเราก็ยังทำงานออฟฟิศอยู่นะคะ
พอเราเลือกสุขภาพ เราก็ต้องจริงจังกับชีวิตมากขึ้น ทั้งเรื่องอาหารการกิน เรื่องของใช้ต่างๆ เริ่มทำสวนหลังบ้านด้วยการดัดแปลงพื้นที่เล็กๆ ให้เป็นที่ปลูกผักกินเองก่อน หลังจากนั้นก็ศึกษาเกี่ยวกับการเกษตรมากขึ้น ศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงด้วย และประจวบกับคุณแม่มีที่ทางอยู่ที่บ้านหมอ จังหวัดสระบุรีหลายไร่ เราก็เลยตัดสินใจว่าจะมาทำจริงๆ จังๆ อีกอย่าง ต้องบอกว่าจุดที่เราเปลี่ยนจริงจัง เพราะเราได้ไปเข้าโครงการคนกล้าคืนถิ่น เป็นโครงการที่ให้คนที่มีที่ทางมาเข้าศึกษาหลักสูตร มีปราชญ์ชาวบ้านมาให้คำแนะนำ
พอได้อบรมจริงจังแล้ว เราก็เริ่มทำ จากเล็กๆ 2 ไร่ก่อน เพราะเราอยากรู้ว่าตัวเองทำได้ไหม ก็เริ่มด้วยการปลูกข้าวโพด พอทำข้าวโพดได้เก็บได้กินแล้ว เราก็ไถข้าวโพดหมักดินเพื่อปลูกข้าวต่อ ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวไร่เหลืองดง ข้าวพันธุ์พื้นบ้านตามคอนเซ็ปต์ที่เปิ้ลอยากปลูกอะไรที่เป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้านไว้ เราก็จึงปลูกข้าวชนิดนี้แล้วมันก็เหมาะกับพื้นที่ของเราด้วย เพราะปีที่แล้วแล้งมาก เราเลยต้องปลูกข้าวชนิดนี้เพราะข้าวชนิดนี้ใช้น้ำน้อย
• พื้นฐานครอบครัวเราเป็นอย่างไร ทำการเกษตรมาก่อนหรือเปล่าคะ
ที่บ้านเปิ้ลทำเกี่ยวกับสมุนไพรมาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วค่ะ คือนำเข้าสมุนไพรจีน ส่งออกสมุนไพรไทยต่างๆ ประมาณว่าซื้อมาขายไป และด้วยเหตุนั้น คุณพ่อจึงมีความรู้เรื่องสมุนไพร แม้ว่าท่านจะไม่ได้ปลูกเอง และท่านก็สามารถให้ความรู้เราได้ อีกอย่าง ที่บ้านจะมีหนังสือเกี่ยวกับสมุนไพรและการเกษตรเยอะมาก หรืออย่างทางบ้านคุณแม่ คุณตาคุณยายก็จะมีบ้านสวนที่สระบุรีด้วย ตอนเด็กๆ ปิดเทอม เราก็ชอบไปวิ่งเล่นในสวน ได้อยู่กับธรรมชาติ โดยส่วนตัว เปิ้ลชอบความเรียบง่าย ชอบความเป็นธรรมชาติอยู่แล้วด้วย เราคงซึมซับสิ่งนี้มาจากพื้นฐานครอบครัว
• พูดถึงวันที่ลาออกจากกงาน เรามีการวางแผนอะไรก่อนหรือเปล่า
เปิ้ลว่าอันนี้น่าจะเป็นกันทุกคนเลยนะคะ สำหรับใครที่ลาออกจากงานวันแรกมันจะรู้สึกเคว้งคว้าง เพราะตอนแรกที่เปิ้ลออกมา เปิ้ลยังจับทางอะไรไม่ถูกเลยนะคะ เรายังไม่รู้ว่าเราจะทำอะไร เปิ้ลใช้เวลาหนึ่งเดือนเต็มๆ ที่นั่งทบทวนตัวเอง แล้วก็นั่งจดรายละเอียดไปเป็นข้อๆ เลยว่าเราชอบอะไร จนได้รู้ว่าตัวเองชอบธรรมชาติและอยากจะปลูกพืชผัก แต่จริงๆ มันก็จะมีบางส่วนอยู่แล้วที่ทำให้เรารู้ว่าเราออกไปเพื่ออะไร ซึ่งเปิ้ลรู้ตัวเองว่าเราจะมาทางนี้ แต่เรายังไม่รู้ว่าเราจะไปทำเกษตรแนวไหนดี แต่เรารู้อยู่แล้วว่าเราจะออกมาทำด้านของธรรมชาติ ด้านเกษตร แต่ไม่รู้ว่าอะไรที่ชอบที่สุด ก็เลยต้องไปศึกษา
ส่วนตัวเปิ้ลไม่ได้วางแผนก่อนออกจากงานเลยนะคะ เปิ้ลว่าน่าจะเหมือนมนุษย์เงินเดือนทั่วๆ ไปเลยนะคะคือหลายคนมองว่ามันยากที่เราจะออกจากพื้นที่เดิมๆ แต่พอมันต้องใช้ความเด็ดเดี่ยว ซึ่งพอรู้ตัวเองแล้วหลังจากนั้นเปิ้ลใช้เวลาประมาณหนึ่งปีเพื่อไปเรียนรู้ ตั้งแต่ไปเรียนการปลูกข้าวอินทรีย์ที่มูลนิธิข้าวขวัญของอาจารย์เดชา ไปเรียนกับคุณโจน จันใด ที่จังหวัดเชียงใหม่ ฝึกทำบ้านดิน ปลูกผักออแกนิก หรือไปเรียนเรื่องการทำข้าวของเครื่องใช้ ทำโยเกิร์ตและอื่นๆ อีกมากมายค่ะ
เปิ้ลคิดว่าเราต้องมีจุดที่เรารัก ก่อนออกจากงาน ต้องถามตัวเองก่อนว่าเรารักและชอบที่จะทำอะไร แล้วพอรู้ตัวแล้วตัดสินใจแล้วปุ๊บ เราต้องลงไปเรียนรู้กับสิ่งสิ่งนั้น เรียนเพื่อให้ได้ความรู้ เพื่อให้มีความมั่นใจมากขึ้น รู้ให้มันจริงมากขึ้น ขั้นตอนต่อไปคือการลงมือทำ เปิ้ลว่าการที่เราลงมือทำ เรายังไม่รู้หรอกว่ามันจะสำเร็จ ดีหรือไม่ดี แต่อย่างน้อยพอเราได้ศึกษาแล้วลงมือทำไปด้วย มันก็จะเป็นการพัฒนาเพื่อจะได้แก้ไขต่อไป
มันมีช่วงที่เราตั้งคำถามกับตัวเองนะคะว่าชีวิตเราต้องการอะไร จริงๆ แล้วความฝันในชีวิตของเราคืออะไร เราเลยต้องตัดสินใจว่าชีวิตที่เราเหลืออยู่นี่แหละ ฉันจะทำในสิ่งที่ฉันตั้งใจจะทำ อย่างตอนอยู่ออฟฟิศก็เคยคุยกับเพื่อนๆ นะคะว่าเราอยากปลูกข้าว เพื่อนๆ ก็ขำว่าเราเป็นถึงผู้จัดการคุมร้านทั่วประเทศ มีลูกน้องเยอะมาก แต่ทำไมจะไปทางนั้นล่ะ อะไรทำนองนี้ค่ะ ตอนเปิ้ลทำงานออฟฟิศ เปิ้ลก็ใฝ่ฝันนะคะว่าอยากมีสวนของตัวเอง อยากมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นยี่ห้อของตัวเอง
• แล้วทางบ้านหรือคนรอบข้างล่ะคะว่าอย่างไรที่เราลาออกในวันนั้น
เปิ้ลโชคดีนะคะที่ทางบ้านเข้าใจว่าเรื่องสุขภาพต้องมาก่อน มันต้องสำคัญกว่า แต่ที่บ้านเขาก็คาดหวังเหมือนกับพ่อแม่ทั่วไปที่เขาอยากให้เป็นเจ้าคนนายคน ซึ่งเราก็ทำสำเร็จนะคะ เพราะก่อนหน้านี้ หลังจากลาออกจากแอร์โฮสเตส เราก็มาเป็นผู้จัดการ ต้องดูแลลูกน้อง 100-200 คนเหมือนกัน
จริงๆ เรามีความฝันว่าอยากจะเป็นเกษตรกรอยู่แล้วนะคะ ซึ่งที่เปิ้ลออกมาทำตรงนี้ได้ จะบอกว่าเราก็มีเงินเก็บอยู่แล้วพอสมควร เพราะเราต้องคำนวณดูด้วยว่าถ้าเราทำไปแล้ว ถ้าเราไม่มีรายได้เข้ามาเราจะได้ใช้เงินเก็บเลี้ยงตัวเราไปก่อน ตรงนี้เปิ้ลแนะนำนะคะว่าคนทำงานออฟฟิศจริงๆ ทำแบบเปิ้ลได้นะคะ แต่แค่ลองเอาวันหยุดมาทบทวนตัวเองว่าอะไรเป็นสิ่งที่คุณรัก คุณถนัด ส่วนมากเปิ้ลว่า 90 เปอร์เซ็นต์เลยจะบอกว่า เฮ้ย เรายังไม่เจอเลยว่าชีวิตนี้เรารักเราชอบอะไร ซึ่งเปิ้ลจะแนะนำให้จดรายละเอียดเป็นข้อๆ ดูว่าอะไรคือสิ่งที่คุณรักสัก 10 ข้อ ไปทบทวนดู ลองทำทีละอัน แล้วลองสังเกตดูว่าอะไรที่คุณอยู่กับมันได้ทั้งวันโดยไม่เบื่อ อยู่กับมันแล้วเวลาผ่านไปเร็วมากๆ คุณมีความสุขกับมัน นั่นแหละคือสิ่งที่คุณรักและเป็นก็สิ่งที่คุณควรจะทำ ส่วนตัวเปิ้ลกล้าที่จะตัดสินใจแบบนั้น เพราะเราจดสิ่งที่เราชอบดูแล้วว่ามันใช่ค่ะ
• แล้วตอนนี้เราทำอะไรอยู่บ้าง มีผลิตภัณฑ์อะไรบ้างคะ
ตอนนี้เปิ้ลทำอยู่ทั้งหมด 3 อย่างค่ะ เรื่องเกษตรที่เราปลูก ก็เริ่มจากทำที่สวนหลังบ้านให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เปิ้ลเริ่มจากปลูกข้าวโพด ปลูกข้าว แต่ตอนนี้ในเรื่องของการเป็นเกษตรกร เรายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นอยู่ อยู่ในขั้นพอกินอยู่ จะเป็นการเอาสิ่งที่ปลูกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากกว่า ส่วนสิ่งที่เราปลูกยังไม่มีจำหน่าย เรายังอยู่ในขั้นตอนการเป็นเกษตรกรเล็กๆ ที่ปลูกกินเองตามแนวพระราชดำริก่อน แต่ว่าก็มีแผนที่จะปลูกขยายมากขึ้นเหมือนกันนะคะ
อย่างที่สองเปิ้ลมีแบรนด์ OganicSpace Thailland อันนี้จะเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ เช่น สบู่ออแกนิกที่ทำจากเกล็ดน้ำมันซึ่งน้ำมันเราก็จะใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอกสกัดเย็น น้ำมันละหุ่ง โดยเอาผลิตผลที่ปลูกอยู่หลังบ้านอย่างตำลึง มะเฟือง มาเป็นส่วนประกอบในการทำสบู่ ซึ่งการปลูกพืชของเราก็จะไปเชื่อมโยง แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยค่ะอันนี้เปิดตัวที่งาน organic and natural expo Thailand ซึ่งตอนนี้สบู่ของเราก็จะมีขายทางเพจเฟซบุ๊ก Organic Space Thailand และบูทงาน organic and natural expo Thailand ค่ะ เป็นการเปิดตัวสบู่ครั้งแรกเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม ตอนนี้เปิ้ลก็เริ่มมีกลุ่มเครือข่ายแม่บ้านจังหวัดสระบุรีด้วย ซึ่งเขาจะปลูกมะกรูดกันเยอะ เราเลยคิดว่ามันสามารถเอามาแปรรูปได้ ก็มีการรวมกลุ่มเรื่องของผลิตภัณฑ์มากขึ้น แล้วก็เอาความรู้ที่เรามีมาทำอย่างแชมพูสมุนไพรทำอะไรต่างๆ
อย่างที่สาม เปิ้ลมีแบรนด์เสื้อผ้าชื่อว่า wear me natural ซึ่งอันนี้เปิ้ลจะทำงานร่วมกับวิสาหกิจชุมชนที่ภาคเหนือ ซึ่งเราก็ไปอยู่กับชาวบ้านเลย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเรื่องสีธรรมชาติ แล้วเราก็ออกแบบให้งานเขาตัดเย็บ ย้อมแล้วก็ส่งมาให้ทางเราจำหน่าย ในส่วนของเสื้อผ้า เปิ้ลจะไปตั้งบูทขายตามงานต่างๆ เองแล้วก็มีขายทางอินสตาแกรม อย่างเสื้อผ้า นอกจากจะขายคนไทยแล้วก็เริ่มต่อยอดพัฒนาไปคนต่างชาติ ตอนนี้ก็มีคนญี่ปุ่นเข้ามาคุยบ้างแล้ว แต่เป็นญี่ปุ่นที่อยู่ในเมืองไทยที่เขาอยากให้คนญี่ปุ่นได้ใช้
เปิ้ลจะเริ่มพัฒนาแล้วช่วยเหลือกันเป็นกลุ่ม ซึ่งเราจะแตกผลิตภัณฑ์ไปเรื่อยๆ ซึ่งงานของเปิ้ลจะมีสแกนว่า เป็นธรรมชาติ ผสมผสานกับการให้ และรวมไปถึงการรวมกลุ่ม เพราะมันสำคัญนะคะ เราไม่ได้ก้าวไปคนเดียว เราต้องดึงคนนั้นคนนี้ให้พัฒนาไปด้วยกันและเขาก็มีชีวิตที่ดีขึ้นอะไรทำนองนี้ค่ะ (ยิ้ม)
• มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้างหรือเปล่า และเรารับมือหรือแก้ไขอย่างไร
ตอนที่ออกจากงานมาช่วงแรกๆ เปิ้ลต้องใช้เวลาหาข้อมูลเหมือนกันว่าเราต้องไปเรียนที่ไหน ต้องทำยังไง ต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด เพราะเราไม่เคยทำมาก่อน แต่ทุกอย่างมันต้องมีขั้นตอน มีจุดเริ่มต้น มีการเรียนรู้และการลงมือทำ ซึ่งเรามองว่ามันไม่ยากนะคะ มันเรียนรู้กันได้ อาจจะใช้เวลามากน้อยต่างกัน แต่ก็ทำได้
มีบางช่วงเหมือนกันที่เปิ้ลท้อ ประมาณว่ามันใช่เหรอ เปิ้ลท้อเยอะมากนะคะกว่าจะมาถึงจุดนี้ แต่เปิ้ลจะใช้วิธีถอยหลังกลับมาก้าวหนึ่งแล้วเดินก้าวไปข้างหน้าต่อสองก้าว แต่ตอนนี้ก็ไม่ได้บอกว่าตัวเองประสบความสำเร็จนะคะ แต่มันต้องลองเดินไปในทางที่ใช่ว่าสิ่งนี้แหละที่ฉันจะใช้ชีวิตกับมันตลอดทั้งชีวิต แล้วมันต้องไปถึงให้ได้ เราต้องมีความอดทน ความพยายาม ต้องใช้จุดนั้นเยอะๆ อีกอย่างต้องมีปัญญา บางคนไม่มีเงิน ไม่มีทุน แต่ถ้ามีปัญญาและความอดทน นั่นแหละคุณก็จะไปถึงจุดหมายได้
• แล้วนานไหมกว่าที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะลงตัว ตอนนี้อยู่ในจุดที่เราพอใจแล้วหรือยัง
เปิ้ลว่าเรายังไม่ถึงกับจุดที่ประสบความสำเร็จนะคะ ปัจจุบันเปิ้ลก็ยังไปเรียน ไปหาความรู้ ไปศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเกษตรต่างๆ อีกนะคะ เพราะความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ล่าสุดก็เพิ่งกลับมาจากระยอง ไปเรียนทำปุ๋ย ทำไบโอดีเซล 5 วัน เปิ้ลมองว่าถึงเรารู้อยู่แล้วก็ต้องเรียนนะ เพราะว่ามันจะมีความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เราจะต้องทำเองเป็นทุกอย่างเพื่อจะได้ลดต้นทุนด้วย
เปิ้ลเริ่มทำตรงนี้เข้าปีที่ 3 แล้ว เปิ้ลจะบอกว่าขั้นตอนในชีวิตเราต้องค่อยๆ ก้าว ไม่ใช่อยากจะก้าวเร็วๆ ก้าวกระโดดเลยมันไม่ใช่ ทุกอย่างในชีวิตมันต้องเป็นแบบเดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ อย่างที่ในหลวงท่านสอน เราต้องทำทีละอย่าง ไม่ใช่ว่าลาออกจากงานแล้วมาทำแป๊บๆ แล้วอยากจะประสบความสำเร็จเลย อยากจะทำทุกอย่างให้ก้าวไปไวๆ ซึ่งเปิ้ลมองว่ามันทำไม่ได้ เราต้องมีความรู้ มีความชำนาญมากๆ ก่อน เราจะได้แตกแขนงไปได้ เปิ้ลอยากบอกทุกคนว่าอย่าทำทีเดียว อย่าใจร้อน ต้องค่อยๆ เดินแล้วเราจะเดินอย่างมั่นคง สำหรับเปิ้ลตอนนี้ถือว่าพออยู่ได้นะคะ เรายังยู่ในขั้นพื้นฐานที่กำลังจะพัฒนา มันเป็นจุดที่สมดุลแล้วนะคะ ไม่มากไม่น้อยเกินไป แล้วชีวิตก็มีรายได้ มีกลุ่มเพื่อนๆ มีเครือข่าย
• ชีวิตเปลี่ยนไปไหม หลังจากเข้าสู่อาชีพเกษตรกรแบบเต็มตัว
เปลี่ยนนะคะ (ตอบเร็ว) จะบอกว่าเมื่อก่อน เสื้อผ้าเต็มตู้เลยนะคะแต่ก็ยังรู้สึกว่าเราขาด แต่พอเดี๋ยวนี้ เรามาใช้ชีวิตแบบนี้ เรารู้เลยว่าแค่นี้มันก็อยู่ได้ รู้สึกว่าตัวเองได้ใช้ชีวิตที่สมดุลมากขึ้น พูดตามจริงมีผู้หญิงหลายคนที่เขาอยากเป็นแอร์โฮสเตส ต่างกันกับเราได้เป็นแล้วกลับอยากเป็นเกษตรกร แต่เปิ้ลก็เห็นคนรุ่นใหม่หันมาใช้ชีวิตแบบเกษตรกรมากขึ้นนะคะ แปลว่ามันต้องมีอะไรที่ดีสิ
แต่ก่อนชีวิตเปิ้ลมันเป็นความสุขฉาบฉวย เราได้เงินมาเยอะก็จริง พอได้เงินมาเปิ้ลก็เหมือนผู้หญิงทั่วไปที่ชอบชอปปิ้ง ซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนม ซื้อกระเป๋า ซื้อรองเท้า ไปกินร้านอาหารเก๋ๆ ซึ่งปัจจัยหลักของเราตอนนั้นจะอยู่ที่ตัวเงิน พอไม่มีเงินก็ทุกข์ แต่พอเราเปลี่ยนมาทำด้านเกษตร ชีวิตเราก็เปลี่ยนไป
ทุกวันนี้เราจะใช้เวลาอยู่กับตัวเอง อยู่กับครอบครัว เดินไปสวน เห็นต้นไม้ใบหญ้า เห็นผีเสื้อ แล้วเราสามารถทำอะไรที่เราอยากทานได้เองโดยที่ปลอดภัยและก็ดีกับสุขภาพเราจริงๆ เรากินข้าวนอกบ้านน้อยลง ไม่ต้องไปซื้อผักตามซูเปอร์มาร์เกต เราซื้อน้อยลง เราลดรายจ่าย แต่ก่อนเปิ้ลกินข้าวนอกบ้านเกือบทุกสัปดาห์เลย แต่ตอนนี้นับครั้งได้เลย น่าจะเดือนละครั้งได้ แล้วเราก็มีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย เพราะว่าผักผลไม้ที่เราปลูก เป็นออแกนิก หรืออย่างเสื้อผ้าก็ชอปปิ้งน้อยลงมาก 6 เดือนจะซื้อเสื้อผ้าสีธรรมชาติที เพราะเปิ้ลจะซื้อเสื้อที่เป็นลินินกับฝ้ายเท่านั้น คือทุกอย่างเราหันมาทางสุขภาพมากขึ้นเลยค่ะ ความต้องการที่อยากจะได้อะไรต่างๆ ก็ลดลง เราหันกลับมาพอเพียง พึ่งพาตัวเองมากขึ้น เปลี่ยนหมดเลย วิถีชีวิต ความคิดเราเปลี่ยนหมด แต่อันนี้ก็ต้องค่อยๆ ปรับนะคะ ไม่ใช่แบบสุดโต่งไปเลยทีเดียว
อีกอย่างที่สำคัญคือการให้ อย่างข้างบ้านตอนที่เปิ้ลทำงานเป็นแอร์ฯ เราไม่เคยคุยกันเลยนะคะ พอเรามาทำเกษตรปลูกผัก เอาผักไปแบ่งปันเขา เขาก็เอานู่นเอานี่มาแบ่งปันเราบ้าง และเปิ้ลก็ได้เอาความรู้ที่เปิ้ลได้มา เอาไปสอนคนพิการ สอนเด็กนักเรียนแถวจังหวัดสระบุรีที่เขาไม่มีโอกาสได้รู้ ทั้งการปลูกผัก การทำอาหารต่างๆ อย่างน้ำเต้าหู้ โยเกิร์ต อะไรทำนองนี้ค่ะ คืออันนี้มันเหมือนกับเป็นวิชาชีวิตจริงๆ ที่เราต้องใช้และเราเอาไปแบ่งปันคนอื่นโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
• ถ้าพูดถึงรายได้เราได้คุ้มค่ากับที่ลาออกหรือเปล่า รายได้พอวัดจากตอนทำงานประจำแล้วต่างกันมากน้อยแค่ไหนคะ
เปิ้ลจะบอกว่ารู้แบบนี้ลาออกตั้งนานแล้ว (หัวเราะ) เปิ้ลว่าก่อนหน้านี้ เราเสียเวลาชีวิตไปกับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเราเลย เราใช้เวลากับการหาเงินมากเกิน โดยไม่รู้ว่านั่นมันคือความสุขแล้วหรือยัง แต่ก่อนที่เปิ้ลทำงานประจำ เปิ้ลยอมรับว่าได้เงินเยอะแต่เราไม่มีเวลาและไม่รู้ว่าชีวิตมันใช่หรือเปล่า แต่ที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ เงินอาจจะน้อยลง แต่ได้ใช้ชีวิตที่เรารัก ได้ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ได้เพื่อน ได้น้ำใจ ได้มิตรภาพ ได้ทำประโยชน์ให้สังคม
จริงๆ เรื่องรายได้มันได้น้อยกว่านะคะ แต่มันก็ไม่ได้ถึงกับน่าเกลียดนะคะ คือมันอาจจะได้น้อยลงมานิดหนึ่ง แต่เรามีเวลาให้ชีวิตมากขึ้น ไม่ต้องไปทำงานจันทร์ถึงศุกร์ เราสามารถจัดเวลาแต่ละอย่างของเราได้เอง เปิ้ลมองว่าเงินไม่ใช่ความสุขทุกอย่าง ตำแหน่ง หน้าที่การงาน ชื่อเสียง มันก็ไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป ความพอเพียงมันเท่ากับธรรมะ พอเรามีธรรมะ เริ่มมีความต้องการน้อยลง เริ่มเข้าใจชีวิตอย่างแท้จริงมากขึ้น มันจะมีความสุขจริงๆ ในชีวิต ซึ่งในสังคมเมืองตอนนี้มันหลงไปคนละทิศละทางเลย เข้าใจว่ามันมีความเจริญทางด้านวัตถุ แต่พอเราได้มาใช้ชีวิตแบบนี้ เราต้องมองอีกด้านหนึ่งเลยค่ะ ลองหรือยัง ลองใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายดูก่อน อย่างทุกอาทิตย์ต้องไปกินข้าว กินเหล้ากับเพื่อน ลองกลับไปบ้านแล้วทำกับข้าวกินเองหรือลองปลูกผักง่ายๆ ที่คุณต้องซื้อทุกวัน อย่างเช่น กะเพรา ตะไคร้ ใบมะกรูด ลองสิ่งที่มันเล็กๆ ดูก่อนแล้วชีวิตมันจะเริ่มปรับ เริ่มเห็นมากขึ้นว่าจริงๆ แล้วเงินเป็นสิ่งจำเป็น แต่มันไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต
ทุกวันนี้เปิ้ลไม่คิดว่าตัวเองคิดผิดเลยนะคะ แล้วก็ไม่คิดว่าจะกลับไปด้วย คิดว่าตัวเองมาถูกทางแล้ว เพราะที่ทำอยู่ทุกวันนี้มันใช่ ชีวิตมันใช่อย่างที่ควรจะเป็น ชีวิตเราได้เป็นชีวิตที่แท้จริง
• ในฐานะที่เป็นเกษตรกร ตอนนี้เราคิดอย่างไรกับอาชีพนี้บ้างคะ
งานเกษตรต้องบอกก่อนว่าเหนื่อยไหม ตอบเลยว่าเหนื่อย ร้อนไหม ตอบเลยว่าร้อน แต่ในความเหนื่อยกับความร้อน ถ้ามันเป็นสิ่งที่เรารัก มันจะไม่รู้สึกแบบนั้นค่ะ ส่วนตัวเปิ้ลจะไม่มองว่าเราทำแล้วเราจะต้องได้เงินเท่าไหร่หรือเราอยากทำแล้วเราต้องรวยกับสิ่งที่เราอยากทำ เพราะถ้าคุณยึดคำว่ารวยเป็นอันดับแรก คุณไม่มีความสุขแน่ๆ เพราะที่เปิ้ลทำทั้งหมด เปิ้ลมีความสุขนะคะ ไม่เคยคิดว่ามันเป็นงานหนัก สิ่งที่เราทำคือเราชอบทั้งหมด เพราะยิ่งทำ เราก็ยิ่งต่อยอดได้เยอะขึ้น
อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่สำคัญ ไม่ได้ต่ำไปกว่าอาชีพอื่น จริงๆ คุณต้องขอบคุณเกษตรกรด้วยซ้ำ ต้องมองว่าเขามีบุญคุณด้วยซ้ำ ไม่เชื่อคุณลองมาปลูกข้าวดูสิ กว่าจะได้แต่ละเม็ด มันยากมาก คุณลองไม่มีข้าวกิน ไม่มีผัก ไม่มีผลไม้กินดูสิ ชีวิตคุณอยู่ได้ไหม ต้องคิดแบบนี้ คือโอเค คุณไม่มีสตาร์บัคส์กิน คุณอยู่ได้ แต่ถ้าคุณไม่มีข้าว ไม่มีผัก ไม่มีผลไม้กิน คุณอยู่ได้ไหม แล้วแบบนี้คุณคิดว่าเกษตรสำคัญหรือเปล่า ฉะนั้น ต้องปรับเรื่องของมุมมองใหม่
คำว่าเกษตรกรสมัยนี้ ไม่ใช่แค่คนปลูกนะคะ เพราะเกษตรสมัยนี้เขามีความสามารถนำผลิตภัณฑ์มาแปรรูปแล้วก็ทำสิ่งดีๆ ให้เราได้กินได้ใช้ด้วย คนสมัยนี้ เด็กๆ สมัยนี้ก็คิดตรงกันข้ามแล้วนะคะ ซึ่งมีหลายคนก็อยากจะทำแบบนี้มาทำอะไรของตัวเองมากขึ้น มาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่มากขึ้น เขาไม่อยากทำงานออฟฟิศแล้ว
เปิ้ลว่าเราต้องก้าวทันโลกแล้วนะคะ เปลี่ยนมุมมองความคิดเดิมๆ ทิ้งซะ ลองมองดูว่าทำไมผู้คนหันมาใช้ชีวิตในแบบนี้มากขึ้น เพราะบางคนเขาเบื่อระบบทุนนิยม เขาเบื่อระบบในออฟฟิศ ตื่นเช้ามาตี 5 ฝ่ารถติด 2 ชั่วโมงเพื่อไปทำงานให้ทัน มันไม่ใช่อีกแล้วนะ (หัวเราะ) เพราะฉะนั้น เราต้องหาสิ่งที่เรารักจริงๆ ได้แล้ว อย่างน้อยเสาร์อาทิตย์ก็มีนะ ไม่จำเป็นต้องมาเป็นเกษตรกรเต็มตัวก็ได้ อย่างบางคนก็เอาวันหยุดมาทำดูก่อน เปิ้ลจะบอกว่ามันต้องเริ่มอย่างใดอย่างหนึ่งในชีวิตที่เราสนใจ ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเปิ้ลก็ได้
• อยากให้การเกษตรในประเทศเปลี่ยนหรือเป็นไปในทางไหนบ้าง เพราะว่าสมัยนี้ที่เห็นๆ กันอยู่ว่ายังมีเกษตรกรหลายรายขาดทุนอยู่เยอะมาก
เปิ้ลมองว่าเกษตรกรที่เขาทำขาดทุน เพราะเขาทำเคมี เพราะต้องมีค่าปุ๋ย ค่ายา แต่ถ้าหันกลับมาเป็นวิถีเกษตรอินทรีย์ซึ่งคุณจะทำเหมือนกับรุ่นปู่ย่าตายายที่เราเคยทำมา คือถ้าคุณมีวัวควาย คุณก็สามารถเอาขี้วัวขี้ควายมาทำปุ๋ยได้ สามารถปรับปรุงพื้นดินโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำ ต้องบอกว่าที่เขาขาดทุนมาจากอะไร ขาดทุนมาจากราคาเท่าเดิมแต่ต้องใช้ต้นทุนมากขึ้น ฉะนั้น ต้องลดต้นทุน หันมาทำเป็นเกษตรอินทรีย์ ทำปุ๋ยเอง หมักปุ๋ยเอง ทั้งปุ๋ยหมักแห้ง ปุ๋ยหมักน้ำ ทำเองอย่าไปซื้อ นี่มันคือปัญหาของเกษตรกรไทยทั่วประเทศเลยนะคะว่าทำแล้วจน เพราะต้องไปเสียค่ายา ค่าปุ๋ย ต้องลองปรับ ซึ่งมันก็ยาก เพราะเท่าที่เปิ้ลเคยลงพื้นที่ก็ยังมีคนทำเคมีกันเยอะอยู่ คือเขามีระบบหนี้อยู่ด้วย อันนี้ต้องยอมรับ คือเกษตรกรติดหนี้อยู่แล้ว ถ้าให้เขาเปลี่ยนมาทำแบบใหม่ เขาก็กลัวว่าจะได้ผลผลิตน้อย เงินน้อยลง แต่ตรงนี้เปิ้ลว่าเราต้องกล้าที่จะลองปรับดู เพราะว่ามันต้นทุนน้อยลง แต่ขายได้มากขึ้นจริงๆ เพราะสมัยนี้คนสนใจมากขึ้นด้วย แล้วราคาก็ขายได้สูงขึ้น
ความเข้าใจของเปิ้ลคือเกษตรกรที่ดีต้องควบคุมในเรื่องของการผลิตและธรรมชาติคู่กันได้ แล้วต้องเลี้ยงตัวเองได้ด้วย เหมือนใช้เกษตรอินทรีย์มันได้ผลผลิตจริง แต่มันต้องมีรายจ่ายและรายรับที่สมดุล ไม่อย่างนั้นทำไปยิ่งยากจน มันไม่ใช่
อีกอย่างเกษตรที่ดีต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าทำยังไงก็ทำอย่างนั้นตลอดมันจะไม่มีความก้าวหน้าและเกษตรกรเมืองไทย ต้องรู้จักนำผลผลิตมาแปรรูป ไม่อย่างนั้น เราปลูกผักมาเอาผักไปขายได้ 10 บาท 20 บาท แบบนั้นอาจจะอยู่ไม่ไหว เราต้องมีการพัฒนาเอามาแปรรูปให้เข้ากับความต้องการในยุคนี้ด้วย อย่างทำข้าวเราอาจจะแปรรูปมาทำชาข้าว มันจะได้เพิ่มในเรื่องของผลผลิต เพิ่มมูลค่าของสินค้าได้
• ในอนาคต เราวางแผนกับงานด้านการเกษตรอย่างไรต่อไปบ้างคะ
ในอนาคต เปิ้ลอยากปลูกป่า 3 อย่าง คือมีป่าไว้กิน ป่าไว้ใช้ ป่าที่เป็นป่าไม้เศรษฐกิจ แล้วอีกอย่างที่ตั้งใจ ถ้ามีที่ มีสวนที่ปรับปรุงแล้ว เปิ้ลจะปลูกเป็นไม้ 77 จังหวัดอยู่ในพื้นที่ มีป้ายกำกับว่าจังหวัดอะไร เพื่อเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้คนมาศึกษา จะให้เป็นศูนย์รวมต้นไม้ประจำจังหวัด
ส่วนเรื่องผลิตภัณฑ์ก็จะต่อยอดไปเรื่อยๆ ปีนี้ เปิ้ลคิดอยากทำหลายอย่าง อย่างข้าวที่เราปลูกได้ กำลังคิดอยู่ว่าเราจะเอาทำผงพอกหน้า หรือไม่ก็ใส่ในสบู่ และเราวางแผนว่าจะปลูกชาออแกนิก คือจะบอกว่าที่บ้านเปิ้ลจะมีล็อกหนึ่งที่เปิ้ลจัดสรรไว้เพื่อปลูกเสมุนไพร มีรางจืด ใบเตย ใบหม่อน ต้นหม่อน ใบย่านาง ที่เราคิดจะเอามาทำชาขายค่ะ
Profile ชื่อ : พภัสสรณ์ จิรวราพันธ์ ชื่อเล่น : เปิ้ล อายุ : 40 ปี อาชีพ : เกษตรกร การศึกษา : ปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ เอกการจัดการด้านโรงแรม และภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ |
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook : pretty ple, Facebook : wear me natural และ Facebook : Organicspace Thailand