เด็กหนุ่มจากราชบุรีผู้ชื่นชอบกีฬาลูกหนังมาตั้งแต่เด็ก และสร้างชื่อมาตั้งแต่เรียนมัธยม เดินหน้าคว้ารางวัลนับไม่ถ้วน ก่อนถูกดึงตัวเข้าสู่สนามฟุตซอลอาชีพ และก้าวสู่ทีมชาติชุดใหญ่ “อาร์ม-ศุภวุฒิ เถื่อนกลาง” ผู้ที่สื่อเรียกขานด้วยคำ “พ่อมดฟุตซอลคนต่อไป”...
เริ่มต้นบนสนามใหญ่
ลงเอยที่สนามเล็ก
“ผมชอบดูฟุตบอลและเล่นฟุตบอลมาตั้งแต่เด็กแล้วครับ ตอนอนุบาล 2 ผมเริ่มเตะฟุตบอล เป็นดาวยิงเลย พ่อแม่ก็ว่าเราพอจะมีพรสวรรค์ พ่อผมเป็นช่างซ่อมรถที่อู่ ส่วนแม่ขายข้าวแกงที่โรงเรียนโพธาฯ แต่ท่านทั้งสองก็ให้การสนับสนุนเรามาตั้งแต่ตอนนั้น ช่วงเย็นหลังเลิกเรียน ถ้าเราเห็นพวกพี่ๆ มาเตะบอล เราอยู่ ป.1 ก็ไปเตะกับรุ่นพี่ ส่วนใหญ่ผมจะชอบเล่นกับผู้ใหญ่มากกว่า เพราะเหมือนเราพัฒนาได้เร็วด้วย”
ณ ช่วงเวลานั้น กีฬาฟุตซอลในประเทศไทย ถือว่าเป็นของใหม่มาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่เริ่มเล่นฟุตซอลมาก่อนหน้านี้ ประกอบกับช่วงเวลาที่ศุภวุฒิประสบปัญหาในการเล่นฟุตบอล เพราะไปแข่งครั้งใด ก็พ่ายแพ้กลับมาทุกที นั่นจึงทำให้เขาเปลี่ยนมาเล่นกีฬาชนิดดังกล่าวดู
“ผมเล่นฟุตบอลมาตลอด จนกระทั่งเปลี่ยนมาเล่นฟุตซอล ทีมโรงเรียนผม นักเตะมันน้อย และเวลาส่งมาเล่นที่กรุงเทพฯ แพ้แต่ละครั้งก็ 0-6 บ้าง 0-7 บ้าง เราก็มาคิดว่าทำไมสู้ไม่ได้นะ ก็ลองเปลี่ยนมาเล่นฟุตซอล แล้วทางโรงเรียนก็ส่งมาเล่นที่กรุงเทพฯ บ้าง กลับกลายเป็นว่าสามารถเอาชนะโรงเรียนเทพศิรินทร์ที่เป็นตัวเต็งของรายการได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ อาจารย์ก็ลังเลว่าจะมาดีมั้ย เพราะมีความกลัวตั้งแต่เรื่องเปลืองค่ารถ ไหนไปแล้วก็แพ้กลับมาอีก แต่เรากับเพื่อนก็มีความท้าทายด้วย เลยรวมตัวกันด้วยเหตุผลแค่ว่าอยากเข้ากรุงเทพฯ แล้วก็วัดรอยเท้าของคู่แข่งด้วยว่าจะเก่งแค่ไหน
“อีกปัจจัยหนึ่ง ที่เปลี่ยนมาเล่นฟุตซอล เพราะตอนผมเด็กๆ จะมีทัวร์นาเมนต์ฟุตซอลของเบียร์ยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งจะมาจัดที่ราชบุรีบ่อยมาก วันนั้นผมก็ไปนั่งดู ก็มีพี่ๆ นักฟุตซอลขวัญใจของเราคือ อนุชา มั่นเจริญ ตอนนั้นผมยังไปขอเสื้อและขอจับมือเลย นอกจากนั้นก็มีทั้ง ภานุวัฒน์ จันทา, สมคิด ชื่นตา, เลิศชาย อิศราสุวิภากร และเทิดศักดิ์ ใจมั่น ทุกคนเป็นต้นแบบเราหมด อีกอย่าง นักฟุตบอลทีมชาติในตอนนั้น มันต้องมีแรงและตัวใหญ่ แต่ตอนเด็ก ผมผอมมากๆ หุ่นไม่ดี เวลาโดนปะทะ ก็เจ็บได้ง่าย แต่พอมาเล่นฟุตซอล การปะทะน้อยลง เราใช้ความคล่องตัวและทักษะของเราในการเล่น ผมรู้สึกว่าเอาชนะคู่ต่อสู้ได้มากกว่าฟุตบอล
“เวลาผมเล่นฟุตซอลในโรงเรียน ทุกคนชอบ ทุกคนจะมาดูทีมเราเล่น แม้กระทั่งคนรอบๆ โรงเรียนก็ยังมาดู เขาเห็นถึงมนต์เสน่ห์ของกีฬาชนิดนี้ มันมีความสนุกและตื่นเต้นเร้าใจด้วย ทุกคนเลยให้ความนิยมและให้ความรักที่จะดู ขณะที่เราก็เป็นผู้นำและกัปตันทีมของโรงเรียน จริงๆ ระบบทีมแทบจะไม่ค่อยมี มีหน้าที่แค่ยิงประตูและรวมทีม ซึ่งผมจะมีเพื่อนอยู่คนหนึ่ง ก็จะมาปรึกษากันว่า พวกโรงเรียนชั้นนำแถวหน้าของวงการ มันเล่นกันอย่างงี้นะ เคลื่อนตัวกันอย่างงี้นะ เราลองมาใช้มั่ง ประมาณนี้ คือเอาสิ่งที่ดีมาประยุกต์ใช้กับทีมเรา เราเห็นแล้วก็ทำได้ครับ ใช้ได้จริงๆ ส่วนใหญ่ผมจะไปนั่งดูเวลาที่แข่งกันเลย ยุคนั้นยังไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีคลิป อาศัยนั่งดูที่ขอบสนามเลย เช่น เทพศิรินทร์ พบกับ ปทุมคงคา เราก็ไปนั่งดูว่าโรงเรียนเหล่านั้นเขาเล่นกันยังไง มีทักษะอะไรที่ทำให้เป็นชั้นนำได้ ก็ไปนั่งศึกษาเกมที่ข้างสนามนี่แหละครับ แต่เขาไม่รู้หรอกว่าเรามาดูเพื่ออะไร (หัวเราะ)
“ขณะเดียวกัน สิ่งแวดล้อมที่บ้านผม ชุมชนแถวบ้านผม ไม่มีสิ่งไม่ดี ไม่มีสิ่งเสพติด ไม่มีอะไรที่จะพาเราไปในทางที่ผิดน่ะครับ ส่วนใหญ่ที่ออกมาก็จะเจอแต่คนวิ่ง เจอแต่นักกีฬา เจอนักบอล ก็จะเห็นแต่เรื่องกีฬา สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งต่างจังหวัด ที่ตกเย็นมา คนมาออกกำลังกายกันเต็มเลย
“สมัยนั้น เวลาเราได้ไปแข่งก็จะได้ชัยชนะมาตลอด จะเรียกได้ว่ายุคทองเลย ตอนสมัยเรียนได้ขึ้นป้ายโรงเรียนแทบทุกครั้ง จนเพื่อนๆ บ่นเลยครับ เวลาที่เรากลับมา แล้วตอนโรงเรียนจะเข้าแถวหน้าเสาธง จะมีพิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่นักกีฬาที่สร้างชื่อเสียง จนเพื่อนก็จะแซวๆ กันว่า “มึงอีกแล้วเหรอ กูร้อน” (หัวเราะเบาๆ) แต่เราก็ดีใจที่เพื่อนๆ สนใจเรา และยินดีกับเราที่ได้รางวัล”
ยอมเหนื่อยเพื่อวันข้างหน้า
เดินทางสู่ “นักฟุตซอลอาชีพ”
จากการคว้าชัยในรายการต่างๆ ไล่มาตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับภาค ไปจนถึงระดับประเทศ ชื่อของศุภวุฒิ เป็นที่กล่าวขานในวงการโต๊ะเล็กขาสั้น แต่เขายังคงฝึกซ้อมให้กับโรงเรียนต่อไปดั่งเช่นปกติที่ผ่านมา จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง...
“ผมเล่นฟุตซอลให้กับโรงเรียนในรายการต่างๆ และเริ่มพัฒนาไปเรื่อยๆ ก็เริ่มได้แชมป์นั่นนี่ รองแชมป์ควิกจูเนียร์ฟุตซอล รองแชมป์เยาวชนแห่งชาติ ก็เริ่มมีชื่อเสียงและถูกพูดถึงในวงการฟุตซอลมัธยมแล้วนะครับ จนกระทั่งวันหนึ่ง โค้ชพัทยา เปี่ยมคุ้ม โทร.มาหาเราว่าให้มาฝึกซ้อมที่กรุงเทพฯ หน่อย เพื่อไปเล่นลีก แต่เขาไม่บอกนะว่าทีมอะไร คือสนใจที่อยากจะให้มาเล่นในลีก ตอนนั้นเราอยู่ ม.6 และยังต้องเรียนหนังสือด้วย จนต้องปรึกษาพ่อกับแม่ และได้ข้อสรุปว่าไปกัน พ่อแม่เป็นคนขับรถพาไป แต่ก็มีปัญหาหลายอย่างเหมือนกันครับในช่วงนั้น หนึ่ง เรื่องของการพักผ่อน สอง เรื่องของเวลาที่เราจะไป คือเราไม่ได้เรียนถึง 2 คาบ เพื่อที่จะไปซ้อมฟุตซอลที่กรุงเทพฯ ต้องขออาจารย์ แถมช่วงนั้นก็เป็นเทอม 2 ด้วย ถ้าพลาดไปก็อาจจะไม่จบ เวลาเรียนไม่พอ แต่วันนั้นก็ไปกัน
“พอเราได้เข้าไปครั้งแรก ตกใจเลยครับ เพราะเจอกับพี่ๆ นักฟุตซอลต้นแบบของเราทั้งนั้นเลย เรางงเลย เพราะเราไม่เคยคิดเลยว่าจะมาอยู่กับทีมนี้ (ธอส. อาร์แบค หรือ ชลบุรี บลูเวฟ ในปัจจุบัน) เหมือนฝันมากกว่า แถมตอนแรกก็คิดว่าเป็นทีมปกติ พ่อแม่เองก็ตกใจเหมือนกับเรา พอเข้าไปปุ๊บ เรารู้สึกเลยว่าต้องมาฝึกซ้อมกับพี่ๆ เขาเลยเหรอ พอซ้อมไปได้หนึ่งอาทิตย์ เราก็ได้เป็นนักฟุตซอลฝึกหัด แต่ก่อนตัดสินใจเล่น ก็ปรึกษาพ่อกับแม่เหมือนกันว่า เอายังไงดี กลัวไปแล้วจะเรียนไม่จบ พ่อแม่ก็บอกว่าเดี๋ยวขออาจารย์ให้ ก็ค่อนข้างเหนื่อยนะครับ เพราะออกจากโพธารามบ่ายสอง มาถึงกรุงเทพฯ 5 โมง ซ้อม 6 โมงถึง 2 ทุ่ม ซ้อมเสร็จ ถึงบ้านเที่ยงคืน ตีหนึ่งนอน ตื่นเช้าไปเรียน ใช้ชีวิตอย่างนี้ 4-5 เดือน แต่เราก็ยอมเหนื่อย
“ตอนนั้นยอมรับเลยว่าเกร็ง เพราะพวกพี่ๆ เขาเก่งมาก บอลอาชีพกับบอลโรงเรียนนี่มันต่างกันนะ ของโรงเรียนนี่คือเล่นตามใจ ไม่สนอะไรทั้งนั้น ขอแค่ให้ยิงเข้าก็พอ แต่พอเป็นอาชีพ คุณจะไปเล่นแบบนั้นไม่ได้ ก็ต้องมีจังหวะในการเล่น ดึงเกมบ้าง มันมีการผสมผสานกันไป แต่เราก็ได้เรียนรู้จากโค้ชที่ดีและทีมที่ดี และในเมื่อเราอยู่ในทีมที่เก่ง เราก็ต้องเก่งตามไปด้วย นี่แหละครับคือสิ่งที่ผมได้กลับมา
“แต่ตอนเข้าไปใหม่ๆ จากที่เราพกความมั่นใจไปเต็มเปี่ยม เพราะคิดว่าเราก็เจ๋งในบอลนักเรียน แต่พอไปเล่นตรงนั้นจริงๆ ความมั่นใจก็มีลดลงบ้างครับ แต่สุดท้ายก็กลับมาถามตัวเองว่าเพราะอะไรถึงกลัวและไม่มั่นใจ ก็กลับไปคิดและหาข้อผิดพลาด จนพบว่าเรามันกลัวไปเอง ทุกอย่างที่เราเล่น มันเป็นธรรมชาติ อย่าไปคิดว่าเล่นตามรูปแบบ ตอนนั้นความท้อไม่มี แต่เป็นความกลัวของเราไปเอง
“ผมเข้าไปปีแรก ประมาณปี 2007 - 2008 ก็พอได้เล่นบ้าง แต่จริงๆ จะเป็นแค่ตัวสำรองก่อน แต่ด้วยจังหวะและโชคชะตาด้วยมั้งครับ ช่วงนั้น เพื่อนๆ ในทีมโดนแบนและเจ็บกันเยอะ ทำให้ผู้เล่นน้อยลง และตอนนั้นผมเล่นในตำแหน่งข้างหน้า พอดีเพื่อนเจ็บหมดเลย ในแมตช์ที่ต้องเจอกับแคท เทเลคอม ประมาณว่าทีมอันดับ 1 เจออันดับ 2 เหมือนบาร์ซ่า กับ มาดริด แถมวันนั้นเป็นวันถ่ายทอดสดออกทีวีด้วย และเป็นเกมแรกที่ผมได้มีชื่อเป็นตัวจริง ทั้งที่ก่อนหน้านั้นได้แต่ซ้อมมาตลอด ไม่เคยมีชื่อมาก่อนเลย ได้ลงเล่นกับพี่ภานุวัฒน์ พี่เลิศชาย ถือเป็นการเล่นชุดใหญ่ครั้งแรก แล้วถ่ายทอดสดกลับไปทางบ้าน มันเป็นครั้งแรกของทั้งหมดเลย ทั้งได้ลงเล่นและถ่ายทอดสดออกทีวี มีครบเลย ดีใจ ขนลุก ก็ทำได้ดีครับ แม้ว่าวันนั้นจะไม่ได้ยิง แต่ก็สามารถทำให้เกมต่อเนื่องได้ ช่วยทีมด้วย หลังจากนั้นมาก็ขึ้นมาเรื่อยๆ
“ตอนนั้นรู้สึกดีใจมากๆ ที่เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก หลังจากนั้นก็มีชื่อมาเรื่อยๆ แต่อย่างน้อยๆ ขอให้เราไปอยู่ในสแตนด์ก็ได้ ไม่ใช่ในสถานะคนดู ได้เปลี่ยนชุดลงบ้างก็ดีใจ พอปีนั้นจบ ปีต่อมาก็ได้ขึ้นเป็นตัวหลักให้สโมสร และติดทีมชาติชุดใหญ่ คือตอนนั้น มีโค้ชปูปิสนี่แหละครับ เห็นผมว่ามีทักษะที่ดี มีร่างกายสรีระที่เหมาะ โค้ชก็เอาผมไปเล่นรายการสี่เส้าที่อิหร่าน ประมาณปี 2010 ดีใจมาก ได้ขึ้นเครื่องบินครั้งแรก (หัวเราะ) ได้ไปต่างประเทศครั้งแรก เพราะเราก็เป็นเด็กบ้านนอกคนหนึ่งที่มาตามฝัน
“ขณะเดียวกัน ก็เริ่มมีนักข่าวให้ความสนใจ และตั้งฉายาให้กับผมว่า “พ่อมดฟุตซอลคนต่อไป” ซึ่งคำนี้มันเหมือนแบกน้ำหนักผมอีกแล้ว ตอนนั้นผมก็ยังคุยกับที่บ้านเหมือนกันนะว่า ทำไมต้องให้เราเป็นพ่อมดด้วยนะ ทั้งๆ ที่เรายังเล่นแค่ไม่กี่ปีเอง แล้วเราก็แอบสงสัยเหมือนกันว่ามันใช่เหรอ มันเร็วไปหรือเปล่า เพราะเราเพิ่งมาแค่นี้เอง ตอนนั้นก็ไม่เข้าใจเหมือนกันครับ แต่ผมจะเป็นคนที่ชอบแบบนี้อยู่แล้วครับ คือชอบความท้าทายมาตั้งแต่เด็ก สิ่งไหนที่เราบอกว่าทำไม่ได้ มันก็จะไม่ได้ครับ คือเราต้องคิดก่อนว่า เราต้องทำได้ มันก็จะมาเอง”
สู่ตำแหน่งกองหน้า
ตัวความหวังของทีมชาติไทย
จากการแข่งขันในวันนั้น นำพาศุภวุฒิก้าวขึ้นสู่จุดการเป็นนักฟุตซอลตัวหลักให้กับทีมชลบุรี บลูเวฟ และเป็นสูตรสำเร็จของนักกีฬา นั่นคือ ถูกเรียกตัวให้ติดทีมชาติ ด้วยวัยยังไม่ถึง 20 ดี แถมยังได้ไปฝึกประสบการณ์ถึงประเทศสเปน ดินแดนแห่งฟุตซอลชั้นแนวหน้าของโลกถึง 3 สัปดาห์
“หลังจากผมติดทีมชาติ ยู21 แล้วมันก็จะมีชิงแชมป์โลกที่บราซิล รายการนั้นไม่ได้บินไป แต่มีชื่อที่คัดเลือกไป คือทางพี่ป๋อม (อดิศักดิ์ เบ็ญจศิริวรรณ) ผู้จัดการทีมเห็นว่า ถ้าเอาเราไป ก็เหมือนกับเสียความมั่นใจไป เพราะว่าระดับเอเชียยังไม่ผ่านเลย พอจบรายการนั้น พี่ป๋อมก็ส่งเราไปฝึกที่สเปน 2-3 อาทิตย์ ไปอยู่กับ Santiago Futsal ซึ่งทีมนี้เป็นทีมอันดับ 3 ของฟุตซอลที่นั่น มีดาวรุ่งเยอะ และคนที่ผ่านสโมสรนี้ได้ ก้าวต่อไปมีโอกาสติดทีมชาติสเปนได้
“ผมไปเรียนรู้ทุกอย่าง จนทำให้เรารู้ทักษะของฟุตซอลมากขึ้น ตอนไปสัปดาห์แรกก็ถือว่าโหดเหมือนกัน ซ้อมหนัก วันละ 2 เวลา เช้าเย็น ฟิตเนสก็หนัก จนเราเริ่มท้อว่าทำไมซ้อมหนักจังวะ ตอนอยู่ไทยยังไม่เท่านี้เลย พอมาอาทิตย์ที่ 2 เริ่มปรับตัวได้ เราก็สนุกกับการเล่น พอสัปดาห์ที่ 3 ไม่อยากกลับแล้ว อยากอยู่ที่นั่นเลย เริ่มสนุก (หัวเราะ) แต่ไปฝึกที่นั่นมา ถือว่าได้ประสบการณ์ที่เยอะอยู่ เหมือนกับเราเป็นผู้เล่นที่ดีด้วย พวกพี่ๆ ก็จะหาทางให้เรา”
ถึงแม้ว่าเขาจะประสบความสำเร็จมาโดยตลอดในเส้นทาง แต่อุปสรรคก็ได้สร้างบทเรียนให้กับเขาด้วยเช่นกัน เพราะในเวลาต่อมา ศุภวุฒิก็ได้ออกเดินทางไปค้าแข้งนอกประเทศครั้งแรก ณ ประเทศอิหร่าน แต่ด้วยองค์ประกอบที่ไม่เอื้ออำนวยทั้งหมด ก็ทำให้เขาค้าแข้งที่ลีกแห่งนั้นได้เพียง 2 เดือนเท่านั้น
“กลับมาจากสเปน ก็ไปเล่นให้ชลบุรีประมาณปีหนึ่ง และก็ไปเล่นที่อิหร่าน 2 เดือน แต่ไปอิหร่าน ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเลย เพราะยังเด็กด้วย ประมาณ 22 คือเราไม่สามารถปรับตัวในเรื่องภาษา วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม มันอยู่ลำบากน่ะครับ แล้วอยู่ตัวคนเดียวด้วย รู้ว่าสภาพจิตใจไม่พร้อม หรือว่าเล่นไปแล้วไม่มีความสุข จนสุดท้าย ขอกลับบ้าน ยกเลิกสัญญา
“จนกระทั่งการแข่งขันฟุตซอลโลก 2012 ที่เมืองไทย กำลังจะมาถึง ผมก็กลับมาร่วมทีมเพื่อทำการแข่งขันในครั้งนี้ ซึ่งถือว่ามีการเตรียมทีมที่ดี เก็บตัวที่ยุโรป ไปสเปน อังกฤษ ไปทั่วเลย แล้วก็กลับมาเตรียมทีมที่ไทย ฟุตซอลโลกเป็นรายการที่ยิ่งใหญ่ ที่ทุกคนอยากจะเล่น และมันเป็นความใหม่สำหรับเราเลย ในรายการนี้ ส่วนใหญ่ครั้งแรกกันหมดทุกคน ก่อนหน้านั้นผมก็บอกทุกคนเลยว่า จะพาไทยเข้ารอบสองให้ได้ และพวกเราก็ทำได้ครับ คือชุดนี้ผมยอมรับเรื่องจิตใจมากครับ ทั้งเกม 40 นาที เวลาไม่หมด ไม่มีใครหยุดวิ่ง มีความกระหายที่จะได้ชัยชนะ และผมก็ยิงประตูที่สวยที่สุดในทัวร์นาเมนต์ด้วย และลูกยิงนั้นถือเป็นลูกที่ทำให้ผมมีวันนี้ด้วยนะ ทำให้เกิดกระแสในโลกออนไลน์ เพอร์เฟกต์หมดทุกอย่าง ประตูออกบอลมา จับด้วยขวาแล้วยิงด้วยซ้าย มันก็เลยทำให้โลกโซเชียลโหวตให้ประตูของเราเป็นลูกที่สวยที่สุดในทัวร์นาเมนต์นั้น
“หลังจากจบทัวร์นาเมนต์นั้น สื่อมวลชนทั้งในและนอกประเทศก็ให้ความสนใจกับตัวผมเต็มไปหมดเลย ทั้งสายกีฬาและสายอื่นๆ มีคนรู้จักเรามากขึ้น เหมือนเปลี่ยนชีวิตเลยครับ แต่เราก็ยังเป็นเหมือนเดิมครับ เพียงแค่ว่าผลตอบแทนที่ได้กลับมา ทำให้คนรู้จักเรามากขึ้น เรื่องของกองเชียร์ แฟนคลับ มันก็จะมีทั้งกับทีมและตัวเรา มองในแง่ดีตรงนี้มากกว่า แต่พอมีคนรู้จัก เราก็ยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไม่ใช่แบบเป็นสตาร์ของทีมนะ ทุกอย่างเหมือนเดิมหมด ความเป็นสตาร์หรืออะไรอย่างนั้น มันอยู่แค่ในสนาม
“อย่างไรก็ตาม ผมยังไม่หยุดแค่นี้แน่นอนครับ ตอนนี้ผมเชื่อว่ามันเป็นครึ่งทางของเราแล้ว ที่ผมมาถึงระดับนี้และได้รับรางวัลต่างๆ มีคนชื่นชม แต่ผมยังไม่หยุดแน่นอน เพราะผมก็อยากจะมีประสบการณ์ในการค้าแข้งต่างประเทศ เราคิดเสมอว่าเราเก่งหรือยัง ได้แชมป์แทบทุกปีในประเทศไทย เหมือนเราเก่งแค่ในบ้านเรา เราต้องไปเผชิญหน้ากับประสบการณ์และความท้าทายใหม่ในสักวันให้ได้ และอีกหนึ่งเป้าหมายคือ อยากพาทีมชาติไทยติด 1 ใน 10 ทีมของโลกให้ได้ ในช่วงชีวิตของเรา และอยากเป็น 10 สตาร์เด่นในเวทีโลก ซึ่งเราก็ต้องพยายามตั้งใจกันต่อไป”
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ปวริศร์ แพงราช และ อินสตาแกรม suphawut_9
เริ่มต้นบนสนามใหญ่
ลงเอยที่สนามเล็ก
“ผมชอบดูฟุตบอลและเล่นฟุตบอลมาตั้งแต่เด็กแล้วครับ ตอนอนุบาล 2 ผมเริ่มเตะฟุตบอล เป็นดาวยิงเลย พ่อแม่ก็ว่าเราพอจะมีพรสวรรค์ พ่อผมเป็นช่างซ่อมรถที่อู่ ส่วนแม่ขายข้าวแกงที่โรงเรียนโพธาฯ แต่ท่านทั้งสองก็ให้การสนับสนุนเรามาตั้งแต่ตอนนั้น ช่วงเย็นหลังเลิกเรียน ถ้าเราเห็นพวกพี่ๆ มาเตะบอล เราอยู่ ป.1 ก็ไปเตะกับรุ่นพี่ ส่วนใหญ่ผมจะชอบเล่นกับผู้ใหญ่มากกว่า เพราะเหมือนเราพัฒนาได้เร็วด้วย”
ณ ช่วงเวลานั้น กีฬาฟุตซอลในประเทศไทย ถือว่าเป็นของใหม่มาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่เริ่มเล่นฟุตซอลมาก่อนหน้านี้ ประกอบกับช่วงเวลาที่ศุภวุฒิประสบปัญหาในการเล่นฟุตบอล เพราะไปแข่งครั้งใด ก็พ่ายแพ้กลับมาทุกที นั่นจึงทำให้เขาเปลี่ยนมาเล่นกีฬาชนิดดังกล่าวดู
“ผมเล่นฟุตบอลมาตลอด จนกระทั่งเปลี่ยนมาเล่นฟุตซอล ทีมโรงเรียนผม นักเตะมันน้อย และเวลาส่งมาเล่นที่กรุงเทพฯ แพ้แต่ละครั้งก็ 0-6 บ้าง 0-7 บ้าง เราก็มาคิดว่าทำไมสู้ไม่ได้นะ ก็ลองเปลี่ยนมาเล่นฟุตซอล แล้วทางโรงเรียนก็ส่งมาเล่นที่กรุงเทพฯ บ้าง กลับกลายเป็นว่าสามารถเอาชนะโรงเรียนเทพศิรินทร์ที่เป็นตัวเต็งของรายการได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ อาจารย์ก็ลังเลว่าจะมาดีมั้ย เพราะมีความกลัวตั้งแต่เรื่องเปลืองค่ารถ ไหนไปแล้วก็แพ้กลับมาอีก แต่เรากับเพื่อนก็มีความท้าทายด้วย เลยรวมตัวกันด้วยเหตุผลแค่ว่าอยากเข้ากรุงเทพฯ แล้วก็วัดรอยเท้าของคู่แข่งด้วยว่าจะเก่งแค่ไหน
“อีกปัจจัยหนึ่ง ที่เปลี่ยนมาเล่นฟุตซอล เพราะตอนผมเด็กๆ จะมีทัวร์นาเมนต์ฟุตซอลของเบียร์ยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งจะมาจัดที่ราชบุรีบ่อยมาก วันนั้นผมก็ไปนั่งดู ก็มีพี่ๆ นักฟุตซอลขวัญใจของเราคือ อนุชา มั่นเจริญ ตอนนั้นผมยังไปขอเสื้อและขอจับมือเลย นอกจากนั้นก็มีทั้ง ภานุวัฒน์ จันทา, สมคิด ชื่นตา, เลิศชาย อิศราสุวิภากร และเทิดศักดิ์ ใจมั่น ทุกคนเป็นต้นแบบเราหมด อีกอย่าง นักฟุตบอลทีมชาติในตอนนั้น มันต้องมีแรงและตัวใหญ่ แต่ตอนเด็ก ผมผอมมากๆ หุ่นไม่ดี เวลาโดนปะทะ ก็เจ็บได้ง่าย แต่พอมาเล่นฟุตซอล การปะทะน้อยลง เราใช้ความคล่องตัวและทักษะของเราในการเล่น ผมรู้สึกว่าเอาชนะคู่ต่อสู้ได้มากกว่าฟุตบอล
“เวลาผมเล่นฟุตซอลในโรงเรียน ทุกคนชอบ ทุกคนจะมาดูทีมเราเล่น แม้กระทั่งคนรอบๆ โรงเรียนก็ยังมาดู เขาเห็นถึงมนต์เสน่ห์ของกีฬาชนิดนี้ มันมีความสนุกและตื่นเต้นเร้าใจด้วย ทุกคนเลยให้ความนิยมและให้ความรักที่จะดู ขณะที่เราก็เป็นผู้นำและกัปตันทีมของโรงเรียน จริงๆ ระบบทีมแทบจะไม่ค่อยมี มีหน้าที่แค่ยิงประตูและรวมทีม ซึ่งผมจะมีเพื่อนอยู่คนหนึ่ง ก็จะมาปรึกษากันว่า พวกโรงเรียนชั้นนำแถวหน้าของวงการ มันเล่นกันอย่างงี้นะ เคลื่อนตัวกันอย่างงี้นะ เราลองมาใช้มั่ง ประมาณนี้ คือเอาสิ่งที่ดีมาประยุกต์ใช้กับทีมเรา เราเห็นแล้วก็ทำได้ครับ ใช้ได้จริงๆ ส่วนใหญ่ผมจะไปนั่งดูเวลาที่แข่งกันเลย ยุคนั้นยังไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีคลิป อาศัยนั่งดูที่ขอบสนามเลย เช่น เทพศิรินทร์ พบกับ ปทุมคงคา เราก็ไปนั่งดูว่าโรงเรียนเหล่านั้นเขาเล่นกันยังไง มีทักษะอะไรที่ทำให้เป็นชั้นนำได้ ก็ไปนั่งศึกษาเกมที่ข้างสนามนี่แหละครับ แต่เขาไม่รู้หรอกว่าเรามาดูเพื่ออะไร (หัวเราะ)
“ขณะเดียวกัน สิ่งแวดล้อมที่บ้านผม ชุมชนแถวบ้านผม ไม่มีสิ่งไม่ดี ไม่มีสิ่งเสพติด ไม่มีอะไรที่จะพาเราไปในทางที่ผิดน่ะครับ ส่วนใหญ่ที่ออกมาก็จะเจอแต่คนวิ่ง เจอแต่นักกีฬา เจอนักบอล ก็จะเห็นแต่เรื่องกีฬา สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งต่างจังหวัด ที่ตกเย็นมา คนมาออกกำลังกายกันเต็มเลย
“สมัยนั้น เวลาเราได้ไปแข่งก็จะได้ชัยชนะมาตลอด จะเรียกได้ว่ายุคทองเลย ตอนสมัยเรียนได้ขึ้นป้ายโรงเรียนแทบทุกครั้ง จนเพื่อนๆ บ่นเลยครับ เวลาที่เรากลับมา แล้วตอนโรงเรียนจะเข้าแถวหน้าเสาธง จะมีพิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่นักกีฬาที่สร้างชื่อเสียง จนเพื่อนก็จะแซวๆ กันว่า “มึงอีกแล้วเหรอ กูร้อน” (หัวเราะเบาๆ) แต่เราก็ดีใจที่เพื่อนๆ สนใจเรา และยินดีกับเราที่ได้รางวัล”
ยอมเหนื่อยเพื่อวันข้างหน้า
เดินทางสู่ “นักฟุตซอลอาชีพ”
จากการคว้าชัยในรายการต่างๆ ไล่มาตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับภาค ไปจนถึงระดับประเทศ ชื่อของศุภวุฒิ เป็นที่กล่าวขานในวงการโต๊ะเล็กขาสั้น แต่เขายังคงฝึกซ้อมให้กับโรงเรียนต่อไปดั่งเช่นปกติที่ผ่านมา จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง...
“ผมเล่นฟุตซอลให้กับโรงเรียนในรายการต่างๆ และเริ่มพัฒนาไปเรื่อยๆ ก็เริ่มได้แชมป์นั่นนี่ รองแชมป์ควิกจูเนียร์ฟุตซอล รองแชมป์เยาวชนแห่งชาติ ก็เริ่มมีชื่อเสียงและถูกพูดถึงในวงการฟุตซอลมัธยมแล้วนะครับ จนกระทั่งวันหนึ่ง โค้ชพัทยา เปี่ยมคุ้ม โทร.มาหาเราว่าให้มาฝึกซ้อมที่กรุงเทพฯ หน่อย เพื่อไปเล่นลีก แต่เขาไม่บอกนะว่าทีมอะไร คือสนใจที่อยากจะให้มาเล่นในลีก ตอนนั้นเราอยู่ ม.6 และยังต้องเรียนหนังสือด้วย จนต้องปรึกษาพ่อกับแม่ และได้ข้อสรุปว่าไปกัน พ่อแม่เป็นคนขับรถพาไป แต่ก็มีปัญหาหลายอย่างเหมือนกันครับในช่วงนั้น หนึ่ง เรื่องของการพักผ่อน สอง เรื่องของเวลาที่เราจะไป คือเราไม่ได้เรียนถึง 2 คาบ เพื่อที่จะไปซ้อมฟุตซอลที่กรุงเทพฯ ต้องขออาจารย์ แถมช่วงนั้นก็เป็นเทอม 2 ด้วย ถ้าพลาดไปก็อาจจะไม่จบ เวลาเรียนไม่พอ แต่วันนั้นก็ไปกัน
“พอเราได้เข้าไปครั้งแรก ตกใจเลยครับ เพราะเจอกับพี่ๆ นักฟุตซอลต้นแบบของเราทั้งนั้นเลย เรางงเลย เพราะเราไม่เคยคิดเลยว่าจะมาอยู่กับทีมนี้ (ธอส. อาร์แบค หรือ ชลบุรี บลูเวฟ ในปัจจุบัน) เหมือนฝันมากกว่า แถมตอนแรกก็คิดว่าเป็นทีมปกติ พ่อแม่เองก็ตกใจเหมือนกับเรา พอเข้าไปปุ๊บ เรารู้สึกเลยว่าต้องมาฝึกซ้อมกับพี่ๆ เขาเลยเหรอ พอซ้อมไปได้หนึ่งอาทิตย์ เราก็ได้เป็นนักฟุตซอลฝึกหัด แต่ก่อนตัดสินใจเล่น ก็ปรึกษาพ่อกับแม่เหมือนกันว่า เอายังไงดี กลัวไปแล้วจะเรียนไม่จบ พ่อแม่ก็บอกว่าเดี๋ยวขออาจารย์ให้ ก็ค่อนข้างเหนื่อยนะครับ เพราะออกจากโพธารามบ่ายสอง มาถึงกรุงเทพฯ 5 โมง ซ้อม 6 โมงถึง 2 ทุ่ม ซ้อมเสร็จ ถึงบ้านเที่ยงคืน ตีหนึ่งนอน ตื่นเช้าไปเรียน ใช้ชีวิตอย่างนี้ 4-5 เดือน แต่เราก็ยอมเหนื่อย
“ตอนนั้นยอมรับเลยว่าเกร็ง เพราะพวกพี่ๆ เขาเก่งมาก บอลอาชีพกับบอลโรงเรียนนี่มันต่างกันนะ ของโรงเรียนนี่คือเล่นตามใจ ไม่สนอะไรทั้งนั้น ขอแค่ให้ยิงเข้าก็พอ แต่พอเป็นอาชีพ คุณจะไปเล่นแบบนั้นไม่ได้ ก็ต้องมีจังหวะในการเล่น ดึงเกมบ้าง มันมีการผสมผสานกันไป แต่เราก็ได้เรียนรู้จากโค้ชที่ดีและทีมที่ดี และในเมื่อเราอยู่ในทีมที่เก่ง เราก็ต้องเก่งตามไปด้วย นี่แหละครับคือสิ่งที่ผมได้กลับมา
“แต่ตอนเข้าไปใหม่ๆ จากที่เราพกความมั่นใจไปเต็มเปี่ยม เพราะคิดว่าเราก็เจ๋งในบอลนักเรียน แต่พอไปเล่นตรงนั้นจริงๆ ความมั่นใจก็มีลดลงบ้างครับ แต่สุดท้ายก็กลับมาถามตัวเองว่าเพราะอะไรถึงกลัวและไม่มั่นใจ ก็กลับไปคิดและหาข้อผิดพลาด จนพบว่าเรามันกลัวไปเอง ทุกอย่างที่เราเล่น มันเป็นธรรมชาติ อย่าไปคิดว่าเล่นตามรูปแบบ ตอนนั้นความท้อไม่มี แต่เป็นความกลัวของเราไปเอง
“ผมเข้าไปปีแรก ประมาณปี 2007 - 2008 ก็พอได้เล่นบ้าง แต่จริงๆ จะเป็นแค่ตัวสำรองก่อน แต่ด้วยจังหวะและโชคชะตาด้วยมั้งครับ ช่วงนั้น เพื่อนๆ ในทีมโดนแบนและเจ็บกันเยอะ ทำให้ผู้เล่นน้อยลง และตอนนั้นผมเล่นในตำแหน่งข้างหน้า พอดีเพื่อนเจ็บหมดเลย ในแมตช์ที่ต้องเจอกับแคท เทเลคอม ประมาณว่าทีมอันดับ 1 เจออันดับ 2 เหมือนบาร์ซ่า กับ มาดริด แถมวันนั้นเป็นวันถ่ายทอดสดออกทีวีด้วย และเป็นเกมแรกที่ผมได้มีชื่อเป็นตัวจริง ทั้งที่ก่อนหน้านั้นได้แต่ซ้อมมาตลอด ไม่เคยมีชื่อมาก่อนเลย ได้ลงเล่นกับพี่ภานุวัฒน์ พี่เลิศชาย ถือเป็นการเล่นชุดใหญ่ครั้งแรก แล้วถ่ายทอดสดกลับไปทางบ้าน มันเป็นครั้งแรกของทั้งหมดเลย ทั้งได้ลงเล่นและถ่ายทอดสดออกทีวี มีครบเลย ดีใจ ขนลุก ก็ทำได้ดีครับ แม้ว่าวันนั้นจะไม่ได้ยิง แต่ก็สามารถทำให้เกมต่อเนื่องได้ ช่วยทีมด้วย หลังจากนั้นมาก็ขึ้นมาเรื่อยๆ
“ตอนนั้นรู้สึกดีใจมากๆ ที่เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก หลังจากนั้นก็มีชื่อมาเรื่อยๆ แต่อย่างน้อยๆ ขอให้เราไปอยู่ในสแตนด์ก็ได้ ไม่ใช่ในสถานะคนดู ได้เปลี่ยนชุดลงบ้างก็ดีใจ พอปีนั้นจบ ปีต่อมาก็ได้ขึ้นเป็นตัวหลักให้สโมสร และติดทีมชาติชุดใหญ่ คือตอนนั้น มีโค้ชปูปิสนี่แหละครับ เห็นผมว่ามีทักษะที่ดี มีร่างกายสรีระที่เหมาะ โค้ชก็เอาผมไปเล่นรายการสี่เส้าที่อิหร่าน ประมาณปี 2010 ดีใจมาก ได้ขึ้นเครื่องบินครั้งแรก (หัวเราะ) ได้ไปต่างประเทศครั้งแรก เพราะเราก็เป็นเด็กบ้านนอกคนหนึ่งที่มาตามฝัน
“ขณะเดียวกัน ก็เริ่มมีนักข่าวให้ความสนใจ และตั้งฉายาให้กับผมว่า “พ่อมดฟุตซอลคนต่อไป” ซึ่งคำนี้มันเหมือนแบกน้ำหนักผมอีกแล้ว ตอนนั้นผมก็ยังคุยกับที่บ้านเหมือนกันนะว่า ทำไมต้องให้เราเป็นพ่อมดด้วยนะ ทั้งๆ ที่เรายังเล่นแค่ไม่กี่ปีเอง แล้วเราก็แอบสงสัยเหมือนกันว่ามันใช่เหรอ มันเร็วไปหรือเปล่า เพราะเราเพิ่งมาแค่นี้เอง ตอนนั้นก็ไม่เข้าใจเหมือนกันครับ แต่ผมจะเป็นคนที่ชอบแบบนี้อยู่แล้วครับ คือชอบความท้าทายมาตั้งแต่เด็ก สิ่งไหนที่เราบอกว่าทำไม่ได้ มันก็จะไม่ได้ครับ คือเราต้องคิดก่อนว่า เราต้องทำได้ มันก็จะมาเอง”
สู่ตำแหน่งกองหน้า
ตัวความหวังของทีมชาติไทย
จากการแข่งขันในวันนั้น นำพาศุภวุฒิก้าวขึ้นสู่จุดการเป็นนักฟุตซอลตัวหลักให้กับทีมชลบุรี บลูเวฟ และเป็นสูตรสำเร็จของนักกีฬา นั่นคือ ถูกเรียกตัวให้ติดทีมชาติ ด้วยวัยยังไม่ถึง 20 ดี แถมยังได้ไปฝึกประสบการณ์ถึงประเทศสเปน ดินแดนแห่งฟุตซอลชั้นแนวหน้าของโลกถึง 3 สัปดาห์
“หลังจากผมติดทีมชาติ ยู21 แล้วมันก็จะมีชิงแชมป์โลกที่บราซิล รายการนั้นไม่ได้บินไป แต่มีชื่อที่คัดเลือกไป คือทางพี่ป๋อม (อดิศักดิ์ เบ็ญจศิริวรรณ) ผู้จัดการทีมเห็นว่า ถ้าเอาเราไป ก็เหมือนกับเสียความมั่นใจไป เพราะว่าระดับเอเชียยังไม่ผ่านเลย พอจบรายการนั้น พี่ป๋อมก็ส่งเราไปฝึกที่สเปน 2-3 อาทิตย์ ไปอยู่กับ Santiago Futsal ซึ่งทีมนี้เป็นทีมอันดับ 3 ของฟุตซอลที่นั่น มีดาวรุ่งเยอะ และคนที่ผ่านสโมสรนี้ได้ ก้าวต่อไปมีโอกาสติดทีมชาติสเปนได้
“ผมไปเรียนรู้ทุกอย่าง จนทำให้เรารู้ทักษะของฟุตซอลมากขึ้น ตอนไปสัปดาห์แรกก็ถือว่าโหดเหมือนกัน ซ้อมหนัก วันละ 2 เวลา เช้าเย็น ฟิตเนสก็หนัก จนเราเริ่มท้อว่าทำไมซ้อมหนักจังวะ ตอนอยู่ไทยยังไม่เท่านี้เลย พอมาอาทิตย์ที่ 2 เริ่มปรับตัวได้ เราก็สนุกกับการเล่น พอสัปดาห์ที่ 3 ไม่อยากกลับแล้ว อยากอยู่ที่นั่นเลย เริ่มสนุก (หัวเราะ) แต่ไปฝึกที่นั่นมา ถือว่าได้ประสบการณ์ที่เยอะอยู่ เหมือนกับเราเป็นผู้เล่นที่ดีด้วย พวกพี่ๆ ก็จะหาทางให้เรา”
ถึงแม้ว่าเขาจะประสบความสำเร็จมาโดยตลอดในเส้นทาง แต่อุปสรรคก็ได้สร้างบทเรียนให้กับเขาด้วยเช่นกัน เพราะในเวลาต่อมา ศุภวุฒิก็ได้ออกเดินทางไปค้าแข้งนอกประเทศครั้งแรก ณ ประเทศอิหร่าน แต่ด้วยองค์ประกอบที่ไม่เอื้ออำนวยทั้งหมด ก็ทำให้เขาค้าแข้งที่ลีกแห่งนั้นได้เพียง 2 เดือนเท่านั้น
“กลับมาจากสเปน ก็ไปเล่นให้ชลบุรีประมาณปีหนึ่ง และก็ไปเล่นที่อิหร่าน 2 เดือน แต่ไปอิหร่าน ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเลย เพราะยังเด็กด้วย ประมาณ 22 คือเราไม่สามารถปรับตัวในเรื่องภาษา วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม มันอยู่ลำบากน่ะครับ แล้วอยู่ตัวคนเดียวด้วย รู้ว่าสภาพจิตใจไม่พร้อม หรือว่าเล่นไปแล้วไม่มีความสุข จนสุดท้าย ขอกลับบ้าน ยกเลิกสัญญา
“จนกระทั่งการแข่งขันฟุตซอลโลก 2012 ที่เมืองไทย กำลังจะมาถึง ผมก็กลับมาร่วมทีมเพื่อทำการแข่งขันในครั้งนี้ ซึ่งถือว่ามีการเตรียมทีมที่ดี เก็บตัวที่ยุโรป ไปสเปน อังกฤษ ไปทั่วเลย แล้วก็กลับมาเตรียมทีมที่ไทย ฟุตซอลโลกเป็นรายการที่ยิ่งใหญ่ ที่ทุกคนอยากจะเล่น และมันเป็นความใหม่สำหรับเราเลย ในรายการนี้ ส่วนใหญ่ครั้งแรกกันหมดทุกคน ก่อนหน้านั้นผมก็บอกทุกคนเลยว่า จะพาไทยเข้ารอบสองให้ได้ และพวกเราก็ทำได้ครับ คือชุดนี้ผมยอมรับเรื่องจิตใจมากครับ ทั้งเกม 40 นาที เวลาไม่หมด ไม่มีใครหยุดวิ่ง มีความกระหายที่จะได้ชัยชนะ และผมก็ยิงประตูที่สวยที่สุดในทัวร์นาเมนต์ด้วย และลูกยิงนั้นถือเป็นลูกที่ทำให้ผมมีวันนี้ด้วยนะ ทำให้เกิดกระแสในโลกออนไลน์ เพอร์เฟกต์หมดทุกอย่าง ประตูออกบอลมา จับด้วยขวาแล้วยิงด้วยซ้าย มันก็เลยทำให้โลกโซเชียลโหวตให้ประตูของเราเป็นลูกที่สวยที่สุดในทัวร์นาเมนต์นั้น
“หลังจากจบทัวร์นาเมนต์นั้น สื่อมวลชนทั้งในและนอกประเทศก็ให้ความสนใจกับตัวผมเต็มไปหมดเลย ทั้งสายกีฬาและสายอื่นๆ มีคนรู้จักเรามากขึ้น เหมือนเปลี่ยนชีวิตเลยครับ แต่เราก็ยังเป็นเหมือนเดิมครับ เพียงแค่ว่าผลตอบแทนที่ได้กลับมา ทำให้คนรู้จักเรามากขึ้น เรื่องของกองเชียร์ แฟนคลับ มันก็จะมีทั้งกับทีมและตัวเรา มองในแง่ดีตรงนี้มากกว่า แต่พอมีคนรู้จัก เราก็ยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไม่ใช่แบบเป็นสตาร์ของทีมนะ ทุกอย่างเหมือนเดิมหมด ความเป็นสตาร์หรืออะไรอย่างนั้น มันอยู่แค่ในสนาม
“อย่างไรก็ตาม ผมยังไม่หยุดแค่นี้แน่นอนครับ ตอนนี้ผมเชื่อว่ามันเป็นครึ่งทางของเราแล้ว ที่ผมมาถึงระดับนี้และได้รับรางวัลต่างๆ มีคนชื่นชม แต่ผมยังไม่หยุดแน่นอน เพราะผมก็อยากจะมีประสบการณ์ในการค้าแข้งต่างประเทศ เราคิดเสมอว่าเราเก่งหรือยัง ได้แชมป์แทบทุกปีในประเทศไทย เหมือนเราเก่งแค่ในบ้านเรา เราต้องไปเผชิญหน้ากับประสบการณ์และความท้าทายใหม่ในสักวันให้ได้ และอีกหนึ่งเป้าหมายคือ อยากพาทีมชาติไทยติด 1 ใน 10 ทีมของโลกให้ได้ ในช่วงชีวิตของเรา และอยากเป็น 10 สตาร์เด่นในเวทีโลก ซึ่งเราก็ต้องพยายามตั้งใจกันต่อไป”
Profile ชื่อ สกุล : ศุภวุฒิ เถื่อนกลาง ชื่อเล่น : อาร์ม วันเกิด : 14 กรกฎาคม 2532 อายุ : 26 ปี ภูมิลำเนา : อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สโมสร : ชลบุรีบลูเวฟ เกียรติยศส่วนตัว : รางวัลดาวซัลโวสูงสุด เอเชียน อินดอร์ เกมส์ 2009 (8 ประตู) รางวัลประตูยอดเยี่ยม ฟุตซอลโลก 2012 รางวัลนักฟุตซอลยอดเยี่ยมของเอเอฟเอฟ ประจำปี 2012 รางวัลนักฟุตซอลยอดเยี่ยมของเอเอฟซี ประจำปี 2013 รางวัลดาวซัลโวสูงสุด เอเอฟซี ฟุตซอล แชมเปียนชิพ 2016 (14 ประตู) |
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ปวริศร์ แพงราช และ อินสตาแกรม suphawut_9