กลายเป็นกระแสถูกแชร์และส่งต่อด้วยเสียงชื่นชมสำหรับความงดงามตระการตาของภาพวาดนักแสดงสาว "ตั๊ก บงกช คงมาลัย" ภรรยาเจ้าสัว "บุญชัย เบญจรงคกุล" ในอิริยาบถนางสงกรานต์ทั้ง 7 โดยเบื้องหลังความงดงามของภาพวาดชุดนี้ ก็ไม่ใช่ใครอื่นใดที่ไหน หากแต่ได้แก่ "สมภพ บุตราช" ศิลปินชื่อดัง
Beauty is in the eyes of the beholder. หรือ “ความสวยงามย่อมขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ดู” คำกล่าวนี้ยังคงเป็นจริงเสมอมา เมื่อกวาดสายตามองโลกศิลปะ ภาพๆ หนึ่งขึ้นอยู่กับหลายสิ่งหลายอย่างที่ร่วมกันก่อร่างสร้างปรุงเป็นจินตนามโนนึกในความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคน ซึ่งพูดกันอย่างถึงที่สุด อาจไม่มีถูกไม่มีผิด
ขณะความงามของ “ตั๊ก-บงกช” ในภาพวาด กำลังเก็บกวาดเสียงตอบรับในทางรื่นรมย์ชมชื่นจากผู้ชม เรามีโอกาสสนทนากับผู้ตวัดปลายพู่กัน เนรมิตลายเส้นและลงสีจนก่อเกิดเป็นภาพวาดในจินตนาการอันบรรเจิดแจ่มอลังการชุดนี้ “สมภพ บุตราช” คุรุปราชญ์อีกหนึ่งท่านแห่งวงการศาสตร์ศิลป์บ้านเรา...
• จุดเริ่มต้นของงานชุดนี้มีที่มาที่ไปอย่างไรครับ
คือผมกับคุณบุญชัยรู้จักคุ้นเคยกันอยู่ก่อนแล้ว เพราะว่าคุณบุญชัยท่านชอบงานศิลปะแล้วก็สะสมงานของผมด้วย แล้วเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว ผมเขียนภาพชุดนางสงกรานต์ขึ้นมาแล้วเชิญท่านไปเป็นประธานในการเปิดงานที่อาร์เดล แกลเลอลี่ ของอาจารย์ ถาวร โกอุดมวิทย์ ตอนนั้น คุณบุญชัยกำลังหมั้น เตรียมจะแต่งงานพอดี เขาก็บอกให้ลองเขียนภาพนางสงกรานต์เป็นคุณตั๊ก ก็เลยเขียนมารูปหนึ่งมอบเป็นของขวัญแต่งงาน
หลังจากนั้น คุณบุญชัยก็เลยมีความคิดให้เขียนภาพชุดนางสงกรานต์ ให้เป็นภาพใบหน้าของคุณตั๊ก เราก็เลยได้ร่วมงานกันอีก ซึ่งผมก็ยินดีมาก เพราะว่ามีโอกาสได้แสดงงานเขียนในแนวทางที่เราชอบ เรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีไทยต่างๆ แล้วคุณบุญชัยท่านก็มีหอศิลป์ งานชุดนี้ก็ได้ไปติดแสดงให้คนได้ดู ก็ยิ่งดีใหญ่เลย อีกอย่าง คุณบุญชัยท่านให้การสนับสนุนพวกเราเหล่าศิลปิน ซึ่งมันก็หายากอยู่แล้วที่จะหาใครมาสนับสนุนศิลปะบ้านเรา ยิ่งเป็นแนวไทยๆ แนวงานเรา ดังนั้น การได้ทำงานร่วมกับคุณบุญชัยถือว่าเป็นโอกาสที่ดี เพราะเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีใครที่จะมาเขียนแนวนี้เท่าไหร่
• การจะรังสรรค์ภาพแนวเรื่องที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี เราต้องมีกระบวนการศึกษาอย่างไรบ้าง
ยกตัวอย่างงานนางสงกรานต์ชุดนี้ ผมต้องรู้สึก รู้จัก และเข้าใจมาก่อนเป็นพื้นฐาน ยุคสมัยคนในอายุรุ่นราวคราวเดียวกันก็ต้องเข้าใจเรื่องของพวกนี้อยู่แล้ว เรื่องของพุทธศาสนา เรื่องของศิลปวัฒนธรรมไทย ความเชื่อ พระแม่ธรณี พระแม่คงคา เป็นความเชื่อที่ฝังอยู่ในจิตใจมา แต่เด็กๆ สมัยใหม่อาจจะไม่รู้จัก สมัยก่อนเราเคารพธรรมชาติผ่านออกมาในรูปของเทพต่างๆ เราจะทำอะไรเกี่ยวกับน้ำ เกี่ยวกับฟ้า หรือเกี่ยวกับป่าเขา เราก็ต้องเคารพก่อน
คือคล้ายๆ ว่าเราก็อยู่ร่วมกัน มีความเคารพกัน เหมือนศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่เจ้าทางอยู่บ้าน รักษาดูแล เราก็ไม่กล้าทำสิ่งที่ไม่ดี ทำสกปรก แนวคิดแบบไทยๆ อย่างนี้ ผมว่ามันดี คือทุกคนอยู่ร่วมกัน อิงอาศัยซึ่งกันและกัน เรื่องของเทพ เทวดาต่างๆ มันก็เกี่ยวข้องในเรื่องแบบนี้
เวลาทำงาน เราก็จะจินตนาการเรื่องแบบนี้ออก อย่างเขียนเรื่องพระแม่ธรณีหรือพระแม่คงคา ก็ต้องจินตนาการออกมาว่าเป็นเทพหรือนางฟ้า ก็ต้องสวย ต้องสมบูรณ์ สมที่ปกปักดูแลธรณีหรือผู้ที่ให้กำเนิดสรรพสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ก็ศึกษาแล้วสเก็ตภาพพออกมาเป็นแนวทาง แล้วเขียนให้เหมือนจริง จะได้เข้าถึงได้ง่าย ต้องวางให้เป็นคนในลักษณะอุดมคติ แล้วเกี่ยวกับประเพณีด้วยมาผสมผสานกัน อันนี้ในส่วนของความคิด
ส่วนการสร้างภาพ ผมใช้เทคนิคที่สร้างขึ้นมาเฉพาะตัวเอง ใช้สีอะคริลิคแล้วก็เขียนสีน้ำมันผสมซ้อนลงไป เพื่อให้มันมีร่องรอยพลิ้วไหว มีเท็กเจอร์รอบๆ ภาพ ถ้าเป็นบรรยากาศ ก็จะให้มันเป็นอีกมิติหนึ่งขึ้นมา ไม่ใช่มิติอย่างที่ตาเราเห็นทั่วๆ ไป
• อะไรคือความสวยงามของคุณตั๊กในความคิดของอาจารย์
จริงๆ แล้ว ผมก็แอบใช้รูปหน้าคุณตั๊กมาเป็นแนวอยู่เรื่อยๆ แล้วก็มีดาราคนอื่นๆ ตามปกแมกกาซีนบ้าง แต่หน้าตาเค้าโครงหน้ารูปร่างเขามีเสน่ห์ สวยได้รูปทั้งโหนกแก้ม คาง คิ้ว จมูก ไม่อ่อนหวานเกิน มีความคมเข้มเหมือนผู้หญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งเดี๋ยวนี้หาได้ยาก
• ขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างไรบ้างครับ
คือคุณตั๊กเขาเป็นดารา เขาเก่งและมืออาชีพอยู่แล้ว เวลาที่ผมสเก็ตแบบไปให้ดูว่าต้องการท่าทางอย่างไร เขาก็รู้เลย บางทีผมก็ได้ลายละเอียดกลับมา เขาก็วางโน่นวางนี่ได้ แต่ว่าผมไม่ได้ไปเห็นนู้ดคุณตั๊กนะครับ ไม่ใช่อย่างนั้น คือเวลาทำงาน ผมก็ต้องสเก็ตภาพร่างออกมาก่อน แล้วก็ไปคุยกับคุณบุญชัยว่าจะเอาลักษณะท่าทางอย่างไร ทั้ง 7 นาง เพราะลักษณะแต่ละนางก็ต่างกันไป จากนั้นก็ถ่ายรูปภาพหุ่นพอร์ตเทรตวางตามท่าทางที่กำหนดเพื่อดูแสงเงา มันก็มีจินตนาการเป็นต้นแบบ
แล้วจากนั้น ก็ไปหาแบบนางรำนาฏศิลป์มาวางท่าเหมือนกันอีก เพราะว่าจะต้องเอาภาพแต่งชุด แต่งองค์ทรงเครื่อง ใส่ผ้าถุง มีเครื่องประดับเหมือนนางรำไทย แล้วค่อยหานางแบบนู้ดที่เป็นมืออาชีพ จ้างมาทำเป็นแบบให้เรา เอามาผสมผสานรวมทั้งหมด ก็ใช่วิธีการหลายขั้นตอน เพราะจะเขียนนางฟ้า เราก็คงต้องลดพวกโครงกระดูกอะไรลงบ้างเพื่อไม่ให้ชัดเจนเกินไป เพื่อให้เป็นนางฟ้าที่สมบูรณ์ มีโครงกระดูกข้างใน แต่ว่าไม่ให้ชัดเจนเหมือคนธรรมดา ต้องมาปรับมาเปลี่ยนมาแก้ มือไม่ให้เห็นรอยริ้วรอยอะไรต่างๆ ก็ต้องมาปรับ มาร่างมาสาเก็ตช์ ลงลายเส้นเสร็จ ถึงเขียนลงอีกทีหนึ่ง
• พอได้เห็นภาพแล้วทางคุณบุญชัย (สามี) ท่านบอกหรือคอมเมนท์ว่าอย่างไรบ้าง
คือก่อนที่จะเขียนภาพคุณตั๊ก ผมทำงานแนวนี้มาปกติอยู่แล้ว คุณบุญชัยเขาก็ชอบงานลักษณะอย่างที่ผมทำ คือผมสนใจงานในเชิงศิลปวัฒนธรรมไทยที่มีพื้นฐานมาจากศาสนาเป็นแกนหลัก ทีนี้งานแนวพุทธศาสนาของเราก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับนรกหรือสวรรค์มาเป็นตัวประกอบอยู่แล้วใช่ไหม ดังนั้น การที่จะอธิบายเรื่องพุทธศาสนาทำดี ทำไม่ดี ทำบุญ ทำบาป ทำอะไรต่างๆ ขึ้นสวรรค์ ตกนรก ตามวัฏสงสารก็หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็สอนว่าให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารเหล่านี้ออกไปเป็นนิพาน หลักคำสอน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อะไรต่างๆ
งานผมมันก็เลยออกมาหลากหลาย ทั้งในเรื่องของรูปแบบสากลทั่วไป ทั้งในเรื่องของแอ๊บสแตรก (นามธรรม) งานเรียลลิสติก (สมจริง) งานอินสตอเลชันต่างๆ จนกระทั่งมาถึงงานที่ออกเป็นลักษณะไทยๆ ภาพไทย ก็ได้มีอิทธิพลเรื่องงานคือ อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต หรือเก่ากว่านั้นก็คือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ท่านชอบเอาเรื่องอย่างนี้มาเขียน เกี่ยวกับพุทธศาสนา เกี่ยวกับเทพเทวดา เขียนมาเป็นผสมผสานเหมือนจริงขึ้น
• การสร้างงานแนวนี้ สิ่งที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคืออะไรครับสำหรับอาจารย์
คือบุคลิกการทำงานของผม ผมมองโลกในแง่บวก ชอบความสวยความงาม ความอิ่มเอิบ ความสมบูรณ์ บริบูรณ์ คือความสุข จิตสุข จะมองในด้านนี้มากๆ เลย เพราะทุกคนก็มีทั้งทุกข์และสุขด้วยกันทั้งนั้น ผมก็เลยนำเสนอผลงานในแง่นี้ มองในแง่ดี มองในแง่ของความสุข คืออยากให้ทำกรรมดีๆ กันออกมา แล้วก็ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นมิตร สภาพแวดล้อมที่เป็นสุข งานผมจะออกมาในลักษณะอย่างนี้ แล้วสื่อออกมาในลักษณะที่เป็นเรื่องของสวรรค์ เรื่องอะไรต่างๆ ก็เหมือนกัน ทำดีได้ขึ้นสวรรค์ มองเรื่องปรัชญาพุทธศาสนาแอบแฝงลงไปลึกๆ อีก ก็จะมองสืบเนื่องต่อเนื่องกันไป
ไม่ใช่ว่าลุ่มหลงในเรื่องของเทวดานางฟ้า เรื่องของสวรรค์ เพราะว่าเทวดาหรือนางฟ้าหมดบุญหมดกรรมเขายังอวยพรให้ไปสู่สุขคติ ก็ตกลงมาตามสภาพกรรมที่ทำเอาไว้ และเวียนว่ายตายเกิด เพราะสุขคติของเทวดาคือให้มาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อที่จะทำกรรมได้ จะได้ทำกรรมดีอะไรต่อไป บำเพ็ญเพียรต่อไป นี่คือการอวยพรของพวกเทวดานางฟ้าบนสวรรค์
แต่คนเราอวยพรให้ขึ้นสวรรค์นะ เทวดาจะอวยพรให้เป็นมนุษย์ พวกนรกหรือสวรรค์ที่เขาทำกรรม ส่วนใหญ่เขาเป็นคนที่เสวยกรรม แต่มนุษย์ทำกรรมแล้วมีผลได้ คือมันจะแฝงเรื่องราวทำนองนี้ เรื่องราวพุทธศาสนา ต้องมองกันให้ลึกๆ แต่รูปแบบที่ผมนำเสนอออกมามันคือความสวยความงาม อยากให้คนมองดูแล้วมันสบายใจ คือจินตนาการในเรื่องสุนทรียะ เรื่องความงาม
แต่จริงๆ ความงามในเชิงศิลปะมันก็ไม่ใช่ความสวยอย่างเดียวหรอกนะ ก็เคยโดนอาจารย์ “ชลูด นิ่มเสมอ” ท่านติอยู่บ่อยๆ อยู่เหมือนกันว่าศิลปะมันไม่ใช่แค่สวย แต่ว่าความงามมันอยู่ในทุกรูปแบบทางศิลปะ เขาถึงเรียกสุนทรียศาสตร์ไง แต่เอกลักษณ์หรือลักษณะของศิลปินมันก็แล้วแต่ตัวบุคคลอีกทอดหนึ่ง พอดีผมชอบงานในลักษณะอย่างนี้ ก็แสดงออกมาแนวนั้น
• แต่พอภาพมีการเห็นทรวดทรงองค์เอวเขาก็มองไปได้หลายทาง ส่วนตัวในความคิดอาจารย์ภาพนู้ดกับภาพโป๊แตกต่างกันอย่างไร
ขึ้นอยู่ที่เจตนาสำคัญที่สุด คือการจะดูว่าลามกอนาจรหรืออะไรต่างๆ มันขึ้นอยู่กับเจตนาของศิลปินที่จะนำเสนอ และอยู่ที่คนนมองอีกส่วนหนึ่งด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ รูปที่ผมเขียนนางฟ้า มันมีพื้นฐานมาจากงานจิตกรรมฝาผนังเก่าตามวัดวาอารามโบสถ์ ภาพก็จะเป็นเทวดาหรือนางฟ้าเปลือยอกทั้งนั้น คือคนไทยสมัยก่อน เขาก็ปล่อยหน้าอกกันก็เป็นเรื่องธรรมดา มันเป็นความสวยงามของเพศสตรี แต่ทีนี้ ในยุคสมัยนี้ คนอาจจะปกปิดรูปแบบเปลี่ยนไป คนที่ไม่เคยมีพื้นฐาน ไม่เคยเข้าในสิ่งเหล่านี้มาพอเห็นอย่างนี้เข้า ก็อาจจะมองเป็นเรื่องของอนาจารโป๊เปลือย เป็นเรื่องของอย่างอื่นไป
ซึ่งจริงๆ ผมพยายามจะเขียนให้เทวดาหรือนางฟ้าเหมือนจริง ที่เปิดหนน้าอกเนี่ยให้ดูสวย ดูงาม ให้ดูสมบูรณ์ ให้เป็นเทพ ให้เป็นเทวดา ไม่ให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องของนู้ด เป็นเรื่องลามก คือต้องแยกระหว่างเทพกับคนธรรมดาออกไป เราพยายามจะทำตรงนี้ และจริงๆ มันก็มองสื่อได้อีกเป็นความสวย ความสมบูรณ์ ความอิ่มเอิบของเพศหญิงมากกว่า อย่างภาพบางภาพไม่ต้องเปลือยเลย ก็เป็นนู้ด เพราะมีการยั่วยวนอะไรต่างๆ มันก็ดูเป็นเรื่องแบบนั้นได้ แต่บางที อย่างหุ่นรูปปั้นของกรีกหรือโรมัน รูปปั้นวีนัสเขาก็สวย มันไม่ได้ดูเป็นเรื่องลามกหรือว่าอะไร เจตนาเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนด
• แล้วสำหรับภาพนู้ด มีความหมายอย่างไรครับในความคิดของอาจารย์
ก็คือความงามในมนุษย์ รูปร่างมนุษย์ในเชิงศิลปะ รูปร่างมนุษย์มันก็มีความงามในตัว โดยเฉพาะรูปร่างของผู้หญิง เพราะรูปร่างหน้าตาก็เหมือนสิ่งที่พระเจ้าสร้างสรรค์เราขึ้นมา มันก็เป็นความงาม ก็เหมือนมันเป็นซับเจคต์หนึ่ง ก็เหมือนเราเขียนภาพแลนด์สเคป เขียนเรื่องร่างกายมนุษย์ ฟิกเกอร์ คือสมัยกรีก โรมัน รุ่งโรจน์ เขาจะเห็นความงามของร่างกายของมนุษย์ รูปร่างหน้าตามนุษย์ สวยงาม มันก็เลยมีซับเจคต์นี้ขึ้นมาที่เรียกว่านู้ดๆ
• จะเป็นการผิดไหมถ้าเกิดเรามองดูภาพนู้ดหรือภาพที่มีการเผยให้เห็นสรีระแล้วเกิดอารมณ์ในเรื่องเพศ
คือมันต้องมีปัจจัยหลายอย่าง หนึ่งคือเจตนาทำงานของผมมันไม่ได้สื่อตรงนั้นอยู่แล้ว สื่อในเรื่องความสมบูรณ์ ความสวยความงาม ความอิ่มเอิบของนางฟ้า คนที่มองอย่างนั้น มันก็อยู่ที่พื้นฐานเขา พื้นฐานของความเข้าใจ พื้นฐานของความจิตใจ หรือสภาพแวดล้อมของสังคม เราก็มีส่วนที่เป็นปัจจัยตรงนี้ด้วย
จะบอกว่ามองภาพนู้ดแล้วเกิดอารมณ์ มันก็ไม่ได้ผิดนะ ก็เป็นส่วนของเขาไป เป็นจิตใจของแต่ละคน อันนี้เป็นปัจจัยต่างออกไปอีกทีหนึ่ง แต่เจตนาที่ผมจะนำเสนอก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เรานำเสนอไปอย่างนี้ คนอื่นเขาจะตีความไปเรื่องอื่นก็แล้วแต่ คือคนที่รู้สึกหมกมุ่นในเรื่องนี้ ไม่ว่ามองอะไรที่ไหนก็เป็นเรื่องอย่างว่า มันเป็นปัจจัยในส่วนของคนที่ดูคนที่มอง แต่ส่วนใหญ่งานผมมันไม่ค่อยมีปัญหา งานผมส่วนใหญ่ เขาก็จะมองเป็นเรื่องความงาม ความสุขใจมากกว่า
• สุดท้ายความคาดหวังที่อยากจะก่อให้เกิดกับผลงานชุดนี้
ความคาดหวังในการทำงานชุดเรื่องประเพณีไทย วัฒนธรรมไทยและพุทธศาสนาที่ผมทำออกมา คือไม่ได้แค่ทำงานกับคุณตั๊กอย่างเดียว อยากให้คนรู้และเข้าใจเรื่องราวของตัวเอง รู้รากเหง้าของเรา ความเชื่อหรือวัฒนธรรมไทยที่มีพื้นฐานที่ดีด้วย ไม่ใช่อย่างเรื่องที่คนเขาบอกว่างมงาย สวรรค์ นรก ต่างๆ อันนั้นก็แล้วแต่ แต่ถ้าเรามองในเจตนาอย่างเขียนเรื่องนางสงกรานต์ทั้ง 7 นาง ถ้าเรามองในเรื่องราวต่างๆ มันจะสะท้อนให้เห็นแนวความคิดว่า ประเทศเราเป็นประเทศกสิกรรม เกษตร เรื่องราวในงานสงกรานต์แต่ละครั้งก็จะมีนาคในวรรณคดี นาคให้น้ำกี่ตัว ความอุดมสมบูรณ์อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ส่วนใหญ่ก็จะสะท้อนในเรื่องของเกษตร เพราะบ้านเราอยู่ภูมิอากาศภูมิประเทศแฝงอยู่ด้วย
คือต้องเข้าใจและรู้จักตัวเอง ว่าอย่างนั้นเถอะ เพราะวัฒนธรรมประเพณีของเราอย่างพระแม่พระธรณีหรือแม่โพสพ ทุกอย่างมันเกี่ยวพันเกี่ยวข้องกับเรื่องของสภาพแวดล้อมของเราทั้งนั้นเลย เขาสอนให้รู้จักเคารพ รู้จักเห็นคุณค่าในสิ่งแวดล้อมของตัวเอง ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะมองในเรื่องของวัตถุอย่างเดียว ทำอะไรก็รู้สึกว่าทุกอย่างมันต้องอยู่ร่วมด้วยกัน อิงอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ว่าจะตักตวงเอาผลประโยชน์ของตัวเอง สมัยนี้คิดเอาอย่างเดียว ของตัวเองอย่างเดียวไม่ต้องคิดถึงใคร
ถ้าเรามาย้อนรู้จักตัวเอง เราก็จะมีความเข้าใจเรื่องแบบนี้ขึ้น เข้าใจรากเหง้าของตัวเอง เข้าใจรากเหง้าของวัฒนธรรมเรา แล้วก็มันก็จะย้อนไปถึงพุทธศาสนา ที่เขาสอนเรื่องที่เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมไทยเราเป็นมาอย่างไร มันก็ต่อเนื่องกันไป นี่เป็นความงาม เป็นศิลปะ ที่มันละเอียดลึกซึ้ง ที่คนไม่ค่อยมองผ่านไป แล้วมองเป็นเรื่องงมงายเรื่องไสยศาสตร์ ตำนาน อะไรต่างๆ
ผมอยากให้คนมีพื้นฐาน ให้คนเข้าใจเรื่องแบบนี้ขึ้นมาบ้าง เพราะทุกอย่าง ทุกวัฒนธรรม ทุกสังคม ทั่วโลกมันมีที่มาด้วยกันทั้งนั้น ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนว่ามันเป็นมาอย่างไร จะมากน้อยในส่วนไหนก็ว่าอีกเรื่องหนึ่ง
Beauty is in the eyes of the beholder. หรือ “ความสวยงามย่อมขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ดู” คำกล่าวนี้ยังคงเป็นจริงเสมอมา เมื่อกวาดสายตามองโลกศิลปะ ภาพๆ หนึ่งขึ้นอยู่กับหลายสิ่งหลายอย่างที่ร่วมกันก่อร่างสร้างปรุงเป็นจินตนามโนนึกในความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคน ซึ่งพูดกันอย่างถึงที่สุด อาจไม่มีถูกไม่มีผิด
ขณะความงามของ “ตั๊ก-บงกช” ในภาพวาด กำลังเก็บกวาดเสียงตอบรับในทางรื่นรมย์ชมชื่นจากผู้ชม เรามีโอกาสสนทนากับผู้ตวัดปลายพู่กัน เนรมิตลายเส้นและลงสีจนก่อเกิดเป็นภาพวาดในจินตนาการอันบรรเจิดแจ่มอลังการชุดนี้ “สมภพ บุตราช” คุรุปราชญ์อีกหนึ่งท่านแห่งวงการศาสตร์ศิลป์บ้านเรา...
• จุดเริ่มต้นของงานชุดนี้มีที่มาที่ไปอย่างไรครับ
คือผมกับคุณบุญชัยรู้จักคุ้นเคยกันอยู่ก่อนแล้ว เพราะว่าคุณบุญชัยท่านชอบงานศิลปะแล้วก็สะสมงานของผมด้วย แล้วเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว ผมเขียนภาพชุดนางสงกรานต์ขึ้นมาแล้วเชิญท่านไปเป็นประธานในการเปิดงานที่อาร์เดล แกลเลอลี่ ของอาจารย์ ถาวร โกอุดมวิทย์ ตอนนั้น คุณบุญชัยกำลังหมั้น เตรียมจะแต่งงานพอดี เขาก็บอกให้ลองเขียนภาพนางสงกรานต์เป็นคุณตั๊ก ก็เลยเขียนมารูปหนึ่งมอบเป็นของขวัญแต่งงาน
หลังจากนั้น คุณบุญชัยก็เลยมีความคิดให้เขียนภาพชุดนางสงกรานต์ ให้เป็นภาพใบหน้าของคุณตั๊ก เราก็เลยได้ร่วมงานกันอีก ซึ่งผมก็ยินดีมาก เพราะว่ามีโอกาสได้แสดงงานเขียนในแนวทางที่เราชอบ เรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีไทยต่างๆ แล้วคุณบุญชัยท่านก็มีหอศิลป์ งานชุดนี้ก็ได้ไปติดแสดงให้คนได้ดู ก็ยิ่งดีใหญ่เลย อีกอย่าง คุณบุญชัยท่านให้การสนับสนุนพวกเราเหล่าศิลปิน ซึ่งมันก็หายากอยู่แล้วที่จะหาใครมาสนับสนุนศิลปะบ้านเรา ยิ่งเป็นแนวไทยๆ แนวงานเรา ดังนั้น การได้ทำงานร่วมกับคุณบุญชัยถือว่าเป็นโอกาสที่ดี เพราะเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีใครที่จะมาเขียนแนวนี้เท่าไหร่
• การจะรังสรรค์ภาพแนวเรื่องที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี เราต้องมีกระบวนการศึกษาอย่างไรบ้าง
ยกตัวอย่างงานนางสงกรานต์ชุดนี้ ผมต้องรู้สึก รู้จัก และเข้าใจมาก่อนเป็นพื้นฐาน ยุคสมัยคนในอายุรุ่นราวคราวเดียวกันก็ต้องเข้าใจเรื่องของพวกนี้อยู่แล้ว เรื่องของพุทธศาสนา เรื่องของศิลปวัฒนธรรมไทย ความเชื่อ พระแม่ธรณี พระแม่คงคา เป็นความเชื่อที่ฝังอยู่ในจิตใจมา แต่เด็กๆ สมัยใหม่อาจจะไม่รู้จัก สมัยก่อนเราเคารพธรรมชาติผ่านออกมาในรูปของเทพต่างๆ เราจะทำอะไรเกี่ยวกับน้ำ เกี่ยวกับฟ้า หรือเกี่ยวกับป่าเขา เราก็ต้องเคารพก่อน
คือคล้ายๆ ว่าเราก็อยู่ร่วมกัน มีความเคารพกัน เหมือนศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่เจ้าทางอยู่บ้าน รักษาดูแล เราก็ไม่กล้าทำสิ่งที่ไม่ดี ทำสกปรก แนวคิดแบบไทยๆ อย่างนี้ ผมว่ามันดี คือทุกคนอยู่ร่วมกัน อิงอาศัยซึ่งกันและกัน เรื่องของเทพ เทวดาต่างๆ มันก็เกี่ยวข้องในเรื่องแบบนี้
เวลาทำงาน เราก็จะจินตนาการเรื่องแบบนี้ออก อย่างเขียนเรื่องพระแม่ธรณีหรือพระแม่คงคา ก็ต้องจินตนาการออกมาว่าเป็นเทพหรือนางฟ้า ก็ต้องสวย ต้องสมบูรณ์ สมที่ปกปักดูแลธรณีหรือผู้ที่ให้กำเนิดสรรพสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ก็ศึกษาแล้วสเก็ตภาพพออกมาเป็นแนวทาง แล้วเขียนให้เหมือนจริง จะได้เข้าถึงได้ง่าย ต้องวางให้เป็นคนในลักษณะอุดมคติ แล้วเกี่ยวกับประเพณีด้วยมาผสมผสานกัน อันนี้ในส่วนของความคิด
ส่วนการสร้างภาพ ผมใช้เทคนิคที่สร้างขึ้นมาเฉพาะตัวเอง ใช้สีอะคริลิคแล้วก็เขียนสีน้ำมันผสมซ้อนลงไป เพื่อให้มันมีร่องรอยพลิ้วไหว มีเท็กเจอร์รอบๆ ภาพ ถ้าเป็นบรรยากาศ ก็จะให้มันเป็นอีกมิติหนึ่งขึ้นมา ไม่ใช่มิติอย่างที่ตาเราเห็นทั่วๆ ไป
• อะไรคือความสวยงามของคุณตั๊กในความคิดของอาจารย์
จริงๆ แล้ว ผมก็แอบใช้รูปหน้าคุณตั๊กมาเป็นแนวอยู่เรื่อยๆ แล้วก็มีดาราคนอื่นๆ ตามปกแมกกาซีนบ้าง แต่หน้าตาเค้าโครงหน้ารูปร่างเขามีเสน่ห์ สวยได้รูปทั้งโหนกแก้ม คาง คิ้ว จมูก ไม่อ่อนหวานเกิน มีความคมเข้มเหมือนผู้หญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งเดี๋ยวนี้หาได้ยาก
• ขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างไรบ้างครับ
คือคุณตั๊กเขาเป็นดารา เขาเก่งและมืออาชีพอยู่แล้ว เวลาที่ผมสเก็ตแบบไปให้ดูว่าต้องการท่าทางอย่างไร เขาก็รู้เลย บางทีผมก็ได้ลายละเอียดกลับมา เขาก็วางโน่นวางนี่ได้ แต่ว่าผมไม่ได้ไปเห็นนู้ดคุณตั๊กนะครับ ไม่ใช่อย่างนั้น คือเวลาทำงาน ผมก็ต้องสเก็ตภาพร่างออกมาก่อน แล้วก็ไปคุยกับคุณบุญชัยว่าจะเอาลักษณะท่าทางอย่างไร ทั้ง 7 นาง เพราะลักษณะแต่ละนางก็ต่างกันไป จากนั้นก็ถ่ายรูปภาพหุ่นพอร์ตเทรตวางตามท่าทางที่กำหนดเพื่อดูแสงเงา มันก็มีจินตนาการเป็นต้นแบบ
แล้วจากนั้น ก็ไปหาแบบนางรำนาฏศิลป์มาวางท่าเหมือนกันอีก เพราะว่าจะต้องเอาภาพแต่งชุด แต่งองค์ทรงเครื่อง ใส่ผ้าถุง มีเครื่องประดับเหมือนนางรำไทย แล้วค่อยหานางแบบนู้ดที่เป็นมืออาชีพ จ้างมาทำเป็นแบบให้เรา เอามาผสมผสานรวมทั้งหมด ก็ใช่วิธีการหลายขั้นตอน เพราะจะเขียนนางฟ้า เราก็คงต้องลดพวกโครงกระดูกอะไรลงบ้างเพื่อไม่ให้ชัดเจนเกินไป เพื่อให้เป็นนางฟ้าที่สมบูรณ์ มีโครงกระดูกข้างใน แต่ว่าไม่ให้ชัดเจนเหมือคนธรรมดา ต้องมาปรับมาเปลี่ยนมาแก้ มือไม่ให้เห็นรอยริ้วรอยอะไรต่างๆ ก็ต้องมาปรับ มาร่างมาสาเก็ตช์ ลงลายเส้นเสร็จ ถึงเขียนลงอีกทีหนึ่ง
• พอได้เห็นภาพแล้วทางคุณบุญชัย (สามี) ท่านบอกหรือคอมเมนท์ว่าอย่างไรบ้าง
คือก่อนที่จะเขียนภาพคุณตั๊ก ผมทำงานแนวนี้มาปกติอยู่แล้ว คุณบุญชัยเขาก็ชอบงานลักษณะอย่างที่ผมทำ คือผมสนใจงานในเชิงศิลปวัฒนธรรมไทยที่มีพื้นฐานมาจากศาสนาเป็นแกนหลัก ทีนี้งานแนวพุทธศาสนาของเราก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับนรกหรือสวรรค์มาเป็นตัวประกอบอยู่แล้วใช่ไหม ดังนั้น การที่จะอธิบายเรื่องพุทธศาสนาทำดี ทำไม่ดี ทำบุญ ทำบาป ทำอะไรต่างๆ ขึ้นสวรรค์ ตกนรก ตามวัฏสงสารก็หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็สอนว่าให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารเหล่านี้ออกไปเป็นนิพาน หลักคำสอน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อะไรต่างๆ
งานผมมันก็เลยออกมาหลากหลาย ทั้งในเรื่องของรูปแบบสากลทั่วไป ทั้งในเรื่องของแอ๊บสแตรก (นามธรรม) งานเรียลลิสติก (สมจริง) งานอินสตอเลชันต่างๆ จนกระทั่งมาถึงงานที่ออกเป็นลักษณะไทยๆ ภาพไทย ก็ได้มีอิทธิพลเรื่องงานคือ อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต หรือเก่ากว่านั้นก็คือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ท่านชอบเอาเรื่องอย่างนี้มาเขียน เกี่ยวกับพุทธศาสนา เกี่ยวกับเทพเทวดา เขียนมาเป็นผสมผสานเหมือนจริงขึ้น
• การสร้างงานแนวนี้ สิ่งที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคืออะไรครับสำหรับอาจารย์
คือบุคลิกการทำงานของผม ผมมองโลกในแง่บวก ชอบความสวยความงาม ความอิ่มเอิบ ความสมบูรณ์ บริบูรณ์ คือความสุข จิตสุข จะมองในด้านนี้มากๆ เลย เพราะทุกคนก็มีทั้งทุกข์และสุขด้วยกันทั้งนั้น ผมก็เลยนำเสนอผลงานในแง่นี้ มองในแง่ดี มองในแง่ของความสุข คืออยากให้ทำกรรมดีๆ กันออกมา แล้วก็ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นมิตร สภาพแวดล้อมที่เป็นสุข งานผมจะออกมาในลักษณะอย่างนี้ แล้วสื่อออกมาในลักษณะที่เป็นเรื่องของสวรรค์ เรื่องอะไรต่างๆ ก็เหมือนกัน ทำดีได้ขึ้นสวรรค์ มองเรื่องปรัชญาพุทธศาสนาแอบแฝงลงไปลึกๆ อีก ก็จะมองสืบเนื่องต่อเนื่องกันไป
ไม่ใช่ว่าลุ่มหลงในเรื่องของเทวดานางฟ้า เรื่องของสวรรค์ เพราะว่าเทวดาหรือนางฟ้าหมดบุญหมดกรรมเขายังอวยพรให้ไปสู่สุขคติ ก็ตกลงมาตามสภาพกรรมที่ทำเอาไว้ และเวียนว่ายตายเกิด เพราะสุขคติของเทวดาคือให้มาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อที่จะทำกรรมได้ จะได้ทำกรรมดีอะไรต่อไป บำเพ็ญเพียรต่อไป นี่คือการอวยพรของพวกเทวดานางฟ้าบนสวรรค์
แต่คนเราอวยพรให้ขึ้นสวรรค์นะ เทวดาจะอวยพรให้เป็นมนุษย์ พวกนรกหรือสวรรค์ที่เขาทำกรรม ส่วนใหญ่เขาเป็นคนที่เสวยกรรม แต่มนุษย์ทำกรรมแล้วมีผลได้ คือมันจะแฝงเรื่องราวทำนองนี้ เรื่องราวพุทธศาสนา ต้องมองกันให้ลึกๆ แต่รูปแบบที่ผมนำเสนอออกมามันคือความสวยความงาม อยากให้คนมองดูแล้วมันสบายใจ คือจินตนาการในเรื่องสุนทรียะ เรื่องความงาม
แต่จริงๆ ความงามในเชิงศิลปะมันก็ไม่ใช่ความสวยอย่างเดียวหรอกนะ ก็เคยโดนอาจารย์ “ชลูด นิ่มเสมอ” ท่านติอยู่บ่อยๆ อยู่เหมือนกันว่าศิลปะมันไม่ใช่แค่สวย แต่ว่าความงามมันอยู่ในทุกรูปแบบทางศิลปะ เขาถึงเรียกสุนทรียศาสตร์ไง แต่เอกลักษณ์หรือลักษณะของศิลปินมันก็แล้วแต่ตัวบุคคลอีกทอดหนึ่ง พอดีผมชอบงานในลักษณะอย่างนี้ ก็แสดงออกมาแนวนั้น
• แต่พอภาพมีการเห็นทรวดทรงองค์เอวเขาก็มองไปได้หลายทาง ส่วนตัวในความคิดอาจารย์ภาพนู้ดกับภาพโป๊แตกต่างกันอย่างไร
ขึ้นอยู่ที่เจตนาสำคัญที่สุด คือการจะดูว่าลามกอนาจรหรืออะไรต่างๆ มันขึ้นอยู่กับเจตนาของศิลปินที่จะนำเสนอ และอยู่ที่คนนมองอีกส่วนหนึ่งด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ รูปที่ผมเขียนนางฟ้า มันมีพื้นฐานมาจากงานจิตกรรมฝาผนังเก่าตามวัดวาอารามโบสถ์ ภาพก็จะเป็นเทวดาหรือนางฟ้าเปลือยอกทั้งนั้น คือคนไทยสมัยก่อน เขาก็ปล่อยหน้าอกกันก็เป็นเรื่องธรรมดา มันเป็นความสวยงามของเพศสตรี แต่ทีนี้ ในยุคสมัยนี้ คนอาจจะปกปิดรูปแบบเปลี่ยนไป คนที่ไม่เคยมีพื้นฐาน ไม่เคยเข้าในสิ่งเหล่านี้มาพอเห็นอย่างนี้เข้า ก็อาจจะมองเป็นเรื่องของอนาจารโป๊เปลือย เป็นเรื่องของอย่างอื่นไป
ซึ่งจริงๆ ผมพยายามจะเขียนให้เทวดาหรือนางฟ้าเหมือนจริง ที่เปิดหนน้าอกเนี่ยให้ดูสวย ดูงาม ให้ดูสมบูรณ์ ให้เป็นเทพ ให้เป็นเทวดา ไม่ให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องของนู้ด เป็นเรื่องลามก คือต้องแยกระหว่างเทพกับคนธรรมดาออกไป เราพยายามจะทำตรงนี้ และจริงๆ มันก็มองสื่อได้อีกเป็นความสวย ความสมบูรณ์ ความอิ่มเอิบของเพศหญิงมากกว่า อย่างภาพบางภาพไม่ต้องเปลือยเลย ก็เป็นนู้ด เพราะมีการยั่วยวนอะไรต่างๆ มันก็ดูเป็นเรื่องแบบนั้นได้ แต่บางที อย่างหุ่นรูปปั้นของกรีกหรือโรมัน รูปปั้นวีนัสเขาก็สวย มันไม่ได้ดูเป็นเรื่องลามกหรือว่าอะไร เจตนาเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนด
• แล้วสำหรับภาพนู้ด มีความหมายอย่างไรครับในความคิดของอาจารย์
ก็คือความงามในมนุษย์ รูปร่างมนุษย์ในเชิงศิลปะ รูปร่างมนุษย์มันก็มีความงามในตัว โดยเฉพาะรูปร่างของผู้หญิง เพราะรูปร่างหน้าตาก็เหมือนสิ่งที่พระเจ้าสร้างสรรค์เราขึ้นมา มันก็เป็นความงาม ก็เหมือนมันเป็นซับเจคต์หนึ่ง ก็เหมือนเราเขียนภาพแลนด์สเคป เขียนเรื่องร่างกายมนุษย์ ฟิกเกอร์ คือสมัยกรีก โรมัน รุ่งโรจน์ เขาจะเห็นความงามของร่างกายของมนุษย์ รูปร่างหน้าตามนุษย์ สวยงาม มันก็เลยมีซับเจคต์นี้ขึ้นมาที่เรียกว่านู้ดๆ
• จะเป็นการผิดไหมถ้าเกิดเรามองดูภาพนู้ดหรือภาพที่มีการเผยให้เห็นสรีระแล้วเกิดอารมณ์ในเรื่องเพศ
คือมันต้องมีปัจจัยหลายอย่าง หนึ่งคือเจตนาทำงานของผมมันไม่ได้สื่อตรงนั้นอยู่แล้ว สื่อในเรื่องความสมบูรณ์ ความสวยความงาม ความอิ่มเอิบของนางฟ้า คนที่มองอย่างนั้น มันก็อยู่ที่พื้นฐานเขา พื้นฐานของความเข้าใจ พื้นฐานของความจิตใจ หรือสภาพแวดล้อมของสังคม เราก็มีส่วนที่เป็นปัจจัยตรงนี้ด้วย
จะบอกว่ามองภาพนู้ดแล้วเกิดอารมณ์ มันก็ไม่ได้ผิดนะ ก็เป็นส่วนของเขาไป เป็นจิตใจของแต่ละคน อันนี้เป็นปัจจัยต่างออกไปอีกทีหนึ่ง แต่เจตนาที่ผมจะนำเสนอก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เรานำเสนอไปอย่างนี้ คนอื่นเขาจะตีความไปเรื่องอื่นก็แล้วแต่ คือคนที่รู้สึกหมกมุ่นในเรื่องนี้ ไม่ว่ามองอะไรที่ไหนก็เป็นเรื่องอย่างว่า มันเป็นปัจจัยในส่วนของคนที่ดูคนที่มอง แต่ส่วนใหญ่งานผมมันไม่ค่อยมีปัญหา งานผมส่วนใหญ่ เขาก็จะมองเป็นเรื่องความงาม ความสุขใจมากกว่า
• สุดท้ายความคาดหวังที่อยากจะก่อให้เกิดกับผลงานชุดนี้
ความคาดหวังในการทำงานชุดเรื่องประเพณีไทย วัฒนธรรมไทยและพุทธศาสนาที่ผมทำออกมา คือไม่ได้แค่ทำงานกับคุณตั๊กอย่างเดียว อยากให้คนรู้และเข้าใจเรื่องราวของตัวเอง รู้รากเหง้าของเรา ความเชื่อหรือวัฒนธรรมไทยที่มีพื้นฐานที่ดีด้วย ไม่ใช่อย่างเรื่องที่คนเขาบอกว่างมงาย สวรรค์ นรก ต่างๆ อันนั้นก็แล้วแต่ แต่ถ้าเรามองในเจตนาอย่างเขียนเรื่องนางสงกรานต์ทั้ง 7 นาง ถ้าเรามองในเรื่องราวต่างๆ มันจะสะท้อนให้เห็นแนวความคิดว่า ประเทศเราเป็นประเทศกสิกรรม เกษตร เรื่องราวในงานสงกรานต์แต่ละครั้งก็จะมีนาคในวรรณคดี นาคให้น้ำกี่ตัว ความอุดมสมบูรณ์อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ส่วนใหญ่ก็จะสะท้อนในเรื่องของเกษตร เพราะบ้านเราอยู่ภูมิอากาศภูมิประเทศแฝงอยู่ด้วย
คือต้องเข้าใจและรู้จักตัวเอง ว่าอย่างนั้นเถอะ เพราะวัฒนธรรมประเพณีของเราอย่างพระแม่พระธรณีหรือแม่โพสพ ทุกอย่างมันเกี่ยวพันเกี่ยวข้องกับเรื่องของสภาพแวดล้อมของเราทั้งนั้นเลย เขาสอนให้รู้จักเคารพ รู้จักเห็นคุณค่าในสิ่งแวดล้อมของตัวเอง ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะมองในเรื่องของวัตถุอย่างเดียว ทำอะไรก็รู้สึกว่าทุกอย่างมันต้องอยู่ร่วมด้วยกัน อิงอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ว่าจะตักตวงเอาผลประโยชน์ของตัวเอง สมัยนี้คิดเอาอย่างเดียว ของตัวเองอย่างเดียวไม่ต้องคิดถึงใคร
ถ้าเรามาย้อนรู้จักตัวเอง เราก็จะมีความเข้าใจเรื่องแบบนี้ขึ้น เข้าใจรากเหง้าของตัวเอง เข้าใจรากเหง้าของวัฒนธรรมเรา แล้วก็มันก็จะย้อนไปถึงพุทธศาสนา ที่เขาสอนเรื่องที่เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมไทยเราเป็นมาอย่างไร มันก็ต่อเนื่องกันไป นี่เป็นความงาม เป็นศิลปะ ที่มันละเอียดลึกซึ้ง ที่คนไม่ค่อยมองผ่านไป แล้วมองเป็นเรื่องงมงายเรื่องไสยศาสตร์ ตำนาน อะไรต่างๆ
ผมอยากให้คนมีพื้นฐาน ให้คนเข้าใจเรื่องแบบนี้ขึ้นมาบ้าง เพราะทุกอย่าง ทุกวัฒนธรรม ทุกสังคม ทั่วโลกมันมีที่มาด้วยกันทั้งนั้น ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนว่ามันเป็นมาอย่างไร จะมากน้อยในส่วนไหนก็ว่าอีกเรื่องหนึ่ง