ปฏิเสธไม่ได้ว่าละครไทยเรื่อง ‘สุดแค้นแสนรัก’ เข้าไปนั่งกลางใจคุณผู้ชมทุกย่านบางทั้งประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยเรื่องราวของบทประพันธ์ที่เข้มข้น แถมบทบาทของนักแสดงในเรื่องยังจัดจ้านด้วยฝีมือการเล่น ผลลัพธ์ที่ได้จึงทำให้ละครเรื่องนี้เป็นที่กล่าวถึงอีกเรื่องหนึ่งแห่งศักราชนี้
แต่ถ้าเจาะถามลงไปในรายละเอียดของนักแสดงในละครเรื่องนี้แล้ว บทบาท ‘นางแย้ม หมั่นกิจ’ ที่รับบทโดย “ต๊งเหน่ง-รัดเกล้า อามระดิษ” ได้รับการพูดถึงเป็นพิเศษ เพราะด้วยบุคลิกตามเนื้อหาที่ร้ายกาจ เจ้าคิดเจ้าแค้น เห็นแก่ตัว หรือใช้ความรุนแรง บวกกับบทบาทการแสดงที่ “เข้มเต็มขั้น’ ทำให้เธอกลายเป็นดาวเด่นที่สุดของเรื่อง

นอกเหนือจากบทบาทการแสดงที่การันตีฝีมือได้แล้ว ในหมู่คนฟังเพลงไทยโดยส่วนใหญ่ หากมีการจัดลำดับนักร้องหญิงเสียงดี ชื่อของเธอคงต้องติดอันดับต้นๆ สำหรับนักฟังเพลงหลายคน เพราะความสามารถในการสื่ออารมณ์เพลงออกมาได้อย่างซาบซึ้งเปี่ยมคุณภาพ และใครก็ตามที่โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถโดยสารบีอาร์ทีเป็นประจำ คงคุ้นเคยกับเสียงของเธอเป็นอย่างดีกับการประกาศบอกกล่าวแก่ผู้เดินทาง
เป็นเวลา 20 กว่าปีที่รัดเกล้าโลดแล่นอยู่บนเส้นทางที่เธอใช้คำว่า “เต้นกิน รำกิน” ซึ่งคงไม่มีกล้าปฏิเสธได้ในศักยภาพและคุณภาพของเธอ ที่ยังคงรักษามาตรฐานไว้ได้อย่างต่อเนื่อง และบทอีแย้มในละครสุดแค้นแสนรัก ก็เป็นประจักษ์พยานในแง่มุมนี้ได้เป็นอย่างดี...

• ถามถึงที่มาที่ไปของการตัดสินใจมารับบทซึ่งเป็นที่โจษจันอย่าง “นางแย้ม หมั้นกิจ” หน่อยครับ
พี่หนุ่ม (กฤษณ์ ศุกระมงคล - ผู้กำกับละคร “สุดแค้นแสนรัก”) โทร.มาหา แล้วก็มีพี่อีกคนหนึ่ง ทำหน้าที่อ่านบทประพันธ์เพื่อดูว่า นักแสดงคนไหน จะเหมาะสมกับบทนั้นๆ หรือไม่ แล้วก็มาคุยกัน พี่เขาก็บอกว่า บทนี้ดีนะ น่าเล่น เราก็รับเล่นเลย พี่หนุ่ม ก็ให้บทมา 10 ตอน โดยส่วนตัวก็นับถือแม่จิ๋ม มยุรฉัตร (เหมือนประสิทธิเวช - ผู้จัดละคร) อยู่แล้ว บวกกับเราเคยไปรับเชิญในละครเรื่อง ‘คุณชายธรารธ’ ประมาณ 2 ตอน ซี่งก่อนหน้านี้ได้คุยกับพี่หนุ่มอยู่แล้ว ก็เลยเชื่อถือฝีมือ พอพี่หนุ่มชวน ก็ตกลงเล่นเลย
อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน ก็คือเมื่อ 10 กว่าปีก่อน แม่จิ๋มเคยให้โอกาสชวนเรามาเล่นละครโทรทัศน์เรื่องหนึ่ง แต่บทแรงมาก ประกอบกับต้นสังกัดของเราในตอนนั้น กลัวว่าจะขัดกับภาพความเป็นนักร้องของเรา ก็เลยบอกว่าอย่าเล่นเลย เราก็ขอโทษแม่จิ๋มไปในตอนนั้น และในใจก็รู้สึกว่า หนึ่ง เราเสียดายโอกาส สอง คือเกรงใจผู้ใหญ่ ที่ท่านอุตส่าห์หยิบยื่นโอกาสให้เรา
พอครั้งนี้พี่หนุ่มติดต่อมา ก็รู้สึกว่า เราจะไม่พลาดโอกาสแล้ว ก็ตัดสินใจรับ แล้วก็อ่านบท...บ้าง (หัวเราะเบาๆ) ไม่ได้อ่านละเอียด อ่านแล้วพี่หนุ่มก็บอกว่า มันจะร้ายนะ แล้วก็เล่นตั้งแต่อายุเท่านี้ไปจนถึงตายเลย เล่นตั้งแต่ 30 กว่าไปจนถึง 40 กว่าๆ จน 70 กว่าๆ เราก็ค่ะๆ ก็อ่านศึกษาบทว่า เขาทำแบบนี้ๆ แต่ไม่ได้อ่านละเอียดมาก (หัวเราะเบาๆ อีกครั้ง)
• คิดอย่างไรบ้างกับบทนางแย้ม ดูเหมือนจะขัดแย้งกับบุคลิกของคุณอยู่นะ เพราะมันเป็นบทที่ร้ายกาจเอามากๆ
จริงๆ ในฐานะนักแสดง การที่เราได้รับเป็นตัวละครที่หลากหลาย หรือบทบาทที่หลากหลาย มันเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะทำให้เรามีโอกาสได้ฝึกฝนตัวเอง แต่โดยส่วนตัว เรารู้สึกว่าเราโชคดีจังเลย ถ้าเราเป็นตัวละครนี้ เราจะได้มีโอกาสทำอะไรที่ ชีวิตจริงของเราไม่ได้เป็นแบบนั้น เราไม่ได้ทำแบบนั้น ซึ่งมันสนุกมากเลย แล้วทำอะไรก็ไม่ผิด เพราะมันอยู่ในละคร นั่นไม่ใช่ชีวิตจริงของเรา
ในชีวิตจริงของเรา เราไม่สามารถที่จะเดินเข้าไปในงานศพ แล้วก็ไปด่า แล้วก็ไปถีบรูปงานศพเขาล้มลง คือมันเป็นอะไรที่เกินจินตนาการ มันเกินความคิดของเราที่จะทำได้ คือมันเป็นไปไม่ได้ มันแรงมากเลยค่ะ แต่เราทำในละคร
สำหรับตัวเอง จะเปรียบให้เห็นง่ายๆ นะคะ คือเหมือนกับเราเข้าไปในดินแดนหนึ่ง ได้สำรวจอารมณ์ความรู้สึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งในชีวิตเราอาจจะไม่รู้สึกแบบนั้น ไม่เคยกระทำเหตุการณ์แบบนั้น เหมือนเราไปสวนสนุก แล้วก็เล่นเครื่องเล่นชิ้นใหม่ ในทำนองเดียวกัน ทุกครั้งที่เราจะเป็นตัวละครอะไร เราต้องทำความรู้จักเขาก่อน เหมือนกับเราทำความรู้จักเพื่อนใหม่คนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ส่วนตัวรู้สึกสนุกและตื่นเต้น มันอยากรู้อยากเห็นทุกครั้งว่า เดี๋ยวเราจะได้รู้จักคนคนนี้ เราจะรู้จักเพื่อนใหม่อีกคนหนึ่ง เพราะฉะนั้น เราก็อยากรู้ว่าเขาเป็นยังไง นิสัยยังไง เราก็จะอ่านจากคำพูดและการกระทำของเขา และดูเบื้องหลังว่าทำไมเขาถึงพูดและคิดแบบนี้ และเบื้องหลังเป็นยังไง ซึ่งตรงนี้ มันทำให้เรารู้สึกว่า จะได้รู้จักเพื่อนใหม่อีกแล้ว และต้องรู้จักอย่างดีมากด้วย เราจะได้เข้าไปสำรวจอารมณ์ความรู้สึกเขา เราจะได้เข้าไปกระทำการ

• ผลลัพธ์ของละครเป็นแบบนี้ และคุณถูกพูดถึงในวงกว้างมากขึ้น มีความรู้สึกค่อนข้างเกร็งๆ บ้างมั้ย
(หัวเราะเบาๆ) คือสำหรับตัวเองนะคะ งานจบ เมื่อผู้กำกับสั่งคัท นั่นคือสำหรับเราคือ จบแล้ว เราถือว่า ถ้าผู้กำกับให้ผ่านหรือพอใจ อาจจะพอใจด้วยเหตุผลอะไร เราไม่รู้นะ คืออาจจะรู้สึกว่าอยากได้มากกว่านี้ แต่นางคงไม่มีปัญญาจะทำได้มากกว่านี้ เสียเวลา ยอมรึเปล่าก็ไม่รู้นะ ก็ขำๆ หรืออาจจะจริงหรือเปล่า อันนี้ต้องถามพี่หนุ่ม (หัวเราะ) หรือว่าผู้กำกับพอใจแล้วว่าได้อย่างที่เขาต้องการและวางภาพไว้แล้ว เพราะผู้กำกับจะเป็นคนดูคนแรกเสมอ เราไม่เห็นตัวเอง ไม่มีใครเห็นตัวเองหรอกค่ะ ถึงเราจะไปดูมอนิเตอร์ มันก็เป็นเพียงพลังงานที่เขาบันทึกไว้ มันไม่ใช่จริงขนาดนั้น แล้วส่วนตัวก็จะเป็นคนที่ไม่ชอบดูมอนิเตอร์ เพราะฉะนั้น เมื่อผู้กำกับบอกว่าผ่าน งานเราคือจบแล้ว และจะจบมากขึ้นเมื่อปิดกล้อง คือเราไม่ต้องเข้าใจ ไม่ต้องเป็นตัวละครนั้นแล้ว เราก็ไม่ได้แบกอีแย้มกลับบ้าน
เมื่อละครออกอากาศ มันก็มีเสียงตอบรับกลับมา (นิ่งคิด) เครียดและนอยด์ เพราะว่าเป็นคนคิดมาก ก็จะรู้สึกว่า ทำไมมีคนเกลียดเราเยอะมากเลย ต้องตบด้วย ก็จะมีอาการต่างๆ นานา นอยด์ ปวดท้องบ้างอะไรบ้าง เพื่อนๆ น้องๆ ก็จะบอกว่า เดี๋ยวๆ ตั้งสติหน่อย คือเขาเกลียดแย้ม เขาไม่ได้เกลียดเธอ เราก็จะบอกว่า จริงเหรอ แต่อีแย้มคือเรานะ แต่นี่คือร่างและเสียงของเรานะ เขาก็บอกว่า ก็นี่ไง ถึงให้ตั้งสติ อะไรแบบนี้ค่ะ แต่ว่าพอมาถึงตอนนี้แล้ว ก็เริ่มชินแล้ว
การที่เขาเกลียดเนี่ย จริงๆ ก็ดีนะคะ เพราะแสดงว่า อย่างน้อยที่สุด ผลงานที่เราทำไป มีคนเห็น มีคนดู มีคนติดตาม มองเห็นในสิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราต้องการนำเสนอ คือความร้ายกาจของตัวละครตัวนี้ เราอยากให้คนดูเห็นว่า ถ้ามีลักษณะนิสัยแบบนี้ การกระทำที่แย่แบบนี้ คุณมีแต่สร้างความเสียหายให้คนรอบข้างและตัวคุณเอง สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้นทั้งในทางร่างกายและจิตใจ และผลลัพธ์ที่คุณได้คืออะไร ถ้าเราเริ่มต้นให้คนมาเข้าใจตรงนี้ได้แล้ว เมื่อละครจบ เรามั่นใจว่าผู้ชมจะเข้าใจในสิ่งที่เราอยากบอก และมองเห็นว่าทำอะไรแล้วได้อย่างไร ทำดีได้อย่างไร หรือถ้าจะปล่อยวางต้องทำอย่างไร
ในเรื่องนี้จะมีตัวละครที่เป็นมนุษย์จริงๆ หมายความว่าลักษณะนิสัยของแต่ละตัวละคร จะไม่ได้มีนิสัยด้านเดียว ทุกตัวละครจะมีความกลมอยู่ เราเห็นว่าบางคนอาจจะร้าย แต่ว่าเขาก็มีส่วนดีของเขาด้วย เพราะฉะนั้น เราคิดว่าใกล้เคียงกับมนุษย์จริงมากๆ และหลายเหตุการณ์ ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง เรามีโอกาสคุยกับผู้ใหญ่บางท่าน เขาก็จะบอกว่ามันเป็นอย่างงี้จริงๆ นะ หรือน้องช่างแต่งหน้า เขาพูดเลยว่า หนูเป็นคนต่างจังหวัด ตั้งแต่เด็กมา ช่วยพ่อแม่ทำนาตลอด และทุกวันนี้ ว่างจากการทำงาน ก็จะกลับไปช่วยทำนา ซึ่งเป็นเรื่องปกติว่า คนที่มีที่นาติดกัน ทะเลาะกัน ด้วยเหตุผลว่า กลัวน้ำท่วมนาตัวเอง ก็เลยต้องไปปล่อยน้ำ แล้วก็ตีกันลงไม้ลงมือกัน
หรือคนอย่างแย้มก็ตาม ไม่ต้องมาพูดเหตุผลอะไรกับเขาหรอก เพราะเขาปักใจเชื่ออย่างนั้นไปแล้ว เขาไม่เปลี่ยนใจแน่นอน และเขาบอกเลยว่า แย้มเป็นคนยุคก่อน เพราะฉะนั้น ค่านิยมการยึดถือครอบครัวเป็นหลักในชีวิต สมัยก่อนเป็นเรื่องใหญ่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้หญิง ครอบครัวคือที่หนึ่ง สามีคือทุกสิ่งทุกอย่าง อุทิศชีวิตให้ได้ เมื่อสามีตาย ก็เข้าใจได้ว่าทำไมแย้มถึงเสียใจและโกรธได้ขนาดนี้ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่ว่า เขาไม่ใช่ไม่มีเหตุผลเลย อยู่ดีๆ ก็ลุกขึ้นมาแค้นบ้านข้างๆ จะล้างแค้น ถ้าเป็นคนแบบนั้น ก็ไม่น่าจะมีที่ติดกันเป็นสิบๆ ปี
แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าแย้มมันเลวอย่างเดียวเลย แล้วทำไมลูกหลานถึงได้อยู่กับเขา ลูกหลานถึงได้รักเขา แย้มมีข้อดีของเขา ด้วยความที่ใจนักเลง แล้วก็รักใครก็รักมาก จริงจังกับทุกสิ่งที่ทำ รักนี่คือทุ่มให้เลย ถามลูกสาวว่าชอบลือพงษ์ใช่มั้ย ถ้าชอบ เดี๋ยวแม่จัดการให้ วางแผนทำทุกอย่าง เพราะอะไร เพราะเขารักลูก เพราะอยากให้ลูกได้ในสิ่งที่ลูกต้องการ เพราะฉะนั้นจึงทำทุกวิถีทาง อาจจะไม่ถูกต้องไปซะหมด แต่เป้าหมายอย่างเดียวที่ชัดเจนมาก เขาต้องการให้ลูกสาวเขาได้สมหวัง ได้มีความสุข ต้องการให้คนรอบข้างเขามีความสุข แต่เขาแค่ผิดเพราะทำโดยวิธีของเขา เพราะเขามองว่า อันนี้ดี กะเกณฑ์ให้ลูกหลานต้องทำแบบนี้ เป็นอย่างงี้ เพราะเขาคิดว่า นั่นเป็นสิ่งที่ดี ทำแล้วจะมีความสุข บางทีก็ไม่ได้ถามว่า ลูกหลานต้องการแบบนี้จริงเหรอ ก็คล้ายๆ พ่อแม่รังแกฉัน

• เท่าที่ฟังมา เหมือนว่าจะมีสาระอะไรเยอะเลย โดยส่วนตัว คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องละครทีวี
คือถ้าจะพูดตามแบบที่เราเรียนมา ก็ต้องพูดว่า ละครคือกระจกสะท้อนสังคม อันนี้คือสิ่งที่เราเรียนมา เราก็จะได้ยินคำนี้มา แต่ในเมื่อเราได้พิจารณาไป คำพูดคำนี้จริง เพราะอะไร ถามว่า ถ้าคุณทำละครที่ไม่เป็นจริงเสียเลย (เน้นเสียง) คนดูจะจำแนกอันนั้นไว้ว่า ให้ความบันเทิงไปอย่างเดียว หรือจะจุดประกายให้คิดอะไรไปอย่างเดียว แต่แน่นอนที่สุด ถ้ากระแสของละครแบบไหนที่ได้รับความนิยมมากๆ ในช่วงเวลานั้น มันเป็นเครื่องสะท้อนว่า สังคมในยุคนั้นเป็นอย่างไร ต้องการอะไร ผู้คนในสังคมในยุคนั้นเขาเสพอะไร มันเกิดอะไรขึ้นในเหตุการณ์บ้านเมือง เขาถึงต้องการที่จะเสพสิ่งนี้ มันเป็นการหาทางออก หรือจะเป็นที่พึ่งเหมือนกับเป็นที่หลบภัยของเขาได้มาปลดปล่อยตรงนี้รึเปล่า
• เป็นที่หลบภัยจากความเป็นจริง?
ใช่ๆ ทีนี้ ถ้าเราจะมาวิเคราะห์โดยส่วนตัว เราก็ไม่ได้เก่งหรือฉลาดอะไรมากมาย แต่เราเชื่อว่า ณ ตอนนี้ สังคมเราเริ่มกลับมาที่ความต้องการที่จะอยู่กับความเป็นจริงมากขึ้น เพราะละครเรื่องนี้ มันเป็นการพูดความจริง เป็นการเล่าเรื่องของคนไทยจริงๆ ในสังคมไทย เราไม่ต้องการจะหลบหนีไปโลกที่สรวงสวรรค์แสนสบาย โดยการไปดูภาพยนตร์ต่างประเทศ ที่มีดาราฝรั่งแสดง หรือพูดถึงเรื่องความหวานกุ๊กกิ๊กอะไรแบบนั้น เราอาจจะไม่ต้องการเกาะสวรรค์หนีไปแบบนั้นแล้ว เราอาจจะกลับมาพูดกับปัญหาจริงๆ มากกว่า อย่างน้อยก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานอันดับแรก
เพราะฉะนั้น ทุกคนสัมผัสได้แน่นอน แล้วก็การที่เราได้เข้าใจ ได้มองเห็นปัญหา ซึ่งครอบครัวอาจจะมองไม่เห็นปัญหา แต่ถ้าเราเห็นปัญหาเหล่านี้ แล้วมันเป็นแบบนี้นะ มีคนมาถามเยอะมากนะว่า ทำไมแม่ผัวเป็นอย่างงี้ ไม่ไหว แต่สิ่งที่เราได้กลับมา คือเรามีความสุขมาก เพราะอย่างน้อยที่สุด ที่เราเหนื่อยมา 16 เดือน ที่เราอาละวาด ที่เราตบตี ด่าอยู่ตลอดเวลา ใช้ความรุนแรง สารที่เราต้องการจะสื่อ มันก็ได้
ส่วนในเรื่องความบันเทิง มันคือเรื่องของการตอบโจทย์ข้อหนึ่งเสมอ ถามว่า ถ้าไม่บันเทิง อะไรล่ะจะไปฉุดดึงให้คุณผู้ชมอยู่กับเรา ถ้าเราเล่าเรื่องชีวิตที่ปกติของมนุษย์ทุกคนมากๆ คุณผู้ชมอาจจะบอกว่า ข้างบ้านตีกันยังมันกว่าละครอีกเลย ไม่ดูหรอก ฟังข้างบ้านตีกันยังสนุกกว่านี้เยอะ เพราะฉะนั้นถามว่า บางทีทำไมมันรุนแรงเกินเหตุ ทำไมมีเหตุบังเอิญเกิดขึ้นเยอะมากเลย ข้อที่ 1 ถ้าเราต้องการจะเสนอสารอะไร ดึงให้คุณผู้ชมอยู่กับเราก่อน เมื่ออยู่กับเราและเขาติดตามเราไปแล้ว เราอยากบอกอะไรเขา เขาย่อมฟัง เหมือนคุณโทรมาอยากขายประกันพี่ ถามว่า ผู้ฟังถ้าไม่พร้อมจะฟังเลย หรือว่าคุณเกริ่นมาก็จบแล้ว ไม่ชวนให้ติดตาม สารที่คุณจะสื่อ จะสำเร็จมั้ย ไม่มีทางสำเร็จ เพราะเขาไม่ได้อยู่กับเรา เพราะฉะนั้น จะทำอย่างไรให้เขาอยู่กับเราต่อ เมื่อเขาอยู่กับเราแล้ว เราจะเสนอสารอะไรและสื่ออะไรให้เขา เราคิดว่ามันจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่จะมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับผู้ส่งและผู้รับด้วย เพราะว่าเหตุผลและจริตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
มีหลายท่าน ที่เขียนว่า ไม่ดูเรื่องนี้เพราะว่าเครียดมาก อันนี้เข้าใจได้จริงๆ เลย เพราะว่าถ้าคิดตามมากๆ จะรู้สึกเครียดเลย เพราะฉะนั้น ความชอบของแต่ละท่านจะไม่เหมือนกัน สารอย่างเดียวกัน อาจจะต้องนำเสนอในรูปแบบที่ต่างกันไป สำหรับท่านผู้ชมท่านนี้ เพื่อให้ท่านได้รับสารนั้น แต่แน่นอนที่สุด อย่างที่ตอบ บันเทิงคืออันดับ 1 เพราะถ้าไม่สำเร็จ ใครจะอยากตอบรับ

• นอกจากตัวคุณแล้ว ในส่วนนักแสดงในเรื่อง คล้ายกับว่าถูกพูดถึงอีกครั้ง ในความเห็นของคุณ รู้สึกว่าเป็นสัญญาณที่ดีมั้ยว่าเราจะเขยิบใกล้เคียงต่างชาติมากขึ้นตรงที่ คนอายุเยอะ ยังเป็นตัวนำได้
(นิ่งคือ) หนึ่ง ทุกคนมีศักยภาพสูงมาก หมายถึงนักแสดงท่านอื่นนะคะ อันนี้เราไม่ได้พูดถึงตัวเอง ทั้งเบนซ์ (พรชิตา ณ สงขลา), โดนัท (มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล) หญิง รฐา (โพธิ์งาม) พี่แหม่ม (จินตหรา สุขพัฒน์) หรือถ้าเป็นฝั่งชาย อย่าง มอส (ปฎิภาณ ปฐวีกานต์), น็อต (วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์) หรือ บอย-พิษณุ (นิ่มสกุล) ก็เป็นพระเอกหมดเลยนะ คือทุกคนเป็นตัวเอกหมดเลย ศักยภาพทุกคนเปี่ยมล้นอยู่แล้ว แต่อยู่ที่ว่า เมื่อไหร่จะมีโอกาสให้เขาได้แสดงความสามารถอย่างนี้ออกมา เราถือว่าตรงนี้คือเรื่องสำคัญมาก บทละครคือสิ่งที่สำคัญมาก มันเหมือนกับเป็นคัมภีร์หลักที่จะทำให้เรื่องนี้ หรือแม้กระทั่งเพลงเพลงหนึ่ง เข้าถึงใจคนดูได้มากเพียงใด แล้วเมื่อเข้าถึงแล้ว จะดึงคนดูให้อยู่กับเราแค่ไหน อันนี้คือสิ่งที่สำคัญที่สุด หรือแม้กระทั่งเมืองนอกเอง ก็มีปัญหาว่า ขาดแคลนคนเขียนบท ถ้าคนเขียนสไตรค์เมื่อไหร่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์หรือวงการบันเทิงหยุดทันที นี่คือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นที่อเมริกา ในวงการโทรทัศน์ที่นั่น
เพราะฉะนั้น ต้องขอบคุณผู้ประพันธ์เรื่องนี้ด้วย คือคุณจุฬามณี (นิพนธ์ เที่ยงธรรม) ที่ประพันธ์เรื่องนี้ออกมาได้น่าสนใจ และตัวละครทุกตัวนี่คือบิลด์ติดมาก เพราะฉะนั้น เราเชื่อว่านักแสดงทุกท่าน มีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับโอกาสแล้วล่ะว่าโอกาสที่บทเด็ดขนาดนี้จะมาถึงเมื่อไหร่ เพราะถ้าเมื่อมาถึงแล้ว คำว่าเราเป็นนักแสดงอาชีพ คือทุกคนเต็มที่เสมอ เราเชื่อมั่นได้เลยค่ะ ทุกคนรักงานตัวเอง ทุกคนไม่อยากไม่ดีหรอก เพราะฉะนั้น เราก็ลองเต็มที่เลย มันก็เลยทำให้เราคิดว่า ทุกอย่างอยู่ในตัวหมดเลย ถือว่าถ้ามองเป็นภาพวาดเขียน ภาพนี้ ดึงดูด สวยงามและกลมกลืน ส่วนแง่ที่ว่า จะเป็นจุดกลมกลืนที่ให้วงการบันเทิงไทย หันทิศทางรึเปล่า เราตอบไม่ได้จริงๆ เพราะเราเองก็เป็นแค่ผู้รับจ้างอยู่
แต่อย่างน้อยที่สุด ละครเรื่องนี้ ด้วยความที่มันเข้มข้นทุกตัว เราคิดว่า เอาแค่พื้นฐานหลักๆ เลย เราได้เข้าไปถึงใจคนดู เราก็มีความสุข ได้ทำให้เขาได้หลุดไปจากโลกแห่งความเป็นจริงวันละ 2 ชั่วโมง เราคิดว่านักแสดงและทีมงานทุกคนมีความสุข เพราะงานของเรา เราถือว่าเราก็ให้ความบันเทิงให้คนเนอะ เป็นพื้นฐานอันดับแรก คืออาจจะมีเรื่องเครียด หรือทะเลาะกับใครมา เจอปัญหาอะไรก็ตามในชีวิต แต่ชั่วขณะที่เขาได้เสพงานของเรา 2 ชั่วโมงครึ่ง สัปดาห์ละ 3 วัน เขาไม่ต้องคิดถึงปัญหาของเขา มันก็ทำให้เรามีความสุขแล้ว

• ถ้าเปรียบให้เห็นภาพในวงการบันเทิงในปัจจุบันแบบชัดๆ เลย ก็คงคล้ายกับภาพยนตร์เรื่อง “เบิร์ดแมน” (Birdman) ที่พอแก่ตัวหรือสูงวัย ก็ไม่ค่อยได้บทดีๆ
เราชอบนะหนังเรื่องเบิร์ดแมน (Birdman ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมรางวัลออสการ์ครั้งล่าสุด) ตัวเอกของเรื่องเป็นซูเปอร์สตาร์ที่เคยดังมาก แต่เมื่อถึงตอนที่เขาเป็นนักแสดงสูงวัย คือบทก็ต้องเปลี่ยนไป คนเราก็ต้องเลี้ยงชีพ เอาชีวิตรอดเนอะ มีงานอะไรเข้ามา เขาก็ต้องรับ เอเยนต์ก็ต้องรับ เพราะฉะนั้น จุดหนึ่งเขาก็ต้องเปลี่ยนตัวเองและยอมรับตัวเองว่าสถานะเขาเป็นยังไง ต้องไปดูตรงนั้น แต่สิ่งที่มันยากก็คือเขาจะวางตัวยังไง เพราะยังมีแฟนคลับของเขาที่เฝ้าติดตาม ยังเห็นว่าเขาเป็นเบิร์ดแมนอยู่ อันนี้ยากนะ
โดยอาชีพเรา กำลังใจของเรามาจากบุคคลจำนวนมาก ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นข้อดีมากๆ เลย เราไม่รู้จะขอบคุณยังไง อย่างสมมติว่าเรามีคอนเสิร์ตหรือเล่นละครเวที เราแสดงสดในที่เล็กๆ ที่จำกัด คุณผู้ชมที่ไม่ได้รู้จักกับเราเป็นการส่วนตัว แต่เขาอุตส่าห์มา บางท่านมาจากเชียงใหม่ จากขอนแก่น จากภูเก็ต หรือบางทีมาไกลแล้วรถติดมาก เลิกงานแทนที่จะกลับบ้านไปพัก แต่เขาเหนื่อยมา เขาอุตส่าห์มาแล้วเสียเงินซื้อตั๋ว เพื่อจะมาดูเรา ทั้งที่เขาไม่ได้รู้จักเราเลย และไม่ได้เป็นญาติเรา เขามาดูและให้กำลังใจเรา เพราะฉะนั้น พอเราจะก้าวขึ้นเวที เรารู้สึกว่าเราทรยศไม่ได้ เราไม่ให้ที่สุดของเราไม่ได้ เพราะฉะนั้น กำลังใจจากตรงนี้เยอะมาก
แต่เหรียญอีกด้านหนึ่งมันมีเสมอ ความคาดหวังของคนที่ไม่รู้จักเรา ในเมื่อเขาให้กำลังใจเรา เขาก็จะเชียร์เรา หรือคนที่ไม่ชอบ หรือคนที่เขามีสิทธิ์วิจารณ์ แน่นอน เอาตรงๆ เพราะเขาคือผู้ว่าจ้าง อาจจะไม่ใช่ในทางตรง แต่อาจจะเป็นทางอ้อม เพราะฉะนั้น ในชีวิตหนึ่ง เราจะได้กำลังใจเยอะมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางครั้ง สิ่งเหล่านั้นมันอาจจะมีความบั่นทอนด้วยเช่นกัน บางทีอาจจะไม่ใช่ทางตรง อย่างในเรื่องเบิร์ดแมน มันมีฉากที่ตัวเอกใส่กางเกงในวิ่งออกมา คนก็ตกใจว่า “ตายแล้ว ทำไมนุ่งกางเกงในออกมา” แบบนี้เป็นต้น สำหรับนักแสดง เราเชื่อว่าเขาก็มีจิตใจที่อ่อนไหวอยู่แล้วนะ เพราะอาชีพเรามันใช้อารมณ์เล่นกับความรู้สึกเยอะมาก เพราะฉะนั้น แม้จะโดนกระทบนิดเดียว เรารู้สึกทันทีเลย เพราะฉะนั้น เราต้องใจให้เย็นและยอมรับ
• แต่ในหนังมันจะมีฉากที่ตัวเอกต้องต่อสู้กับช่วงรุ่งโรจน์ของตัวเองน่ะครับ คือก็คิดเหมือนกันว่า นักแสดงบางคนจะเหมือนเบิร์ดแมนหรือเปล่า
(นิ่งคิด) มันก็ตอบยากเหมือนกันนะคะ เพราะตัวเราเองไม่เคยประสบความสำเร็จถึงขนาดแบบเบิร์ดแมน ที่ไปไหนคนก็จะรู้จัก และเราก็ไม่เคยใช้ชีวิตส่วนตัวลำบากอะไรขนาดนั้น เพราะฉะนั้น ถามว่าเขาคิดยังไงหรืออะไรยังไง เราตอบไม่ได้ แต่อย่างที่บอก อาชีพของเราเนี่ย ทักษะของเราก็คือสามารถที่จะเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างฉับพลัน เพราะเราไม่สามารถบอกผู้กำกับทุกครั้งไปว่า ขอเวลาไปทำอารมณ์สัก 2 ชั่วโมง คือนานๆ เกิดขึ้นที มันเป็นไปได้ แต่เราไม่สามารถไปทำได้กับทุกซีนที่ถ่ายได้ หรือทำอารมณ์โกรธแค้นสัก 2 ชั่วโมง มันทำไม่ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อเราเป็นตัวละคร เราต้องเข้าถึงอารมณ์นั้น สูงสุดต่ำสุดตลอดเวลา ฉากนี้โกรธ หรือ ฉากนี้ดีใจนะ คือเราต้องทำให้ได้ เพราะฉะนั้น เราก็ถูกฝึกตรงนี้ เพื่อพวกเราทำงานได้ แต่ในชีวิตจริงมันเลือกไม่ได้ที่เราจะรู้สึกไว สิ่งที่ช่วยมากก็คือ ต้องมองตัวเอง พยายามมีสติ สมาธิเอามาใช้บ้าง ไม่ได้เก่งกาจอะไร แต่ว่าให้มาช่วย

• ขอย้อนไปนิดหน่อยครับ คุณมีความสนใจในเรื่องการแสดงมาตั้งแต่เด็กๆ เลยใช่ไหม
มันก็ไม่ได้ถึงขั้นว่า ตอนเด็กคิดว่าฉันจะต้องเป็นนักแสดงให้ได้ แต่เราไปเปิดอัลบัมสมัยเด็กๆ ดู ก็จะเห็นว่าเด็กทุกคนก็จะเป็นแบบนี้ เด็กทุกคนก็จะมีจินตนาการนะ ยังไม่ได้คิดอะไรมาก เขาอยากแสดงออกแบบเต็มที่ของเขา แล้วก็มานั่งคิดว่า คนจะมองฉันหรือเปล่า จะคิดว่าฉันบ้าหรือเปล่า แต่อยากเป็นอะไรก็เป็น เขามีจินตนาการในโลกส่วนตัวของเขาที่สนุกมาก เราไปดูรูปที่ถ่ายตอนเด็ก แล้วก็สนุกมาก อยากเป็นนักมวย นักร้อง หรือแอร์โฮสเตส หรือบางช่วงก็ถ่ายรูปกับดอกไม้ จะต้องทำท่านี้ เอาดอกไม้ทัดหู หรืออะไรก็แล้วแต่ นางก็จะมโนของนางไป แล้วก็พอสักประถมปลาย ก็บอกคุณแม่ว่าอยากเป็นผู้กำกับ จากการได้ดูละครโทรทัศน์ ทีนี้คุณแม่ก็พาไปดูละครเวที
เราได้ดูละครเวทีของคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ตั้งแต่เด็กๆ เราดูแล้วมันสนุกมาก ชอบมากเลย คิดดูสิไปดูที่ศาลาพระเกี้ยว คือคุณแม่เราเป็นอาจารย์ที่จุฬา พอมีละคร คุณแม่ก็จะพาไปดู โดยคุณแม่ก็คงไม่รู้หรอกว่า สิ่งที่แม่พาไปดูเพื่อความบันเทิง ลูกจะยึดเป็นอาชีพ แต่ก็เพราะว่าเราชอบเองด้วย มันอยู่ในดีเอ็นเอของเรา แล้วพอเราได้ดูได้เสพสิ่งเรานี้ มันเหมือนเป็นตัวกระตุ้น ก็เลยบอกแม่ว่าอยากเป็นผู้กำกับ ประกอบกับที่เราเรียนเต้นเรียนดนตรี มันคือเป็นการแสดงออกอยู่แล้ว (นิ่งคิด) เหมือนจะเบนมาด้านนี้แล้วล่ะ
แต่สมัยก่อนจะแบบว่า ทุกคนจะตั้งใจเรียนเนอะ เราก็ไปสายวิชาการ เรียนคณะที่เป็นสายวิชาการ ก็คิดว่าชีวิตนี้คงไม่ใช่เป็นสายบันเทิงแน่นอนนะคะ ก็เรียนไป แต่ด้วยความชอบในใจ ก็ขอแอบเรียนศิลปะการละครเป็นวิชาโท จากจุดนี้ ก็ทำให้เราได้มีโอกาสได้เล่นละครคณะ แล้วก็ไปอยู่ CU Band เราก็ได้ร้องเพลง ก็ได้รู้จักรุ่นพี่ จากที่เราคิดว่า แค่ชอบ ทำงานประจำ เดี๋ยวก็มีร้องเพลง ได้ทำในสิ่งที่รักบ้าง ได้เล่นละครเวทีบ้าง สิ่งที่รักเหล่านั้น กลับกลายมาเป็นงานที่ใช้เวลาในชีวิตเราเยอะมาก
แล้วก็มาถึงจุดที่เรารู้สึกว่า เราจะเอายังไง เพราะมันไม่ได้ให้ความยุติธรรมสักงานเลย ถ้าเราทำแบบนี้ต่อไป ก็เลยเลือกที่จะเต้นกินรำกินเต็มตัว (หัวเราะ) แล้วก็ถูกที่บ้าน คุณพ่อ คุณแม่ และพี่สาว เรียกคุยเสมอๆ ว่า เมื่อไหร่จะทำงาน (หัวเราะ) ด้วยความเป็นห่วง คือท่านทราบว่าเรามีรายได้เหล่านั้นเลี้ยงตัวได้ แต่ด้วยฐานะเป็นพ่อแม่และพี่สาวที่มีความรักความเป็นห่วง ก็จะถามว่า ลูกจะมั่นคงมั้ย ทุกวันนี้พี่สาวก็ถามอยู่เสมอนะว่า แล้วยังไง ถ้าแก่ตัวไป ไม่มีใครจ้างร้องเพลงนะ ไม่มีใครจ้างเล่นละคร แล้วจะเอายังไง เราก็จะแบบไม่รู้ไม่คิด เพราะมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ เป็นคนคิดสั้นมาก แต่ทุกวันนี้ก็ยังมีความสุขกับงานที่ทำในทุกวันนี้

• ในชีวิต “เต้นกิน รำกิน” ที่ทุกคนถามตลอดว่า “มั่นคงมั้ย” คุณมีอะไรเป็นหลักยึดที่แข็งแรงให้แก่ตัวเอง
มีความสุขกับสิ่งที่ทำในตอนนี้ เราไม่มองหรอกว่าจะมีใครมองเห็นในสิ่งที่เราทำหรือเปล่า ไม่กล้าคิดด้วยซ้ำ แต่เราคิดว่าผู้กระทำมีความสุขหรือเปล่า ถ้าคนชมผลงานมีความสุข นั่นคือจบ เรามีความสุขกับสิ่งที่ทำหรือเปล่า ถ้ามีคือจบ ไม่ถามอะไรต่ออีกแล้ว แต่ถ้าไม่มี ก็ต้องกลับมาถามแล้วว่าฉันไม่มีความสุขเพราะอะไร เพราะฉันไม่อยากทำงานนี้เหรอ ไม่อยากทำเพราะอะไร ศักยภาพฉันไม่มากพอ แล้วฉันต้องฝืนใจตัวเอง เพราะว่าฉันขี้เกียจหรือเพราะอะไร ปัจจัยอื่นนอกจากนี้คืออะไร มันเป็นงานบุญคุณที่ต้องทดแทนใครหรือเปล่า หรือเป็นงานบีบบังคับ อะไรอย่างนี้
ข้อหนึ่งซึ่งสำคัญมาก คือถ้าเลือกได้ ถ้าเรามีความสุขกับตรงนี้ มันไม่ต้องถามอะไรอีกแล้ว เราใช้ใจในการดำเนินชีวิตมาก เพราะฉะนั้น ในเรื่องงานหรืออะไรก็ตาม เรามีความสุขกับมันมั้ย ถ้ามีก็ไม่ต้องถามคำถามอื่นแล้ว ไม่ต้องแบบว่า เราทำไปเพื่ออะไร เพราะเหตุผลนี้ ตราบใดที่เรายังมีความสุขและรักในสิ่งที่เราทำ เราก็ยังอยากทำมันไปเรื่อยๆ และก็อยู่มา 20 กว่าปี เราก็มีความสุขกับทุกงานที่เราทำ เพราะเราได้ถามตัวเองแล้วว่าเรารักและมีความสุขหรือเปล่า เมื่อเรามี เราก็ทำไป ความเหนื่อยและอุปสรรค มันก็มีเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ตามหรือใช้ชีวิตปกติ ทุกคนต้องเจออยู่แล้ว งานคนอื่นเหนื่อยกว่าเราไม่รู้กี่เท่า อาจจะเหนื่อยสมองมากกว่าเหนื่อยกาย หรือเหนื่อยใจอีก เพราะฉะนั้น เราโชคดีมากที่เราได้มีรายได้กลับมาจากสิ่งที่เรารัก
บางงานอาจจะไม่มีใครเห็นเลยก็ตาม หรือบางงานอาจจะเป็นงานเล็กมาก บางงานเล่นละครเวทีรอบละพันกว่าคน หรือบางงานอาจจะไม่ได้อยู่ในสายตาเลย เมื่อหลายปีก่อนมีนักข่าวสัมภาษณ์เรา ซึ่งเขาไม่ได้เจอเรานานมากแล้ว คือเจอครั้งล่าสุดก็ตอนที่ออกเทปใหม่ๆ แล้วก็ห่างหายไป เพราะเราก็ไม่ได้มีผลงานเพลง นักข่าวท่านนี้เป็นสายเพลงนะคะ ก็ไม่ได้คุยกันเลย พอมาเจออีกที เขาก็ถามด้วยความเป็นห่วงนะว่า อยู่ได้ยังไง คือทำมาหากินด้วยอะไร คือมันก็ทำให้เรารู้เลยว่า เออ งานที่เราทำบางทีก็ไม่ได้อยู่ในสายตาคนเลย ทุกคนก็ไม่ทราบว่าเราทำงานอะไร บางงานก็เล็กมาก หรือบางงานก็ไม่มีใครเห็น แต่สำหรับเราแล้ว ถ้าเราสุขใจ มันก็จบแล้ว บางงานมีลิมิตมาก มี 20-30 คน แต่ปริมาณไม่ใช่เครื่องวัดอะไร คือวันนี้เรามีความสุขมากเลย เพราะว่าเราอยากร้องเพลงที่เราอยากร้อง แล้วได้อารมณ์ที่เราสื่อออกไป มันกระทบกับคนฟัง แล้วเขารู้สึกตามเราไปด้วย อย่างเวลาเราร้องเพลงแล้วมีความสุข เราก็พอใจแล้ว ชีวิตเราพอใจแล้ว หรือเวลาเราร้องเพลงเศร้า เขาเข้าใจและเศร้าตามเรา

• จากการทำหน้าที่มาถึงจุดนี้ มันเหมือนกับว่าสัมฤทธิผลในวงกว้างแล้วหรือยัง
ไม่เลย สัมฤทธิผลของเรา ก็ยังใช้ใจเป็นหลัก คือเราเป็นคนที่รับงานอะไรแล้ว หรือจะทำอะไรก็ตาม จะนึกเสมอว่าเราจะต้องทำ ณ ขณะนั้นให้ดีที่สุด ให้เต็มที่ที่สุดของเราเลย ด้วยเงื่อนไขที่ว่าเราอาจจะไม่สบาย หรืออาจจะมีปัจจัยอื่น มีเหตุการณ์เฉพาะหน้าหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น เพราะด้วยงานของเราจะเป็นงานแสดงสดค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นละครเวทีหรือคอนเสิร์ต อะไรก็ตาม เราแค่ขึ้นเวทีไป และอยากจะเต็มที่ที่สุดของเรา อยากทำให้ดีที่สุด เพื่อที่ว่า เมื่อเวลาผ่านไป เราเดินจากไป เราจะไม่รู้สึกเสียดายว่า ทำไมฉันไม่ทำแบบนั้น ทำไมฉันไม่นอนให้เยอะกว่านี้หรือทำไมติดโซเชียลเยอะ ไม่อยากเป็นแบบนั้น อยากให้รู้สึกว่าเราทำตรงนั้นให้ดีที่สุด เราจะได้พอใจ
เหมือนกับว่า อะไรจะเกิดขึ้น ฉันไม่ห่วงแล้ว ฉันได้ทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว ฉันพอใจแล้ว สำหรับเรา นี่คือสัมฤทธิผลแล้ว จะมีคนเห็นมากหรือน้อย เรากำหนดไม่ได้ และเราอย่าคาดหวัง ถ้าเราคาดหวังเราจะเสียใจและผิดหวัง ถ้าเราตั้งเป้าว่าตั้งใจทำงานนี้แบบล้านเปอร์เซ็นต์เลย คนจะต้องเห็นเยอะและชอบ แล้วถ้าวันนั้นเกิดน้ำท่วม ฝนตก หรือไม่มีคนดู และเกิดเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เราจะทำยังไง ต่อให้คนดู 5 คน ซึ่งต่อให้เราเดินจากไป นั่นคือที่สุดของเราแล้ว สิ่งที่เราทำได้คือตัวเราต่างหาก สิ่งที่เรากำหนดได้ ก็ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์อีกนะ
เพราะโดยส่วนใหญ่ คือตัวเรา เราคือธรรมชาติน่ะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราอาจจะร้องๆ อยู่ แล้วล้มไป หรือว่าอยู่ดีๆ สำลักน้ำลาย แล้วหายไปประโยคหนึ่ง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงนะ เพราะฉะนั้น ธรรมชาติก็เกิดขึ้นได้ตลอด เครื่องจักรยังมีวันพังเลย เพราะฉะนั้น เราอย่าไปคาดหวังคนอื่น เราคาดหวังตนเอง พยายามทำตัวเราให้ดีที่สุด มันก็ยังมีธรรมชาติมาบังคับเรา เพราะอะไร เพราะธรรมชาติมันตัวใหญ่เสมอ เรากำหนดธรรมชาติไม่ได้ ร่างกายเราเดี๋ยวก็ผุพังย่อยสลายไป เพราะร่างกายก็คือธรรมชาติ ก็แก่ไปเรื่อย กล้ามเนื้อก็อ่อนแรงลงไปเรื่อยๆ หรือวันนี้กล้ามเนื้อเส้นเสียงบอกว่า ฉันเป็นกล้ามเนื้อที่เล็กแล้วฉันเหนื่อย เธอสั่ง ฉันไม่ทำแล้ว มันเกิดขึ้นได้นะ
เพราะฉะนั้น เมื่อเรากำหนดตัวเองไม่ได้แล้ว เราต้องทำใจ ต้องปลง นี่ขนาดตัวเราเองนะ แล้วจะอะไรกับคนดู ถึงคนดูจะเล็กน้อย แต่คือของขวัญ คือรางวัลของเราแล้ว คือกำลังใจหล่อเลี้ยง เราทำของเราให้ดีที่สุด ที่เราพอใจ ตรงนั้นก็ถือว่าสำเร็จแล้ว เพราะว่าอาชีพเรา ไม่ใช่อาชีพที่วัดจากยอดขาย เดี๋ยวนี้คุณขายเท่าไหร่ คุณจะประสบความสำเร็จเป็น man of the month มันไม่ใช่ เพราะฉะนั้น สัมฤทธิ์ที่ตัวเรา วัดค่าของการสัมฤทธิ์ที่ตัวเรา ถ้าเราพอใจกับตัวเองแล้ว บางทีมันอาจจะห่วยมากเลยก็ได้นะ ไม่ถึงมาตรฐานของเราเลย แต่ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง อาจจะมีคนด่าเยอะว่าบ้าหรือเปล่า หรือร้องเพี้ยน หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าเราเข้าใจตัวเราเองว่ามีอะไรเกิดขึ้น มันมีสภาพแวดล้อมปัจจัยอื่นเข้ามา ถ้าเราพอใจ นั่นคือสัมฤทธิ์ของเราแล้ว แต่ในสายตาคนอื่น อาจจะไม่ใช่
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันไม่ได้หมายความว่า ฉันขี้เกียจไปวันๆ เท่านี้ ฉันก็สัมฤทธิ์แล้ว แค่นี้ แล้วถามว่าความภูมิใจของตัวเองอยู่ที่ไหน ค่าของคุณอยู่ที่ไหน แล้วคุณให้ค่าของตัวเองอยู่ที่ไหน คือคุณอาจจะคิดว่า คุณพอใจแค่นี้แล้ว สัมฤทธิ์ผลแล้ว ฉันพอใจนอนอยู่บ้านสบาย แล้วทีนี้มองย้อนไปอีกว่า มนุษย์แต่ละคนให้ค่าตัวเองไม่เท่ากัน ตราบใดที่เขาพอใจแค่นั้น แล้วไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎสังคม ไม่เป็นปัญหา แต่เราไม่สามารถไปบอกเขาได้ มันจะเป็นแย้มเลย คือเอาตัวเองไปกำหนด คือเขาพอใจแค่ไหนก็แค่นั้น ต้องไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เฟืองทุกตัวในสังคมสำคัญหมด เราไม่จำเป็นจะต้องมีท็อปเฟือง คือไม่ใช่ว่าทุกคนจะเก่งกล้าไปซะหมด เราอาจจะเป็นเฟืองเล็กๆ หรือเฟืองที่หมุนช้าๆ ก็ดี ไม่จำเป็นต้องหมุนเร็วจี๋ตลอดเวลา มันไม่ใช่ที่จะให้เครื่องจักรเครื่องหนึ่งทำได้ มันอาจจะมีเฟืองตัวเล็ก ตัวใหญ่ เฟืองหมุนช้า หรือหมุนเร็ว มีแกนก็สำคัญ
เพราะฉะนั้นคือ เราจึงคิดว่าทุกคนก็รับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด แต่ อาชีพเราคือทักษะ เราหยุดวิ่งไม่ได้จริงๆ เราต้องพยายามฝึกฝน และนี่คือเหตุผลว่า เราพยายามจะรับงาน ถ้าไม่มีก็จะไปขอ เพื่อให้เราได้ฝึกฝนทักษะ ที่ผ่านมาจะมีบางปีที่ไม่มีงานละครติดต่อเข้ามา อาจจะมีงานละครพรีเซนต์เล็กๆ แค่ 3 วัน หรือไปเล่นละครคณะ ซึ่งไม่ได้เงินสักบาทเดียว แต่ถ้าเป็นบทที่น่าสนใจ เราจะทำทันที เพราะมันเป็นการให้เราได้ฝึกทักษะ เราเรียนอยู่ตลอดเวลา เพราะอาชีพเราคือการใช้ทักษะ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งข้อที่งานของเรา ก็ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสายตาประชาชนเสมอไป

• อยากจะให้คุณได้ฝากแง่คิดเกี่ยวกับการเต็มที่กับอาชีพของตัวเองหน่อยครับ
เราคิดเสมอว่าเราโชคดีมากที่ได้ทำงานที่เรารัก และเรามีความสุขกับงาน หลายๆ ท่านคือด้วยข้อกำหนดหรือข้อจำกัดใดๆ ก็ตาม ท่านอาจจะไม่ได้ทำงานที่ท่านรักอย่างเต็มที่ แต่มีพี่ท่านหนึ่งซึ่งเราเคารพและนับถือมากๆ คือพี่มาริสา สุโกศล หนุนภักดี เราสนิทกัน แล้วพี่สาก็บอกว่า เราอาจจะไม่ได้ทำงานที่เรารัก แต่เราเรียนรู้ที่จะรักงานที่เราทำได้ ขอให้เราอยู่กับขณะนั้นที่เราทำ ให้ความใส่ใจและละเอียดกับสิ่งที่เราทำ และคิดว่าเราทำอะไรอยู่ เราอาจจะทำสิ่งนั้นได้ดี และนั่นแหละที่จะเรียนรู้กับสิ่งที่เราทำ แล้วแค่คำว่าเราอยากทำให้ดี อย่างน้อยที่สุด เรามีความรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีตัวเอง มีความรับผิดชอบต่อมัน มีความรับผิดชอบต่อผู้ว่าจ้างเรา หรืออาจจะเป็นแบบเราจ้างตัวเอง เรารับผิดชอบค่าศักดิ์ศรีตัวเอง รับผิดชอบต่อครอบครัวเรา ซึ่งมันจะส่งผลต่อวงกว้างมากขึ้น มันทำให้สังคมดีได้ เรารู้หน้าที่ของเรา เรารับผิดชอบต่อมันอย่างดี สังคมมันก็จะก้าวหน้าไปได้ ประเทศก็เช่นกัน
แต่ถ้ามีปัจจัยที่เข้ามา แล้วทำให้เรารู้สึกว่า เราไม่มีความสุขเลย เราไม่อยากทำสิ่งนี้ ก็ให้เรากลับมาถามตัวเองจริงๆ ว่า เราได้เต็มที่ที่สุดกับสิ่งที่เราทำ ณ ขณะนั้นหรือยัง ถ้าเราตอบว่า ฉันไม่ชอบงานนี้เลย แต่ฉันให้ที่สุดแล้ว แล้วมันก็ยังไม่ได้ไปถึงไหน แล้วฉันก็ไม่มีความสุข ก็อาจจะต้องถึงเวลาที่เรามาคิดว่าเราจะเดินจากตรงนี้ไปมั้ย แต่ก็ต้องถามตัวเองด้วยว่าเราจะไปทำอะไรที่เราจะมีความสุขกับมัน แล้วก็ถามตัวเองให้แน่ใจนะว่า
เมื่อเดินจากไปแล้ว คุณจะไม่เสียใจนะว่าทำไมไม่ทำแบบนั้น ทำไมไม่แก้ปัญหาแบบนี้ ทำไมไม่ลองแบบที่สุดทุกวิถีทางดูก่อน แค่นั้นเอง
Profile
รัดเกล้า อามระดิษ เกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2512 สำเร็จการศึกษา อักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการเป็นนักร้องคอรัสให้กับ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ในอัลบัม พงษ์พัฒน์ ภาคพิสดาร (พ.ศ. 2534) ต่อมา ถูกรับเลือกให้เป็นหนึ่งนักร้องของอัลบัม Z-Zomkiat ของ สมเกียรติ อริยชัยพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งในอัลบัมดังกล่าว รัดเกล้าได้ร้องเพลง ‘ใจต่างใจ’ ก่อนที่จะเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่คนฟังเพลง ในซิงเกิล ‘ลมหายใจ’ ของ บอย โกสิยพงษ์ จากอัลบัม Rhythm & Boyd ในปี พ.ศ. 2538 และมีผลงานเพลง 3 อัลบัม ได้แก่ “Request” (พ.ศ. 2541), “Released” (พ.ศ. 2542) และ “Relax” (พ.ศ. 2543)
ในการแสดง รัดเกล้า รับงานแสดงเป็นครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง ‘รักแท้บทที่ 1’ ในปี พ.ศ. 2538 และมีงานแสดงทั้งภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และ ละครเวทีมาตั้งแต่นั้น
นอกจากนี้ รัดเกล้า ยังได้รับรางวัลนักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม โดยรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง จากภาพยนตร์เรื่อง ‘อุโมงค์ผาเมือง’ เมื่อปี พ.ศ. 2554 อีกด้วย
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช
แต่ถ้าเจาะถามลงไปในรายละเอียดของนักแสดงในละครเรื่องนี้แล้ว บทบาท ‘นางแย้ม หมั่นกิจ’ ที่รับบทโดย “ต๊งเหน่ง-รัดเกล้า อามระดิษ” ได้รับการพูดถึงเป็นพิเศษ เพราะด้วยบุคลิกตามเนื้อหาที่ร้ายกาจ เจ้าคิดเจ้าแค้น เห็นแก่ตัว หรือใช้ความรุนแรง บวกกับบทบาทการแสดงที่ “เข้มเต็มขั้น’ ทำให้เธอกลายเป็นดาวเด่นที่สุดของเรื่อง
นอกเหนือจากบทบาทการแสดงที่การันตีฝีมือได้แล้ว ในหมู่คนฟังเพลงไทยโดยส่วนใหญ่ หากมีการจัดลำดับนักร้องหญิงเสียงดี ชื่อของเธอคงต้องติดอันดับต้นๆ สำหรับนักฟังเพลงหลายคน เพราะความสามารถในการสื่ออารมณ์เพลงออกมาได้อย่างซาบซึ้งเปี่ยมคุณภาพ และใครก็ตามที่โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถโดยสารบีอาร์ทีเป็นประจำ คงคุ้นเคยกับเสียงของเธอเป็นอย่างดีกับการประกาศบอกกล่าวแก่ผู้เดินทาง
เป็นเวลา 20 กว่าปีที่รัดเกล้าโลดแล่นอยู่บนเส้นทางที่เธอใช้คำว่า “เต้นกิน รำกิน” ซึ่งคงไม่มีกล้าปฏิเสธได้ในศักยภาพและคุณภาพของเธอ ที่ยังคงรักษามาตรฐานไว้ได้อย่างต่อเนื่อง และบทอีแย้มในละครสุดแค้นแสนรัก ก็เป็นประจักษ์พยานในแง่มุมนี้ได้เป็นอย่างดี...
• ถามถึงที่มาที่ไปของการตัดสินใจมารับบทซึ่งเป็นที่โจษจันอย่าง “นางแย้ม หมั้นกิจ” หน่อยครับ
พี่หนุ่ม (กฤษณ์ ศุกระมงคล - ผู้กำกับละคร “สุดแค้นแสนรัก”) โทร.มาหา แล้วก็มีพี่อีกคนหนึ่ง ทำหน้าที่อ่านบทประพันธ์เพื่อดูว่า นักแสดงคนไหน จะเหมาะสมกับบทนั้นๆ หรือไม่ แล้วก็มาคุยกัน พี่เขาก็บอกว่า บทนี้ดีนะ น่าเล่น เราก็รับเล่นเลย พี่หนุ่ม ก็ให้บทมา 10 ตอน โดยส่วนตัวก็นับถือแม่จิ๋ม มยุรฉัตร (เหมือนประสิทธิเวช - ผู้จัดละคร) อยู่แล้ว บวกกับเราเคยไปรับเชิญในละครเรื่อง ‘คุณชายธรารธ’ ประมาณ 2 ตอน ซี่งก่อนหน้านี้ได้คุยกับพี่หนุ่มอยู่แล้ว ก็เลยเชื่อถือฝีมือ พอพี่หนุ่มชวน ก็ตกลงเล่นเลย
อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน ก็คือเมื่อ 10 กว่าปีก่อน แม่จิ๋มเคยให้โอกาสชวนเรามาเล่นละครโทรทัศน์เรื่องหนึ่ง แต่บทแรงมาก ประกอบกับต้นสังกัดของเราในตอนนั้น กลัวว่าจะขัดกับภาพความเป็นนักร้องของเรา ก็เลยบอกว่าอย่าเล่นเลย เราก็ขอโทษแม่จิ๋มไปในตอนนั้น และในใจก็รู้สึกว่า หนึ่ง เราเสียดายโอกาส สอง คือเกรงใจผู้ใหญ่ ที่ท่านอุตส่าห์หยิบยื่นโอกาสให้เรา
พอครั้งนี้พี่หนุ่มติดต่อมา ก็รู้สึกว่า เราจะไม่พลาดโอกาสแล้ว ก็ตัดสินใจรับ แล้วก็อ่านบท...บ้าง (หัวเราะเบาๆ) ไม่ได้อ่านละเอียด อ่านแล้วพี่หนุ่มก็บอกว่า มันจะร้ายนะ แล้วก็เล่นตั้งแต่อายุเท่านี้ไปจนถึงตายเลย เล่นตั้งแต่ 30 กว่าไปจนถึง 40 กว่าๆ จน 70 กว่าๆ เราก็ค่ะๆ ก็อ่านศึกษาบทว่า เขาทำแบบนี้ๆ แต่ไม่ได้อ่านละเอียดมาก (หัวเราะเบาๆ อีกครั้ง)
• คิดอย่างไรบ้างกับบทนางแย้ม ดูเหมือนจะขัดแย้งกับบุคลิกของคุณอยู่นะ เพราะมันเป็นบทที่ร้ายกาจเอามากๆ
จริงๆ ในฐานะนักแสดง การที่เราได้รับเป็นตัวละครที่หลากหลาย หรือบทบาทที่หลากหลาย มันเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะทำให้เรามีโอกาสได้ฝึกฝนตัวเอง แต่โดยส่วนตัว เรารู้สึกว่าเราโชคดีจังเลย ถ้าเราเป็นตัวละครนี้ เราจะได้มีโอกาสทำอะไรที่ ชีวิตจริงของเราไม่ได้เป็นแบบนั้น เราไม่ได้ทำแบบนั้น ซึ่งมันสนุกมากเลย แล้วทำอะไรก็ไม่ผิด เพราะมันอยู่ในละคร นั่นไม่ใช่ชีวิตจริงของเรา
ในชีวิตจริงของเรา เราไม่สามารถที่จะเดินเข้าไปในงานศพ แล้วก็ไปด่า แล้วก็ไปถีบรูปงานศพเขาล้มลง คือมันเป็นอะไรที่เกินจินตนาการ มันเกินความคิดของเราที่จะทำได้ คือมันเป็นไปไม่ได้ มันแรงมากเลยค่ะ แต่เราทำในละคร
สำหรับตัวเอง จะเปรียบให้เห็นง่ายๆ นะคะ คือเหมือนกับเราเข้าไปในดินแดนหนึ่ง ได้สำรวจอารมณ์ความรู้สึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งในชีวิตเราอาจจะไม่รู้สึกแบบนั้น ไม่เคยกระทำเหตุการณ์แบบนั้น เหมือนเราไปสวนสนุก แล้วก็เล่นเครื่องเล่นชิ้นใหม่ ในทำนองเดียวกัน ทุกครั้งที่เราจะเป็นตัวละครอะไร เราต้องทำความรู้จักเขาก่อน เหมือนกับเราทำความรู้จักเพื่อนใหม่คนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ส่วนตัวรู้สึกสนุกและตื่นเต้น มันอยากรู้อยากเห็นทุกครั้งว่า เดี๋ยวเราจะได้รู้จักคนคนนี้ เราจะรู้จักเพื่อนใหม่อีกคนหนึ่ง เพราะฉะนั้น เราก็อยากรู้ว่าเขาเป็นยังไง นิสัยยังไง เราก็จะอ่านจากคำพูดและการกระทำของเขา และดูเบื้องหลังว่าทำไมเขาถึงพูดและคิดแบบนี้ และเบื้องหลังเป็นยังไง ซึ่งตรงนี้ มันทำให้เรารู้สึกว่า จะได้รู้จักเพื่อนใหม่อีกแล้ว และต้องรู้จักอย่างดีมากด้วย เราจะได้เข้าไปสำรวจอารมณ์ความรู้สึกเขา เราจะได้เข้าไปกระทำการ
• ผลลัพธ์ของละครเป็นแบบนี้ และคุณถูกพูดถึงในวงกว้างมากขึ้น มีความรู้สึกค่อนข้างเกร็งๆ บ้างมั้ย
(หัวเราะเบาๆ) คือสำหรับตัวเองนะคะ งานจบ เมื่อผู้กำกับสั่งคัท นั่นคือสำหรับเราคือ จบแล้ว เราถือว่า ถ้าผู้กำกับให้ผ่านหรือพอใจ อาจจะพอใจด้วยเหตุผลอะไร เราไม่รู้นะ คืออาจจะรู้สึกว่าอยากได้มากกว่านี้ แต่นางคงไม่มีปัญญาจะทำได้มากกว่านี้ เสียเวลา ยอมรึเปล่าก็ไม่รู้นะ ก็ขำๆ หรืออาจจะจริงหรือเปล่า อันนี้ต้องถามพี่หนุ่ม (หัวเราะ) หรือว่าผู้กำกับพอใจแล้วว่าได้อย่างที่เขาต้องการและวางภาพไว้แล้ว เพราะผู้กำกับจะเป็นคนดูคนแรกเสมอ เราไม่เห็นตัวเอง ไม่มีใครเห็นตัวเองหรอกค่ะ ถึงเราจะไปดูมอนิเตอร์ มันก็เป็นเพียงพลังงานที่เขาบันทึกไว้ มันไม่ใช่จริงขนาดนั้น แล้วส่วนตัวก็จะเป็นคนที่ไม่ชอบดูมอนิเตอร์ เพราะฉะนั้น เมื่อผู้กำกับบอกว่าผ่าน งานเราคือจบแล้ว และจะจบมากขึ้นเมื่อปิดกล้อง คือเราไม่ต้องเข้าใจ ไม่ต้องเป็นตัวละครนั้นแล้ว เราก็ไม่ได้แบกอีแย้มกลับบ้าน
เมื่อละครออกอากาศ มันก็มีเสียงตอบรับกลับมา (นิ่งคิด) เครียดและนอยด์ เพราะว่าเป็นคนคิดมาก ก็จะรู้สึกว่า ทำไมมีคนเกลียดเราเยอะมากเลย ต้องตบด้วย ก็จะมีอาการต่างๆ นานา นอยด์ ปวดท้องบ้างอะไรบ้าง เพื่อนๆ น้องๆ ก็จะบอกว่า เดี๋ยวๆ ตั้งสติหน่อย คือเขาเกลียดแย้ม เขาไม่ได้เกลียดเธอ เราก็จะบอกว่า จริงเหรอ แต่อีแย้มคือเรานะ แต่นี่คือร่างและเสียงของเรานะ เขาก็บอกว่า ก็นี่ไง ถึงให้ตั้งสติ อะไรแบบนี้ค่ะ แต่ว่าพอมาถึงตอนนี้แล้ว ก็เริ่มชินแล้ว
การที่เขาเกลียดเนี่ย จริงๆ ก็ดีนะคะ เพราะแสดงว่า อย่างน้อยที่สุด ผลงานที่เราทำไป มีคนเห็น มีคนดู มีคนติดตาม มองเห็นในสิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราต้องการนำเสนอ คือความร้ายกาจของตัวละครตัวนี้ เราอยากให้คนดูเห็นว่า ถ้ามีลักษณะนิสัยแบบนี้ การกระทำที่แย่แบบนี้ คุณมีแต่สร้างความเสียหายให้คนรอบข้างและตัวคุณเอง สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้นทั้งในทางร่างกายและจิตใจ และผลลัพธ์ที่คุณได้คืออะไร ถ้าเราเริ่มต้นให้คนมาเข้าใจตรงนี้ได้แล้ว เมื่อละครจบ เรามั่นใจว่าผู้ชมจะเข้าใจในสิ่งที่เราอยากบอก และมองเห็นว่าทำอะไรแล้วได้อย่างไร ทำดีได้อย่างไร หรือถ้าจะปล่อยวางต้องทำอย่างไร
ในเรื่องนี้จะมีตัวละครที่เป็นมนุษย์จริงๆ หมายความว่าลักษณะนิสัยของแต่ละตัวละคร จะไม่ได้มีนิสัยด้านเดียว ทุกตัวละครจะมีความกลมอยู่ เราเห็นว่าบางคนอาจจะร้าย แต่ว่าเขาก็มีส่วนดีของเขาด้วย เพราะฉะนั้น เราคิดว่าใกล้เคียงกับมนุษย์จริงมากๆ และหลายเหตุการณ์ ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง เรามีโอกาสคุยกับผู้ใหญ่บางท่าน เขาก็จะบอกว่ามันเป็นอย่างงี้จริงๆ นะ หรือน้องช่างแต่งหน้า เขาพูดเลยว่า หนูเป็นคนต่างจังหวัด ตั้งแต่เด็กมา ช่วยพ่อแม่ทำนาตลอด และทุกวันนี้ ว่างจากการทำงาน ก็จะกลับไปช่วยทำนา ซึ่งเป็นเรื่องปกติว่า คนที่มีที่นาติดกัน ทะเลาะกัน ด้วยเหตุผลว่า กลัวน้ำท่วมนาตัวเอง ก็เลยต้องไปปล่อยน้ำ แล้วก็ตีกันลงไม้ลงมือกัน
หรือคนอย่างแย้มก็ตาม ไม่ต้องมาพูดเหตุผลอะไรกับเขาหรอก เพราะเขาปักใจเชื่ออย่างนั้นไปแล้ว เขาไม่เปลี่ยนใจแน่นอน และเขาบอกเลยว่า แย้มเป็นคนยุคก่อน เพราะฉะนั้น ค่านิยมการยึดถือครอบครัวเป็นหลักในชีวิต สมัยก่อนเป็นเรื่องใหญ่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้หญิง ครอบครัวคือที่หนึ่ง สามีคือทุกสิ่งทุกอย่าง อุทิศชีวิตให้ได้ เมื่อสามีตาย ก็เข้าใจได้ว่าทำไมแย้มถึงเสียใจและโกรธได้ขนาดนี้ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่ว่า เขาไม่ใช่ไม่มีเหตุผลเลย อยู่ดีๆ ก็ลุกขึ้นมาแค้นบ้านข้างๆ จะล้างแค้น ถ้าเป็นคนแบบนั้น ก็ไม่น่าจะมีที่ติดกันเป็นสิบๆ ปี
แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าแย้มมันเลวอย่างเดียวเลย แล้วทำไมลูกหลานถึงได้อยู่กับเขา ลูกหลานถึงได้รักเขา แย้มมีข้อดีของเขา ด้วยความที่ใจนักเลง แล้วก็รักใครก็รักมาก จริงจังกับทุกสิ่งที่ทำ รักนี่คือทุ่มให้เลย ถามลูกสาวว่าชอบลือพงษ์ใช่มั้ย ถ้าชอบ เดี๋ยวแม่จัดการให้ วางแผนทำทุกอย่าง เพราะอะไร เพราะเขารักลูก เพราะอยากให้ลูกได้ในสิ่งที่ลูกต้องการ เพราะฉะนั้นจึงทำทุกวิถีทาง อาจจะไม่ถูกต้องไปซะหมด แต่เป้าหมายอย่างเดียวที่ชัดเจนมาก เขาต้องการให้ลูกสาวเขาได้สมหวัง ได้มีความสุข ต้องการให้คนรอบข้างเขามีความสุข แต่เขาแค่ผิดเพราะทำโดยวิธีของเขา เพราะเขามองว่า อันนี้ดี กะเกณฑ์ให้ลูกหลานต้องทำแบบนี้ เป็นอย่างงี้ เพราะเขาคิดว่า นั่นเป็นสิ่งที่ดี ทำแล้วจะมีความสุข บางทีก็ไม่ได้ถามว่า ลูกหลานต้องการแบบนี้จริงเหรอ ก็คล้ายๆ พ่อแม่รังแกฉัน
• เท่าที่ฟังมา เหมือนว่าจะมีสาระอะไรเยอะเลย โดยส่วนตัว คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องละครทีวี
คือถ้าจะพูดตามแบบที่เราเรียนมา ก็ต้องพูดว่า ละครคือกระจกสะท้อนสังคม อันนี้คือสิ่งที่เราเรียนมา เราก็จะได้ยินคำนี้มา แต่ในเมื่อเราได้พิจารณาไป คำพูดคำนี้จริง เพราะอะไร ถามว่า ถ้าคุณทำละครที่ไม่เป็นจริงเสียเลย (เน้นเสียง) คนดูจะจำแนกอันนั้นไว้ว่า ให้ความบันเทิงไปอย่างเดียว หรือจะจุดประกายให้คิดอะไรไปอย่างเดียว แต่แน่นอนที่สุด ถ้ากระแสของละครแบบไหนที่ได้รับความนิยมมากๆ ในช่วงเวลานั้น มันเป็นเครื่องสะท้อนว่า สังคมในยุคนั้นเป็นอย่างไร ต้องการอะไร ผู้คนในสังคมในยุคนั้นเขาเสพอะไร มันเกิดอะไรขึ้นในเหตุการณ์บ้านเมือง เขาถึงต้องการที่จะเสพสิ่งนี้ มันเป็นการหาทางออก หรือจะเป็นที่พึ่งเหมือนกับเป็นที่หลบภัยของเขาได้มาปลดปล่อยตรงนี้รึเปล่า
• เป็นที่หลบภัยจากความเป็นจริง?
ใช่ๆ ทีนี้ ถ้าเราจะมาวิเคราะห์โดยส่วนตัว เราก็ไม่ได้เก่งหรือฉลาดอะไรมากมาย แต่เราเชื่อว่า ณ ตอนนี้ สังคมเราเริ่มกลับมาที่ความต้องการที่จะอยู่กับความเป็นจริงมากขึ้น เพราะละครเรื่องนี้ มันเป็นการพูดความจริง เป็นการเล่าเรื่องของคนไทยจริงๆ ในสังคมไทย เราไม่ต้องการจะหลบหนีไปโลกที่สรวงสวรรค์แสนสบาย โดยการไปดูภาพยนตร์ต่างประเทศ ที่มีดาราฝรั่งแสดง หรือพูดถึงเรื่องความหวานกุ๊กกิ๊กอะไรแบบนั้น เราอาจจะไม่ต้องการเกาะสวรรค์หนีไปแบบนั้นแล้ว เราอาจจะกลับมาพูดกับปัญหาจริงๆ มากกว่า อย่างน้อยก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานอันดับแรก
เพราะฉะนั้น ทุกคนสัมผัสได้แน่นอน แล้วก็การที่เราได้เข้าใจ ได้มองเห็นปัญหา ซึ่งครอบครัวอาจจะมองไม่เห็นปัญหา แต่ถ้าเราเห็นปัญหาเหล่านี้ แล้วมันเป็นแบบนี้นะ มีคนมาถามเยอะมากนะว่า ทำไมแม่ผัวเป็นอย่างงี้ ไม่ไหว แต่สิ่งที่เราได้กลับมา คือเรามีความสุขมาก เพราะอย่างน้อยที่สุด ที่เราเหนื่อยมา 16 เดือน ที่เราอาละวาด ที่เราตบตี ด่าอยู่ตลอดเวลา ใช้ความรุนแรง สารที่เราต้องการจะสื่อ มันก็ได้
ส่วนในเรื่องความบันเทิง มันคือเรื่องของการตอบโจทย์ข้อหนึ่งเสมอ ถามว่า ถ้าไม่บันเทิง อะไรล่ะจะไปฉุดดึงให้คุณผู้ชมอยู่กับเรา ถ้าเราเล่าเรื่องชีวิตที่ปกติของมนุษย์ทุกคนมากๆ คุณผู้ชมอาจจะบอกว่า ข้างบ้านตีกันยังมันกว่าละครอีกเลย ไม่ดูหรอก ฟังข้างบ้านตีกันยังสนุกกว่านี้เยอะ เพราะฉะนั้นถามว่า บางทีทำไมมันรุนแรงเกินเหตุ ทำไมมีเหตุบังเอิญเกิดขึ้นเยอะมากเลย ข้อที่ 1 ถ้าเราต้องการจะเสนอสารอะไร ดึงให้คุณผู้ชมอยู่กับเราก่อน เมื่ออยู่กับเราและเขาติดตามเราไปแล้ว เราอยากบอกอะไรเขา เขาย่อมฟัง เหมือนคุณโทรมาอยากขายประกันพี่ ถามว่า ผู้ฟังถ้าไม่พร้อมจะฟังเลย หรือว่าคุณเกริ่นมาก็จบแล้ว ไม่ชวนให้ติดตาม สารที่คุณจะสื่อ จะสำเร็จมั้ย ไม่มีทางสำเร็จ เพราะเขาไม่ได้อยู่กับเรา เพราะฉะนั้น จะทำอย่างไรให้เขาอยู่กับเราต่อ เมื่อเขาอยู่กับเราแล้ว เราจะเสนอสารอะไรและสื่ออะไรให้เขา เราคิดว่ามันจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่จะมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับผู้ส่งและผู้รับด้วย เพราะว่าเหตุผลและจริตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
มีหลายท่าน ที่เขียนว่า ไม่ดูเรื่องนี้เพราะว่าเครียดมาก อันนี้เข้าใจได้จริงๆ เลย เพราะว่าถ้าคิดตามมากๆ จะรู้สึกเครียดเลย เพราะฉะนั้น ความชอบของแต่ละท่านจะไม่เหมือนกัน สารอย่างเดียวกัน อาจจะต้องนำเสนอในรูปแบบที่ต่างกันไป สำหรับท่านผู้ชมท่านนี้ เพื่อให้ท่านได้รับสารนั้น แต่แน่นอนที่สุด อย่างที่ตอบ บันเทิงคืออันดับ 1 เพราะถ้าไม่สำเร็จ ใครจะอยากตอบรับ
• นอกจากตัวคุณแล้ว ในส่วนนักแสดงในเรื่อง คล้ายกับว่าถูกพูดถึงอีกครั้ง ในความเห็นของคุณ รู้สึกว่าเป็นสัญญาณที่ดีมั้ยว่าเราจะเขยิบใกล้เคียงต่างชาติมากขึ้นตรงที่ คนอายุเยอะ ยังเป็นตัวนำได้
(นิ่งคือ) หนึ่ง ทุกคนมีศักยภาพสูงมาก หมายถึงนักแสดงท่านอื่นนะคะ อันนี้เราไม่ได้พูดถึงตัวเอง ทั้งเบนซ์ (พรชิตา ณ สงขลา), โดนัท (มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล) หญิง รฐา (โพธิ์งาม) พี่แหม่ม (จินตหรา สุขพัฒน์) หรือถ้าเป็นฝั่งชาย อย่าง มอส (ปฎิภาณ ปฐวีกานต์), น็อต (วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์) หรือ บอย-พิษณุ (นิ่มสกุล) ก็เป็นพระเอกหมดเลยนะ คือทุกคนเป็นตัวเอกหมดเลย ศักยภาพทุกคนเปี่ยมล้นอยู่แล้ว แต่อยู่ที่ว่า เมื่อไหร่จะมีโอกาสให้เขาได้แสดงความสามารถอย่างนี้ออกมา เราถือว่าตรงนี้คือเรื่องสำคัญมาก บทละครคือสิ่งที่สำคัญมาก มันเหมือนกับเป็นคัมภีร์หลักที่จะทำให้เรื่องนี้ หรือแม้กระทั่งเพลงเพลงหนึ่ง เข้าถึงใจคนดูได้มากเพียงใด แล้วเมื่อเข้าถึงแล้ว จะดึงคนดูให้อยู่กับเราแค่ไหน อันนี้คือสิ่งที่สำคัญที่สุด หรือแม้กระทั่งเมืองนอกเอง ก็มีปัญหาว่า ขาดแคลนคนเขียนบท ถ้าคนเขียนสไตรค์เมื่อไหร่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์หรือวงการบันเทิงหยุดทันที นี่คือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นที่อเมริกา ในวงการโทรทัศน์ที่นั่น
เพราะฉะนั้น ต้องขอบคุณผู้ประพันธ์เรื่องนี้ด้วย คือคุณจุฬามณี (นิพนธ์ เที่ยงธรรม) ที่ประพันธ์เรื่องนี้ออกมาได้น่าสนใจ และตัวละครทุกตัวนี่คือบิลด์ติดมาก เพราะฉะนั้น เราเชื่อว่านักแสดงทุกท่าน มีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับโอกาสแล้วล่ะว่าโอกาสที่บทเด็ดขนาดนี้จะมาถึงเมื่อไหร่ เพราะถ้าเมื่อมาถึงแล้ว คำว่าเราเป็นนักแสดงอาชีพ คือทุกคนเต็มที่เสมอ เราเชื่อมั่นได้เลยค่ะ ทุกคนรักงานตัวเอง ทุกคนไม่อยากไม่ดีหรอก เพราะฉะนั้น เราก็ลองเต็มที่เลย มันก็เลยทำให้เราคิดว่า ทุกอย่างอยู่ในตัวหมดเลย ถือว่าถ้ามองเป็นภาพวาดเขียน ภาพนี้ ดึงดูด สวยงามและกลมกลืน ส่วนแง่ที่ว่า จะเป็นจุดกลมกลืนที่ให้วงการบันเทิงไทย หันทิศทางรึเปล่า เราตอบไม่ได้จริงๆ เพราะเราเองก็เป็นแค่ผู้รับจ้างอยู่
แต่อย่างน้อยที่สุด ละครเรื่องนี้ ด้วยความที่มันเข้มข้นทุกตัว เราคิดว่า เอาแค่พื้นฐานหลักๆ เลย เราได้เข้าไปถึงใจคนดู เราก็มีความสุข ได้ทำให้เขาได้หลุดไปจากโลกแห่งความเป็นจริงวันละ 2 ชั่วโมง เราคิดว่านักแสดงและทีมงานทุกคนมีความสุข เพราะงานของเรา เราถือว่าเราก็ให้ความบันเทิงให้คนเนอะ เป็นพื้นฐานอันดับแรก คืออาจจะมีเรื่องเครียด หรือทะเลาะกับใครมา เจอปัญหาอะไรก็ตามในชีวิต แต่ชั่วขณะที่เขาได้เสพงานของเรา 2 ชั่วโมงครึ่ง สัปดาห์ละ 3 วัน เขาไม่ต้องคิดถึงปัญหาของเขา มันก็ทำให้เรามีความสุขแล้ว
• ถ้าเปรียบให้เห็นภาพในวงการบันเทิงในปัจจุบันแบบชัดๆ เลย ก็คงคล้ายกับภาพยนตร์เรื่อง “เบิร์ดแมน” (Birdman) ที่พอแก่ตัวหรือสูงวัย ก็ไม่ค่อยได้บทดีๆ
เราชอบนะหนังเรื่องเบิร์ดแมน (Birdman ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมรางวัลออสการ์ครั้งล่าสุด) ตัวเอกของเรื่องเป็นซูเปอร์สตาร์ที่เคยดังมาก แต่เมื่อถึงตอนที่เขาเป็นนักแสดงสูงวัย คือบทก็ต้องเปลี่ยนไป คนเราก็ต้องเลี้ยงชีพ เอาชีวิตรอดเนอะ มีงานอะไรเข้ามา เขาก็ต้องรับ เอเยนต์ก็ต้องรับ เพราะฉะนั้น จุดหนึ่งเขาก็ต้องเปลี่ยนตัวเองและยอมรับตัวเองว่าสถานะเขาเป็นยังไง ต้องไปดูตรงนั้น แต่สิ่งที่มันยากก็คือเขาจะวางตัวยังไง เพราะยังมีแฟนคลับของเขาที่เฝ้าติดตาม ยังเห็นว่าเขาเป็นเบิร์ดแมนอยู่ อันนี้ยากนะ
โดยอาชีพเรา กำลังใจของเรามาจากบุคคลจำนวนมาก ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นข้อดีมากๆ เลย เราไม่รู้จะขอบคุณยังไง อย่างสมมติว่าเรามีคอนเสิร์ตหรือเล่นละครเวที เราแสดงสดในที่เล็กๆ ที่จำกัด คุณผู้ชมที่ไม่ได้รู้จักกับเราเป็นการส่วนตัว แต่เขาอุตส่าห์มา บางท่านมาจากเชียงใหม่ จากขอนแก่น จากภูเก็ต หรือบางทีมาไกลแล้วรถติดมาก เลิกงานแทนที่จะกลับบ้านไปพัก แต่เขาเหนื่อยมา เขาอุตส่าห์มาแล้วเสียเงินซื้อตั๋ว เพื่อจะมาดูเรา ทั้งที่เขาไม่ได้รู้จักเราเลย และไม่ได้เป็นญาติเรา เขามาดูและให้กำลังใจเรา เพราะฉะนั้น พอเราจะก้าวขึ้นเวที เรารู้สึกว่าเราทรยศไม่ได้ เราไม่ให้ที่สุดของเราไม่ได้ เพราะฉะนั้น กำลังใจจากตรงนี้เยอะมาก
แต่เหรียญอีกด้านหนึ่งมันมีเสมอ ความคาดหวังของคนที่ไม่รู้จักเรา ในเมื่อเขาให้กำลังใจเรา เขาก็จะเชียร์เรา หรือคนที่ไม่ชอบ หรือคนที่เขามีสิทธิ์วิจารณ์ แน่นอน เอาตรงๆ เพราะเขาคือผู้ว่าจ้าง อาจจะไม่ใช่ในทางตรง แต่อาจจะเป็นทางอ้อม เพราะฉะนั้น ในชีวิตหนึ่ง เราจะได้กำลังใจเยอะมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางครั้ง สิ่งเหล่านั้นมันอาจจะมีความบั่นทอนด้วยเช่นกัน บางทีอาจจะไม่ใช่ทางตรง อย่างในเรื่องเบิร์ดแมน มันมีฉากที่ตัวเอกใส่กางเกงในวิ่งออกมา คนก็ตกใจว่า “ตายแล้ว ทำไมนุ่งกางเกงในออกมา” แบบนี้เป็นต้น สำหรับนักแสดง เราเชื่อว่าเขาก็มีจิตใจที่อ่อนไหวอยู่แล้วนะ เพราะอาชีพเรามันใช้อารมณ์เล่นกับความรู้สึกเยอะมาก เพราะฉะนั้น แม้จะโดนกระทบนิดเดียว เรารู้สึกทันทีเลย เพราะฉะนั้น เราต้องใจให้เย็นและยอมรับ
• แต่ในหนังมันจะมีฉากที่ตัวเอกต้องต่อสู้กับช่วงรุ่งโรจน์ของตัวเองน่ะครับ คือก็คิดเหมือนกันว่า นักแสดงบางคนจะเหมือนเบิร์ดแมนหรือเปล่า
(นิ่งคิด) มันก็ตอบยากเหมือนกันนะคะ เพราะตัวเราเองไม่เคยประสบความสำเร็จถึงขนาดแบบเบิร์ดแมน ที่ไปไหนคนก็จะรู้จัก และเราก็ไม่เคยใช้ชีวิตส่วนตัวลำบากอะไรขนาดนั้น เพราะฉะนั้น ถามว่าเขาคิดยังไงหรืออะไรยังไง เราตอบไม่ได้ แต่อย่างที่บอก อาชีพของเราเนี่ย ทักษะของเราก็คือสามารถที่จะเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างฉับพลัน เพราะเราไม่สามารถบอกผู้กำกับทุกครั้งไปว่า ขอเวลาไปทำอารมณ์สัก 2 ชั่วโมง คือนานๆ เกิดขึ้นที มันเป็นไปได้ แต่เราไม่สามารถไปทำได้กับทุกซีนที่ถ่ายได้ หรือทำอารมณ์โกรธแค้นสัก 2 ชั่วโมง มันทำไม่ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อเราเป็นตัวละคร เราต้องเข้าถึงอารมณ์นั้น สูงสุดต่ำสุดตลอดเวลา ฉากนี้โกรธ หรือ ฉากนี้ดีใจนะ คือเราต้องทำให้ได้ เพราะฉะนั้น เราก็ถูกฝึกตรงนี้ เพื่อพวกเราทำงานได้ แต่ในชีวิตจริงมันเลือกไม่ได้ที่เราจะรู้สึกไว สิ่งที่ช่วยมากก็คือ ต้องมองตัวเอง พยายามมีสติ สมาธิเอามาใช้บ้าง ไม่ได้เก่งกาจอะไร แต่ว่าให้มาช่วย
• ขอย้อนไปนิดหน่อยครับ คุณมีความสนใจในเรื่องการแสดงมาตั้งแต่เด็กๆ เลยใช่ไหม
มันก็ไม่ได้ถึงขั้นว่า ตอนเด็กคิดว่าฉันจะต้องเป็นนักแสดงให้ได้ แต่เราไปเปิดอัลบัมสมัยเด็กๆ ดู ก็จะเห็นว่าเด็กทุกคนก็จะเป็นแบบนี้ เด็กทุกคนก็จะมีจินตนาการนะ ยังไม่ได้คิดอะไรมาก เขาอยากแสดงออกแบบเต็มที่ของเขา แล้วก็มานั่งคิดว่า คนจะมองฉันหรือเปล่า จะคิดว่าฉันบ้าหรือเปล่า แต่อยากเป็นอะไรก็เป็น เขามีจินตนาการในโลกส่วนตัวของเขาที่สนุกมาก เราไปดูรูปที่ถ่ายตอนเด็ก แล้วก็สนุกมาก อยากเป็นนักมวย นักร้อง หรือแอร์โฮสเตส หรือบางช่วงก็ถ่ายรูปกับดอกไม้ จะต้องทำท่านี้ เอาดอกไม้ทัดหู หรืออะไรก็แล้วแต่ นางก็จะมโนของนางไป แล้วก็พอสักประถมปลาย ก็บอกคุณแม่ว่าอยากเป็นผู้กำกับ จากการได้ดูละครโทรทัศน์ ทีนี้คุณแม่ก็พาไปดูละครเวที
เราได้ดูละครเวทีของคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ตั้งแต่เด็กๆ เราดูแล้วมันสนุกมาก ชอบมากเลย คิดดูสิไปดูที่ศาลาพระเกี้ยว คือคุณแม่เราเป็นอาจารย์ที่จุฬา พอมีละคร คุณแม่ก็จะพาไปดู โดยคุณแม่ก็คงไม่รู้หรอกว่า สิ่งที่แม่พาไปดูเพื่อความบันเทิง ลูกจะยึดเป็นอาชีพ แต่ก็เพราะว่าเราชอบเองด้วย มันอยู่ในดีเอ็นเอของเรา แล้วพอเราได้ดูได้เสพสิ่งเรานี้ มันเหมือนเป็นตัวกระตุ้น ก็เลยบอกแม่ว่าอยากเป็นผู้กำกับ ประกอบกับที่เราเรียนเต้นเรียนดนตรี มันคือเป็นการแสดงออกอยู่แล้ว (นิ่งคิด) เหมือนจะเบนมาด้านนี้แล้วล่ะ
แต่สมัยก่อนจะแบบว่า ทุกคนจะตั้งใจเรียนเนอะ เราก็ไปสายวิชาการ เรียนคณะที่เป็นสายวิชาการ ก็คิดว่าชีวิตนี้คงไม่ใช่เป็นสายบันเทิงแน่นอนนะคะ ก็เรียนไป แต่ด้วยความชอบในใจ ก็ขอแอบเรียนศิลปะการละครเป็นวิชาโท จากจุดนี้ ก็ทำให้เราได้มีโอกาสได้เล่นละครคณะ แล้วก็ไปอยู่ CU Band เราก็ได้ร้องเพลง ก็ได้รู้จักรุ่นพี่ จากที่เราคิดว่า แค่ชอบ ทำงานประจำ เดี๋ยวก็มีร้องเพลง ได้ทำในสิ่งที่รักบ้าง ได้เล่นละครเวทีบ้าง สิ่งที่รักเหล่านั้น กลับกลายมาเป็นงานที่ใช้เวลาในชีวิตเราเยอะมาก
แล้วก็มาถึงจุดที่เรารู้สึกว่า เราจะเอายังไง เพราะมันไม่ได้ให้ความยุติธรรมสักงานเลย ถ้าเราทำแบบนี้ต่อไป ก็เลยเลือกที่จะเต้นกินรำกินเต็มตัว (หัวเราะ) แล้วก็ถูกที่บ้าน คุณพ่อ คุณแม่ และพี่สาว เรียกคุยเสมอๆ ว่า เมื่อไหร่จะทำงาน (หัวเราะ) ด้วยความเป็นห่วง คือท่านทราบว่าเรามีรายได้เหล่านั้นเลี้ยงตัวได้ แต่ด้วยฐานะเป็นพ่อแม่และพี่สาวที่มีความรักความเป็นห่วง ก็จะถามว่า ลูกจะมั่นคงมั้ย ทุกวันนี้พี่สาวก็ถามอยู่เสมอนะว่า แล้วยังไง ถ้าแก่ตัวไป ไม่มีใครจ้างร้องเพลงนะ ไม่มีใครจ้างเล่นละคร แล้วจะเอายังไง เราก็จะแบบไม่รู้ไม่คิด เพราะมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ เป็นคนคิดสั้นมาก แต่ทุกวันนี้ก็ยังมีความสุขกับงานที่ทำในทุกวันนี้
• ในชีวิต “เต้นกิน รำกิน” ที่ทุกคนถามตลอดว่า “มั่นคงมั้ย” คุณมีอะไรเป็นหลักยึดที่แข็งแรงให้แก่ตัวเอง
มีความสุขกับสิ่งที่ทำในตอนนี้ เราไม่มองหรอกว่าจะมีใครมองเห็นในสิ่งที่เราทำหรือเปล่า ไม่กล้าคิดด้วยซ้ำ แต่เราคิดว่าผู้กระทำมีความสุขหรือเปล่า ถ้าคนชมผลงานมีความสุข นั่นคือจบ เรามีความสุขกับสิ่งที่ทำหรือเปล่า ถ้ามีคือจบ ไม่ถามอะไรต่ออีกแล้ว แต่ถ้าไม่มี ก็ต้องกลับมาถามแล้วว่าฉันไม่มีความสุขเพราะอะไร เพราะฉันไม่อยากทำงานนี้เหรอ ไม่อยากทำเพราะอะไร ศักยภาพฉันไม่มากพอ แล้วฉันต้องฝืนใจตัวเอง เพราะว่าฉันขี้เกียจหรือเพราะอะไร ปัจจัยอื่นนอกจากนี้คืออะไร มันเป็นงานบุญคุณที่ต้องทดแทนใครหรือเปล่า หรือเป็นงานบีบบังคับ อะไรอย่างนี้
ข้อหนึ่งซึ่งสำคัญมาก คือถ้าเลือกได้ ถ้าเรามีความสุขกับตรงนี้ มันไม่ต้องถามอะไรอีกแล้ว เราใช้ใจในการดำเนินชีวิตมาก เพราะฉะนั้น ในเรื่องงานหรืออะไรก็ตาม เรามีความสุขกับมันมั้ย ถ้ามีก็ไม่ต้องถามคำถามอื่นแล้ว ไม่ต้องแบบว่า เราทำไปเพื่ออะไร เพราะเหตุผลนี้ ตราบใดที่เรายังมีความสุขและรักในสิ่งที่เราทำ เราก็ยังอยากทำมันไปเรื่อยๆ และก็อยู่มา 20 กว่าปี เราก็มีความสุขกับทุกงานที่เราทำ เพราะเราได้ถามตัวเองแล้วว่าเรารักและมีความสุขหรือเปล่า เมื่อเรามี เราก็ทำไป ความเหนื่อยและอุปสรรค มันก็มีเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ตามหรือใช้ชีวิตปกติ ทุกคนต้องเจออยู่แล้ว งานคนอื่นเหนื่อยกว่าเราไม่รู้กี่เท่า อาจจะเหนื่อยสมองมากกว่าเหนื่อยกาย หรือเหนื่อยใจอีก เพราะฉะนั้น เราโชคดีมากที่เราได้มีรายได้กลับมาจากสิ่งที่เรารัก
บางงานอาจจะไม่มีใครเห็นเลยก็ตาม หรือบางงานอาจจะเป็นงานเล็กมาก บางงานเล่นละครเวทีรอบละพันกว่าคน หรือบางงานอาจจะไม่ได้อยู่ในสายตาเลย เมื่อหลายปีก่อนมีนักข่าวสัมภาษณ์เรา ซึ่งเขาไม่ได้เจอเรานานมากแล้ว คือเจอครั้งล่าสุดก็ตอนที่ออกเทปใหม่ๆ แล้วก็ห่างหายไป เพราะเราก็ไม่ได้มีผลงานเพลง นักข่าวท่านนี้เป็นสายเพลงนะคะ ก็ไม่ได้คุยกันเลย พอมาเจออีกที เขาก็ถามด้วยความเป็นห่วงนะว่า อยู่ได้ยังไง คือทำมาหากินด้วยอะไร คือมันก็ทำให้เรารู้เลยว่า เออ งานที่เราทำบางทีก็ไม่ได้อยู่ในสายตาคนเลย ทุกคนก็ไม่ทราบว่าเราทำงานอะไร บางงานก็เล็กมาก หรือบางงานก็ไม่มีใครเห็น แต่สำหรับเราแล้ว ถ้าเราสุขใจ มันก็จบแล้ว บางงานมีลิมิตมาก มี 20-30 คน แต่ปริมาณไม่ใช่เครื่องวัดอะไร คือวันนี้เรามีความสุขมากเลย เพราะว่าเราอยากร้องเพลงที่เราอยากร้อง แล้วได้อารมณ์ที่เราสื่อออกไป มันกระทบกับคนฟัง แล้วเขารู้สึกตามเราไปด้วย อย่างเวลาเราร้องเพลงแล้วมีความสุข เราก็พอใจแล้ว ชีวิตเราพอใจแล้ว หรือเวลาเราร้องเพลงเศร้า เขาเข้าใจและเศร้าตามเรา
• จากการทำหน้าที่มาถึงจุดนี้ มันเหมือนกับว่าสัมฤทธิผลในวงกว้างแล้วหรือยัง
ไม่เลย สัมฤทธิผลของเรา ก็ยังใช้ใจเป็นหลัก คือเราเป็นคนที่รับงานอะไรแล้ว หรือจะทำอะไรก็ตาม จะนึกเสมอว่าเราจะต้องทำ ณ ขณะนั้นให้ดีที่สุด ให้เต็มที่ที่สุดของเราเลย ด้วยเงื่อนไขที่ว่าเราอาจจะไม่สบาย หรืออาจจะมีปัจจัยอื่น มีเหตุการณ์เฉพาะหน้าหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น เพราะด้วยงานของเราจะเป็นงานแสดงสดค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นละครเวทีหรือคอนเสิร์ต อะไรก็ตาม เราแค่ขึ้นเวทีไป และอยากจะเต็มที่ที่สุดของเรา อยากทำให้ดีที่สุด เพื่อที่ว่า เมื่อเวลาผ่านไป เราเดินจากไป เราจะไม่รู้สึกเสียดายว่า ทำไมฉันไม่ทำแบบนั้น ทำไมฉันไม่นอนให้เยอะกว่านี้หรือทำไมติดโซเชียลเยอะ ไม่อยากเป็นแบบนั้น อยากให้รู้สึกว่าเราทำตรงนั้นให้ดีที่สุด เราจะได้พอใจ
เหมือนกับว่า อะไรจะเกิดขึ้น ฉันไม่ห่วงแล้ว ฉันได้ทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว ฉันพอใจแล้ว สำหรับเรา นี่คือสัมฤทธิผลแล้ว จะมีคนเห็นมากหรือน้อย เรากำหนดไม่ได้ และเราอย่าคาดหวัง ถ้าเราคาดหวังเราจะเสียใจและผิดหวัง ถ้าเราตั้งเป้าว่าตั้งใจทำงานนี้แบบล้านเปอร์เซ็นต์เลย คนจะต้องเห็นเยอะและชอบ แล้วถ้าวันนั้นเกิดน้ำท่วม ฝนตก หรือไม่มีคนดู และเกิดเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เราจะทำยังไง ต่อให้คนดู 5 คน ซึ่งต่อให้เราเดินจากไป นั่นคือที่สุดของเราแล้ว สิ่งที่เราทำได้คือตัวเราต่างหาก สิ่งที่เรากำหนดได้ ก็ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์อีกนะ
เพราะโดยส่วนใหญ่ คือตัวเรา เราคือธรรมชาติน่ะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราอาจจะร้องๆ อยู่ แล้วล้มไป หรือว่าอยู่ดีๆ สำลักน้ำลาย แล้วหายไปประโยคหนึ่ง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงนะ เพราะฉะนั้น ธรรมชาติก็เกิดขึ้นได้ตลอด เครื่องจักรยังมีวันพังเลย เพราะฉะนั้น เราอย่าไปคาดหวังคนอื่น เราคาดหวังตนเอง พยายามทำตัวเราให้ดีที่สุด มันก็ยังมีธรรมชาติมาบังคับเรา เพราะอะไร เพราะธรรมชาติมันตัวใหญ่เสมอ เรากำหนดธรรมชาติไม่ได้ ร่างกายเราเดี๋ยวก็ผุพังย่อยสลายไป เพราะร่างกายก็คือธรรมชาติ ก็แก่ไปเรื่อย กล้ามเนื้อก็อ่อนแรงลงไปเรื่อยๆ หรือวันนี้กล้ามเนื้อเส้นเสียงบอกว่า ฉันเป็นกล้ามเนื้อที่เล็กแล้วฉันเหนื่อย เธอสั่ง ฉันไม่ทำแล้ว มันเกิดขึ้นได้นะ
เพราะฉะนั้น เมื่อเรากำหนดตัวเองไม่ได้แล้ว เราต้องทำใจ ต้องปลง นี่ขนาดตัวเราเองนะ แล้วจะอะไรกับคนดู ถึงคนดูจะเล็กน้อย แต่คือของขวัญ คือรางวัลของเราแล้ว คือกำลังใจหล่อเลี้ยง เราทำของเราให้ดีที่สุด ที่เราพอใจ ตรงนั้นก็ถือว่าสำเร็จแล้ว เพราะว่าอาชีพเรา ไม่ใช่อาชีพที่วัดจากยอดขาย เดี๋ยวนี้คุณขายเท่าไหร่ คุณจะประสบความสำเร็จเป็น man of the month มันไม่ใช่ เพราะฉะนั้น สัมฤทธิ์ที่ตัวเรา วัดค่าของการสัมฤทธิ์ที่ตัวเรา ถ้าเราพอใจกับตัวเองแล้ว บางทีมันอาจจะห่วยมากเลยก็ได้นะ ไม่ถึงมาตรฐานของเราเลย แต่ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง อาจจะมีคนด่าเยอะว่าบ้าหรือเปล่า หรือร้องเพี้ยน หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าเราเข้าใจตัวเราเองว่ามีอะไรเกิดขึ้น มันมีสภาพแวดล้อมปัจจัยอื่นเข้ามา ถ้าเราพอใจ นั่นคือสัมฤทธิ์ของเราแล้ว แต่ในสายตาคนอื่น อาจจะไม่ใช่
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันไม่ได้หมายความว่า ฉันขี้เกียจไปวันๆ เท่านี้ ฉันก็สัมฤทธิ์แล้ว แค่นี้ แล้วถามว่าความภูมิใจของตัวเองอยู่ที่ไหน ค่าของคุณอยู่ที่ไหน แล้วคุณให้ค่าของตัวเองอยู่ที่ไหน คือคุณอาจจะคิดว่า คุณพอใจแค่นี้แล้ว สัมฤทธิ์ผลแล้ว ฉันพอใจนอนอยู่บ้านสบาย แล้วทีนี้มองย้อนไปอีกว่า มนุษย์แต่ละคนให้ค่าตัวเองไม่เท่ากัน ตราบใดที่เขาพอใจแค่นั้น แล้วไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎสังคม ไม่เป็นปัญหา แต่เราไม่สามารถไปบอกเขาได้ มันจะเป็นแย้มเลย คือเอาตัวเองไปกำหนด คือเขาพอใจแค่ไหนก็แค่นั้น ต้องไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เฟืองทุกตัวในสังคมสำคัญหมด เราไม่จำเป็นจะต้องมีท็อปเฟือง คือไม่ใช่ว่าทุกคนจะเก่งกล้าไปซะหมด เราอาจจะเป็นเฟืองเล็กๆ หรือเฟืองที่หมุนช้าๆ ก็ดี ไม่จำเป็นต้องหมุนเร็วจี๋ตลอดเวลา มันไม่ใช่ที่จะให้เครื่องจักรเครื่องหนึ่งทำได้ มันอาจจะมีเฟืองตัวเล็ก ตัวใหญ่ เฟืองหมุนช้า หรือหมุนเร็ว มีแกนก็สำคัญ
เพราะฉะนั้นคือ เราจึงคิดว่าทุกคนก็รับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด แต่ อาชีพเราคือทักษะ เราหยุดวิ่งไม่ได้จริงๆ เราต้องพยายามฝึกฝน และนี่คือเหตุผลว่า เราพยายามจะรับงาน ถ้าไม่มีก็จะไปขอ เพื่อให้เราได้ฝึกฝนทักษะ ที่ผ่านมาจะมีบางปีที่ไม่มีงานละครติดต่อเข้ามา อาจจะมีงานละครพรีเซนต์เล็กๆ แค่ 3 วัน หรือไปเล่นละครคณะ ซึ่งไม่ได้เงินสักบาทเดียว แต่ถ้าเป็นบทที่น่าสนใจ เราจะทำทันที เพราะมันเป็นการให้เราได้ฝึกทักษะ เราเรียนอยู่ตลอดเวลา เพราะอาชีพเราคือการใช้ทักษะ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งข้อที่งานของเรา ก็ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสายตาประชาชนเสมอไป
• อยากจะให้คุณได้ฝากแง่คิดเกี่ยวกับการเต็มที่กับอาชีพของตัวเองหน่อยครับ
เราคิดเสมอว่าเราโชคดีมากที่ได้ทำงานที่เรารัก และเรามีความสุขกับงาน หลายๆ ท่านคือด้วยข้อกำหนดหรือข้อจำกัดใดๆ ก็ตาม ท่านอาจจะไม่ได้ทำงานที่ท่านรักอย่างเต็มที่ แต่มีพี่ท่านหนึ่งซึ่งเราเคารพและนับถือมากๆ คือพี่มาริสา สุโกศล หนุนภักดี เราสนิทกัน แล้วพี่สาก็บอกว่า เราอาจจะไม่ได้ทำงานที่เรารัก แต่เราเรียนรู้ที่จะรักงานที่เราทำได้ ขอให้เราอยู่กับขณะนั้นที่เราทำ ให้ความใส่ใจและละเอียดกับสิ่งที่เราทำ และคิดว่าเราทำอะไรอยู่ เราอาจจะทำสิ่งนั้นได้ดี และนั่นแหละที่จะเรียนรู้กับสิ่งที่เราทำ แล้วแค่คำว่าเราอยากทำให้ดี อย่างน้อยที่สุด เรามีความรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีตัวเอง มีความรับผิดชอบต่อมัน มีความรับผิดชอบต่อผู้ว่าจ้างเรา หรืออาจจะเป็นแบบเราจ้างตัวเอง เรารับผิดชอบค่าศักดิ์ศรีตัวเอง รับผิดชอบต่อครอบครัวเรา ซึ่งมันจะส่งผลต่อวงกว้างมากขึ้น มันทำให้สังคมดีได้ เรารู้หน้าที่ของเรา เรารับผิดชอบต่อมันอย่างดี สังคมมันก็จะก้าวหน้าไปได้ ประเทศก็เช่นกัน
แต่ถ้ามีปัจจัยที่เข้ามา แล้วทำให้เรารู้สึกว่า เราไม่มีความสุขเลย เราไม่อยากทำสิ่งนี้ ก็ให้เรากลับมาถามตัวเองจริงๆ ว่า เราได้เต็มที่ที่สุดกับสิ่งที่เราทำ ณ ขณะนั้นหรือยัง ถ้าเราตอบว่า ฉันไม่ชอบงานนี้เลย แต่ฉันให้ที่สุดแล้ว แล้วมันก็ยังไม่ได้ไปถึงไหน แล้วฉันก็ไม่มีความสุข ก็อาจจะต้องถึงเวลาที่เรามาคิดว่าเราจะเดินจากตรงนี้ไปมั้ย แต่ก็ต้องถามตัวเองด้วยว่าเราจะไปทำอะไรที่เราจะมีความสุขกับมัน แล้วก็ถามตัวเองให้แน่ใจนะว่า
เมื่อเดินจากไปแล้ว คุณจะไม่เสียใจนะว่าทำไมไม่ทำแบบนั้น ทำไมไม่แก้ปัญหาแบบนี้ ทำไมไม่ลองแบบที่สุดทุกวิถีทางดูก่อน แค่นั้นเอง
Profile
รัดเกล้า อามระดิษ เกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2512 สำเร็จการศึกษา อักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการเป็นนักร้องคอรัสให้กับ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ในอัลบัม พงษ์พัฒน์ ภาคพิสดาร (พ.ศ. 2534) ต่อมา ถูกรับเลือกให้เป็นหนึ่งนักร้องของอัลบัม Z-Zomkiat ของ สมเกียรติ อริยชัยพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งในอัลบัมดังกล่าว รัดเกล้าได้ร้องเพลง ‘ใจต่างใจ’ ก่อนที่จะเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่คนฟังเพลง ในซิงเกิล ‘ลมหายใจ’ ของ บอย โกสิยพงษ์ จากอัลบัม Rhythm & Boyd ในปี พ.ศ. 2538 และมีผลงานเพลง 3 อัลบัม ได้แก่ “Request” (พ.ศ. 2541), “Released” (พ.ศ. 2542) และ “Relax” (พ.ศ. 2543)
ในการแสดง รัดเกล้า รับงานแสดงเป็นครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง ‘รักแท้บทที่ 1’ ในปี พ.ศ. 2538 และมีงานแสดงทั้งภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และ ละครเวทีมาตั้งแต่นั้น
นอกจากนี้ รัดเกล้า ยังได้รับรางวัลนักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม โดยรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง จากภาพยนตร์เรื่อง ‘อุโมงค์ผาเมือง’ เมื่อปี พ.ศ. 2554 อีกด้วย
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช