นอกเหนือไปจากการแปลนิยายจีนกำลังภายในเรื่อง “มหายุทธ์ล้างปฐพี” ของผู้เขียนเซียนกระบี่พิชิตมาร “ลี หลินลี่” ยังถือเป็นอีกหนึ่งจอมยุทธ์หญิงซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาได้สักพัก จากการแปลซับไตเติลภาพยนตร์และซีรีส์จีนกำลังภายในอัปลงยูทูป ซึ่งมียอดผู้คลิกชมไม่น้อยกว่าแสนหลายแสนในแต่ละตอน และแม้กระทั่งปรมาจารย์นักแปลนาม น.นพรัตน์ ยังเอ่ยปากถึงด้วยคำชมเชยในวรยุทธ์การแปล
“ลี หลินลี่” หรือ “วนิดา เจนกิจเจริญ” เป็นลูกหลานจีนแท้โดยสายเลือด แต่เริ่มศึกษาภาษาจีนอย่างจริงจังเมื่อราวสิบปีก่อน ในวัยเด็ก หลงใหลคลั่งไคล้ทั้งหนัง ซีรีส์ และนวนิยายจีนแนวกำลังภายใน กระทั่งเติบโตก็ยังคงไม่คลายความรักหลงใหลนั้น
ที่ผ่านมา “ลี หลินลี่” เคยแปลซับไตเติลใส่ซีรีส์จีน เรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักร, เรื่องขอบฟ้าจันทราดาบ และอื่นๆ อีกหลายเรื่อง ก่อนจะขยับมาจับงานแปลนิยายยุทธจักรอย่างจริงจังเมื่อกลางปี 2557 เปิดตัวสู่ยุทธภพด้วยการทอดตนเป็นสะพานภาษาให้กับนิยายเรื่อง “มหายุทธ์ล้างปฐพี” ตามที่กล่าวไว้เบื้องต้น
“จอมยุทธ์เมื่อพบพาน ต้องทดสอบพลังวัตรแทนการถามไถ่” แวดวงพวกนักเลงอาจกล่าวไว้เยี่ยงนั้น แต่เนื่องจากว่าเราไม่มีเพียงเพลงยุทธ์แม้แต่เพลงเดียว การค้อมคารวะและคอยเลียบเคียงถามไถ่ จึงนับเป็นอะไรที่น่าจะประเสริฐกว่า...
อยากให้ช่วยเล่าถึงปฐมบทแห่งการเข้าสู่ยุทธจักรการแปลนิยายกำลังภายในก่อนครับว่ามีความเป็นมาเป็นไปอย่างไร
จริงๆ เพิ่งได้เหยียบย่างเข้ามาวงการนวนิยายแนวนี้เมื่อประมาณเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วนี่เองค่ะ (ยิ้ม) เพราะก่อนหน้านั้น แปลแต่ซับไตเติลหนังจีน ซีรีส์จีน อัปลงฟรีในเว็บไซต์ยูทูป เพื่อเสาะหากลุ่มคนที่รักชอบตรงนี้เหมือนกัน ก็แปลอยู่สักพัก ทีนี้ พอมีคนตามผลงานเราเยอะ ชอบในสำบัดสำนวนเรา ก็เริ่มมีคนรู้จักเรามากขึ้น ซึ่งบังเอิญเพื่อนที่ทำพวกซับหนังด้วยกัน เขาทำงานแปลอยู่ที่สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊ค เขาจึงชวนเรามาแปล เรื่องนี้ก็เลยเป็นเรื่องแรกทั้งของเราและของเขา
ฟังดูเหมือนกับว่าชอบอะไรที่เป็นนิยายแนวๆ นี้มากอยู่แล้วเป็นทุนเดิม
คือก่อนหน้านั้นเราก็ชอบดูหนังจีนมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วล่ะ ดูแบบบ้ามากๆ ด้วย คือตอนนั้นดูหมด ทั้งหนังจีนแนวสากล ทั้งหนังจีนกำลังภายใน แต่เมื่อก่อน ส่วนใหญ่จะมีแต่แนวกำลังภายในเข้ามาบ้านเรา เราก็เลยเน้นไปทางสายกำลังภายใน ทีนี้ในช่วงหลังๆ สักประมาณสิบปีที่แล้ว ถ้าสังเกตจะรู้ว่าหนังจีนมันหายไปจากฟรีทีวี ด้วยความที่เราอยากดูมาก แต่พอเข้าไปเว็บไซต์จีนที่มีอยู่เยอะมากๆ เราก็ฟังไม่ออก บวกกับตอนนั้น เราติดนักร้องวง F4 ด้วย เวลาตามไปคอนเสิร์ตก็อยากรู้ว่าเขาพูดอะไร ก็ตัดสินใจไปเรียนภาษาจีนดีกว่า เพราะกลัวว่าเดี๋ยวล่ามจะอาศัยแปลเนียน ไม่ตรง ไม่ครบอรรถรส (หัวเราะ)
แรกๆ หลายคนเขาบอกว่ามาเรียนตอนแก่มันค่อนข้างเหนื่อยนะ ภาษาจีนตัวอักษรก็เยอะ หนึ่งตัวก็หนึ่งความหมาย หนึ่งตัวก็หนึ่งเสียง มันก็ถือว่าเรียนยากเหมือนกัน แต่เราใจรักไง ยิ่งเรียนเราก็ยิ่งชอบ จนกลายเป็นว่าเรามาตกหลุมรักภาษาจีน หนังก็กลายเป็นส่วนประกอบไป เพราะภาษาจีนมันสวยมาก เราก็จึงมุ่งมั่น คือคนที่เรียนภาษาจีน ต้องใจรักหนึ่ง แล้วก็ต้องมีแรงจูงใจ อย่างเช่นของเรานี่คือมีดาราเป็นแรงจูงใจ มีหนังเป็นแรงจูงใจ
นอกจากเรื่องความรักความชอบส่วนตัว พระเอกดาราหล่อแล้ว อะไรที่ทำให้หลงเสน่ห์ของนวนิยายกำลังภายใน
นอกจากพระเอกหล่อก็... (หัวเราะ) เสน่ห์ของนิยายกำลังภายในคือความเหนือจริง เพราะในชีวิตจริงๆ ของเรามันทำไม่ได้อย่างในนิยาย อย่างเหาะเหินเดินอากาศ กระโดดปีนข้ามต้นไม้ มันเป็นแบบจินตนาการกว้างไกล แล้วมันเป็นสิ่งที่เราอยากทำได้ เวลาเราอ่าน เราก็อิน ง่ายๆ ลองสังเกตคนที่อ่านนวนิยายกำลังภายในดู พวกนี้จะไม่ยอมวางหนังสือเลย ยิ่งพอถึงฉากบู๊ จะให้ความรู้สึกสุดๆ ชนิดวางไม่ลง
แล้วอีกอย่าง นวนิยายจีนกำลังภายในส่วนใหญ่จะสอดแทรกแง่คิด อย่างคุณธรรมน้ำมิตร การไม่ยึดติด คติสอนใจหลายๆ อย่างที่เราสามารถนำมาปรับใช้ จริงๆ อันนี้ก็เพิ่งรู้ถึงหัวใจหลักนวนิยายกำลังภายใน หลังจากที่แปลบทสัมภาษณ์ของกิมย้ง ซึ่งพูดไว้ประมาณว่า
“บางคนพออ่านปุ๊บก็ไปยึดติดแต่ท่าบู๊ ท่าพลังทั้งหลายแหล่ เคล็ดวิชา ซึ่งแปลว่าคุณเข้าไม่ถึงนวนิยายกำลังภายใน เพราะสิ่งที่นิยายกำลังภายในสอดแทรกอยู่ก็คือคุณธรรม”
และถ้าเกิดคุณเข้าไม่ถึงตรงนั้น คุณอ่านนวนิยายกำลังภายในไป ก็ไม่มีประโยชน์
คือแม้จะเป็นนิยาย แต่ก็เหมือนจะสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตจริงได้
ใช้ได้ ใช้ได้มากเลย คือเท่าที่อ่านที่แปลมา บางเรื่องก็อิงประวัติศาสตร์ ซึ่งประวัติศาสตร์มันก็ดีอยู่แล้ว เป็นบทเรียนให้เรารู้ว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร ถ้าคุณดูแล้วคุณได้อะไรพวกนี้ ได้คุณธรรมจากหนังจีน ได้ความคิดการไม่ยึดติด การอดทน แล้วเอาไปปรับใช้ คุณก็ได้
อย่างเรื่อง “มหายุทธ์ล้างปฐพี” พระเอกในเรื่องเขาจะเขียนให้ดูเป็นจริง คือเหมือนมนุษย์ธรรมดาเราๆ ไม่ได้เป็นเทพ เป็นเจมส์ บอนด์ 007 มีเจ็บ มีล้ม มีแพ้ และเขาก็แทรกคุณธรรมในตัวพระเอก แล้วก็เดินเรื่องไปเจอผี เจอมาร สู้กับปีศาจ เพื่อที่จะดึงดูดให้คนเข้ามาอ่าน แต่เราต้องค่อยๆ แทรกคุณธรรมเข้าไปให้เขาซึมซับ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ เรื่องนี้คุณธรรม เน้นคุณธรรมไม่มีใครอ่านหรอก คือเด็กสมัยนี้คุณรุ่นใหม่ๆ ไม่ใช่เฉพาะแต่เด็ก ผู้ใหญ่ก็เหมือนกัน เราก็ต้องมีกุศโลบายที่จะเข้าถึงเขาก่อน เพราะพอคุณเข้าถึงเขาปุ๊บ หลังจากนั้น เราก็สอดแทรกแง่คิดอะไรก็ได้ แต่ก็คงไม่ถึงขั้นเปลี่ยนแปลงสังคมได้ เพราะถ้าจะหวังอย่างนั้นต้องไปเล่นในสื่อโซเชียล ตรงจุดนี้เป็นเพียงจุดเล็กๆ แค่ส่วนนิดหน่อย หรือถ้าให้ผู้ใหญ่ค่อยๆ ปลูกฝังเด็ก พ่อแม่ลองอ่านกับลูก ก็น่าจะช่วยได้ จุดประสงค์ในการแปลส่วนหนึ่งเราก็คาดหวังถ้าทำให้เด็กคนหนึ่งดีขึ้นได้นิดหนึ่งก็รู้สึกโอเคแล้ว
จากประสบการณ์ที่อ่านเราแปลนวนิยายจีนถ้าให้เปรียบเทียบบ้านเมืองเราตอนนี้ คิดว่านวนิยายจีนกำลังภายในเรื่องไหนน่าจะเข้ากับเหตุบ้านการณ์เมืองของเราที่สุด
กระบี่เย้ยยุทธจักร ครอบคลุมหมด แล้วก็ทุกยุคทุกสมัยด้วย (ยิ้ม) คือไม่ว่าจะผ่านไปอีกกี่ร้อยปี พันปี เรื่องนี้ถือว่าน่าจะที่สุดแล้ว สะท้อนได้ดีที่สุด เพราะในเรื่องมีตั้งแต่เรื่องของคนด้วยกันเอง เรื่องการเมือง เรื่องสังคม วิญญูชนจอมปลอม การแก่งแย่งกันอย่างนี้ หรือใครที่มีอำนาจปุ๊บก็หลงใหลในอำนาจ อย่าง 'เล่งฮู้ชง' พระเอกก็เลวน้อยหน่อย แต่มันไม่เลวก็ไม่ได้ เพราะว่าผมไม่ฆ่าคุณ คุณก็ฆ่าผม คุณอยู่ไม่ได้หรอก ถ้าคุณอยากจะถอนตัวก็ถอนไม่ได้ ตราบใดที่คุณยังยืนอยู่บนโลกนี้ถึงได้มีคำว่า “คนที่อยู่ในยุทธภพ ไม่มีวันเป็นตัวของตัวเอง”
เรียกได้ว่าทุกวงการเลยดีกว่า คือคนเรามันไม่มีใครเป็นอิสระ ไม่ใช่เฉพาะวงการเมืองด้วย แม้แต่ในบ้านเราเอง จริงหรือเปล่า ในวงแคบ เราก็สามารถเอาไปสะท้อนได้ดีมาก น่าจะบรรจุอยู่ในการเรียนเหมาะเลย อย่างประเทศไต้หวันที่เอาวรรณกรรมเรื่อง “เซียวฮือยี้” มาเป็นคล้ายๆ แบบเรียน (หัวเราะ) เพราะมันจับต้องได้จริงๆ แล้วก็สนุกด้วย
พูดถึงนิยายกำลังภายใน คุณชอบเรื่องไหนมากที่สุด
ก็คงต้องเป็นงานโก้วเล้ง เพราะงานโก้วเล้งจะไม่ค่อยพูดเยอะ คำเดียวจบ คม โดน เพราะชีวิตจริงๆ เราก็เป็นคนลักษณะนิสัยแบบนั้น อย่าพูดเยอะ ทีเดียวฉับ ดาบเดียวจอด (หัวเราะ) คือโก้วเล้งเขาจะไม่ค่อยบรรยายฉากบู๊อะไรนักหนา แต่เขาสามารถใช้คำให้คนรู้ว่า ไอ้คู่ต่อสู้มันลงไปนอนตายแล้ว
และอีกอย่าง สไตล์เราจะไม่ค่อยชอบแนวประวัติศาสตร์เท่าไหร่ ไม่ชอบที่แทรกพวกการเมือง เหมือนเขาต้องการเอาความคิดของเขาใส่ในนิยาย เพื่อสะท้อนให้เห็นบ้านเมืองในช่วงนั้นๆ มันเป็นอย่างไร แต่ก็อย่างว่า สมัยนี้มันก็มีแต่อิงประวัติศาสตร์ เราก็ต้องศึกษาหมดทุกแนว ประวัติศาสตร์ ศาสนา แฟนตาซี
อย่างนี้ เวลาเราแปลเรายึดหลักอะไรบ้าง
อันดับแรกคุณก็ต้องคิดเยอะๆ ไม่ใช่ว่าคุณแปลไปตรงตัว บางทีคุณก็ต้องมีการอ้อม คือบางครั้งคุณต้องใช้คำอ้อมบ้าง บิดเบือนบ้าง แต่ยังคงความหมายนั้นอยู่ บางครั้งก็ต้องมีลูกเล่นนิดหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับบิดเบือนผิดความหมายเขา ตัวอย่างเช่นประโยคคำพูดว่า "มิอาจไม่" ความจริงก็คือ "ต้อง" เราก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แปลตรงเป๊ะ
คืออันนี้ไม่ทราบว่าคนอื่นเขาจะชอบแปลแบบตรงเป๊ะหรือเปล่า แล้วก็ไม่รู้ว่าคนอ่านเขาจะชอบอย่างนี้ไหม แต่โดยส่วนตัวตั้งแต่แปลหนังเลยก็ได้ คือชอบลักษณะอย่างนี้ ชอบรวบคำให้กระชับ เพราะถ้าแปลซับหนังยืดยาว คนอ่านก็อ่านไม่ทัน ดังนั้นก็ต้องกระชับ บางครั้งเขาพูดมา สิบคำจีน คุณอาจจะต้องย่นให้คำไทยเหลือ 4-5 คำ เพื่อให้คนอ่านไทยทัน มันก็เลยติดมาบ้างโดยนิสัยของเรา แต่บางคนเขาก็ไม่เข้าใจ ก็จะคิดว่าเราใช้คำอะไรประหลาดๆ ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน แต่ส่วนตัวคิดว่าเหมือนกับว่าสิ่งที่อาจารย์ท่านทั้งสามสร้างเอาไว้ (น.นพรัตน์, ว. ณ เมืองลุง, จำลอง พิศนาคะ) บางทีมันก็เป็นกรอบให้คนรู้สึกขึ้นมาเอง ทีนี้ เวลาเราเดินออกนอกกรอบไป คนที่เคยอ่าน ก็อาจจะรับไม่ได้ ตรงนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งด้วยที่ทำให้หาคนแปลหน้าใหม่ๆ ได้น้อย
แต่ยุคนี้ก็เหมือนกับว่านวนิยายจีนกำลังภายในกำลังขาขึ้น ดูง่ายๆ ทั้งจากรูปเล่ม เนื้อหา มีการปรับปรุงสวยงาม
อืม...อันนี้เราก็ไม่รู้แน่ชัด แต่ที่จีนกำลังฮิตมากเลย เพราะมีทำออกมาเพื่อต่อยอดไปเป็นเกมออนไลน์ แต่ในบ้านเรา ถ้าจะมองอย่างนั้นก็อาจจะเป็นเพราะว่า ตอนนี้ประเทศจีนกำลังบูมขึ้นมาด้วยก็อาจจะมีส่วน เพราะการเปิดเออีซีที่ว่าประเทศจีนจะเข้ามาร่วมโครงการระหว่างประเทศด้วย ทำให้หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์มุมจีนก็มีเยอะขึ้นตาม หนังจีนก็กลับมาบูมด้วย คือดูง่ายๆ หนังจีนปีที่แล้วบูมมาก ตั้งกี่เรื่องที่เข้ามาฉายบ้านเรา อาจส่งให้ตอนนี้อีกหลายๆ ช่องทาง ทีวีดิจิตอลที่นำหนังจีนใหม่ๆ มาฉายให้เราดูกันบ้างแล้ว
ส่วนเรื่องรูปเล่ม เนื้อหา มันก็เหมือนกับทางบริษัทสำนักพิมพ์เขาต้องการดึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ คนที่ไม่เคยอ่านให้อยากมาอ่าน คือเมื่อก่อนมันก็จะเป็นเล่มสีสันไม่ดำก็ขาว เหมือนคัมภีร์นพเก้าในมังกรหยก เก่าๆ หน่อย (หัวเราะ) ส่วนตัวคิดว่ามันเป็นแนวทางการขายมากกว่า คือกลุ่มคนที่อยากจะอ่านยังมีอีกเยอะ แต่มีก็เข้าไม่ถึงอ่ะ เพราะเขาไม่รู้ไงว่ามี เรื่องตรงนี้ก็จะดึงดูดเขาได้
ถ้าเกิดนักแปลรุ่นใหม่ๆ จะขึ้นมาแปลแบบเราบ้าง ควรจะต้องทำอย่างไร
คุณก็ต้องใจรักทั้งสองอย่าง คือรักในภาษาจีนแล้วก็รักในภาษาไทย แล้วคุณก็ต้องเป็นคนที่ชอบอ่าน อ่านเยอะๆ เพราะถ้าเกิดคุณเป็นคนไม่ชอบการอ่าน คุณก็แปลไม่ได้หรอก คุณจะไปนึกคำออกได้ไง ภาษาจีนหนึ่งคำบางทีความหมายมันเยอะแยะ แต่ที่สำคัญเลย ต้องเป็นคนอดทน ถ้าคุณจะประกอบอาชีพนักแปล เนื่องจากงานมันน่าเบื่อ คุณจะต้องนั่ง 7-8 ชั่วโมง หน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วไหนคุณก็ต้องจมอยู่กับตัวหนังสืออีก
คือถ้าแปลซับหนังก็ยังเพลิน มีภาพให้ดูไปด้วย แต่อันนี้มีแต่ตัวหนังสือ และถ้าคุณไม่ทำทั้งวันคุณก็แปลไม่ทัน ส่งต้นฉบับไม่ทัน คุณก็ต้องอยู่กับมันอย่างต่ำๆ 5 ชั่วโมง แต่ที่ส่วนตัวทำคือทำเซตเวลาประจำ 8 ชั่วโมง บางวันก็เกินด้วย 10 ชั่วโมง เรียกได้ว่าอยู่กับมันทั้งวัน ตั้งแต่เช้าจดดึกเลย และทีนี้พอเสร็จแล้ว กลางคืนเราก็ต้องไปเตรียมอ่านต้นฉบับต่อ เพื่อวันรุ่งขึ้นเราจะได้เอามาแปล ก็ค่อนข้างจำเจ คุณก็ต้องมีความอดทน ถ้าไม่รัก มันจะเบื่อ คือทำแรกๆ ก็ตื่นเต้น เล่มแรกๆ แปล พอเล่ม 3 ปุ๊บมันจะอะไรนักหนา (หัวเราะ)
ต้องมีอายุและเข้าใจชีวิตด้วยไหม ถึงจะแปลผลงานออกมาได้ครบทั้งอรรถรสและแก่นนวนิยายกำลังภายใน
ไม่ๆ เราแค่ต้องอ่านเยอะๆ การผ่านเวลา ผ่านเรื่องราวก็มีส่วน คือเหมือนกับคุณสะสมคำ มีคลังคำของตัวเอง มันก็ช่วยให้แปลได้เร็วขึ้น ส่วนต้องเข้าใจชีวิตด้วยไหม คือการแปลบิดเบือนไม่ได้อยู่แล้ว คนเขียนเขาเขียนออกมาอย่างไร ก็ต้องเป็นอย่างนั้น
เราก็เลยกลายเป็นว่าที่ความหวังใหม่ผู้สืบทอดวรยุทธ์วรรณกรรมแปลนวนิยายจีน อย่างที่ใครๆ ว่า
จริงๆ อาจจะเป็นเพราะด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง หลายคนอาจจะยังไม่พร้อม เพราะการแปลนวนิยายจีนจะแปลด้วยภาษาสมัยใหม่ทั้งหมดไม่ได้ คนอ่านก็ไม่รับ เราก็ต้องใช้เวลาผ่านการอ่านเยอะๆ อย่างที่บอก เรื่องสำบัดสำนวน มันก็เลยอาจจะเป็นเพราะตรงนี้หรือเปล่าที่ทำให้หาคนแปลไม่ได้ เราก็เลยถูกมองว่าเป็นอย่างนั้น
จริงๆ ก็มีคนแปลอื่นๆ เก่ง ไม่ใช่ว่าเราเก่ง คือคนที่เก่งภาษาจีนก็เยอะนะ แทบล้นตลาด แล้วเด็กๆ สมัยนี้ก็เก่ง แต่ก็ไม่เข้าใจเขาไม่ใช้ความสามารถที่มีมาแปลนวนิยายกำลังภายในกัน ก็แปลได้เหมือนกัน เพราะว่ามีช่วงช่วงหนึ่งที่นวนิยายกำลังภายในมันไม่มีอะไรให้อ่านใหม่ๆ เลย คือพอหมดแนวกระบี่แนวอะไรต่อมิอะไร ก๊วยเจ๋ง มังกรหยก มันไม่มีอะไรให้อ่านแล้ว ทั้งที่จริงๆ เสิร์ชอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์จีนจะพบว่านวนิยายหรือหนังกำลังภายในเขาบูมมาก มีทุกแนว ทั้งแนวอิงประวัติศาสตร์ แนวแฟนตาซี แนวศาสนา แนวใหม่ๆ เกิดเยอะมาก แต่ก็ไม่มีคนแปล
นี่ก็ว่าแปลเรื่องนี้เสร็จแล้ว ก็จะเบรก เพื่ออ่านสะสมวิทยายุทธ์ก่อน คือเรามานั่งอ่านงานของตัวเราเอง เราก็รู้ว่าติดขัด ยังไม่สวย ยังไม่เนียน ฉะนั้น เราเองก็ต้องฝึกอีก ก็เหมือนตอนนี้อยู่ขั้นที่หนึ่ง เป็นเด็กฝึกกระบี่ ก็ต้องพยายามต่อ หาอาจารย์ฝึกต่อ ฝึกมันขึ้นไปเรื่อยๆ ก็ถ้าตอนนี้ใครอ่านก็อาจจะถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง เราทำเต็มที่แล้วก็ต้องขอเวลาฝึกฝน
5 นวนิยายจีนกำลังภายใน
ในดวงใจนักแปล “ลี หลินลี่”
1.ขอบฟ้าจันทราดาบ
ขอบฟ้าจันทราดาบ เป็นเวอร์ชันที่อาจารย์ น.นพรัตน์ เป็นผู้แปล ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊ค มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับด้านมืด ทั้งของยุทธภพและของคน แล้วทำไมถึงชอบ หนึ่งเลย เพราะเป็นผลงานของโก้วเล้ง สองคือมันสะท้อนตัวพระเอกเป็นเหมือนแสงสว่างเล็กๆ จุดเดียวของเรื่อง แต่พระเอกก็ไม่ใช่จะดีร้อยเปอร์เซ็นต์ คือก็มีมุมมืดของตัวเอง เพียงแต่ยังมีส่วนหนึ่งที่เป็นแสงสว่างจุดหนึ่งที่ให้ทั้งเรื่องมันสว่าง
เนื้อเรื่องคร่าวๆ ก็คือพระเอกพิการขาเป๋ แล้วก็เป็นโรคลมบ้าหมูด้วย แต่ที่ซวยกว่านั้นก็คือพระเอกโดนเจ้าหญิงคนหนึ่งเก็บไปเลี้ยง เสร็จแล้วก็บังคับให้ฝึกเพลงดาบ เพลงดาบนี้ก็คือไม่มีตำรงตำราอะไรทั้งสิ้น วันทั้งวันฝึกชักแต่ดาบ วันละ 12,000 ครั้ง จนกระทั่งออกมาผ่านไป 20 ปี เขากลายมาเป็นมือดาบอันดับหนึ่งของแผ่นดิน
ข้อคิดของเรื่อง นอกเหนือจากความอดทน ก็มีเรื่องของการไม่ยึดติด เพราะหลังจากที่กลายเป็นมือดาบอันดับหนึ่ง มีคนมาเสนอยศ ตำแหน่ง หรือจัดอันดับ เขาก็ไม่สนใจ คือตัวเองอยากจะทำอะไรก็ทำไปให้ประสบความสำเร็จ เสร็จแล้วตัวเองก็กลับพอใจในสิ่งที่มี
2.ลูกปลาน้อยเซียวฮือยี้
เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องเดียวของโก้วเล้งที่แต่งออกมาน่ารักที่สุดแล้วในบรรดาผลงานของโก้วเล้ง คือเรื่องเซียวฮือยี้ก็ใช้ได้เหมือนกันตรงที่เป็นเด็กฝาแฝดคนหนึ่งถูกเลี้ยงในหุบเขาคนโฉด อีกคนอยู่กับเจ้าหญิงสวยในวังปุบผา เสร็จแล้วก็โฟกัสไปที่เด็กที่ถูกเลี้ยงในหุบเขาคนโฉดว่า ถึงแม้จะอยู่ในดงโจร ถึงแม้คุณจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี คุณก็อย่าลืมว่าสำนึกคุณต้องดี มโนสำนึกเขายังเป็นคนดีได้ อันนี้คือเป็นจุดหนึ่งที่โกวเล้งน่าจะสะท้อนออกมาเด่นๆ ในเรื่องนี้
3.ชอลิ้วเฮียง
เรื่องนี้บางตอนอาจจะไม่สนุก แต่บางตอนก็สนุกมาก คือเรื่องนี้เขาอิงมาจากผู้แต่ง “อกาธา คริสตี้” เรื่องมันจะแนวสืบสวน มันก็เลยทำให้เนื้อเรื่องสนุก เพราะโดยส่วนตัวเราเป็นคนชอบแนวฆาตกรรม สืบสวนแนว แฮโรลด์ ร็อบบินส์ อะไรพวกนั้น ก็เลยมีความรู้สึกว่าชอบสไตล์ของเรื่องนี้
4.กระบี่เย้ยยุทธจักร
ผลงานของกิมย้งเรื่องนี้ ก็ต้องยกให้เขาเลย ครบรสชาติชีวิต เพราะมันสะท้อนทั้งเรื่องการเมือง หลงใหลในอำนาจ สังคม วิญญูชนจอมปลอม แล้วก็ผู้คน การแก่งแย่งกัน คือได้หมดในทุกยุคทุกสมัย และก็ทุกวงการด้วย เรื่องนี้เราก็สามารถเอาไปสะท้อนได้ดีมาก เอาไปปรับใช้ในชีวิตได้ครอบคลุมทุกแง่มุม
5.เทพทลายนภา
เรื่องนี้เป็นผลงานเรื่องแรกของหวงอี้ สนุกมาก บู๊ตั้งแต่ต้นจนจบ แถมสั้นเล่มเดียวจบ เรียกได้ว่าพออ่านแล้วจะวางไม่ลง คืออาจจะด้วยความที่เป็นเรื่องแรก ก็เลยใส่จินตนาการได้เต็มที่ ยังไม่มีกรอบหรือข้อกดดันบังคับอะไร ส่วนข้อคิดที่ได้ของเรื่องนี้ก็อาจจะเป็นคล้ายๆ ว่า พอพระเอกไปถึงจุดสูงสุดแล้วนี่ เขาก็ไม่สนใจชื่อเสียง หรือใครจะมายกตำแหน่งอะไรให้ก็ไม่เอา หนังจีนส่วนใหญ่ก็จะเป็นอย่างนั้นแหละ
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช
“ลี หลินลี่” หรือ “วนิดา เจนกิจเจริญ” เป็นลูกหลานจีนแท้โดยสายเลือด แต่เริ่มศึกษาภาษาจีนอย่างจริงจังเมื่อราวสิบปีก่อน ในวัยเด็ก หลงใหลคลั่งไคล้ทั้งหนัง ซีรีส์ และนวนิยายจีนแนวกำลังภายใน กระทั่งเติบโตก็ยังคงไม่คลายความรักหลงใหลนั้น
ที่ผ่านมา “ลี หลินลี่” เคยแปลซับไตเติลใส่ซีรีส์จีน เรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักร, เรื่องขอบฟ้าจันทราดาบ และอื่นๆ อีกหลายเรื่อง ก่อนจะขยับมาจับงานแปลนิยายยุทธจักรอย่างจริงจังเมื่อกลางปี 2557 เปิดตัวสู่ยุทธภพด้วยการทอดตนเป็นสะพานภาษาให้กับนิยายเรื่อง “มหายุทธ์ล้างปฐพี” ตามที่กล่าวไว้เบื้องต้น
“จอมยุทธ์เมื่อพบพาน ต้องทดสอบพลังวัตรแทนการถามไถ่” แวดวงพวกนักเลงอาจกล่าวไว้เยี่ยงนั้น แต่เนื่องจากว่าเราไม่มีเพียงเพลงยุทธ์แม้แต่เพลงเดียว การค้อมคารวะและคอยเลียบเคียงถามไถ่ จึงนับเป็นอะไรที่น่าจะประเสริฐกว่า...
อยากให้ช่วยเล่าถึงปฐมบทแห่งการเข้าสู่ยุทธจักรการแปลนิยายกำลังภายในก่อนครับว่ามีความเป็นมาเป็นไปอย่างไร
จริงๆ เพิ่งได้เหยียบย่างเข้ามาวงการนวนิยายแนวนี้เมื่อประมาณเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วนี่เองค่ะ (ยิ้ม) เพราะก่อนหน้านั้น แปลแต่ซับไตเติลหนังจีน ซีรีส์จีน อัปลงฟรีในเว็บไซต์ยูทูป เพื่อเสาะหากลุ่มคนที่รักชอบตรงนี้เหมือนกัน ก็แปลอยู่สักพัก ทีนี้ พอมีคนตามผลงานเราเยอะ ชอบในสำบัดสำนวนเรา ก็เริ่มมีคนรู้จักเรามากขึ้น ซึ่งบังเอิญเพื่อนที่ทำพวกซับหนังด้วยกัน เขาทำงานแปลอยู่ที่สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊ค เขาจึงชวนเรามาแปล เรื่องนี้ก็เลยเป็นเรื่องแรกทั้งของเราและของเขา
ฟังดูเหมือนกับว่าชอบอะไรที่เป็นนิยายแนวๆ นี้มากอยู่แล้วเป็นทุนเดิม
คือก่อนหน้านั้นเราก็ชอบดูหนังจีนมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วล่ะ ดูแบบบ้ามากๆ ด้วย คือตอนนั้นดูหมด ทั้งหนังจีนแนวสากล ทั้งหนังจีนกำลังภายใน แต่เมื่อก่อน ส่วนใหญ่จะมีแต่แนวกำลังภายในเข้ามาบ้านเรา เราก็เลยเน้นไปทางสายกำลังภายใน ทีนี้ในช่วงหลังๆ สักประมาณสิบปีที่แล้ว ถ้าสังเกตจะรู้ว่าหนังจีนมันหายไปจากฟรีทีวี ด้วยความที่เราอยากดูมาก แต่พอเข้าไปเว็บไซต์จีนที่มีอยู่เยอะมากๆ เราก็ฟังไม่ออก บวกกับตอนนั้น เราติดนักร้องวง F4 ด้วย เวลาตามไปคอนเสิร์ตก็อยากรู้ว่าเขาพูดอะไร ก็ตัดสินใจไปเรียนภาษาจีนดีกว่า เพราะกลัวว่าเดี๋ยวล่ามจะอาศัยแปลเนียน ไม่ตรง ไม่ครบอรรถรส (หัวเราะ)
แรกๆ หลายคนเขาบอกว่ามาเรียนตอนแก่มันค่อนข้างเหนื่อยนะ ภาษาจีนตัวอักษรก็เยอะ หนึ่งตัวก็หนึ่งความหมาย หนึ่งตัวก็หนึ่งเสียง มันก็ถือว่าเรียนยากเหมือนกัน แต่เราใจรักไง ยิ่งเรียนเราก็ยิ่งชอบ จนกลายเป็นว่าเรามาตกหลุมรักภาษาจีน หนังก็กลายเป็นส่วนประกอบไป เพราะภาษาจีนมันสวยมาก เราก็จึงมุ่งมั่น คือคนที่เรียนภาษาจีน ต้องใจรักหนึ่ง แล้วก็ต้องมีแรงจูงใจ อย่างเช่นของเรานี่คือมีดาราเป็นแรงจูงใจ มีหนังเป็นแรงจูงใจ
นอกจากเรื่องความรักความชอบส่วนตัว พระเอกดาราหล่อแล้ว อะไรที่ทำให้หลงเสน่ห์ของนวนิยายกำลังภายใน
นอกจากพระเอกหล่อก็... (หัวเราะ) เสน่ห์ของนิยายกำลังภายในคือความเหนือจริง เพราะในชีวิตจริงๆ ของเรามันทำไม่ได้อย่างในนิยาย อย่างเหาะเหินเดินอากาศ กระโดดปีนข้ามต้นไม้ มันเป็นแบบจินตนาการกว้างไกล แล้วมันเป็นสิ่งที่เราอยากทำได้ เวลาเราอ่าน เราก็อิน ง่ายๆ ลองสังเกตคนที่อ่านนวนิยายกำลังภายในดู พวกนี้จะไม่ยอมวางหนังสือเลย ยิ่งพอถึงฉากบู๊ จะให้ความรู้สึกสุดๆ ชนิดวางไม่ลง
แล้วอีกอย่าง นวนิยายจีนกำลังภายในส่วนใหญ่จะสอดแทรกแง่คิด อย่างคุณธรรมน้ำมิตร การไม่ยึดติด คติสอนใจหลายๆ อย่างที่เราสามารถนำมาปรับใช้ จริงๆ อันนี้ก็เพิ่งรู้ถึงหัวใจหลักนวนิยายกำลังภายใน หลังจากที่แปลบทสัมภาษณ์ของกิมย้ง ซึ่งพูดไว้ประมาณว่า
“บางคนพออ่านปุ๊บก็ไปยึดติดแต่ท่าบู๊ ท่าพลังทั้งหลายแหล่ เคล็ดวิชา ซึ่งแปลว่าคุณเข้าไม่ถึงนวนิยายกำลังภายใน เพราะสิ่งที่นิยายกำลังภายในสอดแทรกอยู่ก็คือคุณธรรม”
และถ้าเกิดคุณเข้าไม่ถึงตรงนั้น คุณอ่านนวนิยายกำลังภายในไป ก็ไม่มีประโยชน์
คือแม้จะเป็นนิยาย แต่ก็เหมือนจะสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตจริงได้
ใช้ได้ ใช้ได้มากเลย คือเท่าที่อ่านที่แปลมา บางเรื่องก็อิงประวัติศาสตร์ ซึ่งประวัติศาสตร์มันก็ดีอยู่แล้ว เป็นบทเรียนให้เรารู้ว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร ถ้าคุณดูแล้วคุณได้อะไรพวกนี้ ได้คุณธรรมจากหนังจีน ได้ความคิดการไม่ยึดติด การอดทน แล้วเอาไปปรับใช้ คุณก็ได้
อย่างเรื่อง “มหายุทธ์ล้างปฐพี” พระเอกในเรื่องเขาจะเขียนให้ดูเป็นจริง คือเหมือนมนุษย์ธรรมดาเราๆ ไม่ได้เป็นเทพ เป็นเจมส์ บอนด์ 007 มีเจ็บ มีล้ม มีแพ้ และเขาก็แทรกคุณธรรมในตัวพระเอก แล้วก็เดินเรื่องไปเจอผี เจอมาร สู้กับปีศาจ เพื่อที่จะดึงดูดให้คนเข้ามาอ่าน แต่เราต้องค่อยๆ แทรกคุณธรรมเข้าไปให้เขาซึมซับ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ เรื่องนี้คุณธรรม เน้นคุณธรรมไม่มีใครอ่านหรอก คือเด็กสมัยนี้คุณรุ่นใหม่ๆ ไม่ใช่เฉพาะแต่เด็ก ผู้ใหญ่ก็เหมือนกัน เราก็ต้องมีกุศโลบายที่จะเข้าถึงเขาก่อน เพราะพอคุณเข้าถึงเขาปุ๊บ หลังจากนั้น เราก็สอดแทรกแง่คิดอะไรก็ได้ แต่ก็คงไม่ถึงขั้นเปลี่ยนแปลงสังคมได้ เพราะถ้าจะหวังอย่างนั้นต้องไปเล่นในสื่อโซเชียล ตรงจุดนี้เป็นเพียงจุดเล็กๆ แค่ส่วนนิดหน่อย หรือถ้าให้ผู้ใหญ่ค่อยๆ ปลูกฝังเด็ก พ่อแม่ลองอ่านกับลูก ก็น่าจะช่วยได้ จุดประสงค์ในการแปลส่วนหนึ่งเราก็คาดหวังถ้าทำให้เด็กคนหนึ่งดีขึ้นได้นิดหนึ่งก็รู้สึกโอเคแล้ว
จากประสบการณ์ที่อ่านเราแปลนวนิยายจีนถ้าให้เปรียบเทียบบ้านเมืองเราตอนนี้ คิดว่านวนิยายจีนกำลังภายในเรื่องไหนน่าจะเข้ากับเหตุบ้านการณ์เมืองของเราที่สุด
กระบี่เย้ยยุทธจักร ครอบคลุมหมด แล้วก็ทุกยุคทุกสมัยด้วย (ยิ้ม) คือไม่ว่าจะผ่านไปอีกกี่ร้อยปี พันปี เรื่องนี้ถือว่าน่าจะที่สุดแล้ว สะท้อนได้ดีที่สุด เพราะในเรื่องมีตั้งแต่เรื่องของคนด้วยกันเอง เรื่องการเมือง เรื่องสังคม วิญญูชนจอมปลอม การแก่งแย่งกันอย่างนี้ หรือใครที่มีอำนาจปุ๊บก็หลงใหลในอำนาจ อย่าง 'เล่งฮู้ชง' พระเอกก็เลวน้อยหน่อย แต่มันไม่เลวก็ไม่ได้ เพราะว่าผมไม่ฆ่าคุณ คุณก็ฆ่าผม คุณอยู่ไม่ได้หรอก ถ้าคุณอยากจะถอนตัวก็ถอนไม่ได้ ตราบใดที่คุณยังยืนอยู่บนโลกนี้ถึงได้มีคำว่า “คนที่อยู่ในยุทธภพ ไม่มีวันเป็นตัวของตัวเอง”
เรียกได้ว่าทุกวงการเลยดีกว่า คือคนเรามันไม่มีใครเป็นอิสระ ไม่ใช่เฉพาะวงการเมืองด้วย แม้แต่ในบ้านเราเอง จริงหรือเปล่า ในวงแคบ เราก็สามารถเอาไปสะท้อนได้ดีมาก น่าจะบรรจุอยู่ในการเรียนเหมาะเลย อย่างประเทศไต้หวันที่เอาวรรณกรรมเรื่อง “เซียวฮือยี้” มาเป็นคล้ายๆ แบบเรียน (หัวเราะ) เพราะมันจับต้องได้จริงๆ แล้วก็สนุกด้วย
พูดถึงนิยายกำลังภายใน คุณชอบเรื่องไหนมากที่สุด
ก็คงต้องเป็นงานโก้วเล้ง เพราะงานโก้วเล้งจะไม่ค่อยพูดเยอะ คำเดียวจบ คม โดน เพราะชีวิตจริงๆ เราก็เป็นคนลักษณะนิสัยแบบนั้น อย่าพูดเยอะ ทีเดียวฉับ ดาบเดียวจอด (หัวเราะ) คือโก้วเล้งเขาจะไม่ค่อยบรรยายฉากบู๊อะไรนักหนา แต่เขาสามารถใช้คำให้คนรู้ว่า ไอ้คู่ต่อสู้มันลงไปนอนตายแล้ว
และอีกอย่าง สไตล์เราจะไม่ค่อยชอบแนวประวัติศาสตร์เท่าไหร่ ไม่ชอบที่แทรกพวกการเมือง เหมือนเขาต้องการเอาความคิดของเขาใส่ในนิยาย เพื่อสะท้อนให้เห็นบ้านเมืองในช่วงนั้นๆ มันเป็นอย่างไร แต่ก็อย่างว่า สมัยนี้มันก็มีแต่อิงประวัติศาสตร์ เราก็ต้องศึกษาหมดทุกแนว ประวัติศาสตร์ ศาสนา แฟนตาซี
อย่างนี้ เวลาเราแปลเรายึดหลักอะไรบ้าง
อันดับแรกคุณก็ต้องคิดเยอะๆ ไม่ใช่ว่าคุณแปลไปตรงตัว บางทีคุณก็ต้องมีการอ้อม คือบางครั้งคุณต้องใช้คำอ้อมบ้าง บิดเบือนบ้าง แต่ยังคงความหมายนั้นอยู่ บางครั้งก็ต้องมีลูกเล่นนิดหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับบิดเบือนผิดความหมายเขา ตัวอย่างเช่นประโยคคำพูดว่า "มิอาจไม่" ความจริงก็คือ "ต้อง" เราก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แปลตรงเป๊ะ
คืออันนี้ไม่ทราบว่าคนอื่นเขาจะชอบแปลแบบตรงเป๊ะหรือเปล่า แล้วก็ไม่รู้ว่าคนอ่านเขาจะชอบอย่างนี้ไหม แต่โดยส่วนตัวตั้งแต่แปลหนังเลยก็ได้ คือชอบลักษณะอย่างนี้ ชอบรวบคำให้กระชับ เพราะถ้าแปลซับหนังยืดยาว คนอ่านก็อ่านไม่ทัน ดังนั้นก็ต้องกระชับ บางครั้งเขาพูดมา สิบคำจีน คุณอาจจะต้องย่นให้คำไทยเหลือ 4-5 คำ เพื่อให้คนอ่านไทยทัน มันก็เลยติดมาบ้างโดยนิสัยของเรา แต่บางคนเขาก็ไม่เข้าใจ ก็จะคิดว่าเราใช้คำอะไรประหลาดๆ ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน แต่ส่วนตัวคิดว่าเหมือนกับว่าสิ่งที่อาจารย์ท่านทั้งสามสร้างเอาไว้ (น.นพรัตน์, ว. ณ เมืองลุง, จำลอง พิศนาคะ) บางทีมันก็เป็นกรอบให้คนรู้สึกขึ้นมาเอง ทีนี้ เวลาเราเดินออกนอกกรอบไป คนที่เคยอ่าน ก็อาจจะรับไม่ได้ ตรงนี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งด้วยที่ทำให้หาคนแปลหน้าใหม่ๆ ได้น้อย
แต่ยุคนี้ก็เหมือนกับว่านวนิยายจีนกำลังภายในกำลังขาขึ้น ดูง่ายๆ ทั้งจากรูปเล่ม เนื้อหา มีการปรับปรุงสวยงาม
อืม...อันนี้เราก็ไม่รู้แน่ชัด แต่ที่จีนกำลังฮิตมากเลย เพราะมีทำออกมาเพื่อต่อยอดไปเป็นเกมออนไลน์ แต่ในบ้านเรา ถ้าจะมองอย่างนั้นก็อาจจะเป็นเพราะว่า ตอนนี้ประเทศจีนกำลังบูมขึ้นมาด้วยก็อาจจะมีส่วน เพราะการเปิดเออีซีที่ว่าประเทศจีนจะเข้ามาร่วมโครงการระหว่างประเทศด้วย ทำให้หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์มุมจีนก็มีเยอะขึ้นตาม หนังจีนก็กลับมาบูมด้วย คือดูง่ายๆ หนังจีนปีที่แล้วบูมมาก ตั้งกี่เรื่องที่เข้ามาฉายบ้านเรา อาจส่งให้ตอนนี้อีกหลายๆ ช่องทาง ทีวีดิจิตอลที่นำหนังจีนใหม่ๆ มาฉายให้เราดูกันบ้างแล้ว
ส่วนเรื่องรูปเล่ม เนื้อหา มันก็เหมือนกับทางบริษัทสำนักพิมพ์เขาต้องการดึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ คนที่ไม่เคยอ่านให้อยากมาอ่าน คือเมื่อก่อนมันก็จะเป็นเล่มสีสันไม่ดำก็ขาว เหมือนคัมภีร์นพเก้าในมังกรหยก เก่าๆ หน่อย (หัวเราะ) ส่วนตัวคิดว่ามันเป็นแนวทางการขายมากกว่า คือกลุ่มคนที่อยากจะอ่านยังมีอีกเยอะ แต่มีก็เข้าไม่ถึงอ่ะ เพราะเขาไม่รู้ไงว่ามี เรื่องตรงนี้ก็จะดึงดูดเขาได้
ถ้าเกิดนักแปลรุ่นใหม่ๆ จะขึ้นมาแปลแบบเราบ้าง ควรจะต้องทำอย่างไร
คุณก็ต้องใจรักทั้งสองอย่าง คือรักในภาษาจีนแล้วก็รักในภาษาไทย แล้วคุณก็ต้องเป็นคนที่ชอบอ่าน อ่านเยอะๆ เพราะถ้าเกิดคุณเป็นคนไม่ชอบการอ่าน คุณก็แปลไม่ได้หรอก คุณจะไปนึกคำออกได้ไง ภาษาจีนหนึ่งคำบางทีความหมายมันเยอะแยะ แต่ที่สำคัญเลย ต้องเป็นคนอดทน ถ้าคุณจะประกอบอาชีพนักแปล เนื่องจากงานมันน่าเบื่อ คุณจะต้องนั่ง 7-8 ชั่วโมง หน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วไหนคุณก็ต้องจมอยู่กับตัวหนังสืออีก
คือถ้าแปลซับหนังก็ยังเพลิน มีภาพให้ดูไปด้วย แต่อันนี้มีแต่ตัวหนังสือ และถ้าคุณไม่ทำทั้งวันคุณก็แปลไม่ทัน ส่งต้นฉบับไม่ทัน คุณก็ต้องอยู่กับมันอย่างต่ำๆ 5 ชั่วโมง แต่ที่ส่วนตัวทำคือทำเซตเวลาประจำ 8 ชั่วโมง บางวันก็เกินด้วย 10 ชั่วโมง เรียกได้ว่าอยู่กับมันทั้งวัน ตั้งแต่เช้าจดดึกเลย และทีนี้พอเสร็จแล้ว กลางคืนเราก็ต้องไปเตรียมอ่านต้นฉบับต่อ เพื่อวันรุ่งขึ้นเราจะได้เอามาแปล ก็ค่อนข้างจำเจ คุณก็ต้องมีความอดทน ถ้าไม่รัก มันจะเบื่อ คือทำแรกๆ ก็ตื่นเต้น เล่มแรกๆ แปล พอเล่ม 3 ปุ๊บมันจะอะไรนักหนา (หัวเราะ)
ต้องมีอายุและเข้าใจชีวิตด้วยไหม ถึงจะแปลผลงานออกมาได้ครบทั้งอรรถรสและแก่นนวนิยายกำลังภายใน
ไม่ๆ เราแค่ต้องอ่านเยอะๆ การผ่านเวลา ผ่านเรื่องราวก็มีส่วน คือเหมือนกับคุณสะสมคำ มีคลังคำของตัวเอง มันก็ช่วยให้แปลได้เร็วขึ้น ส่วนต้องเข้าใจชีวิตด้วยไหม คือการแปลบิดเบือนไม่ได้อยู่แล้ว คนเขียนเขาเขียนออกมาอย่างไร ก็ต้องเป็นอย่างนั้น
เราก็เลยกลายเป็นว่าที่ความหวังใหม่ผู้สืบทอดวรยุทธ์วรรณกรรมแปลนวนิยายจีน อย่างที่ใครๆ ว่า
จริงๆ อาจจะเป็นเพราะด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง หลายคนอาจจะยังไม่พร้อม เพราะการแปลนวนิยายจีนจะแปลด้วยภาษาสมัยใหม่ทั้งหมดไม่ได้ คนอ่านก็ไม่รับ เราก็ต้องใช้เวลาผ่านการอ่านเยอะๆ อย่างที่บอก เรื่องสำบัดสำนวน มันก็เลยอาจจะเป็นเพราะตรงนี้หรือเปล่าที่ทำให้หาคนแปลไม่ได้ เราก็เลยถูกมองว่าเป็นอย่างนั้น
จริงๆ ก็มีคนแปลอื่นๆ เก่ง ไม่ใช่ว่าเราเก่ง คือคนที่เก่งภาษาจีนก็เยอะนะ แทบล้นตลาด แล้วเด็กๆ สมัยนี้ก็เก่ง แต่ก็ไม่เข้าใจเขาไม่ใช้ความสามารถที่มีมาแปลนวนิยายกำลังภายในกัน ก็แปลได้เหมือนกัน เพราะว่ามีช่วงช่วงหนึ่งที่นวนิยายกำลังภายในมันไม่มีอะไรให้อ่านใหม่ๆ เลย คือพอหมดแนวกระบี่แนวอะไรต่อมิอะไร ก๊วยเจ๋ง มังกรหยก มันไม่มีอะไรให้อ่านแล้ว ทั้งที่จริงๆ เสิร์ชอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์จีนจะพบว่านวนิยายหรือหนังกำลังภายในเขาบูมมาก มีทุกแนว ทั้งแนวอิงประวัติศาสตร์ แนวแฟนตาซี แนวศาสนา แนวใหม่ๆ เกิดเยอะมาก แต่ก็ไม่มีคนแปล
นี่ก็ว่าแปลเรื่องนี้เสร็จแล้ว ก็จะเบรก เพื่ออ่านสะสมวิทยายุทธ์ก่อน คือเรามานั่งอ่านงานของตัวเราเอง เราก็รู้ว่าติดขัด ยังไม่สวย ยังไม่เนียน ฉะนั้น เราเองก็ต้องฝึกอีก ก็เหมือนตอนนี้อยู่ขั้นที่หนึ่ง เป็นเด็กฝึกกระบี่ ก็ต้องพยายามต่อ หาอาจารย์ฝึกต่อ ฝึกมันขึ้นไปเรื่อยๆ ก็ถ้าตอนนี้ใครอ่านก็อาจจะถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง เราทำเต็มที่แล้วก็ต้องขอเวลาฝึกฝน
5 นวนิยายจีนกำลังภายใน
ในดวงใจนักแปล “ลี หลินลี่”
1.ขอบฟ้าจันทราดาบ
ขอบฟ้าจันทราดาบ เป็นเวอร์ชันที่อาจารย์ น.นพรัตน์ เป็นผู้แปล ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊ค มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับด้านมืด ทั้งของยุทธภพและของคน แล้วทำไมถึงชอบ หนึ่งเลย เพราะเป็นผลงานของโก้วเล้ง สองคือมันสะท้อนตัวพระเอกเป็นเหมือนแสงสว่างเล็กๆ จุดเดียวของเรื่อง แต่พระเอกก็ไม่ใช่จะดีร้อยเปอร์เซ็นต์ คือก็มีมุมมืดของตัวเอง เพียงแต่ยังมีส่วนหนึ่งที่เป็นแสงสว่างจุดหนึ่งที่ให้ทั้งเรื่องมันสว่าง
เนื้อเรื่องคร่าวๆ ก็คือพระเอกพิการขาเป๋ แล้วก็เป็นโรคลมบ้าหมูด้วย แต่ที่ซวยกว่านั้นก็คือพระเอกโดนเจ้าหญิงคนหนึ่งเก็บไปเลี้ยง เสร็จแล้วก็บังคับให้ฝึกเพลงดาบ เพลงดาบนี้ก็คือไม่มีตำรงตำราอะไรทั้งสิ้น วันทั้งวันฝึกชักแต่ดาบ วันละ 12,000 ครั้ง จนกระทั่งออกมาผ่านไป 20 ปี เขากลายมาเป็นมือดาบอันดับหนึ่งของแผ่นดิน
ข้อคิดของเรื่อง นอกเหนือจากความอดทน ก็มีเรื่องของการไม่ยึดติด เพราะหลังจากที่กลายเป็นมือดาบอันดับหนึ่ง มีคนมาเสนอยศ ตำแหน่ง หรือจัดอันดับ เขาก็ไม่สนใจ คือตัวเองอยากจะทำอะไรก็ทำไปให้ประสบความสำเร็จ เสร็จแล้วตัวเองก็กลับพอใจในสิ่งที่มี
2.ลูกปลาน้อยเซียวฮือยี้
เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องเดียวของโก้วเล้งที่แต่งออกมาน่ารักที่สุดแล้วในบรรดาผลงานของโก้วเล้ง คือเรื่องเซียวฮือยี้ก็ใช้ได้เหมือนกันตรงที่เป็นเด็กฝาแฝดคนหนึ่งถูกเลี้ยงในหุบเขาคนโฉด อีกคนอยู่กับเจ้าหญิงสวยในวังปุบผา เสร็จแล้วก็โฟกัสไปที่เด็กที่ถูกเลี้ยงในหุบเขาคนโฉดว่า ถึงแม้จะอยู่ในดงโจร ถึงแม้คุณจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี คุณก็อย่าลืมว่าสำนึกคุณต้องดี มโนสำนึกเขายังเป็นคนดีได้ อันนี้คือเป็นจุดหนึ่งที่โกวเล้งน่าจะสะท้อนออกมาเด่นๆ ในเรื่องนี้
3.ชอลิ้วเฮียง
เรื่องนี้บางตอนอาจจะไม่สนุก แต่บางตอนก็สนุกมาก คือเรื่องนี้เขาอิงมาจากผู้แต่ง “อกาธา คริสตี้” เรื่องมันจะแนวสืบสวน มันก็เลยทำให้เนื้อเรื่องสนุก เพราะโดยส่วนตัวเราเป็นคนชอบแนวฆาตกรรม สืบสวนแนว แฮโรลด์ ร็อบบินส์ อะไรพวกนั้น ก็เลยมีความรู้สึกว่าชอบสไตล์ของเรื่องนี้
4.กระบี่เย้ยยุทธจักร
ผลงานของกิมย้งเรื่องนี้ ก็ต้องยกให้เขาเลย ครบรสชาติชีวิต เพราะมันสะท้อนทั้งเรื่องการเมือง หลงใหลในอำนาจ สังคม วิญญูชนจอมปลอม แล้วก็ผู้คน การแก่งแย่งกัน คือได้หมดในทุกยุคทุกสมัย และก็ทุกวงการด้วย เรื่องนี้เราก็สามารถเอาไปสะท้อนได้ดีมาก เอาไปปรับใช้ในชีวิตได้ครอบคลุมทุกแง่มุม
5.เทพทลายนภา
เรื่องนี้เป็นผลงานเรื่องแรกของหวงอี้ สนุกมาก บู๊ตั้งแต่ต้นจนจบ แถมสั้นเล่มเดียวจบ เรียกได้ว่าพออ่านแล้วจะวางไม่ลง คืออาจจะด้วยความที่เป็นเรื่องแรก ก็เลยใส่จินตนาการได้เต็มที่ ยังไม่มีกรอบหรือข้อกดดันบังคับอะไร ส่วนข้อคิดที่ได้ของเรื่องนี้ก็อาจจะเป็นคล้ายๆ ว่า พอพระเอกไปถึงจุดสูงสุดแล้วนี่ เขาก็ไม่สนใจชื่อเสียง หรือใครจะมายกตำแหน่งอะไรให้ก็ไม่เอา หนังจีนส่วนใหญ่ก็จะเป็นอย่างนั้นแหละ
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช