คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.“ยิ่งลักษณ์” เข้าชี้แจงข้อกล่าวหาต่อ ป.ป.ช.แล้ว ขอสอบพยานเพิ่ม 11 ปาก ด้าน ป.ป.ช.ให้ 3 ปาก พร้อมมีมติชี้มูลความผิด “ขุนค้อน”!
เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ซึ่งเป็นวันครบกำหนดที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) ชี้แจงกรณีถูกแจ้งข้อกล่าวหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ฐานไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ส่งผลให้เกิดความเสียหาย โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเข้าชี้แจงด้วยตัวเองหรือชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงเช้ายังไม่มีความชัดเจนจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าจะเข้าชี้แจง ป.ป.ช.ด้วยตัวเองหรือไม่ กระทั่งช่วงบ่าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมคณะ ได้เดินทางมายังสำนักงาน ป.ป.ช.สนามบินน้ำ โดยมีสีหน้าเรียบเฉย ก่อนเจ้าหน้าที่จะนำขึ้นไปยังห้องเกียรติยศ เพื่อพบประธานและกรรมการ ป.ป.ช.และชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา โดยก่อนหน้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางมา ป.ป.ช. นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง และนายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ ทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้นำเอกสารชี้แจงแก้ข้อกล่าวหามามอบให้ ป.ป.ช.ก่อนแล้วจำนวน 3 ลัง
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ใช้เวลาชี้แจงข้อกล่าวหาต่อ ป.ป.ช.แค่ 20 นาที ก่อนเดินทางกลับ ขณะที่นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รักษาการเลขาธิการนายกฯ เผยว่า นายกฯ ได้นำเอกสารชี้แจง 200 หน้า มายื่นให้ ป.ป.ช. และว่า ทางรัฐบาลมีพยาน 11 ปาก 13 ประเด็นที่จะให้ข้อมูล หาก ป.ป.ช.เรียกชี้แจง พร้อมจะให้ข้อมูลเต็มที่
วันต่อมา(1 เม.ย.) คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ประชุมพิจารณากรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุในคำชี้แจง โดยขอเวลาทำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมอีก 30 วัน พร้อมอ้างพยานบุคคลที่ต้องการให้ ป.ป.ช.สอบเพิ่มเติมจำนวน 11 ราย ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมตคิให้สอบพยานเพิ่มเติม 3 ราย ได้แก่ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ,นายยรรยง พวงราช รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยทั้ง 2 คน ป.ป.ช.จะสอบเรื่องการจำนำข้าวและการระบายข้าว ส่วนอีก 1 ราย คือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะสอบเรื่องความเสียหายทางการเงินการคลังของประเทศ สำหรับรายอื่นๆ ที่เหลือ ป.ป.ช.เห็นว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีที่นายกฯ ถูกกล่าวหา จึงไม่ให้สอบเพิ่ม
ทั้งนี้ 2 วันต่อมา(3 เม.ย.) ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติกำหนดวันให้พยานในคดีจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์เข้าให้การ ดังนี้ นายยรรยง เข้าให้การวันที่ 9 เม.ย. เวลา 13.00น. ,นายนิวัฒน์ธำรง เข้าให้การวันที่ 10 เม.ย. เวลา 13.00น. ,นายกิตติรัตน์ เข้าให้การวันที่ 11 เม.ย. เวลา 10.00น.
ด้านทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เตรียมยื่น ป.ป.ช.ขอให้สอบพยานเพิ่มอีก 4 ปาก ซึ่งทั้ง 4 ปาก เป็นรายชื่อเดิมที่เคยยื่นให้ ป.ป.ช.พิจารณาแล้ว ประกอบด้วย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ,พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ,พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายพิชัย ชุณหวชิร นายกสภาวิชาชีพบัญชีแห่งประเทศไทย และว่า ถ้าจำเป็นอาจขอให้ ป.ป.ช.ไต่สวนพยานเพิ่มเติมมากกว่า 4 ปาก
นอกจากคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กรณีทุจริตจำนำข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 1 เม.ย. คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ประชุมเพื่อลงมติคดียื่นถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา กรณีเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว. ที่ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลความผิดนายนิคมไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ไปแล้ว ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ว่า การกระทำและพฤติการณ์ของนายสมศักดิ์มีมูลความผิดฐานส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ,125 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และมาตรา 291 ซึ่งเป็นมูลเหตุให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนสูญ มาตรา 170 และ 274 ประกอบ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 56 ,58 ,61 และ 62 จึงให้ประธาน ป.ป.ช.ส่งรายงานและเอกสารพร้อมความเห็นไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 273 และ 274 เพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่งต่อไป ส่วนการดำเนินคดีอาญานั้น ป.ป.ช.อยู่ระหว่างไต่สวนข้อเท็จจริง
2.ศาล รธน.มีมติเอกฉันท์ 9 : 0 รับวินิจฉัยสถานภาพ “ยิ่งลักษณ์” คดีย้าย “ถวิล” ไม่ชอบ ให้นายกฯ แจงข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน!
เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมเพื่อลงมติคำร้องที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา และกลุ่ม ส.ว.รวม 28 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182(7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่ เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ใช้อำนาจโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุผลรองรับ พร้อมสั่งคืนตำแหน่งเลขาธิการ สมช.แก่นายถวิล
ทั้งนี้ หลังประชุม นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยว่า ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นเรื่อง เพราะเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 ประกอบมาตรา 182 วรรคสาม และศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องไว้วินิจฉัย โดยศาลฯ มีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง รับคำร้องของนายไพบูลย์ไว้วินิจฉัย เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่า ปัจจัยสำคัญในการโอนย้ายนายถวิล เชื่อได้ว่าเพื่อให้ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงตำแหน่งอยู่ว่างลง เพื่อแต่งตั้งให้บุคคลอื่นดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งพฤติการณ์ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเองและเครือญาติ ตลอดจนพรรคเพื่อไทยที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์สังกัดอยู่ จึงเห็นว่าการกระทำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นการใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นนายกฯ เข้าไปแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ในการแต่งตั้งหรือโอนย้ายข้าราชการประจำ... อันเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266(2) และ (3) อย่างชัดแจ้ง มีผลทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7)
หลังมีมติรับคำร้องไว้วินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญได้ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับสำเนาคำร้อง หากภายใน 15 วัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่สามารถยื่นชี้แจงข้อกล่าวหาได้ทัน ก็สามารถขอขยายเวลาได้ แต่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ด้านพรรคเพื่อไทยรีบโวย โดยนายพิชิต ชื่นบาน คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรค ชี้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้อำนาจการบริหารราชการแผ่นดินซ้ำซ้อนกันถึง 2 ศาล ทั้งที่คดีโยกย้ายนายถวิล น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ได้คืนตำแหน่งเลขาธิการ สมช.ให้นายถวิลตามคำพิพากษาศาลปกครองแล้ว แต่ก็ยังถูกตรวจสอบอีก ทั้งที่เรื่องควรยุติได้แล้ว
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า หวังว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาด้วยมาตรฐานเดียวกับคดีของบุคคลอื่น และว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ผู้สื่อข่าวถามว่า การโยกย้ายนายถวิล เป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า “ค่ะ เป็นการทำงานไปตามขั้นตอนของกฎหมาย”
3.“สุเทพ” นัดเครือข่าย กปปส.เผด็จศึกวันศาล รธน.-ป.ป.ช.ชี้ชะตา “ยิ่งลักษณ์” ด้าน “จตุพร” ท้าแข่งชุมนุมวันเดียวกัน ใครมากกว่าชนะ!
เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ซึ่งเป็นวันที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) นัดประชุมใหญ่แกนนำ กปปส.ทั่วประเทศ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวใหญ่เพื่อเผด็จศึก ปรากฏว่า หลังประชุม ได้ข้อสรุป 4 ข้อ คือ 1.ให้ทุกเครือข่าย กปปส.ไปตรวจสอบกำลังให้พร้อมเพื่อวันเผด็จศึก โดยคาดว่าคราวนี้ต้องสู้อย่างน้อย 15 วัน 2.ให้แต่ละเครือข่ายวางแผนการเดินทางให้รัดกุมและเหมาะสม 3.แต่ละจังหวัด ถ้ามีหลายเครือข่าย ขอให้ยุบรวมเพื่อทำงานร่วมกันถ้าทำได้ 4.ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปถือว่าการต่อสู้ได้มาถึงยกสุดท้ายแล้ว ให้ทุกเครือข่ายเตรียมพร้อม 100% เมื่อได้ยินเสียงนกหวีดวันใด ล้อต้องหมุนทันที
สำหรับวันเผด็จศึกคือวันใดนั้น นายสุเทพ บอกว่า มี 2 วัน 1 คือวันที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในคดีทุจริตจำนำข้าว และ 2 วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานภาพ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่าพ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี กรณีใช้อำนาจโยกย้ายนายถวิล โดยไม่ชอบ ซึ่งจะส่งผลให้ ครม.หลุดไปทั้งยวง ดังนั้นวันนั้นจะเป็นวันเผด็จศึก ให้มาเลยทันที ไม่ต้องรอเสียงนกหวีด
นายสุเทพ บอกด้วยว่า การเผด็จศึก ก็เพื่อทวงคืนอำนาจอธิปไตยจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์กลับมาเป็นของประชาชน จากนั้นก็ประกาศเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เมื่อเป็นรัฏฐาธิปัตย์ จะสั่งยึดทรัพย์ตระกูลชินวัตรทั้งหมด ซึ่งจำเป็นต้องรีบทำ เพื่อหาเงินมาให้ชาวนา จากนั้นคนที่เป็นรัฏฐาธิปัตย์จะแต่งตั้งนายกฯ และ ครม.ประชาชน และนำรายชื่อกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐบาลของประชาชน วันนั้นตนจะเป็นคนลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกฯ แล้วดำเนินการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และให้สภาประชาชนปฏิรูปประเทศ หากทำเสร็จเมื่อใด ก็คืนอำนาจให้ประชาชน “ขอให้ข้าราชการตัดสินใจว่าจะต่อสู้กับประชาชนหรือไม่ และสัปดาห์นี้จะออกไปปฏิบัติการต่อ เพื่ออธิบายให้ข้าราชการเข้าใจถึงภารกิจของประชาชน แต่ถ้าข้าราชการในประเทศนี้ ไม่เอาด้วยกับประชาชน ผมจะเดินไปมอบตัวทันที”
ทั้งนี้ นายสุเทพ ประกาศด้วยว่า ตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.เป็นต้นไป กปปส.จะเปิดกระทรวง ทบวง กรม ให้ข้าราชการทำงาน แต่มีเงื่อนไขว่าข้าราชการต้องไม่รับคำสั่งจากรัฐบาลอีกต่อไป ให้ทำงานรับใช้ประชาชนเท่านั้น รวมทั้งห้ามรัฐมนตรีเข้ากระทรวงด้วย โดยการเปิดสถานที่ราชการ จะยกเว้น 2 แห่งที่จะไม่เปิด คือ ทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย
สำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส.ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ได้มีการเคลื่อนไปยังกระทรวงต่างๆ เพื่อเชิญชวนให้ข้าราชการออกมาร่วมต่อสู้กับประชาชน เลิกรับใช้และเลิกทำงานให้รัฐบาลของระบอบทักษิณ ขณะที่ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นกับผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับกลุ่มนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย(คปท.) โดยเมื่อวันที่ 1 เม.ย. ซึ่งเป็นวันข้าราชการพลเรือน หลังจากแกนนำและมวลชนกลุ่ม กปปส.และกลุ่ม คปท.ได้เคลื่อนไปเชิญชวนข้าราชการที่ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะแล้ว ปรากฏว่า ขากลับ ระหว่างที่ขบวน คปท.อยู่บนทางด่วนแจ้งวัฒนะ ปรากฏว่า คนร้ายได้ลอบยิงผู้ที่อยู่บนรถเครื่องขยายเสียง รวมทั้งยิงเข้าใส่รถบัสที่เต็มไปด้วยผู้ชุมนุม ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 4 ราย และเสียชีวิต 1 ราย โดยผู้เสียชีวิต คือ ส.อ.วสันต์ คำวงศ์ เป็นการ์ด คปท.
ด้านนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. ได้ออกมาแฉว่า ก่อนเกิดเหตุลอบยิง คปท.ได้มีการโพสต์ข้อความโดยแนวร่วม นปช.ที่ใช้ชื่อทางเฟซบุ๊กว่า “ลุงยิ้ม ตาสว่าง” ซึ่งเป็นเพื่อนของนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ แกนนำเสื้อแดง จ.ปทุมธานี โดยระบุว่า “วันนี้ อย่าเข้าใกล้ลุงกำนัน ได้ข่าวทีมงานโกตี๋ขนขนมจากชายแดนไปรอต้อนรับขากลับเป็นที่เรียบร้อย กลับทางด่วนสงสัยจะงานเข้า” ดังนั้น เมื่อหลักฐานชัดขนาดนี้ อยากให้ตำรวจสอบสวนทั้ง 2 คน เพื่อขยายผลจับกุมผู้ที่อยู่เบื้องหลังต่อไป
อย่างไรก็ตาม บุคคลทั้งสองได้รีบออกมาปฏิเสธ โดนนายพฤกษ์ พฤกษ์สุนันท์ เจ้าของเฟซบุ๊ก ยิ้ม ตาสว่าง อายุ 52 ปี ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจ สภ.ช้างเผือก จ.เชียงใหม่ เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ พร้อมอ้างว่า ข้อความที่ตนเขียนบนเฟซบุ๊ก แค่ต้องการบอกว่าผู้ชุมนุมไม่ควรใช้ทางด่วน เพราะไม่จ่ายค่าผ่านทาง และสร้างปัญหาจราจรติดขัด นายพฤกษ์ ยังยอมรับด้วยว่า ตนสนิทกับโกตี๋จริง แต่โกตี๋ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ขณะที่โกตี๋ อ้างว่า ช่วงเกิดเหตุ ตนอยู่ จ.เชียงราย ซึ่งอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุนับร้อยกิโลเมตร จะไปก่อเหตุได้อย่างไร
สำหรับบรรยากาศการชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม นปช. ที่บริเวณถนนอักษะ พุทธมณฑลสาย 3 เชื่อมสาย 4 ที่ประกาศชุมนุม 2 วัน 5-6 เม.ย. และจะสลายตัวในวันที่ 7 เม.ย. โดยแกนนำคุยโวว่าจะมีคนเสื้อแดงมาร่วมชุมนุมไม่ต่ำกว่า 5 แสนคนนั้น ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด นอกจากมีมวลชนมาร่วมไม่มากอย่างที่แกนนำคุยโวไว้แล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจยังตรวจพบอาวุธจากผู้ชุมนุมด้วย ได้แก่ ปืนพก 5 กระบอก และประทัดยักษ์
ทั้งนี้ หลังมวลชนมาร่วมไม่มาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.ได้ออกตัวว่า การชุมนุมครั้งนี้แค่การซ้อมเท่านั้น โดยจะนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันที่ 18 เม.ย. พร้อมท้าให้นายสุเทพ นัดมวลชนชุมนุมพร้อมกันวันที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ หากใครมีมวลชนมากกว่า ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ
4.ศาลยกฟ้อง “สมคิด” กับพวก คดีอุ้มฆ่า “อัลรูไวลี่” ขณะที่ญาติ-ทูตซาอุฯ ผิดหวัง พร้อมข้องใจปมเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา
เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ศาลอาญา ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 และนางวักดะห์ ซาเล็ม ฮาเหม็ด อัลรูไวลี่ มารดานายโมฮัมหมัด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย ร่วมเป็นโจทก์ฟ้อง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม อดีตจเรตำรวจ ,พ.ต.อ.สรรักษ์ หรือสมชาย จูสนิท อดีตผู้กำกับการ สภ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ,พ.ต.อ.ประภาส ปิยะมงคล อดีตผู้กำกับการ สภ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี ,พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี และ จ.ส.ต.ประสงค์ ทอรั้ง เป็นจำเลยที่ 1-5 ฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น เป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายและร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และเพื่อปกปิดการกระทำความผิดอื่นของตน และเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นความผิดอาญา คดีอุ้มฆ่านายอัลรูไวลี่
ทั้งนี้ คำฟ้องสรุปว่า เมื่อปี 2532-2533 ได้เกิดเหตุคนร้ายลอบฆ่านักการทูตซาอุดีอาระเบียเสียชีวิต 3 รายใน กทม. ซึ่งรัฐบาลขณะนั้นได้สั่งการให้ พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ อธิบดีกรมตำรวจ ติดตามนำตัวคนร้ายมาลงโทษให้ได้ ต่อมาระหว่างวันที่ 12-15 ก.พ.2533 จำเลยทั้งห้า ซึ่งเป็นตำรวจกองกำกับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาลพระนครใต้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้บังอาจร่วมกันลักพาตัวนายอัลรูไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุฯ ที่จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ซาอุฯ เนื่องจากเข้าใจว่า นายอัลรูไวลี่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของนักการทูตซาอุฯ
และว่า หลังจากนั้น จำเลยทั้งห้าได้นำตัวนายอัลรูไวลี่ไปกักขังไว้ที่โรงแรมฉิมพลี เขตพระโขนง กทม. ใช้กำลังประทุษร้ายด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ยอมรับว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆ่านักการทูตซาอุฯ และร่วมกันใช้ปืนยิงจนถึงแก่ความตาย รวมทั้งได้ร่วมกันนำศพนายอัลรูไวลี่เอาไปทำลายในไร่ ท้องที่ ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อปิดบังการตาย
ต่อมา วันที่ 24 พ.ย.2552 พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ได้แจ้งข้อกล่าวหาจำเลยทั้งห้า หลังพนักงานสอบสวนได้แหวนของนายอัลรูไวลี่ที่สวมใส่ขณะเกิดเหตุ 1 วง และยึดไว้เป็นของกลาง แต่ในชั้นสอบสวนจำเลยทั้งห้าให้การปฏิเสธ โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งห้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ,289 ,309 ,310 ,83 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 6 พ.ศ.2526 มาตรา 4 พร้อมขอให้ศาลมีคำสั่งคืนแหวนของกลางให้แก่ทายาทของนายอัลรูไวลี่
ด้านศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของทุกฝ่ายแล้วเห็นว่า ดีเอสไอรื้อฟื้นคดีนี้ขึ้นมาใหม่ เมื่อได้พยานหลักฐานจากการเบิกความเพิ่มเติมของ พ.ต.ท.สุวิชชัย แก้วผลึก และมีแหวนที่อ้างว่าเป็นของนายอัลรูไวลี่ ซึ่งเป็นวัตถุพยานใหม่ ศาลจึงเห็นว่า ดีเอสไอมีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 1 และโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แต่ศาลมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อว่า จำเลยทั้งห้ามีความผิดตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งศาล ระบุว่า คดีนี้เป็นคดีอุกฉกรรจ์ มีโทษหนักถึงประหารชีวิต พยานหลักฐานโจทก์ต้องชัดแจ้งหนักแน่นมั่นคง โดยไม่มีข้อตำหนิใดๆ แต่โจทก์ไม่ได้นำตัว พ.ต.ท.สุวิชชัยมาเบิกความเพื่อยืนยันว่าจำเลยทั้งห้าเป็นผู้กระทำผิด มีเพียงบันทึกคำให้การของ พ.ต.ท.สุวิชชัยที่อ้างว่าอยู่ร่วมในเหตุการณ์กับนายอัลรูไวลี่ที่โรงแรมฉิมพลี ซึ่งบันทึกคำให้การดังกล่าวแตกต่างและขัดแย้งกับที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนเมื่อปี 2535 และ 2536 จึงเป็นข้อพิรุธที่ไม่น่าเชื่อถือ
ส่วนพยานแวดล้อมในสำนวน เช่น แหวนที่มีการระบุว่าเก็บได้จากก้นถังน้ำมันที่ฆ่าและเผานายอัลรูไวลี่นั้น ศาลเห็นว่า โจทก์และโจทก์ร่วมที่เป็นผู้ใกล้ชิดนายอัลรูไวลี่ ก็ไม่สามารถนำสืบได้ว่า แหวนดังกล่าวเป็นของนายอัลรูไวลี่จริง มีเพียงคำอ้างว่าเป็นแหวนของนายอัลรูไวลี่เท่านั้น ทั้งนี้ ศาลเห็นว่า เมื่อพยานหลักฐานมีพิรุธหลายประการ จึงไม่น่าเชื่อถือ ประกอบกับจำเลยทั้งห้าให้การปฏิเสธตั้งแต่ต้น คดีจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำผิดตามฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้อง
ด้าน พล.ต.ท.สมคิด เผยหลังทราบคำพิพากษาว่า ตนเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีนี้ แต่ยังให้สัมภาษณ์ไม่ได้เนื่องจากติดคำสั่งศาลจากกรณีที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการประกันตัวในคดี ดังนั้นตนจะยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งก่อนจะให้สัมภาษณ์อีกครั้ง
ขณะที่ น.ส.รัศมี ไวยเนตร ทนายความของ พ.ต.ท.สุรเดช จำเลยที่ 4 บอกว่า จะนำคำพิพากษาคดีนี้ไปฟ้องนายธาริต และอัยการ ที่พา พ.ต.ท.สุวิชชัย พยานในคดีหลบหนีไปเบิกความในต่างประเทศ เนื่องจากเป็นการกลั่นแกล้งและไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจนำคำพิพากษาของศาลไปเป็นหลักฐานเอาผิด พ.ต.ท.ทวี สอดส่อง อดีตอธิบดีดีเอสไอ พร้อมพวก ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ที่ตนฟ้องเป็นคดีอยู่ด้วย
ด้านอาทีก ฆอนิม อัลรูไวลี่ พี่ชายนายอัลรูไวลี่ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า รู้สึกผิดหวังคำพิพากษา แต่ก็คงทำอะไรไม่ได้ ทั้งนี้ หลังศาลมีคำพิพากษา นายอับดุลลิลาฮ์ โมฮัมหมัด อัลชุเอบี อุปทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย ได้นำทีมพี่เขยและพี่ชายนายอัลรูไวลี่ พร้อมด้วยนายเอนก คำชุ่ม ทนายความฝ่ายโจทก์ชาวไทย เปิดแถลงข่าวตั้งข้อสงสัยกรณีมีการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษาในคดีนี้ และว่า ทราบว่าจำเลยพยายามขอเปลี่ยนตัวผู้พิพากษาในคดีนี้หลายครั้งแล้ว แต่ถูกอธิบดีศาลอาญาปฏิเสธ ขณะที่นายอเนก ทนายความ บอกว่า ครอบครัวนายอัลรูไวลี่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน
ด้านนายธงชัย เสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แถลงชี้แจงข้อสงสัยเรื่องการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษาว่า คดีนี้ฟ้องต่อศาลตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค.2533 ระหว่างการพิจารณาคดีมีการเปลี่ยนตัวองค์คณะมาแล้ว 2 ชุด เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาประจำปีตามปกติ โดยองค์คณะชุดที่ 3 คือ นายสมศักดิ์ ผลส่ง เป็นเจ้าของสำนวนคดี และนั่งพิจารณาคดีนี้มาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2554 จนสืบพยานเสร็จสิ้นในวันที่ 27 ธ.ค.2556 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 31 มี.ค.2557
ต่อมา คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม(ก.ต.) ซึ่งได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนายสมศักดิ์ปฏิบัติหน้าที่มิชอบขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าศาลจังหวัดสระบุรี กรณีสั่งปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาคดียาเสพติดโดยไม่ชอบด้วยระเบียบ ซึ่ง ก.ต.มีมติว่า การกระทำของนายสมศักดิ์มีมูลความผิดร้ายแรง ประธานศาลฎีกาจึงมีคำสั่งพักราชการนายสมศักดิ์เมื่อวันที่ 6 ม.ค.2557 นายสมศักดิ์จึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งไม่ใช่แค่การปฏิบัติหน้าที่ในคดีอัลรูไวลี่ แต่รวมถึงคดีอื่นๆ อีก 3-4 คดี ที่อยู่ระหว่างการเขียนคำพิพากษาด้วย
5.ยะลาป่วน! คนร้ายวางระเบิด 4 จุด ทั้ง “คาร์บอมบ์-จยย.บอมบ์” ดับ 1 เจ็บ 25 ขณะที่ใน กทม.ระเบิดย่านลาดปลาเค้า ดับ 8 เจ็บ 20!
เมื่อวันที่ 6 เม.ย. เวลา 16.00น.ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นหลายจุดในเวลาไล่เลี่ยกันที่ จ.ยะลา จุดแรกอยู่ที่บริเวณหน้าตู้เอทีเอ็ม สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา อ.เมือง ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ จุดที่ 2 เป็นลักษณะคาร์บอมบ์ที่บริเวณร้านราชาเฟอร์นิเจอร์ ถนนสิโรรส เขตเทศบาลนครยะลา เบื้องต้นมีผู้บาดเจ็บหลายราย และเสียชีวิต 1 ราย คือ นายนิคม กาเจ จุดที่ 3 เป็นลักษณะจักรยานยนต์บอมบ์ ที่บริเวณร้านฟ้าใสประดับเรือน ซึ่งเป็นร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ตั้งอยู่ถนนสิโรรสตัดถนนทางเข้าตลาดเมืองใหม่ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ส่วนจุดที่ 4 ระเบิดที่หน้าสำนักงานทีโอที ถนนสาย 15 ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
หลังเกิดเหตุ พล.ต.ต.ทรงเกียรติ วาทะกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ได้นำเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด กระจายกำลังไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ ทั้งนี้ เหตุระเบิดได้ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ร้านราชาเฟอร์นิเจอร์และอาคารข้างเคียงกว่า 10 คูหา หลังสกัดเพลิงไว้ได้ เจ้าหน้าที่พบซากรถกระบะโตโยต้า ที่เชื่อว่าเป็นรถที่คนร้ายซุกระเบิด แล้วนำมาจอดที่หน้าร้านดังกล่าว ก่อนจุดชนวนระเบิด เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
ด้าน พล.ท.วลิต โรจนภักดี แม่ทัพภาคที่ 4 ได้ไปตรวจเยี่ยมและมอบเงินช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ซึ่งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลยะลาจำนวน 25 ราย บางรายแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว
สำหรับเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่รุนแรงสุดในรอบ 2 ปี หลังคนร้ายได้ก่อเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ที่ถนนรวมมิตรเขตเทศบาลนครยะลาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ซึ่งครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตถึง 12 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก
นอกจากเหตุระเบิดที่ยะลาแล้ว ได้เกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ใน กทม.จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากเช่นกันเมื่อวันที่ 2 เม.ย. เหตุเกิดที่ร้านค้าของเก่าชื่อ “แบรนด์รีไซเคิ้ล” ตั้งอยู่ภายใน ซ.ลาดปลาเค้า 72 แยก 12 ถ.ลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน โดยก่อนเกิดเหตุ มีผู้เก็บระเบิดเก่า ที่ติดตั้งบนเครื่องบินรบ ขนาดยาว 1 เมตร น้ำหนัก 500 ปอนด์ มาขายให้กับทางร้าน ทางร้านรับซื้อกิโลกรัมละ 10 บาท รวม 230 กิโลกรัม จากนั้นเจ้าของร้านได้ให้ลูกจ้างนำระเบิดดังกล่าวไปตัด เพื่อเอาชิ้นส่วนโลหะ ปรากฏว่า ได้เกิดระเบิดขึ้นทันที แรงระเบิดทำให้เกิดหลุมกว้าง 8 เมตร ลึก 3 เมตร และมีผู้เสียชีวิต 8 ราย บาดเจ็บ 20 ราย
ด้าน พ.ต.อ.กำธร อุ่ยเจริญ ผู้กำกับการกลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ เผยหลังตรวจสอบที่เกิดเหตุว่า ระเบิดดังกล่าวเป็น “ลูกระเบิดอากาศ” เก่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีรัศมีทำลายล้างอย่างต่ำ 500 เมตร สาเหตุที่ทำให้ระเบิด เนื่องจากคนงานนำก๊าซตัดเหล็กไปตัดลูกระเบิดดังกล่าว จึงเกิดระเบิดขึ้น
1.“ยิ่งลักษณ์” เข้าชี้แจงข้อกล่าวหาต่อ ป.ป.ช.แล้ว ขอสอบพยานเพิ่ม 11 ปาก ด้าน ป.ป.ช.ให้ 3 ปาก พร้อมมีมติชี้มูลความผิด “ขุนค้อน”!
เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ซึ่งเป็นวันครบกำหนดที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) ชี้แจงกรณีถูกแจ้งข้อกล่าวหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ฐานไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ส่งผลให้เกิดความเสียหาย โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเข้าชี้แจงด้วยตัวเองหรือชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงเช้ายังไม่มีความชัดเจนจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าจะเข้าชี้แจง ป.ป.ช.ด้วยตัวเองหรือไม่ กระทั่งช่วงบ่าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมคณะ ได้เดินทางมายังสำนักงาน ป.ป.ช.สนามบินน้ำ โดยมีสีหน้าเรียบเฉย ก่อนเจ้าหน้าที่จะนำขึ้นไปยังห้องเกียรติยศ เพื่อพบประธานและกรรมการ ป.ป.ช.และชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา โดยก่อนหน้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางมา ป.ป.ช. นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง และนายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ ทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้นำเอกสารชี้แจงแก้ข้อกล่าวหามามอบให้ ป.ป.ช.ก่อนแล้วจำนวน 3 ลัง
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ใช้เวลาชี้แจงข้อกล่าวหาต่อ ป.ป.ช.แค่ 20 นาที ก่อนเดินทางกลับ ขณะที่นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รักษาการเลขาธิการนายกฯ เผยว่า นายกฯ ได้นำเอกสารชี้แจง 200 หน้า มายื่นให้ ป.ป.ช. และว่า ทางรัฐบาลมีพยาน 11 ปาก 13 ประเด็นที่จะให้ข้อมูล หาก ป.ป.ช.เรียกชี้แจง พร้อมจะให้ข้อมูลเต็มที่
วันต่อมา(1 เม.ย.) คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ประชุมพิจารณากรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุในคำชี้แจง โดยขอเวลาทำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมอีก 30 วัน พร้อมอ้างพยานบุคคลที่ต้องการให้ ป.ป.ช.สอบเพิ่มเติมจำนวน 11 ราย ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมตคิให้สอบพยานเพิ่มเติม 3 ราย ได้แก่ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ,นายยรรยง พวงราช รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยทั้ง 2 คน ป.ป.ช.จะสอบเรื่องการจำนำข้าวและการระบายข้าว ส่วนอีก 1 ราย คือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะสอบเรื่องความเสียหายทางการเงินการคลังของประเทศ สำหรับรายอื่นๆ ที่เหลือ ป.ป.ช.เห็นว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีที่นายกฯ ถูกกล่าวหา จึงไม่ให้สอบเพิ่ม
ทั้งนี้ 2 วันต่อมา(3 เม.ย.) ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติกำหนดวันให้พยานในคดีจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์เข้าให้การ ดังนี้ นายยรรยง เข้าให้การวันที่ 9 เม.ย. เวลา 13.00น. ,นายนิวัฒน์ธำรง เข้าให้การวันที่ 10 เม.ย. เวลา 13.00น. ,นายกิตติรัตน์ เข้าให้การวันที่ 11 เม.ย. เวลา 10.00น.
ด้านทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เตรียมยื่น ป.ป.ช.ขอให้สอบพยานเพิ่มอีก 4 ปาก ซึ่งทั้ง 4 ปาก เป็นรายชื่อเดิมที่เคยยื่นให้ ป.ป.ช.พิจารณาแล้ว ประกอบด้วย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ,พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ,พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายพิชัย ชุณหวชิร นายกสภาวิชาชีพบัญชีแห่งประเทศไทย และว่า ถ้าจำเป็นอาจขอให้ ป.ป.ช.ไต่สวนพยานเพิ่มเติมมากกว่า 4 ปาก
นอกจากคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กรณีทุจริตจำนำข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 1 เม.ย. คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ประชุมเพื่อลงมติคดียื่นถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา กรณีเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว. ที่ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลความผิดนายนิคมไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ไปแล้ว ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ว่า การกระทำและพฤติการณ์ของนายสมศักดิ์มีมูลความผิดฐานส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ,125 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และมาตรา 291 ซึ่งเป็นมูลเหตุให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนสูญ มาตรา 170 และ 274 ประกอบ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 56 ,58 ,61 และ 62 จึงให้ประธาน ป.ป.ช.ส่งรายงานและเอกสารพร้อมความเห็นไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 273 และ 274 เพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่งต่อไป ส่วนการดำเนินคดีอาญานั้น ป.ป.ช.อยู่ระหว่างไต่สวนข้อเท็จจริง
2.ศาล รธน.มีมติเอกฉันท์ 9 : 0 รับวินิจฉัยสถานภาพ “ยิ่งลักษณ์” คดีย้าย “ถวิล” ไม่ชอบ ให้นายกฯ แจงข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน!
เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมเพื่อลงมติคำร้องที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา และกลุ่ม ส.ว.รวม 28 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182(7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่ เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ใช้อำนาจโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุผลรองรับ พร้อมสั่งคืนตำแหน่งเลขาธิการ สมช.แก่นายถวิล
ทั้งนี้ หลังประชุม นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยว่า ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นเรื่อง เพราะเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 ประกอบมาตรา 182 วรรคสาม และศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องไว้วินิจฉัย โดยศาลฯ มีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง รับคำร้องของนายไพบูลย์ไว้วินิจฉัย เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่า ปัจจัยสำคัญในการโอนย้ายนายถวิล เชื่อได้ว่าเพื่อให้ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงตำแหน่งอยู่ว่างลง เพื่อแต่งตั้งให้บุคคลอื่นดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งพฤติการณ์ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเองและเครือญาติ ตลอดจนพรรคเพื่อไทยที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์สังกัดอยู่ จึงเห็นว่าการกระทำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นการใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นนายกฯ เข้าไปแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ในการแต่งตั้งหรือโอนย้ายข้าราชการประจำ... อันเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266(2) และ (3) อย่างชัดแจ้ง มีผลทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7)
หลังมีมติรับคำร้องไว้วินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญได้ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับสำเนาคำร้อง หากภายใน 15 วัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่สามารถยื่นชี้แจงข้อกล่าวหาได้ทัน ก็สามารถขอขยายเวลาได้ แต่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ด้านพรรคเพื่อไทยรีบโวย โดยนายพิชิต ชื่นบาน คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรค ชี้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้อำนาจการบริหารราชการแผ่นดินซ้ำซ้อนกันถึง 2 ศาล ทั้งที่คดีโยกย้ายนายถวิล น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ได้คืนตำแหน่งเลขาธิการ สมช.ให้นายถวิลตามคำพิพากษาศาลปกครองแล้ว แต่ก็ยังถูกตรวจสอบอีก ทั้งที่เรื่องควรยุติได้แล้ว
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า หวังว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาด้วยมาตรฐานเดียวกับคดีของบุคคลอื่น และว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ผู้สื่อข่าวถามว่า การโยกย้ายนายถวิล เป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า “ค่ะ เป็นการทำงานไปตามขั้นตอนของกฎหมาย”
3.“สุเทพ” นัดเครือข่าย กปปส.เผด็จศึกวันศาล รธน.-ป.ป.ช.ชี้ชะตา “ยิ่งลักษณ์” ด้าน “จตุพร” ท้าแข่งชุมนุมวันเดียวกัน ใครมากกว่าชนะ!
เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ซึ่งเป็นวันที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) นัดประชุมใหญ่แกนนำ กปปส.ทั่วประเทศ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวใหญ่เพื่อเผด็จศึก ปรากฏว่า หลังประชุม ได้ข้อสรุป 4 ข้อ คือ 1.ให้ทุกเครือข่าย กปปส.ไปตรวจสอบกำลังให้พร้อมเพื่อวันเผด็จศึก โดยคาดว่าคราวนี้ต้องสู้อย่างน้อย 15 วัน 2.ให้แต่ละเครือข่ายวางแผนการเดินทางให้รัดกุมและเหมาะสม 3.แต่ละจังหวัด ถ้ามีหลายเครือข่าย ขอให้ยุบรวมเพื่อทำงานร่วมกันถ้าทำได้ 4.ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปถือว่าการต่อสู้ได้มาถึงยกสุดท้ายแล้ว ให้ทุกเครือข่ายเตรียมพร้อม 100% เมื่อได้ยินเสียงนกหวีดวันใด ล้อต้องหมุนทันที
สำหรับวันเผด็จศึกคือวันใดนั้น นายสุเทพ บอกว่า มี 2 วัน 1 คือวันที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในคดีทุจริตจำนำข้าว และ 2 วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานภาพ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่าพ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี กรณีใช้อำนาจโยกย้ายนายถวิล โดยไม่ชอบ ซึ่งจะส่งผลให้ ครม.หลุดไปทั้งยวง ดังนั้นวันนั้นจะเป็นวันเผด็จศึก ให้มาเลยทันที ไม่ต้องรอเสียงนกหวีด
นายสุเทพ บอกด้วยว่า การเผด็จศึก ก็เพื่อทวงคืนอำนาจอธิปไตยจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์กลับมาเป็นของประชาชน จากนั้นก็ประกาศเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เมื่อเป็นรัฏฐาธิปัตย์ จะสั่งยึดทรัพย์ตระกูลชินวัตรทั้งหมด ซึ่งจำเป็นต้องรีบทำ เพื่อหาเงินมาให้ชาวนา จากนั้นคนที่เป็นรัฏฐาธิปัตย์จะแต่งตั้งนายกฯ และ ครม.ประชาชน และนำรายชื่อกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐบาลของประชาชน วันนั้นตนจะเป็นคนลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกฯ แล้วดำเนินการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และให้สภาประชาชนปฏิรูปประเทศ หากทำเสร็จเมื่อใด ก็คืนอำนาจให้ประชาชน “ขอให้ข้าราชการตัดสินใจว่าจะต่อสู้กับประชาชนหรือไม่ และสัปดาห์นี้จะออกไปปฏิบัติการต่อ เพื่ออธิบายให้ข้าราชการเข้าใจถึงภารกิจของประชาชน แต่ถ้าข้าราชการในประเทศนี้ ไม่เอาด้วยกับประชาชน ผมจะเดินไปมอบตัวทันที”
ทั้งนี้ นายสุเทพ ประกาศด้วยว่า ตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.เป็นต้นไป กปปส.จะเปิดกระทรวง ทบวง กรม ให้ข้าราชการทำงาน แต่มีเงื่อนไขว่าข้าราชการต้องไม่รับคำสั่งจากรัฐบาลอีกต่อไป ให้ทำงานรับใช้ประชาชนเท่านั้น รวมทั้งห้ามรัฐมนตรีเข้ากระทรวงด้วย โดยการเปิดสถานที่ราชการ จะยกเว้น 2 แห่งที่จะไม่เปิด คือ ทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย
สำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส.ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ได้มีการเคลื่อนไปยังกระทรวงต่างๆ เพื่อเชิญชวนให้ข้าราชการออกมาร่วมต่อสู้กับประชาชน เลิกรับใช้และเลิกทำงานให้รัฐบาลของระบอบทักษิณ ขณะที่ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นกับผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับกลุ่มนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย(คปท.) โดยเมื่อวันที่ 1 เม.ย. ซึ่งเป็นวันข้าราชการพลเรือน หลังจากแกนนำและมวลชนกลุ่ม กปปส.และกลุ่ม คปท.ได้เคลื่อนไปเชิญชวนข้าราชการที่ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะแล้ว ปรากฏว่า ขากลับ ระหว่างที่ขบวน คปท.อยู่บนทางด่วนแจ้งวัฒนะ ปรากฏว่า คนร้ายได้ลอบยิงผู้ที่อยู่บนรถเครื่องขยายเสียง รวมทั้งยิงเข้าใส่รถบัสที่เต็มไปด้วยผู้ชุมนุม ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 4 ราย และเสียชีวิต 1 ราย โดยผู้เสียชีวิต คือ ส.อ.วสันต์ คำวงศ์ เป็นการ์ด คปท.
ด้านนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. ได้ออกมาแฉว่า ก่อนเกิดเหตุลอบยิง คปท.ได้มีการโพสต์ข้อความโดยแนวร่วม นปช.ที่ใช้ชื่อทางเฟซบุ๊กว่า “ลุงยิ้ม ตาสว่าง” ซึ่งเป็นเพื่อนของนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ แกนนำเสื้อแดง จ.ปทุมธานี โดยระบุว่า “วันนี้ อย่าเข้าใกล้ลุงกำนัน ได้ข่าวทีมงานโกตี๋ขนขนมจากชายแดนไปรอต้อนรับขากลับเป็นที่เรียบร้อย กลับทางด่วนสงสัยจะงานเข้า” ดังนั้น เมื่อหลักฐานชัดขนาดนี้ อยากให้ตำรวจสอบสวนทั้ง 2 คน เพื่อขยายผลจับกุมผู้ที่อยู่เบื้องหลังต่อไป
อย่างไรก็ตาม บุคคลทั้งสองได้รีบออกมาปฏิเสธ โดนนายพฤกษ์ พฤกษ์สุนันท์ เจ้าของเฟซบุ๊ก ยิ้ม ตาสว่าง อายุ 52 ปี ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจ สภ.ช้างเผือก จ.เชียงใหม่ เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ พร้อมอ้างว่า ข้อความที่ตนเขียนบนเฟซบุ๊ก แค่ต้องการบอกว่าผู้ชุมนุมไม่ควรใช้ทางด่วน เพราะไม่จ่ายค่าผ่านทาง และสร้างปัญหาจราจรติดขัด นายพฤกษ์ ยังยอมรับด้วยว่า ตนสนิทกับโกตี๋จริง แต่โกตี๋ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ขณะที่โกตี๋ อ้างว่า ช่วงเกิดเหตุ ตนอยู่ จ.เชียงราย ซึ่งอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุนับร้อยกิโลเมตร จะไปก่อเหตุได้อย่างไร
สำหรับบรรยากาศการชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม นปช. ที่บริเวณถนนอักษะ พุทธมณฑลสาย 3 เชื่อมสาย 4 ที่ประกาศชุมนุม 2 วัน 5-6 เม.ย. และจะสลายตัวในวันที่ 7 เม.ย. โดยแกนนำคุยโวว่าจะมีคนเสื้อแดงมาร่วมชุมนุมไม่ต่ำกว่า 5 แสนคนนั้น ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด นอกจากมีมวลชนมาร่วมไม่มากอย่างที่แกนนำคุยโวไว้แล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจยังตรวจพบอาวุธจากผู้ชุมนุมด้วย ได้แก่ ปืนพก 5 กระบอก และประทัดยักษ์
ทั้งนี้ หลังมวลชนมาร่วมไม่มาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.ได้ออกตัวว่า การชุมนุมครั้งนี้แค่การซ้อมเท่านั้น โดยจะนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันที่ 18 เม.ย. พร้อมท้าให้นายสุเทพ นัดมวลชนชุมนุมพร้อมกันวันที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ หากใครมีมวลชนมากกว่า ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ
4.ศาลยกฟ้อง “สมคิด” กับพวก คดีอุ้มฆ่า “อัลรูไวลี่” ขณะที่ญาติ-ทูตซาอุฯ ผิดหวัง พร้อมข้องใจปมเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา
เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ศาลอาญา ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 และนางวักดะห์ ซาเล็ม ฮาเหม็ด อัลรูไวลี่ มารดานายโมฮัมหมัด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย ร่วมเป็นโจทก์ฟ้อง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม อดีตจเรตำรวจ ,พ.ต.อ.สรรักษ์ หรือสมชาย จูสนิท อดีตผู้กำกับการ สภ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ,พ.ต.อ.ประภาส ปิยะมงคล อดีตผู้กำกับการ สภ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี ,พ.ต.ท.สุรเดช อุดมดี และ จ.ส.ต.ประสงค์ ทอรั้ง เป็นจำเลยที่ 1-5 ฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น เป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายและร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และเพื่อปกปิดการกระทำความผิดอื่นของตน และเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นความผิดอาญา คดีอุ้มฆ่านายอัลรูไวลี่
ทั้งนี้ คำฟ้องสรุปว่า เมื่อปี 2532-2533 ได้เกิดเหตุคนร้ายลอบฆ่านักการทูตซาอุดีอาระเบียเสียชีวิต 3 รายใน กทม. ซึ่งรัฐบาลขณะนั้นได้สั่งการให้ พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ อธิบดีกรมตำรวจ ติดตามนำตัวคนร้ายมาลงโทษให้ได้ ต่อมาระหว่างวันที่ 12-15 ก.พ.2533 จำเลยทั้งห้า ซึ่งเป็นตำรวจกองกำกับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาลพระนครใต้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้บังอาจร่วมกันลักพาตัวนายอัลรูไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุฯ ที่จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ซาอุฯ เนื่องจากเข้าใจว่า นายอัลรูไวลี่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของนักการทูตซาอุฯ
และว่า หลังจากนั้น จำเลยทั้งห้าได้นำตัวนายอัลรูไวลี่ไปกักขังไว้ที่โรงแรมฉิมพลี เขตพระโขนง กทม. ใช้กำลังประทุษร้ายด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ยอมรับว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆ่านักการทูตซาอุฯ และร่วมกันใช้ปืนยิงจนถึงแก่ความตาย รวมทั้งได้ร่วมกันนำศพนายอัลรูไวลี่เอาไปทำลายในไร่ ท้องที่ ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อปิดบังการตาย
ต่อมา วันที่ 24 พ.ย.2552 พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ได้แจ้งข้อกล่าวหาจำเลยทั้งห้า หลังพนักงานสอบสวนได้แหวนของนายอัลรูไวลี่ที่สวมใส่ขณะเกิดเหตุ 1 วง และยึดไว้เป็นของกลาง แต่ในชั้นสอบสวนจำเลยทั้งห้าให้การปฏิเสธ โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งห้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ,289 ,309 ,310 ,83 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 6 พ.ศ.2526 มาตรา 4 พร้อมขอให้ศาลมีคำสั่งคืนแหวนของกลางให้แก่ทายาทของนายอัลรูไวลี่
ด้านศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของทุกฝ่ายแล้วเห็นว่า ดีเอสไอรื้อฟื้นคดีนี้ขึ้นมาใหม่ เมื่อได้พยานหลักฐานจากการเบิกความเพิ่มเติมของ พ.ต.ท.สุวิชชัย แก้วผลึก และมีแหวนที่อ้างว่าเป็นของนายอัลรูไวลี่ ซึ่งเป็นวัตถุพยานใหม่ ศาลจึงเห็นว่า ดีเอสไอมีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 1 และโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แต่ศาลมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อว่า จำเลยทั้งห้ามีความผิดตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งศาล ระบุว่า คดีนี้เป็นคดีอุกฉกรรจ์ มีโทษหนักถึงประหารชีวิต พยานหลักฐานโจทก์ต้องชัดแจ้งหนักแน่นมั่นคง โดยไม่มีข้อตำหนิใดๆ แต่โจทก์ไม่ได้นำตัว พ.ต.ท.สุวิชชัยมาเบิกความเพื่อยืนยันว่าจำเลยทั้งห้าเป็นผู้กระทำผิด มีเพียงบันทึกคำให้การของ พ.ต.ท.สุวิชชัยที่อ้างว่าอยู่ร่วมในเหตุการณ์กับนายอัลรูไวลี่ที่โรงแรมฉิมพลี ซึ่งบันทึกคำให้การดังกล่าวแตกต่างและขัดแย้งกับที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนเมื่อปี 2535 และ 2536 จึงเป็นข้อพิรุธที่ไม่น่าเชื่อถือ
ส่วนพยานแวดล้อมในสำนวน เช่น แหวนที่มีการระบุว่าเก็บได้จากก้นถังน้ำมันที่ฆ่าและเผานายอัลรูไวลี่นั้น ศาลเห็นว่า โจทก์และโจทก์ร่วมที่เป็นผู้ใกล้ชิดนายอัลรูไวลี่ ก็ไม่สามารถนำสืบได้ว่า แหวนดังกล่าวเป็นของนายอัลรูไวลี่จริง มีเพียงคำอ้างว่าเป็นแหวนของนายอัลรูไวลี่เท่านั้น ทั้งนี้ ศาลเห็นว่า เมื่อพยานหลักฐานมีพิรุธหลายประการ จึงไม่น่าเชื่อถือ ประกอบกับจำเลยทั้งห้าให้การปฏิเสธตั้งแต่ต้น คดีจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำผิดตามฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้อง
ด้าน พล.ต.ท.สมคิด เผยหลังทราบคำพิพากษาว่า ตนเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีนี้ แต่ยังให้สัมภาษณ์ไม่ได้เนื่องจากติดคำสั่งศาลจากกรณีที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการประกันตัวในคดี ดังนั้นตนจะยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งก่อนจะให้สัมภาษณ์อีกครั้ง
ขณะที่ น.ส.รัศมี ไวยเนตร ทนายความของ พ.ต.ท.สุรเดช จำเลยที่ 4 บอกว่า จะนำคำพิพากษาคดีนี้ไปฟ้องนายธาริต และอัยการ ที่พา พ.ต.ท.สุวิชชัย พยานในคดีหลบหนีไปเบิกความในต่างประเทศ เนื่องจากเป็นการกลั่นแกล้งและไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจนำคำพิพากษาของศาลไปเป็นหลักฐานเอาผิด พ.ต.ท.ทวี สอดส่อง อดีตอธิบดีดีเอสไอ พร้อมพวก ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ที่ตนฟ้องเป็นคดีอยู่ด้วย
ด้านอาทีก ฆอนิม อัลรูไวลี่ พี่ชายนายอัลรูไวลี่ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า รู้สึกผิดหวังคำพิพากษา แต่ก็คงทำอะไรไม่ได้ ทั้งนี้ หลังศาลมีคำพิพากษา นายอับดุลลิลาฮ์ โมฮัมหมัด อัลชุเอบี อุปทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย ได้นำทีมพี่เขยและพี่ชายนายอัลรูไวลี่ พร้อมด้วยนายเอนก คำชุ่ม ทนายความฝ่ายโจทก์ชาวไทย เปิดแถลงข่าวตั้งข้อสงสัยกรณีมีการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษาในคดีนี้ และว่า ทราบว่าจำเลยพยายามขอเปลี่ยนตัวผู้พิพากษาในคดีนี้หลายครั้งแล้ว แต่ถูกอธิบดีศาลอาญาปฏิเสธ ขณะที่นายอเนก ทนายความ บอกว่า ครอบครัวนายอัลรูไวลี่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน
ด้านนายธงชัย เสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แถลงชี้แจงข้อสงสัยเรื่องการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษาว่า คดีนี้ฟ้องต่อศาลตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค.2533 ระหว่างการพิจารณาคดีมีการเปลี่ยนตัวองค์คณะมาแล้ว 2 ชุด เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาประจำปีตามปกติ โดยองค์คณะชุดที่ 3 คือ นายสมศักดิ์ ผลส่ง เป็นเจ้าของสำนวนคดี และนั่งพิจารณาคดีนี้มาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2554 จนสืบพยานเสร็จสิ้นในวันที่ 27 ธ.ค.2556 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 31 มี.ค.2557
ต่อมา คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม(ก.ต.) ซึ่งได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนายสมศักดิ์ปฏิบัติหน้าที่มิชอบขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าศาลจังหวัดสระบุรี กรณีสั่งปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาคดียาเสพติดโดยไม่ชอบด้วยระเบียบ ซึ่ง ก.ต.มีมติว่า การกระทำของนายสมศักดิ์มีมูลความผิดร้ายแรง ประธานศาลฎีกาจึงมีคำสั่งพักราชการนายสมศักดิ์เมื่อวันที่ 6 ม.ค.2557 นายสมศักดิ์จึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งไม่ใช่แค่การปฏิบัติหน้าที่ในคดีอัลรูไวลี่ แต่รวมถึงคดีอื่นๆ อีก 3-4 คดี ที่อยู่ระหว่างการเขียนคำพิพากษาด้วย
5.ยะลาป่วน! คนร้ายวางระเบิด 4 จุด ทั้ง “คาร์บอมบ์-จยย.บอมบ์” ดับ 1 เจ็บ 25 ขณะที่ใน กทม.ระเบิดย่านลาดปลาเค้า ดับ 8 เจ็บ 20!
เมื่อวันที่ 6 เม.ย. เวลา 16.00น.ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นหลายจุดในเวลาไล่เลี่ยกันที่ จ.ยะลา จุดแรกอยู่ที่บริเวณหน้าตู้เอทีเอ็ม สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา อ.เมือง ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ จุดที่ 2 เป็นลักษณะคาร์บอมบ์ที่บริเวณร้านราชาเฟอร์นิเจอร์ ถนนสิโรรส เขตเทศบาลนครยะลา เบื้องต้นมีผู้บาดเจ็บหลายราย และเสียชีวิต 1 ราย คือ นายนิคม กาเจ จุดที่ 3 เป็นลักษณะจักรยานยนต์บอมบ์ ที่บริเวณร้านฟ้าใสประดับเรือน ซึ่งเป็นร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ตั้งอยู่ถนนสิโรรสตัดถนนทางเข้าตลาดเมืองใหม่ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ส่วนจุดที่ 4 ระเบิดที่หน้าสำนักงานทีโอที ถนนสาย 15 ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
หลังเกิดเหตุ พล.ต.ต.ทรงเกียรติ วาทะกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ได้นำเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด กระจายกำลังไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ ทั้งนี้ เหตุระเบิดได้ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ร้านราชาเฟอร์นิเจอร์และอาคารข้างเคียงกว่า 10 คูหา หลังสกัดเพลิงไว้ได้ เจ้าหน้าที่พบซากรถกระบะโตโยต้า ที่เชื่อว่าเป็นรถที่คนร้ายซุกระเบิด แล้วนำมาจอดที่หน้าร้านดังกล่าว ก่อนจุดชนวนระเบิด เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
ด้าน พล.ท.วลิต โรจนภักดี แม่ทัพภาคที่ 4 ได้ไปตรวจเยี่ยมและมอบเงินช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ซึ่งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลยะลาจำนวน 25 ราย บางรายแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว
สำหรับเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่รุนแรงสุดในรอบ 2 ปี หลังคนร้ายได้ก่อเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ที่ถนนรวมมิตรเขตเทศบาลนครยะลาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ซึ่งครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตถึง 12 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก
นอกจากเหตุระเบิดที่ยะลาแล้ว ได้เกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ใน กทม.จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากเช่นกันเมื่อวันที่ 2 เม.ย. เหตุเกิดที่ร้านค้าของเก่าชื่อ “แบรนด์รีไซเคิ้ล” ตั้งอยู่ภายใน ซ.ลาดปลาเค้า 72 แยก 12 ถ.ลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน โดยก่อนเกิดเหตุ มีผู้เก็บระเบิดเก่า ที่ติดตั้งบนเครื่องบินรบ ขนาดยาว 1 เมตร น้ำหนัก 500 ปอนด์ มาขายให้กับทางร้าน ทางร้านรับซื้อกิโลกรัมละ 10 บาท รวม 230 กิโลกรัม จากนั้นเจ้าของร้านได้ให้ลูกจ้างนำระเบิดดังกล่าวไปตัด เพื่อเอาชิ้นส่วนโลหะ ปรากฏว่า ได้เกิดระเบิดขึ้นทันที แรงระเบิดทำให้เกิดหลุมกว้าง 8 เมตร ลึก 3 เมตร และมีผู้เสียชีวิต 8 ราย บาดเจ็บ 20 ราย
ด้าน พ.ต.อ.กำธร อุ่ยเจริญ ผู้กำกับการกลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ เผยหลังตรวจสอบที่เกิดเหตุว่า ระเบิดดังกล่าวเป็น “ลูกระเบิดอากาศ” เก่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีรัศมีทำลายล้างอย่างต่ำ 500 เมตร สาเหตุที่ทำให้ระเบิด เนื่องจากคนงานนำก๊าซตัดเหล็กไปตัดลูกระเบิดดังกล่าว จึงเกิดระเบิดขึ้น