คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.กกต. มีมติจัดเลือกตั้งใหม่ใน 18 จว.ที่ยังเปิดลงคะแนนไม่ได้ ด้าน “ปชป.” ยื่นศาล รธน.ให้เลือกตั้ง 2 ก.พ.โมฆะ!
เมื่อวันที่ 3 ก.พ. นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้แถลงผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ว่า ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ รายงานตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการว่า จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44,649,742 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 20,468,646 คน หรือคิดเป็น 45.84% โดยตัวเลขดังกล่าวไม่ได้นำ 9 จังหวัดในภาคใต้ที่งดลงคะแนนทั้งจังหวัดมารวมด้วย
อย่างไรก็ตาม นายภุชงค์ ได้แถลงสรุปภาพรวมการเลือกตั้งทั้งประเทศเมื่อวันที่ 2 ก.พ.อย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อวันที่ 6 ก.พ. ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้งลดลงจากที่แถลงเมื่อวันที่ 3 ก.พ. ขณะที่ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีจำนวน 43,024,786 คน ลดลงจากเมื่อวันที่ 3 ก.พ.กว่า 1.6 ล้านคน ขณะที่ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิ มีจำนวน 20,530,359 คน เพิ่มขึ้นจากตัวเลขที่ระบุเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 6 หมื่นกว่าคน ทำให้เปอร์เซ็นต์ของผู้มาใช้สิทธิ เพิ่มขึ้นจาก 45.84% มาอยู่ที่ 47.72%
สำหรับจำนวนบัตรดีอยู่ที่ 14,645,812 ใบ หรือร้อยละ 71.34 บัตรเสีย 2,458,461 ใบ หรือร้อยละ 11.97 ส่วนผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 3,426,080 ใบ หรือร้อยละ 16.69 เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวเลขผู้ออกมาใช้สิทธิในแต่ละภาค น้อยกว่าตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้งประมาณครึ่งหนึ่ง ขณะที่จำนวนบัตรเสียและผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน มีอัตราสูงมากทุกภาค
ขณะที่กรุงเทพฯ มีหน่วยเลือกตั้ง 6,671 หน่วย เปิดลงคะแนน 6,155 หน่วย งดลงคะแนน 516 หน่วย ผู้มีสิทธิ 4,369,120 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 1,133,296 คน หรือร้อยละ 25.94 บัตรดี 775,821 ใบ บัตรเสีย 90,923 ใบ ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 266,552 ใบ หรือร้อยละ 23.52
สำหรับจังหวัดที่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทำบัตรเสียมากสุด คือ จ.ตาก 27.13% ส่วนจังหวัดที่มีผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนมากสุด คือ จ.ระยอง 40.58% นอกจากนี้ กกต.ยังได้รับรายงานว่า ที่ จ.ฉะเชิงเทรา มีการฉีกบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ จ.เชียงราย บัตรหาย 1 ใบ และ จ.นนทบุรี บัตรหาย 3 ใบ อย่างไรก็ตาม ทาง พล.ต.ต.อนุชา รมยะนันทน์ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยว่า มีการฉีกบัตรเลือกตั้ง 8 ราย ในพื้นที่ กทม.1 ราย ,ฉะเชิงเทรา 2 ราย ,นครราชสีมา 1 ราย ,ศรีสะเกษ 1 ราย ,นครปฐม 2 ราย และสมุทรสงคราม 2 ราย
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.สงขลา และหัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.เป็นโมฆะ พร้อมขอให้ศาลสั่งยุบพรรคเพื่อไทย และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ที่ระบุให้วันเลือกตั้งต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร อีกทั้งกฎหมายยังกำหนดให้คะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าต้องมาถึงหน่วยเลือกตั้งก่อนเวลา 15.00น. ของวันเลือกตั้ง ดังนั้นการที่ กกต.กำหนดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้ารอบสองในวันที่ 23 ก.พ. จึงขัดรัฐธรรมนูญในเรื่องความเสมอภาค เพราะจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดอีก 2 ล้านคน จะไม่สามารถนำมานับรวมคะแนนได้เลย ทำให้เกิดความไม่เสมอภาค เพราะเสียสิทธิโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่นอกราชอาณาจักรก็ไม่สามารถเลือกผู้แทนใน 28 เขตที่ยังไม่มีผู้สมัครได้เช่นกัน
ทั้งนี้ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ. อาจเข้าข่ายโมฆะ เนื่องจากโดยกฎหมาย กกต.ไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ได้ เพราะต้องรอผลคะแนนจากการเลือกตั้งล่วงหน้าก่อน ซึ่งขณะนี้หลายจังหวัดยังมีปัญหาไม่สามารถเปิดลงคะแนนได้ สำหรับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. แม้ กกต.จะยังไม่ได้ประกาศผลเลือกตั้ง แต่ในทางปฏิบัติเมื่อมีการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง ย่อมทำให้ประชาชนทราบว่าผู้สมัครรายใดได้คะแนนเท่าใด และใครน่าจะได้รับเลือกตั้ง อีกทั้งมีหนังสือพิมพ์บางฉบับนำผลเลือกตั้งดังกล่าวมาเผยแพร่ด้วย ทำให้ผลเลือกตั้งดังกล่าวไม่เป็นความลับอีกต่อไป และผลดังกล่าวอาจเป็นตัวชี้นำการตัดสินใจของประชาชนที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งหรือจะใช้สิทธิเลือกตั้งในภายหลังได้
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พูดถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.เป็นโมฆะ โดยยืนยันว่า ได้ทำตามขั้นตอนกฎหมายทุกอย่างแล้ว และไม่มีเจตนาตามที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหา และว่า ต้องให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการไปตามขั้นตอน
ด้าน กกต.ได้ประชุมหาทางออกปมปัญหาการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 7 ก.พ. หลังประชุม นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง แถลงว่า กกต.มีมติเอกฉันท์ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งที่งดการลงคะแนนเมื่อวันที่ 2 ก.พ. จำนวน 10,284 หน่วย ใน 18 จังหวัด จากเหตุมีการขัดขวางการเลือกตั้ง กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไม่ครบและขาดอุปกรณ์จัดการเลือกตั้ง พร้อมเผย ขณะนี้มี 7 จังหวัด 671 หน่วย อยู่ในข่ายมีความพร้อมที่จะเลือกตั้งใหม่ โดย กกต.จะเชิญประธาน กกต.จังหวัดและ กกต.จังหวัดในภาคใต้มาประชุมหารือประเมินความพร้อมในวันที่ 11 ก.พ.
นอกจากนี้ กกต.ยังมีมติให้จัดลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดใหม่ใน 83 เขตที่ไม่สามารถจัดเลือกตั้งได้เมื่อวันที่ 26 ม.ค. แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะให้เลือกตั้งใหม่นอกเขตจังหวัดวันใด โดยจะประชุมหารือกับประธาน กกต.จังหวัดและ กกต.จังหวัดในเขตเลือกตั้งที่มีปัญหาก่อนในวันที่ 12 ก.พ.ว่า พื้นที่เลือกตั้งกลางจังหวัดใดมีความพร้อมในการลงคะแนน ก็จะจัดโดยเร็ว
ส่วนที่มีการถกเถียงกันว่า หากจัดลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า หลังวันที่ 2 ก.พ. จะไม่ใช่การเลือกตั้งล่วงหน้า และบัตรต่างๆ ต้องส่งมาถึงเขตที่นับคะแนนก่อนเวลา 15.00น.ของวันที่ 2 ก.พ.นั้น นายสมชัย บอกว่า กกต.ให้ความสำคัญกับสิทธิของประชาชนกว่า 2 ล้านคนที่ลงทะเบียนไว้ มากกว่ากระบวนการจัดการเลือกตั้ง เพราะสิทธิของประชาชนกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่กระบวนการจัดการเลือกตั้งเป็นกฎหมายและระเบียบซึ่งต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ
นายสมชัย เผยด้วยว่า หลัง กกต.ประชุมผู้เกี่ยวข้องในวันที่ 11-12 ก.พ.แล้ว จะพิจารณาว่าควรกำหนดวันลงคะแนนทดแทนการเลือกตั้งในวันที่ 26 ม.ค.และ 2 ก.พ.เป็นวันใด ส่วนกรณี 28 เขตใน 8 จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีผู้สมัคร ส.ส.นั้น กกต.เห็นว่า รัฐบาลจำเป็นต้องออก พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพราะ กกต.ไม่มีอำนาจออกประกาศ กกต. ดังนั้น กกต.จะทำจดหมายแจ้งรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลตอบกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเห็นอย่างไร
2.“หม่อมอุ๋ย” ออกโรงจี้ รบ.ลาออก เปิดทางตั้งคนกลางแก้ขัดแย้ง -“ยิ่งลักษณ์” อ้างฉีก รธน. ด้าน ศรส.ตามบี้ กปปส.!
หลังผ่านพ้นการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่มีประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ถึงครึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ขณะที่หลายเขตหลายจังหวัดยังไม่สามารถเปิดให้มีการลงคะแนนได้ ส่งผลให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ยังไม่สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งได้ ทำให้ยังไม่สามารถเปิดประชุมสภาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ ปรากฏว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) ได้ปราศรัยบนเวทีเมื่อวันที่ 4 ก.พ.ว่า นางยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ได้เขียนความเห็นทางกฎหมายมาให้ ระบุว่า เมื่อการเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไม่สามารถทำให้ได้ ครม.ชุดใหม่มารับหน้าที่ได้ เพราะได้ ส.ส.ไม่ครบ 475 คน จึงเรียกประชุมสภาครั้งแรกไม่ได้ ส่งผลให้การเลือกนายกฯ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ทำไม่ได้เช่นกัน ครม.ชุดนี้จึงไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ ดังนั้น กปปส.ไม่ต้องเรียกร้องให้นายกฯ หรือรัฐบาลลาออก แต่ต้องแจ้งให้ ครม.หยุดปฏิบัติหน้าที่ได้แล้ว รวมทั้งแจ้งให้หน่วยงานของรัฐและ กกต.ทราบถึงการหมดอำนาจหน้าที่ของ ครม.ชุดนี้ด้วย และว่า หาก ครม.ชุดนี้ยังดำเนินการใดใดต่อไป ย่อมเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและต้องรับผิดชอบทั้งทางอาญาและส่วนตัว ทั้งนี้ นายสุเทพ ได้ทำหนังสือแจ้งความเห็นข้อกฎหมายของอดีตผู้พิพากษาดังกล่าวให้นายกฯ ทราบแล้ว แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่สนใจ ยังคงยืนยัน ต้องอยู่รักษาการจนกว่าจะได้รัฐบาลชุดใหม่
ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เช่นกันเมื่อวันที่ 6 ก.พ. โดยขอให้นายกฯ และ ครม.ลาออกจากรัฐบาลรักษาการ เพื่อเปิดทางให้ตั้งคนกลางมาบริหารประเทศ เพื่อหยุดยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ เพราะรัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติภารกิจสำคัญได้ลุล่วง เช่น ไม่สามารถจ่ายเงินให้ชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวได้ ขณะที่ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในรัฐบาล ทำให้รัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศให้ก้าวหน้าได้ เพราะทำให้ประชาชนสงสัยว่ารัฐบาลจะฉ้อราษฎร์บังหลวงในทุกๆ โครงการ ทั้งการบริหารจัดการน้ำ และโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมูลค่า 2 ล้านล้านบาท รวมทั้งการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ และว่า หากรัฐบาลเลือกที่จะรักษาการต่อไป การประท้วงน่าจะรุนแรงขึ้นและเพิ่มจำนวนมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ รัฐบาลควรลาออกจากรัฐบาลรักษาการ ซึ่งสามารถทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญยังมีช่องทางให้มีการแต่งตั้งคนกลางเข้ามาบริหารบ้านเมืองได้ และว่า การจะให้คนที่ชุมนุมเกือบ 3 ล้านคนกลับบ้าน คงยากกว่าที่จะให้คนเพียง 20 คนในรัฐบาลลาออก
ขณะที่แกนนำพรรคเพื่อไทยไม่พอใจ ต่างออกมาตอบโต้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ย้ำคำเดิมว่า ต้องอยู่ทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ พร้อมอ้างว่า การมีนายกฯ คนกลาง ก็คือการฉีกรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ แกนนำพรรคเพื่อไทยบางคน ยังกล่าวหาว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธรออกมาเสนอให้รัฐบาลลาออก เพราะอยากเป็นนายกฯ คนกลางใช่หรือไม่
สำหรับกิจกรรมของ กปปส.สัปดาห์ที่ผ่านมา มีทั้งการเปิดพื้นที่ให้กับการจราจร เช่น เปิดสะพานพระราม 8 และเปิดให้ข้าราชการบางหน่วยเข้าทำงานได้ตามความจำเป็น เช่น กระทรวงยุติธรรม ,กรมการกงสุล ฯลฯ ทั้งนี้ นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. ยืนยันว่า กปปส.พร้อมชุมนุมยืดเยื้อได้จนถึงช่วงสงกรานต์และกดดันให้หมดเวลารัฐบาลรักษาการได้อยู่แล้ว ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ได้นำมวลชนเดินรณรงค์เพื่อระดมทุนช่วยเหลือชาวนาที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรับจำนำข้าว เพื่อใช้ในการต่อสู้เรียกร้องเงินจำนำข้าวจากรัฐบาล โดยเดินรอบแรกเมื่อวันที่ 7 ก.พ. และจะเดินอีกครั้งในวันที่ 10 ก.พ. ตั้งเป้าไว้ที่ 10 ล้านบาท
เป็นที่น่าสังเกตว่า ขณะนี้รัฐบาล โดยศูนย์รักษาความสงบ(ศรส.) ได้ตามบี้แกนนำและแนวร่วม กปปส.อย่างหนัก ทั้งขอศาลออกหมายจับแกนนำ กปปส.ฐานขัดขวางการเลือกตั้ง ซึ่งศาลได้อนุมัติหมายจับ 19 คนแล้ว รวมทั้งหลวงปู่พุทธะอิสระด้วย นอกจากนี้ ศรส.ยังมีคำสั่งเนรเทศนายสาธิต เซกัล นายกสมาคมธุรกิจอินเดีย-ไทย และแนวร่วม กปปส. โดยอ้างเหตุว่า นายสาธิตเป็นคนสัญชาติอินเดีย ทำผิดกฎหมายร่วมกับกลุ่ม กปปส. ด้านนายสาธิต ได้ขึ้นเวที กปปส. ที่แยกศาลาแดง-สีลมเมื่อวันที่ 8 ก.พ. ประกาศยุติบทบาทการเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว พร้อมยืนยัน การเคลื่อนไหวที่ผ่านมา ตนแค่ต้องการปกป้องประเทศไทยและรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เข้าใจว่า เหตุใด ศรส. จึงเนรเทศตนออกนอกประเทศ ทั้งที่ตนไม่ได้ทำอะไรผิดและหวังว่าจะได้รับความเป็นธรรม พร้อมย้ำ จะไม่เดินทางออกจากประเทศนี้ เพราะประเทศไทยคือบ้านที่ตนรักที่สุด และพร้อมจะเดินทางเชื่อมความสัมพันธ์ทางธุรกิจไทย-อินเดียต่อไป
นอกจาก ศรส.จะใช้วิธีกดดันแนวร่วม กปปส.แล้ว ยังขู่ดำเนินคดีนายทุนหรือท่อน้ำเลี้ยง กปปส.ด้วย โดยนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) บอกว่า ได้เตรียมออกคำสั่งระงับการทำธุรกรรมของท่อน้ำเลี้ยง 136 รายก่อนเรียกเข้าชี้แจง นอกจากนี้ ศรส.ยังมีมติเรียกผู้บริหารโรงแรมดุสิตธานี และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล มาชี้แจงในวันที่ 11 ก.พ.นี้ กรณีให้ที่พักพิงนายสุเทพ และแกนนำ กปปส. หากชี้แจงไม่ได้ จะดำเนินคดีฐานสนับสนุนการกระทำผิดของแกนนำ กปปส.
ทั้งนี้ นอกจากแกนนำ กปปส.และแนวร่วมจะถูกกดดันทุกรูปแบบแล้ว เวทีต่างๆ ของ กปปส.ยังถูกข่มขู่คุกคามด้วยอาวุธปืนและระเบิดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเวทีที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ที่อยู่ในความดูแลของหลวงปู่พุทธะอิสระ โดยถูกคนร้ายยิงระเบิดเอ็ม 79 เข้าใส่หลายครั้งแล้ว ล่าสุดเมื่อช่วงค่ำวันที่ 8 ก.พ. คนร้ายได้ยิงเอ็ม 79 เข้าใส่อีกครั้ง จำนวน 2 นัด ก่อนมีเสียงปืนพกตามมา ทำให้ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เป็นชาย โดย 1 รายอาการสาหัส มีบาดแผลบริเวณลำคอ ทรวงอก และหลัง ส่วนอีกราย มีบาดแผลบริเวณไหล่และขา
3.ชาวนา 3 ภาคสุดทน บุกกรุง-ปักหลักหน้า ก.พาณิชย์ ทวงเงินจำนำข้าว ขณะที่ข้าว อคส.ส่อทุจริต ล่องหนระหว่างขนย้ายกว่า 3 พันตัน!
ความคืบหน้าการชุมนุมประท้วงปิดถนนของชาวนาในจังหวัดต่างๆ ทั่วทุกภาค เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายค่าข้าวในโครงการรับจำนำข้าว 1.3 แสนล้านบาท ขณะที่รัฐบาลพยายามบีบให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้รัฐบาลเพื่อมาจ่ายชาวนา แต่ไม่มีธนาคารใดอยากปล่อยกู้ให้ เนื่องจากโครงการรับจำนำข้าวมีการทุจริตและมีความเสี่ยงสูง ประกอบกับมีกระแสคัดค้านจากประชาชนจำนวนมาก
ซึ่งธนาคารกรุงไทย นับเป็น 1 ในธนาคารที่มีข่าวว่าถูกรัฐบาลบีบให้ปล่อยกู้ 1.3 แสนล้าน หลังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) และธนาออมสินไม่ยอมปล่อยกู้ ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 4 ก.พ. นายวรภัค ธันยาวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกมายืนยันกับพนักงานจำนวนมากที่ออกมาคัดค้านการปล่อยกู้ดังกล่าวว่า “ธนาคารไม่ได้ปล่อยกู้โครงการรับจำนำข้าว และไม่มีวาระประชุมเรื่องนี้ และจะไม่นำเงินฝากไปปล่อยกู้โครงการที่ไม่โปร่งใส ธนาคารยุคใหม่ต้องชัดเจนและซื่อสัตย์ ไม่เป็นเครื่องมือของนักการเมือง”
ด้านนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ออกมาคุยโวเมื่อวันที่ 7 ก.พ.ว่า กระทรวงมีแผนจัดหาแหล่งเงินกู้โครงการรับจำนำข้าว 1.3 แสนล้านบาทอยู่แล้ว แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด เพราะเกรงว่าจะถูกคัดค้านจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยจนแผนที่วางไว้สะดุดอีก ทั้งนี้ มีรายงานว่า กระทรวงการคลังเล็งออกพันธบัตรมาขายเพื่อนำเงินมาจ่ายโครงการรับจำนำข้าว โดยจะให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล-กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) และกองทุนประกันสังคม เป็นผู้ซื้อพันธบัตรดังกล่าว
ส่วนความเคลื่อนไหวของชาวนานั้น เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ชาวนาจากภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือกว่า 2,000 คน นำโดยนายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย ได้นำรถเกี่ยวข้าวเคลื่อนขบวนเข้ากรุง มาปักหลักพักค้างปิดถนนหน้ากระทรวงพาณิชย์ เพื่อกดดันให้รัฐบาลหาเงินมาจ่ายหนี้ชาวนา ขณะที่ชาวนา 5 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย จ.พิจิตร ,นครสวรรค์ ,เพชรบูรณ์ ,กำแพงเพชร และพิษณุโลก ได้เข้าชื่อกว่า 1,000 คน และส่งตัวแทนเดินทางเข้ากรุงเมื่อวันที่ 6 ก.พ. เพื่อมายื่นถวายฎีกาที่สำนักราชเลขาธิการ หลังได้รับความเดือดร้อนจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีชาวนาจาก จ.อ่างทอง ,สิงห์บุรี และชัยนาท ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพื่อเร่งตรวจสอบการจ่ายเงินในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ล่าสุด ได้เกิดความไม่ชอบมาพากลและส่อทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวอีกครั้ง เนื่องจากมีข้าวหายระหว่างการขนย้ายจากโรงสีหนึ่งไปอีกโรงสีหนึ่งจำนวนกว่า 3 พันตัน หรือกว่า 3 ล้านกิโลกรัม โดยเรื่องแดงออกมาเมื่อองค์การคลังสินค้าส่งตัวแทนเข้าแจ้งความต่อตำรวจ สภ.เมืองอุดรธานีเมื่อวันที่ 3 ก.พ. ให้ดำเนินคดีคนร้าย ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นใคร ฐานลักทรัพย์ “ข้าวสารเหนียว”จำนวน 3,478,011 กิโลกรัม ที่อยู่ระหว่างขนย้ายจากบริษัท อุดรประเสริฐผล จำกัด ไปยัง หจก.โรงสีโชควรลักษณ์รุ่งเรืองกิจ จ.ลพบุรี ระหว่างวันที่ 5-26 มี.ค.2556 โดยการขนย้ายข้าวดังกล่าวเป็นไปตามคำสั่งของ อคส.ในโครงการจัดทำข้าวสารถุง เพื่อลดค่าครองชีพผู้บริโภค โดยมอบหมายให้ภาคเอกชน 2 รายรับไปดำเนินการปรับปรุงคุณภาพและบรรจุถุง คือ บริษัท สิงโตทองไรซ์ จำกัด และโรงสีโชควรลักษณ์ฯ
ทั้งนี้ อคส.ตรวจสอบพบว่า ข้าวดังกล่าวมีการขนย้ายจากโรงสีอุดรฯ ที่มีนายยุทธศาสตร์ แสนสวนจิตร เป็นหัวหน้าคลังสินค้าอุดรธานี โดยยืนยันว่า มีการขนย้ายด้วยรถบรรทุก 105 คัน ตามเอกสารใบรับโอนย้าย 105 ใบ แต่ น.ส.โสพิณ จิรายุพงศ์ หัวหน้าคลังสินค้าที่กำลังดูแลโกดังโรงสีโชควรลักษณ์ฯ ยืนยันว่า ไม่เคยมีการขนย้ายข้าวสารเหนียวดังกล่าวมาที่โรงสีโชควรลักษณ์ฯ แต่อย่างใด
4.ป.ป.ช. เปิดบัญชีทรัพย์สิน 491 อดีต ส.ส. พบ “ยิ่งลักษณ์” อู้ฟู่ 575 ล้าน ขณะที่ “สุเทพ” หนี้ท่วม 323 ล้าน!
เมื่อวันที่ 4 ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ ส.ส.หลังพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 8-9 ธ.ค.2556 จำนวน 491 คน ที่น่าสนใจ ได้แก่ พรรคเพื่อไทย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียน และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินประมาณ 575.7 ล้านบาท ,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 178.2 ล้านบาท ,นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีต ส.ส.เชียงใหม่ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 41.5 ล้านบาท ,นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 123.1 ล้านบาท ,นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีต ส.ส.ขอนแก่น มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 1.9 ล้านบาท ,นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 18 ล้านบาท ,น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ มีทรัพย์สินมากว่าหนี้สิน 6.6 ล้านบาท ฯลฯ
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 54.2 ล้านบาท ,นายชวน หลีกภัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 6.2 ล้านบาท ,นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 907.4 ล้านบาท ,คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 1,595.6 ล้านบาท ,นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม. และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 362.1 ล้านบาท ,นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 45,061 บาท , นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 113.8 ล้านบาท โดยมีทรัพย์สินประมาณ 210 ล้านบาท มีหนี้สิน 323.9 ล้านบาท ,นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ อดีต ส.ส.กทม.และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 1,581 ล้านบาท ,นายถาวร เสนเนียม อดีต ส.ส.สงขลา มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 100.9 ล้านบาท ,นายวิทยา แก้วภราดัย อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 20.9 ล้านบาท ,นายอิสสระ สมชัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 15.7 ล้านบาท ,นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีต ส.ส.กทม. และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 83.8 ล้านบาท ,นายชุมพล จุลใส อดีตส.ส.ชุมพร และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 81.5 ล้านบาท ฯลฯ
ส่วนพรรคอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 1,205.8 ล้านบาท ,พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 34.1 ล้านบาท ,ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักษ์สันติ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 363.8 ล้านบาท , นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 280.9 ล้านบาท ฯลฯ
5.เด็ก ป.1 แห้วแท็บเล็ต บ.จีนขอยกเลิกสัญญา อ้างสถานการณ์การเมืองไทยไม่แน่นอน!
เมื่อวันที่ 4 ก.พ. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เผยว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อคอมพิวเตอร์พกพา(แท็บเล็ต) ในโครงการ 1 แท็บเล็ต ต่อ 1 นักเรียน ประจำปีการศึกษา 2556 ได้ทำหนังสือเร่งรัดบริษัท เซินเจิ้น อิงถัง อินเทลลิเจ้นท์ คอนโทรล จำกัด ที่ชนะการประมูลจัดซื้อแท็บเล็ตระดับประถมศึกษาปีที่ 1 โซน 1 (ภาคกลางและภาคใต้) จำนวน 431,105 เครื่อง มูลค่า 842 ล้านบาท และ ป.1 โซน 2 (ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 373,637 เครื่อง มูลค่า 786 ล้านบาท รวมทั้ง 2 โซน เป็นเงิน 1,628 ล้านบาท ให้จัดส่งแท็บเล็ตตามสัญญา ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 30 ม.ค.บริษัท เซินเจิ้นฯ ได้ทำหนังสือแจ้งขอยกเลิกสัญญาซื้อขายแท็บเล็ต โดยอ้างเหตุความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทย ความเข้าใจต่อทีโออาร์และสัญญาไม่ตรงกัน รวมถึงการติดต่อสื่อสารมีปัญหาอุปสรรค กระทั่งบริษัทส่งมอบของล่าช้า และถูกเรียกค่าปรับ
นายจาตุรนต์ เผยด้วยว่า บริษัท เซินเจิ้นฯ สงวนสิทธิที่จะขอคืนหลักประกันตามสัญญาที่ทางบริษัทฯ ได้มอบไว้กับ สพฐ. ด้วยการอุทธรณ์ตามกฎหมาย ขณะที่คณะกรรมการจัดซื้อของ สพฐ.จะพิจารณาเรื่องการริบวงเงินค้ำประกัน 120 ล้านบาท รวมถึงการฟ้องร้องบริษัทฯ ฐานละทิ้งงาน พร้อมเรียกร้องค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการจัดซื้อเดิม สำหรับการประมูลจัดซื้อใหม่จะมีขึ้นตามระเบียบของทางราชการ
ทั้งนี้ นายจาตุรนต์ บอกว่า แม้จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัท เซินเจิ้นฯ ได้ แต่คงไม่คุ้มกับความเสียหายที่เด็กไม่ได้ใช้แท็บเล็ต ดังนั้นจะต้องมีการสรุปบทเรียน และต้องยอมรับว่า การจัดซื้อแท็บเล็ตที่ผ่านมามีปัญหามาก ทั้งทางเทคนิค วิธีการ กระบวนการจัดซื้อ นอกจากนี้ยังมีปัญหาแทรกซ้อน เช่น กรณีที่บริษัทเสนอราคาประมูลต่ำ แต่ทำไม่ได้จริง ซึ่งมีข้อสงสัยว่าแข่งกันจริงหรือไม่ และเมื่อจะยกเลิก ก็ยกเลิกไม่ได้ เหมือนเขาวงกต ตกหลุมดำ แล้วหาทางออกไม่เจอ เมื่อถามว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นใครจะรับผิดชอบ นายจาตุรนต์ รีบออกตัวว่า “คงเป็นเรื่องที่ต้องไปดู แต่เรื่องนี้ดำเนินการไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ เมื่อผมเข้ามาทำงาน กระบวนการต่างๆ ก็ผ่านไปครึ่งทาง จะปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขก็ไม่สามารถทำได้” พร้อมย้ำว่า การจัดซื้อแท็บเล็ตจะต้องดำเนินการต่อไป เพราะเป็นโครงการที่ได้รับมาตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ที่ได้อนุมัติวงเงินไว้แล้ว จึงต้องทำให้ได้ ส่วนจะมีการใช้วิธีจัดซื้อตามที่มีผู้เสนอให้กระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเองหรือไม่นั้น นายจาตุรนต์ บอกว่า ต้องดูมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติไว้ก่อนหน้านี้ว่า ให้ดำเนินการได้หรือไม่ และจะผูกพันไปถึง ครม.ชุดใหม่หรือไม่
1.กกต. มีมติจัดเลือกตั้งใหม่ใน 18 จว.ที่ยังเปิดลงคะแนนไม่ได้ ด้าน “ปชป.” ยื่นศาล รธน.ให้เลือกตั้ง 2 ก.พ.โมฆะ!
เมื่อวันที่ 3 ก.พ. นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้แถลงผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ว่า ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ รายงานตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการว่า จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44,649,742 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 20,468,646 คน หรือคิดเป็น 45.84% โดยตัวเลขดังกล่าวไม่ได้นำ 9 จังหวัดในภาคใต้ที่งดลงคะแนนทั้งจังหวัดมารวมด้วย
อย่างไรก็ตาม นายภุชงค์ ได้แถลงสรุปภาพรวมการเลือกตั้งทั้งประเทศเมื่อวันที่ 2 ก.พ.อย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อวันที่ 6 ก.พ. ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้งลดลงจากที่แถลงเมื่อวันที่ 3 ก.พ. ขณะที่ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีจำนวน 43,024,786 คน ลดลงจากเมื่อวันที่ 3 ก.พ.กว่า 1.6 ล้านคน ขณะที่ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิ มีจำนวน 20,530,359 คน เพิ่มขึ้นจากตัวเลขที่ระบุเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 6 หมื่นกว่าคน ทำให้เปอร์เซ็นต์ของผู้มาใช้สิทธิ เพิ่มขึ้นจาก 45.84% มาอยู่ที่ 47.72%
สำหรับจำนวนบัตรดีอยู่ที่ 14,645,812 ใบ หรือร้อยละ 71.34 บัตรเสีย 2,458,461 ใบ หรือร้อยละ 11.97 ส่วนผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 3,426,080 ใบ หรือร้อยละ 16.69 เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวเลขผู้ออกมาใช้สิทธิในแต่ละภาค น้อยกว่าตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้งประมาณครึ่งหนึ่ง ขณะที่จำนวนบัตรเสียและผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน มีอัตราสูงมากทุกภาค
ขณะที่กรุงเทพฯ มีหน่วยเลือกตั้ง 6,671 หน่วย เปิดลงคะแนน 6,155 หน่วย งดลงคะแนน 516 หน่วย ผู้มีสิทธิ 4,369,120 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 1,133,296 คน หรือร้อยละ 25.94 บัตรดี 775,821 ใบ บัตรเสีย 90,923 ใบ ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 266,552 ใบ หรือร้อยละ 23.52
สำหรับจังหวัดที่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทำบัตรเสียมากสุด คือ จ.ตาก 27.13% ส่วนจังหวัดที่มีผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนมากสุด คือ จ.ระยอง 40.58% นอกจากนี้ กกต.ยังได้รับรายงานว่า ที่ จ.ฉะเชิงเทรา มีการฉีกบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ จ.เชียงราย บัตรหาย 1 ใบ และ จ.นนทบุรี บัตรหาย 3 ใบ อย่างไรก็ตาม ทาง พล.ต.ต.อนุชา รมยะนันทน์ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยว่า มีการฉีกบัตรเลือกตั้ง 8 ราย ในพื้นที่ กทม.1 ราย ,ฉะเชิงเทรา 2 ราย ,นครราชสีมา 1 ราย ,ศรีสะเกษ 1 ราย ,นครปฐม 2 ราย และสมุทรสงคราม 2 ราย
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.สงขลา และหัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.เป็นโมฆะ พร้อมขอให้ศาลสั่งยุบพรรคเพื่อไทย และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ที่ระบุให้วันเลือกตั้งต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร อีกทั้งกฎหมายยังกำหนดให้คะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าต้องมาถึงหน่วยเลือกตั้งก่อนเวลา 15.00น. ของวันเลือกตั้ง ดังนั้นการที่ กกต.กำหนดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้ารอบสองในวันที่ 23 ก.พ. จึงขัดรัฐธรรมนูญในเรื่องความเสมอภาค เพราะจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดอีก 2 ล้านคน จะไม่สามารถนำมานับรวมคะแนนได้เลย ทำให้เกิดความไม่เสมอภาค เพราะเสียสิทธิโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่นอกราชอาณาจักรก็ไม่สามารถเลือกผู้แทนใน 28 เขตที่ยังไม่มีผู้สมัครได้เช่นกัน
ทั้งนี้ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ. อาจเข้าข่ายโมฆะ เนื่องจากโดยกฎหมาย กกต.ไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ได้ เพราะต้องรอผลคะแนนจากการเลือกตั้งล่วงหน้าก่อน ซึ่งขณะนี้หลายจังหวัดยังมีปัญหาไม่สามารถเปิดลงคะแนนได้ สำหรับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. แม้ กกต.จะยังไม่ได้ประกาศผลเลือกตั้ง แต่ในทางปฏิบัติเมื่อมีการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง ย่อมทำให้ประชาชนทราบว่าผู้สมัครรายใดได้คะแนนเท่าใด และใครน่าจะได้รับเลือกตั้ง อีกทั้งมีหนังสือพิมพ์บางฉบับนำผลเลือกตั้งดังกล่าวมาเผยแพร่ด้วย ทำให้ผลเลือกตั้งดังกล่าวไม่เป็นความลับอีกต่อไป และผลดังกล่าวอาจเป็นตัวชี้นำการตัดสินใจของประชาชนที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งหรือจะใช้สิทธิเลือกตั้งในภายหลังได้
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พูดถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.เป็นโมฆะ โดยยืนยันว่า ได้ทำตามขั้นตอนกฎหมายทุกอย่างแล้ว และไม่มีเจตนาตามที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหา และว่า ต้องให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการไปตามขั้นตอน
ด้าน กกต.ได้ประชุมหาทางออกปมปัญหาการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 7 ก.พ. หลังประชุม นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง แถลงว่า กกต.มีมติเอกฉันท์ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งที่งดการลงคะแนนเมื่อวันที่ 2 ก.พ. จำนวน 10,284 หน่วย ใน 18 จังหวัด จากเหตุมีการขัดขวางการเลือกตั้ง กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไม่ครบและขาดอุปกรณ์จัดการเลือกตั้ง พร้อมเผย ขณะนี้มี 7 จังหวัด 671 หน่วย อยู่ในข่ายมีความพร้อมที่จะเลือกตั้งใหม่ โดย กกต.จะเชิญประธาน กกต.จังหวัดและ กกต.จังหวัดในภาคใต้มาประชุมหารือประเมินความพร้อมในวันที่ 11 ก.พ.
นอกจากนี้ กกต.ยังมีมติให้จัดลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดใหม่ใน 83 เขตที่ไม่สามารถจัดเลือกตั้งได้เมื่อวันที่ 26 ม.ค. แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะให้เลือกตั้งใหม่นอกเขตจังหวัดวันใด โดยจะประชุมหารือกับประธาน กกต.จังหวัดและ กกต.จังหวัดในเขตเลือกตั้งที่มีปัญหาก่อนในวันที่ 12 ก.พ.ว่า พื้นที่เลือกตั้งกลางจังหวัดใดมีความพร้อมในการลงคะแนน ก็จะจัดโดยเร็ว
ส่วนที่มีการถกเถียงกันว่า หากจัดลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า หลังวันที่ 2 ก.พ. จะไม่ใช่การเลือกตั้งล่วงหน้า และบัตรต่างๆ ต้องส่งมาถึงเขตที่นับคะแนนก่อนเวลา 15.00น.ของวันที่ 2 ก.พ.นั้น นายสมชัย บอกว่า กกต.ให้ความสำคัญกับสิทธิของประชาชนกว่า 2 ล้านคนที่ลงทะเบียนไว้ มากกว่ากระบวนการจัดการเลือกตั้ง เพราะสิทธิของประชาชนกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่กระบวนการจัดการเลือกตั้งเป็นกฎหมายและระเบียบซึ่งต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ
นายสมชัย เผยด้วยว่า หลัง กกต.ประชุมผู้เกี่ยวข้องในวันที่ 11-12 ก.พ.แล้ว จะพิจารณาว่าควรกำหนดวันลงคะแนนทดแทนการเลือกตั้งในวันที่ 26 ม.ค.และ 2 ก.พ.เป็นวันใด ส่วนกรณี 28 เขตใน 8 จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีผู้สมัคร ส.ส.นั้น กกต.เห็นว่า รัฐบาลจำเป็นต้องออก พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพราะ กกต.ไม่มีอำนาจออกประกาศ กกต. ดังนั้น กกต.จะทำจดหมายแจ้งรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลตอบกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเห็นอย่างไร
2.“หม่อมอุ๋ย” ออกโรงจี้ รบ.ลาออก เปิดทางตั้งคนกลางแก้ขัดแย้ง -“ยิ่งลักษณ์” อ้างฉีก รธน. ด้าน ศรส.ตามบี้ กปปส.!
หลังผ่านพ้นการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่มีประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ถึงครึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ขณะที่หลายเขตหลายจังหวัดยังไม่สามารถเปิดให้มีการลงคะแนนได้ ส่งผลให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ยังไม่สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งได้ ทำให้ยังไม่สามารถเปิดประชุมสภาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ ปรากฏว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) ได้ปราศรัยบนเวทีเมื่อวันที่ 4 ก.พ.ว่า นางยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ได้เขียนความเห็นทางกฎหมายมาให้ ระบุว่า เมื่อการเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไม่สามารถทำให้ได้ ครม.ชุดใหม่มารับหน้าที่ได้ เพราะได้ ส.ส.ไม่ครบ 475 คน จึงเรียกประชุมสภาครั้งแรกไม่ได้ ส่งผลให้การเลือกนายกฯ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ทำไม่ได้เช่นกัน ครม.ชุดนี้จึงไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ ดังนั้น กปปส.ไม่ต้องเรียกร้องให้นายกฯ หรือรัฐบาลลาออก แต่ต้องแจ้งให้ ครม.หยุดปฏิบัติหน้าที่ได้แล้ว รวมทั้งแจ้งให้หน่วยงานของรัฐและ กกต.ทราบถึงการหมดอำนาจหน้าที่ของ ครม.ชุดนี้ด้วย และว่า หาก ครม.ชุดนี้ยังดำเนินการใดใดต่อไป ย่อมเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและต้องรับผิดชอบทั้งทางอาญาและส่วนตัว ทั้งนี้ นายสุเทพ ได้ทำหนังสือแจ้งความเห็นข้อกฎหมายของอดีตผู้พิพากษาดังกล่าวให้นายกฯ ทราบแล้ว แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่สนใจ ยังคงยืนยัน ต้องอยู่รักษาการจนกว่าจะได้รัฐบาลชุดใหม่
ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เช่นกันเมื่อวันที่ 6 ก.พ. โดยขอให้นายกฯ และ ครม.ลาออกจากรัฐบาลรักษาการ เพื่อเปิดทางให้ตั้งคนกลางมาบริหารประเทศ เพื่อหยุดยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ เพราะรัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติภารกิจสำคัญได้ลุล่วง เช่น ไม่สามารถจ่ายเงินให้ชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวได้ ขณะที่ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในรัฐบาล ทำให้รัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศให้ก้าวหน้าได้ เพราะทำให้ประชาชนสงสัยว่ารัฐบาลจะฉ้อราษฎร์บังหลวงในทุกๆ โครงการ ทั้งการบริหารจัดการน้ำ และโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมูลค่า 2 ล้านล้านบาท รวมทั้งการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ และว่า หากรัฐบาลเลือกที่จะรักษาการต่อไป การประท้วงน่าจะรุนแรงขึ้นและเพิ่มจำนวนมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ รัฐบาลควรลาออกจากรัฐบาลรักษาการ ซึ่งสามารถทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญยังมีช่องทางให้มีการแต่งตั้งคนกลางเข้ามาบริหารบ้านเมืองได้ และว่า การจะให้คนที่ชุมนุมเกือบ 3 ล้านคนกลับบ้าน คงยากกว่าที่จะให้คนเพียง 20 คนในรัฐบาลลาออก
ขณะที่แกนนำพรรคเพื่อไทยไม่พอใจ ต่างออกมาตอบโต้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ย้ำคำเดิมว่า ต้องอยู่ทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ พร้อมอ้างว่า การมีนายกฯ คนกลาง ก็คือการฉีกรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ แกนนำพรรคเพื่อไทยบางคน ยังกล่าวหาว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธรออกมาเสนอให้รัฐบาลลาออก เพราะอยากเป็นนายกฯ คนกลางใช่หรือไม่
สำหรับกิจกรรมของ กปปส.สัปดาห์ที่ผ่านมา มีทั้งการเปิดพื้นที่ให้กับการจราจร เช่น เปิดสะพานพระราม 8 และเปิดให้ข้าราชการบางหน่วยเข้าทำงานได้ตามความจำเป็น เช่น กระทรวงยุติธรรม ,กรมการกงสุล ฯลฯ ทั้งนี้ นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. ยืนยันว่า กปปส.พร้อมชุมนุมยืดเยื้อได้จนถึงช่วงสงกรานต์และกดดันให้หมดเวลารัฐบาลรักษาการได้อยู่แล้ว ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ได้นำมวลชนเดินรณรงค์เพื่อระดมทุนช่วยเหลือชาวนาที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรับจำนำข้าว เพื่อใช้ในการต่อสู้เรียกร้องเงินจำนำข้าวจากรัฐบาล โดยเดินรอบแรกเมื่อวันที่ 7 ก.พ. และจะเดินอีกครั้งในวันที่ 10 ก.พ. ตั้งเป้าไว้ที่ 10 ล้านบาท
เป็นที่น่าสังเกตว่า ขณะนี้รัฐบาล โดยศูนย์รักษาความสงบ(ศรส.) ได้ตามบี้แกนนำและแนวร่วม กปปส.อย่างหนัก ทั้งขอศาลออกหมายจับแกนนำ กปปส.ฐานขัดขวางการเลือกตั้ง ซึ่งศาลได้อนุมัติหมายจับ 19 คนแล้ว รวมทั้งหลวงปู่พุทธะอิสระด้วย นอกจากนี้ ศรส.ยังมีคำสั่งเนรเทศนายสาธิต เซกัล นายกสมาคมธุรกิจอินเดีย-ไทย และแนวร่วม กปปส. โดยอ้างเหตุว่า นายสาธิตเป็นคนสัญชาติอินเดีย ทำผิดกฎหมายร่วมกับกลุ่ม กปปส. ด้านนายสาธิต ได้ขึ้นเวที กปปส. ที่แยกศาลาแดง-สีลมเมื่อวันที่ 8 ก.พ. ประกาศยุติบทบาทการเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว พร้อมยืนยัน การเคลื่อนไหวที่ผ่านมา ตนแค่ต้องการปกป้องประเทศไทยและรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เข้าใจว่า เหตุใด ศรส. จึงเนรเทศตนออกนอกประเทศ ทั้งที่ตนไม่ได้ทำอะไรผิดและหวังว่าจะได้รับความเป็นธรรม พร้อมย้ำ จะไม่เดินทางออกจากประเทศนี้ เพราะประเทศไทยคือบ้านที่ตนรักที่สุด และพร้อมจะเดินทางเชื่อมความสัมพันธ์ทางธุรกิจไทย-อินเดียต่อไป
นอกจาก ศรส.จะใช้วิธีกดดันแนวร่วม กปปส.แล้ว ยังขู่ดำเนินคดีนายทุนหรือท่อน้ำเลี้ยง กปปส.ด้วย โดยนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) บอกว่า ได้เตรียมออกคำสั่งระงับการทำธุรกรรมของท่อน้ำเลี้ยง 136 รายก่อนเรียกเข้าชี้แจง นอกจากนี้ ศรส.ยังมีมติเรียกผู้บริหารโรงแรมดุสิตธานี และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล มาชี้แจงในวันที่ 11 ก.พ.นี้ กรณีให้ที่พักพิงนายสุเทพ และแกนนำ กปปส. หากชี้แจงไม่ได้ จะดำเนินคดีฐานสนับสนุนการกระทำผิดของแกนนำ กปปส.
ทั้งนี้ นอกจากแกนนำ กปปส.และแนวร่วมจะถูกกดดันทุกรูปแบบแล้ว เวทีต่างๆ ของ กปปส.ยังถูกข่มขู่คุกคามด้วยอาวุธปืนและระเบิดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเวทีที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ที่อยู่ในความดูแลของหลวงปู่พุทธะอิสระ โดยถูกคนร้ายยิงระเบิดเอ็ม 79 เข้าใส่หลายครั้งแล้ว ล่าสุดเมื่อช่วงค่ำวันที่ 8 ก.พ. คนร้ายได้ยิงเอ็ม 79 เข้าใส่อีกครั้ง จำนวน 2 นัด ก่อนมีเสียงปืนพกตามมา ทำให้ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เป็นชาย โดย 1 รายอาการสาหัส มีบาดแผลบริเวณลำคอ ทรวงอก และหลัง ส่วนอีกราย มีบาดแผลบริเวณไหล่และขา
3.ชาวนา 3 ภาคสุดทน บุกกรุง-ปักหลักหน้า ก.พาณิชย์ ทวงเงินจำนำข้าว ขณะที่ข้าว อคส.ส่อทุจริต ล่องหนระหว่างขนย้ายกว่า 3 พันตัน!
ความคืบหน้าการชุมนุมประท้วงปิดถนนของชาวนาในจังหวัดต่างๆ ทั่วทุกภาค เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายค่าข้าวในโครงการรับจำนำข้าว 1.3 แสนล้านบาท ขณะที่รัฐบาลพยายามบีบให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้รัฐบาลเพื่อมาจ่ายชาวนา แต่ไม่มีธนาคารใดอยากปล่อยกู้ให้ เนื่องจากโครงการรับจำนำข้าวมีการทุจริตและมีความเสี่ยงสูง ประกอบกับมีกระแสคัดค้านจากประชาชนจำนวนมาก
ซึ่งธนาคารกรุงไทย นับเป็น 1 ในธนาคารที่มีข่าวว่าถูกรัฐบาลบีบให้ปล่อยกู้ 1.3 แสนล้าน หลังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) และธนาออมสินไม่ยอมปล่อยกู้ ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 4 ก.พ. นายวรภัค ธันยาวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกมายืนยันกับพนักงานจำนวนมากที่ออกมาคัดค้านการปล่อยกู้ดังกล่าวว่า “ธนาคารไม่ได้ปล่อยกู้โครงการรับจำนำข้าว และไม่มีวาระประชุมเรื่องนี้ และจะไม่นำเงินฝากไปปล่อยกู้โครงการที่ไม่โปร่งใส ธนาคารยุคใหม่ต้องชัดเจนและซื่อสัตย์ ไม่เป็นเครื่องมือของนักการเมือง”
ด้านนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ออกมาคุยโวเมื่อวันที่ 7 ก.พ.ว่า กระทรวงมีแผนจัดหาแหล่งเงินกู้โครงการรับจำนำข้าว 1.3 แสนล้านบาทอยู่แล้ว แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด เพราะเกรงว่าจะถูกคัดค้านจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยจนแผนที่วางไว้สะดุดอีก ทั้งนี้ มีรายงานว่า กระทรวงการคลังเล็งออกพันธบัตรมาขายเพื่อนำเงินมาจ่ายโครงการรับจำนำข้าว โดยจะให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล-กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) และกองทุนประกันสังคม เป็นผู้ซื้อพันธบัตรดังกล่าว
ส่วนความเคลื่อนไหวของชาวนานั้น เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ชาวนาจากภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือกว่า 2,000 คน นำโดยนายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย ได้นำรถเกี่ยวข้าวเคลื่อนขบวนเข้ากรุง มาปักหลักพักค้างปิดถนนหน้ากระทรวงพาณิชย์ เพื่อกดดันให้รัฐบาลหาเงินมาจ่ายหนี้ชาวนา ขณะที่ชาวนา 5 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย จ.พิจิตร ,นครสวรรค์ ,เพชรบูรณ์ ,กำแพงเพชร และพิษณุโลก ได้เข้าชื่อกว่า 1,000 คน และส่งตัวแทนเดินทางเข้ากรุงเมื่อวันที่ 6 ก.พ. เพื่อมายื่นถวายฎีกาที่สำนักราชเลขาธิการ หลังได้รับความเดือดร้อนจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีชาวนาจาก จ.อ่างทอง ,สิงห์บุรี และชัยนาท ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพื่อเร่งตรวจสอบการจ่ายเงินในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ล่าสุด ได้เกิดความไม่ชอบมาพากลและส่อทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวอีกครั้ง เนื่องจากมีข้าวหายระหว่างการขนย้ายจากโรงสีหนึ่งไปอีกโรงสีหนึ่งจำนวนกว่า 3 พันตัน หรือกว่า 3 ล้านกิโลกรัม โดยเรื่องแดงออกมาเมื่อองค์การคลังสินค้าส่งตัวแทนเข้าแจ้งความต่อตำรวจ สภ.เมืองอุดรธานีเมื่อวันที่ 3 ก.พ. ให้ดำเนินคดีคนร้าย ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นใคร ฐานลักทรัพย์ “ข้าวสารเหนียว”จำนวน 3,478,011 กิโลกรัม ที่อยู่ระหว่างขนย้ายจากบริษัท อุดรประเสริฐผล จำกัด ไปยัง หจก.โรงสีโชควรลักษณ์รุ่งเรืองกิจ จ.ลพบุรี ระหว่างวันที่ 5-26 มี.ค.2556 โดยการขนย้ายข้าวดังกล่าวเป็นไปตามคำสั่งของ อคส.ในโครงการจัดทำข้าวสารถุง เพื่อลดค่าครองชีพผู้บริโภค โดยมอบหมายให้ภาคเอกชน 2 รายรับไปดำเนินการปรับปรุงคุณภาพและบรรจุถุง คือ บริษัท สิงโตทองไรซ์ จำกัด และโรงสีโชควรลักษณ์ฯ
ทั้งนี้ อคส.ตรวจสอบพบว่า ข้าวดังกล่าวมีการขนย้ายจากโรงสีอุดรฯ ที่มีนายยุทธศาสตร์ แสนสวนจิตร เป็นหัวหน้าคลังสินค้าอุดรธานี โดยยืนยันว่า มีการขนย้ายด้วยรถบรรทุก 105 คัน ตามเอกสารใบรับโอนย้าย 105 ใบ แต่ น.ส.โสพิณ จิรายุพงศ์ หัวหน้าคลังสินค้าที่กำลังดูแลโกดังโรงสีโชควรลักษณ์ฯ ยืนยันว่า ไม่เคยมีการขนย้ายข้าวสารเหนียวดังกล่าวมาที่โรงสีโชควรลักษณ์ฯ แต่อย่างใด
4.ป.ป.ช. เปิดบัญชีทรัพย์สิน 491 อดีต ส.ส. พบ “ยิ่งลักษณ์” อู้ฟู่ 575 ล้าน ขณะที่ “สุเทพ” หนี้ท่วม 323 ล้าน!
เมื่อวันที่ 4 ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ ส.ส.หลังพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 8-9 ธ.ค.2556 จำนวน 491 คน ที่น่าสนใจ ได้แก่ พรรคเพื่อไทย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียน และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินประมาณ 575.7 ล้านบาท ,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 178.2 ล้านบาท ,นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีต ส.ส.เชียงใหม่ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 41.5 ล้านบาท ,นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 123.1 ล้านบาท ,นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีต ส.ส.ขอนแก่น มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 1.9 ล้านบาท ,นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 18 ล้านบาท ,น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ มีทรัพย์สินมากว่าหนี้สิน 6.6 ล้านบาท ฯลฯ
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 54.2 ล้านบาท ,นายชวน หลีกภัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 6.2 ล้านบาท ,นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 907.4 ล้านบาท ,คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 1,595.6 ล้านบาท ,นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม. และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 362.1 ล้านบาท ,นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 45,061 บาท , นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 113.8 ล้านบาท โดยมีทรัพย์สินประมาณ 210 ล้านบาท มีหนี้สิน 323.9 ล้านบาท ,นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ อดีต ส.ส.กทม.และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 1,581 ล้านบาท ,นายถาวร เสนเนียม อดีต ส.ส.สงขลา มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 100.9 ล้านบาท ,นายวิทยา แก้วภราดัย อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 20.9 ล้านบาท ,นายอิสสระ สมชัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 15.7 ล้านบาท ,นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีต ส.ส.กทม. และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 83.8 ล้านบาท ,นายชุมพล จุลใส อดีตส.ส.ชุมพร และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 81.5 ล้านบาท ฯลฯ
ส่วนพรรคอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 1,205.8 ล้านบาท ,พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 34.1 ล้านบาท ,ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักษ์สันติ และคู่สมรส มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 363.8 ล้านบาท , นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 280.9 ล้านบาท ฯลฯ
5.เด็ก ป.1 แห้วแท็บเล็ต บ.จีนขอยกเลิกสัญญา อ้างสถานการณ์การเมืองไทยไม่แน่นอน!
เมื่อวันที่ 4 ก.พ. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เผยว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อคอมพิวเตอร์พกพา(แท็บเล็ต) ในโครงการ 1 แท็บเล็ต ต่อ 1 นักเรียน ประจำปีการศึกษา 2556 ได้ทำหนังสือเร่งรัดบริษัท เซินเจิ้น อิงถัง อินเทลลิเจ้นท์ คอนโทรล จำกัด ที่ชนะการประมูลจัดซื้อแท็บเล็ตระดับประถมศึกษาปีที่ 1 โซน 1 (ภาคกลางและภาคใต้) จำนวน 431,105 เครื่อง มูลค่า 842 ล้านบาท และ ป.1 โซน 2 (ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 373,637 เครื่อง มูลค่า 786 ล้านบาท รวมทั้ง 2 โซน เป็นเงิน 1,628 ล้านบาท ให้จัดส่งแท็บเล็ตตามสัญญา ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 30 ม.ค.บริษัท เซินเจิ้นฯ ได้ทำหนังสือแจ้งขอยกเลิกสัญญาซื้อขายแท็บเล็ต โดยอ้างเหตุความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทย ความเข้าใจต่อทีโออาร์และสัญญาไม่ตรงกัน รวมถึงการติดต่อสื่อสารมีปัญหาอุปสรรค กระทั่งบริษัทส่งมอบของล่าช้า และถูกเรียกค่าปรับ
นายจาตุรนต์ เผยด้วยว่า บริษัท เซินเจิ้นฯ สงวนสิทธิที่จะขอคืนหลักประกันตามสัญญาที่ทางบริษัทฯ ได้มอบไว้กับ สพฐ. ด้วยการอุทธรณ์ตามกฎหมาย ขณะที่คณะกรรมการจัดซื้อของ สพฐ.จะพิจารณาเรื่องการริบวงเงินค้ำประกัน 120 ล้านบาท รวมถึงการฟ้องร้องบริษัทฯ ฐานละทิ้งงาน พร้อมเรียกร้องค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการจัดซื้อเดิม สำหรับการประมูลจัดซื้อใหม่จะมีขึ้นตามระเบียบของทางราชการ
ทั้งนี้ นายจาตุรนต์ บอกว่า แม้จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัท เซินเจิ้นฯ ได้ แต่คงไม่คุ้มกับความเสียหายที่เด็กไม่ได้ใช้แท็บเล็ต ดังนั้นจะต้องมีการสรุปบทเรียน และต้องยอมรับว่า การจัดซื้อแท็บเล็ตที่ผ่านมามีปัญหามาก ทั้งทางเทคนิค วิธีการ กระบวนการจัดซื้อ นอกจากนี้ยังมีปัญหาแทรกซ้อน เช่น กรณีที่บริษัทเสนอราคาประมูลต่ำ แต่ทำไม่ได้จริง ซึ่งมีข้อสงสัยว่าแข่งกันจริงหรือไม่ และเมื่อจะยกเลิก ก็ยกเลิกไม่ได้ เหมือนเขาวงกต ตกหลุมดำ แล้วหาทางออกไม่เจอ เมื่อถามว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นใครจะรับผิดชอบ นายจาตุรนต์ รีบออกตัวว่า “คงเป็นเรื่องที่ต้องไปดู แต่เรื่องนี้ดำเนินการไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ เมื่อผมเข้ามาทำงาน กระบวนการต่างๆ ก็ผ่านไปครึ่งทาง จะปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขก็ไม่สามารถทำได้” พร้อมย้ำว่า การจัดซื้อแท็บเล็ตจะต้องดำเนินการต่อไป เพราะเป็นโครงการที่ได้รับมาตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ที่ได้อนุมัติวงเงินไว้แล้ว จึงต้องทำให้ได้ ส่วนจะมีการใช้วิธีจัดซื้อตามที่มีผู้เสนอให้กระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเองหรือไม่นั้น นายจาตุรนต์ บอกว่า ต้องดูมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติไว้ก่อนหน้านี้ว่า ให้ดำเนินการได้หรือไม่ และจะผูกพันไปถึง ครม.ชุดใหม่หรือไม่