เรียน คุณสนธิ และชาวไทยผู้รักความเป็นธรรม เสรีภาพ และสันติ
ผมขออนุญาตคุณสนธิ ไม่แสดงความเห็นเรื่องการเมืองโดยตรง แต่เป็นเรื่องการบ้าน ครอบครัว สังคม (ซึ่งถึงที่สุดแล้ว ผมเห็นว่าสำคัญกว่าเรื่องการเมือง เพราะการเมืองคือผลผลิตของระบบความคิดของคนในสังคม)
คุณระเบียบรัตน์ หรือเจ๊เบียบของคนไทย มีชื่อเสียงขึ้นมาในฐานะสายตรวจเมียน้อย – ภาพโป้แห่งชาติก็ว่าได้ จุดยืนท่านคือไม่ยอมรับชายหลายเมีย ไม่ไกล่เกลี่ยกับหญิงชอบโชว์ คุณระเบียบรัตน์ขึ้นหน้าหนึ่งบ่อยครั้งก็ไม่พ้นเรื่องพวกนี้
เช่นเดียวกับครั้งนี้เจ๊เบียบขึ้นหน้าหนึ่งสองเรื่องซ้อน คือตำหนิคุณเนาวรัตน์ (ผมขอเรียกเจ๊จิ๊ก แล้วกัน) ที่เจ๊จิ๊กไปพูดออกรายการในทำนองเห็นด้วยให้ลูกชายเจ้าชู้ ไม่อยากให้เหนียม อกหักแล้วรับไม่ได้ถึงทำร้ายตัวเอง ส่วนกรณีทาทา เจ๊ท่านรับไม่ได้ที่ทาทาแสดงอาการเหมือนจะมีเพศสัมพันธ์กันบนเวที เพียงแต่ไม่เปลื้องผ้าเท่านั้น (ผมพยายามพูดให้ได้ใจความใกล้เคียงกับเจ๊มากที่สุด แต่ทำยังไงก็พูดได้ไม่เหมือน!)
ผมคงไม่ออกความเห็นหรอกว่าใครควรจะเป็นยังไง เพราะผมคิดว่าเรื่องเพศ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนซับซ้อนเกินไป ที่ทั้งนักจิตวิทยาและศาสนาซึ่งมีภูมิเหนือกว่าผมมากมายยังเถียงกันไม่จบ อีกอย่างเรื่องทำนองชายมีหลายเมีย ชายทำร้ายหญิง หญิงนอกใจชาย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เท่าเทียมกันระหว่างคนรวย คนจน คนชั้นสูง คนชั้นสูงมาก คนจน คนจนมาก คนไม่มีการศึกษา คนมีการศึกษาที่ “เจ๊เบียบ”ห้ามปรามเหมือนทุกคนเป็นเด็กในปกครองท่าน ก็อาจถูกในมุมมองของท่าน ที่ไม่อยากให้อะไรเลยเถิดไปเรื่อยๆ จากสิ่งที่เป็นอยู่
ที่ “เจ๊จิ๊ก” บอกว่าหากผู้ชายไม่เจ้าชู้ (ผู้ชายที่ดี!-ผู้เขียน) เวลาอกหักขึ้นมาอาจฆ่าตัวตาย ก็อาจมีเหตุผลทางจิตวิทยา
“ทาทา” พูดยังไงผมไม่ได้ฟัง แต่ผมเดาว่าเธอคิดว่าเนื้อหนังเป็นของเธอ อารมณ์ความรู้สึกเป็นของเธอ สิ่งที่เธอทำคือความเท่าเทียมในการแสดงออกอย่างแท้จริงระหว่างหญิงและชาย หากเป็นดังนี้ ก็ดูดีในแง่ความเท่าเทียมกันทางเพศ
มุมที่ผมอยากมองและตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องเพศ และครอบครัวคือ
1) การแต่งงาน
- คนไทยส่วนใหญ่ (หรือทุกชาติ) เติบโตทางอารมณ์ คือรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร วัยก่อนแต่งงาน หรือวัยหลังแต่งงาน ?
- ธรรมชาติมนุษย์โอกาสเจอเนื้อคู่ที่เข้ากันได้จากการแต่งงานครั้งแรก มีมากแค่ไหน?
- การแต่งงานครั้งที่สอง สามารถนำความสุขสู่ชีวิตหญิง ชาย มากกว่าครั้งแรก ได้หรือไม่?
- การทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่ง กับแต่งแล้วหย่า และแต่งแล้วอยู่ด้วยกันไม่ได้แต่ก็ไม่หย่าเพราะกลัวอับอายขายหน้า อย่างไหนเป็นความล้มเหลวของชีวิต และสังคมกว่ากัน?
- มีเหตุผลอะไรที่มากกว่า “ทำลายความเป็นไทย” และทำลายความเป็นไทยอย่างไร หากอนุญาตให้ภรรยาสามารถเลือกใช้นามสกุลเดิมของตัวเอง?
- ความไม่เท่าเทียมทางสัญลักษณ์ รวมถึงโอกาสทางสังคม และเศรษฐกิจ ที่เด่นชัดที่สุด คือการที่ผู้หญิงต้องใช้คำว่า “นาง” หลังแต่งงานแล้ว หรือแม้แต่หลังจากหย่า ใช่หรือไม่?
- ทำไมผู้หญิงไทยเองจำนวนมาก จึงต่อต้านให้มีการใช้คำกลางซึ่งไม่บ่งบอกสถานภาพสมรส?
2) การหย่าร้าง
- มีคนจำนวนมากจำต้องอยู่ด้วยกันอย่างทุกข์ระทม ไม่กล้าแยกทางเพราะค่านิยมว่าแต่งงานต้องอยู่ด้วยกันตลอด ค้ำคออยู่ ใช่หรือไม่ ?
- การหย่าร้างในสังคมไทย ความเจ็บปวดอันเกิดจากสายตาคนรอบข้าง หรือความเจ็บปวดจากภายใน มากกว่ากัน?
- ผู้หญิงจำนวนมาก ไม่กล้าแยกทางกับสามี เพราะไม่แน่ใจว่าจะเลี้ยงดูตัวเองและลูกได้อย่างไร ควรมีการบังคับให้ฝ่ายชายต้องส่งเสียเลี้ยงดูลูกซึ่งอยู่กับแม่เหมือนประเทศที่เจริญแล้ว ดีหรือไม่?
- หากผู้ชาย หรือหญิง เป็นฝ่ายนอกใจ ฝ่ายที่ไม่นอกใจควรมีสิทธิ์ในสินสมรสมากกว่าฝ่ายที่นอกใจหรือไม่?
3) การทำร้ายในครอบครัว
- ทำไมการทำร้ายด้วยกำลังระหว่างสามี ภรรยา (ส่วนใหญ่ภรรยาจะทำร้ายสามีมั้ง!) จึงไม่ถือเป็นอาชญากรรม ?
- ทำไมการฆ่าภรรยาโดยวางแผนอย่างดี จึงไม่ต้องติดคุก?
4) ผู้หญิงในละคร
- ทำไมผู้ชายตบตีผู้หญิง จึงยังมีอยู่ในละคร ?
- ทำไมนังแจ๋ว จึงไร้การศึกษา สอดรู้สอดเห็น ขี้อิจฉา อยู่ร่ำไป?
- ทำไมนางเอกต้องดีสมบูรณ์แบบ นางร้ายต้องร้ายสมบูรณ์แบบ ชีวิตผู้หญิงส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้นหรือ?
- หรือว่าละครคือภาพสะท้อนชีวิตจริงที่เรายอมรับว่า “มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง” ?
- แล้วที่เราห้ามภาพกินเหล้า สูบบุหรี่ สิ่งเหล่านี้เลวร้ายกว่าการเหยียดหยามผู้หญิงหรือ?
5) ผู้หญิงแต่งตัวโป๊ (หรือบางทีโป๊ โดยไม่แต่ง!)
- การแต่งตัวโป๊ เป็นประเด็นสำคัญมากน้อยอย่างไร เมื่อเทียบกับประเด็นที่ยกตัวอย่างข้างต้น ?
ประเทศไทยเราเป็นสองนัครา ไม่เฉพาะประชาธิปไตย แต่รวมถึงวัฒนธรรม การบริโภค การทำงาน การใช้เวลา ค่านิยม การเสพข่าวสาร
ฮิวโกบอกว่า “เราสามารถต้านทานกำลังทางทหารได้ แต่เราไม่มีทางต้านทานกำลังของความคิด”ซึ่งผ่านมาทางข้อมูลข่าวสารได้
ผมจึงเห็นว่าการปิดกั้นไม่ได้ผล แต่จะต้องสร้างกฎเกณฑ์ และระบบความคิดที่ถูกต้องให้กับสังคม
ผมเห็นว่าเจ๊เบียบหรือคุณระเบียบรัตน์ คงมีเจตนาดีต่อสังคมที่ออกมาติติง แต่ผมคิดว่าการให้ความสำคัญกับข้อ 1-4 เป็นการส่งเสริมระบบความคิด ค่านิยมที่ถูกต้องต่อเรื่องเพศ และครอบครับ และมีความสำคัญกว่าเน้นย้ำข้อ 5 ซึ่งเป็นเรื่องปลายเหตุของปัญหาทั้งในระดับบุคคล และสังคม
เฝ้ามอง ห่วงใย
จาก เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย
24 เมษายน 2550
ผมขออนุญาตคุณสนธิ ไม่แสดงความเห็นเรื่องการเมืองโดยตรง แต่เป็นเรื่องการบ้าน ครอบครัว สังคม (ซึ่งถึงที่สุดแล้ว ผมเห็นว่าสำคัญกว่าเรื่องการเมือง เพราะการเมืองคือผลผลิตของระบบความคิดของคนในสังคม)
คุณระเบียบรัตน์ หรือเจ๊เบียบของคนไทย มีชื่อเสียงขึ้นมาในฐานะสายตรวจเมียน้อย – ภาพโป้แห่งชาติก็ว่าได้ จุดยืนท่านคือไม่ยอมรับชายหลายเมีย ไม่ไกล่เกลี่ยกับหญิงชอบโชว์ คุณระเบียบรัตน์ขึ้นหน้าหนึ่งบ่อยครั้งก็ไม่พ้นเรื่องพวกนี้
เช่นเดียวกับครั้งนี้เจ๊เบียบขึ้นหน้าหนึ่งสองเรื่องซ้อน คือตำหนิคุณเนาวรัตน์ (ผมขอเรียกเจ๊จิ๊ก แล้วกัน) ที่เจ๊จิ๊กไปพูดออกรายการในทำนองเห็นด้วยให้ลูกชายเจ้าชู้ ไม่อยากให้เหนียม อกหักแล้วรับไม่ได้ถึงทำร้ายตัวเอง ส่วนกรณีทาทา เจ๊ท่านรับไม่ได้ที่ทาทาแสดงอาการเหมือนจะมีเพศสัมพันธ์กันบนเวที เพียงแต่ไม่เปลื้องผ้าเท่านั้น (ผมพยายามพูดให้ได้ใจความใกล้เคียงกับเจ๊มากที่สุด แต่ทำยังไงก็พูดได้ไม่เหมือน!)
ผมคงไม่ออกความเห็นหรอกว่าใครควรจะเป็นยังไง เพราะผมคิดว่าเรื่องเพศ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนซับซ้อนเกินไป ที่ทั้งนักจิตวิทยาและศาสนาซึ่งมีภูมิเหนือกว่าผมมากมายยังเถียงกันไม่จบ อีกอย่างเรื่องทำนองชายมีหลายเมีย ชายทำร้ายหญิง หญิงนอกใจชาย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เท่าเทียมกันระหว่างคนรวย คนจน คนชั้นสูง คนชั้นสูงมาก คนจน คนจนมาก คนไม่มีการศึกษา คนมีการศึกษาที่ “เจ๊เบียบ”ห้ามปรามเหมือนทุกคนเป็นเด็กในปกครองท่าน ก็อาจถูกในมุมมองของท่าน ที่ไม่อยากให้อะไรเลยเถิดไปเรื่อยๆ จากสิ่งที่เป็นอยู่
ที่ “เจ๊จิ๊ก” บอกว่าหากผู้ชายไม่เจ้าชู้ (ผู้ชายที่ดี!-ผู้เขียน) เวลาอกหักขึ้นมาอาจฆ่าตัวตาย ก็อาจมีเหตุผลทางจิตวิทยา
“ทาทา” พูดยังไงผมไม่ได้ฟัง แต่ผมเดาว่าเธอคิดว่าเนื้อหนังเป็นของเธอ อารมณ์ความรู้สึกเป็นของเธอ สิ่งที่เธอทำคือความเท่าเทียมในการแสดงออกอย่างแท้จริงระหว่างหญิงและชาย หากเป็นดังนี้ ก็ดูดีในแง่ความเท่าเทียมกันทางเพศ
มุมที่ผมอยากมองและตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องเพศ และครอบครัวคือ
1) การแต่งงาน
- คนไทยส่วนใหญ่ (หรือทุกชาติ) เติบโตทางอารมณ์ คือรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร วัยก่อนแต่งงาน หรือวัยหลังแต่งงาน ?
- ธรรมชาติมนุษย์โอกาสเจอเนื้อคู่ที่เข้ากันได้จากการแต่งงานครั้งแรก มีมากแค่ไหน?
- การแต่งงานครั้งที่สอง สามารถนำความสุขสู่ชีวิตหญิง ชาย มากกว่าครั้งแรก ได้หรือไม่?
- การทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่ง กับแต่งแล้วหย่า และแต่งแล้วอยู่ด้วยกันไม่ได้แต่ก็ไม่หย่าเพราะกลัวอับอายขายหน้า อย่างไหนเป็นความล้มเหลวของชีวิต และสังคมกว่ากัน?
- มีเหตุผลอะไรที่มากกว่า “ทำลายความเป็นไทย” และทำลายความเป็นไทยอย่างไร หากอนุญาตให้ภรรยาสามารถเลือกใช้นามสกุลเดิมของตัวเอง?
- ความไม่เท่าเทียมทางสัญลักษณ์ รวมถึงโอกาสทางสังคม และเศรษฐกิจ ที่เด่นชัดที่สุด คือการที่ผู้หญิงต้องใช้คำว่า “นาง” หลังแต่งงานแล้ว หรือแม้แต่หลังจากหย่า ใช่หรือไม่?
- ทำไมผู้หญิงไทยเองจำนวนมาก จึงต่อต้านให้มีการใช้คำกลางซึ่งไม่บ่งบอกสถานภาพสมรส?
2) การหย่าร้าง
- มีคนจำนวนมากจำต้องอยู่ด้วยกันอย่างทุกข์ระทม ไม่กล้าแยกทางเพราะค่านิยมว่าแต่งงานต้องอยู่ด้วยกันตลอด ค้ำคออยู่ ใช่หรือไม่ ?
- การหย่าร้างในสังคมไทย ความเจ็บปวดอันเกิดจากสายตาคนรอบข้าง หรือความเจ็บปวดจากภายใน มากกว่ากัน?
- ผู้หญิงจำนวนมาก ไม่กล้าแยกทางกับสามี เพราะไม่แน่ใจว่าจะเลี้ยงดูตัวเองและลูกได้อย่างไร ควรมีการบังคับให้ฝ่ายชายต้องส่งเสียเลี้ยงดูลูกซึ่งอยู่กับแม่เหมือนประเทศที่เจริญแล้ว ดีหรือไม่?
- หากผู้ชาย หรือหญิง เป็นฝ่ายนอกใจ ฝ่ายที่ไม่นอกใจควรมีสิทธิ์ในสินสมรสมากกว่าฝ่ายที่นอกใจหรือไม่?
3) การทำร้ายในครอบครัว
- ทำไมการทำร้ายด้วยกำลังระหว่างสามี ภรรยา (ส่วนใหญ่ภรรยาจะทำร้ายสามีมั้ง!) จึงไม่ถือเป็นอาชญากรรม ?
- ทำไมการฆ่าภรรยาโดยวางแผนอย่างดี จึงไม่ต้องติดคุก?
4) ผู้หญิงในละคร
- ทำไมผู้ชายตบตีผู้หญิง จึงยังมีอยู่ในละคร ?
- ทำไมนังแจ๋ว จึงไร้การศึกษา สอดรู้สอดเห็น ขี้อิจฉา อยู่ร่ำไป?
- ทำไมนางเอกต้องดีสมบูรณ์แบบ นางร้ายต้องร้ายสมบูรณ์แบบ ชีวิตผู้หญิงส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้นหรือ?
- หรือว่าละครคือภาพสะท้อนชีวิตจริงที่เรายอมรับว่า “มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง” ?
- แล้วที่เราห้ามภาพกินเหล้า สูบบุหรี่ สิ่งเหล่านี้เลวร้ายกว่าการเหยียดหยามผู้หญิงหรือ?
5) ผู้หญิงแต่งตัวโป๊ (หรือบางทีโป๊ โดยไม่แต่ง!)
- การแต่งตัวโป๊ เป็นประเด็นสำคัญมากน้อยอย่างไร เมื่อเทียบกับประเด็นที่ยกตัวอย่างข้างต้น ?
ประเทศไทยเราเป็นสองนัครา ไม่เฉพาะประชาธิปไตย แต่รวมถึงวัฒนธรรม การบริโภค การทำงาน การใช้เวลา ค่านิยม การเสพข่าวสาร
ฮิวโกบอกว่า “เราสามารถต้านทานกำลังทางทหารได้ แต่เราไม่มีทางต้านทานกำลังของความคิด”ซึ่งผ่านมาทางข้อมูลข่าวสารได้
ผมจึงเห็นว่าการปิดกั้นไม่ได้ผล แต่จะต้องสร้างกฎเกณฑ์ และระบบความคิดที่ถูกต้องให้กับสังคม
ผมเห็นว่าเจ๊เบียบหรือคุณระเบียบรัตน์ คงมีเจตนาดีต่อสังคมที่ออกมาติติง แต่ผมคิดว่าการให้ความสำคัญกับข้อ 1-4 เป็นการส่งเสริมระบบความคิด ค่านิยมที่ถูกต้องต่อเรื่องเพศ และครอบครับ และมีความสำคัญกว่าเน้นย้ำข้อ 5 ซึ่งเป็นเรื่องปลายเหตุของปัญหาทั้งในระดับบุคคล และสังคม
เฝ้ามอง ห่วงใย
จาก เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย
24 เมษายน 2550