"ขณะนี้ยังมีบุคคลอีกจำนวนมาก ที่มีความตั้งใจจริงมีศรัทธาขวนขวายหาความรู้เป็นวิชาชีพใส่ตน แต่ประสบปัญหาไม่มีความรู้พื้นฐาน และไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาวิชาชีพระดับต่างๆ ได้ หากมีช่องทางช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ให้มีความรู้วิชาชีพที่เขาปรารถนา ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้"
พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
โครงการพระดาบสตามกระแสพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความเป็นมาของโครงการพระดาบส
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำริว่า ขณะนี้ยังมีบุคคลอีกจำนวนมากที่มีความตั้งใจจริง มีศรัทธาขวนขวายหาความรู้เป็นวิชาชีพใส่ตน แต่ประสบปัญหาไม่มีความรู้พื้นฐานและไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอ ที่จะเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาวิชาชีพระดับต่างๆ ได้ หากมีช่องทางช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ให้มีความรู้วิชาชีพที่เขาปรารถนา ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้ ในการช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ได้ ทรงรำลึกถึงวิธีการประสิทธิ์ประสาทวิชาของครูบาอาจารย์ในโบราณกาล เช่น พระดาบส ฯลฯ ว่าในยุคสมัยนั้นผู้ที่ต้องการเป็นลูกศิษย์ของพระดาบส จะต้องเป็นผู้ที่มีความตั้งใจศรัทธาอย่างแท้จริง เพราะพระดาบสนั้นท่านจำศีลภาวนาอยู่ในป่าดงพงไพรกันดาร ผู้ที่จะไปหาต้องขึ้นเขาลงห้วยบุกป่า ฝ่าดงด้วยความลำบากแสนเข็ญ เมื่อไปพบพระดาบสจึงเข้าไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ก่อนที่พระดาบสจะรับตัวเข้าเป็นลูกศิษย์ ท่านจะทดสอบความศรัทธา ความอดทนอีกหลายประการ จนเป็นที่แน่ใจว่า ผู้ที่มาสมัครเป็นลูกศิษย์นั้น มีความตั้งใจอยากได้วิชาจริง ท่านจึงรับเข้าไว้เป็นลูกศิษย์ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ตามที่ท่านถนัด โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่ลูกศิษย์นั้นจะต้องปรนนิบัติรับใช้ เช่น หาผลไม้มาให้ขบฉัน ทำความสะอาดอาศรมกุฏิ ฯลฯ จนกระทั่งลูกศิษย์นั้นมีความรู้เพียงพอ จึงกราบลาพระอาจารย์กลับบ้านกลับเมือง เพื่อนำความรู้ศิลปศาสตร์ที่พระอาจารย์ถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นต่อไป ดังเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ ของไทย เช่น จันทโครพ พระอภัยมณี เป็นต้น จึงทรงคิดดำริตั้ง "โครงการพระดาบส" ขึ้นมาด้วยทุนส่วนพระองค์ จำนวน ๕ ล้านบาท
"หากนำเอาวิธีการประสิทธิ์ภาพประสาทวิชาการของดาบสมาประยุกต์ใช้ โดยจัดเป็นรูปการศึกษานอกระบบแล้ว นอกจากจะช่วยให้ผู้มาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ได้ความรู้เป็นวิชาชีพแล้ว ยังช่วยให้ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีศีลธรรมจรรยา มีน้ำใจ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาสังคมส่วนรวมได้ผลยิ่งขึ้น แต่ในยุคปัจจุบันนี้ป่าธรรมชาติ ที่เป็นที่พำนักอาศัยของดาบสนั้นนับวันจะน้อยลงไป จึงจำเป็นต้องใช้ป่าสังเคราะห์ หรือป่าคอนกรีตเป็นที่ตั้งสำนักพระดาบสแทน"
แนวกระแสพระราชดำริดังกล่าว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้ พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ รับไปดำเนินการทดลองเปิดอบรมวิชาช่างไฟฟ้าวิทยุขึ้นก่อน โดยใช้สถานที่ของสำนักพระราชวัง ณ บ้านเลขที่ ๓๘๔/๓๘๖ ถนนสามแสน ตรงข้ามหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี แล้วเปิดรับบุคคลที่มีความตั้งใจจริงที่จะหาความรู้ใส่ตน โดยไม่จำกัดเพศ อายุ และความรู้ รวมทั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน ที่ผ่านศึก และทุพพลภาพได้เข้าเรียน สำหรับครูหรือพระดาบสอาสาสมัครนั้นจะเป็นผู้มีความรู้ ความศรัทธา อาสาสมัครโดยเสด็จพระราชกุศล และมีคุณลักษณะพิเศษคือ มีความยินดีเสียสละให้ความรู้ของตนเป็นวิทยาทานโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น
การทดลองได้เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยมีผู้เข้าอบรม ๙ คน ในขั้นแรกได้กำหนดระยะเวลาการฝึกอบรมไว้ ๑ ปี ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม จะสามารถซ่อมเครื่องรับวิทยุได้ แต่เมื่อปฏิบัติจริงแล้ว ปรากฏว่าใช้เวลาเพียง ๙ เดือนเท่านั้น ระหว่างการฝึกอบรม นอกจากวิชาช่างไฟฟ้าวิทยุ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแล้ว ยังมีการอบรมศีลธรรมจรรยาและให้เคารพรักครูบาอาจารย์ ชาติ ศาสนา มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เมื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ความเข้าใจทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติพอสมควรแล้ว สำนักงานโครงการฯ ได้เปิดบริการรับซ่อมเครื่องไฟฟ้าวิทยุ และรับงานติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร ภายใต้การควบคุมดูแลของพระดาบส ผู้อบรม เพื่อให้ผู้ที่เข้าอบรมมีความรู้ประสบการณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งเป็นการหารายได้ให้แก่ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมในรูปสหกรณ์
การดำเนินงานตามโครงการนี้ระยะแรกๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สนับสนุนประมาณเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรมตามหลักสูตรแล้ว ได้ทำการทดสอบวัดผล ปรากฎว่าสอบได้ ๗ คน นับได้ว่าได้ผลดีเกินคาด และเป็นไปตามกระแสพระราชดำริทุกประการ เพราะผู้ที่เข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาวิชาชีพต่างๆ บางคนมีปัญหาชีวิตประจำวัน หากปล่อยทิ้งไว้จะเสียคนเป็นปัญหาสังคม เช่น ยาเสพติด เป็นอาชญากร ฯลฯ อย่างแน่นอน แต่เมื่อเข้ารับการฝึกอบรมในโครงการนี้แล้ว สามารถกลับเนื้อกลับตัวได้ จึงเชื่อว่าผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนได้รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ประกอบกับมีศรัทธาที่จะได้รับความรู้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้ตั้งอกตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง นับว่ากระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้บังเกิดเป็นความจริงขึ้นแล้ว
หลังจากเปิดการฝึกอบรมแล้ว ๑ รุ่น และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สำนักงานโครงการฯ จึงได้ทดลองการเปิดอบรมหลักสูตรช่างไฟฟ้าวิทยุชั้นกลางขึ้น ซึ่งผู้สำเร็จการฝึกอบรมจากหลักสูตรนี้ สามารถซ่อมเครื่องรับโทรทัศน์สีและขาวดำได้ การทดลองในหลักสูตรช่างไฟฟ้าวิทยุในชั้นกลาง ปรากฎว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน จึงได้เปิดอบรมรุ่นต่อๆ ไปขึ้น กับได้เปิดการฝึกอบรมหลักสูตรช่างเครื่องยนต์ขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง ต่อมาสำนักงานโครงการฯ ได้พิจารณาเห็นว่า การรับการฝึกอบรมในหลักสูตรช่างไฟฟ้าวิทยุก็ดี ช่างเครื่องยนต์ก็ดี ก่อนที่จะเข้ารับการฝึกอบรม ควรให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมความรู้พื้นฐานทางช่างทั่วไปก่อน จึงได้เปิดการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมช่างขึ้นใช้ระยะเวลา 3 เดือน หลักสูตรนี้นอกจากจะให้ความรู้พื้นฐานทางช่างแล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะทดสอบความตั้งใจ ความศรัทธา อดทนของผู้เข้ารับการอบรม และพระดาบสอาสาสมัครที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมในแต่ละสาขาวิชา จะได้มีโอกาสพิจารณาคัดเลือกลูกศิษย์เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่ตนมีใจรัก และสติปัญญาของตนจะเอื้ออำนวยให้ศิษย์คนใดสติปัญญาไม่อำนวย เฉลียวฉลาดไม่เพียงพอที่จะศึกษาอย่างลึกซึ้งในหลักสูตรที่ค่อนข้างยุ่งยาก และซับซ้อนมีการคิดคำนวณมาก เช่น ช่างวิทยุ พระดาบสก็พิจารณาคัดเลือกให้ไปศึกษาในหลักสูตรที่ไม่ต้องใช้สมองมาก เช่น ช่างเดินสายไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างเชื่อม ช่างเคาะ พ่นสี เป็นต้น
โดยที่ลักษณะงานของโครงการนี้ คล้ายคลึงกับงานมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผนวกโครงการพระดาบสไว้เป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิดังกล่าว ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นการชั่วคราว
เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๒๓ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีคณะกรรมการจัดการทุนโครงการพระดาบสขึ้น โดยมีคุณหญิง วัลลีย์ พงษ์พาณิช เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการดังกล่าวได้ติดต่อประสานงานเชิญชวน และจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อจัดหาเงินและสิ่งของ โดยเฉพาะข้าวสาร โดยเสด็จพระราชกุศล เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือกำกับดูแลโครงการพระดาบสอีกหนทางหนึ่ง
โดยที่การฝึกอบรมตามโครงการนี้ จะได้ผลต่อเมื่อ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้าพักอาศัยในสำนักงานโครงการตลอดการฝึกอบรม ซึ่งเกิดปัญหาสถานที่พักอาศัยไม่เพียงพอ เมื่อปี ๒๕๒๗ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สำนักงานโครงการฯ ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนและหอพักเพิ่มเติมอีก ๑ หลัง โดยใช้เงินของโครงการฯ ในวงเงิน ๑.๘ ล้านบาท เป็นการแก้ไขปัญหา อาคารหลังนี้ได้รับความร่วมมือจากกรมโยธาธิการออกแบบ รายการก่อสร้าง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ให้ความอนุเคราะห์ดำเนินการตามขั้นตอน
นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการตามโครงการพระดาบสมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมในสาขาวิชาการต่างๆ รวม ๓๒๙ คน และปัจจุบันได้เปิดอบรมหลักสูตรต่างๆ รุ่นละประมาณ ๔๐ คน หลักสูตรต่างๆ ที่ได้เปิดดำเนินการไปแล้ว มีดังนี้.
-หลักสูตรเตรียมช่าง จำนวน ๑๗ รุ่น
-หลักสูตรช่างไฟฟ้าวิทยุขั้นต้นและขั้นกลาง จำนวน ๑๗ รุ่น
-หลักสูตรช่างเครื่องยนต์ จำนวน ๑๖ รุ่น
-หลักสูตรพนักงานขับรถยนต์ จำนวน ๑ รุ่น
-หลักสูตรช่างประปาและเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน ๑ รุ่น
นอกจากหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น พระองค์ท่านยังดำริที่จะจัดหลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์ในอนาคตอีกด้วย
การบริการตรวจซ่อม ได้เปิดให้บริการรับตรวจซ่อมเครื่องไฟฟ้าได้แก่ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ พัดลม เตารีดไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์สีและขาวดำ เครื่องขยายเสียง เครื่องเล่นวีดีโอเทป งานติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร งานซ่อมเครื่องยนต์ งานซ่อมรถยนต์ งานช่างโลหะ งานเชื่อม งานเคาะและพ่นสี ฯลฯ และเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ในการทำงานกับเพิ่มรายได้ ให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภายใต้การดูแลของพระดาบส อาจารย์โดยใกล้ชิดเป็นรูปสหกรณ์ ปรากฎว่าได้ผลสมความมุ่งหมาย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้มีบุคคลภายนอกสนใจเรียกใช้บริการดังกล่าวมากถึง ๑,๐๔๑ ราย เงินรายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ได้จัดสรรให้แก่ผู้ได้รับการฝึกอบรมเฉลี่ยตามแรงงาน เงินจำนวนนี้ทางมูลนิธิฯ ได้เก็บรวบรวมไว้ และค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ได้รับประโยชน์เมื่อเสร็จสิ้นการศึกษาแล้ว เพื่อใช้เป็นทุนรวมประกอบอาชีพตั้งตัวต่อไป
ข้อมูล : โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี http://www.princess-it.org/kp9/hmk-IT/hmk-personal.th.html รวบรวมและเรียบเรียงจาก มูลนิธิพระดาบส.โครงการพระดาบส.เอกสารเผยแพร่.
พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
โครงการพระดาบสตามกระแสพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความเป็นมาของโครงการพระดาบส
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำริว่า ขณะนี้ยังมีบุคคลอีกจำนวนมากที่มีความตั้งใจจริง มีศรัทธาขวนขวายหาความรู้เป็นวิชาชีพใส่ตน แต่ประสบปัญหาไม่มีความรู้พื้นฐานและไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอ ที่จะเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาวิชาชีพระดับต่างๆ ได้ หากมีช่องทางช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ให้มีความรู้วิชาชีพที่เขาปรารถนา ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้ ในการช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ได้ ทรงรำลึกถึงวิธีการประสิทธิ์ประสาทวิชาของครูบาอาจารย์ในโบราณกาล เช่น พระดาบส ฯลฯ ว่าในยุคสมัยนั้นผู้ที่ต้องการเป็นลูกศิษย์ของพระดาบส จะต้องเป็นผู้ที่มีความตั้งใจศรัทธาอย่างแท้จริง เพราะพระดาบสนั้นท่านจำศีลภาวนาอยู่ในป่าดงพงไพรกันดาร ผู้ที่จะไปหาต้องขึ้นเขาลงห้วยบุกป่า ฝ่าดงด้วยความลำบากแสนเข็ญ เมื่อไปพบพระดาบสจึงเข้าไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ก่อนที่พระดาบสจะรับตัวเข้าเป็นลูกศิษย์ ท่านจะทดสอบความศรัทธา ความอดทนอีกหลายประการ จนเป็นที่แน่ใจว่า ผู้ที่มาสมัครเป็นลูกศิษย์นั้น มีความตั้งใจอยากได้วิชาจริง ท่านจึงรับเข้าไว้เป็นลูกศิษย์ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ตามที่ท่านถนัด โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่ลูกศิษย์นั้นจะต้องปรนนิบัติรับใช้ เช่น หาผลไม้มาให้ขบฉัน ทำความสะอาดอาศรมกุฏิ ฯลฯ จนกระทั่งลูกศิษย์นั้นมีความรู้เพียงพอ จึงกราบลาพระอาจารย์กลับบ้านกลับเมือง เพื่อนำความรู้ศิลปศาสตร์ที่พระอาจารย์ถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นต่อไป ดังเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ ของไทย เช่น จันทโครพ พระอภัยมณี เป็นต้น จึงทรงคิดดำริตั้ง "โครงการพระดาบส" ขึ้นมาด้วยทุนส่วนพระองค์ จำนวน ๕ ล้านบาท
"หากนำเอาวิธีการประสิทธิ์ภาพประสาทวิชาการของดาบสมาประยุกต์ใช้ โดยจัดเป็นรูปการศึกษานอกระบบแล้ว นอกจากจะช่วยให้ผู้มาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ได้ความรู้เป็นวิชาชีพแล้ว ยังช่วยให้ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีศีลธรรมจรรยา มีน้ำใจ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาสังคมส่วนรวมได้ผลยิ่งขึ้น แต่ในยุคปัจจุบันนี้ป่าธรรมชาติ ที่เป็นที่พำนักอาศัยของดาบสนั้นนับวันจะน้อยลงไป จึงจำเป็นต้องใช้ป่าสังเคราะห์ หรือป่าคอนกรีตเป็นที่ตั้งสำนักพระดาบสแทน"
แนวกระแสพระราชดำริดังกล่าว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้ พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ รับไปดำเนินการทดลองเปิดอบรมวิชาช่างไฟฟ้าวิทยุขึ้นก่อน โดยใช้สถานที่ของสำนักพระราชวัง ณ บ้านเลขที่ ๓๘๔/๓๘๖ ถนนสามแสน ตรงข้ามหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี แล้วเปิดรับบุคคลที่มีความตั้งใจจริงที่จะหาความรู้ใส่ตน โดยไม่จำกัดเพศ อายุ และความรู้ รวมทั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน ที่ผ่านศึก และทุพพลภาพได้เข้าเรียน สำหรับครูหรือพระดาบสอาสาสมัครนั้นจะเป็นผู้มีความรู้ ความศรัทธา อาสาสมัครโดยเสด็จพระราชกุศล และมีคุณลักษณะพิเศษคือ มีความยินดีเสียสละให้ความรู้ของตนเป็นวิทยาทานโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น
การทดลองได้เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยมีผู้เข้าอบรม ๙ คน ในขั้นแรกได้กำหนดระยะเวลาการฝึกอบรมไว้ ๑ ปี ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม จะสามารถซ่อมเครื่องรับวิทยุได้ แต่เมื่อปฏิบัติจริงแล้ว ปรากฏว่าใช้เวลาเพียง ๙ เดือนเท่านั้น ระหว่างการฝึกอบรม นอกจากวิชาช่างไฟฟ้าวิทยุ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแล้ว ยังมีการอบรมศีลธรรมจรรยาและให้เคารพรักครูบาอาจารย์ ชาติ ศาสนา มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เมื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ความเข้าใจทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติพอสมควรแล้ว สำนักงานโครงการฯ ได้เปิดบริการรับซ่อมเครื่องไฟฟ้าวิทยุ และรับงานติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร ภายใต้การควบคุมดูแลของพระดาบส ผู้อบรม เพื่อให้ผู้ที่เข้าอบรมมีความรู้ประสบการณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งเป็นการหารายได้ให้แก่ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมในรูปสหกรณ์
การดำเนินงานตามโครงการนี้ระยะแรกๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สนับสนุนประมาณเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรมตามหลักสูตรแล้ว ได้ทำการทดสอบวัดผล ปรากฎว่าสอบได้ ๗ คน นับได้ว่าได้ผลดีเกินคาด และเป็นไปตามกระแสพระราชดำริทุกประการ เพราะผู้ที่เข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาวิชาชีพต่างๆ บางคนมีปัญหาชีวิตประจำวัน หากปล่อยทิ้งไว้จะเสียคนเป็นปัญหาสังคม เช่น ยาเสพติด เป็นอาชญากร ฯลฯ อย่างแน่นอน แต่เมื่อเข้ารับการฝึกอบรมในโครงการนี้แล้ว สามารถกลับเนื้อกลับตัวได้ จึงเชื่อว่าผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนได้รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ประกอบกับมีศรัทธาที่จะได้รับความรู้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้ตั้งอกตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง นับว่ากระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้บังเกิดเป็นความจริงขึ้นแล้ว
หลังจากเปิดการฝึกอบรมแล้ว ๑ รุ่น และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สำนักงานโครงการฯ จึงได้ทดลองการเปิดอบรมหลักสูตรช่างไฟฟ้าวิทยุชั้นกลางขึ้น ซึ่งผู้สำเร็จการฝึกอบรมจากหลักสูตรนี้ สามารถซ่อมเครื่องรับโทรทัศน์สีและขาวดำได้ การทดลองในหลักสูตรช่างไฟฟ้าวิทยุในชั้นกลาง ปรากฎว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน จึงได้เปิดอบรมรุ่นต่อๆ ไปขึ้น กับได้เปิดการฝึกอบรมหลักสูตรช่างเครื่องยนต์ขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง ต่อมาสำนักงานโครงการฯ ได้พิจารณาเห็นว่า การรับการฝึกอบรมในหลักสูตรช่างไฟฟ้าวิทยุก็ดี ช่างเครื่องยนต์ก็ดี ก่อนที่จะเข้ารับการฝึกอบรม ควรให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมความรู้พื้นฐานทางช่างทั่วไปก่อน จึงได้เปิดการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมช่างขึ้นใช้ระยะเวลา 3 เดือน หลักสูตรนี้นอกจากจะให้ความรู้พื้นฐานทางช่างแล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะทดสอบความตั้งใจ ความศรัทธา อดทนของผู้เข้ารับการอบรม และพระดาบสอาสาสมัครที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมในแต่ละสาขาวิชา จะได้มีโอกาสพิจารณาคัดเลือกลูกศิษย์เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่ตนมีใจรัก และสติปัญญาของตนจะเอื้ออำนวยให้ศิษย์คนใดสติปัญญาไม่อำนวย เฉลียวฉลาดไม่เพียงพอที่จะศึกษาอย่างลึกซึ้งในหลักสูตรที่ค่อนข้างยุ่งยาก และซับซ้อนมีการคิดคำนวณมาก เช่น ช่างวิทยุ พระดาบสก็พิจารณาคัดเลือกให้ไปศึกษาในหลักสูตรที่ไม่ต้องใช้สมองมาก เช่น ช่างเดินสายไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างเชื่อม ช่างเคาะ พ่นสี เป็นต้น
โดยที่ลักษณะงานของโครงการนี้ คล้ายคลึงกับงานมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผนวกโครงการพระดาบสไว้เป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิดังกล่าว ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นการชั่วคราว
เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๒๓ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีคณะกรรมการจัดการทุนโครงการพระดาบสขึ้น โดยมีคุณหญิง วัลลีย์ พงษ์พาณิช เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการดังกล่าวได้ติดต่อประสานงานเชิญชวน และจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อจัดหาเงินและสิ่งของ โดยเฉพาะข้าวสาร โดยเสด็จพระราชกุศล เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือกำกับดูแลโครงการพระดาบสอีกหนทางหนึ่ง
โดยที่การฝึกอบรมตามโครงการนี้ จะได้ผลต่อเมื่อ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้าพักอาศัยในสำนักงานโครงการตลอดการฝึกอบรม ซึ่งเกิดปัญหาสถานที่พักอาศัยไม่เพียงพอ เมื่อปี ๒๕๒๗ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สำนักงานโครงการฯ ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนและหอพักเพิ่มเติมอีก ๑ หลัง โดยใช้เงินของโครงการฯ ในวงเงิน ๑.๘ ล้านบาท เป็นการแก้ไขปัญหา อาคารหลังนี้ได้รับความร่วมมือจากกรมโยธาธิการออกแบบ รายการก่อสร้าง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ให้ความอนุเคราะห์ดำเนินการตามขั้นตอน
นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการตามโครงการพระดาบสมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมในสาขาวิชาการต่างๆ รวม ๓๒๙ คน และปัจจุบันได้เปิดอบรมหลักสูตรต่างๆ รุ่นละประมาณ ๔๐ คน หลักสูตรต่างๆ ที่ได้เปิดดำเนินการไปแล้ว มีดังนี้.
-หลักสูตรเตรียมช่าง จำนวน ๑๗ รุ่น
-หลักสูตรช่างไฟฟ้าวิทยุขั้นต้นและขั้นกลาง จำนวน ๑๗ รุ่น
-หลักสูตรช่างเครื่องยนต์ จำนวน ๑๖ รุ่น
-หลักสูตรพนักงานขับรถยนต์ จำนวน ๑ รุ่น
-หลักสูตรช่างประปาและเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน ๑ รุ่น
นอกจากหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น พระองค์ท่านยังดำริที่จะจัดหลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์ในอนาคตอีกด้วย
การบริการตรวจซ่อม ได้เปิดให้บริการรับตรวจซ่อมเครื่องไฟฟ้าได้แก่ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ พัดลม เตารีดไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์สีและขาวดำ เครื่องขยายเสียง เครื่องเล่นวีดีโอเทป งานติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร งานซ่อมเครื่องยนต์ งานซ่อมรถยนต์ งานช่างโลหะ งานเชื่อม งานเคาะและพ่นสี ฯลฯ และเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ในการทำงานกับเพิ่มรายได้ ให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภายใต้การดูแลของพระดาบส อาจารย์โดยใกล้ชิดเป็นรูปสหกรณ์ ปรากฎว่าได้ผลสมความมุ่งหมาย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้มีบุคคลภายนอกสนใจเรียกใช้บริการดังกล่าวมากถึง ๑,๐๔๑ ราย เงินรายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ได้จัดสรรให้แก่ผู้ได้รับการฝึกอบรมเฉลี่ยตามแรงงาน เงินจำนวนนี้ทางมูลนิธิฯ ได้เก็บรวบรวมไว้ และค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ได้รับประโยชน์เมื่อเสร็จสิ้นการศึกษาแล้ว เพื่อใช้เป็นทุนรวมประกอบอาชีพตั้งตัวต่อไป
ข้อมูล : โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี http://www.princess-it.org/kp9/hmk-IT/hmk-personal.th.html รวบรวมและเรียบเรียงจาก มูลนิธิพระดาบส.โครงการพระดาบส.เอกสารเผยแพร่.