“ทนง พิทยะ” สั่งเติมภูมิคุ้มกันสถาบันการเงิน เพิ่มความเชื่อมั่นระบบแบงก์พาณิชย์ไทย-รองรับบาเซิล 2 เกณฑ์ใหม่ของประเทศตะวันตก ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์เข้มแข็งมากขึ้น ที่จะมีผลบังตับอีก 3-4 ปีข้างหน้า
นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าเขาได้สั่งการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เร่งยกร่างระเบียบ เพื่อให้สถาบันการเงินทุกแห่งมีระบบดำเนินงานรอบคอบ เพื่อเป็นพรูเดนท์ แบงกิง (Prudent banking) เช่นเดียวกับสถาบันการเงินประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐ หรือยุโรป ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดอันดับผลดำเนินงาน และความน่าเชื่อถือ ในสายตาสาธารณะ และผู้กำกับดูแลอย่าง ธปท.
การยกร่างระเบียบดังกล่าว เขากล่าวว่าอาจไม่ใช่เกณฑ์ใช้บังคับ แต่ใช้เป็นเกณฑ์ปฏิบัติ เกณฑ์มาตรฐานเป็นพรูเดนท์ แบงกิง ควรคำนึงถึง 4 ด้าน คือ มาตรฐานเงินกองทุน การดำรงสินทรัพย์ การจัดการปัญหาหนี้เสีย การบริหารจัดการองค์กร เป็นต้น
เขายืนยันว่ามาตรฐานเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวทางดำเนินการตามบาเซิล 2 เกณฑ์ใหม่ของประเทศตะวันตก ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์เข้มแข็งมากขึ้นขณะที่หลักเกณฑ์ บาเซิล 2 จะมีผลบังคับใช้อีก 3-4 ปีข้างหน้า
ปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์ยังให้ความสำคัญมูลค่าสินทรัพย์ค้ำประกันมูลหนี้ มากกว่า กระแสเงินสดเงินหมุนเวียน ทำให้ธนาคารพาณิชย์ยังกอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่ยังมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยไม่แก้ปัญหาจริงจัง จนกว่าหลักทรัพย์ค้ำประกันจะต่ำกว่ามูลหนี้
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังนิยมปล่อยเงินกู้ให้ลูกค้าที่ชอบเรียกร้องหลักทรัพย์ ค้ำประกัน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกระแสเงินสดหมุนเวียนของลูกค้า ทั้งที่ลูกค้าบางราย อาจมีผลิตภัณฑ์ หรือโครงการที่ดี ที่สร้างเงินสดหมุนเวียนได้อนาคต แต่อาจขาดหลักทรัพย์ค้ำประกันเพียงพอ จึงทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยเงินกู้ให้
นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าเขาได้สั่งการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เร่งยกร่างระเบียบ เพื่อให้สถาบันการเงินทุกแห่งมีระบบดำเนินงานรอบคอบ เพื่อเป็นพรูเดนท์ แบงกิง (Prudent banking) เช่นเดียวกับสถาบันการเงินประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐ หรือยุโรป ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดอันดับผลดำเนินงาน และความน่าเชื่อถือ ในสายตาสาธารณะ และผู้กำกับดูแลอย่าง ธปท.
การยกร่างระเบียบดังกล่าว เขากล่าวว่าอาจไม่ใช่เกณฑ์ใช้บังคับ แต่ใช้เป็นเกณฑ์ปฏิบัติ เกณฑ์มาตรฐานเป็นพรูเดนท์ แบงกิง ควรคำนึงถึง 4 ด้าน คือ มาตรฐานเงินกองทุน การดำรงสินทรัพย์ การจัดการปัญหาหนี้เสีย การบริหารจัดการองค์กร เป็นต้น
เขายืนยันว่ามาตรฐานเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวทางดำเนินการตามบาเซิล 2 เกณฑ์ใหม่ของประเทศตะวันตก ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์เข้มแข็งมากขึ้นขณะที่หลักเกณฑ์ บาเซิล 2 จะมีผลบังคับใช้อีก 3-4 ปีข้างหน้า
ปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์ยังให้ความสำคัญมูลค่าสินทรัพย์ค้ำประกันมูลหนี้ มากกว่า กระแสเงินสดเงินหมุนเวียน ทำให้ธนาคารพาณิชย์ยังกอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่ยังมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยไม่แก้ปัญหาจริงจัง จนกว่าหลักทรัพย์ค้ำประกันจะต่ำกว่ามูลหนี้
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังนิยมปล่อยเงินกู้ให้ลูกค้าที่ชอบเรียกร้องหลักทรัพย์ ค้ำประกัน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกระแสเงินสดหมุนเวียนของลูกค้า ทั้งที่ลูกค้าบางราย อาจมีผลิตภัณฑ์ หรือโครงการที่ดี ที่สร้างเงินสดหมุนเวียนได้อนาคต แต่อาจขาดหลักทรัพย์ค้ำประกันเพียงพอ จึงทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยเงินกู้ให้