นักสิทธิมนุษยชน - ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสนับสนุนโครงการช่วยเหลือชายติดเชื้อเอดส์ให้มีลูก ด้วยการล้างอสุจิแล้วนำไปผสมเทียม ระบุคนติดเอดส์ยังอยู่เลี้ยงลูกได้นับสิบปี ขณะที่แพทย์ห่วงกระแสสังคมไม่ยอมรับให้คนติดเอดส์มีลูก ส่วนการล้างสเปิร์มยังไม่ปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์
ศ.นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวเปิดเสวนาเรื่อง "ความพร้อมของสังคมไทยกับการที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยากมีลูก" จัดโดยศูนย์วิจัยโรคเอดส์ฯ และศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ที่อาคาร อปร.จุฬาฯ วันนี้ (15 ส.ค.) ว่าศูนย์วิจัยโรคเอดส์ฯ จัดโครงการช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีในคู่สมรสที่สามีติดเชื้อแต่ภรรยาไม่ติดเชื้อเอชไอวีขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการรักษาผู้ติดเชื้อมีความก้าวหน้า ยืนยันว่า โรคเอดส์เป็นโรคที่รักษาได้ แต่ไม่หายขาด ต้องรับประทานยาตลอดชีวิตเหมือนกับคนที่เป็นเบาหวาน เมื่อผู้ติดเชื้อได้รับยาต้านไวรัสหลายชนิดร่วมกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงสม่ำเสมอ ช่วยให้มีอายุยืนยาวมากกว่า 20 ปี อีกทั้งอัตราการถ่ายทอดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกในปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ 1 ทำให้คู่สมรสที่ติดเชื้อส่วนหนึ่งต้องการที่จะมีลูก
โครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอสด์จากสามีสู่ภรรยา โดยคาดว่าจะนำร่องเปิดโครงการได้ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้านี้ ที่ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ดำเนินการร่วมกับภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นแนวทางหนึ่งในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ย่อมมีทั้งคนเห็นด้วยและคัดค้าน จึงเปิดเวทีเสวนาขึ้น ทั้งนี้หน้าที่ของแพทย์คือการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน ช่วยให้คู่สมรสมีลูกอย่างปลอดภัย
รศ.นพ.สุรสิทธิ์ ชัยทองวงศ์วัฒนา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าโครงการนี้จะช่วยให้สามีที่ติดเชื้อเอดส์สามารถมีลูกได้ด้วยการผสมเทียมในกรณีที่ฝ่ายหญิงไม่ติดเชื้อ โดยนำเชื้ออสุจิของเพศชายผ่านกระบวนการล้างด้วยน้ำยาเปอร์คอลและอีกหลายชนิด เป็นน้ำยาที่ใช้ล้างอสุจิในรายที่มีบุตรยากอยู่แล้ว เพื่อกำจัดเชื้อไวรัสออกจากเปลือกอสุจิ ได้อสุจิที่แข็งแรงนำมาตรวจหาเชื้อเอชไอวีด้วยวิธีพีซีอาร์ เมื่อตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวีจึงฉีดเข้าโพรงมดลูกของภรรยาในช่วงที่ไข่ตกเพื่อผสมกับไข่ ช่วยเจริญพันธุ์
อย่างไรก็ตาม แม้ตรวจไม่พบเชื้อด้วยวิธีพีซีอาร์ดังกล่าว ตามหลักทฤษฎีภรรยาที่ได้รับการผสมเทียมยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์ ผู้หญิงที่รับการผสมเทียมด้วยกระบวนการต้องได้รับการติดตามและดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด มีการตรวจเลือดเป็นระยะๆ
เกณฑ์การคัดเลือกผู้มาใช้บริการคือ สามีติดเชื้อเอชไอวีแต่ภรรยาไม่ติด เป็นคู่สมรสที่มีอาชีพมั่นคง มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กัน สามีมีปริมาณซีดี 4 มากกว่า 200 เซลล์ ไม่มีโรคแทรกซ้อน ภรรยาไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอดส์ด้านอื่นๆ เข้าใจข้อมูลต่างๆ อย่างถ่องแท้ และเมื่อล้างอสุจิแล้วไม่พบเชื้อไวรัสด้วยวิธีพีซีอาร์จึงจะผสมเทียมให้
“ที่ยุโรปมีการวิจัยกระบวนการล้างอสุจิผสมเทียมให้ผู้หญิง 3,000 คน มีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 10-20 แต่ไม่พบผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ก็ยังมีความเสี่ยง ข้อจำกัดคือค่าใช้จ่ายสูง การผสมเทียมแต่ละครั้งใช้เงิน 5,000-10,000 บาท ขณะที่กระแสสังคมที่ยังเห็นว่าผู้ติดเชื้อไม่ควรแต่งงาน ไม่ควรมีลูก” รศ.นพ.สุรสิทธิ์กล่าว
ด้าน ศ.กิติคุณ น.พ.ประมวล วีรุตมเสน อดีตเลขาธิการแพทยสภากล่าวว่า ประเด็นนี้ควรมอง 3 ด้าน คือ 1.ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อมีลูกได้ 2.นโยบายของรัฐบาลสนับสนุนหรือไม่ เพราะต้องใช้เงินภาษีของประเทศในจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วย 3.ผู้ใช้บริการยอมรับเทคโนโลยีนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตามต้องคุยกับผู้รับบริการให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ตนไม่เชื่อว่าทุกโรงพยาบาลจะให้บริการล้างเชื้ออสุจิได้เหมือนกันหมด สิ่งสำคัญสูงสุดที่ต้องตระหนักคือความปลอดภัย คือภรรยาและลูกปลอดภัย ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่ม เกิดมาแล้วต้องมีคนเลี้ยงดู พ่อแม่จะอายุยืนยาวพอที่จะเลี้ยงดูลูกหรือไม่
ขณะที่นายกมล อุปแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ประเทศไทย กล่าวว่า ในฐานะผู้ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเพิ่งจะมีลูกอายุได้ 11 เดือน ถือว่าโครงการนี้ทำให้ผู้ติดเชื้อมีความหวังมากขึ้น จากการที่ได้รับประทานยาต้านไวรัสทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่อยากแต่งงานมีลูก สิ่งที่สังคมควรเปลี่ยนทัศนคติ คือเป็นโรคเอดส์แล้วตายอย่างเดียว ทั้งที่โรคนี้รักษาได้ตามภาวะที่ปรากฏ ซึ่งเมื่อตนได้รับประทานยาต้านไวรัสมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เชื่อมั่นว่าจะกลับเข้าสู่ระบบการทำงานได้เหมือนคนทั่วไป ตนน่าจะมีอายุยืนยาวอีกกว่า 20 ปี นั่นแสดงว่ามีโอกาสเลี้ยงดูลูกโตจนอายุ 15 ปี ให้ความรักความอบอุ่น รวมทั้งการศึกษากับลูกได้
นายสมชาย หอมละออ ตัวแทนานจากสภาทนายความ กล่าวว่า ความต้องการมีลูกเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนที่ต้องการสร้างครอบครัว มีบัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 80 ตนเห็นด้วยกับการล้างอสุจิช่วยผู้ติดเชื้อให้มีลูกได้ แต่ตามข้อกำหนดระบุว่าต้องมีอาชีพที่มั่นคง แล้วในส่วนของคนจนที่ติดเชื้อเอชไอวีและต้องการมีบุตรจะได้รับบริการนี้หรือไม่ อยากให้มองคนส่วนนี้ด้วย ซึ่งรัฐต้องเข้ามาสนับสนุน
นายนิมิตร์ เทียนอุดม กล่าวว่า การมองว่าผู้ติดเชื้อเอดส์มีความเสี่ยงสูงนั้นเป็นการมองอย่างมีอคติ ความจริงทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยกันทั้งนั้น เช่น คนที่ไม่ติดเชื้อแต่ทำงานดึก นอนตื่นเช้า เมาแล้วขับ ดังนั้นไม่ควรมีการตั้งคำถามว่าใครควรมีลูก ควรแต่งงานหรือไม่
การเสวนาครั้งนี้มีผู้แสดงความคิดอย่างหลากหลาย รศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ หัวหน้าหน่วยผู้มีบุตรยากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ยกตัวอย่างงานวิจัยที่นำเสนอในวารสารการเจริญพันธุ์ ระบุว่าการให้ข้อมูลว่าล้างอสุจิตรวจด้วยวิธีพีซีอาร์ เมื่อไม่พบเชื้อเอชไอวีจะมีความปลอดภัยนั้นเป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะการตรวจด้วยพีซีอาร์จะไม่พบเชื้อเอชไอวีในการตรวจครั้งที่ 1-3 แต่เมื่อตรวจครั้งที่ 4 ส่วนใหญ่จะพบเชื้อ
อีกทั้งในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครตรวจซ้ำ อีกทั้งความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีภายหลังผ่านกระบวนการล้างอสุจิยังขึ้นกับปริมาณไวรัสในกระแสเลือดหรือไวรัลโหลดด้วย พบว่าผู้ที่มีไวรัลโหลด 1 แสนเซลล์มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี 2 ใน 12 คน หากมี 1 ล้านเซลล์มีความเสี่ยงติดเชื้อ 8 ใน 12 คน ถ้ามีไวรัลโหลด 3 ล้านเซลล์ มีความเสี่ยงติดเชื้อ 10 ใน 12 คน ดังนั้นโครงการนี้ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้รับบริการเป็นลำดับแรก
ศ.นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวเปิดเสวนาเรื่อง "ความพร้อมของสังคมไทยกับการที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยากมีลูก" จัดโดยศูนย์วิจัยโรคเอดส์ฯ และศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ที่อาคาร อปร.จุฬาฯ วันนี้ (15 ส.ค.) ว่าศูนย์วิจัยโรคเอดส์ฯ จัดโครงการช่วยการเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีในคู่สมรสที่สามีติดเชื้อแต่ภรรยาไม่ติดเชื้อเอชไอวีขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการรักษาผู้ติดเชื้อมีความก้าวหน้า ยืนยันว่า โรคเอดส์เป็นโรคที่รักษาได้ แต่ไม่หายขาด ต้องรับประทานยาตลอดชีวิตเหมือนกับคนที่เป็นเบาหวาน เมื่อผู้ติดเชื้อได้รับยาต้านไวรัสหลายชนิดร่วมกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงสม่ำเสมอ ช่วยให้มีอายุยืนยาวมากกว่า 20 ปี อีกทั้งอัตราการถ่ายทอดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกในปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ 1 ทำให้คู่สมรสที่ติดเชื้อส่วนหนึ่งต้องการที่จะมีลูก
โครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอสด์จากสามีสู่ภรรยา โดยคาดว่าจะนำร่องเปิดโครงการได้ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้านี้ ที่ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ดำเนินการร่วมกับภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นแนวทางหนึ่งในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ย่อมมีทั้งคนเห็นด้วยและคัดค้าน จึงเปิดเวทีเสวนาขึ้น ทั้งนี้หน้าที่ของแพทย์คือการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน ช่วยให้คู่สมรสมีลูกอย่างปลอดภัย
รศ.นพ.สุรสิทธิ์ ชัยทองวงศ์วัฒนา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าโครงการนี้จะช่วยให้สามีที่ติดเชื้อเอดส์สามารถมีลูกได้ด้วยการผสมเทียมในกรณีที่ฝ่ายหญิงไม่ติดเชื้อ โดยนำเชื้ออสุจิของเพศชายผ่านกระบวนการล้างด้วยน้ำยาเปอร์คอลและอีกหลายชนิด เป็นน้ำยาที่ใช้ล้างอสุจิในรายที่มีบุตรยากอยู่แล้ว เพื่อกำจัดเชื้อไวรัสออกจากเปลือกอสุจิ ได้อสุจิที่แข็งแรงนำมาตรวจหาเชื้อเอชไอวีด้วยวิธีพีซีอาร์ เมื่อตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวีจึงฉีดเข้าโพรงมดลูกของภรรยาในช่วงที่ไข่ตกเพื่อผสมกับไข่ ช่วยเจริญพันธุ์
อย่างไรก็ตาม แม้ตรวจไม่พบเชื้อด้วยวิธีพีซีอาร์ดังกล่าว ตามหลักทฤษฎีภรรยาที่ได้รับการผสมเทียมยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์ ผู้หญิงที่รับการผสมเทียมด้วยกระบวนการต้องได้รับการติดตามและดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด มีการตรวจเลือดเป็นระยะๆ
เกณฑ์การคัดเลือกผู้มาใช้บริการคือ สามีติดเชื้อเอชไอวีแต่ภรรยาไม่ติด เป็นคู่สมรสที่มีอาชีพมั่นคง มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กัน สามีมีปริมาณซีดี 4 มากกว่า 200 เซลล์ ไม่มีโรคแทรกซ้อน ภรรยาไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอดส์ด้านอื่นๆ เข้าใจข้อมูลต่างๆ อย่างถ่องแท้ และเมื่อล้างอสุจิแล้วไม่พบเชื้อไวรัสด้วยวิธีพีซีอาร์จึงจะผสมเทียมให้
“ที่ยุโรปมีการวิจัยกระบวนการล้างอสุจิผสมเทียมให้ผู้หญิง 3,000 คน มีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 10-20 แต่ไม่พบผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ก็ยังมีความเสี่ยง ข้อจำกัดคือค่าใช้จ่ายสูง การผสมเทียมแต่ละครั้งใช้เงิน 5,000-10,000 บาท ขณะที่กระแสสังคมที่ยังเห็นว่าผู้ติดเชื้อไม่ควรแต่งงาน ไม่ควรมีลูก” รศ.นพ.สุรสิทธิ์กล่าว
ด้าน ศ.กิติคุณ น.พ.ประมวล วีรุตมเสน อดีตเลขาธิการแพทยสภากล่าวว่า ประเด็นนี้ควรมอง 3 ด้าน คือ 1.ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อมีลูกได้ 2.นโยบายของรัฐบาลสนับสนุนหรือไม่ เพราะต้องใช้เงินภาษีของประเทศในจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วย 3.ผู้ใช้บริการยอมรับเทคโนโลยีนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตามต้องคุยกับผู้รับบริการให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ตนไม่เชื่อว่าทุกโรงพยาบาลจะให้บริการล้างเชื้ออสุจิได้เหมือนกันหมด สิ่งสำคัญสูงสุดที่ต้องตระหนักคือความปลอดภัย คือภรรยาและลูกปลอดภัย ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่ม เกิดมาแล้วต้องมีคนเลี้ยงดู พ่อแม่จะอายุยืนยาวพอที่จะเลี้ยงดูลูกหรือไม่
ขณะที่นายกมล อุปแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ประเทศไทย กล่าวว่า ในฐานะผู้ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเพิ่งจะมีลูกอายุได้ 11 เดือน ถือว่าโครงการนี้ทำให้ผู้ติดเชื้อมีความหวังมากขึ้น จากการที่ได้รับประทานยาต้านไวรัสทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่อยากแต่งงานมีลูก สิ่งที่สังคมควรเปลี่ยนทัศนคติ คือเป็นโรคเอดส์แล้วตายอย่างเดียว ทั้งที่โรคนี้รักษาได้ตามภาวะที่ปรากฏ ซึ่งเมื่อตนได้รับประทานยาต้านไวรัสมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เชื่อมั่นว่าจะกลับเข้าสู่ระบบการทำงานได้เหมือนคนทั่วไป ตนน่าจะมีอายุยืนยาวอีกกว่า 20 ปี นั่นแสดงว่ามีโอกาสเลี้ยงดูลูกโตจนอายุ 15 ปี ให้ความรักความอบอุ่น รวมทั้งการศึกษากับลูกได้
นายสมชาย หอมละออ ตัวแทนานจากสภาทนายความ กล่าวว่า ความต้องการมีลูกเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนที่ต้องการสร้างครอบครัว มีบัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 80 ตนเห็นด้วยกับการล้างอสุจิช่วยผู้ติดเชื้อให้มีลูกได้ แต่ตามข้อกำหนดระบุว่าต้องมีอาชีพที่มั่นคง แล้วในส่วนของคนจนที่ติดเชื้อเอชไอวีและต้องการมีบุตรจะได้รับบริการนี้หรือไม่ อยากให้มองคนส่วนนี้ด้วย ซึ่งรัฐต้องเข้ามาสนับสนุน
นายนิมิตร์ เทียนอุดม กล่าวว่า การมองว่าผู้ติดเชื้อเอดส์มีความเสี่ยงสูงนั้นเป็นการมองอย่างมีอคติ ความจริงทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยกันทั้งนั้น เช่น คนที่ไม่ติดเชื้อแต่ทำงานดึก นอนตื่นเช้า เมาแล้วขับ ดังนั้นไม่ควรมีการตั้งคำถามว่าใครควรมีลูก ควรแต่งงานหรือไม่
การเสวนาครั้งนี้มีผู้แสดงความคิดอย่างหลากหลาย รศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ หัวหน้าหน่วยผู้มีบุตรยากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ยกตัวอย่างงานวิจัยที่นำเสนอในวารสารการเจริญพันธุ์ ระบุว่าการให้ข้อมูลว่าล้างอสุจิตรวจด้วยวิธีพีซีอาร์ เมื่อไม่พบเชื้อเอชไอวีจะมีความปลอดภัยนั้นเป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะการตรวจด้วยพีซีอาร์จะไม่พบเชื้อเอชไอวีในการตรวจครั้งที่ 1-3 แต่เมื่อตรวจครั้งที่ 4 ส่วนใหญ่จะพบเชื้อ
อีกทั้งในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครตรวจซ้ำ อีกทั้งความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีภายหลังผ่านกระบวนการล้างอสุจิยังขึ้นกับปริมาณไวรัสในกระแสเลือดหรือไวรัลโหลดด้วย พบว่าผู้ที่มีไวรัลโหลด 1 แสนเซลล์มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี 2 ใน 12 คน หากมี 1 ล้านเซลล์มีความเสี่ยงติดเชื้อ 8 ใน 12 คน ถ้ามีไวรัลโหลด 3 ล้านเซลล์ มีความเสี่ยงติดเชื้อ 10 ใน 12 คน ดังนั้นโครงการนี้ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้รับบริการเป็นลำดับแรก