"สนธิ" สับเละอภิปรายไม่ไว้วางใจ "สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ" ส.ส.ไทยรักไทย ยึดมติพรรคจนไร้มโนธรรม แต่ขอชมฝ่ายค้านพัฒนาขึ้นไม่เลอะเทอะเหมือนแต่ก่อน พร้อมกับรื้อฟื้นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ไทย-จีน ยุค "ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช"
คลิกที่ไอคอน Multimedia ด้านบนเพื่อฟังเสียงการสนทนา
สโรชา - สวัสดีค่ะ คุณผู้ชม ขอต้อนรับเข้าสู่รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ อาหารสมองก่อนเข้านอน ในทุกคืนวันศุกร์ค่ะ กลับมาพบกันเป็นประจำค่ะ กับคุณสนธิ ลิ้มทองกุล กับดิฉัน สโรชา พรอุดมศักดิ์ วันนี้วันศุกร์ที่ 1 ก.ค. 2548 เป็นวันครบรอบ 30 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-จีน ซึ่งเมื่อพูดถึงประเทศจีนแล้วคงต้องพูดถึงภูมิปัญญาตะวันออก พูดถึงภูมิปัญญาตะวันออกแล้วคงไม่มีใครที่ไหนที่จะเล่าถึงเรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีนได้ดี หรือว่าใกล้เคียงกับคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ของเรา วันนี้คงจะต้องได้ของความรู้ซักนิดนึง ความสัมพันธ์เป็นยังงัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนห่วงกันมากในส่วนของการค้า เอฟทีเอ ในช่วงนี้ดูเหมือนว่า เหมือนจะดีแต่ก็ไม่ดีซะที คงต้องได้คุยกันถึงอนาคตของความสัมพันธ์ด้วย
สนธิ - มันมีนัยเยอะ และอีกประการหนึ่ง วันนี้ผมอยากจะเล่าเรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีนในอดีต เมื่อ 30 ปีมาจนถึงวันนี้ วันนี้คนไปจำเอาเฉพาะตอนที่ท่านนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไปจับมือกับนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า แต่เขาไม่รู้หรอกครับเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เมื่อปี 2518 นั้นมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น แล้วการตัดสินใจของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในการจะไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนนั้นเบื้องหน้า เบื้องหลังมียังงัย และก่อนหน้านั้นคนอีกหลาย มากมายหลายคนที่ได้บุกเบิกความสัมพันธ์ แล้วก็ต้องติดคุกติดตารางเพราะว่าถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์อีกไม่น้อย กว่าจะมาถึงวันซึ่งพวกเรานั่งดูทีวีแล้วเห็น 2 นายกฯ มานั่งจับมือกัน พวกเราก็ยิ้มแผล่กันนึกว่าโอเคจบแล้ว ไม่ใช่มันมีที่มาที่ไปลึกซึ้งมาก แล้วก็มันมีความข่มขืนอยู่มากหลายในเรื่องราวต่างๆ แต่ว่าไว้พูดกันตอนท้ายดีกว่า
สโรชา - และก็อีกเรื่องหนึ่งค่ะคุณสนธิผ่านไปเรียบร้อยแล้วนะคะสำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ และกระแสการปรับ ครม.ครั้งแรกสำหรับทักษิณ 2 วันนี้คงต้องมาถามกันชัดนิดนึง
สนธิ - ก็มีนัยมากเลยในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ แล้วนัยในการยกมือสนับสนุน และไม่สนับสนุนก็มีความหมายในทางการเมืองเยอะ และมันก่อให้เกิดคำถามกับสาธารณชน สังคมไทย แล้วก็ผู้ที่มีปัญญา และผู้ที่ไม่ลุ่มหลงหลงใหลไปกับการถูกภาพพจน์เข้ามาบดบัง ทั้งคำถามที่น่าสนใจอยู่เยอะ หลายๆ คำถาม และผมคิดว่าเป็นคำถามที่มันมีตรรกะหลายอย่างที่ผมคิดว่าแม้กระทั่งคนของพรรคไทยรักไทยเองวันนี้ก็ตอบไม่ได้ และก็อยู่ในสภาพกระอักกระอ่วนใจ อาจจะถึงขนาดที่เรียกว่าอาเจียนออกมาก็ได้ด้วยความเจ็บช้ำอยู่ในอก เพราะว่าตอบไม่ได้
สโรชา - ตอบไม่ได้นะคะ เดี๋ยวเราคงจะได้คุยกันค่ะคุณผู้ชม แต่ว่าสำหรับคำถามสัปดาห์นี้ที่เราอยากจะเรียนถามคุณผู้ชมนะคะ ก็คือ ท่านคาดว่านายกฯ ทักษิณจะให้คุณสุริยะอยู่ใน ครม.ต่อไปหรือไม่ ถ้าคิดว่าอยู่ต่อนะคะกด MT 1 ไม่อยู่ต่อกด MT 2 ค่ะ ส่งมาที่ 4848888 หรือโทรมาก็ได้ค่ะที่ 0-2201-6055-60 ขอบคุณฟรีอินเตอร์เน็ตค่ะที่เอื้อเฟื้อระบบเอสเอ็มเอสให้กับเรา ต่อกันที่ข่าวประชาสัมพันธ์เล็กน้อยนะคะ อยากจะเรียนเชิญคุณผู้ชมไปร่วมงาน ลดภาษีเริ่มวันนี้กับกองทุนรวมแอลทีเอฟ ในระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์นี้ คือระหว่างวันที่ 2 และ 3 ก.ค.ค่ะ คุณผู้ชมสามารถที่จะพบและเลือกลงทุนในกองทุนรวมแอลทีเอฟได้ด้วยเงื่อนไขพิเศษ รวมถึงครบทั้ง 18 บริษัท ที่มาออกบูธพร้อมจะให้คำปรึกษากับคุณผู้ชมนะคะ ที่งานนี้ค่ะ ที่อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนะคะ สามารถที่จะไปร่วมงานกันได้ในระหว่างเวลา 10.00-19.00 น. อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ถนนรัชดาภิเษก ข้างๆ กับศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พักสักครู่นะคะคุณผู้ชมเดี๋ยวกลับมาคุยกันต่อค่ะ
*********************************
สโรชา - กลับมาสู่เมืองไทยรายสัปดาห์นะคะ ไปคุยกันถึงเรื่องการเมืองก่อนเลยดีกว่าเพราะว่าจริงๆ แล้วกระแสของการอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ยังคงร้อนอยู่นะคะ เดี๋ยวจะได้ต่อกันเรื่องราวของการปรับคณะรัฐมนตรีด้วย แต่ว่าในการอภิปรายครั้งนี้มีดาวเด่นหลายดวงเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น คุณอภิสิทธิ์ นี่ก็ถูกกล่าวขานค่อนข้างจะเยอะ คุณชูวิทย์ ของพวกเรานี่ก็ร้อนแรงไม่เบาเหมือนกัน
สนธิ - คือมีข้อที่น่าสังเกตอย่างในการอภิปรายครั้งนี้ ผมต้องเรียนคุณสโรชาและท่านผู้ชมที่บ้าน ไม่ทราบว่าได้สังเกตกันบ้างรึเปล่าว่า การอภิปรายครั้งนี้ประชาธิปัตย์ไม่ค่อยเลอะเทอะเหมือนสมัยก่อน สมัยก่อนจะเลอะเทอะมาก คือประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ช่างพูด และช่างค้าน ขอให้ตัวเองได้พูดได้ค้าน จะมีสาระไม่มีสาระไม่สำคัญขอให้ยกมือได้ค้าน ในการอภิปรายในอดีตนั้นพลพรรคประชาธิปัตย์จะขยันกันเข้าชื่อ ขอพูดกันแทบจะทุกคนเลย อาจจะเป็นเพราะว่าโดยพื้นฐานแล้วความที่เป็นพรรคฝ่ายค้านผลงานไม่มีอะไรนอกจากว่าจะมีเสียงในสภาฯ ยกมือแล้วก็ได้ซัก 5 นาที 10 นาที
สโรชา - คือขอให้ได้พูด
สนธิ - ขอให้ได้พูด มันก็เลยเกิดสภาวะการณ์ดำเนินยุทธศาสตร์ที่ผิดมาตั้งนานแล้ว ตั้งแต่การอภิปรายไม่ไว้วางใจตั้งแต่ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ก็คือว่า หวังเป้าใหญ่จนเกินไป จริงๆ แล้วมามีครั้งนี้ผมคิดว่าเขาฉลาด เดิมทีผมคิดว่าเขาก็มองคุณเนวิน ชิดชอบไว้เหมือนกัน
สโรชา - ค่ะก็มีข่าว
สนธิ - ในกรณีเรื่องกล้ายาง แต่ผมคิดว่าอาจจะเป็นเพราะว่าเขาคิดว่าเอาทีละคนดีกว่า เพราะว่าเรื่องกล้ายางยังรอต่อได้ เหตุผลเพราะว่ามันยังไม่ถึงที่สิ้นสุด แต่ว่า ซีทีเอ็กซ์มันเกือบจะเป็นใบเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว ก็คือเป็นอินวอยส์ แต่ยังไม่เป็นใบเสร็จรับเงิน เห็นแล้วอินวอยส์แล้วแต่ยังไม่เห็นใบเสร็จรับเงิน และที่น่าสนใจก็คือว่า ยุทธศาสตร์ครั้งนี้เขาวางได้กระชับ แม่นยำตรงที่ว่า เขาใช้คนไม่เยอะถ้าสังเกตให้ดีๆ ทีนีบางคนก็ ผมคิดว่าเขาไม่ควรใช้แต่เขาใช้ เหตุผลเพราะว่าคนคนนี้เป็นคนซึ่งได้เคยพูดเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น อย่างเช่น คุณสุวโรช พะลัง
สโรชา - คือติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น
สนธิ - ติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น คือเรื่องซีทีเอ็กซ์จะอภิปรายแบบลูกทุ่งมากก็ไม่ได้ จะนักวิชาการจนเกินไปก็ไม่ดี คนก็ฟังไม่รู้เรื่อง ที่สำคัญที่สุดคือต้องเป็นคนอธิบายเรื่องเป็น ที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้คะแนนเสียงอย่างท่วมท้นเหตุผลเพราะว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียบเรียบเรียงเรื่องได้เป็นขั้นตอน เล่าเรื่องมาเหมือนกับพูดจากกันบนโต๊ะกินข้าว โดยใช้ศัพท์ที่ไม่ใช่สูงส่งแต่ยังคงเอาไว้ในสถานการณ์ของการเชือดเฉือนบ้างเป็นบางครั้งบางคราวซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ทีนี้คุณอภิสิทธิ์เวลาพูดจาทำให้ผมนึกถึงท่านอดีตหัวหน้าชวนไม่ได้ คือจะมีลักษณะการพูดคล้ายๆ กัน แต่ว่าคุณอภิสิทธิ์ ด้วยความเคารพท่านอดีตหัวหน้าพรรคชวน จะมีภาษีเหนือกว่าเยอะตรงที่ว่าความรู้แกสูงกว่า เพราะฉะนั้นคุณอภิสิทธิ์ครั้งนี้ใช้เนื้อหาสาระอภิปรายมากกว่าใช้คารมคมคาย สมัยก่อนอาจจะคารมคมคาย 70 เปอร์เซ็นต์ เนื้อหาสาระ 30 งวดนี้กลายเป็นเนื้อหาสาระ 70 แล้วก็คารมคมคาย 30 เปอร์เซ็นต์ นั่นข้อที่ 1 ที่เป็นที่น่าสังเกต ข้อที่ 2 ผมเข้าใจว่าเขามีการแบ่งเป็นตอน หัวข้อให้แต่ละคนได้อภิปรายโดยที่การซ้ำซ้อนกันนั้นมีค่อนข้างน้อยไม่มากเหมือนแต่ก่อน
สโรชา - ไม่ใช่ฟังคนนึงแล้วไปฟังอีกคนนึงเนื้อหาเหมือนกันเลย
สนธิ - แต่ก่อนเหมือนกับเปิดเทปซ้ำ แผ่นเสียงตกร่อง อาจจะเพิ่มเพลงมาซักเพลงแต่ว่าต้องฟังเพลงแรกซะก่อน พอมาคนที่ 3 ก็ต้องฟังเพลงแรก แล้วก็มีเพลงเพิ่มสั้นๆ อีกเพลง แต่งวดนี้เป็นการจัดระเบียบวาระได้ดี ที่น่าเสียดายที่สุดก็คือ ท่านรัฐมนตรีลิปซิงค์ของเรา คือ ท่านรัฐมนตรีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ความจริงแล้วคุณสุริยะเป็นคนที่ โดยการพูดการจา ลักษณะหน้าตาท่าทางจะเป็นคนซึ่งอินโดนเซนต์ ภาษาอังกฤษเรียกว่า บอยอิช หน้าดูเด็ก แล้วก็ความที่เขาบอกว่าคุณสุริยะพูดไม่เป็น พูดตะกุกตะกัก จริงๆ แล้วมองในมุมกลับอันนี้เป็นเสน่ห์
สโรชา - เสน่ห์หรอคะ
สนธิ - เสนห์ซิ ระหว่างคนที่พูดเก่งแล้วว่าคุณฉอดๆๆๆ ตลอดเวลา แล้วคุณตอบโต้แบบตะกุกตะกัก พูดไปคิดไปพูดไปคิดไปเพราะว่าไม่เก่ง คนจะเห็นใจ
สโรชา - อ๋อ ได้ความเห็นใจไปครึ่งนึงแล้ว
สนธิ - ได้ความเห็นใจไปเกินครึ่งแน่นอนที่สุด คนไทยนี่แปลกพอเห็นใจแล้วสาระไม่สนใจ
สโรชา - สงสารอย่างเดียว
สนธิ- สงสารอย่างเดียว เป็นเรื่องอย่างนี้จริงๆ นี่เรื่องจริง เพราะว่าผมเจอเหตุการณ์มาบ่อย ในวงการราชการ ข้าราชการบางคนทำชั่วจะโดนเล่นงานวิ่งเข้าไปหาอธิบดีกอดขาแล้วร้องไห้
สโรชา - ขนาดนั้นเลยหรอคะ
สนธิ - บ่อยไป คุณนะไม่รู้อะไรระบบราชการ
สโรชา - จริงหรอ
สนธิ - กอดขาร้องไห้บอกว่า ท่านครับ ท่านขา ผม ดิฉันโดนกลั่นแกล้ง แหม แล้วก็ร้องไห้โฮ ร้องไห้โฮ ความใจอ่อนทำให้ลืมหลักการไปหมด หรือแม้กระทั่งบางครั้งไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง เข้าไปกราบที่แทบเท้าเลยบอกว่า ท่านครับแม้กระทั่งชีวิตผมก็จะมอบให้ ขอเถอะครับท่าน พูดอยู่จนกระทั่ง เอามึงอยากเอาไป คุณสโรชาจำไว้อย่างนะในอนาคตใครก็ตามมาพูดกับคุณนะ บอกว่า ผมรักคุณ หรือว่า ผมชีวิตก็ยอมตายแทนคุณได้ คุณอย่าไปเชื่อนะ
สโรชา - ไม่เชื่อ เชื่อไม่ได้หรอคะ
สนธิ - คุณเลิกคบได้เลยนะไอ้หมอนั่น ผมจะบอกให้รู้นะ ผมไม่ได้หมายถึงใครคนใดคนหนึ่ง ผมหมายถึงทั่วๆ ไป เพราะผมเคยเจอแล้ว พี่สนธิผมรักพี่ตายผมก็ตายแทนได้ ปรากฏว่าพอมีภัยทีไรมันเป็นคนแรกที่วิ่งหนี แล้วมันไม่เคยกลับมาหาอีกเลย ทีนี้คุณสุริยะก็พลาด ความที่พลาดก็ตรงที่ว่าปล่อยให้คุณเนวินไปเป็นโคช
สโรชา - แต่คุณเนวินบอกว่าผ่านการอภิปรายมาเยอะ รู้งาน รู้ว่าควรจะเตรียมยังงัย
สนธิ - เรื่องซีทีเอ็กซ์ไม่ใช่เรื่องเล่นคำพูดกันละ เรื่องซีทีเอ็กซ์คือการใช้ตรรกะเพื่อมาต่อสู้กันในเชิงเหตุผล ไม่ใช่มามีคำว่า พุทโธ ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจตรงนี้ ไม่ใช่มาบอกว่า พูดถึงว่าสมัยนั้นพวกคุณก็เป็นคนนิสัยแบบนี้ ไม่ใช่เลยแม้แต่นิดเดียว เรื่องซีทีเอ็กซ์มันมีอยู่ไม่เกิน 12 ข้อ ทำอย่างไรจะหาเหตุผลและหลักฐานไปค้าน 12 ข้อนั้นให้เป็นกิจจะลักษณะ ซึ่งเท่าที่ผมฟังแล้วผมคิดว่าประชาชนทั่วไปฟัง นี่พูดด้วยความสัตย์จริงไม่ได้เข้าข้างใครและไม่ได้เป็นอคติกับใคร คุณสุริยะตอบไม่ได้ ตอบไม่ได้หลายปัญหา และอีกหลายๆ ปัญหายังจะคาใจอยู่ เพราะปัญหาของ 1,500 ล้านบาทที่จ่ายไปแล้วของยังไม่มา นี่สำคัญมาก อันที่ 2 รู้ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนพฤศจิกา ธันวา ว่าเขาจะส่งของให้ไม่ได้แล้วยังจ่ายงวด 3 งวด 4 ต่อไป ตรงนี้แน่นอนตอบไม่ได้ แล้วยังมีอีกหลายๆ ข้อตอบไม่ได้ ไม่เป็นไรครับเรื่องนี้ช่างมัน ประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดผมคิดว่า ปัญหาเรื่องซีทีเอ็กซ์ก็คือว่า เนื่องจากว่าเป็นการที่ฝ่ายหนึ่งเอาหลักฐานที่ค่อนข้างจะแน่นแฟ้นมา อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับ อีกฝ่ายหนึ่งต้องการปกป้องพวกตัวเองอย่างสุดฤทธิ์สุดเดชโดยไม่คำนึงถึงคำว่าถูกหรือผิด ก็ขอว่า ขอให้เป็นพวกตัวเอง พวกมากลากไป ซึ่งลักษณะแบบนี้ไม่ใช่เพิ่งจะเกิดกับพรรคไทยรักไทย ลักษณะแบบนี้ก็เคยเกิดกับพรรคประชาธิปัตย์ ก็เคยเกิดกับพรรคความหวังใหม่ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นประเด็นซึ่งผมต้องกลับมาถามอีกครั้งหนึ่งว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับการเมืองเมืองไทย ถ้าถามผมว่าผมผิดหวังอะไรมากที่สุดในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ และการลงคะแนนเสียงครั้งนี้ ผมผิดหวังและผมสมหวังอยู่ 2 เรื่อง ผมผิดหวังตรงกรณีที่พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคที่เคยบอก ท่านนายกฯ ทักษิณ เคยบอกว่าท่านเข้ามาเล่นการเมืองครั้งนี้ท่านจะเข้ามาเล่นการเมืองแบบคิดใหม่ทำใหม่ แต่กระบวนการที่ผ่านมา การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตลอดจนการลงคะแนนเสียง ไม่ใช่เป็นวิธีการคิดใหม่ทำใหม่
สโรชา - มันเป็นเรื่องที่การเมืองไทยมีมานานแล้ว
สนธิ - การเมืองไทยมีมานาน แล้วไม่ใช่ของใหม่เลย เป็นน้ำเน่าเก่าๆ แล้วเน่าสุดๆ ผมเสียดายตรงนี้ ผมหวังว่าท่านนายกฯ และพรรคไทยรักไทยจะเป็นตัวอย่างทางการเมือง
สโรชา - คุณสนธิหมายถึงเรื่องอะไรคะเรื่องมติพรรคว่าจะต้องลงตามนั้น
สนธิ- เรื่องการลงคะแนนเสียง ถูกต้องครับมติพรรค แล้วผมจะเล่าให้ฟังในตอนที่ 2 รายการวันนี้ว่ามันจะมีผลต่อไปอย่างไรบ้างเพราะว่า คุณสโรชาต้องเข้าใจอย่างนะครับ ประชาชนที่ดูโทรทัศน์อยู่เขาดูตั้งแต่ต้นจนจบเผลอๆ ยังมากกว่า ส.ส.หลายคนของพรรคไทยรักไทยที่นั่งอยู่ในสภาฯ ซะด้วยซ้ำ เดินเข้าๆ ออกๆ เพราะฉะนั้นแล้ววุฒิภาวะการรับรู้ของประชาชนที่รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ที่คุณอภิสิทธิ์กล่าวหา ที่คุณสุวโรช พะลัง กล่าวหา ที่คุณอลงกรณ์ พลบุตร กล่าวหา ที่คุณถาวร เสนเนียม กล่าวหา ที่คุณหลายคนกล่าวหา กับข้อตอบโต้ของรัฐมนตรีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ตอบโต้แต่ละคน วุฒิภาวะการรับรู้ไม่ได้ด้อยไปกว่า ส.ส.ไทยรักไทยที่นั่งอยู่ในสภาฯ เช่นกัน เผลอๆ จะมากกว่าเสียด้วยซ้ำ เพราะว่ามีอยู่ไม่น้อยที่มีสติปัญญาแล้วสมองฉลาดกว่า ส.ส.ไทยรักไทย ที่นั่งอยู่ในนั้นมาก เพราะฉะนั้นแล้วความรับรู้และการตัดสินใจ วิจารณญาณที่ประชาชนนั่งฟัง นั่งดูอยู่ไม่ได้ด้อย แล้วเขาสามารถจะตัดสินผิดถูก ชอบชั่วดีได้ทันทีว่าใครตอบถูกไม่ถูก ยกเว้นกรณีคุณชูวิทย์ของผม คุณชูวิทย์ของผมค่อนข้างจะเป็นละคร ลิเก แรงไปนิดนึง แต่ก็อีกช่วยไม่ได้ในเมื่อทางพรรคไทยรักไทยชอบการตลาดมานักคุณชูวิทย์ก็เลยเอาการตลาดมานำหน้าบ้าง จะไปตำหนิเขาก็ไม่ได้ คือสรุปง่ายว่า เมื่อมติประชาชน ความคิดเห็นของประชาชนได้ถูกแสดงออกในทางโพล ผลโพล ผลสำรวจออกมาชัด
สโรชา - มีอย่างน้อย 2-3 โพล
สนธิ - 2-3 โพลยืนยันเหมือนกันหมด ยืนยันเหมือนกันหมดว่าประชาชนเชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นจริง ทำไมเขาถึงเชื่อ ที่เขาเชื่อเพราะวุฒิภาวะการรับรู้ของเขาเขารับรู้จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาฯ และถ้าเราคิดว่าการเมืองคือคำตอบในการแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองเราใยไม่ยอมรับว่าการซักซ้อมซักค้านในสภาฯ นั้น และการตอบโต้ในสภาฯนั้นก็คือมาตรฐานการวัดว่าสิ่งที่พูดนั้นจริงหรือไม่จริง
สโรชา - ท่านนายกฯ บอกว่าจริงๆ แล้วถ้าดูจากผลโพลอาจจะไม่ได้ซะทีเดียวเพราะว่าเปิดมาทีไรฝ่ายค้านกำลังโจมตีอยู่ โจมตีอยู่ตลอด จะได้ยินท่านรัฐมนตรีน้อยมาก
สนธิ - ไม่ได้ ท่านนายกฯ พูดอย่างนั้นก็ไม่ถูก ทำไมท่านนายกฯ ไม่ดูผลโพลโทรทัศน์ท่านนายกฯ เองล่ะ ไอทีวี
สโรชา - ไม่ใช่ของท่านนายกฯ
สนธิ - ใช่มั๊ยฮะ ผลโพลของไอทีวีจะเป็นผลโพลเดียวที่คนส่งเข้าไป เป็นการส่งแมสเซทเข้าไป ซึ่งการส่งแมสเซทไม่เหมือนการที่เอแบคโพล สวนดุสิตโพลที่เขาไปสอบถาม เพราะฉะนั้นการส่งแมสเซทจัดตั้งเมื่อไหร่ก็ได้กดเข้าไป มีไอทีวีเจ้าเดียวที่ผลโพลบอกว่าทางรัฐมนตรีสุริยะตอบได้ชัดเจนและทางฝ่ายค้านตอบไม่ได้ เอาละพักตรงนั้นไปก่อนเรามาดูผลโพลเอแบค ผลโพลของสวนดุสิต กรุงเทพโพล ทุกคนโดยหลักการแล้วเป็นอย่างนั้นหมดเลย ถูกต้องหมด ทีนี้ผมถามต่อ เวลาผลโพลออกมาแล้วชมรัฐบาลชุดพรรคไทยรักไทยในเรื่องนโยบายบางนโยบาย ถามประชาชนแล้วประชาชนบอกว่าชอบ ถูกต้อง ผมไม่เคยเห็นพรรคไทยรักไทยออกมาโวยวาย ผมไม่เคยเห็นท่านนายกฯ ออกมาโวยวาย แต่ทำไมพอเขาบอกว่า ประชาชนเชื่อฝ่ายค้านมากกว่าจะต้องมาโวยวาย แพ้แล้วยังงัย ชนะแล้วยังงัย เข้าใจมั๊ยฮะ ผมคิดว่าต้องนักเลง จิตใจต้องเป็นธรรมนิดนึง ใจผมกลับคิดว่า น่าที่จะเอาผลโพลตรงนี้เอามาวางแล้วมานั่งพิจารณากันซักนิดนึง ว่าประชาชนเขามองเราอย่างนี้นะ ประเด็นทำไมเขาถึงมองเราอย่างนี้ เรามาแก้ไขกันดีกว่ามั๊ย
สโรชา - ก็นี่ที่มาของการปรับคณะรัฐมนตรีรึเปล่าคะ
สนธิ - ซึ่งเราจะพูดกันตอนที่ 2 แต่ว่าก่อนที่จะจบตอนนี้ผมจะชี้ให้เห็นนิดนึง ในที่สุดแล้วมติพรรคที่ออกมามันมีนัย คุณสโรชาทราบใช่มั๊ยครับว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 149 พุทธศักราช 2540 บัญญัติไว้ว่ายังงัย บัญญัติไว้ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทยไม่ใช่เพื่อมติพรรคการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น นี่คือรัฐธรรมนูญมาตรา 149 พุทธศักราช 2540 ถ้าเรามองย้อนไปจนถึงรัฐธรรมนูญมาตรา 120 พุทธศักราช 2475 บัญญัติไว้ชัดเจนกว่านี้ บัญญัติว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนชาวสยามมิใช่แทนแต่เฉพาะผู้ที่เลือกตนขึ้นมา ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติที่มอบหมายจากผู้ใดทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นแล้วด้วยเหตุอันนี้มติพรรคของไทยรักไทยจึงสวนกระแสกับมติความคิดเห็นของประชาชน คำถามว่าใครถูกใครผิด
สโรชา - ถ้าดูตาม 149 แล้วก็ค่อนข้างชัดเจน
สนธิ - ประเดี๋ยวเราค่อยคุยกันต่อในเบรคที่ 2
สโรชา - เดี๋ยวคุยกันต่อนะคะคุณผู้ชมในเรื่องของมติพรรค ในเรื่องของความถูกต้อง ในเรื่องของการที่ ส.ส.จะสะท้อนความคิดเห็นของพรรค หรือสะท้อนความคิดเห็นของคนที่เลือกเขาเข้ามา และเรื่องราวของการปรับคณะรัฐมนตรี
*********************************
สโรชา - กลับมาสู่เมืองไทยรายสัปดาห์ เมื่อสักครู่ทิ้งท้ายกันด้วยมาตรา 149 ของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 ในเรื่องของการที่จะเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย หน้าที่ของท่าน ส.ส.ทั้งหลายแหล่ และความสำคัญ
สนธิ - ต้องเป็นหน้าที่ และเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย ไม่ใช่เป็นตัวแทนของพรรคการเมือง คุณสโรชาจำได้มั๊ยเมื่อวันที่ศุกร์ที่ 4 ก.พ. 2548 ผมได้ทำนายไว้ เลือกตั้งเสร็จใหม่ๆ ผมเป็นคนพูดเองว่า ประชาธิปไตยของประเทศไทยมีเพียงแค่ 4 วินาทีเอง
สโรชา - อ๋อจำได้ที่บอกว่า 4 วินาทีในการหย่อนบัตร
สนธิ - ในการหย่อนบัตร พอเป็นช่วงที่หย่อนบัตรเสร็จแล้ว คุณหย่อนบัตรเสร็จ ระหว่างหย่อนก็นับ 1 2 3 4 ก็เสร็จ สิทธิ์ของคุณหมดแล้วนะเพราะหลังจากนั้นแล้ว เท่าที่เป็นไปตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบันนะรัฐบาลส่วนใหญ่พอได้รับเลือกตั้งเข้ามาแล้วทำอะไรเวลาเราไม่เห็นด้วยเขาไม่เคยฟัง เพราะฉะนั้นแล้วท่านผู้ชมผมเคยพูดว่าประชาธิปไตยเมืองไทยนั้นมีอยู่แค่ 4 วินาที ผมยังยืนยันอยู่ ท่านมีหน้าที่หย่อนบัตรเท่านั้นเอง พอท่านหย่อนบัตรเสร็จเรียบร้อยแล้วสิทธิท่านหมดแล้ว ท่านคิดยังงัย มติมหาชน ประชาชน จะโพลออกมาชัดเลยว่าการอภิปรายเป็นยังงัยไม่มีใครสนใจอะไรทั้งสิ้น
สโรชา - ถ้ากลับไปดูตัวของรัฐธรรมนูญกฎหมายที่ว่า 149 ขัดมั๊ยคะต่อมาตรากที่บังคับให้ ส.ส.สังกัดพรรคการเมือง
สนธิ - มันเป็นเรื่องของการเล่นคำ ทางพรรคการเมืองจะบอกว่าในเมืองพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งเข้ามาแล้วมติพรรคนั่นคือมติของปวงชนชาวไทย
สโรชา - พูดง่ายๆ พรรคก็คือตัวแทนปวงชนชาวไทย
สนธิ - ถูกต้อง ถูกต้อง คำว่าปวงชนชาวไทยมันตีความยาก ปวงชนของใครล่ะ
สโรชา - ถ้าพูดกันยังงี้แหมต้องพูดยาว
สนธิ - ก็ต้องพูดกันยาว ทางนี้ก็จะอ้างว่าตัวเองมีอยู่ 377 เสียง
สโรชา - ก็เท่ากับว่าได้รับมติ
สนธิ - ได้รับฉันทามติมาถึง 19 ล้านเสียง ก็ชอบอ้างกันตลอดเวลาว่า 19 ล้านเสียง แล้วเป็นยังงัยวันนี้ 19 ล้านเสียง คุณจำได้มั๊ยผมเคยพูดเมื่อกุมภาพันธ์ ว่ายิ่งมี 377 เสียงเท่าไหร่ยิ่งน่ากลัว ต้องใจกว้าง ถ้าใจไม่กว้างแล้วคุณมี 377 เสียงเหมือนคุณไม่มีเสียงเลย
สโรชา - ก็ไม่ได้หมายความว่ามั่นคง
สนธิ - ถูกต้อง ใจกว้างหมายความว่ายังงัย ใจกว้างหมายความว่า ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้เขาไม่ได้อภิปรายเพื่อล้มรัฐบาล เขาอภิปรายตัวบุคคลเพียงคนเดียว ทำไมเราไม่ใจกว้างที่จะบอก ส.ส.พรรคไทยรักไทย แล้วพิสูจน์ความจริงใจให้กับประชาชนทั้งหมด เลยบอกว่าพรรคไทยรักไทยเป็นพรรคที่รักความเป็นธรรม รักความยุติธรรม รักความซื่อสัตย์สุจริต
สโรชา - เพราะฉะนั้นไม่มีมติพรรค
สนธิ - ไม่มีมติพรรค คุณลงคะแนนเสียงไปตามมโนธรรมที่คุณอาจจะพูดถึง ที่คุณคิด แล้วจริงๆ แล้วเมื่อมันเป็นเช่นนี้แล้วผมคิดว่ามันไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ มันเป็นเรื่องที่ทำได้ เหตุผลก็เพราะว่า 1. คือถ้ามันเป็นการลงคะแนนเสียงเพื่อล้มรัฐบาลนั้นอาจจะเป็นอีกกรณี ทั้งหมดยกเว้นคุณเสนาะ เทียนทอง ซึ่งจุดยืนชี้ให้เห็นชัดตั้งแต่ต้นแล้ว ส.ส.พรรคไทยรักไทยทั้งหมดผมพร้อมจะยกมือไหว้ผู้หญิงอยู่คนเดียวคือ คุณภัทรา วรามิตร
สโรชา - ที่ว่ากดผิดนะหรอคะ
สนธิ - ผมเชื่อไม่ได้กดผิดหรอก ส.ส.กาฬสินธุ์ แกกดไปตามจิตสำนึกของแกเพราะแกไม่เห็นด้วย แล้วโดนผู้ใหญ่ของพรรคลากไปข้างหลังไปถล่ม ไปบี้แกซะจนแกออกมาแกตัวสั่นงันงกหมดเลย โทรทัศน์ฉายก็รู้ ผมคารวะในจิตใจผู้หญิงคนนี้ สุดยอด คนกาฬสินธุ์ให้ภูมิใจไปเลย ส.ส.หญิงคนนี้ใช้ได้เลยทีเดียว ผมเชื่อว่าเขารักพรรคไทยรักไทย เหมือนกับที่ผม ผมก็หวังว่าพรรคไทยรักไทย หรือท่านนายกฯ จะเล่นการเมืองแบบใหม่ คิดใหม่ทำใหม่ เป็นกัลยานิมิตรที่กล้าที่จะแสดงออก อธิบายให้ท่านฟังว่า สิ่งที่ท่านทำอยู่นั้นผมไม่เห็นด้วย มันไม่ถูกต้องตรงไหน ถ้าท่านแก้ซะท่านจะเป็นนายกฯ ที่ดีเลิศ เหมือนกับคุณภัทรา วรามิตร ที่กล้าพอที่จะกดเพราะว่าเขาคิดว่ามโนธรรมของเขาบอกว่า เขาฟังแล้วคุณสุริยะพูดแล้วฟังไม่ขึ้นเขาถึงกดไปอย่างนั้น แล้วผู้ใหญ่ก็ไปรังแกเด็กกัน
สโรชา - กดตามจิตใต้สำนึก
สนธิ - จิตใต้สำนึก เพราะอะไร เพื่อลากออกมา เพื่อบังคับให้พูดว่ากดผิด
สโรชา - แต่กดไปแล้วแกก็ตกใจตัวเองนะว่ากดไปอย่างนี้ได้ยังงัย
สนธิ - แกออกมาให้สัมภาษณ์แบบนี้หลังจากที่แกโดนลากไปโซ้ยอยู่ข้างหลังฉากอยู่ตั้งนาน
สโรชา - อ๋อมีผู้ใหญ่เรียกไปหรอคะ
สนธิ - มีผู้ใหญ่เรียกไปแล้วถึงออกมาพูดอย่างนี้ คุณสโรชา แกจบวิศวะ
สโรชา - อายุ 29 แล้วนะ
สนธิ - อายุ 29 นะ อายุน้อยกว่าคุณสโรชา 2 ปี
สโรชา - เท่ากัน
สนธิ - คือแกจบวิศวะแกจะกดผิดได้ยังงัย แล้วแกจบปริญญาโท
สโรชา - คุณสนธิไม่เชื่อว่าแกกดผิด
สนธิ - ผมไม่เชื่อว่าแกกดผิด ขนาดดีๆ ชั่วๆ ถ้าผิดในเรื่องเสียบบัตรแทนกันผมยอมรับได้ เหมือนที่เคยทำกัน แต่กดผิดนี่เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องคารวะจิตใจแก ทีนี้ใครก็ตามไปรังแกแกแบบนี้ คือตอนนี้ในวงการสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ และประชาชนส่วนใหญ่เขารู้กันหมดแล้ว มันไม่อายกันบ้างหรอ ผมเห็นคนออกมาให้สัมภาษณ์ถ่ายรูปหนังสือพิมพ์ เอาคุณภัทรามานั่งหน้าตาแกเหมือนจะร้องไห้ แล้วพอเสร็จเรียบร้อยแล้วพอประชุมงบประมาณต่อ ภาพหนังสือพิมพ์ก็ฟ้องอีกว่าแกไปนั่งข้างหนังอยู่คนเดียว แสดงว่าแกเจ็บช้ำน้ำใจมากเรื่องพวกนี้ คือมโนธรรมข้างในแกมันกำลังต่อสู้กับตัวแก
สโรชา - กับความเป็น ส.ส.พรรค
สนธิ - ความเป็น ส.ส. แกคงจะพูดกับตัวเองว่า เอ๊ะฉันมันผิดตรงไหนฉันกดตามจิตใต้สำนึกฉัน แล้วเรียกมาบังคับให้ฉันพูดอย่างนี้ นี่คุณสโรชา
สโรชา - ถ้ามีคำถามว่า เป็นไปได้มั๊ยว่าเอาละ ถ้าสมมุติพูดเรื่องมติพรรค ส.ส.ที่สังกัดปาร์ตี้ลิสต์ต้องเป็นไปตามมติพรรคในขณะที่ ส.ส.ที่เป็นตัวแทนเขตสามารถที่จะกดตามเสียงของประชาชนที่ตัวเองเป็นผู้แทนในเขตนั้นๆ ได้ เพราะถือว่าประชาชนเลือกบุคคลไม่ได้เลือกพรรค
สนธิ - ถ้าคุณสโรชาถามผมอย่างนี้ผมถามกลับ ส.ส.ที่อยู่ในปาร์ตี้ลิสต์นี้มีกระบาลรึเปล่า คิดเป็นบ้างมั๊ย
สโรชา - ควรจะต้องเป็นซิ
สนธิ - ถ้าคิดเป็นแล้วทำไมจะต้องทำตามมติพรรค
สโรชา - ก็เขาเลือกพรรคไม่ได้เลือกตัวบุคคล ในตัวปาร์ตี้ลิสต์นะ นี่คือในตัวปาร์ตี้ลิสต์นะเขาเลือกพรรคไม่ได้เลือกบุคคล แต่ดิฉันกำลังบอกว่าในระบบเขต คือชัดเจนว่าเลือกตัวบุคคล น้อยครั้ง หรือว่าจริงๆ แล้วพิสูจน์ไม่ได้ว่าเลือกพรรครึเปล่า แต่ที่แน่ๆ บุคคลนี้ได้รับเลือกมา
สนธิ - คือถ้าคุณจะถามแบบกำปั้นทุบดิน ก็ตอบแบบกำปั้นทุบดิน ถ้าคุณอยากได้ก็ได้ไป ก็จริงก็มีเหตุผลพอสมควร แต่ว่าโดยพื้นฐานคุณจะเลือกพรรคหรือเลือกอะไรก็ตามถ้าคุณมีสติปัญญาซักนิดนึง ถ้าคุณมีวุฒิภาวะ ที่สำคัญที่สุดถ้าคุณมีจิตใจรักชาติบ้านเมือง พรรคจะเหนือกว่าชาติบ้านเมืองได้ยังงัย ถ้าคุณมีตรงนี้อยู่ในจิตวิญญาณคุณคุณย่อมสามารถจะตัดสินใจได้โดยที่คุณไม่ต้องคำนึงถึงอะไร แต่ไม่เป็นไรนัยมันมีมาก ผมไม่รู้ทั้งวิปที่นั่งประชุมกันข้างหลังแล้วบอกว่ายังงัยต้องยกคะแนนให้ได้มากที่สุด เขาทำไปเพื่ออะไร เขาทำไปเพื่อโชว์ซับพอร์ตว่าเขาต้องซับพอร์ตคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
สโรชา - ท่านเป็นเลขาธิการพรรคด้วย
สนธิ - เป็นเลขาธิการพรรค คำถามมีต่อไปคุณสโรชา ผมถามบอกว่า ถ้าอย่างนั้นแล้ว 372 เสียงใช่มั๊ย
สโรชา - 372 เสียงใช่
สนธิ - 372 เสียงที่ยกมือให้คุณสุริยะ
สโรชา - 367 ค่ะ
สนธิ - 367 เสียง ที่ยกมือให้คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นัยในทางการเมืองก็คือว่า คุณสุริยะสอบผ่าน ฟังคุณสุริยะตอบโต้พรรคฝ่ายค้านแล้วมีเหตุมีผล พรรคฝ่ายค้านไม่สามารถที่จะมาหักล้างคำตอบของคุณสุริยะได้ ก็เท่ากับว่าคุณสุริยะบริสุทธิ์ ถ้าอย่างนั้นผมขอกราบเท้าเลยอย่าเปลี่ยนคุณสุริยะ ขอร้องให้คุณสุริยะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต่อ เขาไม่ผิด เขาไม่ผิด ถ้าคุณปรับ ครม.ใหม่แล้วย้ายคุณสุริยะไปนั่งที่อื่นก็เท่ากับว่า 367 เสียงที่คุณยกมือให้ คุณกำลังผายลม นี่เรื่องจริง นี่ผมพูดกันตรงไปตรงมา ถ้าคุณยังยึดถือว่า 360 กว่าเสียงที่คุณยกมีมติพรรคให้หนุนคุณสุริยะเหตุผลก็เพราะคุณสุริยะตอบได้ถูกต้อง คุณต้องไม่ย้ายคุณสุริยะออกจากรัฐมนตรีคมนาคมยังต้องให้นั่งอยู่ที่เดิม
สโรชา - โดยหลักการใช่
สนธิ - โดยหลักการต้องเป็นอย่างนั้น
สโรชา - แต่จะทานกระแสสังคมไหวหรอคะ
สนธิ - แล้วทำไมคุณมาแคร์กระแสสังคมตอนนี้ล่ะ เวลาคุณยกมือคุณไม่แคร์กระแสสังคมหรอ
สโรชา - ตอนนั้นโพลยังไม่ออก 3 โพลยังไม่ออก
สนธิ - เดี๋ยวไม่ใช่ โพลไม่โพลไม่สำคัญ คนโบราณเขาว่า เวลาจะพูดอะไร จะทำอะไรให้ระลึกถึงสิ่งที่จะตามมาทีหลัง ถ้าคุณจะยกมือคุณต้องระลึกถึงเสมอว่า สิ่งที่จะตามมาทีหลังคืออะไร เมื่อคุณยกให้เขาแล้วเท่ากับว่าคุณให้ฉันทานุมัติทั้งหมด 360 กว่าเสียงว่าคุณสุริยะไม่มีเงื่อนงำอะไรทั้งสิ้น แล้วคุณเชื่อใจในตัวคุณสุริยะ เมื่อคุณเชื่อใจในตัวคุณสุริยะแล้วมีเหตุผลอันใดเล่าที่คุณต้องโยกย้ายคุณสุริยะ ก็เก็บเอาไว้ซิ คุณจะไปแคร์เรื่องเสียงประชาชน เสียงโพลทำไม ก็ในเมื่อคุณยกมือคุณยังไม่แคร์เสียงใครทั้งสิ้นเลย นี่แหละคือเงื่อนตาย แต่ว่าถ้าเขาย้ายคุณสุริยะ คำถามก็ถามกลับไปอีก ถ้าอย่างนั้นระบบพรรคการเมืองบ้านเรา ระบบรัฐสภาเราที่เที่ยวยกมือกันเป็นว่าเล่นเหมือนกับผายลมอย่างนี้มันจะมีประโยชน์อะไร ถูกไม่ถูก
สโรชา - ถูก ถ้าสมมุติย้าย
สนธิ - ถ้าสมมุติย้าย ใช่ไม่ใช่ ไม่ใช่นี่เรื่องจริง และนี่คือตรรกะ นี่คือตรรกะ ถ้าคุณย้ายก็แสดงว่าที่คุณยกมือเมื่อ 2-3 วันที่แล้วมันใช้ไม่ได้ ผมก็ถามกลับแล้วคุณยกไปทำมวย
สโรชา - เขาก็บอกว่า ในเวลานี้กระแสค่อนข้างที่จะชัดเจน และอีกอย่างความศรัทธาในตัวรัฐบาล ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาราคาน้ำมัน ปัญหาความมั่นคง มันค่อนข้างรุมเร้า
สนธิ - กระแสค่อนข้างจะชัดเจนแต่ว่าท่านนายกฯ เป็นคนพูดเองไม่ใช่หรอว่าโพลเชื่อไม่ได้
สโรชา - ปัญหาอื่นเปล่า ท่านพูดถึงปัญหาอื่นมั๊ง
สนธิ - ไม่ท่านเป็นคนพูดเองว่า โพลนี้เชื่อไม่ได้เพราะว่าฝ่ายค้านออกมาพูด 8 คน คุณสุริยะพูดคนเดียว เพราะฉะนั้นแล้วโพลที่บอกว่า ประชาชนเชื่อถือไม่ได้ ใช่มั๊ย ท่านฟันธงไปแล้วนิ เมื่อท่านฟันธงไปแล้วกรุณาอย่าย้ายคุณสุริยะ ขอให้นั่งอยู่ที่เก่า
สโรชา - คุณสนธิคิดว่าเป็นไปได้หรอคะ
สนธิ - ผมไม่รู้ ผมใช้ตรรกะเข้าว่า เพราะฉะนั้นแล้วอีกประการนึงพูดถึงเรื่องปรับ ครม.
สโรชา - ก็นี่งัยเรากำลังพูดถึงเรื่องปรับ ครม.
สนธิ - 11 มี.ค.2548 รายการบนโต๊ะนี้ หลังจากเดือน ก.พ.ที่ผมที่บอกว่าประชาธิปไตยไทยมีอยู่เพียงแค่ 4 วินาที 11 มี.ค.ท่านผู้ชมทางบ้าน หรือคุณสโรชาถ้าจำได้ผมเป็นคนพูดเองว่า ประมาณ 3 หรือ 4 เดือนจะมีการปรับ ครม. ครม.นี้เป็น ครม.ชั่วคราว
สโรชา - ถูกต้อง ใช่ใช่เพราะดิฉันจำได้ว่าเราคุยกันถึงการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดแรก
สนธิ - ถูกต้อง เพราะฉะนั้นแล้วเรื่องทั้งหมดมันเป็นเรื่องของตรรกะ และมันเป็นเรื่องของเหตุและผล
สโรชา - แล้วพ่อหมอจะไม่ฟันธงซักนิดหนึ่งหรอคะว่าท่านจะอยู่ต่อในคมนาคมหรือไม่
สนธิ - ผมคิดว่าคงจะอยู่ในรัฐบาลชุดนี้ แต่ว่า
สโรชา - คือหนึ่งใน ครม.
สนธิ - อยู่ใน ครม.อาจจะเป็นรองนายกฯ
สโรชา - ด้วยเหตุผลว่าอะไรคะ ว่าท่านเป็นเลขาธิการพรรค
สนธิ - ผมไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่จะเป็นเหตุใดก็ตามเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นสำหรับผม เพราะว่าถ้าท่านนายกฯ เชื่อว่าโพลนั้นเป็นโพลซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง แล้วเมื่อ 365 เสียงของพรรคไทยรักไทยยกมือให้คุณสุริยะแล้วเพื่อดำรงสัจจะวาจาจากการกระทำ การกระทำแสดงออกถึงเจตนา เพราะฉะนั้นเมื่อคุณยกมือให้เขาเจตนาคุณก็คือคุณเชื่อใจเขา เมื่อเจตนาเป็นเช่นนี้คุณก็ต้องเก็บเขาไว้ที่เก่า
สโรชา - โอเค เดี๋ยวรอดูกันค่ะคุณผู้ชมสำหรับการปรับคณะรัฐมนตรีของท่านนายกฯ คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นหลังวันที่ 14 ก.ค.นะคะ หลังจากที่พรรคไทยรักไทยครบรอบ 7 ปีไปเรียบร้อยแล้วก็น่าจะมีข่าวที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ พักกันซักครู่เดี๋ยวกลับมาดูผลโพลกันค่ะ แล้วก็คุยกันถึงความสัมพันธ์ไทย-จีนด้วย ซักครู่เดียวค่ะ
*********************************
สโรชา - กลับมาสู่ช่วงสุดท้ายของเมืองไทยรายสัปดาห์ ไปดูผลโพลกันค่ะคุณผู้ชม เราเรียนถามคุณผู้ชมนะคะว่า ท่านคาดว่าท่านนายกฯ ทักษิณจะให้คุณสุริยะอยู่ใน ครม.ต่อไปหรือไม่ คุณผู้ชมตอบเรากลับมานะคะว่า อยู่ต่อ 44 เปอร์เซ็นต์ ไม่อยู่ต่อประมาณ 56 เปอร์เซ็นต์ เดี๋ยวไปคุญกันถึงเรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีน บ้าง จริงๆ แล้วใครๆ ก็คงเข้าใจว่า ย้อนกลับไป 30 ปีคงจะเป็นจุดเริ่มต้น แต่จริงๆ แล้วสามารถจะแกะรอยไปถึงยุคสุโขทัยเลยด้วยซ้ำ
สนธิ - เราอย่าไปเก่าแก่จนถึงขนาดที่เรียกว่า เหมือนกับที่ท่านรองวิษณุชอบพูดยุคสมัยพระเจ้าลิไท ก็ทำได้ เอาเป็นว่าความสัมพันธ์ไทย-จีนนั้นเป็นความสัมพันธ์ค่อนข้างจะใกล้ชิดกันมาเป็นเวลานับพันปีได้ เอาช่วงเฉพาะที่มันเกี่ยวพันกับเรามากๆ ก็คือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่ประเทศจีนถูกจัดอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์ และประเทศไทยถูกจัดอยู่ในค่ายของสหรัฐอเมริกา มันก็เลยเป็นโดยพฤตินัยว่าเรานั้นรับคำสั่งหรือว่าเป็นนายหน้าของสหรัฐอเมริกาเพื่อที่จะมาต่อต้านคอมมิวนิสต์ เพราะฉะนั้นแล้วอะไรที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-จีนนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่มีคนก่อนหน้านั้นอยู่เยอะหลายๆ คน ไม่ว่าศิลปิน อย่างเช่น คุณสุวัฒน์ วรดิลก นักเขียน คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือว่า อดีตนักการเมือง คุณสังข์ พัฒโนทัย คุณวรรณวัย พัฒโนทัย ตลอดจนคุณดุษฎี พนมยงค์ ท่านผู้หญิงพูลสุข พนมยงค์ พวกนี้ หลายๆ คน คุณกรุณา หลายๆ คนพวกนี้มีส่วนสร้างสัมพันธ์ไทย-จีน ให้เกิดขึ้น โดยการสร้างสัมพันธ์ในระดับประชาชนกับประชาชน หลายต่อหลายกรณีคนพวกนี้ไปเมืองจีนกลับมาแล้วถูกจับหมด ติดคุกติดตารางหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เอาละเนื่องจากว่าตอนนั้นเราเป็นนายหน้าสหรัฐอเมริกา ทุกวันนี้เราก็ยังเป็นอยู่บ้างบางส่วนเพียงแต่ว่าเราไม่ยอมรับเท่านั้นเอง มาถึงยุคที่สำคัญที่สุดก็คือ ยุคช่วงรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตอนนั้นเดือนเมษายน พ.ศ.2518 เวียดนามแตก เขมรแตก ตอนนั้นก็คือทหารสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากเวียดนามแล้วเขมรก็แตก เขมรแดงเริ่มลุกไล่กองทัพของนายพลลอนนอน นายพลลอนนอนคือกองทัพฝ่ายขวา ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นคนหนุนหลัง และประเทศไทยเป็นคนหนุนหลังต่อด้วย ทหารของเขมรแดงไล่ตีกองทัพของนายพลลอนนอนมาทางริมชายแดนทางประเทศไทยทางอรัญประเทศ ทางปราจีนบุรี ระหว่างตีเข้ามาก็จะเริ่มมีพวกเขมรอพยพก้าวเข้ามาสู่ประเทศไทย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เลยเรียกประชุมสภาความมั่นคง ท่านถามมาคำนึงบอกว่า ถ้าเข้ามารบกันจริงๆ แล้วเรายันได้กี่วัน ท่านพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ท่านซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ท่านบอกว่า 3 วันครับท่าน ท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เลยหันไปหา พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัน ตอนนั้นยศ พล.ต. ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ท่านบอกว่าเฮ้ยชาติ 3 วันมันแค่ยิงปืนเรียกพวกยังไม่ทันเลย ไม่ไหวแล้วเดี๋ยวผมจะไปจีนแล้ว นี่คือการตัดสินใจของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กะทันหันเลย
สโรชา - ด้วยเหตุผลนี้
สนธิ - ด้วยเหตุผลอันนี้ เพราะว่าท่านมองว่า ปัญหาใหญ่ๆ มันอยู่ตรงที่ว่า ท่านบอกว่าสถานการณ์โลกเปลี่ยนไปแล้วไม่เหมือนเมื่อก่อน ท่านบอกว่า ถ้าเรายืนอยู่บนที่วิ่งแล้วเราไม่วิ่งตามเราก็ต้องล้ม ท่านบอก ประเทศไทยเหมือนร้านขายข้าวขายแกง ต้องหาลูกค้ามาซื้อข้าวแกงมากๆ จึงจะอยู่ได้ จีนแดงเป็นประเทศใหญ่ เราจะมานั่งหลับตาแล้วบอกว่าไม่มีประเทศจีนแดงอยู่ในโลกไม่ได้ อันนี้สำคัญครับ เราจะมานั่งหลับตาแล้วบอกว่าไม่มีจีนแดงอยู่ในโลกไม่ได้ เหมือนกับรัฐบาลเวลานี้จะมานั่งหลับตาแล้วบอกว่าไม่มีคนไม่ชอบรัฐบาลก็ไม่ได้เหมือนกัน ต้องแก้กระบวนทัศน์แบบนี้ถึงจะบริหารชาติบ้านเมืองได้ ท่านคึกฤทธิ์พูด ตลอดเวลาที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศของไทยติดต่อกับกระทรวงการต่างประเทศของจีนแดงเป็นชั้นๆ มา เช่น การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปิดสัมพันธ์กัน ที่น่าสนใจคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จะเดินทางไปจีนวันที่ 29 มิ.ย. 2518 วันที่ 28 มิ.ย. พล.ท.หม่า จี่เจิ้ง ซึ่งเป็นทูตไต้หวัน ประจำประเทศไทย อำลาจากประเทศไทยวันนั้น 1 วันก่อนท่านคึกฤทธิ์ไป ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ไปการบินไทยแล้วไปลงฮ่องกง จากฮ่องกงก็ต่อเครื่องเข้าไป วันที่ 1 ก็เป็นวันที่ท่านไปเจอ ฯพณฯท่านเติ้ง เสี่ยวผิง แล้วนายหลี่ เซียเหลียน ซึ่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และนายเฉิน กัวหวา ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ก็ดี แล้ว ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ไม่ได้หวังที่จะได้พบท่านประธานเหมา เจ้อตง คณะที่ไป เขาก็ถามว่า เมื่อไหร่มีโอกาสได้พบท่านประธานเหมา อาจารย์คึกฤทธิ์ท่านพูดในเชิงขบขัน ท่านบอก ประธานเหมาเหมือนเจ้าต้องรอว่าจะเข้าทรงเมื่อไหร่ถึงจะได้พบ และปรากฏว่า ไม่มีใครคิดว่าจะได้พบ ปรากฏว่านั่งดูการแสดงของชนกลุ่มน้อยอยู่ก็มีเจ้าหน้าที่มากระซิบบอกว่าท่านประธานเหมาให้พบได้แต่ว่าให้ไปกัน 3 คน มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นายกรัฐมนตรี มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก็คือท่านประกายเพชร อินทุโสภณ แล้วอีกท่านคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เข้าไปเจอ แต่ว่าเวลาคุยกันเขาจะปล่อยให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์คุยกับท่านประธานเหมา เจ้อตง 2 คนก็คุยกันเฮฮาสนุกสนาน ถูกอกถูกใจกันเป็นเวลานานประมาณ 1 ชั่วโมง นั่นคือจุดเริ่มต้นของสัมพันธ์ไทย-จีนได้เริ่มขึ้นมาในวันที่ 30 มิ.ย. 2518 30 ปีเต็มๆ ได้มีการพัฒนากันมาตลอด ได้มีการเสด็จเยือน พระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จเยือนจีนมาครบวันนี้ 24 ปีแล้วนะ พระองค์ท่านไปปีพุทธศักราช 2524
สโรชา - มีพระราชนิพนธ์ด้วย
สนธิ - มีพระราชนิพนธ์ออกมาด้วย เพราะฉะนั้นแล้วอะไรก็ตามที่เราเห็น การจับมือง่าย การเลี้ยงที่มหาศาลาประชาชนที่ยิ่งใหญ่แท้ที่จริงแล้วคนรุ่นเก่าทำไว้ทั้งนั้น
สโรชา - เพราะฉะนั้นก็คงจะได้สานกันต่อสำหรับความสัมพันธ์ไทย-จีน ถือว่าเป็นพี่น้องที่ใกล้ชิดกันมากและก็แยกกันไม่ออกจริงๆ แต่ว่าช่วงท้ายรายการดิฉันขออนุญาตสักนิดนึงเพราะว่าสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่เราจัดรายการครบรอบ 2 ปีพอดิบพอดี สำหรับรูปแบบเมืองไทยรายสัปดาห์ในภาคปัจจุบันได้รับเสียงตอบรับ และกำลังใจจากประชาชนอย่างล้นหลาม และอยากจะกราบขอบพระคุณนะคะสำหรับทุกกำลังใจ ทุกคำถาม ทุกความคิดเห็นที่มีเข้ามาในรายการค่ะ หมดเวลาแล้วค่ะสำหรับเมืองไทยรายสัปดาห์ สัปดาห์นี้ พบกันใหม่ในวันศุกร์หน้าค่ะ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ดิฉันสโรชา พรอุดมศักดิ์ ลาไปเพียงเท่านี้ค่ะ สวัสดีค่ะ
*********************************
คลิกที่ไอคอน Multimedia ด้านบนเพื่อฟังเสียงการสนทนา
สโรชา - สวัสดีค่ะ คุณผู้ชม ขอต้อนรับเข้าสู่รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ อาหารสมองก่อนเข้านอน ในทุกคืนวันศุกร์ค่ะ กลับมาพบกันเป็นประจำค่ะ กับคุณสนธิ ลิ้มทองกุล กับดิฉัน สโรชา พรอุดมศักดิ์ วันนี้วันศุกร์ที่ 1 ก.ค. 2548 เป็นวันครบรอบ 30 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-จีน ซึ่งเมื่อพูดถึงประเทศจีนแล้วคงต้องพูดถึงภูมิปัญญาตะวันออก พูดถึงภูมิปัญญาตะวันออกแล้วคงไม่มีใครที่ไหนที่จะเล่าถึงเรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีนได้ดี หรือว่าใกล้เคียงกับคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ของเรา วันนี้คงจะต้องได้ของความรู้ซักนิดนึง ความสัมพันธ์เป็นยังงัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนห่วงกันมากในส่วนของการค้า เอฟทีเอ ในช่วงนี้ดูเหมือนว่า เหมือนจะดีแต่ก็ไม่ดีซะที คงต้องได้คุยกันถึงอนาคตของความสัมพันธ์ด้วย
สนธิ - มันมีนัยเยอะ และอีกประการหนึ่ง วันนี้ผมอยากจะเล่าเรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีนในอดีต เมื่อ 30 ปีมาจนถึงวันนี้ วันนี้คนไปจำเอาเฉพาะตอนที่ท่านนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไปจับมือกับนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า แต่เขาไม่รู้หรอกครับเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เมื่อปี 2518 นั้นมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น แล้วการตัดสินใจของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในการจะไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนนั้นเบื้องหน้า เบื้องหลังมียังงัย และก่อนหน้านั้นคนอีกหลาย มากมายหลายคนที่ได้บุกเบิกความสัมพันธ์ แล้วก็ต้องติดคุกติดตารางเพราะว่าถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์อีกไม่น้อย กว่าจะมาถึงวันซึ่งพวกเรานั่งดูทีวีแล้วเห็น 2 นายกฯ มานั่งจับมือกัน พวกเราก็ยิ้มแผล่กันนึกว่าโอเคจบแล้ว ไม่ใช่มันมีที่มาที่ไปลึกซึ้งมาก แล้วก็มันมีความข่มขืนอยู่มากหลายในเรื่องราวต่างๆ แต่ว่าไว้พูดกันตอนท้ายดีกว่า
สโรชา - และก็อีกเรื่องหนึ่งค่ะคุณสนธิผ่านไปเรียบร้อยแล้วนะคะสำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ และกระแสการปรับ ครม.ครั้งแรกสำหรับทักษิณ 2 วันนี้คงต้องมาถามกันชัดนิดนึง
สนธิ - ก็มีนัยมากเลยในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ แล้วนัยในการยกมือสนับสนุน และไม่สนับสนุนก็มีความหมายในทางการเมืองเยอะ และมันก่อให้เกิดคำถามกับสาธารณชน สังคมไทย แล้วก็ผู้ที่มีปัญญา และผู้ที่ไม่ลุ่มหลงหลงใหลไปกับการถูกภาพพจน์เข้ามาบดบัง ทั้งคำถามที่น่าสนใจอยู่เยอะ หลายๆ คำถาม และผมคิดว่าเป็นคำถามที่มันมีตรรกะหลายอย่างที่ผมคิดว่าแม้กระทั่งคนของพรรคไทยรักไทยเองวันนี้ก็ตอบไม่ได้ และก็อยู่ในสภาพกระอักกระอ่วนใจ อาจจะถึงขนาดที่เรียกว่าอาเจียนออกมาก็ได้ด้วยความเจ็บช้ำอยู่ในอก เพราะว่าตอบไม่ได้
สโรชา - ตอบไม่ได้นะคะ เดี๋ยวเราคงจะได้คุยกันค่ะคุณผู้ชม แต่ว่าสำหรับคำถามสัปดาห์นี้ที่เราอยากจะเรียนถามคุณผู้ชมนะคะ ก็คือ ท่านคาดว่านายกฯ ทักษิณจะให้คุณสุริยะอยู่ใน ครม.ต่อไปหรือไม่ ถ้าคิดว่าอยู่ต่อนะคะกด MT 1 ไม่อยู่ต่อกด MT 2 ค่ะ ส่งมาที่ 4848888 หรือโทรมาก็ได้ค่ะที่ 0-2201-6055-60 ขอบคุณฟรีอินเตอร์เน็ตค่ะที่เอื้อเฟื้อระบบเอสเอ็มเอสให้กับเรา ต่อกันที่ข่าวประชาสัมพันธ์เล็กน้อยนะคะ อยากจะเรียนเชิญคุณผู้ชมไปร่วมงาน ลดภาษีเริ่มวันนี้กับกองทุนรวมแอลทีเอฟ ในระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์นี้ คือระหว่างวันที่ 2 และ 3 ก.ค.ค่ะ คุณผู้ชมสามารถที่จะพบและเลือกลงทุนในกองทุนรวมแอลทีเอฟได้ด้วยเงื่อนไขพิเศษ รวมถึงครบทั้ง 18 บริษัท ที่มาออกบูธพร้อมจะให้คำปรึกษากับคุณผู้ชมนะคะ ที่งานนี้ค่ะ ที่อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนะคะ สามารถที่จะไปร่วมงานกันได้ในระหว่างเวลา 10.00-19.00 น. อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ถนนรัชดาภิเษก ข้างๆ กับศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พักสักครู่นะคะคุณผู้ชมเดี๋ยวกลับมาคุยกันต่อค่ะ
สโรชา - กลับมาสู่เมืองไทยรายสัปดาห์นะคะ ไปคุยกันถึงเรื่องการเมืองก่อนเลยดีกว่าเพราะว่าจริงๆ แล้วกระแสของการอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ยังคงร้อนอยู่นะคะ เดี๋ยวจะได้ต่อกันเรื่องราวของการปรับคณะรัฐมนตรีด้วย แต่ว่าในการอภิปรายครั้งนี้มีดาวเด่นหลายดวงเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น คุณอภิสิทธิ์ นี่ก็ถูกกล่าวขานค่อนข้างจะเยอะ คุณชูวิทย์ ของพวกเรานี่ก็ร้อนแรงไม่เบาเหมือนกัน
สนธิ - คือมีข้อที่น่าสังเกตอย่างในการอภิปรายครั้งนี้ ผมต้องเรียนคุณสโรชาและท่านผู้ชมที่บ้าน ไม่ทราบว่าได้สังเกตกันบ้างรึเปล่าว่า การอภิปรายครั้งนี้ประชาธิปัตย์ไม่ค่อยเลอะเทอะเหมือนสมัยก่อน สมัยก่อนจะเลอะเทอะมาก คือประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ช่างพูด และช่างค้าน ขอให้ตัวเองได้พูดได้ค้าน จะมีสาระไม่มีสาระไม่สำคัญขอให้ยกมือได้ค้าน ในการอภิปรายในอดีตนั้นพลพรรคประชาธิปัตย์จะขยันกันเข้าชื่อ ขอพูดกันแทบจะทุกคนเลย อาจจะเป็นเพราะว่าโดยพื้นฐานแล้วความที่เป็นพรรคฝ่ายค้านผลงานไม่มีอะไรนอกจากว่าจะมีเสียงในสภาฯ ยกมือแล้วก็ได้ซัก 5 นาที 10 นาที
สโรชา - คือขอให้ได้พูด
สนธิ - ขอให้ได้พูด มันก็เลยเกิดสภาวะการณ์ดำเนินยุทธศาสตร์ที่ผิดมาตั้งนานแล้ว ตั้งแต่การอภิปรายไม่ไว้วางใจตั้งแต่ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ก็คือว่า หวังเป้าใหญ่จนเกินไป จริงๆ แล้วมามีครั้งนี้ผมคิดว่าเขาฉลาด เดิมทีผมคิดว่าเขาก็มองคุณเนวิน ชิดชอบไว้เหมือนกัน
สโรชา - ค่ะก็มีข่าว
สนธิ - ในกรณีเรื่องกล้ายาง แต่ผมคิดว่าอาจจะเป็นเพราะว่าเขาคิดว่าเอาทีละคนดีกว่า เพราะว่าเรื่องกล้ายางยังรอต่อได้ เหตุผลเพราะว่ามันยังไม่ถึงที่สิ้นสุด แต่ว่า ซีทีเอ็กซ์มันเกือบจะเป็นใบเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว ก็คือเป็นอินวอยส์ แต่ยังไม่เป็นใบเสร็จรับเงิน เห็นแล้วอินวอยส์แล้วแต่ยังไม่เห็นใบเสร็จรับเงิน และที่น่าสนใจก็คือว่า ยุทธศาสตร์ครั้งนี้เขาวางได้กระชับ แม่นยำตรงที่ว่า เขาใช้คนไม่เยอะถ้าสังเกตให้ดีๆ ทีนีบางคนก็ ผมคิดว่าเขาไม่ควรใช้แต่เขาใช้ เหตุผลเพราะว่าคนคนนี้เป็นคนซึ่งได้เคยพูดเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น อย่างเช่น คุณสุวโรช พะลัง
สโรชา - คือติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น
สนธิ - ติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น คือเรื่องซีทีเอ็กซ์จะอภิปรายแบบลูกทุ่งมากก็ไม่ได้ จะนักวิชาการจนเกินไปก็ไม่ดี คนก็ฟังไม่รู้เรื่อง ที่สำคัญที่สุดคือต้องเป็นคนอธิบายเรื่องเป็น ที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้คะแนนเสียงอย่างท่วมท้นเหตุผลเพราะว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียบเรียบเรียงเรื่องได้เป็นขั้นตอน เล่าเรื่องมาเหมือนกับพูดจากกันบนโต๊ะกินข้าว โดยใช้ศัพท์ที่ไม่ใช่สูงส่งแต่ยังคงเอาไว้ในสถานการณ์ของการเชือดเฉือนบ้างเป็นบางครั้งบางคราวซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ทีนี้คุณอภิสิทธิ์เวลาพูดจาทำให้ผมนึกถึงท่านอดีตหัวหน้าชวนไม่ได้ คือจะมีลักษณะการพูดคล้ายๆ กัน แต่ว่าคุณอภิสิทธิ์ ด้วยความเคารพท่านอดีตหัวหน้าพรรคชวน จะมีภาษีเหนือกว่าเยอะตรงที่ว่าความรู้แกสูงกว่า เพราะฉะนั้นคุณอภิสิทธิ์ครั้งนี้ใช้เนื้อหาสาระอภิปรายมากกว่าใช้คารมคมคาย สมัยก่อนอาจจะคารมคมคาย 70 เปอร์เซ็นต์ เนื้อหาสาระ 30 งวดนี้กลายเป็นเนื้อหาสาระ 70 แล้วก็คารมคมคาย 30 เปอร์เซ็นต์ นั่นข้อที่ 1 ที่เป็นที่น่าสังเกต ข้อที่ 2 ผมเข้าใจว่าเขามีการแบ่งเป็นตอน หัวข้อให้แต่ละคนได้อภิปรายโดยที่การซ้ำซ้อนกันนั้นมีค่อนข้างน้อยไม่มากเหมือนแต่ก่อน
สโรชา - ไม่ใช่ฟังคนนึงแล้วไปฟังอีกคนนึงเนื้อหาเหมือนกันเลย
สนธิ - แต่ก่อนเหมือนกับเปิดเทปซ้ำ แผ่นเสียงตกร่อง อาจจะเพิ่มเพลงมาซักเพลงแต่ว่าต้องฟังเพลงแรกซะก่อน พอมาคนที่ 3 ก็ต้องฟังเพลงแรก แล้วก็มีเพลงเพิ่มสั้นๆ อีกเพลง แต่งวดนี้เป็นการจัดระเบียบวาระได้ดี ที่น่าเสียดายที่สุดก็คือ ท่านรัฐมนตรีลิปซิงค์ของเรา คือ ท่านรัฐมนตรีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ความจริงแล้วคุณสุริยะเป็นคนที่ โดยการพูดการจา ลักษณะหน้าตาท่าทางจะเป็นคนซึ่งอินโดนเซนต์ ภาษาอังกฤษเรียกว่า บอยอิช หน้าดูเด็ก แล้วก็ความที่เขาบอกว่าคุณสุริยะพูดไม่เป็น พูดตะกุกตะกัก จริงๆ แล้วมองในมุมกลับอันนี้เป็นเสน่ห์
สโรชา - เสน่ห์หรอคะ
สนธิ - เสนห์ซิ ระหว่างคนที่พูดเก่งแล้วว่าคุณฉอดๆๆๆ ตลอดเวลา แล้วคุณตอบโต้แบบตะกุกตะกัก พูดไปคิดไปพูดไปคิดไปเพราะว่าไม่เก่ง คนจะเห็นใจ
สโรชา - อ๋อ ได้ความเห็นใจไปครึ่งนึงแล้ว
สนธิ - ได้ความเห็นใจไปเกินครึ่งแน่นอนที่สุด คนไทยนี่แปลกพอเห็นใจแล้วสาระไม่สนใจ
สโรชา - สงสารอย่างเดียว
สนธิ- สงสารอย่างเดียว เป็นเรื่องอย่างนี้จริงๆ นี่เรื่องจริง เพราะว่าผมเจอเหตุการณ์มาบ่อย ในวงการราชการ ข้าราชการบางคนทำชั่วจะโดนเล่นงานวิ่งเข้าไปหาอธิบดีกอดขาแล้วร้องไห้
สโรชา - ขนาดนั้นเลยหรอคะ
สนธิ - บ่อยไป คุณนะไม่รู้อะไรระบบราชการ
สโรชา - จริงหรอ
สนธิ - กอดขาร้องไห้บอกว่า ท่านครับ ท่านขา ผม ดิฉันโดนกลั่นแกล้ง แหม แล้วก็ร้องไห้โฮ ร้องไห้โฮ ความใจอ่อนทำให้ลืมหลักการไปหมด หรือแม้กระทั่งบางครั้งไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง เข้าไปกราบที่แทบเท้าเลยบอกว่า ท่านครับแม้กระทั่งชีวิตผมก็จะมอบให้ ขอเถอะครับท่าน พูดอยู่จนกระทั่ง เอามึงอยากเอาไป คุณสโรชาจำไว้อย่างนะในอนาคตใครก็ตามมาพูดกับคุณนะ บอกว่า ผมรักคุณ หรือว่า ผมชีวิตก็ยอมตายแทนคุณได้ คุณอย่าไปเชื่อนะ
สโรชา - ไม่เชื่อ เชื่อไม่ได้หรอคะ
สนธิ - คุณเลิกคบได้เลยนะไอ้หมอนั่น ผมจะบอกให้รู้นะ ผมไม่ได้หมายถึงใครคนใดคนหนึ่ง ผมหมายถึงทั่วๆ ไป เพราะผมเคยเจอแล้ว พี่สนธิผมรักพี่ตายผมก็ตายแทนได้ ปรากฏว่าพอมีภัยทีไรมันเป็นคนแรกที่วิ่งหนี แล้วมันไม่เคยกลับมาหาอีกเลย ทีนี้คุณสุริยะก็พลาด ความที่พลาดก็ตรงที่ว่าปล่อยให้คุณเนวินไปเป็นโคช
สโรชา - แต่คุณเนวินบอกว่าผ่านการอภิปรายมาเยอะ รู้งาน รู้ว่าควรจะเตรียมยังงัย
สนธิ - เรื่องซีทีเอ็กซ์ไม่ใช่เรื่องเล่นคำพูดกันละ เรื่องซีทีเอ็กซ์คือการใช้ตรรกะเพื่อมาต่อสู้กันในเชิงเหตุผล ไม่ใช่มามีคำว่า พุทโธ ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจตรงนี้ ไม่ใช่มาบอกว่า พูดถึงว่าสมัยนั้นพวกคุณก็เป็นคนนิสัยแบบนี้ ไม่ใช่เลยแม้แต่นิดเดียว เรื่องซีทีเอ็กซ์มันมีอยู่ไม่เกิน 12 ข้อ ทำอย่างไรจะหาเหตุผลและหลักฐานไปค้าน 12 ข้อนั้นให้เป็นกิจจะลักษณะ ซึ่งเท่าที่ผมฟังแล้วผมคิดว่าประชาชนทั่วไปฟัง นี่พูดด้วยความสัตย์จริงไม่ได้เข้าข้างใครและไม่ได้เป็นอคติกับใคร คุณสุริยะตอบไม่ได้ ตอบไม่ได้หลายปัญหา และอีกหลายๆ ปัญหายังจะคาใจอยู่ เพราะปัญหาของ 1,500 ล้านบาทที่จ่ายไปแล้วของยังไม่มา นี่สำคัญมาก อันที่ 2 รู้ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนพฤศจิกา ธันวา ว่าเขาจะส่งของให้ไม่ได้แล้วยังจ่ายงวด 3 งวด 4 ต่อไป ตรงนี้แน่นอนตอบไม่ได้ แล้วยังมีอีกหลายๆ ข้อตอบไม่ได้ ไม่เป็นไรครับเรื่องนี้ช่างมัน ประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดผมคิดว่า ปัญหาเรื่องซีทีเอ็กซ์ก็คือว่า เนื่องจากว่าเป็นการที่ฝ่ายหนึ่งเอาหลักฐานที่ค่อนข้างจะแน่นแฟ้นมา อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับ อีกฝ่ายหนึ่งต้องการปกป้องพวกตัวเองอย่างสุดฤทธิ์สุดเดชโดยไม่คำนึงถึงคำว่าถูกหรือผิด ก็ขอว่า ขอให้เป็นพวกตัวเอง พวกมากลากไป ซึ่งลักษณะแบบนี้ไม่ใช่เพิ่งจะเกิดกับพรรคไทยรักไทย ลักษณะแบบนี้ก็เคยเกิดกับพรรคประชาธิปัตย์ ก็เคยเกิดกับพรรคความหวังใหม่ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นประเด็นซึ่งผมต้องกลับมาถามอีกครั้งหนึ่งว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับการเมืองเมืองไทย ถ้าถามผมว่าผมผิดหวังอะไรมากที่สุดในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ และการลงคะแนนเสียงครั้งนี้ ผมผิดหวังและผมสมหวังอยู่ 2 เรื่อง ผมผิดหวังตรงกรณีที่พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคที่เคยบอก ท่านนายกฯ ทักษิณ เคยบอกว่าท่านเข้ามาเล่นการเมืองครั้งนี้ท่านจะเข้ามาเล่นการเมืองแบบคิดใหม่ทำใหม่ แต่กระบวนการที่ผ่านมา การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตลอดจนการลงคะแนนเสียง ไม่ใช่เป็นวิธีการคิดใหม่ทำใหม่
สโรชา - มันเป็นเรื่องที่การเมืองไทยมีมานานแล้ว
สนธิ - การเมืองไทยมีมานาน แล้วไม่ใช่ของใหม่เลย เป็นน้ำเน่าเก่าๆ แล้วเน่าสุดๆ ผมเสียดายตรงนี้ ผมหวังว่าท่านนายกฯ และพรรคไทยรักไทยจะเป็นตัวอย่างทางการเมือง
สโรชา - คุณสนธิหมายถึงเรื่องอะไรคะเรื่องมติพรรคว่าจะต้องลงตามนั้น
สนธิ- เรื่องการลงคะแนนเสียง ถูกต้องครับมติพรรค แล้วผมจะเล่าให้ฟังในตอนที่ 2 รายการวันนี้ว่ามันจะมีผลต่อไปอย่างไรบ้างเพราะว่า คุณสโรชาต้องเข้าใจอย่างนะครับ ประชาชนที่ดูโทรทัศน์อยู่เขาดูตั้งแต่ต้นจนจบเผลอๆ ยังมากกว่า ส.ส.หลายคนของพรรคไทยรักไทยที่นั่งอยู่ในสภาฯ ซะด้วยซ้ำ เดินเข้าๆ ออกๆ เพราะฉะนั้นแล้ววุฒิภาวะการรับรู้ของประชาชนที่รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ที่คุณอภิสิทธิ์กล่าวหา ที่คุณสุวโรช พะลัง กล่าวหา ที่คุณอลงกรณ์ พลบุตร กล่าวหา ที่คุณถาวร เสนเนียม กล่าวหา ที่คุณหลายคนกล่าวหา กับข้อตอบโต้ของรัฐมนตรีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ตอบโต้แต่ละคน วุฒิภาวะการรับรู้ไม่ได้ด้อยไปกว่า ส.ส.ไทยรักไทยที่นั่งอยู่ในสภาฯ เช่นกัน เผลอๆ จะมากกว่าเสียด้วยซ้ำ เพราะว่ามีอยู่ไม่น้อยที่มีสติปัญญาแล้วสมองฉลาดกว่า ส.ส.ไทยรักไทย ที่นั่งอยู่ในนั้นมาก เพราะฉะนั้นแล้วความรับรู้และการตัดสินใจ วิจารณญาณที่ประชาชนนั่งฟัง นั่งดูอยู่ไม่ได้ด้อย แล้วเขาสามารถจะตัดสินผิดถูก ชอบชั่วดีได้ทันทีว่าใครตอบถูกไม่ถูก ยกเว้นกรณีคุณชูวิทย์ของผม คุณชูวิทย์ของผมค่อนข้างจะเป็นละคร ลิเก แรงไปนิดนึง แต่ก็อีกช่วยไม่ได้ในเมื่อทางพรรคไทยรักไทยชอบการตลาดมานักคุณชูวิทย์ก็เลยเอาการตลาดมานำหน้าบ้าง จะไปตำหนิเขาก็ไม่ได้ คือสรุปง่ายว่า เมื่อมติประชาชน ความคิดเห็นของประชาชนได้ถูกแสดงออกในทางโพล ผลโพล ผลสำรวจออกมาชัด
สโรชา - มีอย่างน้อย 2-3 โพล
สนธิ - 2-3 โพลยืนยันเหมือนกันหมด ยืนยันเหมือนกันหมดว่าประชาชนเชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นจริง ทำไมเขาถึงเชื่อ ที่เขาเชื่อเพราะวุฒิภาวะการรับรู้ของเขาเขารับรู้จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาฯ และถ้าเราคิดว่าการเมืองคือคำตอบในการแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองเราใยไม่ยอมรับว่าการซักซ้อมซักค้านในสภาฯ นั้น และการตอบโต้ในสภาฯนั้นก็คือมาตรฐานการวัดว่าสิ่งที่พูดนั้นจริงหรือไม่จริง
สโรชา - ท่านนายกฯ บอกว่าจริงๆ แล้วถ้าดูจากผลโพลอาจจะไม่ได้ซะทีเดียวเพราะว่าเปิดมาทีไรฝ่ายค้านกำลังโจมตีอยู่ โจมตีอยู่ตลอด จะได้ยินท่านรัฐมนตรีน้อยมาก
สนธิ - ไม่ได้ ท่านนายกฯ พูดอย่างนั้นก็ไม่ถูก ทำไมท่านนายกฯ ไม่ดูผลโพลโทรทัศน์ท่านนายกฯ เองล่ะ ไอทีวี
สโรชา - ไม่ใช่ของท่านนายกฯ
สนธิ - ใช่มั๊ยฮะ ผลโพลของไอทีวีจะเป็นผลโพลเดียวที่คนส่งเข้าไป เป็นการส่งแมสเซทเข้าไป ซึ่งการส่งแมสเซทไม่เหมือนการที่เอแบคโพล สวนดุสิตโพลที่เขาไปสอบถาม เพราะฉะนั้นการส่งแมสเซทจัดตั้งเมื่อไหร่ก็ได้กดเข้าไป มีไอทีวีเจ้าเดียวที่ผลโพลบอกว่าทางรัฐมนตรีสุริยะตอบได้ชัดเจนและทางฝ่ายค้านตอบไม่ได้ เอาละพักตรงนั้นไปก่อนเรามาดูผลโพลเอแบค ผลโพลของสวนดุสิต กรุงเทพโพล ทุกคนโดยหลักการแล้วเป็นอย่างนั้นหมดเลย ถูกต้องหมด ทีนี้ผมถามต่อ เวลาผลโพลออกมาแล้วชมรัฐบาลชุดพรรคไทยรักไทยในเรื่องนโยบายบางนโยบาย ถามประชาชนแล้วประชาชนบอกว่าชอบ ถูกต้อง ผมไม่เคยเห็นพรรคไทยรักไทยออกมาโวยวาย ผมไม่เคยเห็นท่านนายกฯ ออกมาโวยวาย แต่ทำไมพอเขาบอกว่า ประชาชนเชื่อฝ่ายค้านมากกว่าจะต้องมาโวยวาย แพ้แล้วยังงัย ชนะแล้วยังงัย เข้าใจมั๊ยฮะ ผมคิดว่าต้องนักเลง จิตใจต้องเป็นธรรมนิดนึง ใจผมกลับคิดว่า น่าที่จะเอาผลโพลตรงนี้เอามาวางแล้วมานั่งพิจารณากันซักนิดนึง ว่าประชาชนเขามองเราอย่างนี้นะ ประเด็นทำไมเขาถึงมองเราอย่างนี้ เรามาแก้ไขกันดีกว่ามั๊ย
สโรชา - ก็นี่ที่มาของการปรับคณะรัฐมนตรีรึเปล่าคะ
สนธิ - ซึ่งเราจะพูดกันตอนที่ 2 แต่ว่าก่อนที่จะจบตอนนี้ผมจะชี้ให้เห็นนิดนึง ในที่สุดแล้วมติพรรคที่ออกมามันมีนัย คุณสโรชาทราบใช่มั๊ยครับว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 149 พุทธศักราช 2540 บัญญัติไว้ว่ายังงัย บัญญัติไว้ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทยไม่ใช่เพื่อมติพรรคการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น นี่คือรัฐธรรมนูญมาตรา 149 พุทธศักราช 2540 ถ้าเรามองย้อนไปจนถึงรัฐธรรมนูญมาตรา 120 พุทธศักราช 2475 บัญญัติไว้ชัดเจนกว่านี้ บัญญัติว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนชาวสยามมิใช่แทนแต่เฉพาะผู้ที่เลือกตนขึ้นมา ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติที่มอบหมายจากผู้ใดทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นแล้วด้วยเหตุอันนี้มติพรรคของไทยรักไทยจึงสวนกระแสกับมติความคิดเห็นของประชาชน คำถามว่าใครถูกใครผิด
สโรชา - ถ้าดูตาม 149 แล้วก็ค่อนข้างชัดเจน
สนธิ - ประเดี๋ยวเราค่อยคุยกันต่อในเบรคที่ 2
สโรชา - เดี๋ยวคุยกันต่อนะคะคุณผู้ชมในเรื่องของมติพรรค ในเรื่องของความถูกต้อง ในเรื่องของการที่ ส.ส.จะสะท้อนความคิดเห็นของพรรค หรือสะท้อนความคิดเห็นของคนที่เลือกเขาเข้ามา และเรื่องราวของการปรับคณะรัฐมนตรี
*********************************
สโรชา - กลับมาสู่เมืองไทยรายสัปดาห์ เมื่อสักครู่ทิ้งท้ายกันด้วยมาตรา 149 ของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 ในเรื่องของการที่จะเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย หน้าที่ของท่าน ส.ส.ทั้งหลายแหล่ และความสำคัญ
สนธิ - ต้องเป็นหน้าที่ และเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย ไม่ใช่เป็นตัวแทนของพรรคการเมือง คุณสโรชาจำได้มั๊ยเมื่อวันที่ศุกร์ที่ 4 ก.พ. 2548 ผมได้ทำนายไว้ เลือกตั้งเสร็จใหม่ๆ ผมเป็นคนพูดเองว่า ประชาธิปไตยของประเทศไทยมีเพียงแค่ 4 วินาทีเอง
สโรชา - อ๋อจำได้ที่บอกว่า 4 วินาทีในการหย่อนบัตร
สนธิ - ในการหย่อนบัตร พอเป็นช่วงที่หย่อนบัตรเสร็จแล้ว คุณหย่อนบัตรเสร็จ ระหว่างหย่อนก็นับ 1 2 3 4 ก็เสร็จ สิทธิ์ของคุณหมดแล้วนะเพราะหลังจากนั้นแล้ว เท่าที่เป็นไปตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบันนะรัฐบาลส่วนใหญ่พอได้รับเลือกตั้งเข้ามาแล้วทำอะไรเวลาเราไม่เห็นด้วยเขาไม่เคยฟัง เพราะฉะนั้นแล้วท่านผู้ชมผมเคยพูดว่าประชาธิปไตยเมืองไทยนั้นมีอยู่แค่ 4 วินาที ผมยังยืนยันอยู่ ท่านมีหน้าที่หย่อนบัตรเท่านั้นเอง พอท่านหย่อนบัตรเสร็จเรียบร้อยแล้วสิทธิท่านหมดแล้ว ท่านคิดยังงัย มติมหาชน ประชาชน จะโพลออกมาชัดเลยว่าการอภิปรายเป็นยังงัยไม่มีใครสนใจอะไรทั้งสิ้น
สโรชา - ถ้ากลับไปดูตัวของรัฐธรรมนูญกฎหมายที่ว่า 149 ขัดมั๊ยคะต่อมาตรากที่บังคับให้ ส.ส.สังกัดพรรคการเมือง
สนธิ - มันเป็นเรื่องของการเล่นคำ ทางพรรคการเมืองจะบอกว่าในเมืองพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งเข้ามาแล้วมติพรรคนั่นคือมติของปวงชนชาวไทย
สโรชา - พูดง่ายๆ พรรคก็คือตัวแทนปวงชนชาวไทย
สนธิ - ถูกต้อง ถูกต้อง คำว่าปวงชนชาวไทยมันตีความยาก ปวงชนของใครล่ะ
สโรชา - ถ้าพูดกันยังงี้แหมต้องพูดยาว
สนธิ - ก็ต้องพูดกันยาว ทางนี้ก็จะอ้างว่าตัวเองมีอยู่ 377 เสียง
สโรชา - ก็เท่ากับว่าได้รับมติ
สนธิ - ได้รับฉันทามติมาถึง 19 ล้านเสียง ก็ชอบอ้างกันตลอดเวลาว่า 19 ล้านเสียง แล้วเป็นยังงัยวันนี้ 19 ล้านเสียง คุณจำได้มั๊ยผมเคยพูดเมื่อกุมภาพันธ์ ว่ายิ่งมี 377 เสียงเท่าไหร่ยิ่งน่ากลัว ต้องใจกว้าง ถ้าใจไม่กว้างแล้วคุณมี 377 เสียงเหมือนคุณไม่มีเสียงเลย
สโรชา - ก็ไม่ได้หมายความว่ามั่นคง
สนธิ - ถูกต้อง ใจกว้างหมายความว่ายังงัย ใจกว้างหมายความว่า ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้เขาไม่ได้อภิปรายเพื่อล้มรัฐบาล เขาอภิปรายตัวบุคคลเพียงคนเดียว ทำไมเราไม่ใจกว้างที่จะบอก ส.ส.พรรคไทยรักไทย แล้วพิสูจน์ความจริงใจให้กับประชาชนทั้งหมด เลยบอกว่าพรรคไทยรักไทยเป็นพรรคที่รักความเป็นธรรม รักความยุติธรรม รักความซื่อสัตย์สุจริต
สโรชา - เพราะฉะนั้นไม่มีมติพรรค
สนธิ - ไม่มีมติพรรค คุณลงคะแนนเสียงไปตามมโนธรรมที่คุณอาจจะพูดถึง ที่คุณคิด แล้วจริงๆ แล้วเมื่อมันเป็นเช่นนี้แล้วผมคิดว่ามันไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ มันเป็นเรื่องที่ทำได้ เหตุผลก็เพราะว่า 1. คือถ้ามันเป็นการลงคะแนนเสียงเพื่อล้มรัฐบาลนั้นอาจจะเป็นอีกกรณี ทั้งหมดยกเว้นคุณเสนาะ เทียนทอง ซึ่งจุดยืนชี้ให้เห็นชัดตั้งแต่ต้นแล้ว ส.ส.พรรคไทยรักไทยทั้งหมดผมพร้อมจะยกมือไหว้ผู้หญิงอยู่คนเดียวคือ คุณภัทรา วรามิตร
สโรชา - ที่ว่ากดผิดนะหรอคะ
สนธิ - ผมเชื่อไม่ได้กดผิดหรอก ส.ส.กาฬสินธุ์ แกกดไปตามจิตสำนึกของแกเพราะแกไม่เห็นด้วย แล้วโดนผู้ใหญ่ของพรรคลากไปข้างหลังไปถล่ม ไปบี้แกซะจนแกออกมาแกตัวสั่นงันงกหมดเลย โทรทัศน์ฉายก็รู้ ผมคารวะในจิตใจผู้หญิงคนนี้ สุดยอด คนกาฬสินธุ์ให้ภูมิใจไปเลย ส.ส.หญิงคนนี้ใช้ได้เลยทีเดียว ผมเชื่อว่าเขารักพรรคไทยรักไทย เหมือนกับที่ผม ผมก็หวังว่าพรรคไทยรักไทย หรือท่านนายกฯ จะเล่นการเมืองแบบใหม่ คิดใหม่ทำใหม่ เป็นกัลยานิมิตรที่กล้าที่จะแสดงออก อธิบายให้ท่านฟังว่า สิ่งที่ท่านทำอยู่นั้นผมไม่เห็นด้วย มันไม่ถูกต้องตรงไหน ถ้าท่านแก้ซะท่านจะเป็นนายกฯ ที่ดีเลิศ เหมือนกับคุณภัทรา วรามิตร ที่กล้าพอที่จะกดเพราะว่าเขาคิดว่ามโนธรรมของเขาบอกว่า เขาฟังแล้วคุณสุริยะพูดแล้วฟังไม่ขึ้นเขาถึงกดไปอย่างนั้น แล้วผู้ใหญ่ก็ไปรังแกเด็กกัน
สโรชา - กดตามจิตใต้สำนึก
สนธิ - จิตใต้สำนึก เพราะอะไร เพื่อลากออกมา เพื่อบังคับให้พูดว่ากดผิด
สโรชา - แต่กดไปแล้วแกก็ตกใจตัวเองนะว่ากดไปอย่างนี้ได้ยังงัย
สนธิ - แกออกมาให้สัมภาษณ์แบบนี้หลังจากที่แกโดนลากไปโซ้ยอยู่ข้างหลังฉากอยู่ตั้งนาน
สโรชา - อ๋อมีผู้ใหญ่เรียกไปหรอคะ
สนธิ - มีผู้ใหญ่เรียกไปแล้วถึงออกมาพูดอย่างนี้ คุณสโรชา แกจบวิศวะ
สโรชา - อายุ 29 แล้วนะ
สนธิ - อายุ 29 นะ อายุน้อยกว่าคุณสโรชา 2 ปี
สโรชา - เท่ากัน
สนธิ - คือแกจบวิศวะแกจะกดผิดได้ยังงัย แล้วแกจบปริญญาโท
สโรชา - คุณสนธิไม่เชื่อว่าแกกดผิด
สนธิ - ผมไม่เชื่อว่าแกกดผิด ขนาดดีๆ ชั่วๆ ถ้าผิดในเรื่องเสียบบัตรแทนกันผมยอมรับได้ เหมือนที่เคยทำกัน แต่กดผิดนี่เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องคารวะจิตใจแก ทีนี้ใครก็ตามไปรังแกแกแบบนี้ คือตอนนี้ในวงการสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ และประชาชนส่วนใหญ่เขารู้กันหมดแล้ว มันไม่อายกันบ้างหรอ ผมเห็นคนออกมาให้สัมภาษณ์ถ่ายรูปหนังสือพิมพ์ เอาคุณภัทรามานั่งหน้าตาแกเหมือนจะร้องไห้ แล้วพอเสร็จเรียบร้อยแล้วพอประชุมงบประมาณต่อ ภาพหนังสือพิมพ์ก็ฟ้องอีกว่าแกไปนั่งข้างหนังอยู่คนเดียว แสดงว่าแกเจ็บช้ำน้ำใจมากเรื่องพวกนี้ คือมโนธรรมข้างในแกมันกำลังต่อสู้กับตัวแก
สโรชา - กับความเป็น ส.ส.พรรค
สนธิ - ความเป็น ส.ส. แกคงจะพูดกับตัวเองว่า เอ๊ะฉันมันผิดตรงไหนฉันกดตามจิตใต้สำนึกฉัน แล้วเรียกมาบังคับให้ฉันพูดอย่างนี้ นี่คุณสโรชา
สโรชา - ถ้ามีคำถามว่า เป็นไปได้มั๊ยว่าเอาละ ถ้าสมมุติพูดเรื่องมติพรรค ส.ส.ที่สังกัดปาร์ตี้ลิสต์ต้องเป็นไปตามมติพรรคในขณะที่ ส.ส.ที่เป็นตัวแทนเขตสามารถที่จะกดตามเสียงของประชาชนที่ตัวเองเป็นผู้แทนในเขตนั้นๆ ได้ เพราะถือว่าประชาชนเลือกบุคคลไม่ได้เลือกพรรค
สนธิ - ถ้าคุณสโรชาถามผมอย่างนี้ผมถามกลับ ส.ส.ที่อยู่ในปาร์ตี้ลิสต์นี้มีกระบาลรึเปล่า คิดเป็นบ้างมั๊ย
สโรชา - ควรจะต้องเป็นซิ
สนธิ - ถ้าคิดเป็นแล้วทำไมจะต้องทำตามมติพรรค
สโรชา - ก็เขาเลือกพรรคไม่ได้เลือกตัวบุคคล ในตัวปาร์ตี้ลิสต์นะ นี่คือในตัวปาร์ตี้ลิสต์นะเขาเลือกพรรคไม่ได้เลือกบุคคล แต่ดิฉันกำลังบอกว่าในระบบเขต คือชัดเจนว่าเลือกตัวบุคคล น้อยครั้ง หรือว่าจริงๆ แล้วพิสูจน์ไม่ได้ว่าเลือกพรรครึเปล่า แต่ที่แน่ๆ บุคคลนี้ได้รับเลือกมา
สนธิ - คือถ้าคุณจะถามแบบกำปั้นทุบดิน ก็ตอบแบบกำปั้นทุบดิน ถ้าคุณอยากได้ก็ได้ไป ก็จริงก็มีเหตุผลพอสมควร แต่ว่าโดยพื้นฐานคุณจะเลือกพรรคหรือเลือกอะไรก็ตามถ้าคุณมีสติปัญญาซักนิดนึง ถ้าคุณมีวุฒิภาวะ ที่สำคัญที่สุดถ้าคุณมีจิตใจรักชาติบ้านเมือง พรรคจะเหนือกว่าชาติบ้านเมืองได้ยังงัย ถ้าคุณมีตรงนี้อยู่ในจิตวิญญาณคุณคุณย่อมสามารถจะตัดสินใจได้โดยที่คุณไม่ต้องคำนึงถึงอะไร แต่ไม่เป็นไรนัยมันมีมาก ผมไม่รู้ทั้งวิปที่นั่งประชุมกันข้างหลังแล้วบอกว่ายังงัยต้องยกคะแนนให้ได้มากที่สุด เขาทำไปเพื่ออะไร เขาทำไปเพื่อโชว์ซับพอร์ตว่าเขาต้องซับพอร์ตคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
สโรชา - ท่านเป็นเลขาธิการพรรคด้วย
สนธิ - เป็นเลขาธิการพรรค คำถามมีต่อไปคุณสโรชา ผมถามบอกว่า ถ้าอย่างนั้นแล้ว 372 เสียงใช่มั๊ย
สโรชา - 372 เสียงใช่
สนธิ - 372 เสียงที่ยกมือให้คุณสุริยะ
สโรชา - 367 ค่ะ
สนธิ - 367 เสียง ที่ยกมือให้คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นัยในทางการเมืองก็คือว่า คุณสุริยะสอบผ่าน ฟังคุณสุริยะตอบโต้พรรคฝ่ายค้านแล้วมีเหตุมีผล พรรคฝ่ายค้านไม่สามารถที่จะมาหักล้างคำตอบของคุณสุริยะได้ ก็เท่ากับว่าคุณสุริยะบริสุทธิ์ ถ้าอย่างนั้นผมขอกราบเท้าเลยอย่าเปลี่ยนคุณสุริยะ ขอร้องให้คุณสุริยะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต่อ เขาไม่ผิด เขาไม่ผิด ถ้าคุณปรับ ครม.ใหม่แล้วย้ายคุณสุริยะไปนั่งที่อื่นก็เท่ากับว่า 367 เสียงที่คุณยกมือให้ คุณกำลังผายลม นี่เรื่องจริง นี่ผมพูดกันตรงไปตรงมา ถ้าคุณยังยึดถือว่า 360 กว่าเสียงที่คุณยกมีมติพรรคให้หนุนคุณสุริยะเหตุผลก็เพราะคุณสุริยะตอบได้ถูกต้อง คุณต้องไม่ย้ายคุณสุริยะออกจากรัฐมนตรีคมนาคมยังต้องให้นั่งอยู่ที่เดิม
สโรชา - โดยหลักการใช่
สนธิ - โดยหลักการต้องเป็นอย่างนั้น
สโรชา - แต่จะทานกระแสสังคมไหวหรอคะ
สนธิ - แล้วทำไมคุณมาแคร์กระแสสังคมตอนนี้ล่ะ เวลาคุณยกมือคุณไม่แคร์กระแสสังคมหรอ
สโรชา - ตอนนั้นโพลยังไม่ออก 3 โพลยังไม่ออก
สนธิ - เดี๋ยวไม่ใช่ โพลไม่โพลไม่สำคัญ คนโบราณเขาว่า เวลาจะพูดอะไร จะทำอะไรให้ระลึกถึงสิ่งที่จะตามมาทีหลัง ถ้าคุณจะยกมือคุณต้องระลึกถึงเสมอว่า สิ่งที่จะตามมาทีหลังคืออะไร เมื่อคุณยกให้เขาแล้วเท่ากับว่าคุณให้ฉันทานุมัติทั้งหมด 360 กว่าเสียงว่าคุณสุริยะไม่มีเงื่อนงำอะไรทั้งสิ้น แล้วคุณเชื่อใจในตัวคุณสุริยะ เมื่อคุณเชื่อใจในตัวคุณสุริยะแล้วมีเหตุผลอันใดเล่าที่คุณต้องโยกย้ายคุณสุริยะ ก็เก็บเอาไว้ซิ คุณจะไปแคร์เรื่องเสียงประชาชน เสียงโพลทำไม ก็ในเมื่อคุณยกมือคุณยังไม่แคร์เสียงใครทั้งสิ้นเลย นี่แหละคือเงื่อนตาย แต่ว่าถ้าเขาย้ายคุณสุริยะ คำถามก็ถามกลับไปอีก ถ้าอย่างนั้นระบบพรรคการเมืองบ้านเรา ระบบรัฐสภาเราที่เที่ยวยกมือกันเป็นว่าเล่นเหมือนกับผายลมอย่างนี้มันจะมีประโยชน์อะไร ถูกไม่ถูก
สโรชา - ถูก ถ้าสมมุติย้าย
สนธิ - ถ้าสมมุติย้าย ใช่ไม่ใช่ ไม่ใช่นี่เรื่องจริง และนี่คือตรรกะ นี่คือตรรกะ ถ้าคุณย้ายก็แสดงว่าที่คุณยกมือเมื่อ 2-3 วันที่แล้วมันใช้ไม่ได้ ผมก็ถามกลับแล้วคุณยกไปทำมวย
สโรชา - เขาก็บอกว่า ในเวลานี้กระแสค่อนข้างที่จะชัดเจน และอีกอย่างความศรัทธาในตัวรัฐบาล ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาราคาน้ำมัน ปัญหาความมั่นคง มันค่อนข้างรุมเร้า
สนธิ - กระแสค่อนข้างจะชัดเจนแต่ว่าท่านนายกฯ เป็นคนพูดเองไม่ใช่หรอว่าโพลเชื่อไม่ได้
สโรชา - ปัญหาอื่นเปล่า ท่านพูดถึงปัญหาอื่นมั๊ง
สนธิ - ไม่ท่านเป็นคนพูดเองว่า โพลนี้เชื่อไม่ได้เพราะว่าฝ่ายค้านออกมาพูด 8 คน คุณสุริยะพูดคนเดียว เพราะฉะนั้นแล้วโพลที่บอกว่า ประชาชนเชื่อถือไม่ได้ ใช่มั๊ย ท่านฟันธงไปแล้วนิ เมื่อท่านฟันธงไปแล้วกรุณาอย่าย้ายคุณสุริยะ ขอให้นั่งอยู่ที่เก่า
สโรชา - คุณสนธิคิดว่าเป็นไปได้หรอคะ
สนธิ - ผมไม่รู้ ผมใช้ตรรกะเข้าว่า เพราะฉะนั้นแล้วอีกประการนึงพูดถึงเรื่องปรับ ครม.
สโรชา - ก็นี่งัยเรากำลังพูดถึงเรื่องปรับ ครม.
สนธิ - 11 มี.ค.2548 รายการบนโต๊ะนี้ หลังจากเดือน ก.พ.ที่ผมที่บอกว่าประชาธิปไตยไทยมีอยู่เพียงแค่ 4 วินาที 11 มี.ค.ท่านผู้ชมทางบ้าน หรือคุณสโรชาถ้าจำได้ผมเป็นคนพูดเองว่า ประมาณ 3 หรือ 4 เดือนจะมีการปรับ ครม. ครม.นี้เป็น ครม.ชั่วคราว
สโรชา - ถูกต้อง ใช่ใช่เพราะดิฉันจำได้ว่าเราคุยกันถึงการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดแรก
สนธิ - ถูกต้อง เพราะฉะนั้นแล้วเรื่องทั้งหมดมันเป็นเรื่องของตรรกะ และมันเป็นเรื่องของเหตุและผล
สโรชา - แล้วพ่อหมอจะไม่ฟันธงซักนิดหนึ่งหรอคะว่าท่านจะอยู่ต่อในคมนาคมหรือไม่
สนธิ - ผมคิดว่าคงจะอยู่ในรัฐบาลชุดนี้ แต่ว่า
สโรชา - คือหนึ่งใน ครม.
สนธิ - อยู่ใน ครม.อาจจะเป็นรองนายกฯ
สโรชา - ด้วยเหตุผลว่าอะไรคะ ว่าท่านเป็นเลขาธิการพรรค
สนธิ - ผมไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่จะเป็นเหตุใดก็ตามเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นสำหรับผม เพราะว่าถ้าท่านนายกฯ เชื่อว่าโพลนั้นเป็นโพลซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง แล้วเมื่อ 365 เสียงของพรรคไทยรักไทยยกมือให้คุณสุริยะแล้วเพื่อดำรงสัจจะวาจาจากการกระทำ การกระทำแสดงออกถึงเจตนา เพราะฉะนั้นเมื่อคุณยกมือให้เขาเจตนาคุณก็คือคุณเชื่อใจเขา เมื่อเจตนาเป็นเช่นนี้คุณก็ต้องเก็บเขาไว้ที่เก่า
สโรชา - โอเค เดี๋ยวรอดูกันค่ะคุณผู้ชมสำหรับการปรับคณะรัฐมนตรีของท่านนายกฯ คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นหลังวันที่ 14 ก.ค.นะคะ หลังจากที่พรรคไทยรักไทยครบรอบ 7 ปีไปเรียบร้อยแล้วก็น่าจะมีข่าวที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ พักกันซักครู่เดี๋ยวกลับมาดูผลโพลกันค่ะ แล้วก็คุยกันถึงความสัมพันธ์ไทย-จีนด้วย ซักครู่เดียวค่ะ
*********************************
สโรชา - กลับมาสู่ช่วงสุดท้ายของเมืองไทยรายสัปดาห์ ไปดูผลโพลกันค่ะคุณผู้ชม เราเรียนถามคุณผู้ชมนะคะว่า ท่านคาดว่าท่านนายกฯ ทักษิณจะให้คุณสุริยะอยู่ใน ครม.ต่อไปหรือไม่ คุณผู้ชมตอบเรากลับมานะคะว่า อยู่ต่อ 44 เปอร์เซ็นต์ ไม่อยู่ต่อประมาณ 56 เปอร์เซ็นต์ เดี๋ยวไปคุญกันถึงเรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีน บ้าง จริงๆ แล้วใครๆ ก็คงเข้าใจว่า ย้อนกลับไป 30 ปีคงจะเป็นจุดเริ่มต้น แต่จริงๆ แล้วสามารถจะแกะรอยไปถึงยุคสุโขทัยเลยด้วยซ้ำ
สนธิ - เราอย่าไปเก่าแก่จนถึงขนาดที่เรียกว่า เหมือนกับที่ท่านรองวิษณุชอบพูดยุคสมัยพระเจ้าลิไท ก็ทำได้ เอาเป็นว่าความสัมพันธ์ไทย-จีนนั้นเป็นความสัมพันธ์ค่อนข้างจะใกล้ชิดกันมาเป็นเวลานับพันปีได้ เอาช่วงเฉพาะที่มันเกี่ยวพันกับเรามากๆ ก็คือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่ประเทศจีนถูกจัดอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์ และประเทศไทยถูกจัดอยู่ในค่ายของสหรัฐอเมริกา มันก็เลยเป็นโดยพฤตินัยว่าเรานั้นรับคำสั่งหรือว่าเป็นนายหน้าของสหรัฐอเมริกาเพื่อที่จะมาต่อต้านคอมมิวนิสต์ เพราะฉะนั้นแล้วอะไรที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-จีนนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่มีคนก่อนหน้านั้นอยู่เยอะหลายๆ คน ไม่ว่าศิลปิน อย่างเช่น คุณสุวัฒน์ วรดิลก นักเขียน คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือว่า อดีตนักการเมือง คุณสังข์ พัฒโนทัย คุณวรรณวัย พัฒโนทัย ตลอดจนคุณดุษฎี พนมยงค์ ท่านผู้หญิงพูลสุข พนมยงค์ พวกนี้ หลายๆ คน คุณกรุณา หลายๆ คนพวกนี้มีส่วนสร้างสัมพันธ์ไทย-จีน ให้เกิดขึ้น โดยการสร้างสัมพันธ์ในระดับประชาชนกับประชาชน หลายต่อหลายกรณีคนพวกนี้ไปเมืองจีนกลับมาแล้วถูกจับหมด ติดคุกติดตารางหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เอาละเนื่องจากว่าตอนนั้นเราเป็นนายหน้าสหรัฐอเมริกา ทุกวันนี้เราก็ยังเป็นอยู่บ้างบางส่วนเพียงแต่ว่าเราไม่ยอมรับเท่านั้นเอง มาถึงยุคที่สำคัญที่สุดก็คือ ยุคช่วงรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตอนนั้นเดือนเมษายน พ.ศ.2518 เวียดนามแตก เขมรแตก ตอนนั้นก็คือทหารสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากเวียดนามแล้วเขมรก็แตก เขมรแดงเริ่มลุกไล่กองทัพของนายพลลอนนอน นายพลลอนนอนคือกองทัพฝ่ายขวา ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นคนหนุนหลัง และประเทศไทยเป็นคนหนุนหลังต่อด้วย ทหารของเขมรแดงไล่ตีกองทัพของนายพลลอนนอนมาทางริมชายแดนทางประเทศไทยทางอรัญประเทศ ทางปราจีนบุรี ระหว่างตีเข้ามาก็จะเริ่มมีพวกเขมรอพยพก้าวเข้ามาสู่ประเทศไทย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เลยเรียกประชุมสภาความมั่นคง ท่านถามมาคำนึงบอกว่า ถ้าเข้ามารบกันจริงๆ แล้วเรายันได้กี่วัน ท่านพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ท่านซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ท่านบอกว่า 3 วันครับท่าน ท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เลยหันไปหา พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัน ตอนนั้นยศ พล.ต. ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ท่านบอกว่าเฮ้ยชาติ 3 วันมันแค่ยิงปืนเรียกพวกยังไม่ทันเลย ไม่ไหวแล้วเดี๋ยวผมจะไปจีนแล้ว นี่คือการตัดสินใจของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กะทันหันเลย
สโรชา - ด้วยเหตุผลนี้
สนธิ - ด้วยเหตุผลอันนี้ เพราะว่าท่านมองว่า ปัญหาใหญ่ๆ มันอยู่ตรงที่ว่า ท่านบอกว่าสถานการณ์โลกเปลี่ยนไปแล้วไม่เหมือนเมื่อก่อน ท่านบอกว่า ถ้าเรายืนอยู่บนที่วิ่งแล้วเราไม่วิ่งตามเราก็ต้องล้ม ท่านบอก ประเทศไทยเหมือนร้านขายข้าวขายแกง ต้องหาลูกค้ามาซื้อข้าวแกงมากๆ จึงจะอยู่ได้ จีนแดงเป็นประเทศใหญ่ เราจะมานั่งหลับตาแล้วบอกว่าไม่มีประเทศจีนแดงอยู่ในโลกไม่ได้ อันนี้สำคัญครับ เราจะมานั่งหลับตาแล้วบอกว่าไม่มีจีนแดงอยู่ในโลกไม่ได้ เหมือนกับรัฐบาลเวลานี้จะมานั่งหลับตาแล้วบอกว่าไม่มีคนไม่ชอบรัฐบาลก็ไม่ได้เหมือนกัน ต้องแก้กระบวนทัศน์แบบนี้ถึงจะบริหารชาติบ้านเมืองได้ ท่านคึกฤทธิ์พูด ตลอดเวลาที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศของไทยติดต่อกับกระทรวงการต่างประเทศของจีนแดงเป็นชั้นๆ มา เช่น การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปิดสัมพันธ์กัน ที่น่าสนใจคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จะเดินทางไปจีนวันที่ 29 มิ.ย. 2518 วันที่ 28 มิ.ย. พล.ท.หม่า จี่เจิ้ง ซึ่งเป็นทูตไต้หวัน ประจำประเทศไทย อำลาจากประเทศไทยวันนั้น 1 วันก่อนท่านคึกฤทธิ์ไป ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ไปการบินไทยแล้วไปลงฮ่องกง จากฮ่องกงก็ต่อเครื่องเข้าไป วันที่ 1 ก็เป็นวันที่ท่านไปเจอ ฯพณฯท่านเติ้ง เสี่ยวผิง แล้วนายหลี่ เซียเหลียน ซึ่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และนายเฉิน กัวหวา ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ก็ดี แล้ว ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ไม่ได้หวังที่จะได้พบท่านประธานเหมา เจ้อตง คณะที่ไป เขาก็ถามว่า เมื่อไหร่มีโอกาสได้พบท่านประธานเหมา อาจารย์คึกฤทธิ์ท่านพูดในเชิงขบขัน ท่านบอก ประธานเหมาเหมือนเจ้าต้องรอว่าจะเข้าทรงเมื่อไหร่ถึงจะได้พบ และปรากฏว่า ไม่มีใครคิดว่าจะได้พบ ปรากฏว่านั่งดูการแสดงของชนกลุ่มน้อยอยู่ก็มีเจ้าหน้าที่มากระซิบบอกว่าท่านประธานเหมาให้พบได้แต่ว่าให้ไปกัน 3 คน มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นายกรัฐมนตรี มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก็คือท่านประกายเพชร อินทุโสภณ แล้วอีกท่านคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เข้าไปเจอ แต่ว่าเวลาคุยกันเขาจะปล่อยให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์คุยกับท่านประธานเหมา เจ้อตง 2 คนก็คุยกันเฮฮาสนุกสนาน ถูกอกถูกใจกันเป็นเวลานานประมาณ 1 ชั่วโมง นั่นคือจุดเริ่มต้นของสัมพันธ์ไทย-จีนได้เริ่มขึ้นมาในวันที่ 30 มิ.ย. 2518 30 ปีเต็มๆ ได้มีการพัฒนากันมาตลอด ได้มีการเสด็จเยือน พระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จเยือนจีนมาครบวันนี้ 24 ปีแล้วนะ พระองค์ท่านไปปีพุทธศักราช 2524
สโรชา - มีพระราชนิพนธ์ด้วย
สนธิ - มีพระราชนิพนธ์ออกมาด้วย เพราะฉะนั้นแล้วอะไรก็ตามที่เราเห็น การจับมือง่าย การเลี้ยงที่มหาศาลาประชาชนที่ยิ่งใหญ่แท้ที่จริงแล้วคนรุ่นเก่าทำไว้ทั้งนั้น
สโรชา - เพราะฉะนั้นก็คงจะได้สานกันต่อสำหรับความสัมพันธ์ไทย-จีน ถือว่าเป็นพี่น้องที่ใกล้ชิดกันมากและก็แยกกันไม่ออกจริงๆ แต่ว่าช่วงท้ายรายการดิฉันขออนุญาตสักนิดนึงเพราะว่าสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่เราจัดรายการครบรอบ 2 ปีพอดิบพอดี สำหรับรูปแบบเมืองไทยรายสัปดาห์ในภาคปัจจุบันได้รับเสียงตอบรับ และกำลังใจจากประชาชนอย่างล้นหลาม และอยากจะกราบขอบพระคุณนะคะสำหรับทุกกำลังใจ ทุกคำถาม ทุกความคิดเห็นที่มีเข้ามาในรายการค่ะ หมดเวลาแล้วค่ะสำหรับเมืองไทยรายสัปดาห์ สัปดาห์นี้ พบกันใหม่ในวันศุกร์หน้าค่ะ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ดิฉันสโรชา พรอุดมศักดิ์ ลาไปเพียงเท่านี้ค่ะ สวัสดีค่ะ
*********************************