บางส่วนของ “รายงานคณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ” ที่คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) เปิดเผยต่อสาธารณชน
ข้อพิจารณาของคณะกรรมการอิสระฯจากพยานหลักฐานที่ได้รับ
5.1 สถานการณ์ ความจำเป็นและความเหมาะสม
สืบเนื่องจากเหตุการณ์การปล้นอาวุธค่ายทหารเป็นเหตุให้มีเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ พร้อมกับการวางเพลิงเผาโรงเรียนพร้อมกัน 20 แห่ง ในจังหวัดนราธิวาส และต่อมาได้มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในจังหวัดภาคใต้ มีการวางเพลิงและวางระเบิดสถานที่ราชการ โรงเรียนสังหารและทำรายภิกษุ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 ทำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่เกิดความหวาดกลัว และไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ของรัฐยังไม่สามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนได้ แม้ว่ารัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้พื้นที่จังหวัดภาคใต้ที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบกลับมาสู่ภาวะความสงบสุข รวมทั้งสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ และที่สำคัญคือการนำตัวผู้กระทำความผิดจากเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งหลายดังกล่าวมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม จนกระทั่งวันที่ 28 เมษายน 2547 เหตุการณ์ความไม่สงบได้ทวีความรุนแรงสูงสุด เมื่อกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจำนวนหนึ่งได้บุกโจมตีฐานที่มั่นของทางราชการพร้อมกัน 11 จุด รวมทั้งจุดตรวจกรือเซะ ตำบลตันหยงลูโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี และได้หลบหนีเข้าไปยึดครองมัสยิดกรือเซะใกล้จุดตรวจดังกล่าว
ดังนั้นการพิจารณาในประเด็นความจำเป็นของการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ของรัฐในเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะนั้น จึงไม่สามารถแยกพิจารณาเฉพาะเหตุการณ์ได้ แต่สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องนำเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดภาคใต้ก่อนหน้านี้มาประมวลและพิจารณาประกอบด้วยเพื่อให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบว่า ประสงค์จะให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำลายความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์ใดอยู่เบื้องหลัง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หลังจากการบุกโจมตีป้อมจุดตรวจกรือเซะ วางเพลิงจักรยานยนต์ สังหาร ทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ และปล้นอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนไปจำนวนหนึ่ง ผู้ก่อความไม่สงบบางส่วนได้หลบหนีเข้าไปทางบริเวณสวนมะพร้าว และบางส่วนได้หลบหนีเข้าไปยึดครองมัสยิดกรือเซะ และได้ใช้เครื่องขยายเสียงของมัสยิดประกาศเป็นภาษามลายู เรียกร้องให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมต่อสู้เพื่อพระเจ้าและไล่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปจากมัสยิดกรือเซะ พร้อมกับประกาศพลีชีพเพื่อพระเจ้า ระหว่างที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทำการปิดล้อมมัสยิดกรือเซะ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ยิงออกมาจากมัสยิดกรือเซะ เจ้าหน้าที่จึงได้ยิงตอบโต้ มีการยิงปะทะตอบโต้กันเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และมีการประกาศพลีชีพเมื่อเจ้าหน้าที่พยายามตะโกนบอกให้วางอาวุธและเข้ามอบตัว การปะทะดำเนินไปอย่างยืดเยื้อ จนกระทั่งกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในมัสยิดได้ยิงเจ้าหน้าที่บาดเจ็บและเสียชีวิต ได้ความจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ณ เวลานั้น เจ้าหน้าที่ไม่สามารถประเมินได้ว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในมัสยิดมีจำนวนเท่าใด และมีอาวุธร้ายแรงอะไร เท่าไร เนื่องจากเจ้าหน้าที่อยู่ในที่สว่างและไม่สามารถมองเห็นภาพในมัสยิดกรือเซะได้ เนื่องจากภายในมัสยิดค่อนข้างมืดและกลุ่มผู้ ก่อความไม่สงบได้ใช้ม่านผ้าใบปิดช่องหน้าต่าง ช่วงที่มีการปะทะมีเสียงโห่ร้องของกลุ่มคนจำนวนนับพันที่ชุมนุมอยู่รอบนอก ซึ่งเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีท่าทีคุกคามที่อาจเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติหน้าที่ และเชื่อว่าน่าจะมีแนวร่วมของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบแฝงตัวอยู่ในกลุ่มคนเหล่านี้ เพื่อสร้างสถานการณ์ หากแนวร่วมของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบซึ่งแฝงตัวอยู่ในกลุ่มคนดังกล่าวยิงใส่ เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องตอบโต้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริสุทธิ์ที่มามุงดูในช่วงเวลานั้น เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่สามารถแยกแยะได้ว่าใครเป็นผู้บริสุทธิ์ ใครเป็นแนวร่วม และหากปล่อยเวลาให้เนิ่นนานออกไป จะยิ่งทำให้สถานการณ์ยากแก่การควบคุม
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตระหนักดีว่ามัสยิดกรือเซะเป็นศาสนสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่โดยที่สถานการณ์และภาวการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น มีลักษณะเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตและร่างกายของเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน และเมื่อไตร่ตรองถึงความสูญเสียและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามมาหากปล่อยให้สถานการณ์ยืดเยื้อต่อไป กอปรกับได้มีการตรวจสอบแล้วว่าไม่มีผู้บริสุทธิ์หลงเหลืออยู่ในมัสยิดกรือเซะ เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงตัดสินใจปฏิบัติการขั้นเด็ดขาดและยุติสถานการณ์เพื่อรักษาความปลอดภัยต่อชีวิตและร่างกายของเจ้าหน้าที่และประชาชน
ส่วนข้อเท็จจริงที่คณะกรรมการอิสระฯ ได้จากประชาชนในพื้นที่และผู้สื่อข่าว สรุปได้ว่า เมื่อประมาณ 07.00 น. เริ่มมีประชาชนมุงดูเหตุการณ์โดยส่งเสียงโห่ร้อง เพราะต้องการให้เจ้าหน้าที่หยุดยิงเป็นการชั่วคราว เพื่อให้นายดลกอเด เจ๊ะเฮาะ เข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ต่อมา มีการรวมตัวกันของประชาชนจำนวนมาก เมื่อเจ้าหน้าที่ยิงอาวุธหนักเข้าไปยังมัสยิดกรือเซะประชาชนก็โห่ร้องพร้อมตะโกนว่ามัสยิดพังหมดแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีการโห่ร้องในลักษณะเป็นการเอาใจช่วยหรือให้กำลังใจกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
เมื่อพิเคราะห์จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการอิสระฯเห็นว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐมีเหตุผลสมควรที่จะทำให้เชื่อได้ว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอยู่ในฐานะที่สามารถคุกคามต่อชีวิตและร่างกายของเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนได้ กล่าวคือ มีอาวุธร้ายแรงจำนวนหนึ่ง(ซึ่งคงไม่เพียงเฉพาะที่ยึดมาจากการเข้าโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น) มีผู้ร่วมก่อเหตุการณ์จำนวนมากพอสมควร มีการวางแผนล่วงหน้า และมีความตั้งใจที่จะพลีชีพโดยไม่ยอมจำนน รวมทั้งไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้แน่ชัดว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวกระทำการไปเพื่อประสงค์จะเจรจาต่อรองกับรัฐบาลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ
และเมื่อพิจารณาการกระทำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่เข้าโจมตีจุดตรวจกรือเซะ ทำร้ายเจ้าหน้าที่ ปล้นอาวุธปืน วางเพลิงเผาทรัพย์ แล้วเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ในมัสยิดกรือเซะ เข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมได้ และสามารถใช้วิธีหรืออาวุธที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์หากมีการขัดขวางการจับกุม
ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ใช้อาวุธปืนยิงออกมาจากมัสยิดกรือเซะโดยไม่ยอมมอบตัว และเจ้าหน้าที่ถูกกระสุนปืนที่ผู้ก่อความไม่สงบยิงออกมาได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตาย การที่เจ้าหน้าที่ใช้วิธียิงตอบโต้เข้าไปยังกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ถือได้ว่าเป็นวิธีที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่การใช้วิธีดังกล่าวจะต้องกระทำเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์ กล่าวคือ การใช้อาวุธจะต้องใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
สำหรับเรื่องนี้ มีหลักสากลเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ UN Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials ซึ่งกำหนดไว้ว่า “ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เริ่มด้วยมาตรการที่ไม่รุนแรงก่อน โดยอาจใช้กำลังและอาวุธได้ต่อเมื่อการใช้มาตรการที่ไม่รุนแรงนั้นไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีท่าทีว่าจะสัมฤทธิผล และว่าในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้กำลังและอาวุธโดยชอบด้วยกฎหมายได้ให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่จำกัดการใช้กำลังและอาวุธ กล่าวคือ ให้ใช้กำลังและอาวุธในสัสดส่วนที่เหมาะสมกับความรุนแรงของการกระทำความผิด และเท่าที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย” ซึ่งก็สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานของไทย กล่าวคือ แผนเผชิญเหตุภูธรจังหวัดปัตตานีกำหนดว่า ให้มีการยืดหยุ่นในการเจรจา ใช้กำลังจากเบาไปหาหนัก โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และหากมีความจำเป็นที่ต้องใช้กำลังเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้ดำเนินการในขอบเขตที่เหมาะสม และแผนเผชิญเหตุหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารใช้กำลังเข้าคลี่คลายสถานการณ์และระงับเหตุร้ายที่เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นส่วนรวม โดยคำนึงถึงความมั่นคงของชาติเป็นหลัก
ผลสอบกรณี “สลายม็อบตากใบ”
คณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริง กรณีมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ได้สรุปข้อพิจารณาของคณะกรรมการฯ ใน 11 ประเด็น ของการสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ ดังนี้
1.การชุมนุมที่สภ.อ.ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 มีการจัดตั้งหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า การชุมนุมประท้วงที่หน้าสภ.อ.ตากใบ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้ชุมนุมบางส่วนในขณะเกิดเหตุหรือหลังเกิดเหตุเป็นการกระทำที่มีการวางแผนมาก่อนโดยคนกลุ่มนึ่ง มีการจัดตั้งคล้ายกับการชุมนุมคัดค้านเจ้าหน้าที่ก่อนหน้านั้นสองครั้ง ที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี และที่อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยเคลื่อนไหวตามสถานการณ์ มีความมุ่งหมายที่กำหนดไว้แน่นอน การเรียกร้องให้ปล่อยตัวชรบ. 6 คน เป็นเพียงข้อกล่าวอ้างเท่านั้น
แกนนำผู้ชุมนุมดูเสมือนจงใจให้การชุมนุมเกิดขึ้นในช่วงเดือนถือศีลอดของชาวไทยมุสลิม จงใจให้เกิดการยืดเยื้อ น่าจะมีเบื้องหลังมากกว่าการชุมนุมเรียกร้องตามปกติ มีการวางแผนยั่วยุเจ้าหน้าที่
ในขณะที่กลุ่มคนมาชุมนุมประท้วง เจ้าหน้าที่ระบุได้เฉพาะแกนนำกลุ่มหนึ่งประมาณ 30 คน ที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้น ผู้ชุมนุมที่เหลือไม่สามารถแยกแยะได้ว่าผู้ใดบ้างที่มาร่วมชุมนุมเพราะคำชักชวน หรือได้รับแจ้งให้มาละหมาดฮายัดให้ ชรบ. หรือมาให้กำลังใจ ชรบ. หรือเป็นประเภทที่มาดูด้วยความอยากรู้อยากเห็น มาทราบชัดเจนเมื่อมีการควบคุมตัวและมีการซักถามในภายหลัง ซึ่งส่วนใหญ่มาเพราะอยากรู้อยากเห็น หรือถูกชักชวนให้มาร่วมละหมาดฮายัด หรือมาให้กำลังใจ ชรบ. ทั้ง 6 คน
2.ผู้ชุมนุมพกพาอาวุธมาด้วยหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า การที่ภาครัฐรายงานว่าผู้เข้าร่วมชุมนุมบางส่วนซุกซ่อนอาวุธมาด้วยนั้น โดยเฉพาะอาวุธสงครามและกระสุนจำนวนมากที่เจ้าหน้าที่ยึดได้หลังจากการสลายการชุมนุมในวันนั้น และจากการที่งมอาวุธได้จากแม่น้ำต้องมีหลักฐานมาอ้างมากกว่านี้จึงจะทำให้เชื่อได้ อย่างไรก็ดี รอยกระสุนปืนที่โรงพัก ต้นไม้หรือที่พักในสวนสาธารณะมีทิศทางมาจากกลุ่มผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่งได้รับบาดเจ็บจากกระสุนที่มีทิศทางมาจากกลุ่มผู้ชุมนุม ก็แสดงว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธ ซึ่งคงมีจำนวนไม่มากและไม่กี่คนเท่านั้น เพราะถ้าแกนนำผู้ชุมนุมมีอาวุธมากจริงและใช้อาวุธยิงเจ้าหน้าที่แบบต่อสู้กัน เจ้าหน้าที่คงตายและบาดเจ็บอีกหลายคน
3.มาตรการที่เจ้าหน้าที่ใช้ก่อนสลายการชุมนุมที่สภ.อ.ตากใบ เป็นไปตามมาตรฐานและเหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า มาตรการที่เจ้าหน้าที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นการสกัดกั้นผู้เดินทางไม่ให้เข้าไปยังสภ.อ.ตากใบ หรือการเจรจา 5 ถึง 6 ครั้ง ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่หรือผู้นำทางศาสนา และบิดามารดาของชรบ.ทั้ง 6 คน ที่ถูกจับกุมนั้น เป็นไปอย่างเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการอิสระมีข้อสังเกตว่า หากการสกัดกั้นมิให้ผู้เดินทางเข้าไปยังสภ.อ.ตากใบประสบความสำเร็จ ผู้ชุมนุมอาจจะมีจำนวนน้อยกว่านี้
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงจากการสอบถามผู้ชุมนุมในภายหลัง ปรากฏว่า การพูดผ่านเครื่องขยายเสียงเพื่อให้ผู้ชุมนุมแยกย้ายกันกลับไปนั้น ผู้ชุมนุมบางส่วนไม่ได้ยิน เพราะมีแกนนำในการชุมนุมพยายามโห่ร้องส่งเสียงดังอยู่เสมอ คณะกรรมการอิสระจึงมีข้อสังเกตว่า ในการใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นควรคำนึงถึงกำลังของเครื่องขยายเสียง กับการโห่ร้องส่งเสียงดังของแกนนำในการชุมนุมเพื่อกลบเสียงจากเครื่องขยายเสียงและทิศทางที่ลมพัดด้วย
4.เหตุผลในการสลายและวิธีการสลายการชุมนุมที่สภ.อ.ตากใบ เหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า เจ้าหน้าที่มีเหตุผลอันสมควรที่เชื่อได้ว่า หากปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อออกไป ก็จะทำให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลายจนมิอาจควบคุมได้และอาจเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสถานที่ราชการและเจ้าหน้าที่ เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมมีจำนวนมาก และบางส่วนก็มีการวางแผนล่วงหน้า พร้อมทั้งมีไม้ ก้อนหิน และอาจมีอาวุธอื่นๆ ซุกซ่อนอยู่ ประกอบกับภาวะความกดดันอย่างรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่ที่ต่อเนื่องมายาวนาน การตัดสินใจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมจึงถือได้ว่าเป็นไปตามเหตุผลและความจำเป็นของสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงวิธีการสลายการชุมนุมที่ใช้กำลังติดอาวุธ ใช้กระสุนจริง โดยเฉพาะใช้กำลังทหารเกณฑ์ ทหารพราน ซึ่งมีวุฒิภาวะไม่สูงพอเข้าร่วมในการเข้าสลายการชุมนุมนั้นคณะกรรมการอิสระเห็นว่า เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปตามแบบแผนและวิธีปฏิบัติที่ใช้กันตามหลักสากล อย่างไรก็ตาม การใช้กำลังทหารเข้าปฏิบัติการสลายการชุมนุมตลอดจนใช้อาวุธและกระสุนจริงเป็นความจำเป็นตามสถานการณ์ ดังนั้น เมื่อมีการเสียชีวิตและการบาดเจ็บเกิดขึ้นทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและฝ่ายเจ้าหน้าที่ จึงควรเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมที่จะต้องดำเนินการพิสูจน์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายต่อไป
สำหรับกรณีที่มีข่าวว่า มีการจ่อยิงศีรษะผู้เข้าร่วมชุมนุมนั้น ผลจากการชันสูตรพลิกศพไม่ปรากฏว่ามีการใช้อาวุธปืนจ่อยิงผู้ร่วมชุมนุมแต่อย่างใด
5. การควบคุมตัวผู้ชุมนุมทั้งหมดเหมาะสมและกระทำได้ตามกฎหมายหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ต้องการควบคุมเฉพาะกลุ่มแกนนำประมาณ 30 ถึง 40 คน เท่านั้น จึงเตรียมใช้รถบรรทุกที่ขนส่งทหารพรานจำนวน 4 คัน เพื่อขนส่งผู้ถูกควบคุมตัว แต่เมื่อมีการควบคุมตัวผู้ร่วมชุมนุมจำนวนมากขึ้น เพราะไม่สามารถจำแนกแกนนำจากผู้ร่วมชุมนุมได้ จำเป็นต้องปรับแผนเอาตัวผู้ชุมนุมทั้งหมดไว้ก่อนแล้วค่อยคัดออกในภายหลัง เป็นเหตุให้เกิดความบกพร่องในการเตรียมการและปฏิบัติหลายประการ
6.การเลือกใช้ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เพื่อควบคุมตัวผู้ถูกควบคุมเหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า การเลือกใช้ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานีเพื่อควบคุมตัวผู้ถูกควบคุมเป็นการเลือกที่เหมาะสมแล้ว เพราะมีผู้ถูกควบคุมจำนวนมาก สถานที่ที่จะใช้ควบคุมตัวในจังหวัดนราธิวาสมีไม่เพียงพอและไม่เหมาะสม จึงตัดสินใจใช้ค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เนื่องจากมีเรือนจำทหารที่จะใช้ควบคุมตัวผู้ชุมนุมได้ และมีโรงพยาบาลทหารที่จะรักษาพยาบาลผู้ถูกควบคุมตัวที่ป่วยและบาดเจ็บได้
7.การเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมจากสภ.อ.ตากใบ ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร มีมาตรฐานหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า การเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมจากตากใบไปค่ายอิงคยุทธบริหารค่อนข้างจะเป็นไปด้วยความสับสนและฉุกละหุกภายใต้สถานการณ์ขณะนั้น เมื่อความเสียหายอย่างร้ายแรงเกิดขึ้นเพราะมีคนตายมาก จึงต้องทบทวนหาข้อบกพร่องในทุกขั้นตอน
สำหรับวิธีการขนย้ายนั้น คณะกรรมการอิสระเห็นว่า มีการนำเอาผู้ชุมนุมนอนทับซ้อนกันจริงในรถบรรทุกคันแรกของขบวนแรกจนผู้บังคับบัญชามาเห็น จึงสั่งให้เอาคนลงและมาจัดขึ้นไปใหม่ ซึ่งต่อมาไม่น่าจะมีการสั่งให้เอาคนนอนทับซ้อนกันหลายชั้นอีก
อย่างไรก็ตาม คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ไม่มีการทับซ้อนในรถคันหลังๆ เพราะจากรายงานของคณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานด้านการแพทย์และพยาบาลซึ่งพิจารณาผลชันสูตรพลิกศพ และจากการสอบถามแพทย์ผู้รักษาผู้บาดเจ็บและการเยี่ยมผู้บาดเจ็บล้วนสรุปตรงกันได้ว่า การเสียชีวิตส่วนใหญ่ของผู้ถูกควบคุมอยู่ในสภาวะอ่อนแอ ช่วยตัวเองไม่ได้เต็มที ขาดอาหารและน้ำ ประกอบกับได้รับอากาศหายใจน้อย เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรงลงและจากการกดทับ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้ง “แนวนอน แนวดิ่ง และแนวเฉลียง” เพราะการบรรทุกที่แน่นเกินไป
เหตุผลอีกประการหนึ่งคือรถบรรทุกคันหลังเสียเวลาในการลำเลียงคนลงนานกว่าคันแรกๆ ประกอบกับการอัดทับและความอ่อนเพลียจากการอดอาหารและน้ำ เสียแรงตลอดทั้งวัน ความต้านทานของร่างกายจึงน้อยลง
นอกจากนี้ ผลการชันสูตรพลิกศพยืนยันว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 78 คน ไม่มีผู้ใดเสียชีวิตมาจากสาเหตุคอหัก และไม่มีร่องรอยของการรัดคอหรือการครอบถุงพลาสติก
คณะกรรมการเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นต้องถือว่าผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องขาดการใช้วิจารณญาณอย่างมาก ละเลยไม่ดูแลการลำเลียงและเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมให้แล้วเสร็จ แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารระดับชั้นผู้น้อยที่มีข้อจำกัดด้านประสบการณ์ และมุ่งแต่เพียงปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นประกอบ เนื่องจากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนจึงไม่อาจคาดคิดได้ว่าจะเกิดการตายเช่นนี้
8.การใช้เวลาในการเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุม จากสภ.อ.ตากใบ จนกระทั่งนำผู้ถูกควบคุมลงจากรถบรรทุก ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า เนื่องจากระยะเวลาการเดินทางจากสภ.อ.ตากใบ ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหารซึ่งห่างประมาณ 150 กิโลเมตร มีการหยุดระหว่างทางและขบวนรถเป็นขบวนที่ยาว 22 คัน หือ 24 คัน การเดินทางเป็นไปอย่างล่าช้า เพราะเป็นเวลากลางคืนมีฝนตกหนัก มีการวางสิ่งกีดขวาง ประกอบกับมีข่าวว่าจะมีการชิงตัวผู้ถูกควบคุมตัว ทำให้การเดินทางไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วเท่าที่ควร ระยะเวลาที่ใช้มายังค่ายอิงคยุทธบริหาร 5 ชั่วโมง จึงเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมภายใต้วิสัยและพฤติการณ์ในสถานการณ์ดังกล่าว
สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการลำเลียงผู้ถูกควบคุมลงจากรถบรรทุก ณ เรือนจำทหารบกในค่ายอิงคยุทธบริหารนั้น คณะกรรมการอิสระเห็นว่า ด้วยสภาพถนนหน้าเรือนจำทหารบกแคบ รถบรรทุกไม่สามารถเข้าไปพร้อมๆกัน หรือสวนกันได้ทำให้การลำเลียงคนลงเป็นไปอย่างล่าช้า ระยะเวลาที่ใช้ในการลำเลียงคนลงจากรถบรรทุกจึงเหมาะสมตามเหตุการณ์และสภาพของสถานที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการอิสระเห็นว่า เมื่อมีการพบผู้เสียชีวิตในรถบรรทุกแล้ว เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแลการลำเลียงมิได้สั่งให้ดำเนินการใดกับรถบรรทุกที่จอดรออยู่หรือแจ้งให้ผู้ควบคุมรถของรถบรรทุกคันอื่นๆ ทราบ เพื่อดำเนินการใดๆ เช่น รีบนำผู้ถูกควบคุมลงพื้นด่วนเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น การละเลยไม่คำนึงถึงการบรรเทาความเสียหายดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้น และเป็นการกระทำที่ไม่รับผิดชอบ
9.การดูแลผู้ถูกควบคุม ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เป็นไปอย่างเหมาะสมหรือไม่
ผู้ถูกควบคุมตัวและเจ้าหน้าที่ต่างให้ถ้อยคำสอดคล้องกันว่าการควบคุมดูแลผู้ถูกควบคุมที่บริเวณเรือนจำจังหวัดทหารบก ที่โรงพยาบาล ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร เป็นไปอย่างดี ซึ่งยังรวมไปถึงการช่วยเหลือของแพทย์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลแห่งอื่นๆ ทั้งของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดข้างเคียง ซึ่งได้รับผู้ป่วยจากโรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหารไปรักษาต่อ คณะกรรมการอิสระจึงเห็นว่าผู้ถูกควบคุมและผู้เจ็บป่วยได้รับการดูแลอย่างดีมีประสิทธิภาพและเหมาะสมแล้ว
10.มีผู้สูญหายจากเหตุการณ์ในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 หรือไม่
ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ณ ขณะนี้มีบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ได้หายไปจำนวน 7 คน โดยมีการแจ้งเรื่องราวไว้ต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสแล้ว
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า หน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะหน่วยงานพื้นที่ต้องเร่งสืบหาข้อเท็จจริงเป็นการด่วน และประสานไปยังทายาทของผู้สูญหาย พร้อมทั้งจัดการเยียวยา บำรุงขวัญในเบื้องต้น เพื่อให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่มิได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเจ้าหน้าที่มีความห่วงใยในความเป็นอยู่และทุกข์สุขของประชาชน
11. ผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมที่สภ.อ. ตากใบ จังหวัดนราธิวาส การขนย้ายผู้ถูกควบคุมตัวจากสภ.อ.ตากใบ ไปที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร และการดำเนินการที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี
11.1 ผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมในสภ.อ. ตากใบ จังหวัดนราธิวาส และการเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี
-คณะกรรมการอิสระเห็นว่า พล.ต.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร ผบ.พล. ร.5 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้บังคับบัญชาทางยุทธวิธีในการสลายการชุมนุม เป็นผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมที่สภ.อ.ตากใบ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน และบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งรับผิดชอบในการควบคุมตัวผู้ชุมนุม การลำเลียงตัวผู้ชุมนุมขึ้นรถบรรทุก และการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร และปรากฎข้อเท็จจริงว่า พล.ต.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร ไม่ได้อยู่ควบคุมดูแลภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วง แต่ได้ออกจากพื้นที่ไปพบนายกรัฐมนตรีที่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เมื่อเวลาประมาณ 19.30 น. โดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็น คณะกรรมการอิสระจึงเห็นว่า พล.ต.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่ครบถ้วนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
11.2 ผู้รับผิดชอบที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี
-ปรากฏข้อเท็จจริงว่า พล.ต.สินชัย นุตสถิตย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้รับผิดชอบงานการข่าวและสายงานยุทธการได้รับคำสั่งจากแม่ทัพภาคที่ 4 ให้จัดเตรียมทั้งน้ำ อาหาร และพื้นที่ เพื่อรองรับผู้ถูกควบคุมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ดังนั้น เมื่อการลำเลียงผู้ถูกควบคุมลงจากรถบรรทุกที่เรือนจำจังหวัดทหารบกปัตตานี ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร และพบว่าในรถบรรทุกมีคนตาย แต่กลับมิได้มีคำสั่งหรือดำเนินการใดๆ กับผู้ควบคุมรถบรรทุกหรือผู้ควบคุมรถที่จอดรออยู่ เพื่อบรรเทาความเสียหายที่เห็นว่าน่าจะเกิดขึ้น จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องไม่ครบถ้วนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
11.3 ผู้รับผิดชอบในสถานการณ์โดยรวม
-โดยที่พล.ท.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดเมื่อประกาศกฎอัยการศึก แม้จะได้มอบหมายให้พล.ต.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร ผบ.พล. ร.5 พล.ต.สินชัย นุตสถิตย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้รับผิดชอบ ตาม 11.1 และ 11.2 แล้วก็ตาม แม่ทัพภาคที่ 4 ก็ยังคงต้องรับผิดชอบในการติดตาม ควบคุม และสอดส่องดูแลว่าภารกิจที่ได้มอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติประสบความสำเร็จหรือมีปัญหายุ่งยากประการใด แม้จะมีข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. ของวันที่ 26 ตุลาคม 2547 แม่ทัพภาคที่ 4 ก็ได้ทราบข่าวว่ามีคนตายที่ค่ายอิงคยุทธบริหารประมาณ 70 คนแล้ว แต่ก็มิได้ดำเนินการอะไร จนถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2547 แม่ทัพภาคที่ 4 จึงเข้ามาที่ค่ายอิงคยุทธบริหารเพื่อหาข้อมูลการตายของผู้ชุมนุมทั้ง 78 คน คณะกรรมการอิสระจึงเห็นว่า พล.ท.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ขาดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีหน้าที่ติดตามดูแลภารกิจที่ได้มอบหมายให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติอย่างใกล้ชิด
-----------------------
อนึ่ง คณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริง กรณีมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ณ์อำเภอตากใบ ฯ ประกอบด้วย นายพิเชต สุนทรพิพิธ ประธานกรรมการ พล.ร.ต.นายแพทย์วิทูร แสงสิงแก้ว รองประธานกรมการ นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม นายภุมรัตน ทักษาดิพงษ์ นายขวัญชัย วศวงศ์ พล.ต.อ.ดรุณ โสตถิพันธุ์ นายอิสมาแอ อาลี นายจรัญ มะลูลีม นายอาศิส พิทักษ์คุมพล กรรมการ นายวีระยุต พันธุเพชร เลขาณุการ และนายนิพนธ์ ฮะกีมี ผู้ช่วยเลขาณุการ
ข้อพิจารณาของคณะกรรมการอิสระฯจากพยานหลักฐานที่ได้รับ
5.1 สถานการณ์ ความจำเป็นและความเหมาะสม
สืบเนื่องจากเหตุการณ์การปล้นอาวุธค่ายทหารเป็นเหตุให้มีเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ พร้อมกับการวางเพลิงเผาโรงเรียนพร้อมกัน 20 แห่ง ในจังหวัดนราธิวาส และต่อมาได้มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในจังหวัดภาคใต้ มีการวางเพลิงและวางระเบิดสถานที่ราชการ โรงเรียนสังหารและทำรายภิกษุ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 ทำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่เกิดความหวาดกลัว และไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ของรัฐยังไม่สามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนได้ แม้ว่ารัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้พื้นที่จังหวัดภาคใต้ที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบกลับมาสู่ภาวะความสงบสุข รวมทั้งสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ และที่สำคัญคือการนำตัวผู้กระทำความผิดจากเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งหลายดังกล่าวมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม จนกระทั่งวันที่ 28 เมษายน 2547 เหตุการณ์ความไม่สงบได้ทวีความรุนแรงสูงสุด เมื่อกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจำนวนหนึ่งได้บุกโจมตีฐานที่มั่นของทางราชการพร้อมกัน 11 จุด รวมทั้งจุดตรวจกรือเซะ ตำบลตันหยงลูโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี และได้หลบหนีเข้าไปยึดครองมัสยิดกรือเซะใกล้จุดตรวจดังกล่าว
ดังนั้นการพิจารณาในประเด็นความจำเป็นของการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ของรัฐในเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะนั้น จึงไม่สามารถแยกพิจารณาเฉพาะเหตุการณ์ได้ แต่สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องนำเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดภาคใต้ก่อนหน้านี้มาประมวลและพิจารณาประกอบด้วยเพื่อให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบว่า ประสงค์จะให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำลายความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์ใดอยู่เบื้องหลัง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หลังจากการบุกโจมตีป้อมจุดตรวจกรือเซะ วางเพลิงจักรยานยนต์ สังหาร ทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ และปล้นอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนไปจำนวนหนึ่ง ผู้ก่อความไม่สงบบางส่วนได้หลบหนีเข้าไปทางบริเวณสวนมะพร้าว และบางส่วนได้หลบหนีเข้าไปยึดครองมัสยิดกรือเซะ และได้ใช้เครื่องขยายเสียงของมัสยิดประกาศเป็นภาษามลายู เรียกร้องให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมต่อสู้เพื่อพระเจ้าและไล่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปจากมัสยิดกรือเซะ พร้อมกับประกาศพลีชีพเพื่อพระเจ้า ระหว่างที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทำการปิดล้อมมัสยิดกรือเซะ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ยิงออกมาจากมัสยิดกรือเซะ เจ้าหน้าที่จึงได้ยิงตอบโต้ มีการยิงปะทะตอบโต้กันเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และมีการประกาศพลีชีพเมื่อเจ้าหน้าที่พยายามตะโกนบอกให้วางอาวุธและเข้ามอบตัว การปะทะดำเนินไปอย่างยืดเยื้อ จนกระทั่งกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในมัสยิดได้ยิงเจ้าหน้าที่บาดเจ็บและเสียชีวิต ได้ความจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ณ เวลานั้น เจ้าหน้าที่ไม่สามารถประเมินได้ว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในมัสยิดมีจำนวนเท่าใด และมีอาวุธร้ายแรงอะไร เท่าไร เนื่องจากเจ้าหน้าที่อยู่ในที่สว่างและไม่สามารถมองเห็นภาพในมัสยิดกรือเซะได้ เนื่องจากภายในมัสยิดค่อนข้างมืดและกลุ่มผู้ ก่อความไม่สงบได้ใช้ม่านผ้าใบปิดช่องหน้าต่าง ช่วงที่มีการปะทะมีเสียงโห่ร้องของกลุ่มคนจำนวนนับพันที่ชุมนุมอยู่รอบนอก ซึ่งเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีท่าทีคุกคามที่อาจเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติหน้าที่ และเชื่อว่าน่าจะมีแนวร่วมของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบแฝงตัวอยู่ในกลุ่มคนเหล่านี้ เพื่อสร้างสถานการณ์ หากแนวร่วมของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบซึ่งแฝงตัวอยู่ในกลุ่มคนดังกล่าวยิงใส่ เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องตอบโต้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริสุทธิ์ที่มามุงดูในช่วงเวลานั้น เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่สามารถแยกแยะได้ว่าใครเป็นผู้บริสุทธิ์ ใครเป็นแนวร่วม และหากปล่อยเวลาให้เนิ่นนานออกไป จะยิ่งทำให้สถานการณ์ยากแก่การควบคุม
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตระหนักดีว่ามัสยิดกรือเซะเป็นศาสนสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่โดยที่สถานการณ์และภาวการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น มีลักษณะเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตและร่างกายของเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน และเมื่อไตร่ตรองถึงความสูญเสียและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามมาหากปล่อยให้สถานการณ์ยืดเยื้อต่อไป กอปรกับได้มีการตรวจสอบแล้วว่าไม่มีผู้บริสุทธิ์หลงเหลืออยู่ในมัสยิดกรือเซะ เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงตัดสินใจปฏิบัติการขั้นเด็ดขาดและยุติสถานการณ์เพื่อรักษาความปลอดภัยต่อชีวิตและร่างกายของเจ้าหน้าที่และประชาชน
ส่วนข้อเท็จจริงที่คณะกรรมการอิสระฯ ได้จากประชาชนในพื้นที่และผู้สื่อข่าว สรุปได้ว่า เมื่อประมาณ 07.00 น. เริ่มมีประชาชนมุงดูเหตุการณ์โดยส่งเสียงโห่ร้อง เพราะต้องการให้เจ้าหน้าที่หยุดยิงเป็นการชั่วคราว เพื่อให้นายดลกอเด เจ๊ะเฮาะ เข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ต่อมา มีการรวมตัวกันของประชาชนจำนวนมาก เมื่อเจ้าหน้าที่ยิงอาวุธหนักเข้าไปยังมัสยิดกรือเซะประชาชนก็โห่ร้องพร้อมตะโกนว่ามัสยิดพังหมดแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีการโห่ร้องในลักษณะเป็นการเอาใจช่วยหรือให้กำลังใจกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
เมื่อพิเคราะห์จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการอิสระฯเห็นว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐมีเหตุผลสมควรที่จะทำให้เชื่อได้ว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอยู่ในฐานะที่สามารถคุกคามต่อชีวิตและร่างกายของเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนได้ กล่าวคือ มีอาวุธร้ายแรงจำนวนหนึ่ง(ซึ่งคงไม่เพียงเฉพาะที่ยึดมาจากการเข้าโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น) มีผู้ร่วมก่อเหตุการณ์จำนวนมากพอสมควร มีการวางแผนล่วงหน้า และมีความตั้งใจที่จะพลีชีพโดยไม่ยอมจำนน รวมทั้งไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้แน่ชัดว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวกระทำการไปเพื่อประสงค์จะเจรจาต่อรองกับรัฐบาลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ
และเมื่อพิจารณาการกระทำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่เข้าโจมตีจุดตรวจกรือเซะ ทำร้ายเจ้าหน้าที่ ปล้นอาวุธปืน วางเพลิงเผาทรัพย์ แล้วเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ในมัสยิดกรือเซะ เข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมได้ และสามารถใช้วิธีหรืออาวุธที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์หากมีการขัดขวางการจับกุม
ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ใช้อาวุธปืนยิงออกมาจากมัสยิดกรือเซะโดยไม่ยอมมอบตัว และเจ้าหน้าที่ถูกกระสุนปืนที่ผู้ก่อความไม่สงบยิงออกมาได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตาย การที่เจ้าหน้าที่ใช้วิธียิงตอบโต้เข้าไปยังกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ถือได้ว่าเป็นวิธีที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่การใช้วิธีดังกล่าวจะต้องกระทำเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์ กล่าวคือ การใช้อาวุธจะต้องใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
สำหรับเรื่องนี้ มีหลักสากลเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ UN Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials ซึ่งกำหนดไว้ว่า “ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เริ่มด้วยมาตรการที่ไม่รุนแรงก่อน โดยอาจใช้กำลังและอาวุธได้ต่อเมื่อการใช้มาตรการที่ไม่รุนแรงนั้นไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีท่าทีว่าจะสัมฤทธิผล และว่าในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้กำลังและอาวุธโดยชอบด้วยกฎหมายได้ให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่จำกัดการใช้กำลังและอาวุธ กล่าวคือ ให้ใช้กำลังและอาวุธในสัสดส่วนที่เหมาะสมกับความรุนแรงของการกระทำความผิด และเท่าที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย” ซึ่งก็สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานของไทย กล่าวคือ แผนเผชิญเหตุภูธรจังหวัดปัตตานีกำหนดว่า ให้มีการยืดหยุ่นในการเจรจา ใช้กำลังจากเบาไปหาหนัก โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และหากมีความจำเป็นที่ต้องใช้กำลังเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้ดำเนินการในขอบเขตที่เหมาะสม และแผนเผชิญเหตุหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารใช้กำลังเข้าคลี่คลายสถานการณ์และระงับเหตุร้ายที่เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นส่วนรวม โดยคำนึงถึงความมั่นคงของชาติเป็นหลัก
ผลสอบกรณี “สลายม็อบตากใบ”
คณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริง กรณีมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ได้สรุปข้อพิจารณาของคณะกรรมการฯ ใน 11 ประเด็น ของการสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ ดังนี้
1.การชุมนุมที่สภ.อ.ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 มีการจัดตั้งหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า การชุมนุมประท้วงที่หน้าสภ.อ.ตากใบ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้ชุมนุมบางส่วนในขณะเกิดเหตุหรือหลังเกิดเหตุเป็นการกระทำที่มีการวางแผนมาก่อนโดยคนกลุ่มนึ่ง มีการจัดตั้งคล้ายกับการชุมนุมคัดค้านเจ้าหน้าที่ก่อนหน้านั้นสองครั้ง ที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี และที่อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยเคลื่อนไหวตามสถานการณ์ มีความมุ่งหมายที่กำหนดไว้แน่นอน การเรียกร้องให้ปล่อยตัวชรบ. 6 คน เป็นเพียงข้อกล่าวอ้างเท่านั้น
แกนนำผู้ชุมนุมดูเสมือนจงใจให้การชุมนุมเกิดขึ้นในช่วงเดือนถือศีลอดของชาวไทยมุสลิม จงใจให้เกิดการยืดเยื้อ น่าจะมีเบื้องหลังมากกว่าการชุมนุมเรียกร้องตามปกติ มีการวางแผนยั่วยุเจ้าหน้าที่
ในขณะที่กลุ่มคนมาชุมนุมประท้วง เจ้าหน้าที่ระบุได้เฉพาะแกนนำกลุ่มหนึ่งประมาณ 30 คน ที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้น ผู้ชุมนุมที่เหลือไม่สามารถแยกแยะได้ว่าผู้ใดบ้างที่มาร่วมชุมนุมเพราะคำชักชวน หรือได้รับแจ้งให้มาละหมาดฮายัดให้ ชรบ. หรือมาให้กำลังใจ ชรบ. หรือเป็นประเภทที่มาดูด้วยความอยากรู้อยากเห็น มาทราบชัดเจนเมื่อมีการควบคุมตัวและมีการซักถามในภายหลัง ซึ่งส่วนใหญ่มาเพราะอยากรู้อยากเห็น หรือถูกชักชวนให้มาร่วมละหมาดฮายัด หรือมาให้กำลังใจ ชรบ. ทั้ง 6 คน
2.ผู้ชุมนุมพกพาอาวุธมาด้วยหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า การที่ภาครัฐรายงานว่าผู้เข้าร่วมชุมนุมบางส่วนซุกซ่อนอาวุธมาด้วยนั้น โดยเฉพาะอาวุธสงครามและกระสุนจำนวนมากที่เจ้าหน้าที่ยึดได้หลังจากการสลายการชุมนุมในวันนั้น และจากการที่งมอาวุธได้จากแม่น้ำต้องมีหลักฐานมาอ้างมากกว่านี้จึงจะทำให้เชื่อได้ อย่างไรก็ดี รอยกระสุนปืนที่โรงพัก ต้นไม้หรือที่พักในสวนสาธารณะมีทิศทางมาจากกลุ่มผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่งได้รับบาดเจ็บจากกระสุนที่มีทิศทางมาจากกลุ่มผู้ชุมนุม ก็แสดงว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธ ซึ่งคงมีจำนวนไม่มากและไม่กี่คนเท่านั้น เพราะถ้าแกนนำผู้ชุมนุมมีอาวุธมากจริงและใช้อาวุธยิงเจ้าหน้าที่แบบต่อสู้กัน เจ้าหน้าที่คงตายและบาดเจ็บอีกหลายคน
3.มาตรการที่เจ้าหน้าที่ใช้ก่อนสลายการชุมนุมที่สภ.อ.ตากใบ เป็นไปตามมาตรฐานและเหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า มาตรการที่เจ้าหน้าที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นการสกัดกั้นผู้เดินทางไม่ให้เข้าไปยังสภ.อ.ตากใบ หรือการเจรจา 5 ถึง 6 ครั้ง ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่หรือผู้นำทางศาสนา และบิดามารดาของชรบ.ทั้ง 6 คน ที่ถูกจับกุมนั้น เป็นไปอย่างเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการอิสระมีข้อสังเกตว่า หากการสกัดกั้นมิให้ผู้เดินทางเข้าไปยังสภ.อ.ตากใบประสบความสำเร็จ ผู้ชุมนุมอาจจะมีจำนวนน้อยกว่านี้
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงจากการสอบถามผู้ชุมนุมในภายหลัง ปรากฏว่า การพูดผ่านเครื่องขยายเสียงเพื่อให้ผู้ชุมนุมแยกย้ายกันกลับไปนั้น ผู้ชุมนุมบางส่วนไม่ได้ยิน เพราะมีแกนนำในการชุมนุมพยายามโห่ร้องส่งเสียงดังอยู่เสมอ คณะกรรมการอิสระจึงมีข้อสังเกตว่า ในการใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นควรคำนึงถึงกำลังของเครื่องขยายเสียง กับการโห่ร้องส่งเสียงดังของแกนนำในการชุมนุมเพื่อกลบเสียงจากเครื่องขยายเสียงและทิศทางที่ลมพัดด้วย
4.เหตุผลในการสลายและวิธีการสลายการชุมนุมที่สภ.อ.ตากใบ เหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า เจ้าหน้าที่มีเหตุผลอันสมควรที่เชื่อได้ว่า หากปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อออกไป ก็จะทำให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลายจนมิอาจควบคุมได้และอาจเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสถานที่ราชการและเจ้าหน้าที่ เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมมีจำนวนมาก และบางส่วนก็มีการวางแผนล่วงหน้า พร้อมทั้งมีไม้ ก้อนหิน และอาจมีอาวุธอื่นๆ ซุกซ่อนอยู่ ประกอบกับภาวะความกดดันอย่างรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่ที่ต่อเนื่องมายาวนาน การตัดสินใจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมจึงถือได้ว่าเป็นไปตามเหตุผลและความจำเป็นของสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงวิธีการสลายการชุมนุมที่ใช้กำลังติดอาวุธ ใช้กระสุนจริง โดยเฉพาะใช้กำลังทหารเกณฑ์ ทหารพราน ซึ่งมีวุฒิภาวะไม่สูงพอเข้าร่วมในการเข้าสลายการชุมนุมนั้นคณะกรรมการอิสระเห็นว่า เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปตามแบบแผนและวิธีปฏิบัติที่ใช้กันตามหลักสากล อย่างไรก็ตาม การใช้กำลังทหารเข้าปฏิบัติการสลายการชุมนุมตลอดจนใช้อาวุธและกระสุนจริงเป็นความจำเป็นตามสถานการณ์ ดังนั้น เมื่อมีการเสียชีวิตและการบาดเจ็บเกิดขึ้นทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและฝ่ายเจ้าหน้าที่ จึงควรเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมที่จะต้องดำเนินการพิสูจน์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายต่อไป
สำหรับกรณีที่มีข่าวว่า มีการจ่อยิงศีรษะผู้เข้าร่วมชุมนุมนั้น ผลจากการชันสูตรพลิกศพไม่ปรากฏว่ามีการใช้อาวุธปืนจ่อยิงผู้ร่วมชุมนุมแต่อย่างใด
5. การควบคุมตัวผู้ชุมนุมทั้งหมดเหมาะสมและกระทำได้ตามกฎหมายหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ต้องการควบคุมเฉพาะกลุ่มแกนนำประมาณ 30 ถึง 40 คน เท่านั้น จึงเตรียมใช้รถบรรทุกที่ขนส่งทหารพรานจำนวน 4 คัน เพื่อขนส่งผู้ถูกควบคุมตัว แต่เมื่อมีการควบคุมตัวผู้ร่วมชุมนุมจำนวนมากขึ้น เพราะไม่สามารถจำแนกแกนนำจากผู้ร่วมชุมนุมได้ จำเป็นต้องปรับแผนเอาตัวผู้ชุมนุมทั้งหมดไว้ก่อนแล้วค่อยคัดออกในภายหลัง เป็นเหตุให้เกิดความบกพร่องในการเตรียมการและปฏิบัติหลายประการ
6.การเลือกใช้ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เพื่อควบคุมตัวผู้ถูกควบคุมเหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า การเลือกใช้ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานีเพื่อควบคุมตัวผู้ถูกควบคุมเป็นการเลือกที่เหมาะสมแล้ว เพราะมีผู้ถูกควบคุมจำนวนมาก สถานที่ที่จะใช้ควบคุมตัวในจังหวัดนราธิวาสมีไม่เพียงพอและไม่เหมาะสม จึงตัดสินใจใช้ค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เนื่องจากมีเรือนจำทหารที่จะใช้ควบคุมตัวผู้ชุมนุมได้ และมีโรงพยาบาลทหารที่จะรักษาพยาบาลผู้ถูกควบคุมตัวที่ป่วยและบาดเจ็บได้
7.การเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมจากสภ.อ.ตากใบ ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร มีมาตรฐานหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า การเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมจากตากใบไปค่ายอิงคยุทธบริหารค่อนข้างจะเป็นไปด้วยความสับสนและฉุกละหุกภายใต้สถานการณ์ขณะนั้น เมื่อความเสียหายอย่างร้ายแรงเกิดขึ้นเพราะมีคนตายมาก จึงต้องทบทวนหาข้อบกพร่องในทุกขั้นตอน
สำหรับวิธีการขนย้ายนั้น คณะกรรมการอิสระเห็นว่า มีการนำเอาผู้ชุมนุมนอนทับซ้อนกันจริงในรถบรรทุกคันแรกของขบวนแรกจนผู้บังคับบัญชามาเห็น จึงสั่งให้เอาคนลงและมาจัดขึ้นไปใหม่ ซึ่งต่อมาไม่น่าจะมีการสั่งให้เอาคนนอนทับซ้อนกันหลายชั้นอีก
อย่างไรก็ตาม คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ไม่มีการทับซ้อนในรถคันหลังๆ เพราะจากรายงานของคณะอนุกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานด้านการแพทย์และพยาบาลซึ่งพิจารณาผลชันสูตรพลิกศพ และจากการสอบถามแพทย์ผู้รักษาผู้บาดเจ็บและการเยี่ยมผู้บาดเจ็บล้วนสรุปตรงกันได้ว่า การเสียชีวิตส่วนใหญ่ของผู้ถูกควบคุมอยู่ในสภาวะอ่อนแอ ช่วยตัวเองไม่ได้เต็มที ขาดอาหารและน้ำ ประกอบกับได้รับอากาศหายใจน้อย เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรงลงและจากการกดทับ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้ง “แนวนอน แนวดิ่ง และแนวเฉลียง” เพราะการบรรทุกที่แน่นเกินไป
เหตุผลอีกประการหนึ่งคือรถบรรทุกคันหลังเสียเวลาในการลำเลียงคนลงนานกว่าคันแรกๆ ประกอบกับการอัดทับและความอ่อนเพลียจากการอดอาหารและน้ำ เสียแรงตลอดทั้งวัน ความต้านทานของร่างกายจึงน้อยลง
นอกจากนี้ ผลการชันสูตรพลิกศพยืนยันว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 78 คน ไม่มีผู้ใดเสียชีวิตมาจากสาเหตุคอหัก และไม่มีร่องรอยของการรัดคอหรือการครอบถุงพลาสติก
คณะกรรมการเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นต้องถือว่าผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องขาดการใช้วิจารณญาณอย่างมาก ละเลยไม่ดูแลการลำเลียงและเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมให้แล้วเสร็จ แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารระดับชั้นผู้น้อยที่มีข้อจำกัดด้านประสบการณ์ และมุ่งแต่เพียงปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นประกอบ เนื่องจากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนจึงไม่อาจคาดคิดได้ว่าจะเกิดการตายเช่นนี้
8.การใช้เวลาในการเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุม จากสภ.อ.ตากใบ จนกระทั่งนำผู้ถูกควบคุมลงจากรถบรรทุก ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เหมาะสมหรือไม่
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า เนื่องจากระยะเวลาการเดินทางจากสภ.อ.ตากใบ ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหารซึ่งห่างประมาณ 150 กิโลเมตร มีการหยุดระหว่างทางและขบวนรถเป็นขบวนที่ยาว 22 คัน หือ 24 คัน การเดินทางเป็นไปอย่างล่าช้า เพราะเป็นเวลากลางคืนมีฝนตกหนัก มีการวางสิ่งกีดขวาง ประกอบกับมีข่าวว่าจะมีการชิงตัวผู้ถูกควบคุมตัว ทำให้การเดินทางไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วเท่าที่ควร ระยะเวลาที่ใช้มายังค่ายอิงคยุทธบริหาร 5 ชั่วโมง จึงเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมภายใต้วิสัยและพฤติการณ์ในสถานการณ์ดังกล่าว
สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการลำเลียงผู้ถูกควบคุมลงจากรถบรรทุก ณ เรือนจำทหารบกในค่ายอิงคยุทธบริหารนั้น คณะกรรมการอิสระเห็นว่า ด้วยสภาพถนนหน้าเรือนจำทหารบกแคบ รถบรรทุกไม่สามารถเข้าไปพร้อมๆกัน หรือสวนกันได้ทำให้การลำเลียงคนลงเป็นไปอย่างล่าช้า ระยะเวลาที่ใช้ในการลำเลียงคนลงจากรถบรรทุกจึงเหมาะสมตามเหตุการณ์และสภาพของสถานที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการอิสระเห็นว่า เมื่อมีการพบผู้เสียชีวิตในรถบรรทุกแล้ว เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแลการลำเลียงมิได้สั่งให้ดำเนินการใดกับรถบรรทุกที่จอดรออยู่หรือแจ้งให้ผู้ควบคุมรถของรถบรรทุกคันอื่นๆ ทราบ เพื่อดำเนินการใดๆ เช่น รีบนำผู้ถูกควบคุมลงพื้นด่วนเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น การละเลยไม่คำนึงถึงการบรรเทาความเสียหายดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้น และเป็นการกระทำที่ไม่รับผิดชอบ
9.การดูแลผู้ถูกควบคุม ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เป็นไปอย่างเหมาะสมหรือไม่
ผู้ถูกควบคุมตัวและเจ้าหน้าที่ต่างให้ถ้อยคำสอดคล้องกันว่าการควบคุมดูแลผู้ถูกควบคุมที่บริเวณเรือนจำจังหวัดทหารบก ที่โรงพยาบาล ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร เป็นไปอย่างดี ซึ่งยังรวมไปถึงการช่วยเหลือของแพทย์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลแห่งอื่นๆ ทั้งของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดข้างเคียง ซึ่งได้รับผู้ป่วยจากโรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหารไปรักษาต่อ คณะกรรมการอิสระจึงเห็นว่าผู้ถูกควบคุมและผู้เจ็บป่วยได้รับการดูแลอย่างดีมีประสิทธิภาพและเหมาะสมแล้ว
10.มีผู้สูญหายจากเหตุการณ์ในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 หรือไม่
ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ณ ขณะนี้มีบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ได้หายไปจำนวน 7 คน โดยมีการแจ้งเรื่องราวไว้ต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสแล้ว
คณะกรรมการอิสระได้พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า หน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะหน่วยงานพื้นที่ต้องเร่งสืบหาข้อเท็จจริงเป็นการด่วน และประสานไปยังทายาทของผู้สูญหาย พร้อมทั้งจัดการเยียวยา บำรุงขวัญในเบื้องต้น เพื่อให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่มิได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเจ้าหน้าที่มีความห่วงใยในความเป็นอยู่และทุกข์สุขของประชาชน
11. ผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมที่สภ.อ. ตากใบ จังหวัดนราธิวาส การขนย้ายผู้ถูกควบคุมตัวจากสภ.อ.ตากใบ ไปที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร และการดำเนินการที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี
11.1 ผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมในสภ.อ. ตากใบ จังหวัดนราธิวาส และการเคลื่อนย้ายผู้ถูกควบคุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี
-คณะกรรมการอิสระเห็นว่า พล.ต.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร ผบ.พล. ร.5 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้บังคับบัญชาทางยุทธวิธีในการสลายการชุมนุม เป็นผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมที่สภ.อ.ตากใบ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน และบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งรับผิดชอบในการควบคุมตัวผู้ชุมนุม การลำเลียงตัวผู้ชุมนุมขึ้นรถบรรทุก และการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร และปรากฎข้อเท็จจริงว่า พล.ต.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร ไม่ได้อยู่ควบคุมดูแลภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วง แต่ได้ออกจากพื้นที่ไปพบนายกรัฐมนตรีที่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เมื่อเวลาประมาณ 19.30 น. โดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็น คณะกรรมการอิสระจึงเห็นว่า พล.ต.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่ครบถ้วนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
11.2 ผู้รับผิดชอบที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี
-ปรากฏข้อเท็จจริงว่า พล.ต.สินชัย นุตสถิตย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้รับผิดชอบงานการข่าวและสายงานยุทธการได้รับคำสั่งจากแม่ทัพภาคที่ 4 ให้จัดเตรียมทั้งน้ำ อาหาร และพื้นที่ เพื่อรองรับผู้ถูกควบคุมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ดังนั้น เมื่อการลำเลียงผู้ถูกควบคุมลงจากรถบรรทุกที่เรือนจำจังหวัดทหารบกปัตตานี ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร และพบว่าในรถบรรทุกมีคนตาย แต่กลับมิได้มีคำสั่งหรือดำเนินการใดๆ กับผู้ควบคุมรถบรรทุกหรือผู้ควบคุมรถที่จอดรออยู่ เพื่อบรรเทาความเสียหายที่เห็นว่าน่าจะเกิดขึ้น จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องไม่ครบถ้วนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
11.3 ผู้รับผิดชอบในสถานการณ์โดยรวม
-โดยที่พล.ท.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดเมื่อประกาศกฎอัยการศึก แม้จะได้มอบหมายให้พล.ต.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร ผบ.พล. ร.5 พล.ต.สินชัย นุตสถิตย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้รับผิดชอบ ตาม 11.1 และ 11.2 แล้วก็ตาม แม่ทัพภาคที่ 4 ก็ยังคงต้องรับผิดชอบในการติดตาม ควบคุม และสอดส่องดูแลว่าภารกิจที่ได้มอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติประสบความสำเร็จหรือมีปัญหายุ่งยากประการใด แม้จะมีข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. ของวันที่ 26 ตุลาคม 2547 แม่ทัพภาคที่ 4 ก็ได้ทราบข่าวว่ามีคนตายที่ค่ายอิงคยุทธบริหารประมาณ 70 คนแล้ว แต่ก็มิได้ดำเนินการอะไร จนถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2547 แม่ทัพภาคที่ 4 จึงเข้ามาที่ค่ายอิงคยุทธบริหารเพื่อหาข้อมูลการตายของผู้ชุมนุมทั้ง 78 คน คณะกรรมการอิสระจึงเห็นว่า พล.ท.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ขาดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีหน้าที่ติดตามดูแลภารกิจที่ได้มอบหมายให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติอย่างใกล้ชิด
-----------------------
อนึ่ง คณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริง กรณีมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ณ์อำเภอตากใบ ฯ ประกอบด้วย นายพิเชต สุนทรพิพิธ ประธานกรรมการ พล.ร.ต.นายแพทย์วิทูร แสงสิงแก้ว รองประธานกรมการ นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม นายภุมรัตน ทักษาดิพงษ์ นายขวัญชัย วศวงศ์ พล.ต.อ.ดรุณ โสตถิพันธุ์ นายอิสมาแอ อาลี นายจรัญ มะลูลีม นายอาศิส พิทักษ์คุมพล กรรมการ นายวีระยุต พันธุเพชร เลขาณุการ และนายนิพนธ์ ฮะกีมี ผู้ช่วยเลขาณุการ