xs
xsm
sm
md
lg

ช่วงเปลี่ยนผ่าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในบทความฉบับนี้เราจะกลับมาทบทวนพัฒนาการของปัจจัยต่างๆ ที่นักลุงทุนต้องจับตาเพราะจะเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะส่งผลต่อทิศทางการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยปัจจัยหลักสองข้อในความคิดผมนั้นได้แก่ 1) นโยบายกระตุ้นและการฟื้น  ตัวทางเศรษฐกิจ 2) เงินเฟ้อและทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลาง สองปัจจัยนี้ส่งผลต่อความผันผวนของสินทรัพย์เสี่ยงแทบทุกชนิดไม่ว่าจะทั้ง หุ้น พันธบัตร หรือ ราคาทองคำในช่วงที่ผ่านมา

เรามักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่าราคาหุ้นมักจะสะท้อนถึงเรื่องราวในอนาคตอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวังของผล ประกอบการณ์ที่จะออกมาดี บริษัทมีแผนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น หากเราถอยออกมามองในมุมกว้างขึ้นดัชนี
ตลาดหลักทรัพย์ก็สามารถสะท้อนถึงทิศทางของเศรษฐกิจในอนาคตได้เช่นกัน เราจะเห็นได้ว่าความเคลื่อนไหวของดัชนี ทั่วโลกนั้น ต่างปรับตัวขึ้นไปอยู่ในจุดที่สูงกว่าก่อนเกิดวิกฤติ COVID -19 เสียอีก เหตุการ์ณนี้ได้สะท้อนถึงความเชื่อมั่น ของนักลงทุนว่าเศรษฐกิจจะกลับมาสู่การเติบโตตามปกติได้ในไม่ช้า โดยเราได้เห็นการฟื้นตัวอย่างเป็นรูปธรรมใน สหรัฐอเมริกาและจีน จากการที่ผู้บริโภคกลับมาใช้จ่ายในระดับที่เพิ่มขึ้น (Pent up demand) และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อนการบริโภคภายในประเทศ นักวิเคราะห์ในหลายสำนักก็ได้มีการปรับประมาณการ GDP กันขึ้นตามการฟื้น ตัวของเศรษฐกิจนี้เอง

ในบทความช่วงเดือนมีนาคม และ เมษายน ที่ผ่านมานั้นผมได้มีโอกาสเขียนถึงเรื่อง ทิศทางของเงินเฟ้อ และ นโยบายของธนาคารกลางอย่าง Fed ว่าจะมีทีท่าอย่างไรต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อคืนวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา  ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ได้ส่งสัญญาณแล้วว่าเศรษฐกิจนั้นได้ฟื้นตัวดีกว่าคาด
และคาดว่าจะสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ในปี 2566 โดยสิ่งที่น่าสนใจนั่นก็คือมีจำนวนคนในคณะกรรมการที่ให้ความเห็นว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นจากการประชุมในรอบก่อน และนั่นหมายความว่าเราน่าจะได้เห็น Fed เริ่มลดปริมาณ QE ดึงสภาพคล่องออกจากระบบภายในปีหน้า

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและนโยบายจากธนาคารกลาง จะยังคงเป็นตัวแปรหลักในการกำหนดทิศทางการลงทุนต่อไปในปีนี้ เราคงต้องให้ความสำคัญกับการติดตามพัฒนาการฟื้นตัวจากการบริโภคและการจ้างงานเป็นพิเศษเพราะจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางให้ความสำคัญและใช้เป็นตัวแปรหลักในการกำหนดนโยบายต่อไปในแง่ของการลงทุนนั้นผมคิดว่าเราคงต้องระวังการลงทุนในสินทรัพย์ที่ได้ปรับตัวขึ้นมาสูงและมีจำนวนนักลงทุนลงทุนอยู่เยอะเพราะจะได้รับแรงกระแทกเมื่อสภาพคล่องถูกถอนออกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส จำกัด
กำลังโหลดความคิดเห็น