xs
xsm
sm
md
lg

กรุงศรีเปิดตัวกอง KFINFRA-A พลังแห่งการเติบโตจากโครงสร้างพื้นฐานแห่งอนาคต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นางสุภาพร ลีนะบรรจง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (บลจ.กรุงศรี) เปิดเผยว่า “บลจ.กรุงศรีมีมุมมองว่าธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากจะมีข้อดีในเรื่องผลตอบแทนที่ค่อนข้างสม่ำเสมอแล้ว ยังมีโอกาสเติบโตได้สูงด้วย โดยเฉพาะโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของยุคดิจิทัล ความต้องการพลังงานสะอาด และการเดินทางขนส่ง ก่อให้เกิดธีมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานยุคใหม่ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสู่โลกอนาคต และเป็นที่มาของการเสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีเน็กซ์เจเนเรชั่นอินฟราสตรัคเจอร์-สะสมมูลค่า (KFINFRA-A) ระหว่างวันที่ 15-23 ก.พ. 64 ซึ่งจะลงทุนในกองทุนหลักคือ Credit Suisse (Lux) Infrastructure Equity Fund”

“จุดเด่นของกองทุนหลักคือการเน้นลงทุนในบริษัทที่มีรายได้หลักจากโครงสร้างพื้นฐานที่มีบริษัทจดทะเบียนมากกว่า 500 แห่งและมีมูลค่าตลาดรวมกันกว่า 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยเน้นลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานยุคใหม่ใน 4 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย กลุ่มสาธารณูปโภค กลุ่มพลังงาน กลุ่มขนส่ง และกลุ่มโทรคมนาคม โดยใช้กลยุทธ์เชิงรุกวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและคัดเลือกหลักทรัพย์เข้าสู่พอร์ตการลงทุนประมาณ 40-60 หลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังสามารถกระจายการลงทุนไปยังตลาดเกิดใหม่ได้ด้วย และมีการปรับพอร์ตรวดเร็วให้ทันสถานการณ์”

“กองทุนหลักสามารถสร้างผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 23.04% ดัชนีชี้วัดอยู่ที่ 15.90% ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 40.88% ดัชนีชี้วัดอยู่ที่ 35.08% และผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปีอยู่ที่ 84.34% ดัชนีชี้วัดอยู่ที่ 77.76%” (ที่มา : Credit Suisse ณ ธ.ค. 63 Iผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)

นางสุภาพรกล่าวต่อว่า “ในภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจทั่วโลกยังคงมีความไม่แน่นอนสูง การลงทุนในสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่พอร์ตการลงทุน เนื่องจากรูปแบบธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานมีลักษณะผูกขาด มีสัมปทานระยะยาวทำให้คู่แข่งรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ยาก ทำให้มีกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอ ค่อนข้างคาดการณ์ได้ อีกทั้งธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานยังได้รับผลกระทบจากวัฏจักรเศรษฐกิจในระดับต่ำ เพราะเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าความต้องการโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกจะสูงถึง 94 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2583” (ที่มา Global infrastructure hub ณ ธ.ค. 63)

“นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานหลายประการ เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อขับเคลื่อนการจ้างงานและเพิ่มปริมาณการผลิตในระบบ”

“การเติบโตของยุคดิจิทัลก่อให้เกิดธีมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานยุคใหม่ เช่น เมืองอัจฉริยะ ซึ่งเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อสิ่งต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง 5G ถือเป็นหัวใจสำคัญของเมืองอัจฉริยะซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วให้สูงกว่า 4G ถึง 100 เท่า จากข้อมูลปีที่ผ่านมาพบว่าเมืองที่มีประชากร 1 ล้านคนมีปริมาณการใช้ข้อมูลสูงถึง 200 ล้านกิกะไบต์ต่อวัน และคาดการณ์ว่าปริมาณข้อมูลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 10 เท่าภายในปี 2568 จึงจำเป็นต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการจัดเก็บและรับส่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เช่น ศูนย์ข้อมูล สัญญาณโทรคมนาคม สายสัญญาณความเร็วสูง เป็นต้น”

“ปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกก็ส่งผลให้พลังงานทดแทนและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้รับความนิยมมากขึ้น และปัจจัยด้านการเดินทางที่คาดการณ์ว่าจำนวนผู้โดยสารทางอากาศจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 7.8 พันล้านรายภายในปี 2579 ล้วนแต่เป็นปัจจัยหนุนให้โครงสร้างพื้นฐานมีโอกาสเติบโตสดใส โดยเฉพาะเมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์อย่างในปัจจุบัน”

“ตัวอย่างหลักทรัพย์ที่กองทุนหลักลงทุน เช่น American Tower Corp ผู้ให้บริการระดับโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรับส่งสัญญาณไร้สายที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตด้านการใช้งานข้อมูลทั่วโลก Cellnex บริษัทเสาสัญญาณโทรคมนาคม (TowerCo) รายใหญ่ที่สุดในยุโรป Nextera ผู้ผลิตพลังงานลมและแสงแดดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และสาธารณูปโภคไฟฟ้าที่มีการกำหนดราคาโดยรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ  Ferrovial ผู้บริหารโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งระดับโลก และ Vinci บริษัทระดับโลกในการบริหารกิจการสัมปทานและการก่อสร้าง เป็นต้น”
กำลังโหลดความคิดเห็น